ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อ ร.๒ ถาม พระสังฆราช(มี) ว่า..บุญใดที่มีอานิสงส์ยิ่งกว่า ทาน ศีล ภาวนา.?  (อ่าน 2799 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)


เมื่อรัชกาลที่ ๒. ถาม สมเด็จพระสังฆราช(มี) ว่า
บุญใดที่มีอานิสงส์ยิ่งกว่า ทาน ศีล ภาวนา.?


พระเถระต้องเมถุนปาราชิก ๓ รูป

เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงประทับอยู่ที่ ณ พระตำหนัก วัดมหาธาตุมาด้วยดี จนกระทั่งมาในปลายปีนั้นเอง ได้เกิดเหตุการณ์ต้องอธิกรณ์ครั้งใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ดังในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 ได้บันทึกไว้ว่า

    "ในเดือน 12 ปีชวด อัฐศกนั้น มีโจทย์ฟ้องว่า
        พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุรูป 1
        พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป 1
        พระมงคลเทพมุนี(จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป 1
     ทั้ง 3 รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านานจนถึงมีบุตรหลายคน
     โปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ กับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3) ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก"

เป็นคดีเกรียวกราวสนั่นเมืองที่แทบไม่ต่างจากคดีสมีต้องปาราชิกในยุคนี้นัก เรียกว่ามีมาแทบทุกยุคสมัยก็ว่าได้ เพียงแต่พุทธศาสนิกชนต้องตั้งสติแยกแยะให้ดี การทุ่มเทความศรัทธาให้กับตัวบุคคลมากๆ เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น ก็ผิดหวังจนแทบสูญสิ้นศรัทธากันไปเลย ฉะนั้นต้องแยกแยะให้ได้ระหว่างตัวบุคคลกับสถาบันพระศาสนา เกิดเหตุหมองมัวเนื่องจากตัวบุคคล แต่พระธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจหลักแห่งพระศาสนาของพระศาสดานั้นบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง



“พระศรีสรรเพชญ์” พระพุทธรูปปางมารวิชัยพระประธานภายในอุโบสถ วัดมหาธาตุฯ


รัชกาลที่ ๒. ทรงเสียพระทัย พระเถระองค์ที่ทรงโปรด ต้องปาราชิก

เหตุการณ์ครั้งนี้นำความสลดพระทัยมาสู่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงโปรดปรานและไว้วางพระทัยในพระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) ยิ่งนัก ว่ากันว่ามีโอกาสจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระวันรัต อันเสมือนว่าที่สมเด็จพระสังฆราชเสียด้วย แต่เมื่อมาต้องอธิกรณ์ลงเสียแล้ว มิหนำซ้ำยังมีอีก 2 คดี ของพระเถระผู้ใหญ่อีก 2 รูปอีกเล่า ก็ทำให้ทรงโทมนัสในพระทัยเป็นที่ยิ่ง

ต่อมามีการสืบสวนหาความจนได้ความเป็นสัตย์ จำเลยยอมรับสารภาพ ภิกษุอลัชชีทั้ง 3 จึงถูกถอดออกจากสมณศักดิ์ ถูกจับสึก ถูกโบยตี แล้วนำตัวไปเข้าคุก และภายหลังจากมีการชำระความและลงพระอาญาไปแล้ว จึงโปรดฯให้มีการดูแลจัดระเบียบคณะสงฆ์กันใหม่ โปรดฯให้สมเด็จพระสังฆราช (มี) และสมเด็จพระพนรัตน(อาจ) วัดสระเกศ แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนี แสดงข้อวัตรปฏิบัติอันควรแก่สมณะ แจกจ่ายกันไปทั่วทั้งมณฑลให้พระอุปัชฌาย์และพระเถราจารย์ทั้งหลายเอาใจใส่อบรมภิกษุสามเณรให้อยู่ในบริสุทธิ์ศีลเป็นอย่างดี และปฏิบัติให้ถูกต้อง


 :91: :91: :91: :91:

พระเถระผู้แต่งข้อวัตรปฏิบัติอันควรแก่สมณะ ละเมิดข้อวัตรเสียเอง

อย่างไรก็ตามหลังเหตุการณ์นี้ผ่านไปราว 3 ปี ก็มาเกิดเรื่องเศร้าสลดใจอย่างยิ่ง เมื่อมีเหตุในทำนองเดียวกันขึ้นอีก เพียงแต่ว่าหนนี้เกิดเหตุกับภิกษุผู้แต่ง โอวาทานุสาสนี ขึ้นเสียเอง ด้วย สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ ต้องอธิกรณ์ในข้อหา ประพฤติต่อศิษย์ผิดสมณสารูป จึงถูกถอดออกจากสมณศักดิ์ และไล่ออกจากวัดมหาธาตุให้ไปอยู่วัดไทรทอง ซึ่งก็คือ บริเวณที่สร้างวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน


รูปหล่อของ สมเด็จพระสังฆราช(สุก ญาณสังวร) อยู่ในอุโบสถของวัดมหาธาตุฯ
ท่านเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานของ สมเด็จพระสังฆราช(มี)


ปุจฉาของรัชกาลที่ ๒. ต่อ สมเด็จพระสังฆราช (มี)

มาในปี 2360 ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชปุจฉากับสมเด็จพระสังฆราช (มี) ว่า
    "จะบำเพ็ญกุศลอันใด ให้ได้ผลบุญอันยิ่งใหญ่ มากกว่า การรักษาศีล ภาวนา บริจาคทาน ที่ได้ทำอยู่แล้วเป็นประจำตลอดมา.?"
ทรงตั้งพระทัยที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้ยิ่งไปกว่าที่ทรงบริจาคทานและรักษาศีลภาวนาดังที่ได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นประจำ

สมเด็จพระสังฆราช(มี) จึงได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการบูชาพระรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา อันตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของสมเด็จพระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า "อันเป็นพิธีบูชาสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่อดีตพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ก่อนๆ ได้ทรงกระทำมา แต่มาเลิกราไปเสีย หากสมเด็จพระบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าจะทรงฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ก็จะทรงได้รับผลานิสงส์มาก ขอถวายพระพร"

ดังนั้น จึงเกิดมีพิธีวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ในปีนั้น และยังมีการประกอบพิธีบูชาพระรัตนตรัยเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชาสืบต่อมาทุกปีจนถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นการริเริ่มขึ้นโดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) พระองค์นี้นั่นเอง


คัดลอกบางส่วนมาจากบทความ
19 รัตนสังฆราชา แห่งสังฆมณฑลไทย
ตอนที่ 5 สมเด็จพระสังฆราชมี รัตนสังฆราชาพระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สดุดี 100 พระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
http://yingthai-mag.com/magazine/reader/8525
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2016, 11:21:35 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12 st12 st12

 มันเป็นเหตุที่ สมเด็จไม่อยู่ วัด เพราะร่วมกันไม่ได้ กับ สงฆ์ที่ขาดสมณสารูป แต่ตอนนั้นเห็นแก่ บ้านเมืองกำลังตั้งหลักอยู่ กำลังเข้าที่เข้าทาง ไม่อยากทำให้ มีพะวงเรือ่งศาสนา ก็เลยหนีไปเที่ยว 12 พรรษา

 :021:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา