ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘วัดพุทธรังษี’ แบบอย่างวัดพอเพียงในต่างแดน  (อ่าน 1660 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


‘วัดพุทธรังษี’ แบบอย่างวัดพอเพียงในต่างแดน

ก่อนถึงวันทอดกฐิน ชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ได้ร่วมกันสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา รักษาศีล นุ่งขาวห่มขาว ถึงแม้จะเป็นกลุ่ม เล็ก ๆ แต่ก็ดูเรียบง่ายตามวิถีชาวพุทธ

ได้บินลัดฟ้าไปทำบุญทอดกฐินสามัคคีประจำปี 2557 ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ยังวัดพุทธรังษี ในสังฆราชูปถัมภ์ เมืองฮัจจิโอจิ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสมทบทุนซื้อที่ดินก่อสร้างอุโบสถวัดพุทธรังษี แบบอย่างวัดพอเพียงในต่างแดน เพื่ออุทิศถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวาระสิ้นพระชนม์ ครบรอบ 1 ปี

ก่อนถึงวันทอดกฐิน ชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ได้ร่วมกันสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา รักษาศีล นุ่งขาวห่มขาว ถึงแม้จะเป็นกลุ่ม เล็ก ๆ แต่ก็ดูเรียบง่ายตามวิถีชาวพุทธ พร้อมถูกขับกล่อมด้วยเสียงสวดมนต์ทำนองสรภัญญะอันไพเราะจากนักร้องเสียงคุณภาพ อย่าง ปาน ธนพร แวกประยูร ทำเอาผู้อยู่ในพิธีสวดมนต์บางคนถึงกลับน้ำตาไหล ซาบซึ้งในรสพระธรรมจากเสียงสวดมนต์นี้


 :49: :49: :49: :49:

เช้าของวันทอดกฐินสามัคคี ถึงแม้ว่าชาวไทยจะอยู่ห่างไกลจากวัดแค่ไหนต้องนั่งรถ ต่อรถไฟ ข้ามเมืองก็ไม่ย่อท้อที่จะหอบลูกหอบหลาน มาร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งกับพระเถระ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เป็นผู้นำคณะสงฆ์จากวัดบวรฯมารับบาตร ทำให้พุทธศาสนิกชนตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายถึงลูกเด็กเล็กแดง มีรอยยิ้ม เบิกบานแจ่มใส มีความสุขที่ได้ร่วมกันทำความดี เหมือนกับว่า ได้อยู่ในวัดบนผืนแผ่นดินไทย

พอถึงช่วงแห่องค์กฐิน เสียงกลองยาวดังกระหึ่ม นางรำร่ายรำตามแบบฉบับชาวไทย ชาวญี่ปุ่นต่างถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ เก็บไว้ชมประเพณีอันงดงามของคนไทยที่มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา โดยในขบวนกฐินนั้น มีนายสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธ์ อัครราชทูต ประจำกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานอุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ฝ่ายฆราวาส และมีนายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช กลุ่มบริษัทชัยยง เป็นประธานเชิญผ้ากฐิน คณะผู้แทนจากสายการบินแอร์เอเชีย เข้าร่วมในขบวนแห่ครั้งนี้ด้วย โดยระหว่างขบวนแห่นั้น ตั้งแต่หน้าวัดจนถึง ศาลาหลังน้อยเปรียบเสมือนอุโบสถชั่วคราว คลาคล่ำไปด้วยผู้คนทั้งชาวไทย ชาวลาว ชาวญี่ปุ่น ที่ต่างมีความเชื่อว่า การทอดกฐิน คือการได้ร่วมทำบุญใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

จากนั้นพิธีทอดกฐินได้เริ่มขึ้น ยอดเงินทั้งเงินเยน เงินไทย ต่างรวมกันมาด้วยจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวมากถึง 6 ล้านบาท ที่จะได้ร่วมกันซื้อที่ดินสร้างอุโบสถ ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ที่สำคัญทำให้เห็นว่า ประเพณีทอดกฐินนั้น ทำให้ชาวพุทธไม่ว่าเชื้อชาติไหน ได้แสดงออกถึงความสามัคคีปรองดองที่จะทำให้ กองกฐินสามัคคีของตนนั้น ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการสืบต่อพระพุทธศาสนา

นางอาภา นากามูระ คนไทยที่อยู่ในเมืองโยโกฮาม่า บอกว่า ตั้งใจมาร่วมทอดกฐินยังวัดพุทธรังษีแห่งนี้ ซึ่งวัดไทยในต่างแดน เป็นที่พึ่งทางใจที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยในต่างแดน ทำให้เราได้เห็นวิถีวัฒนธรรมไทย ได้พูดภาษาไทย ทำให้หายคิดถึงบ้านได้เช่นกัน


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อีกเสียงของชาวญี่ปุ่นอย่าง นายเคนจิโร่ นากามูระ บอกว่า ชอบทำบุญ และรักวัฒนธรรมไทย คนไทยน่ารัก อ่อนน้อม ที่สำคัญวัดไทยเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศไทย ที่รวบรวมวิถีชีวิต ความเป็นชาวพุทธแบบดั้งเดิมเอาไว้ เช่น การสวดมนต์ภาษาบาลี การนั่งสมาธิ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่า วิถีชาวพุทธแต่ละประเทศนั้น มีวิธีการต่างกัน แต่ผลลัพธ์เหมือนกันก็คือ การพัฒนาจิตใจและตัวเราเองให้เป็นคนดี

ด้าน พระพิชัย ฉินฺนกาโม รักษาการเจ้าอาวาสวัดพุทธรังษี เล่าถึงมูลเหตุความศรัทธาของญาติโยมที่มีต่อวัดแห่งนี้ให้ฟังว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนศรัทธาหรือไม่ศรัทธาต่อวัด อยู่ที่ตัวของพระธรรมทูต พระต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ญาติโยมเสียก่อน ซึ่งวัดในต่างประเทศจะเป็นผู้รับอย่างเดียวก่อนไม่ได้ วัดต้องเป็นผู้ให้เสียก่อน ตั้งแต่เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่พักพิงยามเมื่อเขาเดือดร้อน ที่สำคัญพระธรรมทูต ต้องทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยความตั้งใจจริง ๆ

“ตอนเกิดสึนามิในญี่ปุ่น และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีปัญหา ญาติโยมมานิมนต์ให้อาตมากลับเมืองไทย อาตมาบอกญาติโยมไปว่า ที่ผ่านมาวัดและอาตมาอยู่ได้ด้วย ข้าว ปลา อาหารจากญาติโยม พอยามมีภัยแล้วจะให้ทิ้งกันอย่างนี้หรือ อาตมาทำไม่ได้ ยังไงก็ขออยู่ช่วยเหลือคนไทย และคนญี่ปุ่นที่นี่ ในวัดแห่งนี้ วัดจะเป็นที่พึ่งพิงให้แก่ทุกคนไม่ว่าเชื้อชาติใด ศาสนาไหน”

 :25: :25: :25: :25: :25:

พระครูสังฆสิทธิกร พระฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ในฐานะกรรมการและเลขานุการโครงการจัดสร้าง “สร้างอุโบสถ วัดพุทธรังษี โตเกียว” บอกว่า วัดพุทธรังษี ได้เปิดวัดอย่างเป็นทางการ ในปี 2552 ซึ่ง สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานชื่อ “วัดพุทธรังษี” ซึ่งเป็นนามพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วัดแห่งนี้จะเป็นวัดพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตามแนวพระดำริ สมเด็จพระสังฆราช มีอุโบสถขนาดพอเพียงไว้ใช้ประกอบสังฆกรรม เช่น การอุปสมบทพระภิกษุสามเณร เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมที่แห่งนี้เคยมีบ้านพักของโชกุน อายุประมาณ 500 ปี แต่ได้ถูกรื้อถอนไปหมดแล้ว

ดังนั้น กรรมการวัดจึงมีมติจำลองบ้านพักโชกุนขึ้นมาเป็นอุโบสถ ภายนอกสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ภายในจะเป็นสถาปัตยกรรมไทย เพื่อเชื่อมวัฒนธรรมของทั้ง 2 ประเทศซึ่งจะจัดทอดกฐินสามัคคีเป็นเวลา 3 ปี โดยปีแรกจัดซื้อที่ดิน จากนั้นก่อสร้างอุโบสถ เรือนพักญาติโยม และกุฏิสงฆ์ ให้แล้วเสร็จในปี 2560 โดยใช้งบประมาณรวม 16 ล้านบาท


 st12 st12 st12 st12 st12

กฐินสามัคคีครั้งนี้ได้ผ่านไปแล้ว แต่วัดพุทธรังษี ยังต้องอาศัยแรงศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนในการสร้างอุโบสถให้สำเร็จลุล่วงไว้ใช้สร้างศาสนทายาทสืบต่อพระพุทธศาสนาในอนาคต อย่างไรก็ตาม วัดจะเป็นที่ศรัทธาของญาติโยมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาสและพระสงฆ์ภายในวัดต้องไม่เป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว รู้จักเป็นผู้ให้ตอบแทนสังคมด้วย ถึงจะได้ใจชาวพุทธ และจะทำให้วัดเป็นแบบอย่างของการทำความดี แต่ถ้าพระสงฆ์ทำตัวเป็นผู้รับ ตักตวงผลประโยชน์เพียงอย่างเดียวแล้ว วิกฤติศรัทธาก็จะเกิด ปัญหาคนไม่เข้าวัดก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีให้เห็นแล้วในหลายวัดในบ้านเมืองของเรา.

มนตรี ประทุม


ที่มา www.dailynews.co.th/Content/education/280490/‘วัดพุทธรังษี’+แบบอย่างวัดพอเพียงในต่างแดน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ