ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - noppadol
หน้า: 1 [2] 3 4
41  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากอ่านเรื่องพระจักขุบาล เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 12:17:53 am
อนุโมทนา ด้วยครับกับเรื่องพระจักขุบาล หรือ พระมหาปาละ

อ่านแล้วทำให้นึกถึงอดีตที่ เคยเรียนโรงเรียนวัดเลยครับ

 :25: :25:
42  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 12:15:39 am
อนุโมทนากุศล ด้วยครับ

 :25:
43  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เนสัชชิกธุดงค์ ทำอย่างไร ครับ เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 12:15:11 am
ขอบคุณในคำตอบครับ

และเรื่องของพระมหาปาละ ด้วยครับ

 :25: :25:
44  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: รณรงค์ อ่านกระทู้เก่า กันนะคะ วันนี้ เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 05:16:49 pm
พึ่งเห็นกระทู้ นี้ ผมจึงแปลกใจว่า ช่วงนี้ทำไม มีแต่นักอ่าน ไม่มีนักโพสต์

แสดงว่าตอบรับกระแส นี่ก็ใกล้ครบปี แล้ว นะครับ เพื่อนสมาชิก ถ้าจำไม่ผิด ก็เืดือนหน้านี้

เห็นป้าย ประกาศเรื่องการย้าย โฮสต์ด้วย

 :) :) :25: :25:
45  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / เมื่อตัวเงิน ตัวทอง เข้าบ้าน เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 04:59:42 pm


ผมได้ไปเยี่ยมญาต ของผมผู้หนึ่ง ที่เป็นคนใต้ด้วยกัน ปรากฏว่าวันที่ไป ทุกคนกำลังส่งเสียง เอ็ด กันใหญ่

เมื่อเข้าไปถึงจึงทราบได้ว่า ที่บ้าน ในส่วนหน้าบ้านนั้น มีมุม ๆ หนึ่ง มีสัตว์เข้าไปยืนแลบลิ้น ด้วยอาการเหนื่อยหอบ

ตัวมหึมากว่าหมาไทย อีกครับ เห็นแล้วก็น่ากล้วพอสมควร เจ้าสัตว์ที่บ้านนี้มีนามว่า ตัวเงิน ตัวทอง

หลังจากทุกคนช่วยกันตะเพิด ไล่มันออกไปแล้ว ก็สำรวจความเสียหายของ สินทรัพย์น่าบ้าน เนื่องจากการ

ตะกุย ตะกาย เอาตัวรอดจาก สุนัขที่ไล่กัด และ คนที่ไล่


  เจ้าของบ้านญาตผม ได้สำรวจความเสียหาย แล้วก็เห็นว่ามีเพียงเล็กน้อยไม่มากพอรับได้ แต่บรรดาเด็ก ๆ

อกสั่น ขวัญแขวน เพราะความหวาดกลัว เจ้าสัตว์ตัวนี้มันไม่กล้วเด็ก กลัวแต่ผู้ใหญ่

  หลังจากนั้น ทุกคนก็พูดทัก ขึ้นว่า โบราณเขา ถือถือ ถ้าตัวเงิน ตัวทอง เข้าบ้าน แล้ว จะโชคไม่ดี

ต้องทำบุญสังฆทาน โดยไว พูดกันไป พูดกันมา จนเจ้าของบ้านเริ่มหงุดหงิด ไม่สบายใจ

  วันนี้ผมก็เลยมาทิ้งเป็น กระทู้ให้เพื่อน สมาชิก แนะนำกันหน่อยนะครับ ขอคำแนะนำแบบกัลยาณมิตร

ห้ามตอบ กวน...อารมณ์ นะครับ ( ดักคอก่อน )

   :25: :25:
46  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เนสัชชิกธุดงค์ ทำอย่างไร ครับ เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 04:49:38 pm
ผมไปสนทนากับพระสงฆ์ ในพรรษานี้ มีบางรูปท่านสมาทาน เนสัชชิกธุดงค์ครับ

เนสัชชิกธุดงค์นั้น คือการไม่นอน ใช่หรือป่าวครับ จัดเป็นกรรมฐาน หรือป่าวครับ

เนสัชชิกธุดงค์ นั้นเป็น อัตตกิลมถานุโยค หรือป่าวครับ

 :25: :25:

47  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: เชิญเข้าอบรม อานาปานสติ ( สวนโมกข์ ) เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 04:43:44 pm
สำหรับผู้ใหญ่ ทั้งหญิงและชาย อบรมเป็นภาษาอังกฤษ


จัด อบรมอานาปานสติ เป็นภาษาอังกฤษ ผู้มารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ มีชาวไทยที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้มาร่วมรับการอบรมด้วยเช่นกัน

จัดอบรมทุกวันที่ 1-10 ของเดือน โดยผู้ที่ต้องการร่วมรับการอบรมต้องมาลงทะเบียนและเข้าพักที่สวนโมกข์นานา ชาติ (ธรรมาศรมนานาชาติ) ก่อนเริ่มอบรม 1 วัน กล่าวคือ

    * หากต้องการเข้ารับการอบรมของวันที่ 1-10 มกราคม 2553 ต้องมาลงทะเบียน และเข้าพัก ภายในเวลา 14:00 น ของวันที่ 31 ธันวาคม 2552
    * หากต้องการเข้ารับการอบรมของวันที่ 1-10 มีนาคม 2553 ต้องมาลงทะเบียน และเข้าพัก ภายในเวลา 14:00 น ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้น

การอบรมจะสิ้นสุดคืนวันที่ 10  ผู้ร่วมรับการอบรมเดินทางกลับเช้าวันที่ 11

ค่าใช้จ่าย 2,000 บาทต่อท่าน
48  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: เชิญเข้าอบรม อานาปานสติ ( สวนโมกข์ ) เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 04:40:56 pm
สำหรับ หญิง ชาย ทั่วไป เป็น ภาษาไทย

คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
*       อายุระหว่าง ๒๐-๖๕ ปี (จะพิจารณารับผู้ที่อายุต่ำหรือสูงกว่านี้ ตามความเหมาะสม)
*       ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม
*       มีความตั้งใจจริง และมีความศรัทธาที่จะรับการอบรม
*       พร้อมและเต็มใจรักษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด โดยเฉพาะการงดพูดคุยสนทนาตลอดเวลาทั้ง ๗ วัน
สำหรับผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชาย จัดอบรมด้วยภาษาไทย

 
สวน โมกขพลาราม ร่วมกับ ธรรมทานมูลนิธิ จัดให้มีการอบรมสมาธิภาวนาแบบอานาปานสติ สำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมะ และต้องการปฏิบัติจนเห็นผลด้วยตนเอง
 
สมาธิ แบบอานาปานสตินี้ เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติจนตรัสรู้ และทรงแนะนำให้ศึกษาปฏิบัติให้มาก เพราะอำนวยประโยชน์ทั้งด้าน ความสงบ (สมถะ) และ ความรู้รอบ (วิปัสสนา)
 

เอวํ ภาวิตา โข ภิกฺขเว อานาปานสติ, เอวํ พหุลีกตา;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล;
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา, ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่;
อิติ ด้วยประการฉะนี้แล

 
จุดประสงค์ของการอบรม
เพื่อ ชี้แนะหลักธรรมที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง และเพื่อฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา จนสามารถสัมผัสความสงบเย็นภายใน และความอิสระของจิตใจ อันเกิดจากความประจักษ์ในสัจจธรรม         
 
รูปแบบการจัดอบรม
ถือแนวทางการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้สมบูรณ์ ครบถ้วน ตามระบบองค์รวมแห่งพุทธธรรมทั้งสามด้าน กล่าวคือศีล-สมาธิ-ปัญญา อันจะนำไปสู่วิถีชีวิตที่สุขสงบเย็น ก้าวหน้า อย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน ทั้งส่วนตนและสังคมโดยรวม กล่าวคือ
ศีล : ฝึกการใช้ชีวิตที่สงบเย็น เรียบง่าย เป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุส่วนเกินให้มากที่สุด ให้ความสำคัญต่อการรักษาปฏิบัติตามระเบียบวินัยอันดีของชุมชน ดำรงชีวิต อย่างมีคุณค่าเป็นประโยชน์ ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง โดยถือแนว ปฏิบัติศีลแปดเป็นบรรทัดฐานขั้นต่ำ.
สมาธิ :   ฝึกหัดพัฒนายกระดับความมีคุณภาพและประสิทธิภาพของจิต   ทั้งทางด้านสติและสมาธิด้วยระบบอานาปานสติภาวนา โดยฝึกหัดปฏิบัติในทุกอิริยาบถของการดำรงชีวิตตลอดระยะเวลาของการอบรม.
ปัญญา : ด้วยการนำเสนอหลักธรรมที่เป็นแก่นหลักของพุทธธรรม เพื่อเป็นแนวทางและพื้นฐานความรู้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดการพัฒนาปัญญาญาณ รู้เห็นแจ้งสภาวะตามความเป็นจริงของสัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลายที่ เกี่ยวข้อง.
อนึ่ง จุด มุ่งหมายอันเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการอบรม ได้แก่การพัฒนาสภาวะความ สงบเย็นภายในจิตใจของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นพื้นฐานเบื้องต้น จึงถือเป็นข้อตกลง ที่เคร่งครัด ในการงดพูดจา ติดต่อสื่อสาร กับบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ตลอดระยะเวลาของการอบรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องถือปฏิบัติอย่างจริง จัง เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
 
การเป็นอยู่
การใช้ชีวิตเป็นอยู่ที่ ธร รมาศรมนานาชาติ   ซึ่งเป็นชุมชนแห่งพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ชุมชนแห่งสันติสงบร่มเย็น และการฝึกฝนพัฒนาตนเอง จึงใช้แนวทางที่ท่าน อาจารย์พุทธทาสให้ไว้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์ กล่าวคือ
“กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”,
“เป็นอยู่อย่างง่าย มุ่งกระทำสิ่งที่ยาก” และ
ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ดังนี้
รับประทานอาหารวันละ ๒ มื้อ   (งดเว้นเนื้อสัตว์)   วันที่ ๖ ของการอบรม   จัดให้ฝึกเข้าอยู่อุโบสถศีล โดยรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว
ฝึกหัดการนอนด้วยหมอนไม้ พร้อมเครื่องนอนที่เรียบง่ายที่สุด  ฝึกการใช้ชีวิตเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้า
ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองโดยลำพัง   เพื่อให้สามารถศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ ภาวะจิตใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา
ใช้เวลาของชีวิตให้คุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม และฝึกฝนอบรมตนเองตลอดเวลาของการอบรม
ใช้ชีวิตด้วยความสงบเย็น ผ่อน คลาย ไม่เคร่งเครียดเร่งร้อน ใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเรียนรู้ สภาวะแห่งความสมดุลพอเหมาะพอดี ในทุก ๆ การกระทำแห่งการดำเนินชีวิต
 
การเตรียมตัว
ท่านควรศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติการเป็นอยู่และตารางเวลากิจกรรมให้เข้าใจอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อให้ท่านสามารถปรับตัวดำเนินชีวิตแห่งการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง โดยไม่เกิดความวิตกกังวลใด ๆ
จัดการธุระส่วนตัวให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนเริ่มกิจกรรม เพื่อตัดสิ่งที่จะกวนจิตใจของท่านตลอดระยะเวลา ๗ วันของการอบรม
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาใด ๆ โปรด สอบถามอาสาสมัครผู้ทำหน้าที่ประสานการจัดอบรม เพื่อขจัดสิ่งรบกวนจิตใจท่าน ก่อนเริ่มการอบรม   และเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยให้มากที่สุดตลอดการอบรม
 
ข้อควรระลึก
ท่านที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ควรระลึกเสมอว่า ท่านต้องการเข้าร่วมกิจกรรม อบรมพัฒนา ฝึกฝนตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่ง จะต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนอบรมตนที่ยากลำบากบ้างเป็นธรรมดา โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเรียนรู้และปรับตัว จะต้องใช้ความอดทนและความเพียร เป็นอย่างสูง แต่จะนำมาซึ่งผลอันมีคุณค่าสูงยิ่งต่อการดำรงชีวิตอย่างมิอาจ ประเมินค่าได้   กรุณาอย่าเข้าร่วมอบรมเพื่อทดลองเล่น   หรือหวังว่าจะได้อะไรดี ๆ   โดยปราศจากการลงแรง หรือได้มาด้วยความสะดวกสบายเลย ท่านจะพบกับความผิดหวังอย่างแน่นอน โปรด ตระหนักไว้เสมอว่า พระบรมศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัจธรรมอันสูงสุด   ในสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติธรรมดาที่สุด    มิได้ตรัสรู้ในพระราชวังอันแสนสะดวกสบาย ที่พระองค์ทรงสละละทิ้งออกมา
ท่านพร้อมแล้วหรือยัง ?
 
ข้อพึงปฏิบัติ
 
*       อยู่ร่วมตลอดการอบรม เข้าร่วมทุกรายการและตรงต่อเวลา
*       งดติดต่อบุคคลภายนอก และไม่ออกนอกบริเวณที่อบรม
*       งดการพูดคุยกับผู้ปฏิบัติอื่น มีปัญหากรุณาถามวิทยากร หรือเจ้าหน้าที่
*       ไม่นำอาหาร หรือของกินอย่างอื่นติดตัวมา ควรรับประทานอาหารเฉพาะที่จัดให้ เพื่อความเป็นอยู่อย่างง่าย
*       ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง ด้วยความกระตือรือร้น
*       ไม่คาดหวังเกินไปจนเคร่งเครียด ปฏิบัติด้วยความผ่อนคลาย
*       งดส่งเสียงดังทุกกรณี และมีความเกรงใจผู้อื่น
*       มีสติในทุกอิริยาบถ ทำงานและกิจวัตรทุกอย่างให้เป็นการปฏิบัติธรรม
*       งดใช้เครื่องประดับของมีค่า และไม่ควรนำติดตัวมา
 
ของใช้จำเป็นที่ต้องนำมา
*       เสื้อตัวยาวคลุมสะโพก ไม่รัดรูป ไม่บาง ไม่ใช้เสื้อแขนกุด
*       ผ้าถุงหรือกางเกงขายาว สีสุภาพ งดนุ่งกางเกงขาสั้น
*       ผ้าสำหรับใส่เวลาอาบน้ำ มีสีเข้ม ๒ ผืน (ชาย-ผ้าขาวม้า, หญิง-ผ้าถุง)
*       ยาทากันยุง
*       ยา (หากมีโรคประจำตัว)
*       ร่ม
*       ถุงย่าม หรือถุงผ้า (งดใช้ถุงพลาสติก)
 
กำหนดการ

ตารางกิจกรรมอานาปานสติภาวนา

อานาปานสติ: วันที่ ๑๙

๐๗.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.          ลงทะเบียน เข้าห้องพัก

๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.          แนะนำสถานที่, ชี้แจงระเบียบความเป็นอยู่

๑๗.๐๐ – ๑๘.๔๕ น.          ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน

๑๘.๔๕ – ๑๙.๓๐ น.          ทำวัตรสวดมนต์เย็น

๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.          ชี้แจงรายละเอียดการอบรม

๒๑.๐๐ – ๗๔.๐๐ น.             พักผ่อน

 

อานาปานสติ: วันที่ ๒๐

๐๔.๐๐ น.                       ระฆังปลุก

๐๔.๓๐ – ๐๕.๑๕ น.          ทำวัตรสวดมนต์เช้า

๐๕.๑๕ – ๐๖.๐๐ น.          ธรรมะรับอรุณ

๐๖.๐๐ – ๐๖.๔๕ น.          กายบริหาร (ไทเก็ก)

๐๖.๔๕ – ๐๘.๐๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๐๘.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.          อาหารเช้า, งานอาสาสมัคร, พักผ่อน

๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.          ธรรมปฏิสันถาร

๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.           ฝึกปฏิบัติ, ธรรมบรรยาย

๑๒.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.          อาหารกลางวัน, พักผ่อน

๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.          เทปอานาปานสติ

๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๑๖.๓๐ - ๑๗.๓๐ น.           แนะนำเทคนิคการปฏิบิ/ ธรรมบรรยาย

๑๗.๓๐ – ๑๙.๐๐ น.          ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน

๑๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.          ทำวัตรสวดมนต์เย็น

๑๙.๓๐ – ๒๐.๓๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๒๐.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.          ชมวิดิทัศน์

๒๑.๐๐ – ๐๔.๐๐ น.             พักผ่อน

 

อานาปานสติ: วันที่ ๒๑ - ๒๕

๐๔.๐๐ น.                       ระฆังปลุก

๐๔.๓๐ – ๐๕.๑๕ น.          ทำวัตรสวดมนต์เช้า

๐๕.๑๕ – ๐๕.๔๕ น.          นั่งสมาธิ

๐๕.๔๕ – ๐๖.๑๕ น.             ธรรมะรับอรุณ

๐๖.๑๕ – ๐๗.๑๕ น.         กายบริหาร (ไทเก็ก)

๐๗.๑๕ – ๐๘.๐๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๐๘.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.          อาหารเช้า, งานอาสาสมัคร, พักผ่อน

๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.           ธรรมบรรยาย

๑๒.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.          อาหารกลางวัน, พักผ่อน

๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.          เทปอานาปานสติ

๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๑๖.๓๐ - ๑๗.๓๐ น.           แนะนำเทคนิคการปฏิบิ/ ธรรมบรรยาย

๑๗.๓๐ – ๑๙.๐๐ น.          ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน

๑๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.          ทำวัตรสวดมนต์เย็น

๑๙.๓๐ – ๒๐.๓๐ น.          ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

๒๐.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.          สรุปการปฏิบัติประจำวัน/ ชมวิดิทัศน์

๒๑.๐๐ – ๐๔.๐๐ น.             พักผ่อน

 

อานาปานสติ: วันที่ ๒๖

๐๔.๐๐ น.                       ระฆังปลุก

๐๔.๓๐ –๑๕.๐๐ น.          เหมือนวันที่ ๒๑ - ๒๕

๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.          ปัจฉิมนิเทศ

๑๕.๓๐ - ๑๗.๓๐ น.           ทำงานอาสาสมัคร “เอาเหงื่อชำระอัตตา”

๑๗.๓๐ – ๑๙.๐๐ น.          ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน

๑๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.          ทำวัตรสวดมนต์เย็น

๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.         ฝึกปฏิบัติอานาปานสติ, ชี้แจงกิจกรรมของธรรมาศรมนานาชาติ

๒๑.๐๐ – ๐๔.๐๐ น.             พักผ่อน

 

อานาปานสติ: วันที่ ๒๗

๐๔.๐๐ น.                       ระฆังปลุก

๐๔.๓๐ – ๐๕.๑๕ น.          ทำวัตรสวดมนต์เช้า

๐๕.๑๕ – ๐๕.๓๐ น.          นั่งสมาธิ

๐๕.๓๐ – ๐๖.๐๐ น.             ธรรมะรับอรุณ

๐๖.๐๐ – ๐๘.๐๐ น.         นำชมธรรมาศรมธรรมมาตา

๙.๓๐ น.                                 เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ วันที่  ๒๕ สมมติให้เป็นวันพระ จักเข้าอยู่องค์อุโบสถศีล รับประทานอาหารมื้อเช้าเพียงครั้งเดียว เวลา ๘.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะเวลา ๑๒.๐๐ น. และ ๑๗.๓๐ น.
49  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / เชิญเข้าอบรม อานาปานสติ ( สวนโมกข์ ) เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 04:40:01 pm
สำหรับพระภิกษุ



การอยู่จำพรรษา และฝึกอานาปานสติ

การฝึกอบรมอานาปานสติสำหรับพระ/เณร
สวนโมกขพลารามและธรรมทานมูลนิธิ จัดการฝึกอบรมอานาปานสติภาวนาเพื่อการดับทุกข์สำหรับพระ/เณรโดยเฉพาะ 
 
อบรมระหว่าง
* ในระหว่างนอกพรรษา อบรมวันที่ ๑-๑๕ ของทุกเดือน
* ในพรรษา เปิดอบรมครั้งเดียว สำหรับพระที่มาจำพรรษาที่สวนโมกข์
 
เป้าหมายของการฝึกอบรม คือ เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนการปฏิบัติภาวนาแบบอานาปานสติ อันเป็นพื้นฐานของปฏิบัติธรรมะเพื่อการดับทุกข์
 
แนวทางในการจัดอบรม
การอบรม มีทั้งปริยัติและปฏิบัติ เนื้อหาและกิจกรรมทั้งหมดเน้นที่แก่นของพุทธศาสนา คือ การดับทุกข์ การฝึกสมาธิภาวนาใช้หลักปฏิบัติอานาปานสติภาวนา เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เริ่มกิจวัตรตั้งแต่ ๐๔.๐๐ ถึง ๒๑.๐๐ น.
           
ข้อพึงปฏิบัติ
๑.      อยู่ร่วมตลอดการอบรม เข้าร่วมทุกรายการและตรงต่อเวลา
๒.      งดติดต่อบุคคลภายนอก  งดใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ออกนอกบริเวณที่อบรม
๓.      งดพูดคุยกับผู้ปฏิบัติอื่น มีปัญหาถามอาจารย์ผู้สอนเท่านั้น
๔.     ไม่นำอาหารหรือเครื่องดื่มใดๆ มารับประทานเองเป็นพิเศษในที่พัก เพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ควรรับประทานอาหารเฉพาะที่จัดถวาย
๕.     ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง ด้วยความกระตือรือร้น
๖.      มีสติในทุกอิริยาบถ ทำทุกอย่างให้เป็นการปฏิบัติธรรม มีความเกรงใจผู้อื่น งดทำเสียงดัง
 
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
๑. เป็นพระภิกษุ หรือสามเณร
๒. มีความตั้งใจจริงและศรัทธาจะรับการอบรมเพื่อความมีชีวิตที่สงบ เย็น เป็นประโยชน์
๓. พร้อมและเต็มใจที่จะรักษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด
๕. ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม
 
การสมัครเข้ารับการอบรม
 
ไม่ต้อง สมัครล่วงหน้า ท่านสามารถเดินทางมาติดต่อขอรับการอบรมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ในวัด ภายในเวลาเที่ยงวันของทุกสิ้นเดือน ท่านสามารถมาพักที่วัด เพื่อรอการอบรมได้ล่วงหน้า ๓ ถึง ๕ วัน
 
การจัดอบรมนี้ จัดเป็นธรรมทาน คือผู้รับการอบรมไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดย
*      เขียนจดหมายไปที่ธรรมทานมูลนิธิ สวนโมกขพลาราม เลขที่ ๖๘/๑ หมู่ ๖ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
 
*    กรอกคำถามในแบบฟอร์มท้ายหน้านี้ แล้วคลิก “ส่งอีเมล์” หรือ “send mail” ท่านจะได้รับคำตอบทาง อีเมล์แอสเดรสที่ท่านกรอกเอาไว้ในแบบฟอร์มนี้
 
*       ส่งอีเมล์ไปที่ suanmok@gmail.com โดยตรง
50  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธรรมแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์ เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 08:00:14 am
ผลของ การปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่นำความสุขมาให้ครับ

ผมเองที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ในตอนนี้ ก็เพราะธรรมะกล่อมเกลาจิตไว้ครับ

ถ้าไม่ได้ธรรมะ ช่วยเตือนจิืต สะกิดใจว่า

   เราเกิดมา ไม่มีอะไรมาด้วย นอกจากผลบุญ และ ผลบาป

   เวลาเราตาย ก็ไม่มีอะไรไปด้วย นอกจากกรรมดี และ กรรมไมดี

   ถ้าหากเราต้องเกิด ตาย ก็ต้องขน ผลกรรม ไปทุกชาติ
 :25:
   ซึ่งมันเหนื่อย ๆ ๆ และ เหนื่อย มาก การเกิดทุกคราวเป็น ทุกข์ ร่ำไป เป็นเช่นนี้เอง

   ดังนั้นผมจึงอุทิศตนให้กับงานพระศาสนา แบบอุบาสกด้วยการ ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

   ภาวนากรรมฐานให้มากขึ้น ชักชวนคนภาวนาให้มากขึ้น


   สาธุ กับเรื่อง ดี ๆ ที่มายืนยันผลแห่งธรรม ครับ

 :25:
51  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 20 คุณธรรมที่ควรใส่ใจ จริงๆ ครับ เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 07:54:39 am
อ่านแล้ว เพราะตีแผ่ นิสัยมาตรฐานของความเป็นคน จริง ๆ

 :c017: :25:
52  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เรื่องบังเอิญที่อยากให้อ่าน เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 07:53:06 am
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

บางครั้งการทำความดีนั้น ต้องชำระกิเลสในใจ หรือพวกสนิมในใจก่อน

ก็คือ เรื่อง สละตัวเราออกก่อน

  ในกรณีเรื่องนี้ ถึงจะจริง หรือ ไม่จริง แต่ผู้เขียนต้องการสื่อถึงความหมายคือ

  เอาใจเขา มาใส่ใจเรา จงสนใจกับรายละเอียดบ้าง กับเืรื่องเล็กๆ น้อย ๆ

   :c017: :25:
53  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชุมชนนิมนต์ยิ้ม คลายเรื่อง ซีเรียสบ้างนครับ ผู้ใหญ่ก็ชอบ เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 07:50:00 am
นั้งดูไปหลาย ตอนเลย  5 5 55

ชอบ หมวยเล็ก และ หมวยใหญ่

 :08:
54  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สูตรทำขนมไมตรี ที่อยากให้มีทุกที เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 07:48:31 am
แต่สงสัย ขั้นตอนการอบ นี้ใช้เวลานานขนาดไหน ครับ
 :08:
55  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ฝึกสมาธิ กสิณครับ เพ่งแล้วพบอะไรครับ ? เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 07:47:34 am
 :67: รู้แล้ว ตอบใน Pm นะ

 :13: :13:
56  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / โยชนาปกรณ์ ปริจเฉทที่ 3 - 4 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:50:20 pm
ปริจเฉท อื่น ๆ ที่เป็นวิทยานิพนธ์ ตามลิงก์นี้นะครับ

และโหลดจากเว็บโดยตรงเลยก็ได้ครับ

http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=453
57  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เนื้อหาในคัมภีร์ มูลกัจจายนะ เป็นโยชนามูลกัจจายนะ ตามคำขอ เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:47:26 pm
เนื้อหาในหนังสือเป็น หนังสือเกิดจากกลุ่มการวิจัยของพระนิสิต ซึ่งผม

นำมาประกอบในนี้เป็นไฟล์แนบ

มีประกอบหลายส่วน แต่นำมาเพียงฉบับเดียว

ดูเพิ่มเิติมได้ที่

อยากรู้เนื้อหาให้อ่าน ในบทที่ 3

ส่วนบทที่ 4 แปลยกศัพท์ ไม่ใช่นักแปลอ่านแล้ว ก็จะงง นะครับ

ดาวน์โหลดจากในนี้ได้เลยครับ ( ต้องเป็นสมาชิก )

เครดิต พระนิสิตด้วยครับ

http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=238
58  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไมเวลา ปฎิบัติกรรมฐาน กับพระอาจารย์ ทำไมทำได้ง่าย เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:28:30 pm
ผมว่า กรรมฐาน นั้น อาจจะไม่ถูกจริตของเรานะครับ

จึงทำให้เหมือนเราฝืนทำใจฝึก อะไรก็ตามที่ฝืนทำนั้น ให้ผล 2 อย่างครับ

เปรียบเหมือนอาหารนะครับ

1.ฝืนทำแล้ว ก็สำเร็จ เช่นเราทานอาหารแล้วไม่ถูกปาก ( งง ) ไม่อร่อยครับ ทานได้ก็เพื่อให้อิ่มครับ

2.ฝืนทำแล้ว ยิ่งแย่ครับ อันนี้นอกจากไม่อร่อยแล้วยังแพ้ครับ อาหารบางประเภทฝืนทานแล้ว อ้วกครับ


ฉันใดก็ ฉันนั้น การภาวนากรรมฐาน นั้น หากกรรมฐาน ไม่ถูกจริตกับเราแล้ว ก็ส่งผลข้างเคียงครับ

คือเป็นเพื่อนกับ นิวรณ์ ก่อนครับ

แต่ถ้าหาก กรรมฐานใด ถูกจริตแล้ว เราจะเห็นว่า เราสามารถ ฝึกได้อย่างไม่เหน็ด ไม่เหนื่อย กันเลย

 :25: :25:
59  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ประวัติ พระอรหันต์มหากัจจายนะ เถระ เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:20:37 pm
ประวัติพระมหากัจจายนเถระ

 

 

พระมหากัจจายนเถระ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระลำดับแรก ๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้รับการบรรพชาโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ ทางด้านการเทศนาขยายความแห่งธรรมที่พระพุทธองค์แสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดาร โดยพระอรรถกถาจารย์ได้พรรณาไว้ว่า ท่านสามารถทำพระดำรัสโดยย่อของพระตถาคตให้บริบูรณ์ ทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะได้ ชื่อของท่านในพระไตรปิฎกบางแห่งพิมพ์เป็น พระมหากัจจานเถระ

ความปรารถนาในอดีต

ประวัติในอดีตชาติของท่าน นอกจากในหลาย ๆชาติที่ท่านได้เกิดร่วมสมัยกับพระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ดังเช่น

ได้เกิดเป็น รัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก

ได้เกิดเป็น กาฬเทวิลดาบส เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบส ใน อินทริยชาดก

ได้เกิดเป็น กาลเทวละดาบส เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็น สรภังคดาบสโพธิสัตว์ ใน สรภังคชาดก

ส่วนในชาติที่ท่านได้แสดงถึงความปรารถนาที่จะได้รับตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวมีดังนี้

ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระมหากัจจายนเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล ครั้นเมื่อเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่งวันหนึ่งได้ไปยังพระวิหารที่พระพุทธปทุมุตตระประทับอยู่ และฟังธรรมอยู่แถวท้ายหมู่พุทธบริษัทในวิหารนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้พิสดาร ท่านจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระพระปทุมุตตระพุทธเจ้า และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน. แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งคำที่ตรัสโดยสังเขปให้พิสดาร ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าดังนี้ ครั้นเมื่อทรงพยากรณ์แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

ฝ่ายกุลบุตรนั้นบำเพ็ญกุศลตลอดชีพแล้วเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายแสนกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ได้เป็นวิทยาธร เที่ยวไปทางอากาศ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ซึ่งประทับนั่งในชัฏแห่งป่าแห่งหนึ่ง มีใจเลื่อมใสได้เอาดอกกรรณิการ์มาทำการบูชา.ด้วยบุญอันนั้น ท่านจึงเกิดเฉพาะแต่ในสุคติภูมิอย่างเดียว

ครั้นสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ท่านพระมหากัจจายนเถระก็มาถือปฏิสนธิในครอบครัวหนึ่ง ในกรุงพาราณสี เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านก็ไปยังสถานที่สร้างเจดีย์ทอง จึงเอาอิฐทองมีค่าแสนหนึ่งถวายเป็นพุทธบูชา ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สรีระของข้าพระองค์จงมีวรรณเพียงดังทองในที่ ๆ เกิดแล้วเถิด

ต่อแต่นั้น ก็กระทำกุศลกรรมจนตลอดชีวิต และได้เวียนว่ายในภูมิเทวดาและมนุษย์ ได้พุทธันดรหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยผล ๓ ประการแห่งพุทธบูชานั้น ดังที่กล่าวไว้ใน อปทาน ( ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๑๒๑) ดังนี้

๑ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

๒ เราท่องเที่ยวอยู่แต่ในสองภพ คือในเทวดาและมนุษย์ ไม่เกิดในภูมิอื่น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา

๓ เราเกิดในสองสกุล คือสกุลกษัตริย์และสกุลพราหมณ์ เราไม่เกิดใน สกุลที่ต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

กำเนิดในพุทธกาล

ครั้งกาลสมัยพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราอุบัติ ท่านก็ได้มาบังเกิดเป็นบุตรของติปิติวัจฉพราหมณ์ ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในพระนครอุชเชนี ส่วนผู้เป็นมารดาชื่อจันทนปทุมา ในวันขนานนามท่าน มารดาบิดาปรึกษากันว่าบุตรของตนนั้นมีสรีระมีผิวดั่งทอง จึงขนานนามท่านว่า กาญจนมาณพ ดังนี้.

ครั้นเจริญขึ้นแล้วท่านก็ได้ศึกษาไตรเทพจนจบสิ้น ต่อมาเมื่อบิดาท่านวายชนม์แล้ว-ท่านก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตสืบแทนท่านบิดา โดยนามโคตรว่ากัจจายนะ

ครั้งหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชุมเหล่าอำมาตย์แล้วมีพระราชดำรัสถามว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จะมีผู้ใดสามารถทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาได้ อำมาตย์ทูลว่า อาจารย์กาญจนพราหมณ์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สามารถทูลอาราธนาพระพุทธองค์มาได้

พระเจ้าจัณฑปัชโชติจึงให้ตรัสเรียกกัจจายนะอำมาตย์มาเข้าเฝ้าและตรัสสั่งให้ท่านกัจจายนะอำมาตย์ไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า และทูลอาราธนามายังวัง กัจจายนะอำมาตย์ทูลขอพรว่า ถ้าอนุญาตให้ท่านได้บวชท่านก็จะไป พระเจ้าจัณฑปัชโชติทรงให้พรตามที่กัจจายนะอำมาตย์ทูลขอ

เข้าเฝ้าพระพุทธองค์

กัจจายนอำมาตย์ จึงคัดเลือกผู้ที่จะไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมกับตนเพียง ๘ คน. และออกเดินทาง ครั้นเมื่อไปถึง และได้ฟังพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรม เมื่อจบเทศนาหมู่อำมาตย์นั้นก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ทั้ง ๘ ท่าน พระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยการเหยียดพระหัตถ์และทรงตรัสว่า เธอ จงมาเป็นภิกษุเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด ในทันใดนั้น ผมและหนวดของพระอรหันต์ทั้ง ๘ องค์ก็หายไป บาตร และจีวรก็บังเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถเหมือนพระเถระตั้งร้อยพรรษาฉะนั้น

พระอรหันตเถระเหล่านั้นเมื่อกิจของตนถึงที่สุดแล้วก็ไม่นั่งนิ่งอยู่เฉย กล่าวอาราธนาพระพุทธองค์เพื่อเสด็จไปกรุงอุชเชนีเหมือนที่พระกาฬุทายีเถระเคยกระทำ พระศาสดาสดับคำอาราธนาของท่านแล้วทรงพระวินิจฉัยว่า พระกัจจายนะย่อมหวังการไปของเราในชาติภูมิของตน แต่ธรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอาศัยเหตุ อันหนึ่ง จึงไม่เสด็จไปสู่ที่ที่ไม่สมควรเสด็จ. เพราะฉะนั้นจึงตรัสแก่พระมหากัจจายนเถระว่า ภิกษุ ท่านนั้นแหละจงไป เมื่อท่านไปแล้ว พระราชาจักทรงเลื่อมใส พระมหากัจจายนเถระจึงถวายบังคมพระตถาคต แล้วกลับไปกรุงอุชเชนีพร้อมกับภิกษุทั้ง ๗ รูปที่มาพร้อมกับตนนั้น ในระหว่างทางกลับกรุงอุชเชนี ภิกษุเหล่านั้นได้เที่ยวบิณฑบาตในนิคมชื่อว่า นาลินิคม.

โปรดธิดาเศรษฐีผู้มีผมงาม

ในนิคมนั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ คน คนหนึ่งเกิดในตระกูลเก่าแก่เข็ญใจ เมื่อมารดาบิดาสิ้นชีพไปแล้ว ก็อาศัยเป็นนางนมเลี้ยงชีพ. แต่รูปร่างของเธอนั้นบึกบึน ผมยาวเกินคนอื่น ๆ ในนิคมนั้น

และยังมีธิดาของตระกูลอิศรเศรษฐีอีกคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีผม เมื่อก่อนนั้นมาแม้นางธิดาผู้นี้จะขอซื้อผมจากนางผมดกในราคา ๑๐๐ กหาปณะ หรือ ๑,๐๐๐ กหาปณะแก่เธอ ก็ไม่สำเร็จ

ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มีผมดกนั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระมีภิกษุ ๗ รูปเป็นบริวาร เดินมามีบาตรเปล่า คิดว่าภิกษุผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์รูปหนึ่ง มีผิวดังทองรูปนี้เดินไปบาตรเปล่าทรัพย์อย่างอื่นของเราก็ไม่มี แต่ว่าธิดาเศรษฐีผู้ไม่มีผมบ้านโน้นเคยส่งคนมาเพื่อต้องการซื้อผมจากเรา ตอนนี้เราอาจถวายไทยธรรมแก่พระเถระได้ด้วยทรัพย์ที่เกิดจากที่ได้ค่าผมนี้

เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงส่งสาวใช้ ไปนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้นั่งภายในเรือนของตน พอพระเถระนั่งแล้ว นางก็เข้าห้องตัดผมของตน แล้วกล่าวแก่สาวใช้ว่า เจ้าจงเอาผมเหล่านี้ให้แก่ธิดาเศรษฐีบ้านโน้น แล้วเอาของที่นางให้มา เราจะถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. สาวใช้ ถือผมนั้นไปยังสำนักของธิดาเศรษฐี.

ธรรมดาขึ้นชื่อว่าของที่จะขายนั้น จะมีราคาก็ต่อเมื่อผู้ซื้อต้องการขอซื้อ ธิดาเศรษฐีผู้ไม่มีผมคิดว่า เมื่อก่อนเราขอซื้อด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่นางก็ไม่ยอมขาย แต่บัดนี้ เมื่อนางมาเสนอขายเอง ก็ไม่ได้ตามราคาเดิม จึงให้ไป ๘ กหาปณะเท่านั้น สาวใช้นำกหาปณะไปมอบให้แก่ธิดาเศรษฐีผู้มีผมมาก

ธิดาเศรษฐีก็จัดบิณฑบาต ๘ ที่ ให้มีค่าที่ละหนึ่งกหาปณะ ถวายแด่พระเถระทั้งหลาย พระเถระเล็งดูด้วยฌานแล้ว เห็นอุปนิสัยของธิดาเศรษฐี จึงถามว่าธิดาเศรษฐีไปไหน. สาวใช้ตอบว่า อยู่ในห้องเจ้าค่ะ พระเถระว่าจงไปเรียกนางมาซิ. ธิดาเศรษฐีก็มาด้วยความเคารพในพระเถระ ไหว้พระเถระแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรง อันว่าทานอันบริสุทธิ์นั้นย่อมให้ผลในปัจจุบันชาติทีเดียว เพราะฉะนั้น พร้อมกับการไหว้พระเถระ ผมของนางจึงเกิดขึ้นดังเดิม

โปรดพระเจ้าจันฑปัชโชต

ฝ่ายพระเถระทั้งหลายจึงถือเอาบิณฑบาตนั้นเหาะขึ้นไปต่อหน้าธิดาเศรษฐี และเหาะลงยังพระราชอุทยานของพระเจ้าจันฑปัชโชต ชื่ออุทธยานกัญจนะ คนเฝ้าพระราชอุทยานเห็นพระเถระนั้น จึงไปเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระคุณเจ้ากัจจายะปุโรหิตของเราบวชแล้ว และกลับมายังอุทยานแล้วพระเจ้าข้า พระเจ้าจันฑปัชโชตจึงเสด็จไปยังอุทยาน ไหว้พระเถระผู้กระทำภัตกิจแล้วด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนล่ะ พระเถระทูลว่า พระองค์มิได้เสด็จมาเอง ทรงส่งอาตมะมา มหาบพิตร พระราชาตรัสถามว่าท่านผู้เจริญ วันนี้พระคุณเจ้าได้ภิกษา ณ ที่ไหน

พระเถระทูลบอกเรื่องที่ธิดาเศรษฐีกระทำทุกอย่างให้พระราชาทรงทราบ ตามถ้อยคำควรแก่ที่ตรัสถาม พระราชาตรัสสั่งให้จัดแจงที่อยู่แก่พระเถระ แล้วนิมนต์พระเถระไปยังนิเวศน์ แล้วรับสั่งให้ไปนำธิดาเศรษฐีมาตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีแล้ว

พระราชาทรงกระทำสักการะใหญ่แต่พระมหากัจจายนเถระ มหาชนเลื่อมใสในธรรมกถาของพระเถระ บวชในสำนักของพระเถระ ตั้งแต่นั้น ทั่วพระนครก็รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัตรเป็นอันเดียวกัน คลาคล่ำ ไปด้วยหมู่ภิกษุ ฝ่ายพระเทวีนั้นทรงเลื่อมใสในพระมหากัจจายนเถระอย่างยิ่ง ขอพระราชานุญาตสร้างวิหารถวายพระเถระในกัญจนราชอุทยาน. พระเถระยังชาวอุชเชนีให้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาแล้ว จึงกลับไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาภายหลังพระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงกระทำพระสูตร ๓ สูตร เหล่านี้คือ มธุบิณฑิกสูตร, กัจจายนเปยยาลสูตร, ปรายนสูตร ให้เป็นอรรถุปบัติเหตุ แล้วทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดารแล้ว.

พระมหากัจจายนเถระกราบทูลขอให้ทรงปรับพุทธบัญญัติบางข้อสำหรับจังหวัดอวันตีทักขิณาบถ

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีชายผู้หนึ่งชื่อ โสณะอุบาสกได้ฟังธรรมในสำนักของท่านพระมหากัจจายนะ ก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา มีจิตตั้งอยู่ในสรณะและศีล จึงได้สร้างวิหารในที่อันสมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ใกล้ปวัตตบรรพต แล้วนิมนต์พระเถระให้อยู่ในวิหารนั้น โสณะอุบาสกได้อุปัฏฐากท่านพระมหากัจจายนะด้วยปัจจัยทั้ง ๔.ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โสณะอุบาสกเป็นอุปัฏฐากของท่านมหากัจจานะ

ครั้งหนึ่งโสณะอุบาสกได้เดินทางไปยังเมืองอุชเชนีกับหมู่ เกวียนเพื่อต้องการค้าขาย ครั้นค่ำลงในระหว่างทางหมู่เกวียนได้หยุดกองเกวียนไว้ในดงเพื่อพักผ่อน โสณะอุบาสกเพื่อหลีกการพักอย่างแออัดจึงหลีกไปนอนที่ท้ายหมู่เกวียน ครั้นใกล้รุ่ง หมู่เกวียนก็เคลื่อนออกเดินทางต่อไปโดยไม่มีใครปลุกโสณะอุบาสก

ครั้นเมื่อตื่นขึ้น โสณะอุบาสกไม่เห็นใครเลยก็ออกเดินไปตามทางเกวียนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหนื่อยจึงได้เข้าพักยังต้นไทร ระหว่างทาง ณ ที่นั้นเขาได้พบเปรตตนหนึ่งยืนกินเนื้อของตนเองที่หล่นจากกระดูก โสณะอุบาสกจึงได้ถามถึงกรรมของเปรตที่ทำมาในอดีต

เปรตนั้นก็เล่าว่า เมื่อชาติก่อนตนเป็นพ่อค้าอยู่ในเมืองภารุกัจฉนคร ได้หลอกลวงเอาของ ของคนอื่นมาเคี้ยวกิน เมื่อมีสมณะเข้าไปบิณฑบาต ตนก็ด่าว่า จงเคี้ยวกินเนื้อของพวกมึงซิ เพราะกรรมนั้นจึงต้องเสวยทุกข์เช่นนี้

โสณะอุบาสกได้ฟังดังนั้นกลับได้ความสลดใจอย่างเหลือล้น.และได้เดินทางต่อไป ก็ได้พบพวกเปรตเล็ก ๒ ตน มีโลหิตดำไหลออกจากปาก จึงถามถึงบุรพกรรมของเปรตนั้นเช่นเดียวกัน ฝ่ายเปรตเหล่านั้น ก็ได้เล่ากรรมของตน แก่โสณะอบาสกนั้น.ความว่า

ในอดีตชาติ ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก เปรตเหล่านั้นเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายสิ่งของ ในภารุกัจฉนคร เมื่อมารดาของตนนิมนต์พระขีณาสพทั้งหลายให้มาฉัน จึงไปยังเรือนแล้ว ด่าว่า ทำไม แม่จึงให้สิ่งของของพวกเรากับพวกสมณะ ขอให้โลหิตดำจงไหลออกจากปากของพวกสมณะผู้บริโภคโภชนะที่แม่ให้แล้วเถิด.เพราะกรรมนั้น เด็กเหล่านั้น จึงไปเกิดในนรก หมดกรรมจากนรกแล้ว ก็มาเกิดเป็นเปรต ด้วยเศษแห่งวิบากของกรรมนั้น

โสณะอุบาสก ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความสลดใจอย่างเหลือล้น.ครั้นเมื่อเขากลับไปยังกรุงอุชเชนีจึงได้ขอบรรพชาต่อพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระมหาเถระพิจารณาแล้วเห็นว่า ญาณของโสณะอุบาสกยังไม่แก่กล้าพอต่อเพศบรรพชิต จึงได้ยับยั้งไว้ถึงสองครั้ง

ในวาระที่สาม พระเถระพิจารณาเห็นว่าโสณะอุบาสกมีญาณแก่กล้าเพียงพอแล้ว จึงยินยอมให้บรรพชา แต่ว่าในสมัยนั้นการบรรพชาโดยพระสาวกต้องกระทำด้วยองค์ทสวรรค คือต้องหาพระสงฆ์ให้ครบ ๑๐ รูป. สมัยนั้น อวันตีชนบทอันตั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป ท่านพระมหากัจจายนเถระกว่าจะจัดหาพระภิกษุสงฆ์ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ก็ต่อล่วงไปถึง ๓ ปี จึงอุปสมบทให้ท่านพระโสณะได้.

ครั้นเมื่อบวชแล้วได้ระยะหนึ่ง พระโสณะเถระปรารถนาจะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจึงได้ขออนุญาตต่อพระอุปัชฌาย์คือพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระกัจจายนเถระก็อนุญาตพร้อมทั้งสั่งให้ไปกราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ:-

๑. จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ขอได้โปรดทรงอนุญาตอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์เพียง ๕ รูปได้ ทั่วปัจจันตชนบท

๒. พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหง กีบโค ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าหลายชั้นได้ทั่วปัจจันตชนบท

๓. คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท

๔. ในอวันตีทักขิณาบถ ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วย หนังแกะ หนังแพะหนังกวาง เป็นปกติธรรมดาเหมือนกับที่ในมัชฌิมชนบท ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูง หญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง เป็นปกติธรรมดาเช่นกัน ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุได้ใช้ หนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังกวาง ทั่วปัจจันตชนบท

๕. เมื่อมีผู้ฝากถวายจีวรให้กับหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากก็มาบอกแก่ภิกษุชื่อนั้น ๆ ว่า มีคนที่มีชื่ออย่างนี้ ฝากจีวรให้มาถวายแก่ท่าน พวกภิกษุผู้ได้รับคำบอกเล่าเมื่อทราบดังนั้น ก็รังเกียจไม่ยินดีรับจีวรที่มีผู้ฝากมาถวาย โดยคิดว่าจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุนั้นรับจีวรที่มีผู้ฝากภิกษุอื่นมาถวายได้ โดยให้ถือว่าจีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรี ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงมือภิกษุผู้ที่เขาเจาะจงถวาย

พระบรมศาสดาทรงอนุญาตตามที่ พระมหากัจจายนเถระกราบทูลขอ

ต่อมาพระโสณะเถระท่านนี้ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็น เอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวถ้อยคำอันไพเราะ

ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัสโดยย่อให้พิสดาร

ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ได้ปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่นเมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงแสดง มธุปิณฑิกสูตร แก่พระภิกษุหมู่หนึ่ง แต่ได้ทรงแสดงไว้โดยย่อ เหล่าพระภิกษุนั้นเมื่อฟังความโดยย่อเช่นนั้นก็สงสัยว่าใครจะเป็นผู้สามารถเทศนาความโดยละเอียดให้แก่พวกตนได้ ก็นึกถึงพระมหากัจจายนเถระว่าเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่องว่าจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ให้พิสดารได้ จึงได้ไปอาราธนาพระมหากัจจายนเถระให้เทศน์ขยายความในเรื่องดังกล่าว

พระมหาเถระก็ได้เทศนาบรรยายขยายความอย่างพิสดารให้แก่หมู่ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเมื่อจบแล้ว หมู่ภิกษุจึงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทูลเรื่องที่พวกตนอาราธนาพระมหากัจจายนเถระ ให้เทศน์ขยายความพุทธพจน์ที่ทรงแสดงโดยย่อแก่พวกตน พระพุทธองค์ทรงตรัสยกย่องพระมหากัจจายนเถระว่า

พระมหากัจจายนะเถระเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก แม้หมู่พระสงฆ์เหล่านั้นจะถามเนื้อความนี้กับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็จะพึงเทศนาเนื้อความนั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะเทศน์แล้วเช่นนั้น

และใน อุทเทสวิภังคสูตร, มหากัจจายนภัทเทกรัตตสูตร และ อธรรมสูตร พระพุทธองค์ก็ทรงยกย่องพระมหากัจจายนเถระในลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน

นอกจากจะเทศนาขยายความย่อในพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระภิกษุทั้งหลายแล้ว แม้กับพุทธบริษัทเหล่าอื่นมี อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น พุทธบริษัทเหล่านั้นเมื่อประสงค์ที่จะฟังธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสโดยย่อ ให้ได้เนื้อความโดยละเอียดก็พากันมาอาราธนาให้พระมหากัจจายนเถระเทศนาเนื้อความโดยพิสดารให้ฟังเช่นกัน เช่นใน กาลีสูตร ท่านได้แสดงธรรมขยายความแห่งกุมารีปัญหาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อไว้ ให้กับอุบาสิกาชื่อ กาลี ชาวเมืองกุรรฆระฟัง

ใน หลิททิกานิสูตร สมัยท่านพักอยู่ ณ ภูเขาชันข้างหนึ่ง ใกล้กุรรฆรนครแคว้นอวันตีรัฐ คฤหบดีชื่อหลิทกานิ เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะเถระ แล้วอาราธนาให้ท่านได้เทศนาขยายความแห่ง มาคันทิยปัญหา ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยย่อไว้ ให้ฟังโดยพิสดาร

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

นอกจากการขยายพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้โดยย่อ ให้พิสดารแล้ว ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากที่ท่านก็ได้ปลูกฝังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวนครอุชเชนีให้เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาแล้ว ท่านยังได้เทศน์โปรด. พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร แห่งเมืองมธุรา ซึ่งเป็นการเทศนาภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ตามที่ปรากฎในมธุรสูตร จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิต

และเทศน์โปรด สุชาตกุมาร ผู้เป็นเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นอัสสกรัฐ ให้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการเทศนาภายหลังที่พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เช่นกัน และพยากรณ์ว่าสุชาติกุมารจะสิ้นชีวิตภายในห้าเดือนข้างหน้า และได้ให้พระบรมสารีริกธาตุแก่สุชาติกุมาร โดยให้สุชาตราชกุมาร บูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้แล้วจะเป็นประโยชน์แก่ตนเอง สุชาตกุมารได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ด้วยของหอมและพวงมาลัย และขวนขวายในการทำบุญให้ทาน เมื่อสิ้นชิวิตแล้ว ได้ไปบังเกิดในสวนนันทวัน ที่ดาวดึงส์เทวโลก และมีราชรถทองเป็นสมบัติ ปรากฎเรื่องใน จูฬรถวิมานสูตร

สมัยท่านอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ อารามทัณฑะ จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสน

สมัยท่านอยู่ที่ป่าคุนทาวัน ใกล้เมืองมธุรา ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ กัณฑรายนะ จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิต

สมัยท่านอยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ท่านได้เทศน์โปรด พราหมณ์ที่ชื่อ โลหิจจ ผู้เป็นเจ้าสำนัก มีศิษย์มากมาย จนได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยึดเอาพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะจนตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน

เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

ท่านได้เกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

เกิดเป็นรัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์ ใน กุรุธรรมชาดก

เกิดเป็นกาฬเทวิลดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบส ใน อินทรยชาดก

เกิดเป็นเทวลดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นสรภังคดาบส ใน สรภังคชาดก

เรื่องพระโสไรยเถระ

เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยกับสหายผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำพร้อมกับบริวารเป็นอันมาก.ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระ กำลังเดินไปสู่โสไรยนครเพื่อบิณฑบาต รัศมีแห่งสรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐี เห็นท่านแล้วจึงคิดว่า"สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ ควรเป็นภริยาของเรา หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น." ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เศรษฐีบุตรก็กลายเพศไปเป็นหญิง ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเกิดความอายจึงลงจากยานน้อยหนีไปทางที่ไปสู่เมืองตักกสิลา.

พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ

ฝ่ายพวกสหาย เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ.เมื่อตนอาบเสร็จแล้วจึงได้กลับไปสู่เรือน เมื่อถูกถามถึงบุตรเศรษฐี ก็ตอบว่า พวกเขาเข้าใจว่าบุตรเศรษฐีอาบน้ำเสร็จและกลับมาก่อนแล้ว.มารดาและบิดาของเขาเที่ยวตามหาในที่ต่าง ๆ ก็ไม่พบ จึงร้องไห้รำพัน ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยความสำคัญว่าลูกชายของพวกเขาได้เสียชีวิตไปแล้ว.

นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา

ส่วนลูกชายเศรษฐีที่กลายเป็นเพศหญิง เห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินตามไปข้างหลัง ๆ เมื่อพวกหมู่เกวียนเห็นนางเข้าจึงถามว่า "หล่อนเดินตามเกวียนพวกเรามาทำไม ? นางกล่าวว่า "พวกท่านจงขับเกวียนของท่านไปเถิด ดิฉันจักเดินไป," เมื่อเดินไป ๆ เมื่อยเข้านางจึงได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้เพื่อแลกกับการนั่งไปในเกวียน

ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น

พวกกองเกวียนต่างคิดว่า "ลูกชายเศรษฐีของพวกเราในกรุงตักกสิลายังไม่แต่งงาน เราจะบอกเรื่องหญิงนี้แก่ท่านเพื่อจะได้รางวัล" พวกเขาจึงไปแจ้งเรื่องนี้ ครั้นได้ฟังแล้วลูกชายเศรษฐีจึงให้เรียกนางมา เมื่อนางมาแล้ว บุตรเศรษฐีเห็นว่านางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ ก็เกิดความรักขึ้น จึงได้รับนางไว้เป็นภริยา

นางคลอดบุตร

นางอยู่กับบุตรเศรษฐีจนมีบุตรด้วยกัน ๒ คนเมื่อรวมกับบุตรของนางเมื่อครั้งเป็นชายในโสไรยนครอีก ๒ คน.ก็รวมเป็น ๔ คน

นางได้พบกับเพื่อนเก่าแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง

ต่อมาลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง (เมื่อครั้งเป็นชาย) เดินทางจากโสไรยนครไปสู่กรุงตักกสิลา ขณะเข้าไปสู่พระนคร ได้ผ่านบ้านของนางซึ่งยืนมองดูผู้คนเดินไปมาบนถนนอยู่บนปราสาทชั้นบน เห็นสหายนั้นก็จำได้ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญมา แล้วรับรองและเลี้ยงดูอย่างใหญ่โต สหายนั้นสงสัยจึงถามว่า เราเคยรู้จักกันหรือนางจึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาให้ฟัง

สหายเก่าของนางจึงแนะให้นางไปขอขมาต่อพระเถระเสีย ขอให้ท่านยกโทษให้

นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ

นางจึงเดินทางไปหาพระเถระ เล่าเรื่องและขอให้ท่านยกโทษให้ พระเถระจึงยกโทษให้ ครั้นพอพระเถระ เอ่ยปากยกโทษให้เท่านั้น นางก็กลับเพศเป็นชายดังเดิม

เมื่อกลับมาเป็นชายแล้ว เขาจึงมอบบุตรที่เกิดกับ เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลาให้แก่บิดา และออกไปบวชในสำนักพระเถระ ได้นามว่า "โสไรยเถระ" และได้ออกจาริกไปถึงเมืองสาวัตถีกับพระเถระ

ชาวเมืองสาวัตถีทราบเรื่องเข้าพากันแตกตื่นเข้าไปถามเรื่องราว กี่พวกต่อกี่พวกก็ถามแต่เรื่องนี้จนท่านรำคาญใจจึงหลีกไปนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว ท่านเข้าถึงความเป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.

ศิษย์ที่ปรากฎชื่อในพระไตรปิฎก หรือ ใน อรรถกถาของท่าน

พระวัลลิยเถระ

พระโสไรยเถระ

พระโสณะเถระ

เครดิตเว็บนี้ด้วยนะครับ ผมไม่ได้พิมพ์เองครับ

http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-mahakajayana.htm
60  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: ประวัติสมเด็จพระสังฆราช ที่เว็บ dhammajak.net ครับ เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:14:10 pm

พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
พุทธศักราช ๒๓๖๓-๒๓๖๕

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


พระประวัติในเบื้องต้น

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์
ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ
จนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน”
เพราะทรงสามารถแผ่เมตตาพรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู
จุลศักราช ๑๐๙๕ พุทธศักราช ๒๒๗๖ นับวันเดือนปีตามคัมภีร์จันทรคติ
ประสูติเวลาไก่ขัน (ช่วงไก่กำลังอ้าปาก) การนับเวลาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตรงกับวันศุกร์ที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๒๗๖ นับวันเดือนปีตามคัมภีร์สุริยะยาตร์
ภายนอกกำแพงนอกคูเมือง ด้านเหนือของกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ ตำบลบ้านข่อย

ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย
ริมคลองคูจาม (ในพระราชพงศาวดาร เรียกว่าคลองตะเคียน) ในแขวงรอบกรุงเก่า
มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา ผู้คนนับถือมาก

เนื่องจาก พระองค์ทรงมีพระวรรณะขาวผ่องใส ไปข้างพระชนก
ซึ่งเป็นชาวจีน พระชนก-ชนนีจึงขนานพระนามให้พระองค์ท่านว่า
“สุก” มีความหมายว่า ขาว หรือ ใส

ในเวลาที่พระองค์ประสูตินั้น ตรงกับยามที่เก้า เรียกว่ายาม “ไก่ขัน”
ซึ่งเป็นการนับยามกลางคืน สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งกะเวลาประมาณได้ ๐๕.๔๘ นาที
(เวลาตีห้า สี่สิบแปดนาที) ซึ่งเวลานั้นเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ วัดใกล้เคียงบ้านท่าข่อย
เช่น วัดท่าข่อย (ท่าหอย) วัดพุทไธศวรรย์ วัดโรงช้าง
กำลังทำวัตรสวดมนต์ตอนเช้ามืดอยู่ เสียงสวดมนต์นั้นลอยลมมาถึงบ้านถ้าข่อย
ซึ่งเงียบสงัด กล่าวกันว่า เวลาที่พระอาจารย์สุก ประสูตินั้น พระภิกษุกำลังสวดถึงบท
“ชะยะปริตตัง” ตรงคำว่า ชะยันโต โพธิยา มูเล พอดี
พร้อมกันนั้น ไก่ป่า ไก่วัด ไก่บ้าน ก็ร้องขันขาน รับกันเซ็งแซ่

กล่าวอีกว่า ขณะที่พระองค์ประสูตินั้น ไก่ป่า ไก่บ้าน ไก่วัด
พอถึงเวลาใกล้ยามไก่ขัน (ประมาณ ๐๕.๑๐ น.) ได้โบยบินมาในต้นไม้ใหญ่
ที่ใกล้บ้านมารดา-บิดา ของพระอาจารย์ พอถึงเวลายามไก่ขัน
ไก่ป่า ไก่วัด ไก่บ้านทั้งสิ้น ได้พากันร้องขันขาน กันเซ่งแซ่
กลบเสียงพระสงฆ์สวดมนต์เวลาเช้ามืด แต่วันนี้ ไก่ทั้งสิ้น พากันร้องขานขัน
กันนานกว่าทุกวัน ที่เคยได้ยินมาแต่ก่อน นับเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

พระญาติ ข้างฝ่ายพระชนกของพระองค์ เป็นชนชาวจีน
พำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาสามชั่วอายุคนแล้ว คุณทวดเป็นพนักงานเรือสำเภาหลวง
ตำแหน่งนายสำเภา เรียกเป็นภาษาจีนว่า จุ้นจู๋ มียศเป็น ขุน
เป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดอยู่ในกรมพระคลังสินค้า
พระมหัยยิกาของพระองค์ท่านรับราชการในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น ทางราชสำนักได้จ้างชาวต่างประเทศ
มาเป็นพนักงานเดินเรือสำเภา ค้าขายระหว่างประเทศ มีชนชาวจีน เป็นต้น
มาถึงรุ่นพระมหัยยิกา ของพระองค์ท่าน ก็เข้ารับราชการในกรมพระคลังสินค้าเช่นกัน
มียศเป็นขุน ตำแหน่ง นายอากรปากเรือ ซึ่งเป็นอากรสินค้าขาเข้า อากรสินค้าขาออก
ถือศักดินา ๒๐๐ ไร่ พระอัยยิกาของพระองค์ท่านรับราชการอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ

พระชนกของพระองค์มีพระนามว่า “เส็ง” เป็นเชื้อสายจีน สืบสายสกุลมาจาก
พระอัยยิกาและพระมหัยยิกาของพระองค์ท่าน พระชนกรับราชการในกรมพระคลังสินค้า
มียศเป็น ขุน ตำแหน่ง นายอากรนา อากรสวน ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
พระชนนีมีพระนามว่า “จีบ” เชื้อสายไทย ญาติทางฝ่ายพระชนนีของพระองค์
รับราชการ มียศเป็น ขุน เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตำแหน่ง นายอากรสวน
นายพลากร เก็บค่าสวนผลไม้ ถือศักดินา ๒๐๐ ไร่

นอกจากรับราชการแล้ว พระชนนีของพระองค์ยังมีอาชีพทำสวน
ทำนา ค้าขายข้าว ส่งให้กับกรมพระคลังสินค้า ส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ที่เหลือไปอ่านต่อได้ที่เว็บเลยนะครับ
 :25:
61  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / ประวัติสมเด็จพระสังฆราช ที่เว็บ dhammajak.net ครับ เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:12:55 pm
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13252

ช่วยรวบรวมมา แต่เห็นมีรูป ที่วัดราชสิทธารามด้วยครับ

อ่านแล้วก็มีเนื้อหา คล้ายบ้าง ตรงบ้าง

ตามผู้เขียน จะรวบรวมมาไว้ให้อ่านครับ


 :25:
62  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 06:02:40 pm

แนะนำหนังสือเก่าหายาก (9) ... หนังสือ"พระมูลกัจจายนสูตร์"

แนะนำหนังสือเก่าหายาก (9)

 

หนังสือ “พระมูลกัจจายนสูตร์” 

ตำราเรียนที่ พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เคยศึกษา

 

 

หนังสือ “พระมูลกัจจายนสูตร”  เป็นตำราเรียนพระปริยัติศาสนา อันทรงคุณค่ายิ่งเล่มหนึ่ง

แต่เดิมไม่ได้จัดพิมพ์ ใช้คัมภีร์ใบลาน เพิ่งมาจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2453 (ร.ศ. 129)  ฉบับนี้

เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2457   นับถึงปัจจุบันก็มีอายุเกือบ 100 ปี  เป็นตำราสำหรับเล่าเรียน

คัมภีร์มูล  ตั้งแต่ สนธิ์ นาม สมาส  ตัทธิต อาขยาต  กิตต อุณาทิ การก จบบริบูรณ์

 

ผมขอคัดประวัติบางช่วงที่เกี่ยวกับการศึกษาตอนต้นของ พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  จากหนังสือ “พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ”

16  มีนาคม 2525  มาให้ท่านทราบ ดังนี้

   

... การศึกษาของหลวงปู่ตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก  ตลอดจนได้รับบรรพชาเป็นสามเณรนั้น  ไม่ปรากฏ

หลักฐานว่าท่านได้รับการศึกษาอะไร  เพราะการศึกษาในสมัยนั้น ยังไม่แพร่หลายไปทั่วประเทศ

ดังเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

 

จากมาตุภูมิไปศึกษามูลกัจจายน์เมืองอุบล

 

จากการเล่าของหลวงปู่เอง ท่านเล่าว่า  ท่านจากบ้านไปจังหวัดอุบลเพื่อไปศึกษามูลกัจจายน์นั้น

ท่านไปพักอยู่วัดสร้างถ่อ อำเภอหัวตะพาน  ในสมัยนั้น จังหวัดอุบลเป็นจังหวัดที่มีการศึกษา

มูลกัจจายน์กันอย่างแพร่หลาย  มีสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง มีครูอาจารย์สอนกันอย่าง

เป็นหลักฐาน  สำนักที่มีชื่อเสียงมากมีครูอาจารย์มากมีนักเรียนมาก ได้แก่ สำนักเรียนวัดเวฬุวัน

บ้านไผ่ใหญ่  บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก บ้านสร้างถ่อ  สำนักเรียนเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีในสมัย

โบราณ จะว่าเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตของอุบล  เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันนี้ ก็ไม่เกิน

ความจริงไปนัก   เพราะในแคว้นแดนอีสานทั้ง 15 จังหวัด  ในแดนอีสานสมัยโบราณ  ใครต้องการ

ศึกษาหาความรู้จะต้องมุ่งเดินทางไปศึกษาตามสำนักดังกล่าวมาแล้ว  แต่เป็นที่น่าเสียดาย สำนัก

เรียนดังกล่าวได้เลิกล้มกิจการไปหมดแล้ว  เพราะสู้แผนการศึกษาสมัยใหม่ไม่ได้

 

การเรียนมูลกัจจายน์นั้นเป็นการเรียนที่ค่อนข้างยาก  ผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่มีสมองดีจริง ๆ

จึงจะเรียนได้จบหลักสูตร  แต่ถ้าเรียนได้จนจบหลักสูตรแล้ว  ผู้นั้นได้รับการนับถือจากคน

ทั่วไปว่าเป็นนักปราชญ์  เพราะเป็นผู้แตกฉานในทางด้านตำรับตำราสามารถแปลหนังสือ

ได้ทุกชนิดโดยไม่ติดขัด

 

วิธีการเรียนในสมัยนั้น

 

หลวงปู่เล่าว่า การเรียนในสมัยนั้น ไม่มีห้องเรียนเรียนเช่นสมัยปัจจุบัน  อาจารย์ที่สอนก็แยกกันอยู่

คนละที่  ส่วนมากไม่ได้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน  ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเรียนนักเรียนต้องแบกหนังสือไป

เรียนกับอาจารย์ถึงที่อยู่ของอาจารย์ทีเดียว วันนี้เรียนวิขานี้แบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์นี้

วันพรุ่งนี้เรียนวิชานั้นแบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์นั้น  แบกไปแบกมาอยู่เช่นนี้จนกว่าจะเรียนจบ

 

ที่ว่าแบกหนังสือนั้นแบกกันจริง ๆ เพราะในสมัยก่อนหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มยังไม่มีเช่นปัจจุบันนี้

หนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอนใช้คัมภีร์ใบลานเป็นพื้น นักเรียนต้องเคารพหนังสือเพราะถือว่าหนังสือเป็นพระธรรมจะดูถูกไม่ได้เป็นบาป  เวลาว่างจากการเรียนนักเรียนทั้งหลายต้องเข้าป่าหา

ใบลานมาไว้สำหรับทำคัมภีร์เพื่อฝึกหัดจารหนังสือ

 

เรียนวิธีทำคัมภีร์ใบลาน

 

วิธีทำคัมภีร์ก็คือไปหาใบลานมา  เลือกเอาเฉพาะใบที่ไม่แก่นักไม่อ่อนนัก  เอาใบที่เรียกกันว่าได้

น้องหนึ่ง หมายความว่า เลือกเอาเฉพาะใบที่ได้ปีหนึ่งแล้ว  ถ้าเอาใบอ่อนมามักใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

แต่ถ้าเอาใบแก่เกินกว่าน้องหนึ่งไปใบมักเปราะแตกง่าย  เมื่อหามาได้แล้วก็เอามากรีดลิดใบและ

ก้านใบออก  ตากน้ำค้างไว้สามคืนพอหมาดแล้ว ใช้ของหนักวางทับไว้เพื่อกันใบลานห่อ  เมื่อเห็นว่า

แห้งดีแล้ว ก็เอามาตัดตามขนาดที่ต้องการแล้วใช้ร้อยด้วยเชือกด้าย  ทำเป็นผูก ๆ มากน้อยแล้วแต่

จะทำ  เวลาไปเรียนกับอาจารย์ก็ใช้คัมภีร์นี้เอง คัด ลอก ตำรับตำราตลอดจนหัดจารหนังสือ

 

 

พระอาจารย์ที่สอนหนังสือ

 

พระอาจารย์เอี่ยม วัดเวฬุวัน บ้านไผ่ใหญ่  สอนวิชามูลกัจจายน์ ตั้งแต่ สมาส ตัทธิต  และสอน

แปลด้วย

พระอาจารย์ชม เป็นคนใจเย็น  เวลาสอนหนังสือก็ใจเย็น ลูกศิษย์ชอบมาก

พระอาจารย์ชาลี เวลาสอนหนังสือดุมาก แต่แปลได้พิสดารเพราะเคยลงไปศึกษาอยู่กรุงเทพฯ 10 ปี

จึงกลับขึ้นมาบ้านเดิม เพื่อเป็นครูสอนหนังสือ

พระอาจารย์อ้วน  สอนไวยากรณ์ด้วย สอนแปลด้วย  การเรียนแปลก็แปลคัมภีร์พระปาฏิโมกข์เป็นพื้น

แปลกันจนคล่องแคล่วขึ้นใจ  เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง  เพราะหลวงปู่ท่านเคยเล่าว่า ท่านเองไม่เคยท่อง

ปาฏิโมกข์  แต่ท่านยกสิกขาบทขึ้นมาแล้ว  แปลได้อย่างคล่องแคล่วไม่ติดขัด

 

 

 

ต่อมาภายหลัง  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  พระองค์ทรงเห็นว่า การเรียน

แบบมูลกัจจายน์นั้นยากเกินไป  ทำให้มีผู้เรียนได้จบหลักสูตรน้อย  และต้องเสียเวลาในการเรียน

นานเกินความจำเป็น  พระองค์จึงได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนเสียใหม่ ซึ่งก็ใช้เป็น

หลักสูตรของการศึกษาฝ่ายคณะสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน  นับแต่นั้นมา การเรียนมูลกัจจายน์จึงถูกลืม

ในวงการศึกษาของคณะสงฆ์มาจนทุกวันนี้

 

 

นับเป็นหนังสือเก่าอันทรงคุณค่ายิ่งที่หายากมากเล่มหนึ่งในปัจจุบัน  ควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้า

เกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์   สำหรับ ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการ  นิสิต นักศึกษา  ตลอดจน

ผู้สนใจทั่วไป   

 

 

 

 

หนังสือพระมูลกัจจายนสูตร์  เป็นหนังสือปกอ่อน  หนา  83  หน้า

พิมพ์ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2457   จำนวน  1,000 ฉบับ

จำหน่ายที่โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์  ถนนราชบพิธ  กรุงเทพฯ

ราคาเล่มละ 1 บาท

 

 

 

บรรณานุกรม

วัดสัมพันธวงศ์  (2525)   พระอาจารย์ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  16 มีนาคม 2525 , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

เครดิตเว็บ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=164386
63  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีวัดไหนที่ผู้หญิงสามารถไปปฏิบัติธรรม ระยะเวลาสัก1-3เดือนบ้างคะ เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 08:31:20 am
แนะนำอีกทีหนึ่งครับ เดินทางสะดวก และเหมาะกับอุบาสิกา ไปพักผ่อน

แต่ไม่ได้บวชเป็นชีนะครับ เรื่องระยะเวลานั้นไม่ทราบ



แดนมหามงคล กาญจนบุรี

รายละเอียด จากสหธรรมิก เว็บนี้ครับ

http://www.liveinbangkok.com/forum/index.php?topic=9866.0
64  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญเที่ยว เกาะพะงัน ส่งเสริมการท่องเที่ยวครับ ให้เมืองไทยมีเงินหมุนเวียน เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 08:06:42 am




Koh Phangan Full Moon Marathon

จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2553 (แรม 1 ค่ำ) -25 กันยายน 2553 (แรม 2 ค่ำ)
 ณ วงเวียนหน้าท่าเรือเฟอร์รี่ เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี


 เป็นการจัดการวิ่งในช่วงกลางคืนซึ่งเป็นคืนที่พระจันทร์เต็มดวง
ทำให้มองเห็นภูมิประเทศที่สวยงามของเกาะพะงันได้ชัดเจน
แปลกไปกว่าการแข่งขันวิ่งทั่วไป

การจัดให้มีการแข่งขันวิ่งมาราธอน
และควอเตอร์มาราธอนบนเกาะพะงัน
เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ที่สนใจการออกกำลัง วิ่งเพื่อสุขภาพ
รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเกาะพะงัน
ซึ่งเป็นเกาะที่สวยงามของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดปาร์ตี้บนชายหาดในคืนพระจันทร์เต็มดวง
 ซึ่งใช้ชื่อว่า Full Moon Party
ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
65  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: วัตถุมงคล เช่น พระสมเด็จ และ ตะกุด จะช่วยป้องกันภัย ได้จริงหรือครับ เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 08:13:42 am


ตะกุดปลอกกระัสุน ต่างจากตะกุดนี้ มากหรือป่าวครับ



สมเด็จอรหัง
66  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ศิลปะวัฒนธรรม พระพุทธรูป ภาค 2 ต่อ เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 08:03:21 am


หลวงพ่อโต วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ครับ วัดนี่เป็นวัดที่หลวงพ่อแพ เป็นผู้สร้างครับ
ดพิกุลทอง ถือเป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวสิงห์บุรี ที่มีทั้งอริยสงฆ์ คือองค์หลวงพ่อแพและศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายอย่างเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งของเมืองสิงห์บุรี

     นอกจากตัววัดจะมีความสวยงามแล้ว วัดพิกุลทองยังตั้งอยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง หลังจากนมัสการหลวงพ่อแพแล้ว ก็เดินทางไปค้นหาประวัติศาสตร์ที่ ค่ายบางระจันและนมัสการพระอาจารย์ธรรมโชติที่วัดโพธิ์เก้าต้น

      จากนั้นเดินทางต่อ ไปดูของโบราณลุ่มแม่น้ำน้อย และแวะนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่วัดหน้าพระธาตุหรือเข้าตัวเมืองแวะ นมัสการองค์พระนอนจักรสีห์แล้วเข้าไปหา ของอร่อยกินในตัวเมือง เดินทางได้สบายครับระยะทางไม่ไกลมากนัก

      วัดพิกุลทอง ตั้งอยู่ที่ ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี วิหารและพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 036-540046 หรือโทรไปที่ 036-422768-9 โทรสาร 036-424089 สอบถามข้อมูลไปได้ตลอดครับ

เครดิตเว็บนี้ ครับ

http://travel.thaiza.com/%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%95+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-168663.html
67  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: คำที่คนไทย มักจะเขียนผิด เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 07:59:35 am
คุณธรรมธวัช เยี่ยมครับ กับประเด็นที่นำเสนอ ที่เป็นจริง ๆ

ถ้ามีโอกาสจะชวนมาเที่ยวเกาะสมุย หน่อยครับ

 :25:
68  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อภินิหาร ของ พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันต์ธาตุ เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 07:55:18 am
อนุโมทนา จริง ๆ ครับ

ที่มีวาสนา ได้บูชา พระบรมสารีริกธาตุ ที่บ้าน

ผมเคยฟังพระอาจารย์พูดครั้งหนึ่งว่า

สมัยที่พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ นั้น ถวายดอกไม้ในป่า บูชา พระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า

ยังได้อานิสงค์ อนันต์เลยครับ

ชื่นชมด้วยจริง ๆ ครับ

 :25:
69  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: วัตถุมงคล เช่น พระสมเด็จ และ ตะกุด จะช่วยป้องกันภัย ได้จริงหรือครับ เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 07:52:45 am
อ้างถึง
ตะกุดปลอกกระสุน หนึ่งดอก

กับ สมเด็จอะระหัง 1 องค์

และผ้ายันต์ปราสาทจักรพรรดิ์ 1 ผืน

มีรูปให้ชมบางหรือป่าวครับ ผมก็สนใจครับ อยากได้เหมือนกัน จะหาได้ที่ไหนครับ

 :25: :25:
70  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ประเทศไทย มีพระกรรมฐาน ที่เก่ง ๆ หรือป่าวครับ ? เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 07:50:37 am
 

 
อ้างถึง
แท้ที่จริงแล้ว พระสงฆ์ไทย ไม่มี พระกรรมฐาน ที่เก่ง ๆ เลยใช่หรือป่าวครับ


  คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบไม่ยาก ครับ แต่ตอบแล้ว จะ ชอบใจคำตอบหรือป่าว

  บางครั้งพวกเราชาวพุทธ ก็มักจะหันหลังให้กับความถูกต้อง เช่นเรารู้ว่ามีพระที่ปฏิบัติดี และ ปฏิบัติชอบ

  อยู่องค์ นี้แหละ ที่ท่านปฏิบัติได้จริง ๆ ด้วย แต่พอถึงเวลาในการสนับสนุน พระเหล่านี้ พวกเราเอง

  กับหันหลัง หรือ ตะแคงข้างให้ท่าน เพราะว่าติดกับคำว่า เกรงใจ


  เช่น พระลูกวัด เก่งกว่า ปฏิบัติดีกว่า เจ้าอาวาส

       พระธรรมดา เก่งกว่า พระสัญญาบัตร

      ในเรื่องการภาวนา หรือ ปฏิบัตินั้น เราคนไทยยังยึดติด กับพรรษา เกรียติบัตร ยศ

   กันอยู่ จึงทำให้พระกรรมฐาน เก่ง ๆ ท่านไม่ค่อยจะยุ่งกับโลกนัก เพราะยิ่งท่านปฏิบัติไปสู่ขั้นสูง  ๆ

   ส่วนใหญ่ ที่ผมพบแล้ว มักจะอยู่วิเวก ไม่ยุ่งกับเรื่องทั้งของสงฆ์ และ ชาวบ้าน

   วันหนึ่ง ๆ ท่านเพียงแต่ อ่านพระไตรปิฏก นั่งกรรมฐาน บางทีผมเห็นนั่งกรรมฐานมาติดต่อกัน  3 วัน 3 คืน

   ก็มีซึ่งผมก็นับถือมาก ๆ แต่ท่านไม่ค่อยที่ยุ่งกับเรื่องทางโลก


   ดังนั้นถ้าถามว่า พระกรรมฐานในประเทศไทย เก่ง ๆ นั้นมี หรือ ไม่ ก็ขอตอบว่า มี ครับ


   ส่วนเรื่องการที่คณะสงฆ์ไทยบางกลุ่ม ได้นำพระจากพม่า เข้ามาอบรมพระไทย ผมก็เห็นดีด้วยนะครับ

   เพราะจะได้ทำให้พระไทย เห็นคุณค่า ในพระของเราบ้าง

  แต่ความเป็นจริงกํบไม่ได้เป็นอย่างที่ผมคิด กับเป็นว่า พระไทยส่วนใหญ่ จะหดหู่ และ ก็เลือกสายปฏิบัติ

  กันออกมา อย่างเช่นตอนนี้ก็กำลัง จรรโลง หลักปฏิบัติ มหาสติปัฏฐาน 4 ยุบหนอ พองหนอ ดูอิริยาบถ บ้าง

  เท่าที่ผมทราบ ทำไมผมจึงทราบเรื่องพวกนี้ เพราะผมทำงานอยู่กลไกของ กรมศาสนา มีเรื่องต้องปรึกษา

  กับคณะสงฆ์ด้วย เป็นเจ้าของสวนมะพร้าวด้วย ดังนั้นการไปมาหาสู่ กับพระนั้นผมมีประสพการณ์ค่อนข้าง

  จะมาก ดังนั้น พระกรรมฐานเก่ง ๆ ของไทยมีหลายรูป ครับ แต่ถ้าออกนามไปตอนนี้ ก็ไม่ได้เข้าไปอบรม

  พระสงฆ์ที่เป็นนิสิตหรอกครับ เพราะว่า ฝ่ายคันถะธูระ ( การศึกษานั้น ) ไม่แจ่มแจ้งในการภาวนาจริง ๆ

  ยังคงติดภาพลักษณ์ เิดิม ๆ อยู่

  ยืนยันครับ พระกรรมฐาน ไทย เก่ง ๆ ยังมีอยู่อีกมาก ครับ ซึ่งไม่เป็นการยาก ที่ท่านทั้งหลาย จะได้พบ

  คุยสนทนาธรรม และ ทำบุญกับท่านครับ



  หรือ คุณปุ้ม คุณธรรมธวัช มีความคิดเห็นอย่างไรครับกับเรื่องนี้ครับ



       
71  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมอันเป็นที่รักด้วยคุณธรรม 7 ของพระนักเผยแผ่ หรือ กัลยาณมิตร เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 07:36:10 am
     
 
     
     ๑ ปิโย เป็นที่รัก คือ เข้าใจถึงจิตใจของผู้ฟัง
     ๒ ครุ เป็นที่น่าเคารพ คือ มีปฏิปทา จริยาวัตร ที่งดงาม
     ๓ ภาวนีโย เป็นที่น่าเจริญใจ คือ มีภูมิปัญญาที่แท้จริง
     ๔ วัตตา รู้จักพูดชี้แจงเผยแผ่ให้ได้ผล คือ สามารถอธิบายธรรมให้ง่ายได้
     ๕ วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำติชม
     ๖ คัมภีรัญจ กถ กัตตา คือ ฉลาดในการเทศน์
     ๗ โน จัฏฐาเน นิโยชเย คือ นำทางศิษยานุศิษย์ตามรอยบาทพระพุทธเจ้าทุกประการ



   ผมฝัน และ พยายามนึกถึง พระที่เผยแผ่ธรรมะ ในปัจจุบัน ตลอดถึงกัลยาณมิตร

  และอยากให้ได้ คุณธรรม 7 ประการใน บุคคลที่ผมนับถือ ครับ

 :25: :25:
72  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: คุณฝึกกรรมฐาน อะไร อยู่ขณะนี้ เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 04:36:53 am
อานาปานสติ อื่น ๆ ครับ
 :25:
73  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ผู้ป่วยมะัเร็งทุกระยะ โปรดอ่านตรงนี้.... เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 04:28:14 am
สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง  ณ อโรคยาศาล

"การรักษาที่อโรคยาศาลไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น"

อโรคยาศาล
 สถานอภิบาลพักฟื้นผู้ป่วยด้วยสมุนไพรธรรมชาติ
(Thai Herbal Nursing Home)

วัดคำประมง
เลขที่  95  หมู่ 4  ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร  47130

 

โครงการ "มาเป็นจิตอาสากันเถอะ เพียงปีละ 1 วัน(หรือมากกว่า)"

 

ประวัติ   วัตถุประสงค์ และเป้าหมายอโรคยศาล


  อโรคยศาล หมายถึง สถานอภิบาลพักฟื้นผู้ป่วยด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติไปจนกว่าอาการของผู้ป่วยจะ ทุเลาเบาบางลงไป หรือหมดไปสิ้นไปด้วยวิถีแห่งธรรมะและธรรมชาติบำบัดและหรือการแพทย์แบบองค์ รวม

อโรคยศาล วัดคำประมง ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็น สถานที่ทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบองค์รวม คือผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนไทย(สมุนไพร), การแพทย์แบบแผน, การแพทย์แผนจีน(การฝังเข็ม), สมาธิบำบัด, ดนตรีบำบัด, ธรรมะบำบัด, มนตราบำบัด, และอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

วัตถุ ประสงค์ของอโรคยศาล


      เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์(ทุกชาติทุกศาสนา) ที่มีความทุกข์อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงโดยเฉพาะโรคมะเร็งโดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดูแลรักษาได้มาจาก ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมกันบริจาค เริ่มเปิดให้บริการเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน ๒๕๕๐) มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาประมาณ ๕๐๐ คนแล้ว ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๓๐ ล้านบาท (ข้อมูล เดือนมิถุนายน ๒๕๕๐) ซึ่งผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษามาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งผู้ป่วยชาวต่างประเทศ

เป้าหมายของ การรักษา

ไม่ได้อยู่ที่จะรักษาโรคให้หายหรือทุเลาเบาบางลงไปแต่เพียงอย่าง เดียว หากแต่อยู่ที่สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของผู้ป่วย ที่ต้องการความเข้าใจชีวิตและมีความสุขในช่วงที่เจ็บป่วย ถ้าหากว่าจะต้องเสียชีวิตก็เสียชีวิตไปอย่างสุขสงบ (ตายแบบยิ้มได้) ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามแนวทางศาสนาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ญาติและผู้ป่วยก็จะได้รับประโยชน์จากการช่วยดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะมีผลในการปรับทัศนคติในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และสามารถเข้าใจและดูแลตนเองไม่ให้ป่วยเป็นมะเร็งต่อไป

ปัจจุบัน อโรคยศาล วัดคำประมงเป็นเสมือนโรงเรียนที่ให้ความรู้แก่เหล่าบุคคลทั่วไป เป็นแหล่งศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้มีคณะบุคคลต่างๆ นักเรียน นักศึกษา แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากทั้งในจังหวัดสกลนคร และจังหวัดใกล้เคียงขอเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก สัปดาห์ละหลายๆ คณะ ในปัจจุบันมีอาสาสมัครจากหลายสาขาวิชาชีพที่เสียสละเข้ามาช่วยเหลือดูแล รักษาพยาบาลผู้ป่วย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักจิตเวชบำบัด นักโภชนาการบำบัด ฯลฯ ซึ่งทุกท่านที่อาสาเข้ามานั้นเสียสละเป็นอย่างมาก นอกจากนี้อโรคยศาลยังได้นำวิทยาการสมัยใหม่บางอย่างเช่น DARKFIELD MICROSCOPE มาเพื่อตรวจสอบเลือดสดๆ (LIVE BLOOD ANALYSIS) ของผู้ป่วย เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และติดตามความก้าวหน้าในการรักษาโรคได้ดียิ่ง ขึ้น โดยการแนะนำของกองการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

 

การเตรียม ตัวก่อนเข้ารับการรักษา


1.ประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิม  ผลตรวจเลือด  ฟิลม์เอ็กเรย์  ผลตรวจอัลตราซาวด์หรือผลสแกน
2.สำเนาบัตรประชาชน 1 แผ่น  สำเนาบัตรทองหน้า-หลัง  1 แผ่น
3.หม้อเคลือบสำหรับใส่ยาต้มเบอร์ 32 จำนวน 1 ใบ
4.อาหารเสริมไอโซคาลชนิดชมดื่ม 1 กระป๋อง
5.น้ำยาบ้วนปาก 1 ขวด,ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
6.อาหารสำหรับผู้ป่วย
  -ข้าวกล้อง(ข้าวเจ้ากล้อง)  ผักสดหรือผลไม้ต่างๆ
  -เครื่องปรุงต่างๆ
  -อาหารประเภทปลาและอาหารประเภทชีวจิต  อาหารสุขภาพแนวเกอร์สันหรือแมคโครไบโอติก
  -หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ,กระติกน้ำร้อน,เครื่องปั่นแยกกาก
(โดยญาติที่เฝ้าไข้จะต้องเป็นผู้ทำอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานเอง  โดยทางวัดมีโรงครัวให้)
7.ของใช้ส่วนตัวอื่นๆ
8.ต้องมีญาติเฝ้าอย่างน้อย 1-2 คน


สัญญาณหรือสิ่งที่บอก เหตุที่น่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งมี 8 ประการ ดังนี้


1.มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย  เช่น อุจจาระเป็นสีดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด
2.กลืนอาหารลำบาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก สลับกับท้องเดินเป็นเวลานาน  อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับคนปกติได้ แต่ถ้าหากว่ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นให้สงสัยว่าจะเกิดมะเร็งขึ้นกับระบบทาง เดินอาหารและลำไส้ของท่าน
3.อาการไอเรื้อรัง   เจ็บคอหรือมีเสียงแหบอยู่นาน  อาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์อาจเป็นมะเร็งปอดได้
4.มีน้ำเหลือง  หนอง เลือด หรือตกขาวผิดปรกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
5.มีแผลที่รักษาแล้วไม่หาย  หากเป็นแผลปกติได้รับการรักษาจะหายภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากรักษาแล้วไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
6.มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกายของท่าน เช่น โตเร็ว เจ็บ  แตกเป็นแผลหรือมีเลือดออกให้สงสัย่าเป็นมะเร็งผิวหนัง
7.มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่างๆของร่างกาย  มีก้อนแข็งใต้ผิวหนังที่ผิดปรกติ  อาจจะเป็นมะเร็งเต้านมได้
8.มีอาการหูอื้อหรือเลือดกำเดาไหล  เป็นเรื้อรังอยู่นาน อาจเป็นมะเร็งโพรงจมูกได้

 นอกจากนี้ทางวัดคำประมงยังมีโครงการ  "มาเป็นจิตอาสากันเถอะ เพียงปีละ 1 วัน(หรือมากกว่าแล้วแต่ความสมัครใจ)"


ที่อยู่วัดคำประมง

พระปพนพัชร์  ภิบาลพักตร์นิธี (จิรธัมโม)
 เจ้าอาวาสวัดคำประมง

95 ม.4 ต.สว่าง อ.พรรณานิคม
จ.สกลนคร 47130
THAILAND
 
โทรศัพท์/ โทรสาร : 042-779-276
มือถือ :  081-601-6960
  081-111-7107
   
 เว็บไซค์อโรคยาศาล วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร


ที่มาจากเว็บ

http://www.mattaiya.org/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html


 :25: :25: :25:
74  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ขอเชิญร่วมงานปฏิับัติธรรม ที่เกาะสมุย วันที่ 24-26 /7/53 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 03:16:40 am
ขอเชิญท่านสาธุชนทุกท่าน ร่วมงานปฏิบัติธรรมฝึกอบรมกรรมฐาน

ร่วมงานปฏิบัติธรรมฝึกอบรมกรรมฐาน บวชเนกขัมมะ ถือธุดงควัตร ณ สำนักสงฆ์ภูแพง ซ.4 ต.บางปอ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่

เบอร์โทร สนส.ภูแพง 081-8853-0096

24 -26  กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จึงขออาราธนาพระภิกษุสงฆ์-สามเณร เชิญชวนท่านพุทธศาสนิกชน ญาติธรรมทุกท่าน ที่เคยร่วมปฏิบัติธรรมก็ดี ที่ยังไม่เคยก็ดี มาร่วมบำเพ็ญบุญถือบวชเนกขัมมะบารมี ปฏิบัติธรรมงานประจำปี 2553 เพื่อสร้างเสริมบารมีและลดหนี้กรรมแก่ตนเองและครอบครัว

ดูภาพ และ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

http://www.nathoncity.com/paper/4035








75  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: RDN ( Radio net online ) ทดสอบสถานีวิทยุ มัชฌิมา อาร์ดีเอ็น เมื่อ: มิถุนายน 04, 2010, 08:53:46 pm
เสียงดีครับ บนเกาะหมุย ฟังสบาย ๆ
76  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: มีโครงการดี ๆ ที่เป็นมูลเหตุ ให้พระอาจารย์ต้องการสร้างการ์ตูน หลวงปู่สุก เมื่อ: มิถุนายน 04, 2010, 08:53:11 pm
ผมเข้าอ่านตามลิงก์ แล้วครับ

ภาพสวย มาก ๆ ครับ

ถ้าให้ทำประวัติ หลวงปู่สุก ด้วยท่าจะดีครับ

แต่งบประมาณการจัดทำ นี่น่าจะหลายบาทนะครับ
77  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ภาวนในพระพุทธศาสนา นั้นไม่ต้องฝึก สมถะ ได้หรือป่าวครับ เมื่อ: มิถุนายน 04, 2010, 08:51:10 pm
แบบบ้านผมอยู่ บนเกาะหมุย พระคุณเจ้าส่วนใหญ่ที่นี่ จะสอนในแนวหลวงพ่อพุทธทาส เป็นส่วนใหญ่

เวลาฝึกภาวนานั้น จำเป็นต้องฝึกสมถะ หรือป่าวครับ

เพียงกำหนด รู้ อย่างเดียวก็พอหรือครับ

ถ้ากำหนด รู้ มีสติแล้ว จะสิ้นกิเลสได้หรือครับ

ผมเองลองทำอยู่แต่ไม่ก้าวหน้า

หรือว่า มีอะไรขาดไปในการกำหนดจริง ๆ
78  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: รายชื่อ ภาพยนต์ ละคร ธรรมะ ส่งเสริมคุณธรรม เมื่อ: เมษายน 10, 2010, 07:48:22 pm
เรื่องจริงผ่านจอ
ละครธรรมะ 8400
79  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จักรแก้ว รัตนะแก้ว คู่พระบารมีพระพุทธองค์ เมื่อ: เมษายน 10, 2010, 07:47:12 pm
 :s_hi:

ขอบคุณครับ ผมก็เคยอยากรู้เรื่องนี้พอดี ตรงใจครับ

 :c017:
80  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: จะหนีร้อนไปตากอากาศ ในสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่ไหนดีคะ ? เมื่อ: เมษายน 10, 2010, 07:45:57 pm
 :08:
มาเกาะหมุย สิครับ ช่วงนี้ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวครับ เพราะว่า ประท้วงกันอยู่ คนต่างชาติไม่ค่อยมาครับ
ชาวเกาะ แป่วครับ
หน้า: 1 [2] 3 4