ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในพระไตรปิฎกมี "วิธีขอขมา" หรือไม่.?  (อ่าน 2420 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28437
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ในพระไตรปิฎกมี "วิธีขอขมา" หรือไม่.?
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 11:32:49 am »
0


การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามมรรค
                           
    สองบทว่า อริยานํ อุปวาทกา ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ กล่าวใส่ร้าย.
     มีคำอธิบายว่า ด่าทอ ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน ด้วยอันติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.

    ในการกล่าวใส่ร้าย ๒ อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า สมณธรรมของท่านเหล่านั้น ไม่มี, ท่านเหล่านั้น ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้ายด้วยอนติมวัตถุ.
    บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้าย ด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ. ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั้งที่รู้ตัวอยู่ หรือไม่รู้ก็ตาม ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้ แม้โดยประการทั้งสอง.
    กรรม (คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก เป็นทั้งสัคคาวรณ์ (ห้ามสวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค)





เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง   
         
    ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ :-

     ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่งและภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง.
     ท่านทั้ง ๒ นั้นได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวยหนึ่ง ในเรือนหลังแรกนั่นเอง.
     แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น.ท่านคิดว่า ข้าวยาคูนี้เป็นของสบายแก่เรา เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย ท่านจึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้ ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้ เพื่อต้องการทำธรณีประตู.
     ภิกษุหนุ่มนอกนี้ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระแก่รูปนี้หิวจัดหนอ กระทำให้เราได้รับความอับอาย.

     พระเถระเที่ยวไปในบ้านแล้วกลับไปยังวิหาร ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า
     อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้ของคุณมีอยู่หรือ.?
     ภิกษุหนุ่มเรียนว่า มีอยู่ ขอรับ! กระผมเป็นพระโสดาบัน.
     พระเถระพูดเตือนว่า อาวุโส.! ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทำความพยายาม เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ.? เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว.
     ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว
     เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.





วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษให้ในการด่าใส่ร้าย
             
     เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า ผู้นั้นไปแล้ว ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้, ก็พึงให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะพระคุณเจ้าแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษนั้นให้กระผมด้วยเถิด.

     ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี พึงขอให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะท่านแล้ว ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
     ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษให้หรือท่านหลีกไปยังทิศ(อื่น)เสีย พึงไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น
     ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้ พึงยืนขอขมาโทษทีเดียว

     ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษให้
     พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ.! กระผมได้กล่าวคำนี้ และคำนี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้นจงอดโทษให้แก่กระผมด้วยเถิด

     ถ้าพระอริยเจ้ารูปนั้นปรินิพพานแล้วไซร้, ควรไปยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพพาน แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว พึงให้อดโทษให้
     เมื่อตนได้กระทำแล้วอย่างนี้ กรรมคือการใส่ร้ายนั้น ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค) ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว.





การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม
             
     บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกา แปลว่า มีความเห็นวิปริต.
     บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานา ความว่า ก็คนเหล่าใด ให้ชนแม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล. คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ.

     ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดงถึงข้อที่กรรมทั้ง ๒ นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์.

     จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษมากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
     ดูก่อนสารีบุตร.! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด,
     ดูก่อนสารีบุตร.! เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก(เพราะอริยุปวาท) เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.

     ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่า มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี.
     เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษมากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

     สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย (ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
     บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งการสละนั้น.
     อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์.
     บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.


อ้างอิง :-
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=12
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=01&A=1&Z=315




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พยสนสูตร

    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ
    ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
    ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ


    ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
    เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
    สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
    เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
    เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
    ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
    ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
    ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
    เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ
    ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ


     จบสูตรที่ ๘


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๙๐๔ - ๓๙๑๕. หน้าที่ ๑๖๘ - ๑๖๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=3904&Z=3915&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=88
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2015, 11:34:49 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ในพระไตรปิฎกมี "วิธีขอขมา" หรือไม่.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 08:38:53 pm »
0
 st11 st12 st12 thk56 like1
บันทึกการเข้า