ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ  (อ่าน 7981 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ

   ตกลงคำว่าเห็นกาย ในกาย นี่คือเห็น ลมหายใจเข้าออก หรือ ว่าเห็นความเป็น อนัตตา ครับ

  เรียนถามผู้รู้ ด้วยความสงสัยครับ

  thk56
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2013, 10:39:40 am »
0
ลม ก็คือ กาย

กาย ก็คือ ลม

เห็น ลม ก็คือ เห็นกาย

เห็นกาย ก็แสดง ว่าเห็นลม

    ผมเองก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ แต่ฟังในรายการแล้ว ก็คือ กล่าวว่า อานาปานสติ ก็คือ กายคตาสติ ด้วยเช่นกัน

   st12
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 12:12:02 pm »
0
 


    สติปัฏฐาน ๔ ในหมวดกาย แบ่งเป็น ๖ บรรพ คือ
      - อานาปานบรรพ
      - อิริยาปถบรรพ
      - สัมปชัญญบรรพ
      - ปฏิกูลมนสิการบรรพ
      - ธาตุมนสิการบรรพ
      - นวสีวถิกาบรรพ
    ทุกบรรพจะลงท้ายด้วย "เห็นกายในกาย" จะขอยกเอา"อานาปานบรรพ"มาแสดงดังนี้

     [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
     ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
     ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
     เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
     เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
     เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
     แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
     เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
     เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
     ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า


    ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ


    หมายเหตุ ตัวหนังสือสีแดงจะปรากฏอยู่ในตอนท้ายของทุกบรรพ

______________________________________________________
มหาสติปัฏฐานสูตร  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0




๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ กายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ หมายความว่า กายทุกส่วนทุกเนื้อเยื่อ ตั้งแต่เส้นผมถึงปลายเท้าเป็นที่ตั้งแห่งสติให้เกิดขึ้นได้ทั้งหมด กายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นของหยาบ หากพิจารณาถึงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สุดของการพิจารณาดูกายแล้ว ต้องพิจารณาเห็นกายทั้งหมดตามที่กล่าวไว้ถึง ๑๔ บรรพนั้นว่าเป็นของน่ารังเกียจ

อุบายวิธีในการพิจารณาเพื่อจะให้เห็นชัดกายที่สุดนั้น เริ่มจากการพิจารณากายส่วนนอกสุดก่อน เช่น การหายใจออก-เข้า การยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเอาสติเข้าไปกำหนดรู้กาย(การกำหนดรู้ลมหายใจ คือกำหนดรู้วาโยธาตุ เป็นต้น) แล้วต่อไปก็เป็นเหตุให้รู้กายในส่วนที่น่ารังเกียจนั้นว่าน่ารังเกียจจริงๆ แล้วมีปัญญากำหนดรู้มากขึ้นๆ จนรู้แจ้งว่ากายทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มี ๑๔ บรรพ (หัวข้อ) ได้แก่ อานาปานบรรพ อิริยาบถบรรพ สัมปชัญญบรรพ ปฏิกูลบรรพ ธาตุบรรพ นวสีวถิกาบรรพ ๙ (ป่าช้า ๙ ข้อ) รวมเป็น ๑๔ บรรพ ซึ่งจะแสดงต่อไป

๑.๑ อานาปานบรรพ
จากการศึกษาชุดบทเรียนชุดที่ ๙.๒ เรื่อง อนุสสติ ๑๐ ได้ศึกษาอานาปานสติในแง่ของการเจริญสมถกรรมฐาน แต่ในบทนี้จะศึกษาการพิจารณาลมหายใจเข้าออกมาเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าการปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ถ้าศึกษาให้เข้าใจแล้วสามารถที่จะปฏิบัติเอื้อประโยชน์อิงอาศัยซึ่งกันและกันได้

    ขอเปรียบเทียบการเจริญลมหายใจ ตามนัยแห่งสมถะและวิปัสสนาโดยสังเขป
    การเจริญอานาปานสติ (สมถะ) ต้องฝึกให้สติกำหนดรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกโดยการนับลม , การติดตาม ,การกระทบ , การตั้งมั่น
    การเจริญอานาปานบรรพ (วิปัสสนา) มีสติระลึกรู้ลมหายใจ โดยในเบื้องต้นอาจจะอาศัยวิธีการกำหนดแบบสมถะคือการนับ การติดตาม การกระทบ การตั้งมั่น แต่สุดท้ายในการปฏิบัติแบบวิปัสสนา คือ ต้องมีสติกำหนดรู้ในกองลมทั้งปวงนั้นว่าเป็นเพียงรูป จิตที่มีสติกำหนดรู้นั้นเป็นเพียงนาม รูปนามเป็นเพียงขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งกองทุกข์ทั้งปวง ตลอดจนรู้แจ้งรูปนามตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา





หลักการใช้สติพิจารณาลมหายใจ (อานาปานบรรพ)

    การกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า โดยความเป็นรูปก็ต้องพิจารณาว่า ลมหายใจอาศัยอะไรเกิด? ลมหายใจก็อาศัยอยู่กับวัตถุกรชกาย คาว่าวัตถุ ได้แก่ มหาภูตรูป และอุปาทายรูป นั่นเอง
    เมื่อกำหนดรู้รูปโดยความเป็นจริงอยู่เช่นนี้ ต่อไปก็รู้ถึงนามที่รู้รูป เหล่านั้น เพราะมีผัสสะ คือการกระทบความเป็นไปแห่งปฏิจจสมุปบาท มีอวิชชาเป็นต้นก็เป็นไป เมื่อ อวิชชาคือความไม่รู้เป็นไป ภพชาติย่อมเกิดขึ้นเป็นไปด้วย


     เมื่อเข้าใจความจริงได้อย่างนี้ ก็ข้ามพ้นความสงสัยได้ และเข้าใจได้ถูกต้องว่านี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล มีแต่ความเป็นจริงแห่งลมหายใจที่เป็นไปเท่านั้น จึงยกเอานามและรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ (นี้เป็นเพียงตัวอย่างการพิจารณาลมหายใจจนบรรลุธรรมได้)





     ผู้ปฏิบัติควรนำวิธีการข้างต้นนี้(ตามนัยพระสูตร)มาพิจารณา โดยมีวิธีการปฏิบัติโดยสรุป ดังนี้

     ๑. นำวิธีข้างต้นมาพิจารณาว่า กายภายใน(คือลมหายใจของตนเอง) ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นลมหายใจ คำว่าพิจารณากาย ไม่ใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากมหาภูตรูปและอุปาทายรูป ต้องพิจารณาอยู่ในมหาภูตรูปและอุปาทายรูป(คือรูปที่อาศัยมหาภูตรูปนั้นเกิดขึ้น) เป็นผู้พิจารณาเห็นการชุมนุมกันแห่งมหาภูตรูปและอุปาทายรูปนั้น
     เหมือนคนลอกกาบกล้วยออกจากต้น ต้นกล้วยนั้นถ้าลอกกาบออกไปที่ละกาบๆ แล้ว ก็จะพบความจริงว่าไม่มีแก่นสารอะไรเลย ชื่อว่าต้นกล้วยไม่มีแล้ว มีแต่กาบแต่ละกาบเท่านั้นเอง


     เมื่อพิจารณาถึงความเป็นจริงของกายโดยกาหนดรู้กายโดยรู้มหาภูตรูปและอุปาทายรูปแล้ว จึงเป็นเหตุให้สามารถแยกความเป็นกลุ่มเป็นกองได้ จึงไม่เห็นเป็นกาย เป็นหญิง เป็นชาย หรือเป็นธรรมอะไรอื่น นอกเหนือไปจากการชุมนุมแห่งธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว แต่สัตว์ทั้งหลาย มีความเชื่อผิดๆ จึงยังหลงยึดติดอยู่ ซึ่งที่จริงเป็นเพียงสภาวะการชุมนุมกันของมหาภูตรูปและอุปาทายรูปและธรรมอื่นๆ เท่านั้นเอง

      เพราะฉะนั้นพระโบราณาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
      สิ่งใดที่บุคคลเห็นอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นแล้ว สิ่งใดที่บุคคลเห็นแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นอยู่ เมื่อไม่เห็นตามความเป็นจริง จึงหลงติดอยู่ เมื่อหลงติดอยู่ ย่อมไม่หลุดพ้น
      ผู้ที่พิจารณาเห็นกายได้จริงๆ เขาจะเห็นกายอย่างเดียวเท่านั้นไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นๆ


      ตัวอย่างเช่น การมองเห็นพยับแดด บุคคลทั่วไปมองเห็นพยับแดดว่าเป็นน้ำ แต่ผู้ปฏิบัติไม่ใช่เห็นของปลอมเช่นนั้น แต่จะเห็นกายนี้ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และไม่งาม ไม่ใช่ว่าไปเห็นว่ากายเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา และเป็นของงาม
      แต่จะพิจารณากายได้จริงๆว่า กายเป็นที่ประชุมของกายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของไม่งาม เท่านั้นเอง
      กายนี้ใด้ มีลมหายใจออก มีลมหายใจเข้าที่ในครั้งแรกตอนที่คลอดออกจากครรภ์มารดา ต่อไปก็จะมีกระดูกที่กลายเป็นผุยผงไปในที่สุด

      พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำกายคือไฟ กายคือลม กายคือผม กายคือขน เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเบื่อหน่าย จะคลายความกำหนัดยินดี จะดับตัณหา จะสลัดออกไม่ยึดไว้ ละคลายได้

หมายเหตุ การพิจารณาในกายอย่างนี้ต้องพิจารณาให้ได้ในทุกๆ หมวดแห่งกายานุปัสสนาตั้งแต่อานาปานบรรพไปจนถึงการพิจารณาป้าช้า ๙ ข้อด้วย





     ๒. หรือพิจารณาเปรียบเทียบ กายภายในกับกายภายนอก โดยการเปรียบเทียบลมหายใจของตนเองกับลมหายใจของบุคคลอื่น ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าลมหายใจทั้งของตนเองและของบุคคลอื่นก็เป็นแต่เพียงลมหายใจนั่นเอง
    ๓. หรือจะพิจารณารู้สลับกันไปมาระหว่างกายภายในกับกายภายนอก คือการกำหนดรู้ ลมหายใจของตนเองบ้าง และกำหนดรู้ลมหายใจของบุคคลอื่นบ้าง สลับกันไปมาก็ได้


    ๔. ควรใช้สติพิจารณาการเกิดขึ้นของลมหายใจและธรรมอันเป็นเหตุเกิดแห่งลมหายใจ หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งลมหายใจ หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด-ดับ และธรรมเป็นเหตุเกิด-ดับของลมหายใจ สลับกันไปก็ได้

อธิบายเหตุเกิดของลมหายใจ เพราะมีโพรงจมูก ถ้าไม่มีโพรงจมูกลมหายใจก็เกิดไม่ได้ และถ้าไม่มีจิตลมหายใจก็เกิดขึ้นไม่ได้(เช่นซากศพมีโพรงจมูกก็จริงแต่ไม่มีลมหายใจเพราะไม่มีจิต)
    อุปมาเหมือนช่างทองที่ใช้เท้าเหยียบสูบเพื่อเปุาลมให้ไฟพ่นออกมาเพื่อเชื่อมทองได้ ฉันใด ลมหายใจก็เป็นไปได้เพราะมีจิต
    ลมหายใจนั้นเป็นรูป คือ เป็นวาโยธาตุ จิตและเจตสิกเป็นนาม(ฉะนั้นลมหายใจเกิดจากกุศลจิตก็มี เกิดจากอกุศลจิตก็มี ในขณะลมหายใจเกิดขึ้นก็มีจิตด้วย การพิจารณาเช่นนี้เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้ปฏิบัติก็ต้องรู้ลักษณะของจิตด้วย)
    หรือพิจารณาเหตุเกิดของลมหายใจในปัจจุบัน คือ เมื่อมีการกำหนดการกระทบของลมหายใจที่เข้า-ออกก็จะเห็นการเกิดของกองลมหายใจที่เข้า-ออกว่า ตลอดกองลมหายใจนั้นก็มีเริ่มต้นกระทบ(เกิด) และสุดท้ายแห่งการกระทบ(ดับ) อดีตเหตุของลมหายใจเกิดจาก อวิชชา กรรม สังขาร ภวตัณหา จึงทาให้มีภพชาติส่งให้มาเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายต้องรับผลของกรรมอยู่ในขณะนี้นี่เอง





    ๕. ที่สาคัญที่สุดคือจะต้องมีสติอยู่เสมอว่า ลมหายใจที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียงรูป(ลมหายใจเป็นรูป คือ เป็นวาโยธาตุ สติที่ประกอบกับจิตเป็นนาม) ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา และต้องตระหนักด้วยว่าการที่นำเอาลมหายใจมาพิจารณาโดยนัยต่างๆ ข้างต้นนั้น มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆขึ้น และเพียงเพื่อความสมบูรณ์แห่งการเจริญให้มีสติระลึกรู้เท่านั้น
    จึงไม่ควรที่จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขารใดๆ ที่กาลังเกิด-ดับอยู่ ไม่ควรเข้าไปยึดว่ากายคือลมหายใจนี้เป็นเรา เป็นของของเรา ของสัตว์ บุคคล ผู้หญิง ผู้ชาย


    ๖. สติกำหนดลมหายใจโดยอริยสัจ ๔ ต่อไป คือ
        ๖.๑ สติที่กาหนดลมหายใจ เป็นอารมณ์ สติ จัดเป็นทุกขสัจ
        ๖.๒ ตัณหาคือความยินดีพอใจในอดีตภพ จึงทำให้มีการเกิดมาในภพนี้ เป็นเหตุปัจจัยให้มีสติที่ไปกำหนดรู้ลมหายใจ อยู่ในขณะนี้นี่เอง ตัณหาในอดีตภพ จัดเป็นสมุทัยสัจ
        ๖.๓ การหยุดทุกขสัจและตัณหา จัดเป็นนิโรธสัจ
        ๖.๔ อริยมรรคที่กาหนดรู้ทุกขสัจ และละสมุทัยสัจมีนิโรธสัจเป็นอารมณ์ จัดเป็นมรรคสัจ

ข้อเตือนใจ การปฏิบัติวิปัสสนาเป็นเรื่องที่ต้องทำลายอัตตาตัวตนให้ได้ ฉะนั้นสติต้องกำหนดระลึกรู้ในกาย คำว่ากายจะมีความหมายเปลี่ยนไปในแต่ละหมวดการปฏิบัติต่างกันไป เช่น
    ในอานาปานบรรพ คำว่า “กาย” หมายถึง ลมหายใจ
    ในอิริยาบถบรรพ คาว่า “กาย” หมายถึง อิริยาบถ ๔
    ในสัมปชัญญบรรพ คาว่า “กาย” หมายถึง อิริยาบถย่อยต่างๆ


อ้างอิง บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ชุดที่ ๑๐ วิปัสสนากรรมฐาน
บรรณานุกรม
๑) ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท : พระสัทธัมมโชติกะ : อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์ ; พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒) วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ ๓) วิสุทธิมรรค ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง ๔) พระสูตร และ อรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑- ๒
ขอบคุณภาพจาก http://wallpaper.dmc.tv/ , http://www.bloggang.com/ , http://ecards.dmc.tv/ , http://gallery.palungjit.com/ , http://4.bp.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2013, 12:22:03 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 12:34:13 pm »
0
 st11 st12 thk56 :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 12:35:57 pm »
0
ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ

   ตกลงคำว่าเห็นกาย ในกาย นี่คือเห็น ลมหายใจเข้าออก หรือ ว่าเห็นความเป็น อนัตตา ครับ

  เรียนถามผู้รู้ ด้วยความสงสัยครับ

  thk56

      ans1 ans1 ans1
     
      ตามความเข้าใจของผม คุณMICRONE น่าจะเข้าใจถูกแล้ว
      พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งกล่าวว่า เห็นกายในกาย คือ เห็นส่วนย่อยๆในกาย
      กายจะแบ่งออกเป็น ๖ ส่วน เรืยกว่า ธาตุ ๖ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ(ช่องว่าง) และวิญญาณ
      แน่นอนครับ เราคงเห็นได้แค่ ๕ เท่านั้น
      การเห็นลมหายใจเข้าออก เป็นการเห็นด้วยตาในหรือความรู้สึกที่่ลมกระทบ
      การเห็นลมหายใจนี้ เรียกว่า เห็นกาย
      ผมรู้อะไรไม่มาก แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น อย่าซีเรียส

       :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:34:34 am »
0
ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ

   ตกลงคำว่าเห็นกาย ในกาย นี่คือเห็น ลมหายใจเข้าออก หรือ ว่าเห็นความเป็น อนัตตา ครับ

  เรียนถามผู้รู้ ด้วยความสงสัยครับ

  thk56

เห็นกายในกาย  ไม่ใช่เห็นลมหายใจเข้าออก    ลมหายใจเข้าออกไม่ใช่กาย  แต่เป็นเพียงกายสังขาร
ถ้าเราแยกรูปนามออกจากกัน  กายก็คือธาตุดิน น้ำ ลมไฟ 

แต่ถ้าเป็นลมหายใจนั้นก็คือการที่  จิตเข้าไปปรุงแต่ง
กายจนเป็นลมหายใจ

การเห็นกายในกาย  มันหมายถึงการปฏิบัติเรื่องกายานุสติปัฏฐาน จนสำเร็จเกิดปัญญาละสักกายทิฐิ
มองเห็นกายนี้เป็นเพียง  มหาภูติรูปสี่ที่มาประชุมกันตามเหตุ  เมื่อหมดเหตุย่อมต้องแตกสลายไป
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 11:10:09 am »
0

อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร

กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
               
    ก็คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน นี้เป็นเพียงคำอุปมาเท่านั้น.
    คำว่า ในกายภายใน ก็ดีนี้เป็นเพียงอัปปนาเท่านั้น. แต่อัปปนานั้นก็ย่อมไม่มาในคำนั้น.
    มาแต่อุปจารกัมมัฏฐานที่เหลือ.
    แต่ก็ยังมาไม่ถึง คำว่า ผู้ขยัน หมายถึง ผู้ฉลาด (ผู้ชำนาญ).


    คำว่า ชักเชือกกลึงยาวก็ดี ความว่า เหยียดมือ เหยียดเท้า ชักเชือกยาวในเวลากลึงกลองช่องพิณเป็นต้น ซึ่งเป็นของใหญ่.
    คำว่า ชักเชือกสั้นก็ดี ความว่า ชักเชือกสั้นๆ ในเวลากลึงของเล็กๆ น้อยๆ เช่นงาและลิ่มสลักเป็นต้น.

    คำว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ความว่า แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น เมื่อหายใจเข้ายาวโดยลมอัสสาสะและปัสสาสะ ที่เป็นไปโดยระยะยาวและระยะสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว ฯลฯ คอยสำเหนียกอยู่ว่าเราหายใจออกยาวดังนี้.
    เมื่อเธอสำเหนียกอยู่อย่างนี้ ฌาน ๔ ย่อมเกิดในนิมิตแห่งลมอัสสาสปัสสาสะ.
    เธอออกจากฌานแล้ว จะกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ หรือองค์ฌานได้.


    ในการกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะนั้น ภิกษุประกอบกัมมัฏฐานในลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมกำหนดรูปอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุ กรัชกาย ชื่อว่าวัตถุ มหาภูตรูป ๔ กับอุปาทายรูป ชื่อว่ากรัชกาย
    ต่อแต่นั้น จึงกำหนดในนามธรรม ซึ่งมีผัสสะเป็นที่ ๕ (๑. เวทนา ๒. สัญญา ๓. เจตนา ๔. วิญญาณ ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์.

    ครั้นกำหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้นอยู่ เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่านี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัย ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนาอยู่ ย่อมบรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.

    ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐาน กำหนดนามรูปว่า องค์ฌานเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุรูป กรัชกายชื่อว่าวัตถุรูป องค์ฌานจัดเป็นนาม กรัชกายจัดเป็นรูป เมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น จึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น จึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ.
    นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.





    คำว่า อิติ อชฺฌตฺตํวา ในกายภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกาย คือ ลมอัสสาสปัสสาสะของตน อยู่อย่างนี้.
    คำว่า หรือ ภายนอก ความว่า หรือ พิจารณาเห็นกายในกาย คือ ลมอัสสาสปัสสาสะของคนอื่น อยู่.

   คำว่า ทั้งภายในทั้งภายนอก ความว่า หรือในกาย คือลมอัสสาสปัสสาสะของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล
   ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลที่ภิกษุนั้นไม่หยุดกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว ให้กาย คือลมอัสสาสปัสสาสะสัญจรไปมาอยู่ ก็กิจทั้งสองนี้ ย่อมไม่ได้ในเวลาเดียวกัน.


  คำว่า พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิด ความว่า
           ลมอาศัยสูบของช่างทอง ๑
           ลูกสูบ ๑
           ความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น ๑
    จึงจะสัญจรไปมาได้ฉันใด
    กาย คือ ลมอัสสาสปัสสาสะก็อาศัย
           กรัชกาย ๑
           ช่องจมูก ๑
           จิต ๑ ของภิกษุ
    จึงสัญจรไปมาได้ฉันนั้น.
    ภิกษุเห็นธรรมมีกายเป็นต้น ซึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา ท่านเรียกว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในกาย.





    คำว่า พิจารณาธรรม คือ ความเสื่อมก็ดี ความว่า เมื่อสูบถูกนำออกไปแล้ว เมื่อลูกสูบแตกแล้ว เมื่อความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น ไม่มี ลมนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ฉันใด เมื่อกายแตกแล้ว เมื่อช่องจมูกถูกกำจัดเสียแล้ว และเมื่อจิตดับแล้ว ชื่อว่ากาย คือลมอัสสาสปัสสาสะ ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
    ภิกษุผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะดับ เพราะกายเป็นต้นดับ ดังนี้
    ท่านเรียกว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในกาย.

    คำว่า พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิด และความเสื่อม หมายความว่า พิจารณาเห็นความเกิดตามกาล ความเสื่อมตามกาล.

    คำว่า สติของเธอปรากฏชัดว่ากายมีอยู่ ความว่า สติของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่า กายแลมีอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร.

     คำว่า เพียงเท่านั้น นี้เป็นเครื่องกำหนดเขตแห่งประโยชน์.
     ท่านอธิบายว่า สติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้น หาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ ที่แท้ก็เพียงเพื่อประโยชน์สักว่า ความรู้ คือประมาณแห่งความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป และประมาณแห่งสติเท่านั้น.
     อธิบายว่า เพื่อความเจริญแห่งสติสัมปชัญญะ.

     คำว่า ไม่ถูกกิเลส อาศัยอยู่ ความว่า ไม่ถูกกิเลสอาศัย ด้วยอำนาจแห่งกิเลสเป็นที่อาศัย คือตัณหา และทิฏฐิอยู่.
    คำว่า ไม่ยึดถือสิ่งไรๆ ในโลกด้วย ความว่า ไม่ถือสิ่งไรๆ ในโลก คือรูป ฯลฯ หรือวิญญาณว่า นี้เป็นตัวของเรา นี้มีในตัวของเรา.
    ปิอักษรใน คำว่า เอวํปิ ลงในอรรถ คือ อาศัยความข้างหน้าประมวลมา.
    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบเทศนา คืออานาปานบรรพแสดงแล้วด้วยบทนี้. ฯลฯ

________________________________
อัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้า ,ปัสสาสะ คือ ลมหายใจออก 
         
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273&p=2
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
ขอบคุณภาพจาก http://photos1.hi5.com/, http://www.vcharkarn.com/ , http://www.thaieditorial.com/


กรัชกาย
    [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ)
    น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย).
    ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ในน้ำอสุจิ),
    ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม),
    ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่น่ารังเกียจ,
    กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว.


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 08, 2013, 11:20:40 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 09:50:40 am »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า