ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่สุก ศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ กับ ขรัวท่านโต วัดชายนา (น่าอ่าน)  (อ่าน 7956 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
    • ดูรายละเอียด
ทรงศึกษา วิชา ดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ
(พรรษาที่สอง สถิตวัดโรงช้าง ยุคอยุธยา)
พรรษาที่สอง พระองค์ท่าน ทรงได้พบ กับพระอริยเถราจารย์ อีกพระองค์หนึ่งในสมาธินิมิต ท่านมีนามบัญญัติว่า ขรัวท่านโต ท่านเคยสถิตวัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ หรือเรียกว่าพระเจ้าอู่ทอง ขรัวท่านโตดำรงขันธ์อยู่ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ท่านเข้ามาในสมาธินิมิตในครั้งนั้น ท่านมาบอกวิธีการ ให้แก่พระอาจารย์สุก สองอย่าง คือ
   การดำเนิน ความเป็นไปแห่งธาตุ ๑
   การทำลายธาตุ ๑
   และสอนให้ไม่หลงติดอยู่ในธาตุ และสอนให้ไม่หลงติดในฤทธิ์ ๑
    พระอริยเถราจารย์ บอกวิธีดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ เพื่อให้เกิดฤทธิ์ แก่พระอาจารย์สุก โดยให้บริกรรมดำเนินธาตุ บริกรรมตั้งธาตุ บริกรรมรวมธาตุ เป็นหนึ่งเดียวพระอาจารย์สุก ทรงดำเนินการตั้ง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ แล้วสัมปยุตธาตุ ประกอบธาตุทั้ง ๖ เป็นหนึ่งเดียว แล้วให้บริกรรมทำลายธาตุทั้ง ๕ ให้สลายไป ยกเว้นวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นธาตุรู้ ท่านกล่าวว่าทำให้เกิดอิทธิวิธี
    ขรัวท่านโต กล่าวต่อไปว่า การดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ มิใช่จะทำได้ทุกคนบุคคลไหนมีวาสนาบารมีมาทางนี้ ข้าฯก็จะมาสอนให้เอง เหมือนอย่างที่ข้าฯมาสอนให้ท่านในครั้งนี้
    ขรัวท่านโต ยังกล่าวสอนพระอาจารย์สุกอีกว่า ฤทธิ์ทั้งหลายมีเกิด แล้วก็มีเสื่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอน ย่อมแปรปรวนไป ถ้าบุคคลใดยังเป็นปุถุชนอยู่ ไม่รู้ความจริงแห่งพระไตรลักษณ์ ย่อมติด ย่อมหลง อยู่ในฤทธิ์ ไม่สามารถหลุดจากกิเลส ไปพระนิพพานได้ ฉะนั้นขอให้ท่านพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ตลอดเวลา อย่าไปติด ไปหลงอยู่ในฤทธิ์ให้บำเพ็ญเพียรภาวนา ไปสู่นิพพานเถิด
     พระอาจารย์สุก ทรงฟังคำพร่ำสอนของ ขรัวท่านโต พระอริยเถราจารย์ ในสมาธินิมิตแล้ว พระองค์ท่านก็มั่นเพียรทำตามที่พระอริยเถราจารย์บอก และภายในเวลา ๓ ราตรี พระองค์ท่านก็บรรลุวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ได้สำเร็จฤิทธิบางอย่าง แต่ยังเป็นฤทธิ อย่างปุถุชน ยังมีหวั่นไหวบ้าง
     ถึงราตรีที่ ๔ ขรัวท่านโต ก็มาปรากฏในสมาธินิมิต ของพระอาจารย์สุกอีก ด้วยท่านทราบว่า พระอาจารย์สุก สำเร็จวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุแล้ว และในสมาธินิมิตราตรีนั้น ขรัวท่านโต กล่าวกับพระอาจารย์สุกว่า วิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ที่เป็นไปในทางโลกีย์ ท่านก็สำเร็จแล้วต่อไปข้าฯ จะสอนวิชาดำเนินธาตุ ทำลายธาตุ ที่เป็นไปในทางโลกุตรธรรม นำทางท่านไปถึงมรรค ผล นิพพาน ตามคำสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ให้ท่านดำเนินตั้งสภาวะความเป็นไป แห่งปฐวีธาตุ ธาตุดิน ๑ อาโปธาตุ ธาตุน้ำ ๑ เตโชธาตุ ธาตุไฟ ๑ วาโยธาตุ ธาตุลม ๑ อากาสธาตุ ธาตุอากาศ ช่องว่างภายในกาย ๑
วิญญาณธาตุ ธาตุวิญญาณ คือความรู้อะไรๆได้ ๑ พระอริยเถราจารย์กล่าวสอนต่อไปอีกว่า ในธาตุทั้ง ๖ นั้น

     ปฐวีธาตุ ธาตุดิน เป็นอย่างไร ปฐวีธาตุ ธาตุดินมี ๒ อย่างคือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ภายใน ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
ภายนอกปฐวีธาตุ ธาตุดิน ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายใน เป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปที่มีใจครอง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน รูปในที่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายใน  ปฐวีธาตุ ธาตุดินภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอก เป็น อนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปที่ไม่มีใจครองได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ทั้งหมดนี้เรียกว่า ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นธรรมชาติภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปที่ไม่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้ก็เรียกว่าปฐวีธาตุ ธาตุดินภายนอก ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ
 
     อาโปธาตุ ธาตุน้ำ เป็นอย่างไร อาโปธาตุ ธาตุน้ำนั้นมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุ  ธาตุน้ำภายใน อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก อาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายใน เป็นอย่างนี้คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปข้างในมีใจครอง ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ทั้งหมดนี้เป็นความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน
เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปข้างในมีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายใน อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก ภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก รูปข้างนอกไม่มีใจครอง ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รส ใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งน้ำอ้อย น้ำที่อยู่ใน พื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ เป็นธรรมชาติที่มีความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความ
เหนียว ธรรมชาติที่เหนียวธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปไม่มีใจครองภายนอก แม้อย่างอื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายนอก อาโปธาตุ ธาตุน้ำภายภายใน อาโปธาตุธาตุน้ำภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกันอย่างเดียวกันนี้เรียกว่า อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ

     เตโชธาตุ ธาตุไฟเป็นอย่างไร เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็น อุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปมีใจครอง ได้แก่ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่เป็นเหตุให้เผาไหม้ เตโชธาตุที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี นี้เรียกว่าความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปรูปมีใจครอง ข้างใน แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่นธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่นธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก คือรูปไม่มีใจครอง ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือความร้อนธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก รูปไม่มีใจครอง แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายนอก เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกันนี้เรียกว่า เตโชธาตุ หรือธาตุไฟ

     วาโยธาตุ ธาตุลมเป็นอย่างไร วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือ ความพัดไปมาธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายในเฉพาะตนเป็นอุปาทินนกรูปข้างใน คือรูปมีใจครอง ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน แม้อย่างอื่นใดมีอยู่นี้เรียกว่า วาโยธาตุ ธาตุลมภายในวาโยธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอกเป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก หรือรูปไม่มีใจครอง ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุฑ ลมใบตาล ลมเป่าปากหรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนก แม้อย่างอื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่าวาโยธาตุ ธาตุลม

      อากาศธาตุ คือช่องว่าง เป็นอย่างไร อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นอย่างนี้คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่างธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของ
เคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนกรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าอากาศธาตุ หรือช่องว่างภายใน อากาสธาตุภายนอก เป็นอย่างนี้คือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่าช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนกรูปข้างนอก นี้เรียกว่า อากาสธาตุช่องว่างภายนอก อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า เป็นหมวดเดียวกัน กองเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ คือช่องว่าง

      วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรๆได้ เป็นอย่างนี้คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ สภาวะธรรม หลักแห่งความเป็นไปเอง เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖ ประการ คือ ความเป็นไปเอง ๖ ประการ นี้เป็นการดำเนินธาตุ ตั้งธาตุ ฝ่ายโลกุตรธรรม

      ขรัวท่านโต กล่าวสอนต่อไปว่า ข้าฯจะบอกวิธีทำลายธาตุทั้ง ๖ เพื่อกรุยทางไปสู่อมตธรรม ท่านว่าธาตุอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบนั้นมี ๖ ประการ

๖ ประการ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น
คือปฐวีธาตุ(ดิน)
อาโปธาตุ(น้ำ)
เตโชธาตุ(ไฟ)
วาโยธาตุ(ลม)
อากาสธาตุ(ช่องว่าง)
วิญญาณธาตุ ความรู้อะไรๆได้
      ธาตุ ๖ ประการอัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่าน (หมายถึงพระอาจารสุก) เป็นผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ จะพิจารณาอยู่อย่างไรเล่า จึงจะหลุดพ้น จากอาสวะกิเลส ไม่ยึดมั่น ถือมั่นในธาตุทั้ง ๖ อันเป็นภายใน ภายนอกนี้ ฯ ขรัวท่านโต กล่าวว่า พระพุทธเจ้า ตรัสสอนไว้ว่า ให้ภิกษุทั้งหลาย ครอง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ ธาตุรู้อะไรๆได้ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ให้ครองอัตตา คือความมีตัวตน โดยอาศัย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ ช่องว่าง วิญญาณธาตุ คือความรู้อะไรๆได้ เมื่อท่านครองธาตุ โดยความไม่มีตัวตน ท่านจึงจะทราบชัดเจนว่า จิต ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น และจะทราบชัด ไปอีกว่าจิตของท่านกำลังจะหลุดพ้น หรือหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้น เพราะสิ้นกิเลส ดับคืนกิเลส ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ และอนุสัย คือความตั้งใจ
และความปักใจมั่น โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ ได้ จะทำให้ท่านหลุดพ้นโดยเร็วพลัน เสร็จสิ้นคำกล่าวสอน ขรัวท่านโต ก็หายกลับไป จากนั้นพระอาจารย์สุก ก็ทรงออกจากสมาธิ ครั้งนั้นพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ ระลึกถึงคำสอนของขรัวท่านโต อยู่เสมอเนื่องๆว่า การยึดติดธาตุ ๖ และฤทธิ์ต่างๆไม่สามารถนำทาง
พระองค์ท่านไปสู่ทางพระนิพพานได้ ถ้ายังไปหลงติดอยู่ ตามคำที่พระอริยเถราจารย์


ติดตามต่อนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2012, 09:51:26 am โดย เสกสรรค์ »
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
    • ดูรายละเอียด
สั่งสอนอบรมมา แต่นั้นมาพระองค์ท่านก็ ไม่ทรงติดอยู่ในฤทธิ์ ในอำนาจต่างๆ ทรงเห็นเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน และทรงทบทวนดำเนินการตั้งธาตุ ๖ และทำลายธาตุ ๖ ทั้งทางอิทธิ และทางโลกุตรธรรม

      คืนต่อมาขรัวท่านโต ท่านก็มาสอนเรื่องธาตุ ในสมาธิจิตของพระอาจารย์สุกอีกโดยกล่าวว่า สิ่งที่เป็นธาตุยังมีอีก เช่น จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานะธาตุ ชิวหาธาตุ กาย

     ธาตุ มโนธาตุ ท่านกล่าวว่าในธาตุเหล่านี้ มีธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุอยู่ด้วย
     ธาตุไฟ มีมากในจักขุ คือตา เมื่อตาเห็นรูปที่ดีก็ตาม เห็นรูปที่ทรามก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนเปลวไฟ แล็บหายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในรูป ที่มากระทบจักขุ ก็จะหายไป
      ธาตุลม มีมากในหู ได้ฟังเสียงที่ดีก็ตาม ได้ฟังเสียงที่ชั่วก็ตาม ให้ทำเหมือนลมพัดผ่านไป ความยึดมั่นในเสียงที่ดี และร้าย ก็ไม่มี
      ธาตุดิน มีมาก ในจมูก ได้กลิ่นที่ดีก็ตาม ได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนดินสลายไป ความยึดมั่นถือมั่นในกลิ่น ดี ชั่ว ก็จะสลายไป
      ธาตุน้ำ มีมาก ในลิ้น ถ้าลิ้มรสที่ดีก็ตาม ได้ลิ้มรสที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนสายน้ำไหลไป ความยึดมั่นถือมั่น ติดในรส ก็สลายไป

       ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มี มากในกาย ได้สัมผัสดีก็ตาม ได้สัมผัสชั่วก็ตาม ให้ทำจิต เหมือน ธาตุทั้ง๔ สลายไป ความยึดมั่นถือมั่น ในสัมผัส ก็จะสลายไป อากาศธาตุ มีมากในมโนธาตุ และวิญญาณธาตุ รู้ธรรมารมณ์ที่ดีก็ตาม รู้ ธรรมารมณ์ที่ชังก็ตาม ให้ทำจิตเหมือนอากาศสลายไป จะทำให้จิตเป็นกลางใน สภาวธรรมทั้งที่ดี และไม่ดี จะทำให้ท่านหลุดพ้นจากอายตนะ ๖ และธาตุทั้ง ๖ คลายความยึดมั่น ถือมั่นไปสู่ทางนิพพานแล

คืนต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกธาตุ ๖ ประการ ขึ้นพิจารณา ไปสู่พระไตรลักษณะญาณ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ในธาตุทั้ง ๖ จิตของพระองค์ท่านก็ดำเนินทางไปสู่ภูมิแห่งวิปัสสนากรรมฐาน เจริญทางมรรคธรรม ทางผลธรรม เพื่อถึงเมืองแก้วอมตมหานิพพานธรรม ต่อไป กาลต่อมาพระองค์ท่านก็ไม่ยึดติดอยู่ในธาตุทั้ง ๖ และวิชาอิทธิฤทธิ์ ปล่อยวางได้ยิ่งๆขึ้นไป จิตของพระองค์ท่าน ก็หลุดพ้นขึ้นไปเรื่อยๆ


ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร มหาเถรเจ้า ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน )
เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 ( วัดพลับ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2012, 05:15:20 pm โดย vichai »
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ท่านมาเรียนวิชชาดําเนินธาตุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด

      วิชชาการ ด้านการศึกษา ของบรมครู
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
 st12 st12 st12 st12   thk56 thk56 thk56

ขอบพระคุณท่านเสกสรรอย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด

     สาธุธรรม ท่านแอดแมก

        สองสามวันนี้ มาช่วย โพสถ์ แสดง หน่อยครับ ผู้ดูแล  ไม่อยู่

         มาช่วยกันทํากระทู้หน่อย สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
สาธุครับท่าน aaaa ขอบพระคุณและยินดีครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ