ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิต ซ้อน จิต กรรม ซ้อน กรรม มีใครรู้พออธิบายบ้างคะ  (อ่าน 4122 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จิต ซ้อน จิต กรรม ซ้อน กรรม มีใครรู้พออธิบายบ้างคะ

 ได้ยินในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม มักพูดกันบ่อย แต่พอสอบถามก็อธิบายได้ไม่กระจ่างอยากเรียนถามผู้รู้ในห้องธรรมที่นี่คะว่า มีความหมายอย่างไร คะ

   :c017:
บันทึกการเข้า

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
inception น่าจะเป็นคำตอบของจิตซ้อนจิต

   ตัณหาซ้อนตัณหา อะไรประมาณนี้ พูดง่าย ๆ คืออยู่ในวงจร แต่ไม่รู้ตัว คะ

   เหมือน คนนอนฝันแล้วซ้อนฝันเข้าไปอีกเรื่อง และก็ซ้อนเข้าไปอีก.... จนหาอะไรไม่ได้ และไม่รู้ว่า อะไรจริง อะไรเท็จ ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ซ้อนกันไปอย่างแนบเนียน

   

   กรรมซ้อนกรรม ก็คือ ยิ่งทำ ก็ยิ่งผูก ประมาณนี้กระมังคะ

 :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



                       อ้างอิง
                       บทเรียนอภิธรรม หลักสูตร เรียนทางอินเตอร์เน็ต ตอนที่ ๒
                       อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
                       http://www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



                  อ้างอิง
                  บทเรียนอภิธรรม หลักสูตร เรียนทางอินเตอร์เน็ต ตอนที่ ๒
                  อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
                  http://www.buddhism-online.org/Section02A_06.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
จิต ซ้อน จิต กรรม ซ้อน กรรม มีใครรู้พออธิบายบ้างคะ

 ได้ยินในกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม มักพูดกันบ่อย แต่พอสอบถามก็อธิบายได้ไม่กระจ่างอยากเรียนถามผู้รู้ในห้องธรรมที่นี่คะว่า มีความหมายอย่างไร คะ

   :c017:
       
        กรุณาอ่านและทำความเข้าใจบทความที่นำเสนอให้กระจ่าง...นะขอรับ
        หากจะอธิบายเรื่องจิตด้วยพระอภิธรรมแล้ว คำว่า "จิตซ้อนจิต หรือ กรรมซ้อนกรรม"
        เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะจิตเกิดได้ที่ละขณะ หรือทีละดวง เท่านั้น
        ในเมื่อดวงแรกยังไม่ดับ ดวงที่สองจะเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด
        ส่วนเรื่องกรรมนั้น จิตทุกดวงจะมีสัญญากรรมอยู่แล้ว ทั้งบุญและบาป
        เมื่อจิตดวงหนึ่งดับ จิตอีกดวงจะเกิดขึ้นทันที พร้อมทั้งรับถ่ายทอดสัญญากรรมมาจากจิตดวงแรก
        จิตจะมีลักษณะอย่างนี้ตลอดไป


        ปัญหามีอยู่ว่า ผมไม่ทราบจุดประสงค์ของคน ที่กล่าวสำนวน "จิตซ้อนจิต หรือ กรรมซ้อนกรรม"
        ว่าต้องการจะสื่ออะไร หากจะคุยเพื่อสร้างอรรถรสทางธรรม ก็คงต้องคาดเดากันไป
        เนื่องจากจิตเกิดดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมาก จนดูไม่ทัน ภาษาอภิธรรมใช้สำนวนว่า
        "ภาวะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นกระแส(ไม่ขาดสาย) ท่านเรียกว่า สันตติ"
        "สันตติ"นี้ ทำให้รู้สึกว่า จิตไม่เคยดับเลย มีความสืบเนื่อง และดูเหมือนว่า "มันซ้อนกันอยู่"
        ในส่วนของคำว่า กรรมซ้อนกรรม ก็น่า่จะมีเหตุมาจาก "สันตติ" นั่นเอง


        คีย์เวิร์ดของกระทู้นี้ น่าจะเป็นข้อความนี้ครับ
        ปัญหาที่น่าสงสัย คือ เราสั่งสมกรรมไว้ได้อย่างไร มีใครจดบันทึกบัญชีกรรมของเราไว้ เหมือนบัญชีเงินฝากในธนาคารหรือไม่
        คำตอบ ก็คือ บุญบาปที่เราทำไว้ ไม่ต้องมีใครมาติดตามจดบันทึกไว้ เพราะจิตมีอำนาจวิเศษอย่างหนึ่งในการสั่งสมบุญและบาป เมื่อเราได้กระทำกรรมใด ๆ ลงไปไม่ว่าจะดีหรือชั่ว แม้จะนานสักเพียงใดก็ตาม จะกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ผู้กระทำย่อมจะต้องได้รับผลของบุญ และบาปเมื่อกรรมมีโอกาสส่งผล

        ถึงแม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ผลกรรมที่ได้กระทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นบุญ หรือเป็นบาป ก็จะไม่สูญหายไป พร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่ ่มีเหตุปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แก่จิตดวงต่อไปเช่นกัน


        ขอปิดท้ายด้วยพุทธพจน์ จาก "พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต" ความว่า
        "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต"
        "ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ"
        "ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ"
        "ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ"

         :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2012, 02:26:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ให้ดีนะครับ
 แต่  คอนเซ้บ ของ อินเซ็บชั่น ผมพอจะเข้าใจอยู่

     จิต ถึงแม้ เกิดเป็นดวง เป็นขณะ แต่ิจิต ก็คือ เจตนา ต่อเนื่อง เป็นอุปนิสัย เพื่อสร้างกรรมอย่างต่อเนื่อง ในความเป็นจริง ถ้าเราเข้าใจว่า จิตเสวยวิบากดวงนี้ ไมเ่กี่ยวกับดวงต่อไป ก็น่าจะไม่ทุกข์ ใช่หรือไม่ ?

     แต่ ถ้าความเข้าใจของผมแล้ว น่าจะหมายถึง จิตที่ คิด พูด ทำ ในสิ่งหนึ่งที่คิดว่าถูก แต่ก็มีจิต อีกชุดหนึ่ง คิดพูด ทำ ต่อ เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง ที่กล่าวว่า ทิฏฐิ เหนือ จิต ประมาณนี้

     :s_hi:
บันทึกการเข้า