ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบความเห็น จาก ท่าน ธัมมะวังโส เรื่อง การปฏิบัติ แบบ ธรรมกาย  (อ่าน 5382 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

อยากทราบความเห็น จาก ท่าน ธัมมะวังโส เรื่อง การปฏิบัติ แบบ ธรรมกาย

 เพราะเห็นมีความละม้าย คล้ายคลึง กันตรงที่มีการเดินจิต และ ภาวนา สัมมา อรหัง

 ( อยากให้ตอบมาก )

 :014: :035:
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จะดึง ท่านธัมมะวังโส เข้าการเมือง ด้วยหรือ ปล่อยมันไปเหอะ เรื่อง ธรรมกาย
แปลกนะ ศิษย์ ท่านยังไม่มาตอบกัน ผม สะเออะเข้ามาตอบแทน

  :67: :13:
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การไม่ตอบ ก็เป็นการตอบอย่างหนึ่ง

การปิดทองหลังพระนี้ เป็นประสงค์จะเผยแพร่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นหลัก
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถึงว่า ที่ถามไป ทุกคำถาม จึงยังไม่ได้รับคำตอบ

  ที่ไม่ตอบก็คือ ตอบไม่ได้ หรือ ได้ หรือ ไม่อยากตอบ เริ่ม งง แล้ว สิครับ

 ว่ากำลังจะเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ ต่อกรรมฐาน สายนี้อยู่เลย ดูเหมือนจะไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อ จาก ครูอาจารย์ และ ศิษย์สายนี้ หรือ สหธรรม สายนี้ เลย

   :34: :34: :34:
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ส่วนตัว แล้ว มองกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กับ ธรรมกาย เหมือนกันนะ เพราะรู้สึกคล้ายกันมาก

โดยเฉพาะ สัมมา อรหัง นี่ได้ยินทั้งสองที่ นี่แหละ อีกอย่างวิชากรรมฐาน การสอนนั้น มีการวางจิต วางจุดด้วย ซึ่งในวิธีการวางความเป็นจริง ไม่น่าจะต้องมีส่วนนี้ เพราะว่า จิตไม่มีทีอยู่ตรงไหน แต่ มันอยู่ในกาย ทั้งหมด นะ

  :58:
บันทึกการเข้า

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ส่วนตัว แล้ว มองกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กับ ธรรมกาย เหมือนกันนะ เพราะรู้สึกคล้ายกันมาก

โดยเฉพาะ สัมมา อรหัง นี่ได้ยินทั้งสองที่ นี่แหละ อีกอย่างวิชากรรมฐาน การสอนนั้น มีการวางจิต วางจุดด้วย ซึ่งในวิธีการวางความเป็นจริง ไม่น่าจะต้องมีส่วนนี้ เพราะว่า จิตไม่มีทีอยู่ตรงไหน แต่ มันอยู่ในกาย ทั้งหมด นะ

  :58:


ก็แล้วแต่คุณนะ ความคิด ความเชื่อ ความรู้ วาสนา บารมีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน แต่ก็ขอบคุณนะที่เข้ามาดูในเว็บนี้...
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ท่าน Hero อยู่ไหน มาอ่านตรงนี้ด้วย

  :96: :96: :96: :08:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ท่าน Hero อยู่ไหน มาอ่านตรงนี้ด้วย

  :96: :96: :96: :08:

รับทราบครับ กำลังเข้ามาอ่าน ขออ่านให้จบก่อน นะครับ ว่าเรื่องอะไร ?

  :49:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สรุปจากที่อ่าน ก่อน นะครับ

 เริ่ม ด้วย คุณ nirvanar55 ต้องการถามความเห็น ธมฺมวํโส ว่า มีความเห็นอย่างไรกับเรื่อง ธรรมกาย

  ก็หมายความว่า ถาม ธมฺมวํโส  ซึ่งก็น่าจะเป็น ธมฺมวํโส เป็นผู้ตอบ

 ที่นี้ ท่าน ปญฺญาสโก มาตอบว่า ที่ไม่ตอบ ก็คือ ตอบ นั่นหมายถึงว่า ไม่มีความหมาย หรือ ว่างเปล่า หรืออย่าไปสนใจ หรือ ไม่อยากเข้าไปตอบ

  อันนี้คงต้องรอ ว่า ท่าน ปญฺญาสโก ต้องการสื่ออะไร ( ผมก็ไม่เข้าใจ ว่า การไม่ตอบ ก็คือ ตอบ )

  ส่วนคุณ Modtanoy ขาเก่า คู่แค้น กับ ธมฺมวํโส ก็ออกมาเหน็บ ๆ ( ผมตามอ่าน กระทู้ที่ตอบวันนี้ หลายกระทู้ ทีเดียว ) ซึ่งก็หมายสรุปว่า ทั้ง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ และ ธรรมกาย ก็คือ อันเดียวกัน

  และ คุณ akira ต้องการให้ผมเข้ามาอ่าน ในที่นี้ ผมก็อ่านแล้ว แต่ไม่ทราบความว่าต้องการให้อ่านแล้ว แสดงความเห็น หรือ ว่าต้องการให้กระทบกับใคร หรือ ไม่ ?

   สรุป ก่อนก็แล้วกัน นะครับ
   
   1. รอ ธมฺมวํโส ตอบก่อน ดีหรือไม่ ครับ
   2. รอ ปญฺญาสโฏ อธิบายคำว่า ไม่ตอบ ก็คือ ตอบ ก่อนดีหรือ ไม่ครับ
   3. ส่วนสรุป ของ Modtanoy นั้น ค่อนข้าง จะทะลุกลางปล้อง เหมือนไม่ได้ อ่านประวัติ พระกรรมฐาน และ ไม่รู้ข้อรายละเอียด ของ ธรรมกาย หรือ ไม่ทราบ คงต้องค่อยว่ากันไป ดีหรือ ไม่ ?

    ส่วนตัว ผม ก็ได้ฟังมาว่า กำเนิด ธรรมกาย มาจากหลวงพ่อสด และ หลวงพ่อสด ได้ไปเรียน กับ หลวงปู่โต๊ะ ในฐานะสหธรรมิก กัน แบบเพื่อน และ ตามมาส่งอารมณ์ กับ พระครูปญฺญาวุธคุณ ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม สรุปก็คือ หลวงพ่อสด ปฏิบัติพุทโธ ในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ตั้งแต่ต้น มีการขึ้นกรรมฐาน และเรียนกรรมฐาน ตลอดถึงการอธิษฐานกรรมฐาน เช่นกัน แต่ต่างกันที่คำพูด และการภาวนา ของหลวงพ่อสดนั้น นำไปดัดแปลงเพิ่มเติม ให้เป็นฉบับของตนเอง

     ซึ่งถ้าเทียบไป ก็เหมือนสายป่า คือ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ก็มาเรียน กรรมฐาน ที่คณะ 5 ถึง 1 พรรษา และในที่สุดก็ไปประยุกต์ การภาวนา พุทโธ เข้ากับ ลมหายใจเข้าออก คือรวมห้อง 1 - 4 เป็นห้องเดียวกัน และ ก็มีการแต่งคำอธิษฐาน กรรมฐาน การเรียนกรรมฐาน ใหม่ และตัดส่วนที่ไม่ชอบใจคือการอธิษฐาน พร่ำเพรื่อออกไป ทำให้ เกิดกรรมฐาน สายป่า อีกสายหนึ่ง

      ในขณะเดียวกัน แม้แต่สายอยุธยา อย่างหลวงพ่อปาน ซึ่งไปเรียนกับหลวงพ่อโหน่ง ก็ยังเปลี่ยนรูปแบบ ตลอดถึง คำอธิษฐาน กรรมฐานไปกันอีกแบบหนึ่ง

      สรุป แล้ว เท่าที่ผมเคยอ่าน ข้อความเรื่อง พระพุทธานุสสติ นั้น แบ่ง ออกเป้น

      1. กายเทวดา
      2. กายพรหม
      3. ธรรมกาย
      4. พุทธกาย

      ประมาณนี้ ดังนั้น ความเป็นพี่ เป็นน้อง ก็ยังมีปนเป อยู่ ใน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ และ วิชชาธรรมกาย นะครับ  แต่ รู้สึกว่า ความพิศดาร สลับซับซ้อน และ ขั้นตอน ถ้าได้ฟัง ธมฺมวํโส บรรยายแล้ว ผมว่า วิชชาธรรมกาย ที่ผมเคยไปฟัง ที่วัดโสมนัสแล้ว ผมว่าเรียนกับ ธมฺมวํโส จะดีกว่าครับ เพราะฟังแล้ว ทำตามได้เร็วกว่า ที่สำคัญ ตัว นิมิต ไม่ต้องกำหนดเป็นดวงแก้วใด ๆ ด้วย ๆ แล้วแต่ วาสนา จะปั้นรูป อะไรขึ้นมา นะครับ


    คุยพอหอมปาก หอมคอ ( แบบหนุ่มสาวที่รักกันนะครับ ) เพราะผมก็ไม่ได้เป็นศิษย์สายตรง ทางนี้ รอให้ศิษย์สายตรง ของ ธมฺมวํโส ออกมาแสดงความเห็นน่าจะเข้าที มากกว่า ครับ ผมมันคนนอกนะครับ

   :96: :25: thk56
   
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :34: :34: :34:

สมาธิภาวนาหลักการของ "มัชฌิมา" ง่ายๆ คือ บริกรรม, รูปนิมิต, รัศมี(สี/แสง) ซึ่งก็คล้ายๆ ที่หลวงพ่อสด จนฺทสโร นำไปประยุกต์ เรียกว่า "ธรรมกาย" ในรูปแบบแนวทางนี้มัชฌิมาเรามีอยู่แล้วเราเรียกว่า "นามกาย" และไม่มีคำว่า กายรูปพรหม ใดใด มีแต่ กายพุทธะ เท่านั้น (ไม่ขอแยกแยะในรายละเอียด ครับ!)
:bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 05, 2015, 08:01:57 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปัจฉิมสักขิสาวก

          เรื่องราวมีอยู่ว่า สุภัททะ เดิมเป็นพราหมณ์อยู่ในตระกูลใหญ่ ต่อมาได้ออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา กระทั่งวันหนึ่งเมื่อ สุภัททะ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าประชวรหนัก และใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททะ ซึ่งมีข้อสงสัยอยู่ อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพื่อแก้ข้อสงสัยนั้น จึงเดินทางไปยังเมืองสาลวัน โดยตรงไปหาพระอานนท์ ก่อนแจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา

          ด้านพระอานนท์ได้ออกมาห้ามไว้ เพราะเกรงว่า การให้ สุภัททะ เข้าพบพระพุทธเจ้านั้น อาจเป็นการรบกวนพระองค์มากขึ้น พระอานนท์ จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงลำบากพระวรกายมากอยู่แล้ว พระองค์ทรงประชวรหนัก จะปรินิพพานในยามสุดท้ายแห่งราตรีนี้แน่นอน ฝ่าย สุภัททะ เมื่อได้ฟังดังนั้น ก็ยังคะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้  เนื่องจากเห็นว่า โอกาสของตนเหลือเพียงน้อยนิด จนพระอานนท์ต้องห้ามปรามอยู่ถึง 3 วาระ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าทรงได้ยินเสียงโต้ตอบนั้น

          ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า สุภัททะ มุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด เมื่อ สุภัททะ ได้เข้าเฝ้าสมประสงค์ ก็เข้ากราบลงใกล้เตียงบรรทมแล้วกล่าวว่า ตนเองนั้นเพิ่งบวชเป็นปริพาชกมาไม่นาน ได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือเกียรติคุณแห่งพระองค์ แต่ก็ไม่เคยได้เข้าเฝ้า ดังนั้น เมื่อพระองค์จะดับขันธปรินิพพานแล้ว จึงขอให้ตนได้ถามถึงข้อข้องใจบางประการ เพื่อที่จะได้ไม่เสียใจภายหลัง

          จากนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้ สุภัททะ จึงได้ถามว่า คณาจารย์ทั้ง 6 คือ ปูรณะ กัสสปะ มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธะ กัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นศาสดาเจ้าลัทธิที่มีคนนับถือมาก เคารพบูชามาก ศาสดาเหล่านี้ยังจะเป็นพระอรหันต์หมดกิเลสหรือไม่ประการใด
         
          ซึ่งคำถามดังกล่าว ทำให้พระอานนท์ถึงกลับกระวนกระวาย เพราะเรื่องที่ สุภัททะ มารบกวนพระพุทธเจ้านั้นเป็นเรื่องไร้สาระเหลือเกิน แต่พระพุทธก็ได้ตรัสขึ้นว่า เวลาของท่านนั้นเหลือน้อยแล้ว ขอให้ สุภัททะ ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองเถิด ดังนั้น สุภัททะ จึงเลือกถามปัญหา 3 ข้อ คือ
         
          1. รอยเท้าในอากาศมีอยู่หรือไม่มี

          2. สมณะภายนอกศาสนาของพระองค์มีอยู่หรือไม่

          3. สังขารที่เที่ยงมีอยู่หรือไม่

          ในเวลาต่อมา พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า รอยเท้าในอากาศนั้นไม่มี ศาสนาใดไม่มีมรรคมีองค์ 8 สมณะผู้สงบถึงที่สุดก็ไม่มีในศาสนานั้น และสังขารที่เที่ยงนั้นไม่มีเลย จากนั้นพระองค์ทรงถามว่า สุภัททะ ยังมีความแคลงใจในเรื่องใดหรือไม่ เมื่อ สุภัททะ ตอบว่า ไม่มี พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเทศนาโดยย่อ นั่นคือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นทางประเสริฐสามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ ดังนั้น ถ้าภิกษุหรือใคร ๆ  ก็ตามที่พึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคาอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ 8 โลกนี้ก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

          เมื่อ สุภัททะ ได้ฟังพระพุทธดำรัสจึงเกิดความเลื่อมใส ทูลขอบรรพชาอุปสมบท โดยพระพุทธได้องค์ตรัสว่า ผู้ที่เคยเป็นนักบวชในศาสนาอื่นมาก่อน ถ้าประสงค์จะบวชในศาสนาของพระองค์จะต้องอยู่ติตถิยปริวาส คือบำเพ็ญตนทำความดีจนภิกษุทั้งหลายไว้ใจเป็นเวลา 4 เดือนก่อน แล้วจึงจะบรรพชาอุปสมบทได้ ตามประเพณีที่พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเวลานานมาแล้ว โดย สุภัททะ ก็ยืนยันว่า เขาพอใจอยู่บำรุงปฏิบัติภิกษุทั้งหลายสัก 4 ปี

          เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นความตั้งใจจริงของสุภัททะ จึงสั่งให้พระอานนท์นำสุภัททะไปบรรพชาอุปสมบท พระอานนท์รับพุทธบัญชาแล้วนำ สุภัททะ ไปปลงผมและหนวด ก่อนบอกกรรมฐานให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์และศีล สำเร็จเป็นสามเณรบรรพชา แล้วนำมาเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงมหากรุณาให้อุปสมบทแก่ สุภัททะ เป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ ก่อนตรัสกัมมัฏฐานให้อีกครั้งหนึ่ง

          จากนั้น สุภัททะ ภิกษุใหม่ ซึ่งตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า จะพยายามบรรลุอรหัตตผลให้ได้ในคืนนี้ ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน จึงออกไปเดินจงกรมอยู่ในที่สงัดแห่งหนึ่งในบริเวณอุทยานสาลวัน พร้อมด้วยพิจารณาข้อธรรมนำมาทำลายกิเลสให้หลุดร่วง แม้เหน็ดเหนื่อยอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ จนกระทั่งบรรลุธรรมได้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ซึ่งนับว่า
สุภัททะ เป็นพระอัครสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงประทานบวชให้ พร้อมกับการเป็นปัจฉิมสักขิสาวก หรือสาวกองค์สุดท้ายผู้เป็นพยานการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นเอง




http://hilight.kapook.com/view/86806
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 05, 2015, 08:21:19 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สรุป หรือ ยัง คะ คำถาม นี้
  :25: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การนิ่ง ของ พระ คือ การยอมรับ นะคะ

  :88: st12 thk56
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ