ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม นักท่องเที่ยวทั่วโลกขานนาม “วัดหินอ่อน”  (อ่าน 2669 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม นักท่องเที่ยวทั่วโลกขานนาม “วัดหินอ่อน”

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 69 ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ เดิมเป็นวัดโบราณเล็กๆ ชื่อว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นสมัยใด
       
       ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองนครเวียงจันทน์ ประเทศราชของไทยในเวลานั้น ได้ก่อการกบฏและยกทัพมาตีไทย เมื่อ พ.ศ. 2369 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ เป็นผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณวัดแหลมแห่งนี้

       
        :25: :25: :25: :25: :25:

       หลังเสร็จสิ้นการปราบกบฏแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2370-2371 ร่วมกับพระญาติวงศ์ ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ แล้วทรงสร้างพระเจดีย์ 5 องค์ ตั้งเรียงรายด้านหน้าวัด เป็นอนุสรณ์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามใหม่ให้วัดนี้ว่า “วัดเบญจบพิตร” แปลว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์
       
       ครั้นถึง พ.ศ. 2441 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชอุทยาน จึงโปรดเกล้าฯให้จัดซื้อที่บริเวณด้านทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ระหว่างคลองสามเสนกับคลองผดุงกรุงเกษม แล้วสร้างพระราชอุทยาน ซึ่งได้พระราชทานนามว่า “สวนดุสิต”

       
ด้านหลังพระอุโบสถ

       ต่อมาเมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น จึงได้โปรดให้สร้างสวนดุสิตเป็นพระราชวัง พระราชทานนามว่า “พระราชวังดุสิต” ในการนี้ได้ใช้วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เป็นที่สร้างพลับพลา และใช้ที่วัดร้างอีกวัดหนึ่งทำถนนภายใน และเพื่อจะทรงรักษาพระราชประเพณีแห่งพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก จึงทรงพระราชปรารภที่จะทรงทำ "ผาติกรรม" คือการสร้างวัดทดแทน โดยทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างวัดใหญ่ให้วิจิตรงดงามเพียงวัดเดียว จึงทรงเลือก "วัดเบญจบพิตร" ที่ตั้งอยู่ในสวนดุสิต ซึ่งชำรุดทรุดโทรม โดยโปรดเกล้าฯให้จัดการแผ้วถางพื้นที่พระอารามเดิม และขุดคลองเป็นเขตขยายให้ใหญ่ออกไป
       
       การสถาปนาวัดเบญจมบพิตร เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอุทิศที่ดินเขตพระอุโบสถเป็นที่วิสุงคามสีมา ขยายกว่าของเดิม และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” หมายถึง “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5” ต่อมาพระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งขนานนามว่า “ดุสิตวนาราม” ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร โดยโปรดให้เรียกนามรวมกันว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม”

        st12 st12 st12 st12 st12

       ในการนี้โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สถาปนิกเอก ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถ พร้อมพระระเบียง อย่างวิจิตรพิสดาร ด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง
       
       สำหรับหินอ่อนที่ประดับตกแต่งพระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดจนสถานที่อื่นๆ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวัดขนาดทำแบบส่งไปเป็นตัวอย่าง เรียกประกวดราคาโดยตรงจากบริษัทขายหินอ่อน ประเทศอิตาลี


ศาลาบัณณรศภาค

       ด้วยมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามให้ใหญ่โตงดงาม สิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัดจึงมีความงดงาม แสดงถึงฝีมือช่างหลวงที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง อาทิ
       
      พระอุโบสถ เป็นทรงจตุรมุข ผนังด้านนอกประดับด้วยหินอ่อนสีขาว ด้านในปูและประดับด้วยหินอ่อนหลากสี หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบูลูกฟูกเคลือบสีทอง ซ้อนกัน 5 ชั้น หน้าบันพระอุโบสถเป็นพระราชลัญจกร ความงดงามของพระอุโบสถเป็นที่เลื่องลือในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนเป็นที่มาของชื่อ “The Marble Temple” หรือ “วัดหินอ่อน”     
       • พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก มีความงดงามยากจะหาพระพุทธรูปองค์ใดเสมอเหมือน จึงโปรดให้จำลองขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถ   
   

พระพุทธชินราชจำลอง

        พระระเบียง หรือพระวิหารคด พื้นปูด้วยหินอ่อน มีเสากลมหินอ่อน 64 ต้น เสาเหลี่ยมประกบแผ่นหินอ่อน 28 ต้น หน้าบันพระวิหารเป็นลวดลายจำหลักตรากระทรวงต่างๆ 10 กระทรวง ในสมัยรัชกาลที่ 5 วิหารคดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางและสมัยต่างๆ เรียงรายรอบระเบียง จำนวน 52 องค์ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปโบราณ       
       • พระที่นั่งทรงผนวช เป็นตึก 2ชั้น เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช และประทับอยู่ ณ พุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งโปรดให้รื้อมาปลูกสำหรับเป็นกุฏิเจ้าอาวาส     
       • พระวิหารสมเด็จ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงสร้างโดยเสด็จพระราชกุศล และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาหอพุทธสาสนสังคหะขึ้นที่วิหารนี้ เพื่อเป็นที่รวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกและเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา     
       • ศาลาบัณณรศภาค เป็นศาลาจตุรมุขชั้นเดียว สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ของพระโอรส พระธิดา เจ้าจอม และพระญาติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 15 ราย จึงได้พระราชทานนามว่า “บัณณรศภาคศาลา”       
       • พระที่นั่งทรงธรรม เป็นตึก 2 ชั้น สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี ทรงสร้างโดยเสด็จพระราชกุศล อุทิศแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ มกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ใช้ประทับแรมในเวลาทรงรักษาอุโบสถศีลและทรงธรรม

       
พระที่นั่งทรงธรรม

ภายในพระที่นั่งทรงธรรม

       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงพระราชประสงค์ไว้ว่า เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ให้นำพระสรีรางคารของพระองค์ไปบรรจุไว้ใต้รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคารตามพระราชประสงค์
       
       ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากสถาปนาพระอารามได้ 6 ปี ก็เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เป็นครั้งแรก จากนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลต่อๆมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน โดยล่าสุด พ.ศ. 2554 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าไปบูรณปฏิสังขรณ์พระที่นั่งทรงธรรม และศาลาบัณณรศภาค ซึ่งแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักพระราชวัง จากนั้นในปี 2558 จะดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในเขตพุทธาวาส โดยใช้งบประมาณของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

       เพื่อให้ “วัดหินอ่อน” แห่งนี้ยังความสง่างาม เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทย และเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาวต่างชาติสืบไป

       
พระพุทธรูปที่พระวิหารคด

จากนิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 167 พฤศจิกายน 2557 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9570000126466
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ st11 st12 st11
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา