ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เจโตวิมุติ" มีมาก่อนพุทธกาล คติทางพุทธเมื่อมี "เจโตวิมุติ" ต้องมี "ปัญญาวิมุติ"  (อ่าน 11210 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

"เจโตวิมุติ" มีมาก่อนพุทธกาล คติทางพุทธ เมื่อมี "เจโตวิมุติ" ต้องมี "ปัญญาวิมุติ"

ผมจั่วหัวข้อแบบนี้ เพื่อต้องการจะอธิบายคำว่า  "เจโตวิมุติ" และ "ปัญญาวิมุติ" ให้กระจ่าง นอกจากสองคำนี้แล้ว อยากจะให้เข้าใจคำนี้ด้วย "อุภโตภาควิมุติ" ทั้งสามคำนี้ผมจะโยงเข้าไปในเรื่องของประเภทของอรหันต์

เพื่อให้ทราบความหมายของ "วิมุตติ" จึงขอยก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มาแสดงดังนี้

นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น)
   1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้)
   2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ)
   3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ)
   4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ)
   5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน)


    ปหาน 5 (การละกิเลส), วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น), วิเวก 5 (ความสงัด, ความปลีกออก), วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้), โวสสัคคะ 5 (ความสละ, ความปล่อย) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด


อ้างอิง : ขุ.ปฏิ. 31/65/39 ; 704/609 ; วิสุทธิ. 2/249.




เพื่อขยายความคำว่า "วิมุตติ" ให้ชัดเจน ขอนำคำอธิบาย "เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ" ของท่านเจ้าคุณปยุต มาแสดงบางส่วน ดังนี้

ด้วยเหตุที่วิมุตติมีความหมายต่างออกไปได้หลายระดับเช่นนี้ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านจึงรวมมาจัดเข้าเป็นขั้นตอนให้เห็นชัดยิ่งขึ้น และนิยมจัดแบ่งเป็น 5 ขั้น หรือ 5 ความหมาย เลียนแบบนิโรธ 5 ขั้น ที่กล่าวแล้วข้างต้น วิธีแบ่งของท่านแบบนี้ก็ดูครอบคลุมเนื้อหาที่บรรยายมาแล้วได้ดี และอาจช่วยผู้ศึกษาที่ยังไม่คุ้นให้มองเห็นภาพชัดขึ้นทำให้เข้าใจง่ายเข้าอีก จึงลองเอาวิมุตติ 5 นี้ มาเป็นแบบสำหรับทวนความรู้เรื่องวิมุตติอีกครั้ง วิมุตติ 5 นั้น คือ

   1) วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่ม(กิเลส) ไว้ คือระงับนิวรณ์เป็นต้นได้ด้วยอำนาจสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ  8 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 แต่บางทีท่านยอมให้ผ่อนลงมารวมถึงอุปจารสมาธิด้วย
   2) ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยองค์ธรรมจำเพาะ คือพ้นอกุศลอย่างหนึ่งๆ ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปฏิปักษ์กัน ว่าตามความหมายอย่างเคร่ง หรือความหมายมาตรฐาน ได้แก่ พ้นความเห็นผิดยึดถือผิดด้วยอาศัยญาณคือความรู้ฝ่ายวิปัสสนาที่ตรงข้ามเป็นคู่ปรับกัน เช่น พิจารณาความไม่เที่ยง ทำให้พ้นความสำคัญหมายว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น แต่ว่าตามความหมายที่ผ่อนลงมาใช้ได้กับความดี ความชั่วทั่วๆ ป เช่น น้อมใจดิ่งไปทางทาน ทำให้พ้นจากความตระหนี่และความโลภ น้อมใจดิ่งไปทางเมตตา ทำให้พ้นจากพยาบาทหรือการมองในแง่ร้าย พุ่งความคิดไปทางกรุณาหรืออหิงสาทำให้พ้นจากวิหิงสาคือการข่มเหงเบียดเบียนและความรุนแรง เป็นต้น

    วิมุตติตามความหมาย 2 อย่างแรกนี้คลุมถึงสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกียวิมุตติทั้งหมด

   3) สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยเด็ดขาดหรือตัดขาด คือการทำลายกิเลสที่ผูกรัดไว้หลุดพ้นเป็นอิสระออกไปได้ด้วยญาณหรือวิชชาขั้นสุดท้าย ได้แก่วิมุตติในความหมายที่เป็นมรรค
   4) ปฏิปปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับเรียบสนิทหรือราบคาบไป คือความเป็นผู้หลุดพ้นออกไปได้แล้ว มีความเป็นอิสระอยู่ เพราะกิเลสที่เคยผูกรัดหรือครอบงำถูกกำจัดราบคาบไปแล้ว ได้แก่วิมุตติในความหมายที่เป็นผล
   5) นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นที่เป็นภาวะหลุดรอดปลอดโปร่ง คือ ภาวะแห่งความเป็นอิสระที่ผู้หลุดพ้นเป็นอิสระแล้วประสบอยู่ ชื่นชมหรือเสวยรสอยู่ และซึ่งทำให้ผู้นั้นปฏิบัติกิจอื่นๆ ได้ด้วยดีต่อๆไป ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็น นิพพาน

    วิมุตติตามความหมาย 3 อย่างหลังนี้ (3-4-5) เป็นอสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกุตตรวิมุตติ.
    ว่าโดยสาระแท้ๆ วิมุตติ 5 นี้ ก็คือ สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ


อ้างอิง : หนังสือ พุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บทที่ 8 ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ข้อควรทราบเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ
payutto.org/บทที่_8_:_ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร_?_ข้อควรทราบเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ_2.html




วิมุตติ 2 (ความหลุดพ้น)
   1. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ)
   2. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง)


อ้างอิง : องฺ.ทุก. 20/276/78

     ขอยกพระสูตรมาแสดงดังนี้
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
     [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย

     เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ
      เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๖๑๒ - ๑๖๑๖.  หน้าที่  ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1612&Z=1616&pagebreak=0


ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

    ถึงตรงนี้อธิบายได้ว่า
    เจโตวิมุติ เป็น โลกียวิมุตติ
    ปัญญาวิมุติ เป็น โลกุตตรวิมุตติ


    "เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ" ประโยคนี้อธิบายได้ว่า สำรอกราคาในที่นี้เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ราคะจะกลับมาอีก
    "เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ" ประโยคนี้อธิบายได้ว่า อวิชชาตัวนี้เป็นสังโยชน์ตัวสุดท้าย การสำรอกครั้งนี้ อวิชชาจะหลุดออกไปอย่างถาวร ไม่กลับมาอีก หมายถึง บรรลุอรหันตผลนั่นเอง


      ยังมีต่อ โปรดติดตาม......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2015, 11:15:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธองค์แสดง "ประเภทของอรหันต์" ไว้อย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2015, 12:45:50 pm »
0


พระพุทธองค์แสดง "ประเภทของอรหันต์" ไว้อย่างไร.?

เบื้องต้นขอยกเอา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ขอพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มาแสดงดังนี้

อรหันต์ 2 (ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริ)
   1. สุกขวิปัสสก (ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหัตด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วนๆ)
   2. สมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต)


อ้างอิง : ขุทฺทก.อ. 200 ; วิสุทธิ. 3/206,312; วิสุทธิ.ฏีกา 3/398; 579.

อรหันต์ 4, 5, 60
   1. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
   2. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา 3)
   3. ฉฬภิญฺโญ (ผู้ได้อภิญญา 6)
   4. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)

   พระอรหันต์ทั้ง 4 ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ 2 หน้า 41 พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ

   แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น 2 อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น 5 อย่างบ้าง ที่เป็น 5 คือ
       1. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญ)
       2. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ)
       3. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3)
       4. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6)
       5. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4)


    ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น 2 คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น
    พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน 5 ประเภท)
    พระเตวิชชะกับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ทั้งนั้น แต่ท่านแยกพระอุภโตภาควิมุตไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก เพราะพระอุภโตภาควิมุตที่ไม่ได้โลกียวิชชาและโลกียอภิญญา ก็มี
    ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้งสี่ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต.

    พระอรหันต์ทั้ง 5 นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ 3 รวมเป็น 15 จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา 4 จึงรวมเป็น 60 ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่


อ้างอิง : วิสุทธิ. 3/373 ; วิสุทธิ.ฏีกา 3/657.




จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของเจ้าคุณปยุต จะเห็นว่า แหล่งอ้างอิงอันเป็นที่มาของประเภทอรหันต์ไม่ได้มาจากพระไตรปิฎกโดยตรง แต่มาจากคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าพระพุทธเจ้าจะไม่เอ่ยถึงประเภทของอรหันต์ไว้เลย ขอนำพระสูตรบางส่วนมาแสดงดังนี้

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปวารณาสูตรที่ ๗
    ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มีพระภาค ไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจาของข้าพระองค์ไซร้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจา ของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้
    สารีบุตร เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้
    ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓
    อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖
    อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ
    ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=6170&Z=6223

     ans1 ans1 ans1 ans1

     จากปวารณาสูตรที่ ๗ ข้างต้นจะเห็นว่า พระพุทธองค์กล่าวถึงภิกษุ(พระอรหันต์)ไว้ ๔ ประเภทเท่านั้น คือ
        1. วิชชา ๓
        2. อภิญญา ๖
        3. อุภโตภาควิมุติ
        4. ปัญญาวิมุติ

     
    หากถามต่อไปว่า มีคำอธิบายความหมายของอรหันต์แต่ละประเภทหรือไม่..?
    ตอบว่า ในชั้นของพระสูตรมีคำอธิบายอยู่เพียง ๓ ประเภท ดังนี้

    วิชชา ๓
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    [๓๙๘] ธรรม ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ วิชชา ๓ ได้แก่
    วิชชา คือ ความรู้ระลึกถึงชาติหนหลังได้ ๑ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
    วิชชา คือ ความรู้ใน การจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๑ (จุตูปปาตญาณ)
    วิชชา คือ ความรู้ในความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ๑ (อาสวักขยญาณ)
    ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/read/?11/398/292

ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ได้สรุปวิชชา ๓ ไว้ดังนี้

วิชชา 3 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
   1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้)
   2. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ)
   3. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้)


อ้างอิง : ที.ปา. 11/228/232 ; 398/292 ;  องฺ.ทสก. http://www.84000.org/tipitaka/read/?24/102/225]24/102/225.[/url]




    อภิญญา ๖
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    [๔๓๑] ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ อภิญญา ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
    คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้
    ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
    ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
    เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
    ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้....ฯลฯ..(ยกมาแสดงบางส่วน)


ที่มา เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  บรรทัดที่ ๗๔๑๒ - ๗๔๕๓.  หน้าที่  ๓๐๕ - ๓๐๖.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=7412&Z=7453&pagebreak=0

ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ได้สรุปอภิญญา ๖ ไว้ดังนี้

       อภิญญา 6 (ความรู้ยิ่งยวด)
       1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆได้)
       2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์)
       3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้)
       4. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้)
       5. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
       6. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)
       ห้าข้อแรกเป็นโลกียะ(โลกียอภิญญา) ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ.


อ้างอิง : ที.ปา. 11/431/307 ; องฺ.ฉกฺก. 22/273/311




    อุภโตภาควิมุติ
     อรหันต์ประเภทนี้ในพระสูตรไม่มีคำอธิบาย แต่ในอรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต ปวารณาสูตรที่ ๗ กล่าวไว้ว่า
     บทว่า อุภโตภาควิมุตฺตา ความว่า พ้นด้วยส่วนทั้ง ๒ คือ
     พ้นจากรูปกาย ด้วย อรูปาวจรสมาบัติ
     พ้นจากนามกาย ด้วย อริยมรรค.

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=744

     ปัญญาวิมุติ
     อรหันต์ประเภทนี้ คำอธิบายตรงๆ ไม่ปรากฏในพระสูตร แต่ในอรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต ปวารณาสูตรที่ ๗ กล่าวไว่ว่า
     บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตา ได้แก่ หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ เป็นพระขีณาสพผู้ยังมิได้วิชชา ๓ เป็นต้น.
     อย่างไรก็ตาม คำว่าปัญญาวิมุติ พระพุทธเจ้าได้บอกเหตุที่ได้ชื่อว่าปัญญาวิมุติ(ไม่ได้กล่าวถึงประเภทอรหันต์) ไว้ในพระสูตรดังนี้
     พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
     [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ
     เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๖๑๒ - ๑๖๑๖.  หน้าที่  ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1612&Z=1616&pagebreak=0



ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

สรุปก็คือ พระพุทธเจ้าแบ่งอรหันต์ไว้เพียง ๔ ประเภทเท่านั้น คือ
        1. วิชชา ๓
        2. อภิญญา ๖
        3. อุภโตภาควิมุติ
        4. ปัญญาวิมุติ

ผมยังมีประเด็นที่อยากจะคุยอีกเยอะ โปรดติดตาม.......
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

   สาธุสาธุ พอใจ พอใจ ครับท่านศิษย์พี่

       ได้อ่านทั้งหมด ก็ทำให้มีแรง ลุกขึ้นอาบน้ำไปทำงานต่อ

            เพราะเหตุเหล่านี้ ทำให้ผมทิ้งอบายมุข  และเรื่องสุรา ทุศิลทั้งหลาย ในอดีต และ มาเป็นลูกศิษย์ครูครับ

        และก็วันนี้ ก็ยังรู้สึกว่า สิ่งที่เลือกเดินมา มันช่างเลิศกว่าครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ความต่างในความเหมือน" ในเหล่าอรหันต์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 11:32:38 am »
0

"ความต่างในความเหมือน" ในเหล่าอรหันต์

ทุกคนทราบว่า อรหันต์ทุกองค์ตัดกิเลสได้หมดเหมือนกัน แต่หากถามว่า อรหันตแต่ละองค์มีความแตกต่างกันอย่างไร ขอธิบายดังนี้
   พระพุทธเจ้าแบ่งอรหันต์ไว้เพียง ๔ ประเภท คือ
        1. วิชชา ๓
        2. อภิญญา ๖
        3. อุภโตภาควิมุติ
        4. ปัญญาวิมุติ


  ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1

  เปรียบเทียบระหว่าง วิชชา ๓ และอภิญญา ๖

   วิชชา 3 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
       1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้)
       2. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ)
       3. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้)


   อภิญญา 6 (ความรู้ยิ่งยวด)
       1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆได้)
       2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์)
       3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้)
       4. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้)
       5. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
       6. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป)


จะเห็นว่า วิชชาทั้ง ๓ ข้อ มีอยู่ในอภิญญา ๖  สิ่งที่อรหันต์วิชชา ๓ ไม่มี คือ
       1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆได้)
       2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์)
       3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้)


เห็นได้ชัดว่า "ฤทธิ์หรือคุณวิเศษ" เป็นปัจจัยกำหนดความแตกต่างของอรหันต์ทั้งสองประเภท





คราวนี้ลองเปรียบเทียบ วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ กับอุภโตภาควิมุติ

     อุภโตภาควิมุติ นั้น ในอรรถกถาได้ให้ความหมายวา พ้นด้วยส่วนทั้ง ๒ คือ พ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจรสมาบัติ และพ้นจากรูปกายด้วยอริยมรรค
     คำว่า "พ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจร" แสดงว่า อรหันต์ประเภทนี้ต้องได้ "อรูปญาฌ ๔"
     ส่วนคำว่า "พ้นจากรูปกายด้วยอริยมรรค" อริยมรรคนั้นอรหันต์ทุกองค์ต้องเจริญอยู่แล้ว

     ถามว่า อรหันต์วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ได้"อรูปญาฌ ๔" หรือไม่.?
     ในชั้นพระไตรปิฏกไม่ได้บอกอะไรไว้ แต่ในชั้นคัมภีร์อรรถกถาของหลวงพ่อฤาษีลิงดา คือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานบอกว่า ทั้งวิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ได้รูปฌาน ๔ เท่านั้น คนที่ได้สมาบัติ ๘(รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔) จะเป็นอรหันต์ปฏิสัมภิทัปปัตโต หรืออุภโตภาควิมุตินั่นเอง

     ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ได้เพียงสมาบัติ ๔
     ส่วนอุภโตภาควิมุติ ได้สมาบัติ ๘ นั่นเป็นความแตกต่างที่ชัดเจน
   
     ถามต่อไปว่า ฤทธิ์หรือคุณวิเศษของอุภโตภาควิมุติ มีมากน้อยอย่างไร.?
     ตอบว่า อรหันต์อภิญญา ๖ มีอย่างไร อุภโตภาควิมุติก็มีอย่างนั้น แต่อุภโตภาควิมุติจะได้เพิ่มมาอีก ๔ อย่าง เรียกว่า ปฏิสัมภิทา 4 (ปัญญาแตกฉาน ) คือ
       1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล)
       2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้)
       3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้)
       4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์)

       



มาถึงอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุติ ต่างจากอรหันต์อื่นๆ อย่างไร.?

ในพระไตรปิฏกไม่ได้บอกตรงๆ มีหลักฐานแต่ในอรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต ปวารณาสูตรที่ ๗ กล่าวไว่ว่า "ปัญญาวิมุติ ได้แก่ หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ เป็นพระขีณาสพผู้ยังมิได้วิชชา ๓" นั่นหมายถึง อรหันต์ประเภทนี้ไม่มีฤทธิ์

     อีกอย่างอยากให้เข้าใจว่า ในพระสูตร เมื่อเห็นคำว่า "เจโตวิมุติ" คำต่อมาต้องเป็น "ปัญญาวิมุติ" ทั้งหมด และมักจะกล่าวว่า
      "ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่"
      นั่นหมายความว่า คนที่ได้ "เจโตวิมุติ" กล่าวคือได้สมาบัติ ๔ หรือสมาบัติ ๘(รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔)ก็ตาม จะสิ้นกิเลสเป็นอรหันต์ได้ ต้องผ่านปัญญาวิมุติ
        
     หากถามว่า อรหันต์ปัญญาวิมุติ ได้เจโตวิมุติ หรือไม่.?
     ตอบว่า ขอยกพระสูตรมาแสดงดังนี้
 พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
     พระอานนท์ได้กล่าวถึง มรรค ๔ คือ
         ๑. ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
         ๒. ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
         ๓. ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
         ๔. ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้


     ขอให้ดูมรรคที่สอง คือ ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น มรรคนี้เป็นข้อปฏิบัติของอรหันตืปัญญาวิมุติ ในพระสูตรนี้มีคำอธิบายว่า
   [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
    เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้
    วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


    ประโยคที่ว่า "เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง" แสดงให้เห็นว่า ประเภทปัญญาวิมุติต้องใช้สมาธิระดับหนึ่ง เพื่อทำวิปัสสนา เมื่อได้วิปัสสนาแล้ว ภายหลังจึงได้สมถะ สมถะในข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของเจโตวิมุตินั่นเอง

     :96: :96: :96: :96: :96:

     อย่างไรก็ตามข้อนี้อธิบายลำบาก เพราะขึ้นอยู่กับว่าจะกำหนดนิยามของเจโตวิมุติไว้อย่างไร
     เจโตวิุมุติ ต้องได้ฌานหรือไม่อย่างไร.?
     สิ่งที่พยายามอธิบายอยู่นี้คือ อธิบายทางเดินของอรหันต์ปัญญาวิมุติ
     อีกอย่าง อรหันต์ประเภทนี้ไม่ได้ฌานมาก่อน จึงไม่มีฤทธิ์หรือคุณวิเศษใดๆ

     ถามว่า อรหันต์ปัญญาวิมุติ ได้สิ้นกิเลสแล้ว สามารถฝึกฤทธิ์ได้หรือไม่.?
     ผู้รู้ตอบว่า ไม่ได้ เพราะ จิตปล่อยวางหมดแล้ว ไม่เอาอะไรแล้ว (อย่าถามอะไรให้มากกว่านี้นะ ผมตอบไม่ได้)





      ขอสรุปตรงนี้ว่า อรหันต์ทั้งสี่ประเภท สามประเภทแรกมีฤทธิ์ ระดับของฤทธิ์ไล่เรียงตามนั้นเลย คือ วิชชา ๓ น้อยสุด มากสุดคือ อุภโตภาควิมุติ ส่วนปัญญาวิมุติไม่มีฤทธิ์เลย ดังมีหลักฐานในอรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต ปวารณาสูตรที่ ๗ กล่าวไว้ว่า "ปัญญาวิมุติ ได้แก่ หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ เป็นพระขีณาสพผู้ยังมิได้วิชชา ๓" อรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นอรหันต์แห้งแล้ง
     
      อย่าไรก็ตาม ขอให้ทราบว่า อรหันต์อุภโตภาควิมุติ อภิญญา ๖ และวิชชา ๓ ได้ทั้งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ

      อนึ่งเมื่อก่อน ผมเข้าใจว่า อรหันต์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ปัญญาวิมุติกับเจโตวิมุติ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่ถูกแล้วต้องเป็น ปัญญาวิมุติกับอุภโตภาควิมุติ เพราะลำพังเจโตวิมุติ ไม่สามารถทำให้กิเลสสิ้นไปได้ เปรียบเสมือนการนำหินมาทับหญ้า เมื่อยกหินนั้นออก หญ้าก็กลับมาเติบโตเหมือนเดิม

      ก่อนที่เจ้าสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านได้สมาบัติ ๘ โดยเรียนจากอาฬารดาบส และอุทกดาบส สมาบัติ ๘ นั้นคือ เจโตวิมุติ ท่านเห็นว่า ไม่อาจแก้ทุกข์ได้อย่างถาวร ท่านจึงแสวงหาการหลุดพ้นในทางอื่น จนค้นพบการหลุดพ้นด้วยปัญญา จึงเป็นที่มาของประโยคที่ว่า
      "ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่"
     
      ขอคุยเท่านี้ โปรดติดตามตอนต่อไป........

       :welcome: :49: thk56 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2015, 08:35:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

     เยี่ยมๆ ครับ ท่านศิษย์พี่  ชอบ ชอบ

         เรื่องอภิญญา  ชอบ ชอบ ครับ

           สาธุ สาธุ

         
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า "อุภโตภาควิมุตติ"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2015, 01:19:26 pm »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)


   [๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุนามว่า กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก
    ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร....ฯลฯ.....(ยกมาแสดงบางส่วน)

    .......................................



    ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ

     ans1 ans1 ans1 ans1

    [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
    ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
    ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒
    ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
    ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔
    ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
    ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
    ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
    ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
             
    st12 st12 st12 st12

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้างออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์ จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
    อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล


    จบมหานิทานสูตร ที่ ๒


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗.  หน้าที่  ๖๐ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57



๒. มหานิทานสูตร สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่
จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นิคม ชื่อกัมมาสธัมมะ ในแคว้นกุรุ. พระอานนท์เข้าไปเฝ้า กราบทูลว่า แม้ปฏิจจสมุปบาท ( ธรรมที่เกิดขึ้นอาศัยกันและกัน) เป็นของลึกซึ้งและทีเงาลึกซึ่ง แต่ปรากฏเป็นของตื้นสำหรับท่าน.   
    พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าพูดอย่างนั้น  ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกซึ้ง เพราะไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ สัตว์จึงไม่ล่วงพ้นอบาย(ภูมิอันเสื่อม) ทุคคติ(ที่ไปอันชั่ว) วินิบาติ(สภาพอันตกต่ำ) สงสาร(การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด) ยุ่งเหยิง สับสน เหมือนต้นหญ้า(ที่ตกเกลื่อนกลาดอยู่ ยากที่จะจัดระเบียบต้นปลาย)

    .....ฯลฯ.............

    ที่ตั้งแห่งวิญาณ ๗ อย่าง
    ต่อจากนั้นทรงแสดงวิญญาณฐิติ ( ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ) ๗ อย่าง คือ :-
    ๑. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) ต่างกัน เช่นมนุษย์ เทวดาบางพวกและเปตรบางพวก ๗ .
    ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพ พวกพรหม ที่เกิดด้วยปฐมฌานและสัตว์ที่อยู่ในบาย ๔.
    ๓. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น เทพพวกอาภัสสรพรหม
    ๔. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เทพพวกสุภกิณหพรหม.
    ๕. สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป ทำในใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ(เป็นพรหมไม่มีรูปพวกที่ ๑)
    ๖. สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญยตนะ ทำในใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ(เป็นพรหมไม่มีรูปพวกที่ ๒)
    ๗. สัตว์เหล่าหนึ่งก้าวล่วงวัญญาณัญจายตนะ ทำในใจว่า ไม่มีอะไร เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ(เป็นพรหมไม่มีรูปพวกที่ ๓).

   
    อายตนะ ๒
    ครั้นแล้วทรงแสดงอายตนะ ๒ คือ
    ๑. อสัญญีสัตตายตนะ อายตนะ หรือที่ต่อ คือ อสัญญีสัตว์(อสัญญีสัตว์เป็นพวกมีแต่รูป ไม่มีวิญญาณ จึงไม่จัดเข้าในวิญญาณฐิติ ๗ อย่าง แต่เรียกว่าอายตนะ)
    ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะ หรื่อที่ต่อ คือที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่(นี้เป็นพรหมไม่มีรูป พวกที่ ๔ เพราะเหตุที่วิญญาณในอรูปพรหมชั้นนี้สุขุมละเอียดอ่อนมาก จึงไม่ควรกล่าวว่ามีวิญญาณ หรือไม่มีวิญญาณ ฉะนั้น จึงไม่จัดเข้าในวิญญาณฐิติ ๗ แต่เรียกว่าอายตนะ เป็นอันว่า ต้องกล่าวว่า วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ จึงจะครอบคลุมสัตว์โลกได้หมดทุกชนิด)

 

    ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา
    ตรัสสรุปเฉพาะตอนนี้ว่า ผู้ใดรู้วิญญาณฐิติทั้งเจ็ดรู้อายตนะทั้งสองรู้ความเกิดขึ้น รู้ความดับไป รู้ความพอใจ รู้โทษ และรู้การแล่นออก (หลุดพ้น) จากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ แล้ว ควรหรือที่จะชื่นชมยินดีววิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ นั้น พระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ควร .
    จึงตรัสว่า ภิกษุผู้รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น(ด้วยอุปาทาน ) เรียกว่า เป็นปัญญาวิมุติ(ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)

   
    วิโมกข์(ความหลุดพ้น) ๘
    ทรงแสดงวิโมกข์ ๘ แก่พระอานนท์ต่อไป คือ :-
    ๑. บุคคลมีรูป เห็นรูป.
    ๒. บุคคลมีความกำหนดหมายในสิ่งไม่มีรูป เห็นรูปภายนอก.
    ๓. บุคคลน้อมใจว่า “งาม ”
    ๔. บุคคลทำไว้ในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ.
    ๕. บุคคลทำไว้ในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เข้าถึงวิญญาณณัญจายตนะ.
    ๖. บุคคลทำไว้ในใจว่า ไม่มีอะไร เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ.
    ๗. บุคคลก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ.
    ๘. บุคคลก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ.

   
    สรุปเกี่ยวกับวิโมกข์ ๘
    ภิกษุเข้าสู่วิโมกข์ ๘ นี้ ได้ทั้งอนุโลม(ตามลำดับ) และปฏิโลม(ถอยกลับจากหลังไปหาหน้า) เข้าได้ออกตามต้องการ ย่อมทำให้แจ้ง(บรรลุ) ความหลุดพ้นด้วยสมาธิ(เจโตวิมุติ) และความหลุดพ้นด้วยปัญญา(ปัญญาวิมุติ) อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะได้ในปัจจุบัน ภิกษุนี้ เรียกว่า อุภโตภาควิมุต(ผู้พ้นทั้งสองทาง) ไม่มีอุภโตภาควิมุตอย่างอื่นยอดเยี่ยมกว่า ประณีตกว่า.
    เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระอานนท์ก็ชื่นชมภาษิตของพระของพระผู้มีพระภาค.


ที่มา http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.html





 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

พระสูตรนี้ผมลืมอ่าน เลยลืมโพสต์ ทำให้กระทู้ก่อนๆ อธิบายคำว่า "อุภโตภาควิมุติ" ได้ไม่ชัดเจน และที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ก็คือ ไปบอกว่าในพระสูตรไม่มีคำอธิบายของคำว่า "อุภโตภาควิมุติ" เท่ากับว่า "ตู่พุทธพจน์ นรกจะกินหัว" ต้องกราบขออภัยเป็นอย่างสูงสุด

ในพระสูตรนี้ระบุชัดเจนว่า อรหันต์ประเภท"อุภโตภาควิมุติ" ต้องได้ วิโมกข์ ๘ กล่าวโดยย่อก็คือ รูปฌาน กสิณ อรูปฌาน และสัญญาเวทยิตนิโรธ  ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ขอให้พิจารณาประโยคนี้
     "ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้างออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์ จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน"

     ประโยคนี้ชัดเจนว่า "การเข้าฌานและการออกจากฌาน เป็นอนุโลมและปฏิโลม" ทำให้สำเร็จอรหันต์ได้

      ประเด็นที่สำคัญในพระสูตรนี้อีกอย่างก็คือ พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงอรหันต์อยู่สองประเภท คือ ปัญญาวิมุติ และอุภโตภาควิมุติ ทำให้ชวนคิดได้ว่า อรหันต์มีสองประเภทใหญ่ๆตามนั้น

      ผมยังมีประเด็นที่จะคุยอีกมาก แต่ต้องค่อยๆศึกษาอย่างระมัดระวัง กลัวจะพลาดอีก
      ขอคุยเท่านี้ก่อน ขอบพระคุณที่ติดตาม

       :welcome: :49: :25: thk56
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 29, 2015, 01:36:16 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 thk56 st11 st12 st12 st11 gd1 :08: :035: :035: :035: :104: :58: :72: :s_hi: :88: :49: :welcome:
       ขอสาธุธรรม ครับท่านศิษย์พี่  ผมอ่านจบลงอย่างซาบซึ้ง(อันนี้พูดตามอารมณ์นะ)

         ผู้ที่เข้าใจสาระธรรมที่มีปฏิภาณไหวพริบ อย่างนี้ สามารถ นำวางและจัดพล๊อต ไหนวางก่อนวางไหนหลัง  ปูมาให้อ่านได้ถือว่า สุดยอดครับ

       เรื่อง เจโตวิมุติ สมถะ วิปัสสนาญาณ เรื่องอภิญญา วิชชาสาม วิชชาหก วิชชาแปด สมาบัติแปด ปฏิสัมภิทัปปัตโต

          ชอบครับ

                        .....................สาธุธรรมท่านศิษย์พี่
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธเจ้า เป็น "อรหันต์ วิชชา ๓"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2015, 07:31:44 am »
0

พระพุทธเจ้า เป็น "อรหันต์ วิชชา ๓"
จูฬวัจฉโคตตสูตร : พยากรณ์วิชชา ๓
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    [๒๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่าตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่งวาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึงติเตียนเล่า.

     ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่งวาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย.


      :96: :96: :96: :96: :96:

     ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
     ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
     ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
     ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้.



     ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
     สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
     ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง สุคติ โลก สวรรค์


      ans1 ans1 ans1 ans1

      ดูกรวัจฉะ เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่.

      ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะเป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็นอันพยากรณ์ถูก สมควรแก่ธรรม อนึ่งวาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียน...(ยกมาแสดงบางส่วน)


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๒๓๕ - ๔๓๑๕.  หน้าที่  ๑๘๔ - ๑๘๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4235&Z=4315&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=240
ขอบคุณภาพจาก :-
http://www.beartai.com/
http://www.thaigold.info/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2015, 09:22:53 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระอสีติมหาสาวก เป็น อรหันต์ประเภทไหน.?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2015, 09:03:15 am »
0


พระอสีติมหาสาวก เป็น อรหันต์ประเภทไหน.?
อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕ : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

      [๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
      ก็โดยสมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า
      สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย ฯ

      [๕๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วในพรหมโลก นั้นเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้ไว้ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น ฯ
      ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว


       ask1 ask1 ask1 ask1

      [๕๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า
      บัดนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ฯ
      ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
      ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น ฯ
     ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศบูรพา นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว


    [๕๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระมหากัสสปได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ฯลฯ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ
     ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปอาศัยทิศทักษิณ นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว


    [๕๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ฯ
      ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ
      ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะอาศัยปัจฉิมทิศ นั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว


      [๕๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระอนุรุทธได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ
      ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธอาศัยทิศอุดร นั่งขัดสมาธิในวิเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว





      [๕๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมด้วยคาถาว่า
      ผู้มีอายุ ทิฐิในก่อนของท่าน แม้ในวันนี้ก็ยังมีแก่ท่าน หรือท่านเห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหมโลกหรือ ฯ

      [๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ทิฐิในเก่าก่อนของข้าพเจ้ามิได้มีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหมโลก ไฉนในวันนี้ ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า "เราเป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ติดต่อกัน" ดังนี้เล่า ฯ

       ans1 ans1 ans1 ans1

      [๕๘๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคยังพรหมนั้นให้สลดใจแล้ว ได้หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วในพระวิหารเชตวันปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น ฯ
      ลำดับนั้นแล พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะ (คือพรหมสำหรับใช้ของพวกพรหม พระเถระมีภิกษุหนุ่มๆ ไว้ช่วยถือบริขาร ฉะนั้น) เพราะแม้พวกพรหมก็มีพรหมไว้รับใช้เหมือน องค์หนึ่งมาว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่
      ครั้นแล้วจงกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า
      "ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เหมือนกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ก็ยังมีอยู่หรือหนอแล"

      พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์ แล้วหายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ


       ask1 ask1 ask1 ask1

      [๕๘๒] ครั้งนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
      พรหมปาริสัชชะนั้นยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า "ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะก็ยังมีอยู่หรือหนอ"

       ans1 ans1 ans1 ans1

      [๕๘๓] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมปาริสัชชะด้วยคาถาว่า
      สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจากกิเลส มีอยู่มาก ดังนี้ ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๔๖๕๔ - ๔๗๓๘.  หน้าที่  ๒๐๑ - ๒๐๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4654&Z=4738&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=573
ขอบคุณภาพจาก :-
http://www.kunkroo.com/
http://f.ptcdn.info/




ask1  พระอสีติมหาสาวก เป็น อรหันต์ประเภทไหน.?
ans1  ตาม "อปราทิฏฐิสูตร" ที่แสดงแล้วนั้น กล่างถึง พระอสีติมหาสาวก คือ พระมหาโมคคัลลานะ พระกัสสป พระกัปปินะ และพระอนุรุทธะ ได้ขึ้นไปยังพรหมโลก เพื่อแสดงฤทธิ์ให้พรหมองค์หนึ่งคลายทิฏฐิ
     หลังจากนั้นมีพรหมปาริสัชชะ ได้ตามลงมาถามพระมหาโมคคัลลานะว่า
     มีใครมีฤทธิ์เหมือนกับพระอสีติมหาสาวกทั้ง ๔ รูปที่ขึ้นไปบนพรหมโลกบ้าง.?
     พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า
     สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ได้วิชชา ๓ มีอยู่มาก
     ดังนั้นจึงพอที่จะอนุมานได้ว่า พระอสีติมหาสาวกส่วนหนึ่งเป็น อรหันต์ประเภทวิชชา ๓


     อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะพระอสีติมหาสาวกทั้ง ๔ อยู่บนพรหมโลกนั้น
      - พระมหาโมคคัลลานะ อยู่ทิศบูรพา
      - พระมหากัสสป อยู่ทิศทักษิณ
      - พระมหากัปปินะ อยู่ปัจฉิมทิศ
      - พระอนุรุทธ อยู๋ทิศอุดร
    เมื่อนำไปเทียบกับเรื่องอรหันต์ ๘ ทิศแล้ว มีความแตกต่างกัน
      - พระมหาโมคคัลลานะ จะอยู่ทิศอุดร (ทิศบูรพาเป็นของพระอัญญาโกณฑัญญะ)
      - พระมหากัสสป จะอยู่ทิศอาคเนย์ (ทิศทักษิณเป็นของพระสารีบุตร)


    อีกอย่างตามพระสูตรนี้ จะเห็นว่า การใช้ฤทธิ์หายตัวจากมนุษยโลกไปยังพรหมโลกนั้น ต้องอาศัยเตโชกสิณ ใครอยากหายตัวได้ คงต้องฝึกเตโชกสิณให้ได้ก่อน

     
หมายเหตุ : พระอสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ 80 รูป หรือ พระสาวกสำคัญ 80 รูป ของพระพุทธเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2015, 09:05:53 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
st12 st12 st12 st12 st12

- ผมก็ปารถนาอยู่เช่นนั้นเหมือนกันครับท่านรพลสร คือ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิชชา ๘(เขาว่าเป้นวิชชา ๓ แล้วยกญาณขึ้นอีก 5 เป็นวิชชา ๘) วิโมกข์ ๘ ด้วยประการฉะนี้ รู้อย่างที่พระพุทธเจ้ารู้ เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าเห็น ได้มีอย่างที่พระพุทธเจ้ามี

- ทำให้หลายๆอย่างเกิดความตรึกนึกคิดคำนึงถึงเป็นอันมากว่า เราต้องสะสมบุญบารมีอย่างไรหนอ ต้องปฏิบัติอย่างไรหนอ
- แม้กสินนี้ก็เคยทำอยู่บ้างแต่ไม่ลงลึก แม้อานาปานสติก็ทำอยู่บ้างแต่ก็ไม่ลึก แม้อนุสสติที่มีอยู่ทั้งปวงก็ทำมาบ้างแต่ก็ไม่ลงลึก แม้พรหมวิหาร๔ ที่ทำไปโดยเจโต ในแบบปุถุชนอย่างผม ผมหมายเอาจิตอันพ้นจากกิเลสทีความปารถนาดีอันน้อมไปในการสละให้แผ่ไปทั่วด้วยกุศลนั้น ยังความไม่เบียดเบียนไรๆแผ่ไปทั่วทุกทิศทุกชั้นฟ้า ทุกขุมนรก โดยตั้งจากความสงบใจจากกิเลสนั้นไป อสุภะทั้งภายในภายนอกตน ธาตุ ๔ ไปจนถึงธาตุ ๖ และ อีกหลายๆส่วน แต่ก็เข้าไม่ลึก พอจะมีโอกาสได้สัมผัสมันบ้างเพียงเล็กน้อยที่ปุถุชนผู้มีกรรมอกุศลมากพึงจะสัมผัสได้ ผมก็จึงปลงๆในใจว่าอย่างผมนี้คงปารถนาสูงเกินไปบ้างก็ท้อในการปฏิบัติเช่นกัน อาจจะเพราะเวลาปฏิบัติผมทำแบบเอาเป็นเอาตายเกินไป สุดท้ายก็ยังมองไม่เห็นทางใดๆที่จะสะสมบารมีให้เป็นไปในทางนั้นได้เลย
- ถ้าท่านรพลสรพอจะมรเมตตาแก่ผมได้ รบกวนชี้แนะแนวทางแก่ผมด้วยครับ เมื่ออ่านพระสูตรนี้ของท่านล้วดูมีศรัทธา ฉันทะ และ วิริยะ อันตั้งใจไว้อยู่ดีมากครับ ขอบพระคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 11:00:01 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

      ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อ้างถึง
   ข้อความโดย: Admax

st12 st12 st12 st12 st12

- ผมก็ปารถนาอยู่เช่นนั้นเหมือนกันครับท่านรพลสร คือ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิชชา ๘(เขาว่าเป้นวิชชา ๓ แล้วยกญาณขึ้นอีก 5 เป็นวิชชา ๘) วิโมกข์ ๘ ด้วยประการฉะนี้ รู้อย่างที่พระพุทธเจ้ารู้ เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าเห็น ได้มีอย่างที่พระพุทธเจ้ามี

- ทำให้หลายๆอย่างเกิดความตรึกนึกคิดคำนึงถึงเป็นอันมากว่า เราต้องสะสมบุญบารมีอย่างไรหนอ ต้องปฏิบัติอย่างไรหนอ
- แม้กสินนี้ก็เคยทำอยู่บ้างแต่ไม่ลงลึก แม้อานาปานสติก็ทำอยู่บ้างแต่ก็ไม่ลึก แม้อนุสสติที่มีอยู่ทั้งปวงก็ทำมาบ้างแต่ก็ไม่ลงลึก แม้พรหมวิหาร๔ ที่ทำไปโดยเจโต ในแบบปุถุชนอย่างผม ผมหมายเอาจิตอันพ้นจากกิเลสทีความปารถนาดีอันน้อมไปในการสละให้แผ่ไปทั่วด้วยกุศลนั้น ยังความไม่เบียดเบียนไรๆแผ่ไปทั่วทุกทิศทุกชั้นฟ้า ทุกขุมนรก โดยตั้งจากความสงบใจจากกิเลสนั้นไป อสุภะทั้งภายในภายนอกตน ธาตุ ๔ ไปจนถึงธาตุ ๖ และ อีกหลายๆส่วน แต่ก็เข้าไม่ลึก พอจะมีโอกาสได้สัมผัสมันบ้างเพียงเล็กน้อยที่ปุถุชนผู้มีกรรมอกุศลมากพึงจะสัมผัสได้ ผมก็จึงปลงๆในใจว่าอย่างผมนี้คงปารถนาสูงเกินไปบ้างก็ท้อในการปฏิบัติเช่นกัน อาจจะเพราะเวลาปฏิบัติผมทำแบบเอาเป็นเอาตายเกินไป สุดท้ายก็ยังมองไม่เห็นทางใดๆที่จะสะสมบารมีให้เป็นไปในทางนั้นได้เลย
- ถ้าท่านรพลสรพอจะมรเมตตาแก่ผมได้ รบกวนชี้แนะแนวทางแก่ผมด้วยครับ เมื่ออ่านพระสูตรนี้ของท่านล้วดูมีศรัทธา ฉันทะ และ วิริยะ อันตั้งใจไว้อยู่ดีมากครับ ขอบพระคุณครับ


ans1 ans1 ans1 ans1

ประการแรก ต้องไปขึ้นกรรมฐานที่วัดพลับ
ประการที่สอง ให้บูชากราบไหว้หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ทุกวัน
ประการที่สาม สวดคาถาพญาไก่เถื่อนทุกวัน วันละ ๑๐๘ จบ เป็นอย่างน้อย แล้วอธิษฐานขอให้ได้กัลยาณมิตรหรือครูบาอาจารย์สอนกรรมฐานให้
ประการที่สี่ หาโอกาสร่วมกิจกรรมงานบุญของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับบ้าง ตามสมควร

ขอให้สมหวังครับ

 :welcome: :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

         สาธุ สาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

 ที่สำคัญได้เห็นรูป ท่าน ธัมมะวังโส ได้หลายภาพ พึ่งจะได้เห็นภาพ แบบชัด ๆ ในเว็บกระทู้นี้

   like1 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :72:
 ขออนุโมทนาสาธุ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อยากได้ "เจโตวิมุติ" ควรทำอย่างไร.? (มีพุทธพจน์)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 09:38:43 am »
0



ธรรม ๕ ประการ ปฏิบัติแล้ว มี "เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ" เป็นผล

๕. อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ(๑-)อันองค์ ๕ สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติ(๒-)เป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ(๓-)เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์
       องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
         ๑. ศีล(๔-)
         ๒. สุตะ(๕-)
         ๓. สากัจฉา(๖-)
         ๔. สมถะ(๗-)
         ๕. วิปัสสนา(๘-)
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ นี้แล สนับสนุนแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์


                อนุคคหิตสูตรที่ ๕ จบ


 st12 st12 st12 st12

๖. วิมุตตายตนสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่ได้บรรลุ



อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔  อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=25



เชิงอรรถ :-

(๑) สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกายอธิบายว่าหมายถึง อรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗,องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙)
(๒) เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง มัคคสมาธิและผลสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒, องฺ.ปญฺจก.อ.๓/๒๕/๗)
(๓) ปัญญาวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง ผลญาณ ได้แก่ ผลปัญญาที่ ๔ กล่าวคือ อรหัตตผลปัญญา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕/๗, องฺ.ปญจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
(๔) ศีล ในที่นี้หมายถึง ปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค (ม.มู.อ.๒/๔๕๒/๒๕๔,องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
(๕ ) สุตะ ในที่นี้หมายถึง การฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
(๖ ) สากัจฉา ในที่นี้หมายถึงการสนทนาบอกความเป็นไปแห่งจิตของตน (ม.มู.อ.๒/๔๕๒/๒๕๔,องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
(๗) สมถะ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ ที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๑๐)
(๘) วิปัสสนา ในที่นี้หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนานิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา และปฏินิสสัคคานุปัสสนา

    องค์ ๕ ประการนี้เปรียบเหมือนกระบวนการปลูกมะม่วง คือ
    ศีล เปรียบเหมือนการทำร่องน้ำรอบต้นไม้ เพราะเป็นมูลเหตุให้สัมมาทิฏฐิเจริญ
    สุตะ เปรียบเหมือนการรดน้ำให้เหมาะแก่เวลา เพราะเพิ่มพูนภาวนา
    สากัจฉา เปรียบเหมือนการตัดแต่งกิ่ง เพราะนำความยุ่งยากแห่งภาวนาออกไปได้
    สมถะ เปรียบเหมือนการทำทำนบกั้นน้ำให้แข็งแรง เพราะทำภาวนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น
    วิปัสสนา เปรียบเหมือนการใช้จอบขุดราก เพราะขุดรากตัณหา มานะ และทิฏฐิได้
    (ม.มู.อ.๒/๔๕๒/๒๕๕, องฺ.เอกก.ฏีกา ๑/๑๑/๙๓, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๕/๙-๑๒)


ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑-๓๒

####################

เชิงอรรถ ๑ :-

ปาริสุทธิศีล ๔ (ศีลคือความบริสุทธิ์, ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์, ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล)
       ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)
       ๒. อินทรียสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6)
       ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น)
       ๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล (ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา)


อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2016, 09:51:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ