ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 2 หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว  (อ่าน 4172 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
[๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว อย่างไร ฯ

     ๑. ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว      ( คณนา การนับลมหายใจ )

     ๒.เมื่อหายใจเข้ายาว ย่อม หายใจเข้าในขณะที่นับยาว

     ๓.เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาว ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างใขณะที่นับยาว

     ๔.เมื่อหายใจออก  ยาวละเอียดกว่านั้น   ด้วยสามารถฉันทะ          ( ความพอใจในผลสมาธิ )

     ๕.ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว นั้นด้วยสามารถฉันทะ

     ๖.เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น     ด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว  เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ

     ๗.ย่อมหายใจออกบ้าง    หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว   ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ   เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ  หายใจออกบ้าง    หายใจเข้าบ้างในขณะ ที่นับยาว   เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า    นั้นด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว

     ๘.เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์

     ๙.ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออกหายใจเข้ายาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
 
    กายคือ ลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว

     ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

        [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ
 
        พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง

        พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข

        พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
 
        เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้

        เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
 
        เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
 
        เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ  ย่อมละสมุทัยได้
 
        เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2011, 09:12:36 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ในส่วนของการกำหนด ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก จะเหมือนกับลมหายใจเข้าสั้น ออกสั้น

แต่จะมีข้อแตกต่างคือ เมื่อ ลมหายใจเข้ายาว บางครั้งก็ ลมใจออกสั้น ลมหายใจออกยาว บางครั้ง

ลมหายใจเข้าสั้น อาจจะสลับ สับเปลี่ยน กันอยู่ ระคนกันไปในช่วงแรก ๆ ดังนั้น ไม่การนับนิดหน่อย

เพราะหายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว คำว่า ไม่ใช่ นิดหน่อย หรือ สั้น ดังนั้นการนับจึงนับเต็มรูปแบบ

ซึ่งการนับแบบสั้น เหมาะที่ 5 แต่แบบยาวนั้น เหมาะนับ ตั้งแต่ 5 ขึ้นไป จนถึง 10 หรือมากกว่านั้น ตามความ

สามารถของปอดแต่ละบุคคล ดังนั้น การนับ จึงนับเต็มรูปแบบ

 เมื่อผลสมาธิ เกิดขึ้น มีฉันทะ มีปราโมทย์ มีความยินดีในสมาธิ การนับก็จะเปลี่ยนเป็นการตั้งฐานจิต จุดใด

จุดหนึ่ง ที่เรียกว่า ฐปนา การตั้งฐานจิต นี้เกิดโดยธรรมชาติของจิต ๆ จะเืลือกฐานที่สบายของจิตเอง เพื่อ

กระทำ อนุปัสสติ คือการพิจารณา กาย

   ซึ่งการพิจารณา กาย มีหลักการ พิจารณา 3 ประการ


    คือ พิจารณา ความไม่เที่ยง

        พิจารณา  ความเป็นทุกข์

        พิจารณา ความว่างจากมิใช่ตน มิใช่กาย


  เจริญธรรม

   ;) Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 07, 2011, 09:30:00 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ความเป็นผู้รู้แจ้งในกองลมทั้งปวง คือ การหายใจเข้าสั้น การหายใจออกสั้น การหายใจเข้ายาว การหายใจออกยาว มีได้เพราะลมปรากฏ ลมปรากฏก็คือ กายปรากฏ กายปรากฏ ก็คือ นามกายปรากฏ นามกายปรากฏ อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิืต ก็ปรากฏ

 เมื่อปรากฏ ก็เพียงกำหนดรู้ ด้วยอนุปัสสนา ว่า กาย ปรากฏ เมื่อกำหนด กายที่ ปรากฏ ด้วยอนุปัสสนา ชื่อว่า

รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ กาย ปรากฏ มิใช่ สติ ปรากฏ

   สติ ปรากฏด้วย เป็น ญาณ อนุปัสสนา

   กาย ปรากฏ สติ ปรากฏ เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

  เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

teepung

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ เนื้อหามีประโยชน์ มากครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุขอบพระคุณพระอาจารย์มากครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ