ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'วัดนวมินทรราชูทิศ' ในดินแดนพระบรมราชสมภพ 'ในหลวง'  (อ่าน 1621 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




'วัดนวมินทรราชูทิศ' ในดินแดนพระบรมราชสมภพ 'ในหลวง'
ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

     วัดนวมินทรราชูทิศ ตั้งอยู่ที่ ๓๘๒ South Street East ณ เมืองเรย์นแฮม ใกล้เมืองเคมบริดจ์-นครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ พระพรหมวชิรญาณ (ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) พร้อมด้วย พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส รวมถึงพระธรรมทูตทั่วโลก ได้ประกอบพิธีพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดนวมินทรราชูทิศ ซึ่งถือเป็นวัดไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก

      พระพรหมวชิรญาณ บอกว่า คณะสงฆ์ไทยที่ไปปฏิบัติศาสนกิจ และพุทธศาสนิกชนชาวไทยและนานาชาติที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์อัครศาสนูปภัมภก ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ อันเป็นคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่ไพศาลต่อชาติ พระพุทธศาสนา และพสกนิกรไทย ตลอดถึงชาวโลก อย่างหาที่สุดมิได้


      :96: :96: :96:

     เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ จึงร่วมใจกันสร้างวัดและศูนย์วิปัสสนากรรมฐานไว้ในสถานที่เดียวกัน ในดินแดนที่พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพคือ ในเมืองเคมบริดจ์ นครบอสตัน หรือเมืองใกล้เคียง ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เพื่อดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และการกุศลสงเคราะห์ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวไทยและชาวพุทธนานาชาติ ให้ทุกคนในสังคมโลกเป็นคนดีมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ได้รับประโยชน์และสันติสุขโดยทั่วกัน

     การจัดสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ เริ่มมีการสร้างอุโบสถและตัววัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ บนเนื้อที่ ๒๓๓ ไร่ ด้วยงบประมาณกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท และได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทยกว่า ๕๐๐ ล้านบาท ทำให้วัดนวมินทรราชูทิศ เป็นวัดไทยในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมรูปพระองค์มาประดิษฐาน ณ โถงทางเข้า และภายในวัดยังมีการจัดนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ขณะพระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพในเมืองบอสตัน อีกทั้งยังมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และศูนย์วิปัสสนาขนาดใหญ่ด้วย

      :25: :25: :25:

     "โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ ขอให้ลองเทียบเคียงดู วัดทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สร้างมานานแล้วก็ยังมีการก่อสร้างอาคารที่จำเป็นเพิ่ม ซึ่งต้องใช้งบประมาณ และช่างก่อสร้างจำนวนมาก โดยเฉพาะงานสร้างเพียงอุโบสถหรือเพียงวิหารศาลาวัดในต่างประเทศ ยังต้องส่งช่างศิลปะที่มีฝีมือ ที่กรมศิลปากร หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงคัดกรองรับรอง ไปดำเนินการในส่วนพุทธศิลป์จำนวนหลายคน" พระพรหมวชิรญาณ กล่าว

     ขณะนี้ แม้การสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้จะเสร็จในบางส่วน แต่อีกหลายส่วนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยังต้องมีการเสริมสร้างในส่วนต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไป หากพุทธศาสนิกชนท่านใด คณะใด ปรารถนาจะร่วมรับเป็นเจ้าภาพรายการใดที่ทางโครงการกำลังเปิดให้รับเป็นเจ้าภาพ (พร้อมจารึกชื่อในส่วนที่เป็นเจ้าภาพ) หรือร่วมสมทบทุนในการสร้างและการดูแลรักษาพัฒนาวัดนี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้สถิตสถาพร อำนวยประโยชน์และสันติสุขแก่ปวงชนชาวโลก

    วัดนวมินทรราชูทิศ เมืองเรย์นแฮม นครบอสตัน (Wat Nawamintararachutis 382 S.Street East, Raynham, MA 02767-5130 U.S.A.) Phone (508) 823-1800 Fax (508) 823-1775 หรือที่ สำนักงานโครงการสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ (ประเทศไทย) ๔๐ วัดยานนาวา สาทร ๑๐๑๒๐ โทร.๐-๒๖๗๒-๓๒๑๖ โทรศัพท์มือถือ ๐๘-๑๖๑๕-๑๕๙๙ โทรสาร ๐-๒๒๑๒-๕๙๔๓





วัดต้นแบบแห่งพุทธศาสนา

      บีน แวง สถาปนิกผู้ออกแบบสร้างอุโบสถวัดนวมินทรราชูทิศ กล่าวว่า อุโบสถดังกล่าวออกแบบตามแนวคิดของพระพรหมวชิรญาณ ที่ต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันออกและตะวันตก คือ สถาปัตยกรรมแบบนิวอิงแลนด์และไทยเข้าด้วยกัน เพื่อให้ขัดกับสภาพแวดล้อมของเมือง ขณะเดียวกันก็สามารถรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยเอาไว้ โดยส่วนกลางของอุโบสถจะเป็นอาคาร ๓ ชั้น (ไม่รวมเจดีย์) ลักษณะโครงสร้างและการออกแบบในด้านประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ของวัดเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นวัดต้นแบบของพุทธศาสนสถานในโลกทีเดียว

       ans1 ans1 ans1

      ชั้น ๑ เป็นห้องโถงสำหรับจัดกิจกรรมการกุศลอเนกประสงค์ จุคนได้ ๖๐๐ คน ชั้นเบสเมนท์ เป็นห้องครัวใหญ่ ห้องรับประทานอาหารใหญ่ ห้องศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา ห้องไอที ห้องควบคุมระบบน้ำ-ไฟ ห้องระบบความปลอดภัย และห้องประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ครบวงจร โดยทุกอย่างเครื่องใช้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในปัจจุบัน

     ชั้น ๒ เป็นชั้นศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน (นวมินทรราชวิทยาลัย ที่จะเปิดสอนวิปัสสนากรรมฐาน ระดับปริญญาตรี-โท-เอก) และห้องปฏิบัติธรรมต่างๆ พร้อมห้องรับเสด็จ วีไอพี"

    ชั้น ๓ เป็นอุโบสถจตุรมุขขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาด ๑๕ ตัน ที่อัญเชิญมาจากประเทศไทย มีทางเดินภายในรอบเสมาในชั้นอุโบสถและทุกชั้นมีบันไดและลิฟต์ขึ้นลงทุกชั้น เพื่อประโยชน์แก่ศาสนกิจในเมืองหนาว ส่วนหลังคาอุโบสถมียอดเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปประจำพระชนมวารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



 ask1 ask1 ask1 ans1 ans1 ans1


ศรัทธาแห่ง"คหบดีชาวอินโดฯ"

พระพรหมวชิรญาณ เล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มเดิมทีอาตมภาพและคณะกรรมการได้ออกแบบวัดไว้หลายแบบ ตามกำลังปัจจัยและสถานที่ตั้ง ซึ่งโดยสรุปวัดก็จะมี ๒ ส่วน คือ
    ส่วนที่ ๑ เป็นอุโบสถ พุทธาวาส ที่ประกอบกิจพิธีสังฆกรรม
    ส่วนที่ ๒ เป็นเสนาสนะ สังฆาวาส ที่พักอาศัยของพระสงฆ์เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ

"โดยดำริว่า ถ้าได้ที่ตั้งและที่สร้างวัดเมื่อไหร่จะลงมือก่อสร้างในส่วนที่สองให้เสร็จเพื่อใช้สอยไปก่อน เมื่อรวบรวมปัจจัยได้พอเพียงจึงจะสร้างในส่วนที่หนึ่ง คือส่วนอุโบสถ ซึ่งวิธีแยกสร้างดังกล่าวย่อมจะเป็นการล่าช้าและใช้งบมาก ซึ่งในสหรัฐอเมริกาจะนิยมหาปัจจัยมาลงมือก่อสร้างทั้งโครงการให้เสร็จในคราวเดียวกันเลย จะประหยัดกว่ามาก คณะกรรมการจึงตัดสินใจใช้วิธีหลัง โดยเปิดรับบริจาคปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาก่อสร้างวัดนี้ให้เสร็จภายใน ๒ ปี โดยส่วนที่ขาดอาตมภาพ (พระพรหมวชิรญาณ) รับจะไปบอกบุญกับคณะศิษยานุศิษย์ต่อไป


 st11 st11 st11

ต่อมา Mr.Liem Sioe Liong คหบดีชาวอินโดนีเซีย ที่เคารพนับถือในพระพรหมวชิรญาณ ทราบข่าวกุศลนี้ ได้มอบให้ Mr.Anthony Salim บุตรชาย เข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการนี้ ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าอาตมภาพมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะดำเนินโครงการนี้ ถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้สมพระเกียรติ จึงปวารณาให้ยืมเครดิตออกทุนก่อสร้างให้เสร็จไปก่อนทั้งโครงการ โดยไม่ต้องรอเวลาสร้างนานเป็น ๒ ช่วง เมื่อได้ปัจจัยมาค่อยคืน (หรือจะไม่คืนก็ไม่เป็นไร) จึงทำให้โครงการนี้คืบหน้ามาจนบรรลุผลดังเป็นที่ปรากฏ สิ้นค่าก่อสร้างส่วนอาคารและเครื่องใช้ที่จำเป็นครบวงจร เป็นเงินประมาณ ๖๐ ล้านดอลลาร์บวก หรือประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท

"ในส่วนค่าตกแต่งพุทธศิลป์ภายในอุโบสถและอาคารต่างๆ ให้เป็นภาระของคณะกรรมการโครงการ ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้ มิใช่ด้วยบุญของอาตมภาพ แต่สำเร็จด้วยพระพุทธานุภาพ และพระบรมราชบุญญาภินิหารโดยแท้" พระพรหมวชิรญาณ กล่าวทิ้งท้าย


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140627/187197.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ