ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท  (อ่าน 12973 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 09:31:01 am »
0
บัว 4 เหล่า
หลวงพ่อชา สุภัทโท

ภายในโคลนนั่นน่ะ มีความเหม็นสาบเหม็นเน่าสารพัดอย่าง แต่ดอกอุบลทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ยิ่งสวย ยิ่งงาม ยิ่งต้นใหญ่ ลำใหญ่ ดอกใหญ่ โคลนทั้งหลายนั้นเป็นปุ๋ยของมัน

บัวทั้งหลายมันชอบปุ๋ย ติณชาติทั้งหลายชอบปุ๋ย ได้ปุ๋ยแล้วมันงาม ปุ๋ยนั้นเป็นของโสโครก เป็นของสกปรกเป็นของเหม็น กลิ่นสารพัดอย่าง มันจะเหม็นเท่าไรๆ สกปรกเท่าใดๆ บัวมันยิ่งชอบ ดอกมันยิ่งโต ลำมันใหญ่ ยิ่งยาว

ดอกบัวนั้นก็เปรียบกับจิตของเรา มันจมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สารพัดอย่าง อันมันเป็นโคลน ที่เป็นโคลนนี้ ท่านจึงจัดว่า ดอกบัวมันอยู่ในตม ที่มันอยู่ในโคลนนั้นน่ะ ท่านบอกว่า มันเป็นดอกบัวที่เสี่ยงเสี่ยงเพราะอะไร มันอยู่ในโคลนยังไม่มีหวังที่จะพ้นตมมาเลย มันจึงเป็นดอกบัวที่เสี่ยงมากทีเดียว มันเป็นเหตุที่ว่าเต่ามันก็จะกิน ปลามันก็จะกินได้ เพราะมันอยู่ในโคลน

จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้ามันหมกอยู่ใน ราคะ โทสะ โมหะ มันเหมือนอยู่ในโคลน มัจจุราชตามเอาเป็นอาหารหมดละ มันอยู่ในโคลน มันหนาแน่น มันไม่ได้ยิน มันไม่ได้ฟัง มันไม่ได้อบรม มันหนา มันแน่น มันก็ยังมีที่หวังของมันจะเป็นได้หลายอย่าง จะเป็นปุถุชน หรืออันธภาพชนทั้งหลาย เป็นได้หลายอย่าง แล้วแต่จิตของตน

อีกคนหนึ่งนั้น อีกจิตหนึ่งนั้น มันจะพ้นตมขึ้นมาแล้ว แต่มันอยู่ในกลางน้ำ ดอกบัวดอกนี้ก็ยังจะเสี่ยงอยู่เหมือนกัน นี่เพราะว่ามันจะเป็นอาหารเต่าหรือปลาอยู่เสมอ ยังไม่พ้น

เหล่าที่ 3 เสมอน้ำ พ้นตมแต่ยังเสมอน้ำ อันนี้ก็ยังเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ยังจะเป็นอาหารของปลา และเต่าอยู่ทั้งนั้นอันนี้มันเกิดความรู้สึกขึ้นมา มีญาณของพระพุทธเจ้าของเราที่ท่านหยั่งซึ้งลงไปว่า สัตว์โลกเป็นอย่างไร เหล่าที่ 4 นี้ เรียกว่า พ้นโคน พ้นตม พ้นน้ำมาจะบานแล้ว บัว 4 เหล่านี้คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญูเนยยะ ปทปรมะ นั่นแหละ

พระพุทธเจ้าของเราจึงมาตรัสเสียว่า เออ มันเป็นอย่างนี้อยู่ โลกมันก็ต้องเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่ให้มันเป็นอย่างนี้มันก็ไม่เป็นโลก จะต้องทำอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านรู้แจ้งโลกนี้ดี จึงทรงชื่อว่า โลกวิทู ในจิตของท่าน รู้แจ้งโลกว่า มันเป็นอย่างนี้ โลกมันเป็นอย่างนี้ เหมือนบัวในตมในโคลนมันเหม็นสาบ ดอกบัวไปเกิดที่ตรงน้ำ มันโผล่น้ำขึ้นมา มันมีกลิ่นหอมน่าทัศนาดูทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เพราะดอกบัวดอกนี้มันเกิดมาจากโคลนสกปรก

จิตใจของเราทั้งหลายก็เหมือนกันสัตว์โลกทั้งหลายก็เหมือนกัน มันปกปิดอยู่ด้วยอาสวธรรมทั้งหลายทั้งนั้นแหละ ถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตสาวกก็ดี ก็ต้องเกิดมาจากโคลนอย่างนั้น มีราคะ โทสะ โมหะปกคลุมอยู่ทั้งนั้นแหละ หุ้มห่ออยู่ทั้งนั้นแหละ

แต่พระพุทธองค์ก็พ้นมาได้ สาวกทั้งหลายก็พ้นมาได้ ท่านแยกกันอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่มีอันนั้นเป็นเหตุ ผลมันก็เกิดขึ้นไม่ได้

นำมาจาก
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/cha/05.html



บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

kanakorn

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 9
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 17, 2013, 12:27:28 pm »
0
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2

ข้างบนนี้คือบัวสี่เหล่า มีสองนัยนะ คือ ตามพระพุทธวจนะ กับตามอรรถกถาซึ่งสาวกแต่งขึ้นใหม่ก็คือบัว 4 เหล่า แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเรื่องบัวสี่เหล่า สอนเพียงแค่สามเหล่าเท่านั้น
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ประโยชน์อะไรที่เรามาหาข้อพิสูจน์นี้

ข้อมูล ความรู้ของท่านที่มี มีเพียงพอแล้วหรือ ที่จะมาใช้ในการตัดสิน

ประโยชน์น่าจะอยู่ที่ มันทำให้เราได้เจริญจิต ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บันทึกการเข้า

kanakorn

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 9
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 01:03:41 pm »
0
ลองไปค้นดูนะครับคงไม่ต้องใช้ความรู้อะไรมากเท่าไร เพียงแต่นำมาบอกเล่าให้อ่านกันแค่นั้น..ส่วนจะเชื่อหรือไม่ก็ตามใจครับส่งนตัวก็เจริญสติอยู่ตลอดครับ

บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 06:08:56 pm »
0
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
หน้าที่ ๑๑/๓๐๔    ข้อที่ ๙
ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
   [๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
   มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.
   พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
            เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
            จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
            มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
            ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.
   ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.
            พรหมยาจนกถา จบ


ในข้อนี้ เห็นจะหมายถึง ประโยชน์ จากบัว ๓ เหล่า พระพุทธองค์จึงได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า
                                          สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง    จงปล่อยศรัทธามาเถิด
                                  เราได้เปิดประตูอมตธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว
                                  ท่านพรหม    เพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก
                                  จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่ว    ในหมู่มนุษย์

ถึงแม้ว่าจะกล่าวไว้โดยตรงว่า
                                 ทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหม    และเพราะอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์   
ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๒    เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ   
ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้ มีธุลีในตาน้อย              มีธุลีในตามาก   
                           มีอินทรีย์แก่กล้า            มีอินทรีย์อ่อน   
                           มีอาการดี                    มีอาการทราม   
                           สอนให้รู้ได้ง่าย              สอนให้รู้ได้ยาก   
บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี    บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี

     ดังนี้แล้ว จักเห็นธรรม ที่ตรงกันข้าม เป็นต้น

     แต่อาศัยในบัว ๓ เหล่า ว่า จักสำเร็จธรรม ต่างกันที่ช้าไว  จึงทรงประทานโอกาส
เพื่อจะแสดงธรรม

     แต่มิได้อาศัย บัวเหล่าที่ ๔ ที่ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน ไม่มีโอกาสสำเร็จธรรมในชาติได้
จึงไม่จำเป็นที่จักนำมากล่าวไว้โดยตรง เพราะบัณฑิตจักเห็น ในธรรมอันมีตรงกันข้ามอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 08:43:06 pm »
0
ภาพจาก http://www.oknation.net/

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า
      [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีมีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี

    เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
          - บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
          - บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
          - บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด


    ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้นได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มีมีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี.
    ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า
   ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลายผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.


    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.

_______________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=7663&Z=8236&pagebreak=0


ภาพจาก http://www.pinmonthon.com/

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ปุคคลวรรคที่ ๔
     [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
              อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๑
              วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น ๑
              เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ ๑
              ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

___________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3712&Z=3834


     ปัญหานี้เคยโพสต์ไว้แล้วในกระทู้นี้ครับ
     ใครหนอ..กล่าวตู่พระพุทธเจ้า.? 'ท่านไม่เคยตรัสถึง บัว ๔ เหล่า'
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8311.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2013, 08:58:59 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 08:43:48 pm »
0

ดอกบัว ๓ เหล่า กับ บุคคล ๔ จำพวก
"พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสถึง ดอกบัว ๔ เหล่า"

บัวสี่เหล่า จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัวสี่เหล่า คือ อุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ที่อยู่ในฐานะของบุคคลที่สามารถฝึกสอนให้รู้ธรรมได้ และไม่ได้ในทางพระพุทธศาสนา เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าเปรียบบุคคลเสมือนบัวจำพวกต่าง ๆ นั้น เป็นข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) และพระไตรปิฏกว่า

    เมื่อแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ได้พิจารณาว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า (ตามนัยอรรถกถามี 4 เหล่า(1)) หรือ 3 เหล่า (ตามนัยพระไตรปิฎกมีเพียง 3(2))

    อนึ่ง มีความสับสนถึงเรื่องการเปรียบบุคคลด้วยบัว 3 เหล่าตามนัยพระไตรปิฎก คือสับสนนำข้อความในปุคคลวรรค ที่เปรียบบุคคลเป็น 4 เหล่า (3) มาปะปนกับข้อความในอรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) ที่เปรียบดอกบัวเป็น 4 เหล่า(4) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะในพระไตรปิฏกพระพุทธองค์ตรัสเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัวเพียง 3 เหล่าเท่านั้น

เมื่อพิจารณาจากบัวสี่หรือสามเหล่าดังกล่าว ความในมติอรรถกถากล่าวว่ายังมีมนุษย์บางจำพวกที่ไม่สามารถสอนได้ (อเวไนยสัตว์) ในขณะที่หากพิจารณาจากพระพุทธพจน์จากมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ตามพระไตรปิฎก มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตรัสรู้ธรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์ตรัสรู้ได้ (เวไนยสัตว์) กล่าวคือพระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วว่ามนุษย์ที่ยังสามารถสอนให้รู้ตามได้ยังมีอยู่ จึงทรงตกลงพระทัยในการนำพระธรรมที่ทรงตรัสรู้มาสั่งสอนเวไนยสัตว์





บัวสามเหล่า (ตามนัยพระไตรปิฏก)
ในพระไตรปิฏก พระพุทธองค์ทรงพิจารณาตามคำเชื้อเชิญของสหัมบดีพรหมที่เชิญให้พระองค์แสดงธรรม พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาตรวจสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ และทรงเห็นว่า สัตว์โลกที่ยังสอนได้มีอยู่ เปรียบด้วยดอกบัว 3 จำพวก ดังความต่อไปนี้ [5]
   
      "ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.
      เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี
      มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี
      จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี
      เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
      บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
      บางเหล่า ตั้งอยู่เสมอน้ำ
      บางเหล่า ตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด
ฉันใด

     ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น
     ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี
     มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี
     จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี
     บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี..."

___________________________________________   
ที่มา 'มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า'




บัวสี่เหล่า (ตามนัยอรรถกถา)
ตามนัยอรรถกถา ได้อธิบายบุคคล 4 ในปุคคลวรรค พระไตรปิฏก ปนกับอุปมาเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว 3 เหล่าใน มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [6] โดยลงความเห็นว่าบุคคล 4 ที่พระพุทธองค์ตรัสในปุคคลวรรค เปรียบกับดอกบัว 3 เหล่า (โดยเพิ่มบัวเหล่าที่ 4 เข้าไปในบุคคล 4 ในปุคคลวรรค) ดังนี้
   
    บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล.
    ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น
       - บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู.
       - บุคคลที่ตรัสรู้ธรรม เมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิตัญญู.
       - บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนยย.
       - บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.

______________________________________________   
ที่มา 'อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนา'




ความหมายของบัวสี่เหล่า ตามนัยอรรถกถา
    1. อุคคฏิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
    2. วิปจิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
    3. เนยยะ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
    4. ปทปรมะ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน



อ้างอิง
    [1] อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓.
    [2] พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) บุคคล ๔.
    [3] พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปุคคลวรรคที่ ๔.
    [4] อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร ธมฺมเทสนาธิฏฺฐานวณฺณนาอรรถกถา.
    [5] พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า.
    [6] พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า.
ที่มา th.wikipedia.org/wiki/บัวสี่เหล่า
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/,http://www.rmutphysics.com/,http://84000.org/,http://www.oknation.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2013, 08:45:22 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kanakorn

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 9
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 08:47:17 pm »
0
ขอบคุณครับที่ช่วยขยายความ....
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 09:18:57 pm »
0
ภาพจาก http://www.mindcyber.com/

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ 
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ พรหมยาจนกถา

ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
    [๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
     มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริกที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ

       - บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
       - บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ
       - บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.


    พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้าบางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่ายบางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
    เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟังจงปล่อยศรัทธามาเถิด
    ดูกรพรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.


    ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.
        พรหมยาจนกถา จบ

_________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=209&Z=258


ภาพจาก http://www.indiaindream.com/

      ans1 ans1 ans1
    
     ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ พรหมยาจนกถา แม้จะใส่หัวข้อว่า "ดอกบัว ๔ เหล่า"
     แต่ในเนื้อความกลับมีแค่ ๓ เหล่า นี้อาจเป็นความบกพร่องทางเทคนิคหรือเปล่า.?
     ซ้ำยังมีเนื้อความเดียวกับ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
     ซึ่งใช้หัวข้อว่า "ดอกบัว ๓ เหล่า" ความน่าเชื่อถือ จึงน่าจะเป็นพระสูตรมากกว่า

      :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2013, 09:20:59 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kanakorn

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 9
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 09:24:43 pm »
0
แต่ผมเชื่อพระสูตรนะครับ เพราะเป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ราชกุมารเอง ส่วนแบบสี่เหล่าเอาไว้อ่านประกอบว่าเป็นคำแต่งใหม่
บันทึกการเข้า

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 09:13:03 am »
0
สุดท้าย ก็ คือ บัว 3 เหล่า ที่พอจะโปรดได้

  ส่วนบัว เหล่า สุดท้าย พวกนี้ ไม่สนใจ พระ วัด ธรรมะ หรอกครับ

   :welcome:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: บัว 4 เหล่า หลวงพ่อชา สุภัทโท
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 07:16:58 pm »
0
 st11 :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ