ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )  (อ่าน 39382 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


 สังสารวัฏ ของ มนุษย์ ที่ดำรงชีวิตอยู่นั้น ล้วนแล้ว มีชีิวิต ที่หมุนเวียน เปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักร ที่เรียกว่า ทุกข์ นั้น ประกอบด้วย กิน กาม เกรียติ หนีภัย ซึ่งความเป็นจริง มนุษย์ ที่เิกิดขึ้นมา กับ สัตว์ ดิรัจฉาน ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ล้วนแล้ว เสมอ กันด้วย เหตุ สี่อย่างนี้ แต่ มนุษย์ กับ สัตว์ นั้นแตกต่างกันที่ไหน ?

    ความแตกต่าง ของ มนุษย์ กับ สัตว์ นั้นแตกต่างกันที่ คุณธรรม คุณธรรม ในที่นี้หมายถึง คุณธรรม ที่ต้องการพ้นจากสังสารวัฏ เดิม ๆ นี้ คือ คุณธรรม ของ พระอริยะบุคคล ตั้งแต่ พระโสดาบัน จน ถึง พระอรหันต์ คุณธรรมนี้ ที่ทำให้ มนุษย์ ประเสริฐกว่า สัตว์ เพราะ บรรดาสัตว์ ทั้งหลายนั้นไม่สามารถก้าวเข้าสู่ คุณธรรม นี้ได้

    และ คุณธรรมนี้ นั้น ก็ต้องปรากฏ แก่ มนุษย์ ที่ปรารถนา เป็น สาวกภูมิ เท่่านั้น



่ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.netAeva Debug: 0.0007 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2012, 12:07:34 am โดย นักเดินทาง »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" กิจ 2 ประกาาร เบื้องต้น โดยธัมมะวังโส
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 10:04:29 am »
0


  สาวกภูมิ จะเป็นได้อย่างไร ? สาวกภูมินั้น เป็นได้ ตรงที่กำลัง ของนิพพิทา คือ ความหน่าย ต่อสังสารวัฏ ที่ถูกบำเพ็ญปลูกฝังสร้าง และ ปรารถนา กันเป็นทุนหลายภพ หลายชาติ ดังนั้นภูมิธรรม ที่เรียกว่า นิพพิทา นั้นจึงไม่ได้มีแก่ มนุษย์ ทุกผู้ ทุกคน หากแต่ มีกลับ บุคคลที่ได้สั่งสมอุปนิสัย การเป็น พุทธสาวก คือ ผู้ปรารถนา สิ้นภพ สิ้นชาติ ไม่ต้องการเกิดอีก

  รู้ได้อย่างไร ว่าเราเป็น สาวกภูมิ ?

  รู้ได้ หนึ่ง เรามีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีความปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้า

  รู้ได้ สอง เรามีเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ อยู่

  รู้ได้ สาม เรามีความเห็นทุกข์ และ เบื่อหน่าย ต่อ ทุกข์ อันมี ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นมูล

  รู้ได้ สี่ เมื่อได้ภาวนาธรรม อันระคนด้วย สติ แม้ไม่มีครูผู้สอน ก็จะรู้สึกถึง ธรรมสังเวช เกิดขึ้นมา รู้สึกปีติในธรรม ปีติในการภาวนา แต่ถึงรู้สึกเยี่ยงนี้ ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมได้

  ดังนั้น เมื่อรู้ได้ สี่ ประการนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านทั้งหลาย มีภูมิธรรมของสาวกภูมิ เรียกว่า สัญชาตญาณสาวกภูมิ ในภาษาธรรม เรียวว่า โคตรภูบุคคล คือ บุคคลที่มีเหล่ากอของพระอริยะบุคคล จัดว่าดี

  ดังนั้น ท่านทั้งหลาย เมื่อรู้ตัวกันอย่างนี้ แล้ว ก็ควรจะต้องรู้กิจ ของ สาวกภูมิเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมคุณธรรม กันต่อไป กิจเบื้องต้น ของ โคตรภู นั้นก็คือ

    ศึกษา เรื่อง มรรค ข้อ ปฏิบัติ พิจารณา ธรรม จากกาย มีลมหายใจ เข้า ออก เป็นต้น เพื่อทำลายความมัวเมา ในตัวตนเบื้องต้น
   
    ศึกษา ในเรื่องสอง คือ สร้างศรัทธา ในพระรัตนตรัยให้เพิ่มขึ้น เป็นอุปนิสัย รู้จักการขอขมากิจ ไม่ล่วงเกินพระรัตนตรัย

    ยังมีต่อนะจ๊ะ

   


ขอบคุณภาพจาก http://www.samathi.comAeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 24, 2011, 10:23:54 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" กิจ ที่สาม และ ที่สี่ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 10:36:21 am »
0


   ศึกษา ในเรื่องที่สาม ก็คือ มรรค อริยสัจจะ ให้เข้าใจ วิถีของมรรค มี ศีล เป็นบาท เป็น ปฐมบท เพื่อรักษา กาย วาจา ให้สงบ เรียบร้อย เป็นผู้มีศีล รักษ์ศีล ไม่หลอก ไม่ลวง ไม่เบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่น โดยมีความเห็นถูกต้อง และ ความมุ่งมั่นในการสร้าง กุศล เป็นแรงสนับสนุน

   ศึกษา ในเรื่องที่ สี่ คือ มรรควิุถึ อันเป็นเรื่องสำคัญ คือ สติ ความเพียร และ สมาธิ อันอยู่ในขอบเขตของ กรรมฐาน อันมีองค์ประกอบ คือ สมถะ และ วิปัสสนา โดยเฉพาะการพิจารณาธรรม ที่ได้ผลที่สุด พร้อมที่สุด ดีที่สุด ก็ตอนที่ อกุศลเบื้องต้นดับ อกุศลเบื้องต้นดับได้อย่างไร ดับได้เพราะจิตเข้า อุปจาระฌาน เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ภาวนา จึงต้องมีการทำใจใหสงบ ให้เรียบง่าย ให้สว่างไสวด้วยสติ จึงจักพิจารณา ธรรม อันเรียกว่า กาย จิต นี้ได้


Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" เห็นตามความเป็นจริง ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:00:55 am »
0


   บางท่่านอาจจะท้อ และ พยายามภาวนาโดยหลีกเลี่ยง เรื่องการทำสมาธิ ซึ่งความเป็นจริง แล้ว  สติ ความเพียร และ สมาธิ เป็นองค์เดียวกัน นับเนื่อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้น ถ้าไม่เข้าใจ ก็แนะนำการภาวนาด้วย อนุสสติ ที่ชื่อว่า พุทธานุสสติกรรมฐาน ซึ่งในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จัดเป็นกรรมฐานกองแรก ที่ต้องภาวนาสำหรับ ทุกจริตเลยเพราะกรรมฐาน ส่วนนี้เป็น ทั้งสมถะ และ วิปัสสนา และมุ่งการสำเร็จบรรลุธรรมเ็ป็นพระอริยะบุคคล เบื้องต้น ดังนั้น ท่านทั้งหลายอย่าท้อถอย ต่อการเจริญภาวนา อันเอื้อเรื่องสมาธิ เพราะ เมื่อ สติ ความเพียร และ สมาธิ เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อใด เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย จักมองเห็น ตามความเป็นจริงได้

   ปัญญาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ หรือ ความรู้เห้นตามความเป็นจริง มีพื้นฐานจากการเิริ่มเห็น กาย 1 จิต 4 ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ หรือ ย่นย่อว่า กาย จิต หรือ รูป นาม หรือ นามรูป ซึ่งการที่ทั้งหลาย มี ศีล มีสมาธิ ย่อมทำให้เกิดปัญญา มองเห็นตามความเป็นจริงได้ ดังนั้น เมื่อเรียนธรรม ไม่เรียนนอกตัว ไม่เรียนในการมองผู้อื่น แต่เรียนเข้ามาที่ตัว พิจารณาที่ตัว ปัญญาญาณย่อมเกิดไปตามลำดับ ในการมองเห็น ตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัศศนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง ว่า

   นามรูป เป็นอย่างนี้ อันนี้เรียกว่า กาย อันนี้เรียกว่า จิต ย่อมหามูลเหตุแห่งทุกข์ ได้อย่างจริงแท้ ด้วยใจ




 
 ขอบคุณภาพจาก http://www.watpit.makewebeasy.com
  Aeva Debug: 0.0007 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 1 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:10:56 am »
0


วิปัสสนาญาณ 16
เป็นอารมณ์ ที่กำหนด สติ รู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ รู้มรรค รู้ผล รู้นิพพาน จำแนก ดังนี้
1.นามะรูปปะริจเฉทะญาณ  รู้แจ้งการกำหนด รูป และ นาม รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็น นาม




สัมปชัญญะ รู้แทงตลอดอย่างชัดเจน
หมายความว่า รู้รูปนาม ตามทวารทั้ง 6 และรู้รูปนามตามอิริยาบถต่าง ๆ
รู้รูปนามตามทวารทั้ง 6 นั้น คือ รู้อย่างนี้
1.เวลา ตา เห็นรูป
2.หู ได้ยิน เสียง
3.จมูก ได้ กลิ่น
4.ลิ้น ได้ลิ้ม รส
5.กาย ถูกต้อง เย็นร้อน อ่อน แข็ง
6.ใจ นึกคิด ธรรมารมณ์
รู้ได้ว่ากระบวนการของ ขันธ์ 5 ได้เกิดขึ้นแล้ว
ยกตัวอย่าง
ตา ได้ เห็น รูป  ตอนนี้ เป็นรูปขันธ์
จักขุประสาท ก็เป็นรูป  รูปกระทบ คือ สี ลักษณะ สัณฐาน ก็เป็นรูป
รูปขันธ์ เมื่อเกิดแล้ว ถ้ารู้สึกสบาย หรือ ไม่สบาย หรือ เป็นกลาง ๆ ตอนนี้ เป็น เวทนาขันธ์
ในขณะนั้น ก็สามารถ จำแนก รูปขันธ์ในบัญญัติ ได้ ทั้งที่จำได้ หรือ จำไม่ได้ ตอนนี้ เป็น สัญญาขันธ์
เมื่อสัญญาขันธ์ เกิดขึ้น ก็เกิดความคิด ปรุงแต่งกับรูปขันธ์  และ เวทนาขันธ์ ด้วยอาการต่าง ๆ ตอนนี้ สังขารขันธ์ ได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสังขารขันธ์ เกิดขึ้น ความรู้ก็เกิดขึ้น  วิญญาณขันธ์ ก็เกิดขึ้น
ย่อขันธ์ทั้ง 5 ลง คงเหลือ เพียง รูป และ นาม
รูป คงเป็น รูป 
เวทนา สัญญา  สังขาร และ วิญญาณ เป็นนาม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:21:55 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 2 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:14:01 am »
0


2.ปัจจยะปะริคคะหะญาณ สามารถกำหนด รู้แยก รูป และ นาม
 อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ( บางครั้งมาถึงตรงนี้ แล้ว จะเห็นว่า มีศัพท์ ทางธรรมเยอะมาก ซึ่งผู้ทำวิปัสสนาก็จำเป็นต้องรู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเข้าใจง่าย ยิ่งรู้น้อยก็ยิ่งติดในอรรถะมาก จึงทำให้ผู้ทำวิปัสสนา เบื่อเอาซะดื้อ ๆ แต่ถึงเบื่ออย่างไร สาวกภูมิก็ไม่ท้อถอย กับการจดจำ และ เรียน ตรงนี้ หรอก )


เมื่อรู้รูป นาม เกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นตามมา  สิ่งที่เกิด ขึ้นตามมาเรียกว่า กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ยกตัวอย่าง
เวลา เห็น รูป สวยดี เกิด ความชอบใจ โลภะ ก็เกิด , ถ้าไม่ชอบใจ โทสะ ก็เกิด , เห็นรูปเกิด แบบกลางๆ ถ้าไม่มีสติกำกับ แล้ว โมหะ ก็เกิด โมหะเป็นความหลง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะมี เหตุปัจจัย คือ  อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ชอบใจ )อนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ) และมัชฌัตตารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นอยู่กลางอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ คือพร้อมจะเป็นอารมณ์ทั้ง 2 ) เป็นวงจรให้เกิดกิเลส คือราคะ โทสะ และ โมหะ
โดยย่อ ก็มีการ ลำดับ ดังนี้ คือ ราคานุสัย ทำให้เกิด โลภะ =>โลภะ ทำให้เกิด ตัณหา => ตัณหา ทำให้เกิด อะภิชฌา =>อะภิชฌา ทำให้เกิด อุปาทาน => อุปาทาน ทำให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิด
   โดยพิสดาร ก็มองเห็น ปฎิจจสมุปบาท  คือความที่สิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงมี จึงเกิดขึ้น  เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ดังนี้
        อวิชชา=>สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป=>สฬายตะนะ=>ผัสสะ=>เวทนา=>ตัณหา=>อุปาทาน=>ภพ=>ชาติ=>ชรามรณะ=>ทุกข์=>อวิชชา
   ( โปรดศึกษา เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพิ่มเติม จะเข้าใจ องค์วิปัสสนา เพิ่มขึ้น )
    จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะกันให้กิเลส ไม่ให้เกิดขึ้น ทางทวารทั้ง 6 ได้
   ต้องเจริญวิปัสสนา คือมีสติ กำหนดรู้ตามทวารทั้ง 6 นั้น ๆ
ตา ได้ เห็น  รูป ก็ภาวนาว่า “เห็นหนอ ๆ” เป็นต้น
หู  ได้ ยิน  เสียง ก็ภาวนาว่า “ได้ยินหนอ” เป็นต้น
ลิ้น ได้ ลิ้ม รส ก็ภาวนาว่า “ได้รู้รสหนอ” เป็นต้น
จมูก  ได้กลิ่น   ก็ภาวนาว่า “ได้กลิ่นหนอ” เป็นต้น
กาย ได้รับ  สัมผัส ก็ภาวนาว่า “เย็นหนอ ร้อนหนอ อ่อนหนอ แข็งหนอ” เป็นต้น
ใจ ได้รับ ธรรมารมณ์ ก็ภาวนาว่า “มิสติ รู้หนอ” เป็นต้น
   เมื่อผู้ภาวนา จนเกิด ญาณ ก็ย่อมหลุด และ ออก จากวงจร สังสารวัฎ ได้
            ทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ =>บุญกุศล=> ปราโมทย์=> ปีติ =>ปัสสัทธิ=>  สุข=> สมาธิ => ยถาภูตะญาณทัศนะ =>นิพพิทา=>วิราคะ=> วิมุตติ=> วิมุตติญาณะทัศนะ=> มรรค=>ผล=>นิพพาน
   รู้รูปนามตามอิริยาบถต่าง ๆ หมายความว่า
   อิริยาบถ หมายถึง อิริยาบถใหญ่ กับ อิริยาบถย่อย
   อิริยาบถใหญ่ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน
   อิริยาบถย่อย ได้แก่ การก้าวไป ถอยกลับ เหยียด นุ่ง ห่ม ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น
   รู้รูปนามตามอิริยาบถใหญ่นั้น หมายถึง ดังนี้
1.   รู้ว่า  ยืน เป็น รูป  รู้ว่า ยืน เป็น นาม
2.   รู้ว่า  เดิน เป็น รูป  รู้ว่า เดิน เป็น นาม
3.   รู้ว่า  นั่ง เป็น รูป  รู้ว่า นั่ง เป็น นาม
4.   รู้ว่า  นอน เป็น รูป  รู้ว่า นอน เป็น นาม
เวลาปฏิบัติจริง จะภาวนาว่า ยืน เป็น รูป รู้ว่ายืน เป็น นาม ทำได้ยาก เพราะไม่ทันปัจจุบัน และไม่ถูกสภาวะ เป็นการ รู้ตามปริยัติ แบบเรียนมากเกินไป ให้ผู้ปฏิบัติภาวนาว่า “ยืนหนอ ๆ” เป็นต้น จึงจะทันปัจจุบัน ทันรูป และ ทันนาม รู้อย่างนี้เป็นการรู้และปฏิบัติ ตาม อริยะมรรค ทั้ง 8
เช่น ขณะที่ยืน อยู่ ภาวนาว่า “ยืนหนอ ๆ” กายกรรม 3 วจีกรรม 4 บริสุทธิ์ ตอนนี้จัดเป็น ศีล หรือ เป็น สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ และ สัมมาวาจา ขณะที่ภาวนา อยู่นั้นใจพร้อมด้วยองค์ 3  มี ใจไม่เผลอจากรูปนาม คือไม่เผลอ จากอิริยาบถ ที่ยืนอยู่ ในขณะที่ภาวนาอยู่ ขณะนี้ก็จัดเป็น สมาธิ เป็น สัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ ส่วนอารมณ์ที่เห็นญาณ คือความรู้กำหนดให้เกิด สติ ก่อนทำ และ หลังทำ นั้น เป็นปัญญา เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เมื่อภาวนาอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า อยู่ในทางสายกลาง หรือ หนทางแห่งพระอริยะ ย่อมมีปลายทาง คือ โลกุตตระธรรม 9 อัน มี มรรค 4  ผล 4  นิพพาน 1 เป็นเป้าหมาย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:23:34 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 3 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:18:17 am »
0


3.สัมมะสะนะญาณ  ความรู้แจ้งโดยการกำหนดพิจารณา นามรูป ตามกฎ
อนิจจัง ( ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน)
ทุกขัง ( ความผสมกลมกลืนกับความไม่คงทน ไม่คงสภาพ อันนี้ไม่ใช่กล่าวถึง ทุกข์ ทางจิตนะ เป็นทุกข์ตามกฎแห่งธรรมชาติ )
อนัตตา ( ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน )

ต่อจากนี้เป็นวิปัสสนาญาณ 9 ดังนี้ ซึ่ง นับเป็น 4 – 12 ตามลำดับ

Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 4 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:22:24 am »
0


4  - 1.อุทยัพพะยานุปัสสะนาญาณ  ญาณอันรู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้น และดับไป แห่ง ขันธ์  5 นามรูป


ขั้นที่ 2 รู้ตามความคิด ตรึก นึก เอาเอง คือการพิจารณา พระไตรลักษณ์ ด้วยการตรึก นึก เอาเอง ซึ่งมีอยู่ 4 นัยยะ คือ
   1.กะลาปะ สัมมะสะนะนัย พิจารณารวมกันทั้ง 5 ขันธ์ ว่า รูปนามที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปนาม ภายใน ภายนอก รูปนามที่หยาบ ละเอียด รูปนามที่ เลว ประณีต รูปนามที่ไกล ใกล้ ล้วนแต่ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น
   2.อัทธานะ สัมมะสะนะนัย พิจารณารูปนาม ตั้งแต่เป็นเด็ก ๆ  จนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน นี้ ว่า รูปนามที่เป็นอดีต ไม่เป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบัน ไม่เป็นรูปนามของอนาคต  รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็ดับไปในอดีต รูปนามในอนาคตก็ดับไปในอนาคต รูปนามในปัจจุบันก็ดับไปในปัจจุบัน  รูปนามในปัจจุบันไม่เกิดในชาติหน้า แต่มีเหตุปัจจัย สืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี  เมื่อปัจจุบันชั่ว อนาคตก็ย่อมชั่ว
   3.สันตะติ สัมมะสะนะนัย พิจารณาความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูปเย็นหายไป รูปร้อนเกิดขึ้น รูปร้อนหายไป รูปเย็นเกิดขึ้น รูปนั่งหายไป รูปยืนเกิดขึ้น รูปยืนหายไป รูปนอนเกิดขึ้น อย่างนี้เป็นต้น ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปรสืบต่อกันอยู่อย่างนี้ ตลอดไปดังนั้น รูปนามจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
   4.ขะณะ สัมมะสะนะนัย พิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่ว ขณะ หนึ่ง ๆ คือพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ซึ่งนิยมเรียกว่า  อุปปาทะ(เกิดขึ้น) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ(แตกดับไป) จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนาม เกิดดับ ติดต่อกันอยู่อย่างนี้ตลอดไป ทั้ง กลางวัน และ กลางคืน ดังนั้น รูปนาม จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

   การพิจารณารูปนาม โดยอุบาย แบบนี้ เรียกว่า รู้พระไตรลักษณ์ เหมือนกัน จัดเข้า ในญาณที่ 3 คือ สัมมะสะนะญาณ  อย่างเข้มข้น ก็ถึง อุทยัพพะยะญาณ  ถ้าจัดใน วิสุทธิ  7  ก็ เป็น มัคคามัคคะญาณทัสสะนะวิสุทธิ คือ มีความรู้ความเห็นอันบริสุทธิ์  คือ รู้ว่า นี้เป็นทางที่ถูก นี้เป็นทางถึง ผล ผู้ปฏิบัติ จะสามารถเกิดปีติ  เห็นแสงสว่างได้ ก็ได้จากญาณนี้ ถ้าเกิดภาวนา รู้เห็น จนเห็นพระพุทธรูป ก็ให้กำหนดว่า “เห็นหนอ เห็นหนอ” อย่างนี้ ไปจนหายไป การเห็นพระไตรลักษณ์ ในขั้นที่ 2 นี้ อยู่ในเขต สมถะ เป็นจินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จ จากการนึกคิด ถือว่าเป็นการปฎิบัติได้แล้ว เกือบครึ่งหนึ่งของการปฏิบัติ สติ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:31:43 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 5 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:25:37 am »
0


5 -  2.ภังคานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้งเห็นความสลายแห่งสังขาร และเข้าใจถึงความจบสิ้นไปแห่งสังขาร ที่วนเวียนอยู่ด้วย ความเกิด และ ความดับ ปนเป อยู่ ใน อุปัตติ ทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ

ขั้นที่ 3 รู้ด้วยการปฏิบัติ จริง ๆ จน ญาณที่ 4 เกิดขึ้น คือ อุทยัพพะยะญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนาม เกิดดับ ชัดเจน ยิ่งขึ้น เรียกว่า “สันตะติขาด”
สันตะติ แปลว่า ความสืบต่อของรูปนาม เมื่อสันตะติ ขาด จึงจะเห็นพระไตรลักษณ์ขั้นที่ 3 นี้ ได้ ผู้ที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ ขั้นนี้ได้ ต้องเพิกถอน สันตะติ เสียก่อน  เพราะ สันตะติ บังมิให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเพิกสันตะติได้แล้ว อนิจจะลักษณะ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง
วิธีเพิกสันตะติ นั้น มีหลายวิธีการ ในที่นี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ครูบาอาจารย์ ได้ถ่ายทอดไว้
ขั้นแรก ให้เดินจงกรม ก่อน ประมาณ  30 นาที โดยขึ้นคำ ภาวนาว่า “ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ” แรกเริ่มฝึกก็ควร ฝึกอย่างช้า ๆ จนกระทั่งเดินได้เป็นธรรมชาติ คือเดินด้วยคำ ภาวนาเป็น ปกติ เพราะผู้ฝึกสามารถฝึก สติ กำกับได้ ไว กับ อิริยาบถ ดังนั้น ผู้ฝึกอย่างชำนาญแล้ว จึงเดินได้เป็นธรรมชาติ ดังนั้นเราผู้กำลังจะฝึกก็ไม่ควรไปหัวเราะผู้อื่นที่กำลัง เริ่มต้นฝึกสติ ดังนั้น ผู้ฝึก สติ แบบ วิปัสสก นั้นต้องเริ่มจากช้าไปเร็ว ส่วนผู้ฝึกสมถะ มาแล้วนั้นย่อมมี วสี ในความชำนาญเข้าฌาน ออกฌาน อยู่จึงมีสมาธิ ในอิริยาบถ ผู้ฝึกย่อมภาวนา ธาตุ ระหว่างฝึก เรียกว่า ธรรมธาตุอิริยาบถ ซึ่งเป็นสมาธิ ไม่ใช่ เป็น สติ นอกจากผู้ฝึก กำหนดสติ รู้ชัดว่า ปีติ สุขมีผล เป็นความนิ่ง แล้วจับอารมณ์ นั้นมาเจริญให้ เห็น รูปนาม ก็ชื่อว่า ฝึก สติ เช่นเดียวกัน
ขั้นที่สอง นั่งขัดสมาธิ กำหนดรูปนาม  เช่น ภาวนาว่า “พองหนอ ยุบหนอ” เป็นต้น ประมาณ 40 นาที ให้ทำ สลับกันเยี่ยงนี้ จนผู้ปฏิบัติ สามารถมองเห็น ได้ด้วยตนเอง ผู้ฝึก สมถะ นั้นให้ถอยจากองค์ ฌาน 4 กึ่งหนึ่ง แล้ว เข้าจับ อารมณ์ อันเป็น สุขสมาธิ พิจารณาพระไตรลักษณ์ จนเห็นได้ด้วยตนเอง
หลวงพ่อท่านได้ยกตัวอย่าง เสริมตรงช่วงนี้ว่า
มีตัวอย่างจาก ภิกษุณี ปฏาจารา อรหันตะสาวิกา วันหนึ่งท่านได้ตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด ครั้งที่ 2 น้ำที่ท่านเทออกไปไหลไปไกลกว่านั้น ครั้งที่ 3 น้ำที่ท่านเทลงไป ไหลไปไกลกว่านั้นอีก  ท่านถือเอาน้ำนั้นเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง 3  ( อัทธานะ สัมมะสะนะนัย ) แล้วพิจารณาว่า สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัย ก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งแรก ตายเสียใน มัชฌิมวัย ก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งที่ 2 ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งที่ 3 เมื่อท่านมีสติดังนี้ องค์พระโสภาคย์ทศพล ทรงแผ่พระรัศมีไปเบื้องหน้าท่าน เป็นราวกับประทับยืนอยู่เบื้องหน้า ตรัสว่า
“เอวะเมตัง ปะฏาจาเร ปัญจัญนัง หิ ขันธานัง อุทะยัพพะยัง อะปัสสันตัสสะ วัสสะสะตัง ชีวิตะโต เตสัง อุทะยัพพะยัง ปัสสันตัสสะ เอกาหังปิ เอกัจจะขะณังปิ ชีวิตัง เสยโย”
แปลความว่า
“ดูก่อน ปฏาจารา ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ ทั้ง 5  ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ตั้ง 100 ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ความเสื่อมไปแห่ง ขันธ์ทั้ง 5”
การรู้พระไตรลักษณ์ ในขั้นนี้ จัดเป็น ภาวนามยปัญญา คือปัญญาเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ เป็นวิปัสสนาญาณที่แท้จริง เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ ญาณที่ 4 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าทำได้ระดับกลางของการทำ วิปัสสนา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:33:08 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 6 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:29:05 am »
0


6 - 3.ภะยะตูปัฏฐานะญาณ ญาณอันรู้แจ้งถึงความน่ากลัว ของความแตกสลายไป แล้ว
ย่อมเวียนว่ายตายเกิด และมองเห็นภัยในวัฏฏะเป็นสิ่งน่ากลัว



กาย ใน กาย มีหัวข้อสำคัญ คือ  อิริยาปถบรรพะ สัมปชัญญะบรรพะ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ นวสีวถิกาบรรพ โดยยกขันธ์ 5 ขึ้นมาเป็นอารมณ์ โดยเฉพาะ รูปขันธ์ ที่ต้องให้เรามองให้เห็นตามความเป็นจริง ภายใต้ กฎแห่งธรรมชาติ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในหัวข้อนี้มุ่งหมายให้รู้จัก กายรูป และ ทำลายความมั่นหมายสำคัญว่าเรามีใน กายรูป  โดยเฉพาะความสำคัญของลมหายใจเข้าและออก สิ่งที่ผมมองเห็นจากการพิจารณาตรงนี้ ทำให้รู้ความสำคัญทางอารมณ์ดังนี้ 1.รู้ความสำคัญของ ลมหายใจ เข้า ออก และเป็นที่พึ่งปฏิบัติไปจนถึงขั้นสุดท้าย 2.รู้จักและเห็น ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของ การเคลื่อนไหวต่าง ๆ  3.รู้ถึงความจำเป็น และ ไม่จำเป็น หน้าที่ ของอวัยวะต่าง ๆ 4.มองเห็นว่าร่างกาย ที่เรียกว่า เรา เป็นที่ประกอบ ที่รวมของธาตุ ต่าง ๆ 4.มองเห็นความเกิดทางร่างกาย อิริยาบถ ธาตุ  และ ความเสื่อมขึ้นไปของร่างกาย 5.มองเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของไม่งาม เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล น่าเกลียด เป็นที่น่าสังเวชแม้แต่เราเอง ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำเลือด น้ำหนอง  6.ในฐานะผู้เป็นเจ้าบ้านแห่งกายอันยับเยินอยู่ด้วย ไตรลักษณ์ อันมีโรคต่าง ๆ คอยรุมเร้า ให้ไม่สบายกายนั้น ก็ยังต้องใช้ลมหายใจ เป็นเครื่องเชิดชู ให้มีชีวิต และเป็นที่อาศัย ของจิต ในการปฏิบัติธรรมต่อไป หรืออีกนัยหนึ่ง ไม่ว่ากายฉันที่สกปรก แสนเลว น่าเกลียดนี้เพียงใด ในใจก็ต้องตั้งสติไว้ว่า  จิตนี้เป็นเพียงแต่ผู้อาศัยกาย อันมีความตายเป็นที่สุด สกปรกเพื่อดำรงชีวิต จนกว่าจะหมดสิ้นลมหายใจ 8.อารมณ์ใจที่เคย หลง รัก คนนี้ คนนั้น พาลหมดไปด้วย เพราะเห็นร่างกายผู้อื่น ก็เป็นเช่นเดียวกับเรา แถมยังมีอารมณ์ลึกต่อไปว่า จะโกรธ จะเคืองกันทำไม ในเมื่ออัตภาพของเราก็ ทุกข์ ลำบาก ลำบนอยู่เช่นนี้ คนอื่นก็มีอัตภาพ และทุกข์ไม่ต่างไปจากเรา 9.เกิดการงดเว้น พระท่านเรียกว่า วิรัติ ขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น กับมากินอาหารเพียงมื้อเดียว งดการเสพเมถุน งดการประดับประดาตกแต่งร่างกาย แหวน สร้อยคอ สิ่งมีค่าอันเป็นความฟุ้งเฟ้อถูกถอดออกไปเลย แถมยกให้ภรรยาหมดเลย ไม่คิดว่าจะนำกลับมาใช้อีกต่อไป 10.อารมณ์ที่เคยสนใจชาวโลกเขาจะทำอะไรกัน ก็เลย วางเฉย 11.อารมณ์ทั้งหมดนั้นไม่ต้องนึก เป็นเหมือนธรรมชาติที่เกิดขึ้น เหมือนคนขับรถจะ
เข้าเกียร์อะไร ก็จะเข้าเกียร์นั้นไปตามนั้นตามสภาวะ และไม่รู้สึกฝืนกายแต่อย่างใด


   เวทนา ใน เวทนา  มีหัวข้อสำคัญคือ นามขันธ์ อันมี เวทนาขันธ์   สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็น อารมณ์ โดยท่านให้ดักที่ ผัสสะ คือ อายตนะภายในหก  และ อายตนะภายนอกหก พิจารณาถึงความยินดี ในเวทนาที่เป็นสุข พิจารณาถึงความยินร้าย ในเวทนาที่เป็นทุกข์ พิจารณาถึงอารมณ์ที่เรียบ ๆ ถึงตอนที่ไม่มีเวทนาทั้ง 2 ว่าเกิด ดับ อย่างไร ตอนนี้ ท่านเพียงกล่าวถึง การพิจารณานาม และ รูป ในความเกิดดับ ซึ่งเราทำผ่านมาตั้งแต่ข้อนั้นก็ย่อมทราบและแจ้ง ในตอนนี้ หัวข้อที่ท่านกล่าวในครั้งนี้ ก็คือ วังวน 3  คือ 1.กิเลส 2.กรรม 3.วิบาก ที่ให้ผลเป็นความทุกข์ ความสุข และ ความไม่ทุกข์ และ ไม่สุข โดยท่านให้พิจารณา ความวน ทั้งวนไปด้านหน้า และวนกลับมาด้านหลัง ที่เรียกว่า อนุโลม และ ปฏิโลม ความมุ่งหมายของหัวข้อนี้ต้องการให้เรารู้เวทนาเกี่ยวกับรูป ว่ารูปอาศัยเวทนาอย่างไร เวทนามีผลกับกายอย่างไร เวทนามีผลกับจิตใจอย่างไร
   จิต ใน จิต มีหัวสำคัญ อยู่ ที่เมื่อ เรามองเห็นโทษ และ คุณ ทั้ง ทางกาย และ ใจ ท่านให้เน้น
ลงไปที่ผัสสะสุดท้าย คือ มนายตนะวิญญาณ มนายตนะธาตุ  อันเป็นศูนย์ รวมแห่งจิตใจ อันมีความผูกพัน ด้วยสัญญาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นที่ยินดี ทั้งที่เป็นไม่ยินดี ทั้งที่เฉย ๆ ต่ออารมณ์ ตอนนี้ ท่านบอกว่าให้พยายามสร้างจิตให้ปราโมทย์ ด้วยการมองที่จิต เป็นเรื่องสำคัญ รู้ว่าปัญหาทั้งหลาย ล้วนมีจิตเป็นผู้ก่อ ผู้กระทำ และเป็นผู้เสวยผล ช่วงนี้จะสั้น อยู่ เพราะผมมัวแต่สนใจเรื่อง “ฌาน” แต่ท่านก็อนุเคราะห์ให้สอดคล้องกับ อานาปานสติ ดังนี้ ท่านได้สอนว่า ถ้าเราเข้าใจเรื่องนาม และ รูป มาพอสมควร แล้ว ให้ยกอารมณ์ ว่าเป็นอารมณ์ที่เราเข้าใจสภาพจิต ด้วยการกำหนดจิต ดังนี้
•   เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
•   เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
•   เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
•   จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิต หดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
•   เมื่อจิต บันเทิง ก็รู้ว่าจิตบันเทิง เมื่อจิตไม่บันเทิง ก็รู้ว่าจิตไม่บันเทิง
•   เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
•   เมื่อจิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
•   เมื่อจิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
โดยความเข้าใจตอนนี้  พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านต้องการให้เราเห็น จิต กับ สังขาร เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ธรรม ใน ธรรม ตอนนี้ เป็นเรื่องยาว มาก ๆ เลย เพราะ ศัทพ์ทางธรรม ค่อนข้างจะวุ่น วาย อยู่มาก ๆ เพราะบางคำผมก็เข้าใจ ตอนที่ท่านสอน ท่านก็หยิบ อริยสัจ 4 มาสอนก่อน คือ
•   1.ทุกข์ เป็นผลจากการเสวยวิบากจากกิเลส
•   2.สมุทัย เป็นต้นตอคือ กิเลส และ กรรม
•   3.นิโรธ เป็น ผลจากสงบระงับจากทุกข์
•   4.มรรค เป็นเหตุให้ถึงความระงับดับทุกข์ เป็นข้อปฏิบัติให้ไปถึงความดับทุกข์
มาถึงตอนนี้ ท่านย้ำว่า ทุกสิ่ง มีผล ต้องมีเหตุ ปัจจุบันธรรมดูกันที่ผลไม่ได้ดูกันที่เหตุ ดูกันว่าตอนนี้ใครนั่งทุกข์อยู่ ใครยืนทุกข์อยู่ ใครนอนทุกข์อยู่ ใครเดินทุกข์อยู่ ปัจจุบันอารมณ์เราเป็นอย่างไร ตัวเราเท่านั้นที่จะรู้จักตัวเราเอง ตัวเราเท่านั้นที่จะรู้จักอารมณ์เรา ไม่ได้ให้ไปดูที่อารมณ์ผู้อื่น การปฏิบัติธรรมในขั้นสุดท้าย นี้ ท่านบอกเป็นการเตือนตัวเรา และให้เข้าถึงความเป็น “เอกายนมรรค” คือหนทางแห่งผู้รู้ ผู้ไป ผู้สิ้นสุด เพียงผู้เดียว เพราะเมื่อเราทำ หรือ ปฏิบัติ หรือ ถึง ก็ไม่ได้ทำให้คนอื่นถึง ณ จุดนั้นได้เลย เราเป็นผู้ถึงนิพพาน ก็หาที่จะไปลากเขาเข้าสู่นิพพานก็ไม่ได้ ทำได้แต่เพียงว่าเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น เหมือน ฉัน ที่มานั่งบอกอยู่ตรงนี้ ก็ไม่ได้ทำให้เราเข้านิพพานได้เลย ยังต้องพากเพียรด้วยกำลังแห่งตนต่อไป  กฏแห่ง อนิจจัง ทุกขัง  และ อนัตตา เป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้ แม้ รูป ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา แม้นาม ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา การปฏิบัติ ใน มหาสติปัฏฐาน 4 นั้น ไม่ว่าเริ่มจากตรงไหน คือจะยกอารมณ์  พิจารณาเรียนรู้ กาย ใน กาย เวทนา ใน เวทนา  จิต ใน จิต สุดท้าย ก็มาจบที่ ธรรม ใน ธรรม ซึ่ง เป็นอารมณ์สูงสุดในการปฏิบัติ คือการทำลาย ความยึดมั่น ถือมั่น ใน กาย เวทนา ในจิต  และ ในธรรม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:10:45 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2011, 11:31:52 am »
0
สำหรับวันนี้ พอแค่นี้ ก่อน นะจ๊ะ

เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 7 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:08:12 am »
0


7 - 4.อาทีนะวะนุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้งซึ่งโทษแห่ง การเวียนว่าย ตาย เกิด ในวัฏฏะสงสาร

เหตุที่ทำให้สติเกิดนั้นมี 2 ประการ คือ
1.โยนิโสมะนะสิกาโร คือการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ทำไว้อย่างไรทำไว้โดย ตามระลึก ถึงเหตุให้เกิดสติ และ ความเป็นผู้มีสติโดยลักษณะ ของการระมัดระวัง ชื่อว่า สัมมัปปธาน 4 ดังนี้
1.สังวรปะธาน เพียร ระวังไม่ให้ อกุศล  เกิดขึ้นในสันดาน
2.ปหานปะธาน เพียรละ อกุศล อันเกิดขึ้นแล้วให้สูญหายไป
3.ภาวนาปะธาน  เพียร สร้าง กุศล ให้เกิดขึ้นในสันดาน
4.อนุรักขะนาปะธาน เพียร รักษา กุศล ที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ในสันดาน
             2.พะหุลีกาโร คือการทำให้บ่อยๆ อย่าขี้เกียจ ต่อเหตุของการมีสติ และความเป็นผู้มีสติ โดยความอุตสาหะ โดยลักษณะเอาใจใส่ ชื่อว่า อิทธิบาท 4
   1.ฉันทะ พอใจต่อการเป็นผู้มีสติ
   2.วิริยะ พากเพียรต่อการเป็นผู้มีสติ
   3.จิตตะ ฝักใฝ่ต่อการเป็นผู้มีสติ
   4.วิมังสา ตรึกตรองต่อการเป็นผู้มีสติ
เหตุให้เกิด สติ ทั้ง 2 ประการนี้เป็นหลักสรุปลงรวบยอดอยู่ใน “ความไม่ประมาท” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาท เป็นที่เริ่มต้น เปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง ย่อมเป็นใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นๆ ฉันนั้น ธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
ประโยชน์ของสติ ( ตามพระพุทธภาษิต ) 
•   1.สติเป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก คือปลุกคนให้ตื่นอยู่เสมอ
•   2.สติจำปรารถนา ในที่ทั้งปวง
•   3.สติทำให้คนได้รับความเจริญทุกเมื่อ
•   4.สติทำให้คนได้รับความสุข
•   5.สติทำให้คนเป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
•   6.สติรักษาคนมิให้พลั้งพลาด
•   7.สติทำให้ได้รับมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
เมื่อพระโยคาวจร ได้เจริญ สติ อย่างมั่นคง ย่อมมีผลทำให้ สัมปชัญญะ เกิดขึ้นเป็นคุณธรรม ที่เป็นเอนกอนันต์ อันเป็น บาทแห่งธรรม ไปสู่ความสิ้น วัฏฏะสงสาร หรือ ไปสู่นิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติ มีสติได้อย่างมั่นคง คุณธรรมที่จะเกิดตามมา นั้นก็คือ สัมปชัญญะ ซึ่งแปลว่า ความรู้ตัว ทั่วพร้อม ซึ่งครูบาอาจารย์ ท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้
สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้แจ้ง ในรูป ในนาม ในพระไตรลักษณ์ มรรค ผล นิพพาน รู้แจ้งแทงตลอดใน ขันธ์ทั้ง 5 รู้ดีอย่างประเสริฐ ในการขจัดคลายกิเลส ด้วยความเพียร มีสติ และ รู้ตัว เมื่อรู้แล้ว ก็คลายจากความยึดมั่น ถือมั่น นำออกจากกองทุกข์ทั้งปวง ซึ่งท่านได้พรรณนาไว้มากมาย แต่ ก็มีสาระสำคัญอยู่ที่การ รู้แจ้งในขันธ์ 5 คือรู้รูป รู้นาม รู้พระไตรลักษณ์  ส่วนผลของการรู้นั้นท่าน เรียกว่า มรรค ผล และ นิพพาน หรือ โลกุตระธรรม 9 ประการ
ผู้มีสัมปชัญญะ ย่อมเป็นผู้รู้ดีในปัจจุบัน เพราะการปฏิบัติธรรมวัดผลกันที่ปัจจุบัน วัดผลว่า ใคร ยืนทุกข์ เดินทุกข์ นั่งทุกข์ นอนทุกข์ อยู่ ดังนั้นผู้สติ และ สัมปชัญญะ สมบูรณ์ จึงต้องรู้สิ่งแรกคือ รู้ปัจจุบัน
   ปัจจุบัน แปลว่า เกิดขึ้นเฉพาะ คือ เกิดขึ้นขณะนี้  ได้แก่ ความเกิดขึ้น ของ รูป และ นาม
   รู้ ปัจจุบัน คือรู้รูปนาม ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง เช่น ภาวนาว่า “พองหนอ” รู้ตั้งแต่ ต้นพอง กลางพอง สุดพอง “ยุบหนอ” รู้ตั้งแต่ ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ
รู้รูป  คือ
•   รู้ว่า พอง กับ ยุบ เป็นคนละอัน กัน
•   ตา กับ รูป เป็นคนละอันกัน
•   หู กับ เสียง เป็นคนละอันกัน
•   จมูก กับ กลิ่น เป็นคนละอันกัน
•   ลิ้น กับ รส เป็นคนละอันกัน
•   กาย กับ ผัสสะ เป็นคนละอันกัน
สรุป ความว่า ตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเล็บ มีอย่างเดียว เท่านั้น คือ รูป ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เลย
รู้นาม คือ      
   รู้ว่า เวลาภาวนาว่า “พองหนอ ยุบหนอ”นั้นใจที่รู้ว่า พอง กับ ใจที่รู้ว่า ยุบเป็นคนละใจ  เป็นคนละขณะ ใจที่รู้ว่า พอง กับ ใจที่รู้ว่ายุบ เป็นนาม  สรุปความว่า พองเป็นรูป ยุบเป็นรูป รู้เป็น นาม ท้อง พอง ครั้งหนึ่งก็จะมีเพียง 2 อย่าง เท่านี้ คือ รูป กับ นาม ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา อะไรเลย สักอย่าง ที่เป็นความมั่นหมายสำคัญที่ทำให้เราเป็นเจ้าของ หรือ ควบคุมได้
“เราจะรู้ หรือ ไม่รู้  รูป นาม ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดไป”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:35:25 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 8 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:10:07 am »
0


8 - 5.นิพพิทานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง ถึงความเหนื่อยหน่าย ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป ซึ่งมีผล ให้เกิดความไม่เพลิดเพลิน หรือ ยินดี ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป


เมื่อเรามีจิตที่เบื่อหน่าย ต่อสังสารวัฏแล้ว ให้ยกอารมณ์ขึ้นสู่ธรรม ก็จะเข้าสู่ธรรมได้เร็ว การยกอารมณ์ เข้าสู่ธรรม นั้นขั้นตอนมีดังนี้ 
         1.สติสัมโพชฌงค์ กำหนดสติ ให้รู้จัก กาย และ ใจ  มีสติกำหนดรู้ตัวทั่วพร้อม ในขันธ์ 5 จนกระทั่งเข้าสู่ความที่รู้จัก จิต และจิตมีอารมณ์ต้องการเปลื้องออกด้วยเหตุใดให้รักษาอารมณ์นั้นเป็นสติ และ นำผลที่เป็นเหตุให้ใจกวัดแกว่ง มีอาการต่าง  ๆ ดำเนินพิจารณาตาม องค์ที่ 2 ด้วยการหาเหตุ และดับเหตุ ( สำหรับผมใช้อารมณ์ คือ ปีติ อันมีแต่ใน ฌาน ขึ้นพิจารณา ว่าปีติ มีเพราะเหตุใด ความหลงใหลเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และจะดับความหลงใหลนั้นด้วยเหตุใด )
       2.ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ กำหนดจิตที่ต้องการเปลื้องด้วยการหาสาเหตุ ตามอริยสัจจะ ทั้ง 4 จิตที่เป็นทุกข์ มาจากอะไร เมื่อจิตที่เป็นทุกข์สามารถเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ได้ ย่อมเป็นจิตที่ฉลาด เป็นจิตที่พร้อมจะรู้แจ้ง ในที่นี้ ท่านกล่าวหลักของปฏิจจสมุปบาท ทั้ง 12 อันเป็นฝ่ายกิเลส คือ เริ่มต้นจากทุกข์ ย้อนกลับมาที่ สมุทัย ( สำหรับคนที่คิดไม่ออกว่าจะเริ่มอย่างไร เพราะทำลัดขั้นตอน คือ มาใช้ ธรรม ใน ธรรม เป็นองค์สุดท้ายในการปฏิบัติ ) และ เริ่มจาก นิโรธ กลับมา ที่ มรรค อย่างไร ให้จดจำไว้ และทำไว้ในใจอย่างแยบคาย และ  เตือนใจตนเองอย่างสม่ำเสมอ ( สำหรับผมนั้นเมื่อพิจารณาหาเหตุใน ปีติ อันมีสุข ที่ได้สัมผัส และ มีความนิ่ง ที่ได้รู้จัก ย้อนกลับเห็นว่าแม้จิตจะนิ่งเพียงใด เมื่อเราไม่ได้อยู่ในสภาวะ แห่ง ฌาน จิตไม่ฉลาด ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นได้ มีอารมณ์ขึ้นได้ แม้อยู่ในฌาน ก็ยิ่งมีอารมณ์ ห่วงจิตคือความสุข ย่อมทำจิตให้บันเทิง และ หลงใหล ต่อสภาพจิต ที่นิ่งอันมีปีติ เป็นที่เริ่มแห่งความสุข ซึ่งตามพิจารณา ก็เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งไม่มีตัวและตน )
        3.วิริยะสัมโพชฌงค์ เมื่อได้องค์ธรรม ที่เกิดขึ้น และเข้าใจสาเหตุ และ ผล แล้ว ให้กระทำความเพียรโดยการหมั่น เตือน หมั่นภาวนา หมั่นเจริญ ธรรม องค์นั้นให้ทำลายกิเลส ให้เบาบาง ให้เหือดหาย ให้แจ่มแจ้ง ด้วยความฉลาด จนกระทั่ง ทำลายสัญญา ที่มีทั้งหมด  ดังนั้นเมื่อมาถึงการทำวิริยะ สัมโพชฌงค์ จะให้ใช้ เพียงใจคิดไม่ได้ ต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ ทั้งทางกาย และ วาจา และใจ ท่านสรุปลงไปว่า ทำให้สมบูรณ์ ด้วย ศีล ด้วยสมาธิ  ด้วยปัญญา โดยทำที่เราเท่านั้น ไม่ได้ให้ไปทำที่บุคคลอื่น ๆ เมื่อเราเจริญกระทำอยู่อย่างนี้ แล้วท่านกล่าวว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า ผู้กระทำความเพียรด้วยเหตุ แห่ง สติ อันมี ธัมมวิจยะ เป็นผู้นำ ย่อมสำเร็จเป็นผู้บรรลุธรรมอันสูงสุด ภายใน  7 วัน 7 เดือน และ 7 ปี อย่างน้อยความเป็นพระอริยบุคคล จะถึงขั้นต่ำคือเป็นพระอนาคามี ก็อย่างนี้  ท่านกล่าวว่าหัวข้อธรรมที่เหลือคือ ( สำหรับผมผู้ปฏิบัติ เมื่ออยู่ในฌาน ย่อมเพียรพิจารณา เหตุ และ ผล อันมีปีติ เป็นที่ตั้ง พิจารณาถึงความเกิดดับ ด้วยเวทนาจิต  และ สัญญา อย่างนั้นจนถึง ขั้น เห็น จิต ตั้งขึ้น และ จิตนั้นดับลง ไปและ........อธิบายไม่ได้ ต้องลองทำเอง )
       4.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความที่จิตเริ่มยินดีเข้าไปสงบระงับจากกิเลส ( สำหรับผมเมื่อจิตที่อยู่ใน ฌาน ไม่เห็นแม้ ฌาน ที่อยู่นั้น ก็มีภาวะ ที่ไม่น่ายึดถือ ควรละทิ้งด้วยอาการแห่งจิต แต่ไม่ได้ออกจากการทำ ฌาน ลักษณะเหมือนเราต้องทานอาหาร แต่มีการปัจจเวกคือพิจารณา ว่าเป็นธาตุ เป็นปัจจัยให้อัตตภาพยังอยู่ได้ ฉันใดก็ดี การทิ้งฌาน มิใช่การไม่ปฏิบัติในฌาน เพียงแต่ทรงอารมณ์อยู่ด้วยอารมณ์แห่งจิตว่า อยู่ในฌานเพื่ออะไร เป็นอย่างใด เพียงแต่จิต... อธิบายไม่ได้ ต้องลองทำเอง )
       5.ปีติสัมโพชฌงค์ คือความอิ่มเอิบด้วยความที่ใจเข้าระงับจากกิเลส ( สำหรับผมเรียกว่า ปีติ ใน ปีติ ย่อมเกิดจากปีติ ที่ตั้งเป็นอารมณ์ปัจจเวก และ เกิดปีติ อันเป็นผลจากการปัจจเวก   ซึ่งอาการนี้พระพุทธองค์ ทรงตรัสเรียกว่า เห็น ธรรมในจิต ใน จิต คือความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปในจิต )
       6.สมาธิสัมโพชฌงค์   คือความที่จิตเป็นสมาธิ  ตั้งมั่นด้วยอำนาจแห่งการสงัดจากกิเลสทั้งปวง  ( สำหรับผมนั้น  สมาธิ ที่แท้จริงอยู่ตรงนี้ เป็นสมาธิ ที่ไม่มีกระบวนท่า และเป็นสมาธิ ที่พร้อมตลอดเวลา เป็นสมาธิที่ลืมตาก็ได้ และ หลับตาก็ได้  เป็นสมาธิที่ปัจจุบันชอบทรงไว้ ยิ่งกว่าการทรงฌาน เพราะทำให้สงัดจากกิเลส )
       7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือความปล่อย วางจิต คืออะไรไม่รู้ อยากรู้ให้ดำเนินตามองค์ธรรม 3 ข้อแรกคือ 1.สติ 2.ธรรมะวิจยะ 3.วิริยะ ให้อย่างฉลาด คำว่าฉลาดคือให้ดำเนิน กาย วาจา และ ใจ ไปตามทางสายกลาง เมื่อเราดำเนินจิต มาจนถึง จิต ใน จิต แล้ว ให้เราพึงตั้งองค์ ภาวนาต่อไปดังนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:12:00 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 9 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:11:08 am »
0


9 - 6.มุญจิตุกัมมะยะตาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง ซึ่งความต้องการ จากไป หรือ ออกไป จาก วัฏฏะสงสาร

1.   ให้พิจารณาศึกษา ว่า จิต อันเป็นความสงบ นิ่งนี้ เป็นของไม่เที่ยง แล้ว หายใจ เข้า และ หายใจออก
2.   เมื่อเห็นจิต เป็นของไม่เที่ยงแล้ว พึงพิจารณา ว่าเราต้องเป็นผู้คลายจากความชอบใจ ในจิต ที่ไม่เที่ยง คงสภาพ และ ไม่คงสภาพ หายใจเข้า และ หายใจออก
3.   เมื่อ จิตภาวนาได้ดังนั้น ให้ใช้อารมณ์ คือความที่จิตมีอารมณ์ไม่เกาะเกี่ยว ด้วยกิเลส หายใจเข้า หายใจออก
4.   เมื่อใจว่างจากกิเลส เพราะความดับไม่เหลือแล้ว ให้รักษาอารมณ์ที่ดับไม่เหลือนี้ ภาวนาต่อไปจนสิ้นชีวิต ตลอดที่มีการ หายใจเข้า หายใจออก
( สำหรับผมแล้ว องค์ภาวนา ตั้งแต่ ปัสสัทธิ ปีติ สมาธิ อุเบกขา เป็นช่วงเวลาต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว ไม่ได้ใช้เวลาอะไรมาก เพราะวันหนึ่ง ๆ เราต้องคอยดักกิเลส ด้วยอาการอย่างนี้ และทรงอารมณ์ไว้อย่างนี้ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:13:10 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 10 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:13:20 am »
0


10 - 7.ปะฏิสังขานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง เข้าไปกำหนดเฉพาะสังขาร คือ ขันธ์ 5 มากำหนดพิจารณา ตามหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สัญญา 10 เพราะท่านบอกว่ากันสัญญาวิปลาสได้ ช่วงนี้ก็เลยไม่เข้าใจ อยู่บ้าง เพราะการดับสัญญาน่าจะเป็นเรื่องถูก แต่ท่านมาสอนให้เรามีสัญญา10 ให้ผมอีก แต่ด้วยความเคารพในท่านผมก็จึงตั้งใจฟังอย่างดี ท่านก็ให้ผมฟังและท่อง บอกว่าถ้าจำไม่ได้ให้ไปดูในหนังสือหมวดธรรม สัญญา 10 มีดังนี้ครับ
1.อนิจจะสัญญา 2.อนัตตะสัญญา 3.อสุภะสัญญา 4. อาทีนวะสัญญา 5. ปหานสัญญา 6.วิราคะสัญญา 7.นิโรธะสัญญา 8.สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา 9.สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐะสัญญา 10.อานาปานัสสติ
โดยท่านได้อธิบาย ดังนี้
1.อนิจจะสัญญา  เป็นสัญญา ที่ยก ขันธ์ 5  ขึ้นมาพิจารณา ว่าไม่เที่ยง เพื่อทำลาย ความยึดมั่นถือมั่น ว่า ขันธ์ เป็นของเที่ยง ในที่นี้ท่านกล่าวว่า จุดประสงค์ ให้ทำลาย ขันธ์ 5 เบื้องต้น
2.อะนัตตะสัญญา เป็นสัญญา ที่ยก อายตนะภายใน 6 และ อายตนะภายนอก 6  โดยยกอารมณ์ดูที่ผัสสะ ที่เกิด ให้มองเห็น อนัตตา ในที่นี้ท่านกล่าวว่า ไว้ทำลาย นามขันธ์  เป็นเบื้องต้น
3.อสุภะสัญญา เป็นสัญญาที่ ท่านยก คืออาการ 32 อันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯล ฯ เป็นต้น ขึ้นมาพิจารณา ความเป็นของไม่งาม ไม่สวย จุดประสงค์เพื่อทำลายสังโยชน์ 5 ข้อ
4.อาทีนะวะสัญญา เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง โรค และ เหตุ เกิดโรค โดยพิจารณาให้เห็นโทษแห่งร่างกาย เพื่อทำลายความยึดมั่น ถือมั่น และ เบื่อหน่าย ต่อสังขาร และ เห็นสังขารเป็นตามจริง จุดประสงค์เวลาป่วยหรือใช้ชีวิตจะไม่เป็นทุกข์ทางกาย
5.ปหานะสัญญา เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และ อกุศลกรรมทั้งปวง โดยทำความสำเหนียก ว่า ไม่ยินดี ด้วยอารมณ์ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้น ย่อมทำให้ถึงซึ่งความไม่มี ไปจากใจ ของผู้เจริญสัญญานี้
6.วิราคะสัญญา เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้อุปธิทั้งปวง และธรรมที่ทำให้ตัณหา สิ้นไป โดยการเจริญปัญญาอย่างมุ่งมั่น ที่จะทำลายกิเลสให้สิ้นไป
7.นิโรธะสัญญา เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง ความสงัดจากกิเลสเครื่องร้อยรัด เป็นธรรมชาติอันประณีต เป็นธรรมชาติที่ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ เป็นอารมณ์ที่ให้ใช้ภาวนาไปจนสิ้นชีพ
8.สัพพะ โลเก อะนะภิระตะ สัญญา เป็นสัญญา ท่านกล่าวยก อุปายะ และ อุปาทาน เป็นองค์ภาวนา โดยอาการเจริญ สติ และ ปัญญา ด้วยอาการ งดเว้น และ ไม่ถือมั่น
9.สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา เป็นสัญญา ที่ท่านให้ยก สังขาร ทั้งปวง โดยการเจริญภาวนา เห็นสังขารทั้งปวงเป็นความอึดอัด  น่าระอา และเกลียดชัง
10.อานาปานัสสติ ของผู้เจริญวิปัสสนา ย่อมเกิดเป็นลำดับ ตาม 16 ขั้นตอนนี้ เป็นอารมณ์ ที่ควรบ่มบำเพ็ญ ซึ่งต่างจาก อานาปานสติ ที่ผมเรียนครั้งแรกในสาย สมถกัมมัฏฐาน ในครั้งแรกอย่างมากเพราะผมพิจารณา ดูแล้วก็คล้ายจะเป็น สติ ปัฏฐาน 4 (โดยความเข้าใจเป็นส่วนตัว )
•   เป็นผู้มีสติ หายใจ เข้า และ หายใจ ออก
•   หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็มีสติ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว
•   หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็มีสติ รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น
•   ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนด รู้กายทั้งปวง จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักระงับ จิตตสังขาร จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง จักหายใจเข้า และหายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด จักหายใจเข้า และหายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณเห็น โดยความดับสนิท จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•   ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน จักหายใจเข้า และ หายใจออก จนสิ้นชีพ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:14:44 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 11 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:15:11 am »
0


11 - 8.สังขารุเปกขาญาณ  ญาณอันรู้แจ้ง วางอารมณ์ เป็นการวางเฉย ต่อสังขาร โดยมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา

      ตอนนั้นก็มานั่งปรารภขึ้นว่า ความโชคดี ของผู้เวียนว่ายตายเกิดอย่างเรานี้ มีเรื่องที่มีได้ยาก อยู่มาก คือ
•   ประการที่ 1 เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะขึ้นชื่อว่าสัตว์โลกที่เกิดแล้วไม่สร้างอกุศลกรรมเลย เป็นไปได้ยาก ดังนั้นการที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ นั้นจึงถือว่ายากมาก ๆ
•   ประการที่ 2 เป็นมนุษย์แล้วมีอาการ ครบ 32 ก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะเราท่านทั้งหลายก็เห็นแล้วว่าบางคนเกิดขึ้นมาแล้ว หูหนวก ตาบอด สมองไม่สมประกอบ หรือ ประคองชีวิตไม่ให้พิการ ไม่เป็นอัมพฤติ อัมพาติ นั้นก็เป็นเรื่องที่ลำบากเช่นกัน
•   ประการที่ 3 เกิดมาแล้วเป็นผู้ชายก็เป็นเรื่องยาก ด้วยเช่นกัน เพราะผู้ชายเป็นเพศที่ค่อนข้างจะอดทนมากกว่าผู้หญิง แต่ไม่ใช่ว่าเป็นผู้หญิงจะปฏิบัติธรรมไม่ได้ เพียงแต่โอกาสที่เป็นผู้ชายนั้น จะสามารถทำธุดงค์วัตรได้เข้มข้นกว่า
•   ประการที่ 4 เกิดมาแล้วไม่วิกลจริตผิดเพศนี่ก็เป็นเรื่องยาก เพราะผู้วิกลทางจิตนั้นไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงได้ อันนี้ไม่ใช่ติ  แต่เพราะแสดงให้เห็นว่า สัมมาทิฏฐิ ไม่เกิดเลยกับคนประเภทนี้ เพราะการหลอกตัวเองให้ผิดเพศ ก็เป็น มิจฉาทิฏฐิ เต็ม ๆ
•   ประการที่ 5 เกิดมาแล้วไม่อยู่ในตระกูลที่ขัดสนก็เป็นเรื่องยาก เพราะความขัดสนย่อมเป็นอุปสรรคทั้งการศึกษาและปฏิบัติ โอกาสย่อมต่างกัน ในพระพุทธศาสนา กล่าวเรียกว่า          สัปปายะ  หมายถึง ความสบายสะดวกในการปฏิบัติ
•   ประการที่ 6 เกิดมาแล้วอยู่ในหมู่กัลยาณมิตรก็เป็นเรื่องยาก อันนี้เป็นเรื่องยากที่สำคัญมาก แม้เราเป็นคนเกิดขึ้นมาย่อมอยู่ในสังคม ซึ่งในสังคมมีทั้งดี และ ทั้งเลว ถ้ามีหมู่คณะที่เลวย่อมพาเราเดือดร้อน ถ้ามีหมู่คณะที่ดีก็ย่อมพาเราไปสบาย
•   ประการที่ 7 เกิดมาแล้วได้พบพระพุทธศาสนาก็เป็นเรื่องยาก เพราะการอยู่ในสังคมโลก โอกาสที่เราจะเกิดมาแล้วเจอพระพุทธศาสนา ที่สอนให้เราตัดภพ ตัดชาติ สอนให้เราเห็นพระนิพพานด้วยแล้ว ก็คงจะเป็นการยากมากเลย ๆ ยิ่งเกิดในประเทศไทยยิ่ง ยากใหญ่ 
•   ประการที่ 8 ถึงพบพระพุทธศาสนาได้อาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้สอนก็เป็นเรื่องยาก เพราะอาจารย์ผู้สอนหากเป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วเราได้เป็นอาจารย์ ก็ไม่สามารถทำพระนิพพานให้เกิดได้ ดังเช่นพระองคุลีมาล ท่านถูกอาจารย์หลอก ให้ไปฆ่าคน เพื่อพระนิพพาน ก็พาลให้ท่านเกือบทำอนันตริยกรรม แล้วแทนที่จะได้ไปนิพพาน ถ้าท่านฆ่ามารดาของตนเอง ท้ายที่สุดท่านก็ต้องไปอยู่ในนรกแทน
•   ประการที่ 9 ถึงแม้จะได้อาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้สอน แต่ได้พระอรหันต์เป็นผู้สอนก็เป็นเรื่องยากยิ่งไปอีก เพราะพระอรหันต์ท่านเป็นผู้ประสพความสำเร็จในการทำพระนิพพานให้แจ้ง แล้วเป็นครูที่ดีย่อมสอนให้เราเข้าใจได้ดีกว่าท่านที่ยังทำไม่ได้ ดังนั้นการได้พระอรหันต์เป็นครูบาอาจารย์ก็เป็นเรื่องยากอีกเช่นกัน
•   ประการที่ 10 ถึงแม้จะมีอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ มาสอนแล้วถ้าเรายังเป็นผู้ไม่ปรารถนา ในการละตัดภพตัดชาติ คือไม่มีนิพพิทา คือความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ ถึงแม้พระอรหันต์อยู่ตรงหน้า ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดกับการทำพระนิพพาน ให้แจ้ง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นกันมาก ๆ  ดังเช่นพระอานนท์ ท่านก็ไม่เป็นพระอรหันต์แม้วันที่ พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพาน  มาได้เป็นพระอรหันต์ ตอนทำปฐมสังคายนา นี่ขนาดท่านได้อยู่กับองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเองเลยนะนี่ ดังนั้นผู้ที่จะมีอารมณ์ใจเป็นสาวกภูมิ ก็เป็นเรื่องยากอีกเช่นกัน
ซึ่งพอข้าพเจ้าได้นึกถึงความยากทั้งปวงที่ดูเหมือนได้ยากอย่างนี้ แล้วก็มาเทียบเคียง กับตนเอง รู้สึกว่าดีใจ และพอใจอยู่มาก ๆ ที่ข้าพเจ้าเองนั้นกลับมีความพร้อมแทบจะสมบูรณ์ แบบมาก จริง  ๆ อย่างน้อย เราก็เกิดมาเป็นคนไทย พบพระพุทธศาสนาสาย เถรวาท เป็นผู้ชาย ไม่วิกลจริต ไม่ได้ขัดสนมากมาย และยังเป็นผู้มีอารมณ์ใจตั้งใจว่าเป็น สาวกภูมิ อย่างแน่แท้ คิดได้ดังนี้ก็จึงเตือนตนเองว่า
             “แล้วทำไมเราจึงมามัวมีใจที่ประมาท หลงโลกธรรมทั้ง 8 อยู่อย่างนี้ ทำไมจึงไม่รีบฉวยโอกาส รับโลกุตระสมบัติอันเป็นทรัพย์ที่พระอริยะเจ้าสรรเสริญ เสียให้ได้ แต่ถึงแม้ว่าในชาตินี้จะไม่ได้โลกุตระสมบัติเลย ก็ยังไม่ชื่อว่าเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้ พบพระพุทธศาสนา และได้เกิดมาภายใต้บรมโพธิสมภาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 องค์ปัจจุบัน และการออกบวชครั้งนี้ ต้องไม่ทำให้ ภรรยา และ ธิดา ผู้เดือดร้อน หลังจากเราออกบวช ให้เดือดร้อนอย่างไม่มีค่า ถึงแม้จะไม่ได้อะไร ก็คงมีบุญ อุทิศส่วนกุศลให้ เธอทั้งสอง บ้าง และบุญอื่น ๆ ก็คงมีเหลือ ให้กับเจ้ากรรมนายเวร และ บิดา มารดา ญาติ ตลอด เทพเทวดา ยักษ์ สัมภเวสี ทั้งหลาย ที่คอยช่วย ปกป้องคุ้มครอง ให้ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลได้บ้าง ขึ้นชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่แน่นอนว่าตายแน่ แต่ความตายไม่เลือกเวลาให้ว่าจะตายตอนไหน ตอนที่มีชีวิตอยู่นี้จะประมาทไม่ได้ และข้าพเจ้าจะใช้เวลาที่พระท่านต่อและยืดอายุให้กับเรา นั้นให้คุ้มค่าที่สุด จนสุดความสามารถ ด้วยการวางอารมณ์ใจไว้อย่างนี้” 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:17:58 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 12 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:20:13 am »
0


12 - 9.สัจจานุโลมิกะญาณ ญาณอันรู้แจ้งความเป็นจริง ต่อการละดับทุกข์ เข้าถึง นิพพาน 3  ลักษณะ

ญาน นี้เป็นญาณ ที่สำคัญมาก จะเห็น เกิด ดับ อยู่ที่นี่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:22:30 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 13 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:22:35 am »
0


13.โคตะระภูญาณ ญาณที่ทำให้มองเห็นความทุกข์ที่เกิดจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นเรื่องที่ต้องหนี และต้องตัดและต้องทำลายให้สิ้น ผู้ที่ได้ญาณ ชื่อว่า พระโยคาวจร คือผู้มองเห็นโทษแห่ง วัฏฏะสงสาร และพยายามทำลายทิ้ง ซึ่งตัณหา และ อุปาทาน

เห็น วิโมกข์ 3 ตามลำดับ หรือ นิพพาน 3 ได้ดังจำแนกได้ดังนี้
ถ้าผู้ใดเห็น “อนิจจัง” ชัด ในญานที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน  หรือ อนิมิตตะนิพพาน เป็นเบี้องต้น
ถ้าผู้ใดเห็น “ทุกขัง” ชัด ในญาณที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน หรือ อัปปะณิหิตะนิพพาน เป็นท่ามกลาง
ถ้าผู้ใดเห็น “อนัตตา” ชัด ในญาณที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน หรือ สุญญะตะนิพพาน เป็นที่สุด
ลำดับแห่ง อนุโลมญาณ ย่อมเข้าถึงขั้นตอนของ สติ ดังนี้
1.โคตะระภูจิต ( โคตรภูจิต ) จิตเหนี่ยวนำพระนิพพานเป็นอารมณ์
2.มัคคะจิต ( มรรคจิต ) จิตน้อมนำปฏิบัติเข้าสู่หนทางแห่งพระนิพพาน
3.ชะวะนะจิต ( ชวนจิต ) จิตเข้า ชวนะ 7 สลับไปสลับมา
4.ผะละจิต ( ผลจิต )
5.ภวังคะจิต ( ภวังคจิต )
6.มโนทะวาราวัชชะนะจิต ( มโนทวาราวัชชนจิต )
7.ปัจจะเวกขะณะญาณ ( ปัจจเวกขณญาณ ) ญาณกำหนดทบทวน ลักษณะดังนี้
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่ยังเหลืออยู่ 5.นิพพาน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:20:41 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 14 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 10:25:59 am »
0


14.มัคคามัคคะญาณ ญาณที่เป็นเหตุให้เป็น พระอริยบุคคล ลำดับต่าง ๆ ในที่นี้ก็คือ วิธีการละสังโยชน์ นั่นเอง

อริยมรรค หนทางสู่การเป็นพระอริยะ ( ผู้ สิ้นทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ) มีองค์ 8
•   1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง หมายเห็นรู้และเข้าใจ อริยสัจจะ 4
•   2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง หมายถึง สังวร 4
•   3.สัมมากัมมันตะ ความทำการงานถูกต้อง  หมายถึง เป็นผู้มีกายกรรม 3
•   4.สัมมาวาจา ความพูดจาถูกต้อง หมายถึง เป็นผู้มีวจีกรรม 4
•   5.สัมมาอาชีวะ ความประกอบการเลี้ยงชีพอย่างสุจริต  หมายถึง อาชีวปาริสุทธิศีล
•   6.สัมมาวายามะ ความพากเพียรถูกต้อง หมายถึง อิทธิบาท 4
•   7.สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้รูป นาม หรือ สติปัฏฐาน 4
•   8.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง หมายถึง ปฐมฌาน เป็นต้นไป
ดังนั้น การกำหนด สติ รู้ นั้น เป็น วิปัสสนา ที่สำคัญ จัดเข้าไว้ใน สติปัฏฐาน ทั้ง 4 ซึ่งผู้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติย่อมถึง ซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับรองไว้ว่า ขั้นต่ำ ก็เป็นพระอนาคามี ขั้นสูง ก็จักได้เป็นพระอรหันต์ ซึ่งย่อมถึงได้ เร็วสุด ภายใน 7 วัน อย่างช้าก็ 7 ปี ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน ทั้ง 4 นั้นไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ แบบอภิญญา ก็ต้องเจริญ แบบนี้ แต่อารมณ์ที่ใช้จะเป็นอารมณ์ ที่ละเอียดกว่า พระอรหันต์ แบบสุกขะวิปัสสก  ต่างกันเพียง ผลสมาบัติ จะมีได้ในพระอรหันต์ สุกขะวิปัสสก ส่วน นิโรธสมาบัติ นั้นจะมีได้ในพระอรหันต์ แบบอภิญญา ที่จริงแล้ว การเข้าถึงนิพพาน เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การที่เราจะมัวมาสนใจเรื่อง ฤทธิ์ เพราะ ฤทธิ์ มีไว้ใช้ได้ เพียงช่วงที่มีชีวิตอยู่ในโลก มนุษย์ เท่านั้น
อานิสงค์ ของการเจริญ วิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้น ถึง เบื้องปลาย มีพระอริยะเถระท่านพรรณนาไว้ดังนี้
1.กันโง่ เพราะมีสติ  สติ เป็นคู่ปรับ ของโมหะ
2.เป็นมหากุศล คือเป็นบุญ ทุก  ๆ ขณะ ที่ลงมือปฏิบัติ เพราะมีทั้ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา
3.เป็นคนไม่ประมาท เพราะมีการระลึกได้ อยู่ กับรูป และ นาม
4.มีสติ ตั้งมั่น ดี ทั้งในยามปกติ และ เวลา ใกล้จะตาย
5.ได้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ไป พร้อมกัน
6.ได้เดินทางสายกลาง คือ อริยมรรค 8
7.ได้ปฏิบัติ ตามพระพุทธโอวาท  เป็นพระสาวกภูมิ
8.ได้เดินทาง สายเอก คือ หนึ่งไม่มี สอง เอกายะนะมรรค
9.ทำตนให้ฉลาด ให้รู้หลักความจริง ให้รู้จักใช้ชีวิตประจำวัน
10.ทำตนให้รู้จักปรมัตถะธรรม ไม่หลงติดอยู่ ในบัญญัติธรรม อันเป็นเพียงโลกสมบัติ
11.ทำให้คนมีศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม
12.ทำคนให้รักใคร่กัน สนิทสนมกลมกลืนกัน เข้ากันได้
13.ทำคนให้มีเมตตากรุณาต่อกัน เอ็นดูกัน สงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
14.ทำคนให้เป็นคน ทำคนให้ดีกว่าคน ทำคนให้เป็นเลิศ
15.ทำคนให้ไม่เบียดเบียนกัน ทำคนไม่ให้เอารัดเอาเปรียบ ซึ่งกันและกัน
16.ทำคนให้หมด สังโยชน์ 10 ได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:27:10 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 15 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:03:50 am »
0


15.ผลญาณ ญาณที่เป็นผลจากจากละสังโยชน์ ในระดับต่าง ๆ

สังโยชน์ 10 มีดังนี้
1.สักกายะทิฏฐิ   มีความเห็นว่าเราไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีเราเป็นตัวตน เป็นเพียง รูปและนาม เกิดดับ เท่านั้น รู้ได้ด้วยอารมณ์ใจ เป็นบาทฐานแห่ง ปัญญาที่จะเข้าถึง พระไตรลักษณ์
2.วิจิกิจฉา สิ้นความสงสัย ในการปฏิบัติ และ พระรัตนตรัย ในเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด นั้นต้องไม่สงสัย นิพพาน ต้องไม่สงสัย พูดง่าย ๆ ความสงสัย ในธรรมะ ไม่มี เมื่อความสงสัยในธรรมะ ไม่มี ความสงสัย ในพระพุทธเจ้า และ พระสงฆ์ จึงไม่มี เมื่อไม่มีความสงสัย ในพระรัตนตรัย จึงมีความเคารพอย่างสูง และ ระมัดระวัง เอาใจใส่ ใคร่ครวญ ต่อพระรัตนตรัย อย่างมาก ถึงตอนนี้ จะมีการแสดงออกมา ด้วยกาย ด้วยวาจา จากใจไม่มีอ้ำอึ้งกับพระรัตนตรัย จะไม่อาย ที่จะแสดงออก ต่อพระรัตนตรัย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง แม้ต่อหน้าตนเอง และผู้อื่น ข้อนี้ สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ผ่านด่านนี้ไปได้ก็ไม่ต้องพูด หรือ ภาวนาที่เหลือ เลย
3.สีลัพพะตะปะรามาส ไม่สำคัญผิด จากความเห็นเนื่องจากการปฏิบัติผิด จากธรรมเนียม ความหลงผิดจากระเบียบแบบแผน  เพราะฉะนั้นท่านผู้ที่ทำได้ถึงตรงนี้ จึงมั่นคงในศีล  คือตั้งใจรักษาศีลอย่างมั่นคง ไม่ยุยงให้ผู้อื่นผิดศีล และไม่ยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นผิดศีล และไม่ทุกข์ หรือ เดือดร้อนเพราะการมีศีล
4.กามราคะ ไม่ยึดมั่นกำหนัดหรือชอบใจ ในการหลงรูป หลง เสียง หลงกลิ่น หลงรส หลงสัมผัส ไม่พอใจด้วยอารมณ์ ถึงตรงนี้แล้ว กายคตาสติ จะเกิดขึ้นอย่างสูง อีกนัยหนึ่ง สังขารุเบกขาญาณ จะเกิดขึ้นมาก ๆ จากจุดนี้
5.ปฎิฆะ ไม่ขุ่นเคือง โกรธพยาบาท  ต่อผู้ใด เพราะเหตุแห่งกิเลส คือโทสะ ตรงนี้อารมณ์ ที่เห็นจะเหมือนพรหม มาก ๆ เพราะมีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เกิดขึ้นอย่างชัดเจน มาก ๆ อารมณ์ จะดับ ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะมองเห็นความเป็นจริงจาก กายคตาสติ และ มรณัสสติ จะสูงขึ้น
6.รูปราคะ ละความหลงใหลในรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง รูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 4 กามราคะ
7.อรูปราคะ ละความหลงใหล ในอรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง อรูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 5  ปฎิฆะ แต่สำหรับสายอภิญญานั้น อารมณ์ ฌานที่ 8 นั้นทิ้งกาย ซึ่งไปทำลาย อายตนะสัมผัส หมด คงเหลือแต่ มโนอายตนะจึงทำให้ จิต เป็นนามเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติอย่างนี้ ยังผิด เพราะการปฏิบัติธรรม นั้นมีไว้ในปัจจุบัน ใช้ในปัจจุบัน จึงต้องพาไปทั้ง 2 อย่าง คือ รูปและนาม หรือ ที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5
8.มานะ ละความหลงผิด ที่ว่าเรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา  เพราะถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก มาตั้งแต่ต้น ก็ต้องเข้มข้น ในเรื่อง กายคตาสติ  ส่วน สายอภิญญา นั้นจะรู้แจ้งได้เอง หลังจาก ละ รูปฌาน และอรูปฌาน
9.อุทธัจจะ ละความฟุ้งซ่าน ที่หลงเพ้อพก ขันธ์ 5 และ หลง ในรูป นาม ความหลงตน  สำหรับพระอนาคามีนั้นข้อนี้จะหมายถึงความฟุ้งไปอารมณ์ที่ติดจิต ซึ่งเป็นสถานที่หรือความพะวง พระอรหันต์หลายท่านกล่าวว่าเป็นอารมณ์ที่เกาะสุทธาวาส
10.อวิชชา มาถึงตรงนี้ แล้ว มันน้อยมาก เพราะ กิเลสมันบางลงมาตั้งแต่ ข้อแรก มาถึงตรงนี้เป็นวิชชาเอง เป็นบทสรุป ของสังโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า ข้อนี้ ก็คือการละ ทั้ง 9 ข้อ นั้นเอง ซึ่งท้ายที่สุด พระอรหันต์ ทั้ง 2 แบบ จะได้อาสวักขยญาณ โดย อัตตโนมัติ ทันที ไม่ต้องรออนุมัติจากใคร ๆ
หลังจากตรงนี้ เพื่อให้ได้ทบทวน อาสวักขยญาน ตั้งแต่ ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ 5 ข้อมา จะสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ เฉพาะพระอภิญญา เท่านั้น
( หลวงพ่อได้แนะนำเพิ่มว่า ผู้ที่ได้ละอวิชชา จะเป็นผู้ยินดีใน อริยทรัพย์ และมองเห็นโทษ ของ โลกียะทรัพย์ และไม่ยึดติดใน โลกียะทรัพย์ )
การละ สังโยชน์เป็นที่ระบุระดับชั้นของพระอริยะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:25:36 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กลอน "สาวกภูมิ" วิปัสสนาญาณที่ 16 ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:07:39 am »
0


16.ปัจจเวกขะณะญาณ  ญาณที่ทำให้เกิดมีการทบทวนพิจารณา  กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่  และนิพพาน
การกล่าวถึงวิปัสสนาญาณ ท่านจัดเป็น โลกุตตระญาณเพียง 2 ข้อ คือ ข้อที่ 14 และ 15 นอกนั้นเป็นโลกียะญาณ


การรู้พระไตรลักษณ์ ในขั้นนี้ จัดเป็น ภาวนามยปัญญา คือปัญญาเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ เป็นวิปัสสนาญาณที่แท้จริง เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ ญาณที่ 4 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าทำได้ระดับกลางของการทำ วิปัสสนา
ขั้นที่ 4 รู้พระไตรลักษณ์ ขั้นสูงสุด คือรู้ได้ในญาณที่ 12  เรียกว่า “อนุโลมิกญาณ”  หรือ “สัจจานุโลมิกญาณ” ก็เรียก  ญาณนี้ ผู้ปฏิบัติสามารถ เห็นอริยสัจ 4  และเห็นพระไตรลักษณ์ ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ผู้ปฎิบัติได้เช่นนี้ ชื่อว่า เจริญสติได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนการเห็นอย่างไรนั้น ผู้ปฏิบัติพึงทบทวนด้วยตนเอง ย่อมเห็น วิโมกข์ 3 ตามลำดับ หรือ นิพพาน 3 ได้ดังจำแนกได้ดังนี้
ถ้าผู้ใดเห็น “อนิจจัง” ชัด ในญานที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน  หรือ อนิมิตตะนิพพาน เป็นเบี้องต้น
ถ้าผู้ใดเห็น “ทุกขัง” ชัด ในญาณที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน หรือ อัปปะณิหิตะนิพพาน เป็นท่ามกลาง
ถ้าผู้ใดเห็น “อนัตตา” ชัด ในญาณที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน หรือ สุญญะตะนิพพาน เป็นที่สุด
ลำดับแห่ง อนุโลมญาณ ย่อมเข้าถึงขั้นตอนของ สติ ดังนี้
1.จิตมีสติ-รู้ เหนี่ยวนำพระนิพพานเป็นอารมณ์
2.จิตมีสติ-รู้น้อมนำปฏิบัติเข้าสู่หนทางแห่งพระนิพพาน
3.จิตมีสติ-รู้เข้ากำหนดทางอายตนะทั้ง 12 สลับไปสลับมา ด้วยมหากุศลจิต
4.จิตมีสติ-รู้เข้าสู่ความสงบรำงับจากกิเลสเป็นช่วง ๆ
5.จิตมีสติ-รู้เข้าสู่ความยุติทั้งเหตุและผล นิ่งเป็นสมาธิ
6.จิตมีสติ-รู้อารมณ์ด้วยการวางจิต ที่อายตนะสัมผัสสุดท้าย คือ ใจ กับ อารมณ์
7.จิตมีสติ-รู้ด้วยปัญญาญาณ (ปัจจะเวกขะณะญาณ ) ญาณกำหนดทบทวน ลักษณะดังนี้
1.รู้แจ้งมรรค 2.รู้ผล 3.รู้แจ้งกิเลสที่ละได้แล้ว 4.รู้แจ้งกิเลสที่ยังเหลืออยู่ 5.รุ้แจ้งนิพพาน
ดังนั้น ท่านผู้มีการเจริญ สติปัฏฐาน 4  ย่อมเข้า ถึงความรู้มรรค ความรู้ผล และความรู้นิพพาน ดังนี้
รู้แจ้ง มรรค ได้แก่ รู้มรรค 4  มี 1.โสดาปัตติมรรค  2. สะกิทาคามิมรรค 3.อะนาคามิมรรค 4.อรหัตตะมรรค
รู้ แจ้งผล ได้แก่รู้ผลทั้ง 4 มี 1.โสดาปัตติผล 2. สะกิทาคามิผล 3.อะนาคามิผล 4.อรหัตตะผล
รู้แจ้งนิพพาน คือ รู้นิพพาน ทั้ง 3 มี 1.อะนิมิตตะนิพพาน 2.อัปปะณิหิตะนิพพาน 3.สุญญะตะนิพพาน
ทั้ง 3 รู้ นี้ เรียกรวม ๆ ว่า โลกุตรธรรม 9 อันมี มรรค 4 ผล 4 และ นิพพาน 1
ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ทั้ง 4 ได้จนถึงนิพพานแล้ว ย่อมเข้า ผลสมาบัติได้ เป็น ปฐมฌาน สูงสุดทรงอารมณ์ 1 วัน 1 คืน สามารถเข้าได้ตั้งแต่พระโสดาปัตติผล ส่วนพระอนาคามี ผู้บำเพ็ญฌานมา จะสามารถเข้า นิโรธสมาบัติได้ สูงสุด 15 วัน ส่วน นิโรธสมาบัติ ของพระอรหันต์นั้น เป็นอย่างไร ก็ขอให้ท่านเป็นพระอรหันต์กันแค่นั้น ก็จะเข้าใจเอง เพราะเรื่องสมาบัติมีผู้ ถกเถียงกันเยี่ยงบัณฑิต มากแล้ว อย่าไปเถียงกันเลย เพราะการปฏิบัติเข้าถึง นิพพาน เป็นของเฉพาะตน เท่านั้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:30:14 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" สรุปจบกลอน ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:08:47 am »
0
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" อุทิศกุศล ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:09:58 am »
0
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" text บทเต็ม ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 11:14:20 am »
0
                           สาวกภูมิ
    สัตว์มนุษย์ เสมอกัน อยู่สี่อย่าง      กิน นอน อยู่เสพกาม มีภัยหนี
ส่วนมนุษย์ สูงกว่าสัตว์ บรรดามี      เพราะใจดี มีคุณธรรม ค้ำประคอง

        หากเราได้ เกิดมา เป็น มนุษย์    ย่อมประเสริฐ สุดกว่า สัตว์เดียรัจฉาน
หากเราได้ เข้าสู่  นิพพิทาญาณ      สัญชาตญาณ สาวกภูมิ ย่อมเกิดมา

        สาวกภูมิ ควรรู้กิจ ในเบื้องต้น      เพื่อไม่จน ไม่มัวเมา ในตัณหา
เริ่มต้นด้วย ศึกษา ในกายา         เป็นมรรคา เบื้องบาทแรก ทำลายตน

       กิจที่สอง ให้มีจิต มีสำนึก      รักระลึก ถึงธรรมรัตน์ หลายๆ หน
เพื่อให้จิต ผ่อนคลาย ไร้กังวล         ไม่สงสัย จิตอับจน เขลาปัญญา

       กิจที่สาม ให้ปฎิบัติ ตามทางเอก   เป็นเอนก เอกอุตม์ ไม่มุสา
รักษาศีล มีศีล ใช่วาจา            มีราคา ด้วยมีกาย และ ใจดี

       กิจที่สี่ เริ่มเพียร สร้าง สมถะ      เพื่อให้ละ นิวรณ์ธรรม อันบัดสี
ให้ใจนิ่ง นิวรณ์ธรรม ไม่ราวี         ให้ชีวี เข้มแข็ง ด้วยองค์ฌาน

       แม้นว่า กิจ คือ ฌาน ทำได้ยาก      ถ้าไม่ขาด หรือลืมหลง ในสงสาร
ให้ชีวิต มีอุปจาร มิช้านาน         แล้วพิจารณ์ วิปัสสนา เห็นแก่นธรรม

      ปัญญาญาณ ย่อมอุบัติ เป็นลำดับ    ให้เห็นชัด ในกายจิต เป็นวิถี
รูป หนึ่งดวง จิต สี่ดวง ทุกวินาที      ถูกย่ำยี ด้วยไตรลักษณ์ ทุกเวลา

     ญาณที่หนึ่ง ให้มองเห็น  นามรูป      รู้แจ้งรูป รู้แจ้งนาม โดยสัณฐาน
มองให้เห็น นามรูป ลักษณาการ      แล้วให้หาร รูปนาม เป็นปัจจัย

      ญานที่สอง ปัจจยะ ปริคคะหะ      คือเห็นชัด รูปนาม ไม่สงสัย
ใช้สติมองเห็น ความเป็นไป         ให้หัวใจ มองเห็น แยกส่วนกัน

      ญาณที่สาม สัมมะสนะญาณ      คือพิจารณ์ ไตรลักษณ์ได้ เป็นส่วนเห็น
ทั้งไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ไร้ตัวเป็น         มองให้เห็น ให้ชัดได้ ด้วยญาณธรรม

       ญานที่สี่ อุทยัพพะยะญาณ      เป็นเขตคาม ความเกิดขึ้น สลายหาย
เห็นขันธ์ห้า จ้าแล้ว ด้วยนามกาย      ดุจสถูป ตั้งอยู่ได้ ก็หายพลัน

      ญาณที่ห้า เห็นแจ้ง ความเสื่อมขึ้น   เข้าใจถึง ความแตกแยก เป็นวิสัย
เห็นความแตก แยกสังขาร มลายไป      ขันธ์ดับไป วนเวียนอยู่  ระคนกัน

       ญาณที่หก เห็นน่ากลัว ในเหตุนาม   ให้ครั่นคร้าม เห็นภัย สังสารขันธ์
เมื่อเกิดแล้ว ก็มีตาย คละเคล้ากัน      ย่อมติดพลัน เศร้าใจ ในวนเวียน

       ญาณที่เจ็ด เห็นไม่สวย ในวนเวียน   เป็นแบบเรียน เห็นโทษ  วิโยคเข็ญ
ให้คลายจิต อันมัวเมา อยู่เช้าเย็น      ให้เข้าเห็น รู้แจ้ง กระแสธรรม

       ญานที่แปด ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด   เหมือนรู้ชัด โทษกรรม อันหรรษา
จิตตื่นอยู่ รู้นามรูป ทุกเวลา         ไม่นำพา กิเลส ไม่มัวเมา

       ญานที่เก้า อารมณ์เกิด ใคร่อยากพ้น   ไม่ชื่นชม หลงใหลใน สุขหรรษา
ย่อมใคร่ออก จากกาม เป็นมรรคา      ไม่นำพา จิตเข้าสู่ วิโยคกรรม

      ญาณที่สิบ พิจารณา หาทางออก      อันประกอบ ด้วยองค์แปด เป็นเขตขันธ์
ย่อมเข้าออก ตื่นอยู่ ด้วยรู้กรรม      เป็นเหตุอัน ถอนทิ้งซึ่ง ความเมามัว

      ญานสิบเอ็ด เห็นสังขาร อย่างแจ้งชัด   ความกำหนัด เมามัว ได้อาสัญ
เห็นสังขาร อันกอร์ปกิจ ทุกสิ่งอัน      ความยึดมั่น ถูกถอด เห็นความจริง

      ญาณสิบสอง เห็นจริง ตามอริยสัจ   ได้ขจัด อวิชชา ไม่สงสัย
ทั้งอนุโลม ปฎิโลม เห็นเป็นไป         หมดเยื่อใย  เพราะเข้าเห็น รู้แจ้งจริง

     ญาณสิบสาม เข้าสู่ ความเป็นพระ      ผู้รู้ละ โลภหลง และสงสาร
ผู้เข้าสู่ อารมณ์ วิปัสสนาญาณ         ผู้พล่าผลาญ กิเลส ให้จบไป

    ญาณสิบสี่ เห็นหนทาง กระแสจิต      ที่เปิดปิด มิดชิด หมดสงสัย
สัมปชัญญะ รู้ทั่ว กำหนดไป         ทั้งกายใจ น้อมรับ ด้วยยินดี

 ญาณสิบห้า เข้าสู่ ผลจิต                      เพ่งพินิจ ตรวจละ เขตสงสาร
ละสังโยชน์ เป็นลำดับ ทุกรูปนาม              หมดวิจาร สิ้นสุด ภาวนา

    ญาณสิบหก ทบทวน อริยะสัจ           ให้รู้มรรค รู้ผล ในวิถี
แจ้งกิเลส นอกใน ในชีวี         เป็นสุขี นิพพานัง นิรันดร

   หากจะให้ ข้าพเจ้า สาธยายหมด      ย่อมประสพ ความลำบาก มากหนักหนา
หากให้แต่ง อารมณ์ จำนรรค์จา      ก็เหมือนว่า ตัวเอง ยังมัวเมา

   ให้ลุ่มหลง ในอารมณ์ สุทธาวาส      เป็นนิวาส ของพรหม  ชนเวหา
อาจปิดกั้น นิพพาน ในวิญญา         เพราะหลงใหล มัวเมา ในบทกลอน

   จึงลิขิต กลอนนี้ พอสังเขป         พอเป็นเหตุ ให้จิตได้ ในรสา
ให้สาวกภูมิ ผู้ตื่นอยู่ รู้มรรคา         มีปัญญา รู้แจ้ง เห็นความจริง

    ท้ายที่สุด ข้าพเจ้า ขอน้อมจิต      ในชีวิต ต้นบุญ ผลกุศล
ขออุทิศ ให้ปวงญาติ ผู้วายชนม์      ผู้มีชนม์ มีอายุ พบสุขกัน

    ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ         เป็นตบะ เดชะ ไปหาผล
ขอให้เทพ เทวา ผู้บันดล         ให้ข้าพเจ้า เป็นอยู่ โดยปลอดภัย

    ขอให้ยักษ์ ผู้คุ้มกัน ข้าพเจ้า      ภูติ ที่เฝ้า คอยอยู่ แลรักษา
ให้ได้บุญ ที่ข้าพเจ้า ได้ทำมา         ด้วยเมตตา ช่วยรักษา มีรูปนาม

     ขอให้ท่าน ผู้อ่าน มีสติ         ให้กอร์ปกิจ สิ่งดี สมประสงค์
ขอให้ถึง ปัญญา ด้วยตัวตน         ให้รอดพ้น บ่วงมาร ทุกท่าน เทอญ.
                 
สนธยา สุนทรนนท์ ( ธัมมะวังโส ภิกษุ)
  21 ก.ค. 49
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:25:26 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:50:51 pm »
0
อนุโมทนา ครับ เข้ามาอ่านอีกครั้ง ทั้งเนื้อหา และคำกลอนเพิ่มขี้น ขนาดพระอาจารย์แต่ไว้ตั้ง 6 ปีแล้วนะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:55:01 pm »
0
พระอาจารย์ นาน ๆ โพสต์ ที ครั้งนี้ รู้สึก ยาว เลยครับ
และผมก็พยายามตั้งใจอ่าน ด้วยครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 01:00:42 pm »
0
อนุโมทนา ครับ รู้สึก ว่าจะจบบทกลอนแล้วนะครับ ไม่รู้ว่า พระอาจารย์ จะเพิ่มเนื้อหาอีกหรือไม่
คำอธิบาย ก็รู้สึกจะเป็นในแนว สาย พอง ยุบ นะครับ

  คงจะมีคำอธิบายในแนว กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพิ่มเติม มาอีกใช่หรือไม่ครับ

  อนุโมทนา สาธุครับ
  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 01:06:24 pm »
0
ดูท่า จะมี วิปัสสนาภาค กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ต่ออีกใช่หรือไม่คะ

  :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 09:40:51 pm »
0
อนุโมทนา ครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2011, 09:23:24 am »
0
สำหรับ กลอน สาวกภูมิ นี้ ใช้เวลาแต่ง มาเกือบ 25 ปี

 ส่วนแรก บทที่ 1 และ 2 แต่งครั้งเมื่อเป็นสามเณร ปี 2529  ที่ วัดเลียบ จ.สงขลา ครานั้นไป ๆ มา ๆ ที่สวนโมก สุราษฏร์ ได้รับอิทธิพลคำสอน จากหลวงพ่อพุทธทาส และ หลวงพ่อปัญญา พระมหาประทีป พระอาจารย์สงวน จันทะวังโส พระอาจารย์ถวิล สุญญธาุตุ พระอาจารย์วิรัช รวิวังโส พระอาจารย์วิรัตน์ วิรตนโน และพระอาจารย์อีกหลายรูป


 ส่วนบทที่ 4 ถึง บทที่ 10 แต่งในปี 2548 การปฏิบัติ ในวิชากรรมฐาน ในด้านพลังจิต มีอิทธิพล หลวงพ่อฤาษีลิง วัดท่าซุง หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล

 ส่วนบทที่ 5 เรื่อยมานั้น แต่งต่อในปี 2549 มีอิทธิพล จากการเข้าศึกษา ปฏิบัติในกรรมฐาน แนวมหาสติปัฏฐาน จาก วัดมหาธาตุ ในเรื่อง วิปัสสนาญาณโสภณ แต่แต่งไม่จบ เพราะไม่สามารถทะลุแทงตลอดในญาณ คงแต่งไว้ได้ เพียง 4 วิปัสสนาญาณ


 ส่วนบทที่ 14 จนจบนั้น แต่งเมื่อ 2549 มีอิทธิพล จากการฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

 ดังนั้นส่วนคำบรรยาย เรื่อง วิปัสสนาญาณ ในที่นี้ยังคงกล่าว แบบวัดมหาธาตุ

 แต่วิปัสสนาญาณ ที่เป็นฉบับบ กรรมฐาน มัชฌิมา นั้น ได้เสริมความรู้ต่อจากพระอาจารย์ ที่ดีที่สุดในชีวิตนี้แล้ว คงต้องไปอ่านเพิ่มกันใน วิัปัสสนากถา ในหนังสือ อานาปานสติ ก็ได้นะจ๊ะ

 เจริญธรรม เล่าไว้พอสังเขป ที่ถามกันเข้ามา

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2012, 07:55:38 pm »
0
อ่านเข้าใจง่ายดีคะ มองเห็นแนวทางการปฏิบัติตาม เลยคะพึ่งจะได้อ่านเป็นทางการครั้งแรกคะ

 ขอบคุณบทความดี ๆ อย่างนี้ ด้วยคะ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2012, 10:30:02 am »
0
อ่านดีมากคะ พระอาจารย์ ใช้เวลา 25 ปี ถึงจะทำให้กลอนนี้จบได้ นะคะ
ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เลยนะคะ กับเวลาในการที่พระอาจารย์ปฏิบัติภาวนา ไม่ได้ใช้เวลาเพียง วันสองวัน คืนสองคืน พออ่านแล้ว เราเองจะมีบุญวาสนา บ้างหรือไม่ ? จะใช้เวลากี่ปีในการภาวนานะจ๊ะ

 สาธุ สาธุ สาธุ  ขอให้ข้าพเจ้าเข้าใจธรรม และ สำเร็จธรรมอย่างน้อยได้ดวงตาเห็นธรรม ก็ยังดีคะ จะได้พ้นจากอบายภูมิ

  :25: :25: :25:


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://wannakadee.com/
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2012, 11:08:02 am »
0
อนุโมทนา สาธุ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 07:35:16 pm »
0
  st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 01:42:04 pm »
0
กลอน อารมณ์ วิปัสสนาญาณ

    โดย ครูอาจารย์ ของข้าพเจ้า
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 12:30:02 am »
0
ก็ไม่ได้เข้าใจอะไรมาก หรอกนะ ตอนนั้นแค่ จดจำและดำเนินสติตาม อย่างที่เคยเรียน กับครูอาจารย์ เพียงแต่ว่า กลอนบทนี้ เป็นกลอนเปิดตัวการเรียนกรรมฐาน กับ สามพระอาจารย์ โดยมีเงื่อนไข ที่ท่านบอกไว้ว่า ให้แต่งกระทู้ และคำกลอนเรื่อง วิปัสสนา แบบที่ฉันเข้าใจให้ท่านทั้ง 3 อ่าน ให้เวลาแต่งกระทู้นี้ 3 วัน ถ้าทำได้จะได้รับการถ่ายทอด จงกรมธาตุ และ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ถ้าทำไม่ได้ก็แสดงว่าไม่มีบุญวาสนา เป็นศิษย์กับพระอาจารย์ ทั้ง 3

ตอนนั้นก็งาน ก็มีเยอะ หยุดไม่ได้เรื่อง งาน แต่ก็รวบรวมความรู้ทำการแต่งบรรจง วิปัสสนาญาณ 16 แบบที่ตนเคยเรียน และรู้ พร้อมประพันธ์คำกลอน ใช้เวลาทั้งคืน เพื่อประมวลความรู้ สมัยนั้น อินเตอร์เน็ต ไม่แพร่หลาย เป็น 56 kb modem เว็บธรรมะ ก็ไม่ได้มีมากมาย มือถือก็ hit 3310 nokia จอขาวดำ ราคาอย่างโหดนะ ที่พูดตรงนี้ก็เพื่อให้หลายท่าน ทราบและมองตามความเป็นจริงว่า มันลำบากนะไม่สามารถ Copy ข้อความได้อย่างปัจจุบัน ต้องเขียนพิมพ์กันสด ๆ 2 คืน 3 วันไม่ได้หลับ กลางวันทำงาน พัก 7 โมงเข้าสมาธิ 50 นาที เที่ยง พักเข้าสมาธิ 50 นาที เย็น 17.00 พัก เข้าสมาธิ 50 นาที 21.00 - 06.00 นี่แหละ 2 คืน แต่งกระทู้เรื่อง วิปัสสนาญาณ 16 ตอนนั้น สติไหลลื่น กับ ธรรมะ ยิ่งเขียน ย่ิงอ่านปีติ ก็มาก บางครั้งเขียนข้อความ น้ำตาหยดไหลย้อย มันตื่นตันใจมากที่ ได้อ่านข้อความ แม้เพียงคำว่า เจริญสติ อย่างนี้ ปีติก็พุ่งสูงทันที มันรู้สึกอบอุ่นเวลาข้อความธรรม วิ่งไปวิ่งมา เหมือนความคิด ของเรามีแต่ ข้อความธรรมะ ไหลเวียนไปตลอดหลับตาก็เห็น ลืมตาก็นึกถึง

นับว่า 3 วัน 2 คืนนั้น มีความสุขมาก ๆ กับข้อความ ธรรมะ ที่มันหายไปนานเลย รู้สึกว่า โจทย์ที่พระอาจาย์ ทั้ง 3 ให้นี้ ไม่ได้เป็นเรื่องหนักใจ กับมีความยินดี ในพระธรรม ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในขณะนั้น นับว่า เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในช่วงนั้น
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 01:37:41 am »
0
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 12:36:37 pm »
0
ไม่เคยรู้มาก่อนว่าพระอาจารย์ ท่านกว่าจะได้เรียนกรรมฐาน มีความลำบากอย่างมาก

  st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 10:00:38 pm »
0
 st11 st12 st12 ที่แนะตำครับ
ผมเข้ามาก็ยังไม่ได้อ่าน พึ่ีงจะได้อ่านวันนี้ ครับ
เนื่องด้วยที่นี่ มีเนื้อหา ค่อนข้างมาก ครับ ไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นอ่านตรงไหนก่อน

   st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

pattumma

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 28
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2019, 08:02:21 pm »
0
อนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
บันทึกการเข้า