ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิบัติธรรมภาวนา ทำไมต้องการ วิเวก ถ้าไม่ วิเวก ไม่สำเร็จหรือครับ  (อ่าน 3503 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Tumdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ปฏิบัติธรรมภาวนา ทำไมต้องการ วิเวก ถ้าไม่ วิเวก ไม่สำเร็จหรือครับ

  คือไม่เข้าใจ ตรงนี้ ว่าแสดงว่า ถ้าเราอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน ใช้ชีิวิตอย่างทุกวัน ก็ไม่มีทางสำเร็จธรรม ใช่หรือไม่ครับ  ถ้าอย่างนั้น พระธรรม ก็ไม่เป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลเวลา สิครับ

  thk56
บันทึกการเข้า

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สงสัยต้องมาทำความเข้าใจ ก่อนว่า วิเวก ที่คุณ หมายถึง คือ อะไร ก่อน หรือ ป่าว

   :s_hi:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




วิเวก 3 (ความสงัด, ความปลีกออก)
       1. กายวิเวก (ความสงัดกาย ได้แก่ อยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี)
       2. จิตตวิเวก (ความสงัดใจ ได้แก่ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย เป็นต้น หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน และอริยมรรค อริยผล)
       3. อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ ได้แก่ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ที่เรียกว่าอุปธิ หมายเอาพระนิพพาน)


อ้างอิง : ขุ.ม. 29/33/29; 229/170
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง

     [๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.

     กายวิเวกเป็นไฉน.?
     ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว
     อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติรักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.


     จิตตวิเวกเป็นไฉน.?
     ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
     บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

    (เมื่อภิกษุนั้น)เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น
    เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบเป็นต้นนั้น
    เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียดกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น
    เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะอุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น
    และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.


    อุปธิวิเวกเป็นไฉน.?
    กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.


     :96: :96: :96:

    ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
    จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง
    อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร
.


    คำว่า ไกลจากวิเวก มีความว่า นรชนนั้นใด เป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ อันกิเลสมากปิดบังไว้อย่างนี้ หยั่งลงในที่หลงอย่างนี้
    นรชนนั้นย่อมอยู่ไกลแม้จากกายวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากจิตตวิเวก ย่อมอยู่ไกลแม้จากอุปธิวิเวก คือ อยู่ในที่ห่างไกลแสนไกล มิใช่ใกล้มิใช่ใกล้ชิด มิใช่เคียง มิใช่ใกล้เคียง.
    คำว่า อย่างนั้น คือ ผู้หยั่งลงในที่หลง ชนิดนั้นเช่นนั้น ดำรงอยู่ดังนั้น แบบนั้น เหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๕๕๖ - ๕๘๙. หน้าที่ ๒๔ - ๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=556&Z=589&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=30
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammada.net/ , http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

ปฏิบัติธรรมภาวนา ทำไมต้องการ วิเวก ถ้าไม่ วิเวก ไม่สำเร็จหรือครับ

  คือไม่เข้าใจ ตรงนี้ ว่าแสดงว่า ถ้าเราอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน ใช้ชีิวิตอย่างทุกวัน ก็ไม่มีทางสำเร็จธรรม ใช่หรือไม่ครับ  ถ้าอย่างนั้น พระธรรม ก็ไม่เป็น อกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาลเวลา สิครับ

  thk56


ans1 ans1 ans1

คำว่า อกาลิโก ใช้กับ สัทธรรมที่เป็นความจริงอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้เกี่ยวกับสถานที่
สถานที่ คือ โลก ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสิ่งปลูกสร้าง ล้วนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง

พระพุทธเจ้าท่านแนะนำเรื่องวิเวกไว้ตามพระสูตร คำสอนของท่านเป็นอกาลิโก
ส่วนตัวเห็นว่า หากบ้านใครมีความวิเวก ก็จะบรรลุธรรมได้เช่นกัน
ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ อย่างไร ก็ขอให้มาลองพิสูจน์กันดู

อุปสรรคเบื้องต้นของผู้แสวงหาธรรม คือ ปลิโพธ และนิวรณ์ สิ่งที่จะสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนา เรียกว่า สัปปายะ

สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย)
   1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ)
   2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป)
   3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ)
   4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ)
   5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก)
   6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น )
   7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกกับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี)

________________________________________
อ้างอิง วิสุทฺธิ. 1/161 ; วินย.อ. 1/524 ; ม.อ. 3/570
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


คุณทำดี ลองอ่านพระสูตรให้เข้าใจ พิจารณาโดยแยบคาย ขอให้เจริญในธรรม

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลองดูโฆษณา ส่วนนี้ ดูนะครับ
ผมว่า มีคำตอบของคำว่า วิเวก ด้วยนะครับ

 
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

aom-jai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า