ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อปัชฌาย์ คือ ใคร ? และมีคุณสมบัติอย่างไร ?  (อ่าน 14686 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือยังไม่ค่อยจะเข้าใจ กับเรื่องพระ ครับ เพื่อนผม จะ บวชลูกชาย เป็นสามเณร พระท่านให้ไปหาอุปัชฌาย์
แล้วก็บอกวัดนั้น วัดนี้ ส่วนพระที่วัด เป็นอุปัชฌาย์ ไม่ได้ ครับ คือ ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ กับเรือง อุปัชฌาย์ ครับ

 ก็ขอโพสต์ ถามห้องนี้ดีกว่า นะครับ

   1. พระอุปัชฌาย์ คือ ตำแหน่งของสงฆ์ ใช่หรือไม่ครับ

   2. พระแบบไหน เป็นอุปัชฌาย์ได้

   3. พระอุปัชฌาย์ นอกจากบวชเณรให้ได้แล้ว มีเรื่องอย่างอื่นอีกหรือไม่ ครับ ที่อุปัชฌาย์ ต้องทำครับ


  ขอบคุณครับ

  :)
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อปัชฌาย์ คือ ใคร ? และมีคุณสมบัติอย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 09:24:54 am »
0

คอลัมน์ ศาลาวัด เรื่อง"พระอุปัชฌาย์"

สมัยก่อนเคยมีคำพูดว่า หากใครมีความประสงค์จะบวช แต่ท่องบทสวดมนต์ กล่าวคำ "ขอ บวช" ไม่ได้

พระอุปัชฌาย์ที่เคร่ง ครัดจะไม่ยอมบวชให้เด็ดขาด

พระอุปัชฌาย์ หมายความว่า พระภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท

พระอุปัชฌาย์ มี 2 ประเภท คือ

พระอุปัชฌาย์สามัญ ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่
และพระอุปัชฌาย์วิสามัญ ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช

ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่มีกรณีพิเศษ

พระภิกษุ ผู้จะดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้


(1) มีตำแหน่งในทางปกครองชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไป เว้นแต่พระอารามหลวง

(2) มีพรรษาพ้น 10 พรรษา

(3) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรืออาพาธเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคเรื้อนหรือวัณโรคในระยะอันตราย

(4) มีประวัติความประพฤติดี


(5) เป็นที่นับถือของประชาชน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

(6) เป็นเปรียญหรือนักธรรมชั้นเอก เว้นแต่ในบางท้องถิ่น ซึ่งเจ้าคณะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน

(7) มีความสามารถฝึกสอนผู้อยู่ในปกครองให้เป็นภิกษุสามเณรที่ดี ตามพระธรรมวินัยและสามารถบำเพ็ญกรณียกิจอันอยู่ในหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ได้

(8) มีความรู้ความสามารถ ทำอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องตามพระวินัยและระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์


ในการแต่งตั้งพระสังฆาธิการผู้ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้พิจารณาเลือกพระสังฆาธิการผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น แล้วรายงานรับรองขอแต่งตั้งเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงเจ้าคณะภาค

พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและเฉพาะภายในเขตอำนาจที่ปกครอง คือ ถ้าเป็นเจ้าอาวาส ภายในวัดของตน ถ้าเป็นเจ้าคณะตำบล ภายในเขตตำบลของตน เป็นต้น ทั้งนี้ พระอุปัชฌาย์ ที่ดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่จำกัดเขต


ก่อนเริ่มพิธีบรรพชาอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวนกุลบุตรให้ได้คุณลักษณะก่อน จึงรับให้บรรพชาอุปสมบทได้ คุณลักษณะของกุลบุตรที่พระอุปัชฌาย์ต้องพิจารณา มีดังนี้

1.เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลหรืออำเภอที่จะบวช และมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า เป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ใช่คนจรจัด

2.มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่น ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น

3.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้


4.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ

5.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ

6.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย

7.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทด้วยตนเองและถูกต้อง ไม่วิบัติ


อ้างอิง
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXhNekEyTURJMU13PT0=§ionid=TURNd053PT0
ขอบคุณ http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2266:29&catid=96:2009-09-19-10-13-59&Itemid=326
ขอบคุณภาพจาก http://misterfriendship.com


   อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึง ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป;
       อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 11, 2011, 09:32:17 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อปัชฌาย์ คือ ใคร ? และมีคุณสมบัติอย่างไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 09:53:09 am »
0


   1. พระอุปัชฌาย์ คือ ตำแหน่งของสงฆ์ ใช่หรือไม่ครับ


   ใช่ครับ แต่เฉพาะในการบรรพชาหรืออุปสมบท ไม่ใช่สมณศักดิ์

  สมณศักดิ์
    น. ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกําหนด.


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


   2. พระแบบไหน เป็นอุปัชฌาย์ได้


   ตามคุณสมบัติ ที่ระบุไว้ข้างต้น


   3. พระอุปัชฌาย์ นอกจากบวชเณรให้ได้แล้ว มีเรื่องอย่างอื่นอีกหรือไม่ ครับ ที่อุปัชฌาย์ ต้องทำครับ


   ถ้าเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล/อำเภอ/จังหวัด/ภาค/อื่นๆ ก็ทำหน้าที่ตามนั้น หรือ สอนปริยัติ สอนกรรมฐาน ก็แล้วแต่ความรู้ความสามารถ

      ;) :25: :49: :welcome:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ