ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัตถุมงคล สมเด็จพระญาณสังวรฯ รุ่น 'ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา พ.ศ.๒๕๓๖'  (อ่าน 1872 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วัตถุมงคล สมเด็จพระญาณสังวรฯ รุ่น 'ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา พ.ศ.๒๕๓๖'
พระเครื่องสรณะคนดัง เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

วัตถุมงคล รุ่น “ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา” พ.ศ.๒๕๓๖ จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนในการสร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม ต.ป่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคสมทบทุนในการสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วให้สำเร็จ พร้อมทั้งเฉลิมพระเกียรติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา ๘๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๓๖

กำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษกวันศุกร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ เวลา 15.00 น. ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานในพิธี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว.มหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส รายนามคณาจารย์ที่นั่งปรกในพิธีมหาพุทธาภิเษก หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ วัดธาตุมหาชัย นครพนม, พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม (ดับเทียนชัย), หลวงพ่อยิด จนฺทสุวัณโณ วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง นครปฐม, หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ, หลวงปู่หยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม, หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม นครปฐม, หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม, หลวงพ่อแคล้ว วัดบางขุนเทียนนอก กรุงเทพฯ, หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม, พระราชปัญญาสุธี วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ

 st12 st12 st12 st12

หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง สุพรรณบุรี, หลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี, หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา, พระครูสันติสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณบุรี, พระภาวนาพิศาเถร (พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา, หลวงพ่อสาย วัดขนอนใต้ พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ นครปฐม

หลวงพ่ออาบ วัดอ้อมน้อย สมุทรสาคร, หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา พระนครศรีอยุธยา, พระสมุห์จรูญ ฐานิสสโร ภิกขุ วัดกันตทาราม กรุงเทพฯ, หลวงปู่วิเวียร วัดดวงแข กรุงเทพฯ, หลวงพ่ออิฏฐ์ วัดจุฬามณี สมุทรสาคร, หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย ปทุมธานี, หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง นครปฐม, หลวงพ่อสิริ วัดตาล ปทุมธานี เป็นต้น

 ans1 ans1 ans1 ans1

รายการวัตถุมงคลรุ่น “ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา” พ.ศ.๒๕๓๖ มีดังนี้

     ๑.เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ (ขนาด ๓ ซม.) ผลิตโดยกองกษาปณ์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ พื้นขัดเงา เนื้อทองคำ เนื้อนิกเกิล พื้นขัดเงา เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง
     ๒.เหรียญพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม (ขนาด ๓ ซม.) ผลิตโดยกองกษาปณ์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ พื้นขัดเงา เนื้อทองคำ เนื้อนิกเกิล พื้นขัดเงา เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง
     ๓.สมเด็จพระสังฆราชใบโพธิ์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และ เนื้อนวะพิเศษแก่ทอง
     ๔.พระปิดตาใบโพธิ์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวะพิเศษ
     ๕.พระนางพญาใบโพธิ์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวะพิเศษ
     ๖.พระสมเด็จใบโพธิ์ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวะพิเศษ
     ๗.พระสมเด็จเนื้อผงอัญมณี ประกอบด้วย เนื้อขาวอมเหลือง เนื้อผงทับทิม เนื้อผงไพลิน พระสมเด็จเนื้อผงเกล็ดทองคำ เนื้อขาวอมเหลืองเกล็ดทองคำ เนื้อผงทับทิมเกล็ดทองคำ และเนื้อผงไพลินเกล็ดทองคำ

สำหรับความพิเศษของวัตถุมงคล รุ่นทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา “เสี่ยกล้า” บอกว่า “ทุกองค์ทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จ เนื้อผง จะต้องมีหมายเลขกำกับองค์พระอย่างถาวร ไม่มีเว้น แม้แต่ของกรรมการที่มีไว้บูชาเอง ๑ หรือ ๒ องค์ก็ตาม (ภาพที่ลงประกอบเพียงบางส่วนเท่านั้น) สรุปคือวัตถุมงคลรุ่นนี้ทุกองค์จะต้องมีหมายเลขกำกับไว้ทุกองค์ ถ้าไม่มีก็ไม่ใช่รุ่นนี้แน่นอน”





สร้างพระเพื่อสร้างวัดล้านนาญาณสังวราราม

วัดล้านนาญาณสังวราราม เริ่มสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๙ โดยผู้มีจิตศรัทธาน้อมถวายที่ดิน เนื้อที่ประมาณ ๗๐ ไร่ แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อสร้างเป็นวัดสำหรับเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ผู้มุ่งศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระ โดยพระองค์ทรงรับการก่อสร้างวัดล้านนาญาณสังวรารามไว้ในพระอุปถัมภ์โดยตลอด

นอกจากนี้ยังได้รับความอุปถัมภ์ร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ทั้งทางราชการและพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปเป็นอย่างดี ยังผลให้การสร้างวัดเป็นไปได้ด้วยดี มีถาวรวัตถุและเสนาสนะเกิดขึ้นพอเป็นที่อาศัยเจริญสมณธรรมของพระภิกษุ สามเณรได้โดยสะดวก ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ดังกล่าว สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โปรดให้สถาปนิกรักษารูปแบบของอาคารเป็นศิลปกรรมแบบล้านนา เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของล้านนาเอาไว้ อย่างไรก็ดี แม้การก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ จะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีถาวรวัตถุอีกหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้เสร็จสมบูรณ์ อาทิ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจดีย์ หอระฆัง หอกลอง ซุ้มประตู กำแพงวัด โรงเรียนพระปริยัติธรรม และมูลนิธิการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร เป็นต้น

ในครั้งนั้น นายอำนวย ยศสุข เป็นประธานดำเนินการสร้างถาวรวัตถุได้กราบทูลขอประทานพระอนุญาตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว





หนึ่งในความภูมิใจของ “เสี่ยกล้า”

“เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ โครงการจัดสร้างวัตถุมงคล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ รุ่น ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา พ.ศ.๒๕๓๖ ถือว่าเป็นโครงการที่ใหญ่มาก นอกจากมีคนแห่จองกันอย่างล้นหลามแล้ว ได้เงินทำบุญเข้าวัด และนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ กว่า ๒๕ ล้านบาท”

นี้เป็นความภูมิใจของ นายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ “เสี่ยกล้า” ประธานชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว รวมทั้งจัดพิมพ์หนังสือสารานุกรมพระล้ำค่า รุ่นฑีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา (ปี ๒๕๓๖) ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของวงการพระเครื่องเมืองไทย เมื่อ ๒๒ ปี ก่อนที่เซียนพระหลายสิบคนที่จะแจ้งเกิดในวงการพระเครื่องด้วยซ้ำ

 st11 st11 st11 st11

“เสี่ยกล้า” บอกว่า วัตถุมงคลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ รุ่น “ทีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา พ.ศ.๒๕๓๖" น่าจะถือว่าเป็นต้นแบบของการนำหมายเลขและโค้ดตอกลงไปบนองค์พระ เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีพระเครื่องรุ่นใดตอกหมายเลข ส่วนใหญ่มีแต่โค้ดเท่านั้น นอกจากนี้ยังทำสูจิบัตรบันทึกเป็นทะเบียนประวัติของวัตถุมงคลทุกองค์ว่าประจำองค์หมายเลขใด ใครเป็นเจ้าของตั้งแต่เริ่มจอง ตลอดจนถึงจำนวนการจัดสร้าง พร้อมกับแจกหนังสือสูจิบัตรให้เจ้าของพระองค์ละ ๑ เล่ม เพื่อให้เจ้าของพระรู้กันอย่างทั่วถึงว่า พระทุกหมายเลขมีเพียง ๑ เดียวในโลก

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นที่รับรู้ของประชาชนทั่วๆ ไป ในการจัดพิมพ์หนังสือสารานุกรมพระล้ำค่า รุ่นฑีฆายุโกโหตุสังฆราชา ๘๐ ชันษา (ปี ๒๕๓๖) เสี่ยกล้ายังมอบให้วัด โรงเรียน สโมสร สมาคม ร่วมทั้งหน่วยงานที่มีห้องสมุดอีกจำนวน ๑,๘๐๐ เล่ม เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่วนหนึ่งในการสืบทอดพุทธศาสนาไว้ให้ชาวพุทธนานาอารยประเทศทั่วโลกไว้อ้างอิงได้ตลอดไป โดยปัจจุบันนี้ในตลาดซื้อขายหนังสือพระเก่ามีการประกาศขายที่เล่มละ ๒,๐๐๐ บาท





ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20151215/218605.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ