ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความศักดิ์สิทธิ์ ‘หลวงพ่อโต’ ‘วัดสาขลา’ อ.พระสมุทรเจดีย์  (อ่าน 1605 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ความศักดิ์สิทธิ์ ‘หลวงพ่อโต’ ‘วัดสาขลา’ อ.พระสมุทรเจดีย์

วัดสาขลา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙ บ้านสาขลานาเกลือ หมู่ ๑๙ ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

วัดสาขลา มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ สันนิษฐานว่าชาวบ้านช่วยกันสร้างเมื่อคราวรบชนะพม่า
             
กว่า ๒๓๓ ปี ของวัดแห่งนี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.สมุทรปราการ

ชุมชนบ้านสาขลา เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ต่อมาเมื่อเกิดสงคราม ๙ ทัพในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร เหลือแต่ผู้หญิงและคนชรา เมื่อทหารพม่าเดินทัพผ่านมา พยายามเข้าตีเพื่อยึดเอาเสบียงอาหาร แต่ชาวบ้านทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจหยิบอาวุธเท่าที่พอจะหาได้ ออกไปต่อสู้กับทหารพม่าอย่างกล้าหาญ และเอาชนะทหารพม่าได้ หมู่บ้านแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “หมู่บ้านสาวกล้า” ตามวีรกรรมอย่างกล้าหาญของผู้หญิงในหมู่บ้านนี้ ก่อนที่จะเพี้ยนมาเป็น “หมู่บ้านสาขลา” เช่นในปัจจุบัน

วิหารหลวงพ่อโต พระพุทธรูปเก่าแก่ประจำวัด ซึ่งวิหารจะอยู่ติดกับอุโบสถที่ยกสูงขึ้นเมื่อครั้งถูกน้ำท่วม เดินขึ้นไปจะมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างยืนถือดอกไม้ ธูป เทียน เตรียมสักการะไม่ขาดสาย

 :96: :96: :96: :96: :96:

ลองเดินเข้าไปในวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ โดยเฉพาะ หลวงพ่อโต ที่สร้างมาพร้อมกับวัด เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยอู่ทอง ปางมารวิชัย เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านสาขลา

คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตว่า เมื่อคืนวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๖ เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างช่วยกันดับไฟ แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก พายุเพลิงได้ลุกโหมกระหน่ำไม่หยุดหย่อน จนเกินความสามารถของชาวบ้าน


 :25: :25: :25: :25:

ในขณะนั้นได้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้นมา เมื่อชาวบ้านที่ออกไปหาปูปลาไม่ไกลจากหมู่บ้าน ได้เห็นสิ่งอัศจรรย์ เมื่อหลวงพ่อโตยืนเอาจีวรโบกไฟที่กำลังโหมไหม้ จนค่อยๆ ดับลง พร้อมกับได้ยินเสียงสวดมนต์อย่างต่อเนื่อง

พอรุ่งเช้า ชาวบ้านทราบข่าวว่า มีคนเห็นองค์หลวงพ่อโตช่วยดับไฟ ทุกคนจึงแห่ไปดูที่วัด และต้องตกตะลึง บางคนถึงกับร้องไห้ เมื่อเห็นว่าองค์หลวงพ่อโต ดำไปด้วยเขม่าทั้งองค์ ผ้าที่ห่มกรอบไหม้ ใบหน้าของท่านมีร่องรอยเหมือนน้ำตาไหล

 st12 st12 st12 st12

ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำบุญให้หลวงพ่อโต ทุกวันที่ ๖ มกราคม ของทุกปี จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน...ถึงทุกวันนี้

ในส่วนของ อุโบสถ โดยรอบจะมีลูกนิมิตโบราณ ๘ ลูก วางอยู่บนแท่นพญานาค ๗ เศียร ชาวบ้านแถวนั้นเล่าว่า ลูกนิมิตโบราณนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ปี ซึ่งได้ขุดพบตอนที่ทางวัดได้ยกอุโบสถให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังขุดพบพระพุทธรูปโบราณอีกเป็นจำนวนมาก


 st11 st11 st11 st11

ลักษณะของลูกนิมิตนั้นมีลักษณะไม่กลม แต่จะมีรูปทรงบิดเบี้ยว ซึ่งทางวัดได้เปิดให้ชาวบ้านร่วมปิดทองเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเอง

วิหาร ในขณะที่กำลังยกวิหารให้สูงขึ้น ได้ขุดพบพระพุทธรูปที่มีลักษณะหันหลังชนกัน องค์หนึ่งปางประทานพร อีกองค์หนึ่งปางห้ามสมุทร


เมื่อชาวบ้านได้ขุดและอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมา ปรากฏว่า ด้านล่างเป็นบ่อน้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ที่ทำให้ชาวบ้านต้องตกตะลึง ก็คือ เป็นบ่อน้ำจืด ซึ่งในบริเวณพื้นที่ตรงนั้นจะติดกับทะเล ทำให้พื้นดินเป็นน้ำเค็มทั้งหมด สร้างความอัศจรรย์ใจให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันบ่อน้ำนั้นก็ยังคงเป็นบ่อน้ำจืดอยู่เช่นเคย

พระพุทธรูปที่ขุดพบใต้วิหาร ซึ่งตรงกับฐานองค์หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปศิลา ด้านบนเศียรเป็นฐานของหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นอิฐก้อนใหญ่ที่นิยมใช้ในอดีต โดยมีเกร็ดความรู้ว่า นั่นก็คือ วิธีการเชื่อมอิฐสมัยอดีต ซึ่งใช้น้ำผึ้งผสมกับอ้อย เหมือนเป็นกาว ให้อิฐติดกันได้ดี ถือเป็นภูมิปัญญามาแต่ครั้งโบราณ


 :25: :25: :25: :25:

พระปรางค์เอียง ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด ริมคลองสาขลา ถือเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของวัดแห่งนี้ คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าให้ฟังว่า ในอดีตการทำสิ่งปลูกสร้างจะไม่ใช้วิธีลงเสาเข็มเหมือนปัจจุบัน แต่จะใช้วิธีวางท่อนซุงหรือท่อนไม้ไขว้กันไปมา ตรงบริเวณการสร้างพระปรางค์ก็เช่นกัน แต่บริเวณนั้นอยู่ใกล้กับริมคลอง คนสมัยก่อนจึงได้วางท่อนไม้บริเวณริมคลองไว้มาก เพราะกลัวว่าเวลาผ่านไปอาจจะถูกน้ำกัดเซาะขึ้นมาถึงฐานพระปรางค์ได้ จึงวางท่อนไม้ไว้มากกว่าอีกด้านหนึ่งที่ไม่ติดคลอง แต่เวลาเนิ่นนานทางฝั่งคลองพื้นที่ยังคงเดิม แต่ฝั่งพื้นดินกลับทรุดลง จึงทำให้พระปรางค์เอียงนั่นเอง

ปัจจุบัน พระปรางค์ยังคงอยู่แบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไปชมหลายๆ คน อาจจะสงสัยว่าทำไมพระปรางค์ถึงไม่สูงนัก นั่นก็เพราะได้มีการถมดินบริเวณฐานพระปรางค์ขึ้นมากว่าเดิมถึง ๒ เมตร จึงทำให้รู้สึกว่าพระปรางค์ไม่สูง แต่แท้จริงแล้วใต้ดินลึกลงไปยังคงมีฐานพระปรางค์อยู่นั่นเอง

 st12 st12 st12 st12

ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ ทางวัดจะประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร เพื่อประดิษฐานประจำทิศทั้ง ๔ บนซุ้มพระปรางค์

นับเป็นครั้งแรกที่มีการหล่อพระในวัดสาขลา พร้อมทั้งหล่อรูป “สาวกล้า” เพื่อประดิษฐานบนอนุสาวรีย์ โอกาสนี้ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมงานบุญครั้งนี้ด้วย

วัดสาขลา ได้องค์อุโบสถให้สูงขึ้น เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงน้ำหลาก ใต้อุโบสถจึงสามารถลอดไปมาได้ ในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนไปลอดอุโบสถเสมอ โดยเชื่อว่าจะช่วยเสริมสิริมงคล ๙ ประการ คือ


 st11 st11 st11 st11

มงคลที่ ๑ ลอดประตูพระราหู มงคลที่ ๒ ปิดทองลูกนิมิตโบราณ มงคลที่ ๓ บูชาพระบัวเข็ม กราบรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำนวนมาก มงคลที่ ๔ โยนเหรียญทำบุญพระสังกัจจายน์ มงคลที่ ๕ บูชาพระพุทธรูปที่ขุดพบ มงคลที่ ๖ พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกขกิริยา มงคลที่ ๗ ปิดทองพระพุทธรูปศิลา มงคลที่ ๘ ปิดทองใต้ฐานองค์หลวงพ่อโต และมงคลที่ ๙ ลอดท้องช้าง พรายมหาลาภ

ปัจจุบัน วัดสาขลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ กทม.โดยมี พระปลัดสันทาน ธมฺมสนฺทโน (อยู่ไสว) เป็นเจ้าอาวาส สอบถามเส้นทางได้ที่โทร.๐๘-๕๙๐๗-๑๔๓๑, ๐๘-๑๖๓๒-๘๒๗๑


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150716/209848.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ