ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แม่บท ธาตุวิภังคสูตร ( อนาคามี )  (อ่าน 482 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
แม่บท ธาตุวิภังคสูตร ( อนาคามี )
« เมื่อ: เมษายน 25, 2023, 08:21:10 am »
0
แม่บท ธาตุวิภังคสูตร ( อนาคามี )
=========================
ธรรมเทสนา กับ บุคคลผู้ฝึก อานาปานสติ ในกายานุปัสสนา ถึง เวทนานุปัสสนาในที่นี้คือ ปุกกุสาติ
ใจความย่อ
คนเรามีธาตุ 6
ปฐวีธาตุ
เตโชธาตุ
อาโปธาตุ
วาโยธาตุ
อากาสธาตุ
วิญญาณธาตุ
มีแดนสัมผัส 6
จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน
มีความนึกหน่วงในใจ 18
เห็นรูป ด้วย จักษุ นึกหน่วง รูป เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
เห็นรูป ด้วย จักษุ นึกหน่วง รูป เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
เห็นรูป ด้วย จักษุ นึกหน่วง รูป เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฟังเสียง ด้วย โสตะ นึกหน่วง เสียง เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ฟังเสียง ด้วย โสตะนึกหน่วง เสียง เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
ฟังเสียง ด้วย โสตะ นึกหน่วง เสียง  เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ดมกลิ่น ด้วย ฆานะ นึกหน่วง กลิ่น เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ดมกลิ่น ด้วย ฆานะ นึกหน่วง กลิ่น เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
ดมกลิ่น ด้วย ฆานะ นึกหน่วง กลิ่น  เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ลิ้มรส ด้วย ชิวหา นึกหน่วง รส เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ลิ้มรส ด้วย ชิวหา นึกหน่วง รส เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
ลิ้มรส ด้วย ชิวหา นึกหน่วง รส  เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วย กาย นึกหน่วง โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วย กาย นึกหน่วง โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
ถูกต้อง โผฏฐัพพะ ด้วย กาย นึกหน่วง โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
รู้ธรรมารมณ์ ด้วย มโน นึกหน่วง ธรรมารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
รู้ธรรมารมณ์ ด้วย มโน นึกหน่วง ธรรมารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
รู้ธรรมารมณ์ ด้วย มโน นึกหน่วง ธรรมารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
บุคคลควรตั้งไว้ในธรรม 4
มีปัญญาควรเป็นที่ตั้งไว้ในใจ ( ไม่พึงประมาท )
มีสัจจะเป็นธรรมที่ตั้งไว้ในใจ ( รักษาสัจจะ )
มีจาคะเป็นธรรมที่ตั้งไว้ในใจ ( เพิ่มพูนจาคะ )
มีอุปสมะเป็นธรรมที่ตั้งไว้ในใจ ( ศึกษาสันติ )
โสดาปัตติมรรค
พึงเห็น  ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ  อาโปธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ นั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ  อาโปธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัด  อากาสธาตุได้ ฯ
เวทนานุปัสสนา กำหนด รู้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วย วิญญาณธาตุ
ย่อมรู้อะไร ๆ ด้วย วิญญาณ
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่
เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า
ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแตผัสสะนั้น
คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
ย่อมดับย่อมเข้าไปสงบ
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่
เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า
ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น
คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เกิดอทุกขมสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น
คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
 ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ
ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวยและผ่องแผ้ว ฯ
ไต่ระดับขึ้นเวทนานุปัสสนาขั้นสูง เป็น อรูปฌาน
เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม
อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากาสนัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวนาสัญญายตนฌาน
จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
กล่าวคำขอขมา เปลี่ยนคำเรียกว่า อาวุโส เป็นพระผู้มีพระภาค
พระพุทธเจ้ารับขอขมา ด้วยการเรียกว่า ภิกษุ
ปุกกุสาติ ได้หลีกออกไปหาจีวรและบาตร แต่ในระหว่างนั้น ถูกแม่โคขวิดตาย ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถาม พระพุทธเจ้าว่า ปุกกุสาติ จักไปเกิดที่ไหนต่อ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปุกกุสาติ เป็น โอปปาติกะเทพแล้ว เพราะสิ้นสังโยชน์ 5 จักปรินิพพานในโลกนั้น ( สุทธาวาส 5 ) จะไม่กลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีกต่อไป
่จบ ธาตุวิภังคสูตร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ