ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีห้ามจิต ไม่ให้คิดอกุศล  (อ่าน 3459 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิธีห้ามจิต ไม่ให้คิดอกุศล
« เมื่อ: เมษายน 18, 2011, 11:44:29 am »
0



วิธีห้ามจิต ไม่ให้คิดอกุศล

ธรรมชาติของจิต ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบนึกคิดไปต่างๆ นานา เช่น นึกคิดไปในทางกามบ้าง นึกคิดไปในทางอาฆาตพยาบาทบ้าง การ นึกคิดในทางที่ไม่ดีเช่นนี้เรียกว่า อกุศลวิตก การห้ามจิตไม่ให้นึกคิดในทางอกุศลนั้น ทำได้ยาก บุคคลส่วนมากไม่ต้องการคิดในทางอกุศล

แต่มักจะอดคิดไม่ได้ คิดจนนอนไม่หลับหรือเป็นโรคประสาทก็มี ตรงกันข้าม เมื่อต้องการคิดเรื่องที่เป็นบุญเป็นกุศล มักจะคิดในทางกุศลไม่ได้นาน การห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในที่นี้จะได้กล่าวถึงวิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล 5 วิธีด้วยกัน

     :96: :96: :96: :96:

    (1) เมื่อใส่ใจในอารมณ์ใดอยู่ อกุศลวิตกเกิดขึ้น ก็ให้ใส่ใจอารมณ์อื่นที่เป็นกุศลและเป็นคู่ปรับกัน เช่น
          - เมื่อนึกคิดไปในทางราคะ ก็ให้หันมาเจริญอสุภสัญญา พิจารณาว่า ร่างกายนี้เป็นของเน่าเปื่อยไม่สะอาด มีของโสโครกไหลออกอยู่เนืองๆ จะหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร หรือสิ่งประเสริฐในกายนี้ไม่ได้เลย เมื่อมาใส่ใจอารมณ์อื่นที่เป็นกุศล คือ อสุภสัญญา ย่อมละราคะนี้ได้
         - ถ้าโลภอยากได้ข้าวของเงินทองต่างๆ ก็ให้พิจารณาว่าทรัพย์สมบัติเหล่านั้นเป็นของกลางสำหรับแผ่นดิน ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง เป็น เพียงของยืมมาใช้ชั่วคราว ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ในโลกให้คนอื่นใช้ต่อไป เมื่อมาใส่ใจเรื่องอื่นที่เป็นกุศล คือ ความไม่มีเจ้าของและเป็นของชั่วคราว ย่อมละความโลภในทรัพย์สมบัติได้
         - ถ้านึกคิดไปในทางเบียดเบียนด้วยอำนาจโทสะ ก็พึงเจริญเมตตาด้วยการระลึกถึงพุทธพจน์ ที่เป็นไปเพื่อคลายความอาฆาต เช่น พุทธพจน์ในกกจูปมสูตร (12/272) ที่ว่า
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้าเอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้น ภิกษุมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น ภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น
        พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิต ของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตาไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
        เมื่อมาใส่ใจอารมณ์อื่นอันเป็นกุศล คือ เจริญเมตตา ย่อมละโทสะได้ เหมือนช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็กตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก ฉะนั้น


    (2) เมื่อใส่ใจอารมณ์อื่นอันเป็นกุศล อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรพิจารณาโทษของอกุศลวิตกว่า ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เมื่อพิจารณาโทษอยู่อย่างนี้ ย่อมละอกุศลวิตกนั้นได้ เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวรู้ว่า มีซากศพซึ่งเป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจผูกอยู่ที่คอ ย่อมรีบทิ้งซากศพนั้นโดยเร็ว

    (3) เมื่อพิจารณาโทษของอกุศลวิตกนั้นอยู่ อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็อย่าใส่ใจ อย่านึกถึงอกุศลวิตกนั้น เมื่อไม่นึกไม่ใส่ใจก็ย่อมละอกุศลวิตกนั้นได้ เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย

    พระโบราณาจารย์ก็เคยใช้วิธีนี้ แก้ความกระวนกระวายของติสสสามเณรที่ต้องการลาสิกขา
    เรื่องมีอยู่ว่า ติสสสามเณร คิดจะลาสิกขา จึงแจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ พระเถระจึงหาวิธีเบนความสนใจของสามเณร โดยกล่าวว่า ในวิหารนี้หาน้ำได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต สามเณรก็กระทำตาม พระเถระกล่าวกับสามเณรอีกว่า เธอจงสร้างที่อยู่ใหม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะบุคคลหนึ่ง สามเณรก็รับคำ

    แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อมๆ กัน คือเรียนคัมภีร์ สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเขา และการบริกรรมเตโชกสิณจนถึงอัปปนา เมื่อเรียนสังยุตตนิกายจบลงแล้ว ก็เริ่มทำอยู่ในถ้ำ

    เมื่อทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว ก็แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล ที่เธอทำเสร็จนั้นทำได้ยาก เธอนั่นแหละจงอยู่ สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนาให้เจริญ แล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานในถ้ำนั่นแหละ

    ชนทั้งหลายจึงเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้ นี่คือเรื่องของติ สสสามเณรที่ถูกพระอุปัชฌาย์เบนความสนใจ ให้ไปกระทำสิ่งอื่นที่เป็นกุศล จนลืมความคิดที่จะลาสิกขา เมื่อไม่ใส่ใจ ไม่นึกถึง ความคิดที่จะลาสิกขาก็ดับไปเอง


    (4) เมื่อไม่นึกถึงไม่ใส่ใจในอกุศลวิตกนั้น อกุศลวิตกก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรใส่ใจถึงเหตุ ของอกุศลวิตกนั้นว่า อกุศลวิตกนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไรจึงเกิดขึ้น เมื่อค้นพบเหตุปัจจัยอันเป็นมูลรากแล้ว อกุศลวิตกนั้นย่อมจะเบาบางลง แล้วถึงความดับไปโดยประการทั้งปวง

    (5) เมื่อใส่ใจถึงเหตุแห่งอกุศลวิตกนั้นอยู่ อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็พึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิต เมื่อข่มจิตอย่างนี้ ย่อมละอกุศลวิตกนั้นเสียได ้เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยไว้ได้ แล้วบีบกด เค้นที่ศรีษะ คอหรือก้านคอไว้ให้แน่น ทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก ให้สยบ ฉะนั้น
   
   (ทั้ง 5 ข้อนำมาจาก วิตักกสัณฐานสูตร 12/256)
 
 ans1 ans1 ans1 ans1

วิธีควบคุมอกุศลวิตก ทั้ง 5 วิธีนี้ อาจย่อให้สั้น เพื่อให้จำได้ง่าย  ดังนี้ คือ
    1. เปลี่ยนนิมิต หันมาคิดเรื่องที่เป็นกุศล และเป็นคู่ปรับกัน
    2. พิจารณาโทษา พิจารณาโทษของความคิดฝ่ายชั่ว
    3. อย่าไปสน อย่าสนใจความคิดฝ่ายชั่ว หางานอื่นทำ
    4. ค้นเหตุที่คิด หาสาเหตุของความคิดฝ่ายชั่ว
    5. ข่มจิต เอาฟันกัดฟัน เอาลิ้นกดเพดาน เพื่อข่มจิต

    ผู้ที่ฝึกหัดตามวิธีทั้ง 5 นี้จนชำนาญ ย่อมควบคุมความคิดของตนได้ เมื่อต้องการความคิดเรื่องใดก็คิดเรื่องนั้นได้ ไม่ต้องการคิดเรื่องใดก็เลิกคิดเรื่องนั้นได้ การควบคุมความคิดได้ดังใจนึกเช่นนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งทางโลกและทางธรรม



บทความเดิม : วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล (จากเว็บธรรมจักร/ขออภัยไม่ทราบนามผู้เขียน)
เว็บพลังจิต : palungjit.org/threads/วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล.285563/
เว็บพลังจิตนำมาจากเว็บทีนนี่ : http://variety.teenee.com/saladharm/20044.html
เว็บทีนนี่นำมาจากเว็บธรรมจักร :  http://www.dhammajak.net/book/sara/sara13.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 11:20:47 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 07:02:37 pm »
0
5. ข่มจิต เอาฟันกัดฟัน เอาลิ้นกดเพดาน เพื่อข่มจิต

  อันนี้ดุเดือด มากนะคะ สำหรับเรื่องการฝึก เพราะอันที่จริง ถ้าคิดตามหลักปุถุชน ก็ต้องมีความอยากกันบ้าง
ถึงแม้คิดชั่ว แต่ไม่ได้ทำ ก็ไม่น่าจะเป็นไร นี่คะ

    :88:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 22, 2011, 04:49:26 pm »
0
เมื่อมาถึงภาวะ สุดท้ายซึ่งทุกคนจะต้องผ่านกัน ก็ต้องเหลือวิธีเดียวครับ

หนีไม่ได้ ต้อง ตา ต่อ ตา ฟัน ต่อ ฟัน ครับ

 :character0029:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 25, 2011, 06:29:07 pm »
0
ถ้าคิดตามหลักปุถุชน ก็ต้องมีความอยากกันบ้าง ถึงแม้คิดชั่ว แต่ไม่ได้ทำ ก็ไม่น่าจะเป็นไร นี่คะ

ภาวะสุดท้าย เหลือวิธีเดียวครับ ต้อง ตา ต่อ ตา ฟัน ต่อ ฟัน ครับ


"พึงละปฏิฆะ ด้วย การวางอุเบกขา"

ผม(ธรรมธวัช.!) ใช้วิธีนี้เสมอมา จึงรอดตัวมาได้จนทุกวันนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2011, 06:41:17 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีห้ามจิต ไม่ให้คิดอกุศล
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 01, 2017, 11:54:56 am »
0


วิตักกสัณฐานสูตร
สูตรว่าด้วย ที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนว่า ภิกษุผู้ทำสมาธิ(ประกอบอธิจิต) พึงใส่ใจเครื่องหมาย ๕ ประกอบอยู่เสมอ คือ :-

    1. เมื่อใส่ใจถึงเครื่องหมาย(๑)ใด เกิดความคิดฝ่ายชั่ว(๒)ขึ้น ให้เปลี่ยนเครื่องหมายนั้น ไปสู่เครื่องหมายอื่นอันประกอบด้วยกุศล ซึ่งจะเป็นเหตุให้คิดฝ่ายชั่ว ทำจิตให้เป็นสมาธิได้. เปรียบเหมือนเหมือนนายช่าง เอาลิ่มเนื้อละเอียดมาตอกเอาลิ่มเนื้อหยาบออกไปฉะนั้น.

    2. เมื่อใส่ใจถึงเครื่องหมายอื่น อันประกอบด้วยกุศล ความคิดฝ่ายชั่วยังเกิดขึ้น ก็พึงจารณาโทษของความคิดฝ่ายชั่ว ก็จะละความคิดฝ่ายชั่ว ทำจิตให้เป็นสมาธิได้. เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่รักสวยรักงาม รังเกียจซากศพสัตว์ต่างๆ ที่มาคล้องอยู่ที่คอฉะนั้น.

    3. เมื่อพิจารณาโทษของความคิดฝ่ายชั่วเหล่านั้น ความคิดฝ่ายยังเกิดขึ้น ก็พึงไม่ระลึกไม่ใส่ใจความคิดฝ่ายชั่วเหล่านั้น ก็จะละความคิดฝ่ายชั่ว ทำจิตให้เป็นสมาธิได้. เปรียบเหมือนคนตาดี ไม่ต้องการเห็นรูป ก็หลับตาเสีย หรือมองไปทางอื่น.

    4. เมื่อไม่ระลึก ไม่ใส่ใจความคิดฝ่ายชั่วเหล่านั้น ความคิดฝ่ายชั่วยังเกิดขึ้น ก็พึงใส่ใจถึงที่ตั้งแห่งเหตุของความคิด (วิตักกสังขารสัณฐานะ คือให้ดูอะไรเป็นเหตุให้ความคิดฝ่ายชั่วเกิดขึ้น) ก็จะละความคิดฝ่ายชั่ว ทำจิตให้เป็นสมาธิได้. เปรียบเหมือนคนเดินเร็ว เดินช้าลง หยุด ยืน นั่ง นอน สละอิริยาบถหยาบๆลง สำเร็จอิริยาบถละเอียดขึ้น.

    5. เมื่อใส่ใจถึงที่ตั้งแห่งเหตุของความคิดฝ่ายชั่วเหล่านั้น ความคิดฝ่ายชั่วยังเกิดขึ้น ก็พึงเอาฟันกดฟัน เอาลิ้นกดเพดาน ข่มขี่บีบคั้นจิต. เปรียบเหมือนคนมีกำลังกว่า จับคอคนมีกำลังน้อยกว่า ข่มขี่บีบคั้นฉะนั้น.

สรุป : เมื่อทำได้อย่างนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ชำนาญในทางที่เกี่ยวกับความคิด(วิตก ความตรึก) ประสงค์จะคิดเรื่องอะไร ก็คิดได้ ไม่ประสงค์จะคิดอะไร ก็ไม่คิดได้ นับว่าตัดตัญหาได้ คลายเครื่องรัดได้ ทำความทุกข์ให้ถึงที่สุดได้ ด้วยการตรัสรู้เรื่องจิตใจโดยชอบ.


อธิบาย
(๑) คำว่า เครื่องหมายหรือนิมิตก็คือ อารมณ์ที่จะให้จิตกำหนดนั้นเอง
(๒) มีข้อน่าสังเกตุในที่นี้ คือแสดงความคิดฝ่ายชั่วว่าประกอบด้วยฉันทะ โทสะ โมหะ ตามธรรมดากิเลสฝ่ายชั่วเคยเรียงราคะ โทสะ โมหะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ แต่ในที่นี้ใช้ ฉันทะ ความพอใจมาแทนราคะ หรือโลภะ


ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
วิตักกสัณฐานสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.2.html


 :25: :25: :25: :25:

แนะนำให้อ่าน

วิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่งวิตก [ฉบับหลวง]
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=4099&Z=4207

วิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยสัณฐานแห่งวิตก [ฉบับมหาจุฬาฯ]
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=20
                                                                                                       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2017, 11:58:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ