ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร  (อ่าน 10851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Dotahon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
 
  แบบว่า อยากมีตาทิพย์ ประมาณนี้


  thk56
บันทึกการเข้า

lomtong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 21, 2014, 03:45:37 pm »
0
ผมว่า เริ่มต้น ควรฝึกที่วัด ครับ

 :s_hi:
บันทึกการเข้า

Tumdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 21, 2014, 03:57:30 pm »
0
แล้ว ฌาน คือ อะไร รู้หรือยัง ?

    :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 10:10:44 am »
0

วิธีฝึกทิพยจักษุญาณ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
(จากหนังสือจดหมายจากหลวงพ่อ)

ความจริงวิชาทิพยจักษุญาณ นี้เป็นของไม่ยากอะไรเลย เป็นหลักสูตรที่เบาที่สุดในพระพุทธศาสนา พระเรียนนักธรรมตรีเรียกยากและเสียเวลามากกว่า หรือนักเรียนยากมากกว่า ทำกันไม่ได้ก็เห็นจะเป็นเพราะไม่สนใจ หรือสนใจเหมือนกัน แต่ไม่เอาจริง บางรายเอาจริงเหมือนกันแต่ไม่ทันถึงจริงก็เลิก บางรายเอาจริง ถึงจริงแล้ว มีอารมณ์เป็นทิพย์แล้ว แต่เหลิงเกินไปเลยไม่ได้ผล

วิธีฝึกทิพยจักษุญาณในพระพุทธศาสนามีหลายแบบ แต่ละแบบก็มีอรรถเป็นอันเดียวกัน คือต้องกำหนดภาพ เรื่องกำหนดภาพนี้จะเว้นมิได้เพราะเป็นเครื่องพยุงจิตให้เข้าสู่ระดับสมาธิ จะขอแนะแบบง่าย ๆ ที่คนส่วนใหญ่ทำได้ คณะศิษย์รุ่นเก่าสมัยอยุธยาเขาทำกันได้มาก ใช้เวลาไม่นาน จะแนะให้ทราบ


 :96: :96: :96:

1. ตัดความยุ่งอารมณ์ออกเสียในขณะฝึก ควรใช้เวลาไม่นานเกินไปในระยะแรก อย่างมากไม่ควรเกิน 5 นาที ในขณะนั้นตัดกังวลให้หมด ไม่ว่าเรื่องของความรัก เรื่องที่ไม่พอใจ อารมณ์อื่นทั้งหลาย ความง่วง และความสงสัย ระงับให้หมด คิดอย่างเดียวคือคาถาภาวนา และลมหายใจเข้าออก

2. ก่อนภาวนา กำหนดรูปพระหรือลูกแก้วอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปพระที่เห็นนั้น จะเป็นพระสงฆ์หรือพระพุทธไม่ห้าม กำหนดเอาตามใจชอบ ถ้าจิตหันไปสนใจอารมณ์อื่น ต้องรีบระงับก่อนหลับตาดูรูปพระหรือลูกแก้วเสียให้จำได้ เมื่อหลับตาลงก็กำหนดจิตจำพระที่จำได้นั้นตลอดไป ถ้าเห็นว่าจิตจะเลอะเลือนก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้ตลอดไปจนกว่าจิตจะมีอารมณ์ชิน ไม่ว่าเวลาใด กำหนดจิตเห็นภาพพระนั้นแจ่มใสไม่หายไปจากจิต อยู่ได้นานพอสมควร

3. ก่อนภาวนาหรือขณะภาวนา ต้องกำหนดรู้ลมสามฐานโดยสม่ำเสมอกัน คือหายใจเข้าลมกระทบจมูกแล้วมากระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจกระทบศูนย์อก และริมฝีปากบน ใครกำหนดรู้ได้สามฐาน อารมณ์จิตเป็นฌาน ถ้ารู้สามฐานไม่ได้ แม้ทำมาแล้วตั้งหลายแสนปี ก็ชื่อว่ายังปุถุชน คนที่นอกวงการของฌาน ถ้ากำหนดลมได้ครบสามฐาน ท่านเรียกกัลยาณชน หรือสาธุชนคือคนงานหรือคนดี ได้แก่ คนที่อารมณ์ว่างจากนิวรณ์ในบางคราวไม่ใช่ตลอดวัน เรื่องฐานลมนี้ ขอลดหย่อยผ่อนคลายไม่ได้ แต่ในระยะแรก จะกำหนดสามฐานไม่ได้เพราะจิตยังไม่ชิน ให้เริ่มจับฐานใดฐานหนึ่งตามถนัดก่อน ต่อเมื่อสมาธิสูงขึ้น มันจะกำหนดรู้ของมันเองทั้งสามฐานโดยไม่ต้องบังคับ

4. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ เอาศีล 5 พอแล้ว ไม่ต้องถึงอุโบสถ เพราะจะลำบากเกินไป

5. มีเมตาปราณี ทรงพรหมวิหาร 4 อยู่ปกติ ใหม่ ๆ พรหมวิหาร 4 อดรั่วไหลไม่ได้ ต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา ค่อยปรับปรุง ค่อย ๆ ควบคุม ไม่ช้าจิตจะทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ เมื่อทรงพรหมวิหาร 4 ได้แล้ว ศีลก็ค่อยบริสุทธิ์เอง สมาธิก็ทรงฌานได้ตลอดเวลา แม้แต่ขณะคุยกับเพื่อนก็สามารถเข้าฌานได้โดยฉับพลัน

 :25: :25: :25:

เรื่องอื่นนอกจากนี้ไม่มี ถ้าสงสัยอะไรก็ถามหนังสือคู่มือพระกรรมฐาน คาถาภาวนาให้มาแล้วค่อย ๆ ภาวนา { นะมะพะธะ : ผู้พิมพ์ } ทำเอาดี ไม่ใช่ทำเอาเวลา วันแรก ๆ ไม่ต้องมาก เอาพอสบาย สบายนานก็นั่งนาน สบายไม่นานก็เลิกเร็ว กำหนดให้เห็นภาพ รู้ลมหายใจ รู้คาถาภาวนาพร้อม ๆ กันไป อย่าละอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอันขาด อย่าเว้นแม้แต่ 1 วัน

วันไหนเหนื่อยมากเพลียมาก ร่างกายไม่ดีไม่ต้องนั่ง นอนหรือเดินก็ได้ตามต้องการ แต่อารมณ์คอยจับภาพกำหนดลม รู้คำภาวนาตลอดเวลาที่ปฏิบัติ ถ้าเห็นว่าอารมณ์จะทนรับไม่ไหวก็เลิก ปล่อยให้คิดไปตามสบาย เมื่อเห็นว่า เมื่อกำหนดจับภาพนั้นมีอารมณ์คล้ายภาพปรากฎแก่ใจอย่างผ่องใส ก็ลองใช้จิตให้เป็นประโยชน์ คือกำหนดรู้ ทิพยจักษุญาณ ไม่ใช่ตาทิพย์ คำว่า ญาณ แปลว่า รู้ ทิพยจักษุญาณก็คือรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ มันเป็นอารมณ์รู้เกิดที่ใจ ไม่ใช่ที่ลูกตา นักปฏิบัติมักจะเข้าพลาดตรงนี้


ที่มา board.palungjit.org/f4/วิธีฝึกทิพยจักษุญาณ-ของหลวงพ่อฤาษีฯ-8004.html posted by mahathat
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/




ฝึกทิพยจักษุญาณแบบโบราณ
คำสอนพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

ท่านวางแบบของท่านไว้ว่า ให้จัดธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๗ เล่ม ดอกไม้ ๗ กระทง ข้าวตอก ๗ กระทง บาตรใส่น้ำเต็ม ๑ ใบ ท่านให้ภาวนาด้วยคาถานี้ ตามแต่จะสบาย

คาถาภาวนา
นะมะพะทะ พุทโธ โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ ธัมโม โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ สังโฆ โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ


เมื่อภาวนาจนจุใจแล้ว ท่านให้เอาน้ำมนต์ในบาตรนั้นอาบทุกๆวัน ตามตำราท่านว่า ทำอย่างนี้ ๗ วัน ของท่านได้ทิพยจักษุญาณ จงรักษาสมาธิให้ดี ดูของท่านแล้วก็อาโลกกสิณดีๆ นั่นเอง ถ้าว่าคาถาเป็นนกแก้วนกขุนทองไม่มีหวังแน่ ต้องตั้งอารมณ์ตามแบบกสิณ มีหวังแน่ตามที่ท่านบอกไว้

อ้างอิง
http://www.luangporruesi.com/571.html
http://www.luangporruesi.com/572.html
ขอบคุณภาพจาก
https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 10:36:19 am »
0
ask1

ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
 
  แบบว่า อยากมีตาทิพย์ ประมาณนี้


  thk56


ans1 ans1 ans1

การได้อภิญญาต่างๆนั้น ต้องแสวงหาครูอาจารย์ที่สอนแนวเจโตวิมุติ เมื่อก่อนหลวงพ่อฤาษีลิงดำจะชื่อดังมาก พระที่มีฤทธิ์นั้นแบ่งได้สามระดับ คือ เตวิชโช(วิชชาสาม) ฉฬภิญโญ(อภิญญา ๖) และปฏิสัมภิทาญาณ หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเป็นเตวิชโช

           เตวิชโช(วิชชาสาม) คือ
           ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้
           ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(ตาทิพย์)
           ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น


แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช
คำสอนพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน


ทราบแล้วว่า เตวิชโชมีอะไรบ้าง ขอนำแนวปฏิบัติมาเขียนไว้ เพื่อรู้แนวทาง หากท่านผู้อ่านประสงค์จะรู้หรือจะ นำไปปฏิบัติก็จะสะดวกในการค้นคว้า เตวิชโชหรือท่านผู้ทรงวิชชาสาม มีปฏิปทาในการปฏิบัติดังต่อไปนี้


๑. การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
๒. ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิญญาเป็นบาท คือกสิณกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณ กสิณที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณนั้นมีอยู่สามกองด้วยกัน คือ
     ๑. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
     ๒. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
     ๓. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว

กสิณทั้งสามอย่างนี้ อย่างใดก็ตาม เป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุญาณทั้งสิ้น แต่ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้งสามอย่างนี้ อาโลกกสิณเป็นกสิณสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง ท่านว่าเจริญอาโลกกสินั่น แหละเป็นการดี


วิธีเจริญอาโลกกสิณเพื่อทิพยจักษุญาณ การสร้างทิพยจักษุญาณด้วยการเจริญอาโลกกสิณนั้น ท่านให้ ปฏิบัติดังนี้ ....ฯลฯ.........

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.luangporruesi.com/126.html


 ans1 ans1 ans1

สรุปก็คือ การได้ฌานและตาทิพย์นั้น แนะนำให้ฝึก"อาโลกกสิณ"ครับ

 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2014, 10:43:17 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฝึกสมาธิ ให้ เป็น ฌาน เริ่มต้น อย่างไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 06:51:31 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา