ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เช็คอย่างไร ที่ตนเอง ว่าจิต เราเป็นสมาธิ ระดับไหน?  (อ่าน 8975 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เช็คอย่างไร ที่ตนเอง ว่าจิต เราเป็นสมาธิ ระดับไหน?

 อยากทราบว่า จิตของเราเป็น สมาธิ ระดับ ขณิกะสมาธิ เป็นอย่างไร
                 
 อยากทราบว่า จิตของเราเป็น สมาธิ ระดับ อุปจาระสมาธิ เป็นอย่างไร
             
 อยากทราบว่า จิตของเราเป็น สมาธิ ระดับ อัปปนาสมาธิ เป็นอย่างไร
                 
  ขอบคุณมากครับ
  :49: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวัสดีครับ พี่เสก ถามคำถามเชิงวิชาการ นะครับ คิดว่าน่าจะหาคำถามที่ถามง่าย แล้วแต่ไม่มีใครตอบ ผมก็รออ่านอยู่ 

    รู้ได้อย่างไรว่า จิต เราเป็น สมาธิ รู้ได้คือความที่จิตของเราไม่ซัดส่ายไปในเรื่องอื่น มีอารมณ์ต่อเนื่องอารมณ์เดียวครับ อำนาจสมาธิ มี ผลคือ ฉันทะ และ ปราโมทย์ ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง สงบระงับเป็นพิเศษครับ

   :coffee2:
บันทึกการเข้า

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า เราเอง น่่าจะเข้าใจนะครับ ว่าเราเองเสียสมาธิ ลักษณะของการเสียสมาธิ น่าจะเป็นการฟุ้งซ่าน นอนไม่หลับ คิดมาก บ้า ๆ บอ ๆ นะครับ อันนี้ผมว่า สูญเสียความเป้นตัวเอง

   :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตรวจสอบด้วยตนเอง
 
  ขณิกะสมาธิ หยาบ และ กลาง ตรวจสอบได้ว่า มีความตั้งมั่นอยู่กับ  สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (วิตก)  และคงอยู่อย่างนั้นได้อย่างต่อเนื่องชั่วระยะเวลาหนึ่ง
 
    อาการที่มีขณิกสมาธิ คือ จิตแจ่มใส ใจเบิกบาน รับรู้ได้ไว มีสติตื่นอยู่ รู้ตัวทั่วพร้อม อันนี้เป็นคุณสมบัติของขณิกะสมาธิ
 
 


 
    ขณิกะสมาธิ ขั้นละเอียด รับรู้วิตก สามารถจับพระลักษณะ ได้ชัดมีวิตก  คือพระลักษณะ เข้าถึง ปีติคืออิ่มใจ และ มีความปราโมทย์  ยินดีในความสงัดที่สงบระงับ จากนิวรณ์เบื้องต้น คือ คลายลงจากนิวรณ์  แต่นิวรณ์ยังไม่หมด  สำหรับผู้ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  เบื้องต้นก็จะได้ ขณิกะสมาธิขั้นละเอียด ตั้งแต่ห้องที่ 1 พระธรรมปีติ
 
   
 

อุปจาระสมาธิขั้นหยาบ และขั้นกลาง   ผู้ฝึกภาวนาจะเข้าถึงพระรัศมี เป็นอุคคหนิมิตภายในอารมณ์แน่วนิ่ง  กับอารม์นั้น นิวรณ์ทั้งดับ 5 ดับหายไปเป็นช่วง เีดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ  สลับกันไปเป้นบางครั้ง แต่ความปราโมทย์จะเป็นพลังผลักดัน ให้กาย และ  จิตมีความสุข
 
    สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ผู้ฝึกจะได้ตั้งแต่ห้องพระธรรมปีติ และห้องพระยุคลธรรม 6 เป็นต้นไป
 
 

อุปจาระขั้นเต็ม ( อุปจาระฌาน ,อุปจาระขั้นละเอียด)
 
    ผู้ฝึกภาวนาเมื่อปฏิบัติมาได้ถึง ตรงนี้จะมีความสุขที่แนบแน่น  มีธรรมสถิตย์เป็นสุขทิพย์ฝ่ายพุทธ เรียกว่าสุขนิโรธธรรม ถ้าฝึกโพชฌงค์ 7  มาโดยตรงเรียกว่า ผลสมาบัติ แต่ถ้าเป็นการฝึกพุทธานุสสติ เรียกว่า  สุขขั้นประณีต สุขส่วนนี้แตกต่าง จากสุขที่มีเป็นสมาบัติทั่วไปเพราะมี  พระพุทธเจ้าปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้ง ในขณะนั้น ฝึกส่วนนี้มาถึงตรงนี้  ละสังโยชน์ สามประการ สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จัดเป็นสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี
 
 

อัปนาสมาธิ ชั้นหยาบ มี 5 คู่
 
     มีอคุคหนิมิิตเป็นอารมณ์ มีจิตตรงวางด้วยเอกัคคตา อุเบกขา เป็นบางขณะ  มีเกิดดับหายเป็นช่วง เนื่องด้วย อุคคนิมิต เปลี่ยนสลับกับ ปฏิภาคนิมิต  เป็นบางช่วงบางตอน จิตตั้งมั่นใน องค์แห่ง ฌาน ทั้ง 5 มีอุเบกขาเป็นกำลัง   แต่ยังไม่มั่นคง
 
    จิตเข้าไปเป็นอัปปนาอย่างหยาบ 5 คู่ ผ่านลำดับตั้งแต่ ชั้นหยาบ ไปสู่ชั้นกลาง และชั้นประณีิต
    1.วิตก เกิด
    2.วิตก ดับเป็นอุเบกขา
    3.วิตกเกิด วิจาร เกิด
    4.วิตกดับ วิจารดับ เป็นอุเบกขา
    5.ปีติเกิด
    6.ปีติดับ เป็นอุเบกขา
    7.สุขเกิด
    8.สุขดับ เป็นอุเบกขา
    9.เอกัคคตา เกิด
    10.เอกัคตา รวมกับ อุเบกขา
 
 การเกิดส่วนนี้จัดเป็นการเข้าอัปปนาจิตแบบ อนุโลม ชัดเจนด้วย วสี
 
 

อัปปนาสมาธิ ขั้นกลาง มี 5 คู่
     
   มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณื มีจิตวางด้วยเอกัคคตา และอุเบกขาธรรม ต่อเนื่องจากขั้นหยาบ ทวนกลับเป็นอนุโลม และ ปฏิโลม
     จิตเข้าเป็นอัปปนาอย่างกลาง 5 คู่ผ่านลำดับ ขั้นหยาบ ไปสู่ขั้นกลาง และขั้นประณีต
    1.เอกัคคตา รวมกับ อุเบกขา ดับ
    2.เอกคัคตา เกิด
    3.สุขเกิด
    4.สุขดับ
    5.ปีติเกิด
    6.ปิีติดั้บ
    7.วิตกเกิด วิจารเกิด
    8.วิตกดัีบ วิจารดับ
    9.นิมิตเกิด             
   10.นิมิตดับ
 ส่วนนี้เรียกว่า ยถาภูตญาณสมาบัติ เป็นไปตามกลไกของจิตที่เริ่มเป็นสมาธิ มีวสี
 

อัปปนาสมาธิขั้นละเอียด
 
     สำเร็จปฐมฌาน เมื่อจิตของผู้ภาวนา ๆ ผ่านขั้นหยาบและขั้นกลาง นิมิต  ที่แท้จริงก็จะปรากฏเด่นชัดมิได้หายไป รู้ชัดจ้งแจ่มใสในนิมิตนั้น นิมิต  ที่ปรากฏไม่เรียกว่า วิตก ไม่เรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต  ในที่นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ในปฐมฌานประกอบด้วย องค์ 5 ประการ คือ
 
    1.วิตก 2.วิจาร 3.ปีติ 4. สุข 5. เอกัคคตา ธรรมทั้ง 5  นี้มีอยู่ในนั้นมิได้จางขาดหาย ถ้าฝึกพระอานาปานสติ ปฐมฌาน นี้เรียวกว่า  วิสุทธิธรรม มีระดับตั้งแต่ขั้นหยาบ ขั้นกลาง และขั้นประณีต เช่นกัน  แต่เห็นว่าไม่ควรอธิบายในที่นี้ ตรงนี้จับต้องได้ด้วยจิต เรียกว่า  รูปปรมัตถ์ จึงได้จัดเป็น รูปฌาน เพราะเหตุนี้
 
     ก็พัฒนาไปเรื่อย เป็น ทุติยฌาน เพราะดับวิตกวิจาร
                      เป็น ตติยฌาน เพราะดับ ปีติ
                      เป็น จตุตถฌาน เพราะดับ สุข
                      เป็นปัญจมฌาน เพราะได้วางอุเบกขา เป็นสมาบัติ
 
 
  อธิบายพอให้เข้าใจแต่เพียงเท่านี้ ใครอยู่ตรงไหนก็โปรดทบทวนตามนี้ นะจ๊ะ
 
   เจริญพร / เจริญธรรม
 
    ;)
     
 
 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนาด้วยครับ อ่านคำตอบของพระอาจารย์ ทราบว่ามีความพิศดารที่เราไม่ทราบอยู่หลายส่วนเลยครับ ไม่เคยได้อ่านที่ไหนเลยแบบนี้ ขอบคุณมากครับ กับธรรมะยามเช้าในวันพระ ครับ

  :25: :c017:

 
บันทึกการเข้า

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุึโมทนา สาธุ อ่านแล้วมองเห็นภาพเลยคะ แต่ทำไมหัวข้อนี้พระอาจารย์ไม่เน้นข้อความคะ

 :58: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ อ่านแล้วรู้สึกได้เลยว่า พระอาจารย์มีความรู้เรื่องดีมากเลยครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

  :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านคำตอบที่พระอาจารย์ ตอบแล้ว รู้สึกได้เลยว่า ความรู้ที่เรารู้นั้นไม่พอในการภาวนาจริง ๆ นะครับเพราะเวลาภาวนาเรื่อง สมาธิ นี้ไม่สามารถรู้ได้แบบเป็นขัี้นตอนอย่างนั้น นับว่าเป็นครูที่มีความรู้จริง ๆ ครับ

   :25: :25: :25:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 11, 2012, 12:15:03 pm โดย เสกสรรค์ »
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลูกศิษย์ รอพระอาจารย์ถ่ายทอด สมาธิขั้นสูงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ  ครับ อ่านแล้วเข้าใจเลยครับ แต่ก็บางส่วนก็ยยังไม่ถึงครับ จึงยังไม่ทราบจะไปต่ออย่างไรครับ
ถ้าได้มีโอกาสเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์ น่าจะได้ประโยชน์มากครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นคำตอบที่ชัดเจนมากครับ แต่พระอาจารย์ไม่จัดรูปแบบอักษร เหมือนกระทู้อื่น ๆ แสดงว่าไม่ต้องการให้เด่นแต่กระทู้นี้ตอบโจทย์ให้ผมในเรื่องสมาธิได้หลายข้อเลยครับ โดยเฉพาะความรู้เรื่องสมาธิกรรมฐานนี้ ตามอ่านมาเห็นว่าพระอาจารย์ไม่ใช่ ครูอาจารย์อย่างที่คิดว่าทั่วไปแล้วครับ เพราะยิ่งอ่านติดตามจะเห็นได้ว่า ตอบรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องกรรมฐานได้มากกว่า ครูอาจารย์ที่เห็นกันทั่วไป ได้อย่างลึกเลยครับ โดยเฉพาะกรรมฐานที่สอนยังคงเปรียะด้วยหลักปฏิบัติ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คาดว่าความรู้ไม่ธรรมดาเลยครับจากการติดตามมาเป็นเวลาปีกว่า ๆ ทุกครั้งที่พระอาจารย์โพสต์เนื้อหา ก็จะตามอ่านหลายรอบเลยครับ เป็นคำตอบที่ผมเองคิดไม่ถึงจริง ๆ ในการตอบของท่าน

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือการเช็ค วิธีนี้ ต้องปฏิบัติได้ด้วยนะครับ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ ก็เช็คไม่ได้
อันนี้คือเช็คตัวเอง .... พอจะเข้าใจครับ

  แล้วถ้าเป็นเช็คคนอื่น ทำอย่างไรครับ สมมุติ เพื่อนผมบอกผมว่า เขาภาวนาได้ ฌาน 1 อย่างนี้เป็นต้นเราจะมีวิธีตรวจเช็คอย่างไร ถึงจะรู้ได้ครับ

   :c017:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ใช่แล้ว
คือการเช็ค วิธีนี้ ต้องปฏิบัติได้ด้วยนะครับ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ ก็เช็คไม่ได้
อันนี้คือเช็คตัวเอง .... พอจะเข้าใจครับ

  แล้วถ้าเป็นเช็คคนอื่น ทำอย่างไรครับ สมมุติ เพื่อนผมบอกผมว่า เขาภาวนาได้ ฌาน 1 อย่างนี้เป็นต้นเราจะมีวิธีตรวจเช็คอย่างไร ถึงจะรู้ได้ครับ

   :c017:


ใช่แล้วจ้า เป็นการเข็คตนเอง ก่อน ควรจะต้อง โจทย์ตนเองก่อน ก่อนโจทย์ผู้อื่น

ที่นี้การโจทย์ผู้อื่นได้นั้น เราเองก็ต้องมีความสามารถตรงนั้นด้วย ถึงจะไปวัดเขาได้

แต่การไปวัดคนอื่นนั้น จัดได้ว่า เป็น ริษยา จะมาก จะน้อยก็ ริษยา เพราะต้องการเปรียเทียบ เป็น มานานุสัย มานะ อาศัย ริษยา จึงต้องคอยเปรียบเทียบ ดังนั้นส่วนนี้เป็นธรรมดาของปุถุชน พระโสดาบัน ถึง พระอนาคามี ก็ยังมีอยู่ ไม่มีแต่พวกเดียว คือ พระอรหันต์

    ดังนั้นแนะนำ ไม่จำเป้นต้องเปรียบเทียบกับคนนั้น คนนี้ แต่ให้ตรวจสอบเราเองก็เพียงพอแล้ว

  เจริญพร / เจริญธรรม


  ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2012, 01:11:16 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นคำตอบที่ชัดเจนมากครับ แต่พระอาจารย์ไม่จัดรูปแบบอักษร เหมือนกระทู้อื่น ๆ แสดงว่าไม่ต้องการให้เด่นแต่กระทู้นี้ตอบโจทย์ให้ผมในเรื่องสมาธิได้หลายข้อเลยครับ โดยเฉพาะความรู้เรื่องสมาธิกรรมฐานนี้ ตามอ่านมาเห็นว่าพระอาจารย์ไม่ใช่ ครูอาจารย์อย่างที่คิดว่าทั่วไปแล้วครับ เพราะยิ่งอ่านติดตามจะเห็นได้ว่า ตอบรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องกรรมฐานได้มากกว่า ครูอาจารย์ที่เห็นกันทั่วไป ได้อย่างลึกเลยครับ โดยเฉพาะกรรมฐานที่สอนยังคงเปรียะด้วยหลักปฏิบัติ ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คาดว่าความรู้ไม่ธรรมดาเลยครับจากการติดตามมาเป็นเวลาปีกว่า ๆ ทุกครั้งที่พระอาจารย์โพสต์เนื้อหา ก็จะตามอ่านหลายรอบเลยครับ เป็นคำตอบที่ผมเองคิดไม่ถึงจริง ๆ ในการตอบของท่าน

   :25: :25: :25:


   ถูกต้องไม่อยากให้ข้อความเด่นมาก เพราะเป็นเรื่องที่เริ่มจะหนักขึ้นในเนื้อหา จึงไม่ได้เน้นอะไร แต่อันที่จริงก็ไม่ได้เน้นอะไร เป็นแต่ตอบรวม ๆ ไว้เช่นนั้น

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา