ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หยก กับ พระพุทธรูป  (อ่าน 2015 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
หยก กับ พระพุทธรูป
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2015, 11:48:47 am »
0
"พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย วัดธรรมมงคล

หยก กับ พระพุทธรูป
คอลัมน์ : พันธุ์แท้พระเครื่อง โดย ราม วัชรประดิษฐ์

"หยก" หรือที่ตามตำนานจีนเรียกกันว่า "หินแห่งสรวงสวรรค์" เข้ามามีบทบาทผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มานานกว่า 4,000 ปีแล้ว มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ก่อนที่จะกระจายไปทั่วทุกมุมโลกทั้งแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก

ความศรัทธาและความเชื่อในอำนาจลี้ลับของ "หยก" เป็นสิ่งที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ ไม่เพียงแต่ชาวจีนเท่านั้นที่รู้ซึ้งถึงคุณค่าอันนอกเหนือจากความงามอันเป็น เอกลักษณ์ แม้กระทั่งชาวอเมริกา อเมริกากลาง และทวีปยุโรป ฯลฯ ก็ต่างมีความศรัทธาในอำนาจลี้ลับที่เกี่ยวข้องกับแพทยศาสตร์ว่า "หยก" สามารถช่วยบำบัดรักษาโรคไตและโรคทางเดินปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังพบว่า บางคนสามารถคาดคะเนสภาพลมฟ้าอากาศจากการสังเกตสีของ "หยก" ถ้าหากหยกปรากฏสีมัวหมองน่าสะพรึงกลัว เป็นลางบอกเหตุว่าพายุร้ายกำลังจะมา หรือแม้กระทั่งเรื่องสุขภาพ หลายๆ คนเชื่อว่า ถ้าหยกที่สวมใส่อยู่มีสีสันสดใสแวววาว แสดงว่าผู้สวมใส่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี และโชคลาภ แต่ถ้าหยกนั้นมีสีหม่นหมองไม่ส่องประกาย แสดงว่าสุขภาพจะอ่อนแอ จิตใจหมองมัว กำลังมีทุกข์หรืออับโชค เป็นต้น


 :96: :96: :96: :96: :96:

จากความศรัทธาและความเชื่อต่างๆ ดังกล่าวมานี้ ทำให้มีผู้คิดค้นสัญลักษณ์แบบประติมากรรมหยก โดยนำมาผนวกกับศาสตร์ทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และศาสตร์ในการคำนวณตัวเลข ประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ในช่วงต้นราชวงศ์ชาง ได้มีการใช้สัญลักษณ์แบบประติมากรรมหยกนี้ในการพยากรณ์พระประสงค์ของพระเจ้า และเหตุการณ์ธรรมชาติต่างๆ หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ อันนับว่ามีความซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว และคุณสมบัติสำคัญของ "หยก" คือจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ ไม่ว่าจะผ่านกาลเวลามานานเท่าใด เมื่อสองร้อยปีเป็นอย่างไรปัจจุบันก็เหมือนเดิมทุกประการ ต้องใช้ความสามารถของผู้ชำนาญการด้านนี้จริงๆ จึงจะสามารถแยกคุณลักษณะพิเศษของหยกแต่ละยุคสมัยได้



สำหรับประเทศไทยเรา นอกเหนือจากพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ "พระแก้วมรกต" ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พระคู่บ้านคู่เมืององค์สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ยังมีพระพุทธรูปหยกอีกมากมายประดิษฐานแทบทุกจังหวัด เพื่อให้สาธุชนได้กราบขอพรทั้งเรื่องโชคลาภและสุขภาพ

โดยฉบับนี้จะขอกล่าวถึง "พระพุทธรูปหยก" องค์สำคัญอีกองค์ ที่นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลก นั่นคือ "พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย" หรือ "หลวงพ่อหยก วัดธรรมมงคล" พระพุทธรูปหยกปางสมาธิที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตักกว้าง 1.66 เมตร และสูง 2.2 เมตร

 ans1 ans1 ans1 ans1

มูลเหตุสืบเนื่องจาก พระราชธรรมเจติยาจารย์ หรือ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ได้นิมิตเห็นหยกสีเขียวบริสุทธิ์ก้อนใหญ่ที่สุดในโลกได้กำเนิดขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ไปพบเห็นหยกเขียวก้อนมหึมา น้ำหนักถึง 32 ตัน ที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2534 ซึ่งขุดค้นพบโดย นายจอห์น สกุสเลอร์ ที่เหมืองทอง

แต่สันนิษฐานว่าถิ่นกำเนิดหยกก้อนนี้คือ ยอดเขาคิงส์เมาน์เท่น ซึ่งเคลื่อนตัวมาที่บ่อทองคำ คำนวณการเดินทางโดยประมาณ 8,000 ถึง 10,000 ปี จึงดำเนินการติดต่อจนได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ โดยขนส่งถึงวัดธรรมมงคลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535


 :25: :25: :25: :25:

หยกก้อนนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 นำมาแกะสลักเป็นองค์พระพุทธรูป "หลวงพ่อหยก" ส่วนที่ 2 นำมาแกะสลักเป็นเจ้าแม่กวนอิม และส่วนที่เหลือจากการแกะสลักองค์ใหญ่ ได้นำมาแกะสลักเป็นองค์เล็กๆ เพื่อให้สาธุชนที่เดินทางมาวัดธรรมมงคลได้เช่าบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยใช้ช่างแกะสลักผู้มีชื่อเสียงและชำนาญการจากประเทศอิตาลีถึง 3 คน และใช้เวลานานถึง 12 เดือน จึงแล้วเสร็จเป็นองค์พระพุทธรูป เนื่องจากหยกเป็นหยกเนื้อดีและมีความแข็งมาก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามว่า "พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย"

ปัจจุบัน "พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย" หรือ "หลวงพ่อหยก" ประดิษฐาน ณ ศาลา ภ.ป.ร. หรือศาลาหลวงพ่อหยก วัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท 101 ซอยปุณณวิถี 20 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ


ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1437413166
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2015, 11:57:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ