ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ ฉบับ ปริยัติ เพื่อ ปฏิบัติ ( เริ่ม 19 พ.ย. 57 - จบ (รอ) )  (อ่าน 13168 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อานาปานสติ ฉบับ ปริยัติ เพื่อ ปฏิบัติ เริ่ม 19 พ.ย. 57



   

    วันนี้ จะได้มาสาธยาย เรื่องราวกรรมฐาน ซึ่งนับว่ามีคำถาม มากที่สุด แต่ ทุกคำถามนั้น ดูแล้ว อ่านแล้ว ก็คล้าย ๆ กัน คือ ต้องการ และ อยากรู้ และ เพื่อเสริมการปฏิบัติ ในฉบับ ที่ไม่ขึ้นตรงต่อ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ต้องการขึ้นกรรมฐาน กับสำนักไหน ๆ แต่ ต้องการให้เป็นแบบรวม ๆ ที่เป็นฉบับที่ไม่ขัดกับ พระไตรปิฏก หรือ พุทธวจนะ ประมาณนี้
    ( คำถามนับว่า มีความเห็นแก่ตัว อยู่มากเหมือนกัน คือ ต้องการเรียนกับฉัน แต่ไม่อยากเคารพฉัน ต้องการศึกษาพระกรรมฐาน แต่ไม่อยากขึ้นกรรมฐาน ต้องการมาพักผ่อนในวัด แต่ ไม่อยากทำบุญ ประมาณนี้ นะ )

    เนื่องด้วยทุกท่าน คิดว่า พระธรรมเป็นของฟรี ได้ ฟรี ควร รับ ฟัง เรียน รู้ กันอย่าง ฟรี ๆ อันนี้เป็นความคิดของพวกท่านทั้งหลาย

    สิ่งที่แรกต้องให้เข้าใจ คือ พระธรรม ไม่ใช่ของฟรี พระพุทธเจ้า ลงแรง และ บารมี ถึง 5 แสนอสงไขยชาติ แห่ง การพระโพธิสัตว์ แม้พระชาติสุดท้าย ใช่เวลา หกปี และ การเสียสละ ความเป็นจักรพรรดิ คือ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ แบบ ชาวโลก นั่นคือการลงทุน ของพระพุทธเจ้า  นะ ดังนั้น อย่าคิดว่า พระธรรมเป็นของฟรี เพราะพระธรรม เหมาะกับผู้ลงทุน คือ ผู้สั่งสมบารมี มาแล้วเช่นกัน อันว่าไม่เคย สร้าง ทาน ศีล ภาวนา เลยนั้น แล้วจะมาเข้าใจพระธรรม กันเลยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ฉันเอง ใช้เวลามากกว่า 36 ปี ในการศึกษา และปฏิบัติ ถึงขั้นยอมสละชีวิตมาหลายครั้ง ยอมตาย บุกป่าฝ่าดง ใช้ชีวิตในถ้ำ ในป่า ในเขา ห่างหลีกเร้น หนีจากผู้คน วิเวกอยู่อย่าง เป็นอยู่อย่างอัตคัต ขัดสน ไมมีเกรียติ ไม่มียศ ไม่มีใครสรรเสริญ ใด ๆ ทั้งสิ้น นี่เป็นการลงทุนของฉัน เช่นกัน ดังนั้น ท่านทั้งหลาย ที่มาศึกษาหลักธรรม โดยเฉพาะเรื่องพระกรรมฐาน โดยที่ท่านทั้งหลายไม่ลงทุน คิดว่า เฉพาะอ่านแล้ว ฉันจะได้บรรลุธรรม เหมือนพระอริยะอื่นๆ ที่เพียงฟัง อ่าน คิด ก็ บรรลุ เพราะว่าท่านเข้าใจผิด นั่นเป็นเพราะว่า พระอริยะเหล่านั้น ท่านสั่งสม ทาน ศีล ภาวนา มาถึงขั้นเต็มแล้ว นั่นเอง จึงฟัง อ่าน คิด ตาม จึงได้บรรลุธรรม

     ตรงนี้ ถือว่าเป็น การเริ่ม ด้วยการเตือน สติ
     เพราะท่านทั้งหลาย กำลังจะเข้าสู่ การภาวนา ฝ่าย สติ
     นั่นก็คือ อานาปานสติ กรรมฐาน นั่นเอง
     หากท่าน ยังขาด สติ อยู่ การศึกษา อานาปานสติ นั้นคงไม่ใช่เป็นการง่าย เลย ที่มาศึกษา เพื่อการภาวนา
     เพราะวันนี้ ฉันจะมาปูทาง โรยทราย นุ่มๆ ให้ท่านเดินกันอย่างสบาย ๆ ( ใช่หรือไม่ ? )

  ดังนั้นก็มีเวลา จะค่อย ๆ เพิ่มเนื้อหาไปตามสมควรแก่ เวลา ไปเรื่อย ๆ นะจ๊ะ

   โดยในครั้งนี้ จะได้ หยิบยก พระสุตร ชื่อว่า อานาปานสติสังยุต อันปรากฏข้อความในพระไตรปิฏก เล่มที่ 19 หน้าที่ 453 ฉบับมหาจุฬา เป็นต้นไป




( พระโพธิธรรม นั่งหันหน้า หาฝาผนังถ้ำ 9 ปี รอผู้ที่เรียนธรรม และ สืบทอด ธรรมจากท่าน )

   พระเสิ่นกวง (ฮุ่ยเคอโจ้วซือ) ตัดแขนตนเอง เพื่อขอเป็นศิษย์เรียนธรรม ท่านตั๊กม้อ จึงเลิกหันหน้าหาฝนังถ้ำ ตั้งแต่วันนั้นและรับเสินกวงเป็น ศิษย์ลำดับที่ 1 ( แต่สาเหตุจริง เป็นเพราะภาษาธรรมที่พูดตอนนั้น พระเสิ่นกวงไม่เข้าใจความหมายคำที่ พระโพธิธรรมพูด จึงคิดว่าทำอย่างไรจะเป็นการมอบกายถวายชีิวิตเพื่อพระธรรมได้ จึงได้ตัดแขน )

  ที่นำส่วนนี้มาเล่าประกอบตรงนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงครูอาจารย์ ท่านไม่ได้หวงวิชาธรรม แต่เป็นเพราะพระธรรมขั้นที่สูงนี้ มันไม่เหมาะแก่บุคคลที่ไม่อุทิศตนเพื่อการภาวนา มิฉะนั้น ถ้าถ่ายทอดไป ก็เหมือนลิงถือคัมภีร์ ( เรื่องราวปรากฏในนิทานเซ็นไปค้นอ่านเอานะ เดี๋ยวมันจะยาว ) มันไม่มีค่าอะไรเลย ถ้าผู้รับธรรมไปแล้วไม่มีการภาวนา เลย นั่นเรียกว่า การสูญเสีย หรือ สาปสูญ ดังนั้นการเรียนธรรม ในสายกรรมฐานจริง ๆ นั้นในสมัยก่อน จึงไม่ทำตำราออกมาทุกวิชา ทำเพียงตำราเดียวเล่มเดียวและให้ผู้เหมาะสมสืบทอด เก็บรักษาไว้ ส่วนวิชาใช้การถ่ายทอดด้วยวาจา โดยไม่ต้องไปเปิดตำรา ใช้การเรียนผ่านตามลำดับ ฟังด้วยวาจาตามลำดับ จนจบ ดังนัั้น สมัยก่อน คนที่มาศึกษาธรรมไม่มีเรื่องเพลิดเพลินให้สนใจมากกว่า การเรียนธรรม เพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องกระตุ้น ด้านราคะ โทสะ โมหะ อย่างปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ สื่อต่าง ๆ ไวมาก เลยทำให้คนเสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ด้านลบ ได้อย่างเร็วจึงทำให้ความพยายาม มีน้อยมากในปัจจุบัน

     ลูกศิษย์สมัยก่อนให้นั่งกรรมฐาน 3 ชม ต่อวัน ใช้เวลา 1 เดือน แบบเดิม ไม่มีใครบ่น
     สมัยปัจจุบันให้นั่ง กรรมฐาน วันละ 30 นาที  ต่อวัน ใช้เวลา 1 อาทิตย์ เสียงบ่นมากมาย

     นี่แสดงให้เห็นว่า คนในปัจจุบัน มีค่าพยายาม น้อยลง และจะน้อยลงไปเรื่อย ๆ เพราะคนในปัจจุบันคิดว่าตนเองมีสติปัญญาสูง เป็นวิทยาศาสตร์ มาก จนมากกว่า ความคิดแบบพุทธศาสน์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อในด้าน สมาธิ น้อยลงไปเรื่อย ๆ อัตราของผู้ภาวนา จึงไปหนัก ที่ สติ มากขึ้น จนลืม อริยะมรรคข้อสุดท้าย คือ สมาธิ นั่นเอง

    ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริม ศรัทธา ความเลื่อมใส และ ความพยายามในพระกรรมฐาน จึงจักได้ นำเรื่อง อานาปานสติสังยุต มาสาธยาย ในหัวข้อกระทู้นี้ ซึ่งจะเรียบเรียง สาระธรรมที่สำคัญในการภาวนา ให้ไว้ ไปเรื่อย ๆ ตามชื่อหัวข้อ นะ



     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2014, 11:20:53 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หัวข้อในเรื่อง อานาปานสังยุต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2014, 10:39:14 am »
0


หัวข้อในเรื่อง อานาปานสังยุต ( อุทเทส สำหรับ สาธยาย )

   1. อานาปานสติ เป็น ธรรมอันเอก
   2. อานาปานสติ เป็น ธรรมมีอานิสงค์มาก
   3. อานาปานสติ มีรูปแบบ ที่การนั่ง เป็นหลัก
   4. อานาปานสติ มีการแสวงหาที่ สงัด เป็นหลัก
   5. อานาปานสติ มี 16 ชั้น (ใช้คำว่า ชั้น ไม่ใช่ ขั้น )
   6. อานาปานสติ แบบที่ 1 คือการเจริญโพชฌงค์ 7 ที่ สหรคต ด้วยอานาปานสติ
   7. อานาปานสติ แบบที่ 2 คือการเจริญอานาปานสติ ล้วน เรียกว่า อานาปานสติสุทธิกะ
   8. อานาปานสติ มีปฐมผล 2 ประการ
   9. อานาปานสติ มีทุติยผล 7 ประการ
   10. อานาปานสติ สำหรับพระอนาคามี ไม่ชื่อว่า วิจิตร หรือ พิศดาร ยก อริฏฐะ เป็นตัวอย่าง
   11. อานาปานสติ ย่อมทำให้กายไม่ไหว จิตไม่ไหว ยก พระมหากัปปินะ เป็นตัวอย่าง
   12. อานาปานสติ เป็นประทีป ( สว่าง ) เพราะการอธิษฐาน ตามลำดับ 17 ประการ
   13. อานาปานสติ เป็นกรรมฐานต่อเนื่อง คุมกรรมฐานอื่น ๆ
   14. อานาปานสติ เป็น สติปัฏฐาน 4 

       

    นี้เป็นอุทเทส แห่ง อานาปานสติ สังยุต ที่หยิบยก มาวินิจฉัย สาธยาย กันต่อไป ตามหัวข้อ
    สำหรับหัวข้ออุทเทศ นี้ หลักปฏิบัติสำคัญ อยู่ที่ ข้อที่ 6 และข้อที่ 12 เป็น ซึ่งเป็นการปฏิบัติ ตรง ๆ คือ ถ้าไม่ปฏิบัติตามมากอ่น ผู้ศึกษาก็จักทำได้แค่ อ่าน หรือฟัง หรือ จำเท่านั้น แต่จะไม่รู้ความนัย พิศดาร เลย
   
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2014, 11:10:04 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เสินกวงฝ่าซือ

ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ


     ย้อนกล่าวถึง พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ได้เดินทางมาถึงวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสนามว่า "เสินกวง" ท่านเจ้าอาวาสรูปนี้เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมมาก และความจำล้ำเลิศชนิดที่ว่า คนทั่วไปอ่านหนังสือกันทีละแถว แต่ท่านสามารถอ่านได้ทีละ ๑๐ แถวท่านสามารถฟังคนร้อยคนพูดในเวลาเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นท่านสามารถแยกแยะเรื่องราวจากเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง นับว่าท่านเสินกวงฝ่าชือ เป็นพระสงฆ์อัจฉริยะองค์หนึ่ง แต่ทว่าอีกด้านหนึ่งท่านก็เป็นนักบวชที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวมากด้วยเช่นกัน     

     ในด้านการเทศนาธรรม ท่านเจ้าอาวาสเสินกวง นับเป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมยอดแห่งยุคนั้น เพราะท่านสามารถเทศน์จนศรัทธาสาธุชนที่มานั่งฟังสามารถมองเห็นภาพสวรรค์ภาพนรกขึ้นมาได้

     วันนั้นขณะพระอาจารย์ตั๊กม๊อมาถึง ท่านเสินกวง กำลังแสดงธรรมเทศนา มีสานุศิษย์ชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงเข้าไปปะปนนั่งนิ่งฟังอยู่แถวหลังสุด ตอนไหนที่ถูกท่านก็ยิ้มๆ แล้วผงกศีรษะหน่อยๆ ตอนไหนที่เทศน์ผิดความหมาย..ท่านก็จะส่ายหน้าหน่อยๆ

     ฝ่ายท่านเสินกวง ผู้ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่บนแทนธรรมมาสน์ เมื่อมองเห็นพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ามาแสดงกิริยาเช่นนั้น เหมือนกับว่าเป็นการตำหนิตน ก็รู้สึกไม่สบอารมณ์บ้างแล้ว

     ครั้นการเทศนาธรรมจบลง ผู้คนเริ่มทะยอยกันกลับ พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงถือโอกาสเข้าไปสนทนาเพื่อหวังชี้แนะ ด้วยเห็นว่าเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาเป็นฐานอยู่แล้ว

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ     "ท่านอยู่ที่นี่ทำอะไร? "

ท่านเสินกวง          "อ้าว!...ข้าก็เทศน์ธรรมอยู่ที่นี่น่ะซิ!"

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ      "ท่านเทศน์ธรรมเพื่ออะไร?"

ท่านเสินกวง            "เทศน์เพื่อให้ผู้คนหลุดพ้น!"

พระอาจารย์ตั๊กม๊อ     "จะช่วยคนให้พ้น เกิดตายได้อย่างไร...ในเมื่อธรรมที่ท่านเทศน์ ก็คือ

                              ตัวหนังสือบนคัมภีร์
                              ตัวหนังสือดำ ก็เป็นสีดำ
                              กระดาษขาว ก็เป็นสีขาว
     
เทศน์ไปเทศน์มา ก็คือเทศน์ตามตัวหนังสือดำๆ บนกระดาษขาวๆ"

     เมื่อถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดไม่ทันให้ตั้งตัว ท่านเจ้าอาวาสเสินกวงได้แต่อึกอักอ้าปากค้าง ไม่รู้จะตอบอย่างไร จากความอายกลายเป็นโกรธจัด แม้ว่ายามปกติท่านจะเป็นนักเทศน์ที่เยี่ยมยอดก็ตาม แต่คราวอารมณ์โกรธปะทุ ขึ้นมาก็จะรุนแรงราวฟ้าผ่า

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อเห็นท่านเสินกวงไม่อาจตอบก็พูดย้ำเข้าไปอีกว่า

      "นี่แหละน๊า...แผ่นดินจีนในยุคนี้     มีธรรมะ ก็เหมือนไม่มีหากจะว่าไม่มี ก็มีคนพูดธรรมะกันทั้งเมือง"

     ถึงตอนนี้ ท่านเสินกวงสุดจะกลั้นความโกรธเอาไว้ได้ จึงเหวี่ยงสายประคำฟาดไปที่หน้าของพระอาจารย์ตั๊กม๊ออย่างสุดแรงพร้อมกับตะโกนด่าว่า

      "นี่แน่ะ!....แกกล้าดีอย่างไร ถึงมาเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนาที่นี่"

     จะว่าไปแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ท่านก็เป็นผู้ล้ำเลิศในเชิงวิทยายุทธ แต่ก็มิได้หลบหลีกการประทุษร้าย ทั้งนี้เพราะท่านนึกไม่ถึงว่า บรรพชิตผู้ออกบวช อีกทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนมากมาย จะมากด้วยโทสะจริตจนถึงกับลงมือลงไม้กันหนักขนาดนี้ และผลจากการถูกฟาดด้วยสายประคำเส้นใหญ่อย่างแรง ทำให้ฟันคู่หน้าทั้ง ๒ ซี่ หลุดอยู่ในปาก!

     ตามตำนานโบราณได้กล่าวว่า หากแม้นองค์พระอรหันต์เจ้าผู้บริสุทธิ์พระองค์ใด ถูกล่วงเกินทำร้ายถึงกับพระทันตธาตุต้องตกล่วง แม้ว่าเศษแห่งพระทันตธาตุนั้นตกลง ณ พื้นแผ่นดินใด แผ่นดินนั้นจะต้องประสบทุพภิกขภัย แห้งแล้งติดต่อกันถึง ๓ ปี!

     พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้เปี่ยมด้วยมหาเมตตาจิต พิจารณาว่า

      "หากแผ่นดินนี้ต้องแล้งฝน ขาดน้ำถึง ๓ ปี ชาวบ้านผู้คนเด็กเล็ก ตลอดจนสัตว์ใหญ่น้อยมากมาย จะต้องล้มตายกันนับไม่ถ้วนอันตัวเรานี้อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางจากแผ่นดินเกิดมาไกลแสนไกลก็เพื่อประกอบภาระกิจโปรดเวไนยสัตว์ มิใช่กลับกลายเป็นก่อวิบากกรรมให้แก่มวลเวไนย ให้ทุกข์ยากลงไปอีก"

     ท่านดำริใคร่ครวญเช่นนี้แล้ว จึงกลืนฟันที่ถูกฟาดจนหลุดทั้ง ๒ ซี่ลงไปไนท้อง ไม่ยอมบ้วนลงพื้น พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่มีความรู้สึกระคายเคืองใจ แม้เพียงน้อยนิต จึงได้แต่หันหลังเดินจากไปด้วยอาการสงบเย็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2014, 08:27:19 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนูโมทนาสาธุ st11 st12 st12 st11 gd1
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ อันนี้จบหรือยัง คะ หรือเพียงแค่ เริ่ม คะ st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตามอ่าน ศึษษา อยู่คะ

 :character0029: :character0029: :character0029:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สาธุ อันนี้จบหรือยัง คะ หรือเพียงแค่ เริ่ม คะ st11 st12

ยังไม่จบ เพราะเพิ่งจะเริ่มต้น แต่ ที่ทิ้งระยะไว้ให้อ่าน กันนี้ เพื่อให้ท่านทั้งหลาย เข้าไปอ่านเนื้อหาในพระไตรปิฏก กันซะก่อน จะได้มีความเข้าใจเร็วขึ้น สำหรับ อานาปานสติสังยุตนี้ มีเนื้อหา มากกว่า 150 หน้า แบ่งออกเป็นหลายตอน นะ สำหรับตอนแรก เรียกว่า ปฐมอานาปานสติ ตามที่สรุปนั้น มี 14 กัณฑ์ แบ่งส่วนสำคัญตามที่สรุปไว้นั่นแหละ ส่วน ทุติยะ ตติยะ จตุุตถะ ปัญจมะ ฉักกะ สัตตกะ อัฏฐะกะ นั้น ยังมีเนื้อหาไปเรื่อย ๆ เรียกว่า สมบูรณ์แบบในเนื้อหา อานาปานสติ จริง ๆ


 ;)
     
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อีกอย่างหนึ่ง คิดว่า คงใช้ระบบการพิมพ์ไม่ไหว เพราะว่าเนื้อหามาก ดังนั้น คิดว่า จะบรรยายเป็นตอน ๆ และใส่เสียงบรรยายลงไว้ ณ ที่ นี้ แต่ตอนนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พร้อมใช้งานด้วย จึงยังไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาให้ เพราะถ้าจะให้พิมพ์อธิบาย ซึ่งเป็น อรรถกถา ในแนวทางที่ปฏิบัติ ด้วยแล้ว คงใช้เวลามาก ในการพิมพ์ ดังนั้น รอไปก่อนนะ จะหาวิธีการที่ดูแล้ว สะดวก

    ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


อุทเทส ที่ หนึ่ง ( กัณฑ์ที่ 1 ) ว่าด้วย อานาปานสติ เป็น ธรรม อันเอก

1. อานาปานสติ เป็น ธรรมอันเอก

   คำว่า ธรรมอันเอก นั้น หมายถึงอริยะมรรคมีองค์ 8 หรือ ทางสายกลาง ดังนั้นเวลาที่พระพุทธเจ้า แสดงพระธรรมใดที่เป็นหนทางไปสู่ มรรค ผล และ นิพพาน ธรรมนั้น ชื่อว่า ธรรมอันเอก เพราะธรรมอันเอก ย่อมประกอบด้วย อริยะมรรค มีองค์ 8 ประการ

   ดังนั้น ธรรมอันใด ที่ประกอบ ด้วยอริยะมรรค มีองค์ 8 ประการ ธรรมนั้นชื่อว่า ธรรมอันเอก คือ เป็น ธรรมอันเดียว ที่สัมปยุต มรรค ไว้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นธรรมอันใด กล่าวขึ้นมา หรือ แสดงขึ้นมาด้วย หัวข้อธรรมอันไม่ประกอบ ด้วย อริยะมรรคมีองค์ 8 ธรรมนั้นไม่ชื่อว่า ธรรมอันเอก

   ในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

      พระพุทธานุสสติ พระพุทธเจ้า ตรัสว่าเป็นธรรมอันเอก เพราะ มีแก่นสารปลายทาง ที่ มรรค ผล และ นิพพาน
      อานาปานสติ  พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงไว้ใน กัณฑ์ นี้ ว่า เป็นธรรม อันเอก เช่นเกัน

      คำว่า อานาปานสติ หมายถึง สติที่ ( ประกอบด้วยอริยะมีองค์ 8 ประการ ) อันมี ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก เป็นองค์กรรมฐาน อันนี้ตามความหมายของคำว่า ธรรมอันเอก คือ อย่างนี้

      คำว่า อานาปานสติ ประกอบ ด้วย ศัพท์ 3 ส่วน คือ อานา +  ปาน +  สติ

      ในทางภาษากรรมฐาน ใช้คำกำกับ คำว่า อานา ก็คือ อัสสาสะ ปานะ  ก็คือ ปัสสาสะ สติ  ก็คือ นิสสาสะ

      คำว่า อัสสาสะ หมายถึง ลมหายใจเข้า คือ อัสสวาตะ
      คำว่า ปัสสาสะ หมายถึง ลมหายใจออก คือ ปัสสวาตะ
      คำว่า นิสสาสะ หมายถึง ลมหายใจที่หยุด ขณะที่ลมหายใจหยุด หรือเปลี่ยน หรืออดกลั้นไว้ คือ นิสสวาตะ

      ดังนั้น อานาปานสติ ประกอบด้วย ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และ ภาวะลมหายใจหยุด ( ที่มีชีวิตอยู่ )

      ลมหายใจเข้า ก็คือ การหายใจเข้าสู่ปอด และ ร่างกาย
      ลมหายใจออก ก็คือ การหายใจออกจาก กาย
      สภาวะที่สับเปลี่ยนลมหายใจเข้าและออก ก็คือ การเกิด และ การดับ ของลมหายใจเข้าและออก
     
      ลมหายใจเข้า จัดเป็น ลมเป็น คือให้ชีวิต ภาษาวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ออกซีิเจนต์ ลมหายใจเข้า จึงจัดเป็น ลมร้อน เพราะยังกายให้อบอุ่น เรียกภาษา การใช้ปราณ ก็คือ สุริยะปราณ หรือ สูรย์ปราณ

      ลมหายใจออก จัดเป็น ลมพิษ คือให้โทษ แก่กาย ถ้าหากไม่ขับ ลมนี้ออก ภาษาวิทยาศาสตร์ เรียกว่า คาร์บอนไดออกไซค์ เป็นลมที่เกิดจาการฟอกพิษในกายออกมา จึงจัดเป็น ลมเย็น เพราะถ้ามีอยู่ในกายมาก ก็จะทำให้กายเย็น มีมากกว่า ก็ทำเลือดแข็ง ในที่สุดจิตก็แตกดับ ถ้ามีมาก พอแตกดับ ลมนี้ทำให้กายแข็งเย็น ดั่งท่อนไม้ ท่อนฟืน ที่เรียกว่า ซากศพ ดังนั้นเวลาคนตายแล้ว ไม่มีลมหายใจออก ลมนี้ก็จะทำให้กายแข็งและเย็น เรียกภาษา การใช้ปราณ ก็คือ จันทราปราณ หรือ จันทะปราณ

      ลมหายใจหยุด ระหว่างการเปลี่ยนลมหายใจเข้า และ ออก เรียกว่า สภาะหยุด ในสภาวะหยุดหากมีการฝึกฝนในสภาพ ที่มีร่างกายที่พร้อม สามารถมีสภาวะหยุดลมหายใจเข้าและออก ได้ ตามสภาวะ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา 1 นาที - 3 นาที เรียกว่า อึดใจหนึ่ง คนที่มีการฝึกฝน มีปอดใหญ่ จะสามารถ หยุดลมหายใจได้ มากกว่า 3 นาที เคยเห็นมานักดำน้ำ ลงไปดำน้ำในสภาวะที่ไม่มีเครื่องช่วยหายใจเข้าและออก สามารถดำน้ำได้ พร้อมเคลื่อนไหว 15 นาที สำหรับผู้ทรงสมาบัติ จะอยู่ในสภาวะ หยุดนิ่ง เช่นกัน ตามการอธิษฐาน ดังนั้นพวกโยคี เป็นพวกที่ใช้ประโยชน์ การหยุดลมหายใจเข้าและออก เป็นส่วนใหญ่ สำหรับพุทธไม่สนการหยุดลมหายใจเข้าและออก แต่สนใจเข้าไปดูสภาวะการเกิด การดับ ของลมหายใจเข้าและออก

      สำคัญ เพราะพระพุทธเจ้า ตรัสไว้ให้เราระลึก รู้ ดูตาม ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ถ้าไม่รู้สภาวะเปลี่ยนหยุด ก็คือไม่รู้ลมหายใจเข้าและออก ภูมิธรรมกรรมฐาน อยู่ที่การกำหนดสติ สัมปชัญญะที่สภาวะหยุด หรือเปลี่ยน และสติ สัมปชัญญะ จึงกำหนด วิธีการลงไปที่ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก นั่นเอง

      อันนี้เริ่มต้น แต่ อาตมา เมื่อยนิ้ว จึงคิดว่า ยุติการพิมพ์ ลงก่อน นะ เอาไว้ มีเวลาสะดวกจะมาเพิ่มเนือ้หาไปเรื่อย ๆ นะสำหรับหัวข้อ อานาปาสติสังยุต ในฉบับ กรรมฐาน

     เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2014, 10:08:54 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแค่บทที่หนึ่ง ก็รู้สึก ว่า ความรู้ทางอานาปานสติ ที่มี รู้สึกด้อยติดดินเลย เพราะแค่บทที่ 1 แค่พระอาจารย์ เผยน้อย แบบพิมพ์น้อย ที่รู้มากลายเป็นว่า รู้น้อยมากเกี่ยวกับอานาปานสติ สนใจอยากให้พระอาจารย์ บรรยายจนจบเลยคะ คงต้องติดตาม กันอีกนานเลยใช่หรือไม่คะเรื่องนี้

   เพราะแค่ อุทเทส ปฐม กัณฑ์ที่ 1  ผ่านไป 5 แล้วยังไม่จบ เลย


   :73: :73: :73: :25: :25: :25: st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากข้อความที่พระอาจารย์ อธิบาย ทำให้รู้ว่า อานาปานสติสังยุต นั้น พิศดาร ตามลำดับ ซึ่งพอจะทราบตอนนี้แล้วว่า หัวข้อนี้ ไม่จบง่าย ๆ แน่ หากพระอาจารย์ ต้องพิมพ์ไปเรื่อย ๆ 8 หมวด แค่กัณฑ์แรก ยังไม่จบเลย หมวดที่หนึ่ง มี 14 กัณฑ์ คิดว่า อรรถกถา ไม่จบง่าย ๆ ดังนั้นจึงไปอ่าน ที่ ไฮไลท์ สีแดง ไว้ แต่อ่านแล้วก็ไม่เข้าใจอยู่ ดี คะ

  st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว รู้สึก ท้อเลย กลับไปหายใจเข้า ออก แบบเดิมดีกว่า รู้สึก ว่า จะเรียนอานาปานสติ ส่วนนี้ ยาก เกินสติปัญญา

 

  รู้สึกว่า สลับ ซับซ้อน มาก เลย
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คิดว่า ใจเย็น รอ พระอาจารย์ แสดง ต่อไปดี กว่า

  st11 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ส่วนตัวผมเอง นั้นเห็นว่า อานาปานสติสังยุต ที่พระอาจารย์บรรยายนี้ เป็นเรื่องดี
แต่ ไม่เหมาะกับผมแล้วที่ผมยังมีปัญญา ไม่ละเอียด แต่ ก็ยังตามอ่านนะครับ

ถึงแม้ว่าจะรู้สึกว่า อันนี้ พิศดาร จากที่เคยรู้แล้ว
คิดว่า หลายคนที่จ้องจะเอาเนื้อหาข้อความไป ทำหนังสือ คงจะขมักเขม้น รอ อยู่แน่ ครับ

  :49: st12
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ที่เราคิดว่าง่าย นั้น แท้ที่จริงอาจจะทำไม่ได้ กันมาตั้งนานแล้วนะครับ
พอมาฟัง พระที่เข้าใจและปฏิบัติได้ เราเลยรู้สึกว่า ยาก ใช่ไหมครับ

 นี่ถ้าสะดวก ใกล้ พระอาจารย์ ผมจะไปเรียน ทุกวันเลยครับ

  st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คนอ่านภาษานั้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆ ที่เราทั้งหลายนั้น จะอ่านออกเสียงได้ และเข้าใจความหมายของภาษาวลีและประโยคนั้นๆทั้งปวงได้ย่อมมาจากการเรียนรู้

      การเรียนรู้ แบบโลก ไม่ว่าจะเป็นชาติใดในโลก ก็มีเป็นระดับ คือ จากอนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย มีตรีโทเอกอีกต่างหาก มีเกียรตินิยมด้วย สําหรับผู้มีความเข้าใจมาก

         เราจะทําอย่างไรให้เราทราบตรงนี้ได้อย่างกระจ่างแจ้งแดงแจ๋ล่ะ


            การนับ ๑ .................คงเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุด ข งบรรดามนุษยชาติทั้งหลาย

             ทานการสละเท่านั้นที่จะทําให้เรามีความสุข  ศิลเท่านั้นที่จะทําให้เรามีความสุข ภาวนาเท่านั้นที่จะทําให้เรามีความสุข

              และไม่ประมาทในกาลหลังกึ่งพุทธกาลนี้  ที่พระพุทธองค์ได้ทำนายเอาไว้แล้ว


 
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากให้พระอาจารย์ สรุป หัวช้อทั้งหมดก่อนได้หรือไม่ คะ เพราะ บางหัวข้อก็คิดว่า ตัวเองก็ไม่ต้องรู้ก็ได้คะ แต่ รู้ ตามที่ พระอาจารย์  ไฮไลท์ ไว้ ก็พอแต่พอไปอ่านแล้ว ก็ไม่เข้าใจอยู่ดีคะ เพราะในพระไตรปิฏก ก็มีแต่เพียงหัวข้อเช่นกัน คะ ไม่มีคำอธิบาย คงต้องอ่านอรรถกถา ด้วยใช่หรือไม่คะ

  :88: thk56
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่าเรื่องนี้ถ้าเปิดหัวข้อแล้ว ดูแล้วน่าจะยาว น่าจะหลายตอน คิดว่า น่าจะแยกห้องเป็นห้องพระอานาปานสติ ไปเลยดีหรือไม่ครับ แค่ แนะนำนะครับ

 :c017: :s_good: :welcome:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แค่บทอุทเทสก์ บทแรก ก็รู้แล้ว คำบรรยายพิศดาร และไม่มีข้อความในพระไตรปิฏก เป็นลักษณะอรรถกถา คือ อธิบายข้อความของอานาปานสติ

   ติดตามครับ

   st11 st12
บันทึกการเข้า

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทุก ๆ ท่าน ไม่นึกถึงความเหนื่อยยาก ลำบากของพระอาจารย์กันเลยนะครับ ท่านสนับสนุนอะไรกับพระอาจารย์กันบ้าง ที่จะเรียกร้องเอาโน่น เอานี่ วันนี้ครูอาจารย์ท่านยังถ่ายทอดอยู่ มีชีิวิต มีเวลา ก็ขวนขวายกันไว้เถอะครับ สักวันหนึ่งท่านจากไปแล้ว เราจะเคว้งคว้างหาครูกันใหม่อีก

   ที่จริงอยากกล่าว ท่านเป็น พระที่น่ายกย่อง ในสังคมที่ไม่มีใครยกย่องท่าน ทั้ง ๆที่ท่านทำงาน ภาวนา อย่างจริง ๆ จัง แต่พวกเราก็เหมือนคนเข้ามาขุดทอง ออกไป โดยที่ไม่ได้ตอบแทน แกเจ้าของพื้นที่กันเลย

   สักวัน เราคงจะเคว้งคว้าง ถ้าขาดปูชนียบุคคล ในด้านการภาวนา เป็นแน่แท้

    st11 st12
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

sukanya

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นมัสการค่ะ  ช่วงนี้หนูฝึกหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโทนับ1 ไปเรื่อยๆจนถึง10อยู่ค่ะ ถ้ามีความคิดแทรกให้เริ่มนับ1ใหม่ ที่อ่านมาบอกว่าให้ดูลม3จังหวะคือที่จมูก ที่อก ที่เหนือสะดือ2นิ้ว หนูทำไม่เป็นค่ะ ไม่เห็นจุดที่ลมกระทบเลยค่ะ เห็นแต่ที่จมูกที่เดียว ไม่ทราบว่าต้องดูอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
นมัสการค่ะ  ช่วงนี้หนูฝึกหายใจเข้าพุทธ หายใจออกโทนับ1 ไปเรื่อยๆจนถึง10อยู่ค่ะ ถ้ามีความคิดแทรกให้เริ่มนับ1ใหม่ ที่อ่านมาบอกว่าให้ดูลม3จังหวะคือที่จมูก ที่อก ที่เหนือสะดือ2นิ้ว หนูทำไม่เป็นค่ะ ไม่เห็นจุดที่ลมกระทบเลยค่ะ เห็นแต่ที่จมูกที่เดียว ไม่ทราบว่าต้องดูอย่างไรคะ

การกำหนดจุดสัมผัสลม นั้น เรียกว่า ผุสนา คือการดูเฉพาะจุดที่สัมผัส ผู้ฝึกตรงนี้ต้องเป็นลำดับที่ 3 ต่อจากอนุพันธนา

การนับเรียกว่า คณนา เป็นการเริ่มต้น นับความยาวสั้นของลมหายใจเข้าออก การนับเป็นการฝึกดูความยาวสั้นของลมหายใจเข้าออก และเป็นการควบคุมปราณ ที่เข้าออกให้สม่ำเสมอ การควบคุมปราณเข้าออกได้อย่างสม่ำเสมอเท่าเทียมกันทั้งสองด้านนั้นเท่ากับว่า มีสมาธิระดับ ขณิกะขั้นละเอียด

การฝึกต่อจาก คณนา คือการ อนุพันธนา
อนุพันธนา หมายถึงการติดตามลมหายใจเข้าและออกด้วยความรู้สึก การสังเกตความรู้สึกอาศัยลมที่ผ่านเข้าผ่านออก โดยใช้ ธาตุไฟ และ ธาตุน้ำ ที่ธาตุลม นำเข้าไปใน ธาตุดิน เป็นตัวกำหนด ความร้อนเป็นลมหายใจออก ความเย็นเป็นลมหายใจเข้า ในระหว่างเปลี่ยนลมนั้นเป็น ธาตุอากาศ อย่างนี้เป็นต้นการตามดูลมจึงเป็นลำดับที่สอง

การฝึกต่อจาก อนุพันธนา คือ ผุสนา
ผุสนา จะมาถึงตรงนี้ต้องได้อุปจาระสมาธิขั้นหยาบแล้ว รู้ได้อย่างรู้ได้ คือ เส้นนิมิตที่เกิดจากอนุพันธนา เริ่มปรากฏชัดเด่น ในใจ คือหลับตาลืมตา ก็สามารถเห็นสามลมสายลมออก จะเริ่มเห็นเหมือนดั่งสายน้ำ สายหมอกเป็นต้น
เมื่อเห็นลมเด่นชัดในใจ ท่านให้กำหนดจุดกระทบกับลม 3 ระดับ เพราะมีความสำคัญมากตอนเดินปฐมฌาน แต่ถ้าไม่คิดเรื่องเดินปฐมฌาน ต้องการแค่อุปจาระก็ไม่ต้องสนใจตรงนี้ 
  จุดกระทบที่ต้องกำหนด คือ สิ้ินสุดลมจริง มีสองส่วน
    ส่วนที่ 1 เรียกว่าลมภายนอก กระทบสิ้นสุดและกักเก็บไว้ที่ปอด
    ส่วนที่ 2 เรียกว่า ลมภายใน ( ความดันลม) เป็นลมที่หลุดร่วงจากหลอดลมผ่านเลยไปถึงกระเพาะ และลมทีเกิดจากการแรงดันในกายเอง เรียกว่า ลมปราณ หรือลมภายใน ภาษาเรียกว่า ปราณทิพย์

 จุดที่ต้องกำหนดให้ได้ คือ หทัยวัตถุ และ ศูนย์นาภี ดังนั้นถ้ากำหนดไม่ได้ มันก็ไปตั้ง ฐปนา ขั้นสุดท้ายไม่ได้ เพราะ ฐปนา เป็นการตั้งฐานจิต เพื่อโคจรนิมิต

   ลมหายใจเข้า และออกนั้น ใช้กับพระสุกขวิปัสสก จนสิ้นสุด
   แต่สำหรับพระเจโต นั้นลมหายใจเข้าออก ใช้แค่การเกิดนิมิต หลังจากได้นิมิต แล้ว นิมิต ก็คือลมหายใจเข้า และหายใจออกนั่นเอง ซึ่งการโคจรนิมิต ก็จะเริ่มชัดเจนตั้งแต่ ขั้นที่ 11 ของอานาปานสติ

ฐปนา เป็นขั้นสุดท้าย ในขั้นที่ 11 มีเพียง 2 ฐาน คือ หทัยวัตถุ และ ศูนย์นาภี สำหรับพระเจโต แต่ พระวิปัสสก ต้องใช้ 3 ฐาน  ผู้อ่อนและฝึกตรงต้องใช้ 9 ฐาน ( นวหรคุณ )

 ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

ถ้าผมไม่หลงผิดไปหรือคิดไปเอง เหมือนผมจะบังเอิญไปสังเกตุเห็นแบบที่พระอาจารย์สอนโดยบังเอิญว่า..
"การฝึกต่อจาก คณนา คือการ อนุพันธนา
อนุพันธนา หมายถึงการติดตามลมหายใจเข้าและออกด้วยความรู้สึก การสังเกตความรู้สึกอาศัยลมที่ผ่านเข้าผ่านออก โดยใช้ ธาตุไฟ และ ธาตุน้ำ ที่ธาตุลม นำเข้าไปใน ธาตุดิน เป็นตัวกำหนด ความร้อนเป็นลมหายใจออก ความเย็นเป็นลมหายใจเข้า ในระหว่างเปลี่ยนลมนั้นเป็น ธาตุอากาศ อย่างนี้เป็นต้นการตามดูลมจึงเป็นลำดับที่สอง"


    ส่วนผัสสะรู้ลมตามจุดต่างๆถ้าผมไม่หลงไป ผมน่าจะจับสัมผัสได้บ้าง กล่าวคือถ้าผมไม่หลงผิดไปคิดว่ามันจะมีความรู้สึกเหมือนเย็นวาบเป็นสายเส้นทางของลมผ่านที่จุดพักลมนั้นเวลาลมเข้า เหมือนรูขุมขนจะลุกชันบ้างเวลาลมออกพอจะหมอดปลายลมออกจะรู้สึกอุ่นๆนิดๆที่จุดนั้น ถ้าผมไม่หลงผิดไปคิดว่านี่เป็นผัสสะลมตามจุดพักลมที่จิตรู้ได้ กับกายตามจุดพักลมต่างๆ หากไม่ใช่ก็ขอพระอาจารย์แนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ ผมจะได้มาถูกทางและหายบ้าสักที

   หากที่ผมรับรู้ได้นั้นถูกต้องดีแล้ว ทีนี้ผมอยากเรียนถามพระอาจารย์ครับว่า ผมจะไม่เอาสุกขวิปัสสก มาแนวปฏิสัมภิทา วิชชา ๓ สมาบัติ ๘ ผมจะต้องเจริญอย่างไรครับ เอานิมิตของลมเป็นอย่างไร
    โดยส่วนตัวผมนี้ก็รู้ว่าอานาปานสติในพระสูตรเป็นสุกขวิปัสกะแล้วผมก็อาศัยพุทโธทำมาเรื่อยๆ เคยมีความรู้สึกช่วงหนึ่งที่เหมือนมันไม่เอาอะไรอีกแล้ว อะไรก็ไม่มีให้ยึด เห็นเป็นของสมมติของไม่มีตัวตนไปหมดแม้แต่ตนเอง แล้วคิดเอาแต่จะบรลุๆให้ได้ อย่างนี้เรียกมาสุกขวิปัสสโกใช่มั้ยครับ ทีนี้ผมดันเคยไปตั้งสัจจะต่อรูปพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปหน่วงนึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วอธิษฐานไว้ที่จะเผยแพร่พระศาสนาให้อยู่สิ้นพุทธันดร โดยไม่เสื่อมถดลงยังแนวทางและหลักคำสอนให้ถูกต้องและตรงตามจริง แลกกับความหลุดพ้นจากมหาทุกข์แะลปัญหาทั้งปวงที่ผมพบเจอในเวลานั้น ตอนนั้นผมอ่อนแอมากๆๆๆๆๆ ดังนั้นผมจึงจำเป็นที่จะต้องรู้อย่างที่พระตถาคตรู้ เห็นอย่างที่พระตถาคตเห็น เข้าถึงอย่างที่พระตถาคตเข้าถึง ผมจึงอยากขอคำแนะนำให้ผมด้วยครับ ถือว่าสงเคราะห์แก่ผมที่ปากพล่อยพูดไปโดยไม่ประมาณตนเองด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2016, 09:31:46 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

        ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมคงฟุ้งซ่านไป พูดมากไป กหรือกระทำกาลอันใดที่ไม่สมควร ณ ที่นี้ก็ดี ที่ไหนก็ดี ผมขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดา พระธรรมทั้งหลาย พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และ พระอาจารย์ธัมมวังโสผู้เป็นพระอริยาจารย์ และ คณะศิษย์สายตรงทุกท่าน ตลอดจนท่านผู้รู้ทั้งหลาย กรรมน่าติเตียนอันใดที่ผมกระทำไปแล้วในกาลก่อน ปัจจุบันกาล อนาคตกาล ด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดีที่เป็นการล่วงเกิน เป็นสิ่งไม่ควร ผมก็ขอท่านพระรัตนตรัย พระอาจารย์ธัมมวังโส และ ท่านทั้งหลายนั้น อดโทษไว้แก่ผมด้วยโทษ ผมจะสำรวมระวังในคราวต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ