ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเอิบอิ่มใจ อันเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของฌาน  (อ่าน 11699 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความเอิบอิ่มใจ อันเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของฌาน เป็นผลที่เกิดขึ้นจากความสงบของจิต ปีตินี้จะเกิดแก่คนทุกคนที่ได้ทำสมาธิ แม้เมื่อจิตเริ่มสงบ ยังไม่ได้สมาธิ ปีติบางอย่างก็เกิดขึ้นแล้ว เช่น มีอาการเหมือนกับมดหรือไรมาไต่บนใบหน้า หรือตัวเบา เป็นต้น ลักษณะของอาการปีติมีมาก เกิดแก่นักปฏิบัติเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ทั้งนี้เพราะบุญบารมีที่สั่งสมมาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน และเพราะวิธีปฏิบัติของแต่ละท่านไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป แล้วปีติมี 5 อย่าง คือ

1. ขุททกาปิติ ปิติเล็กน้อย
2. ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ
3. โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ
4. อุพเพงคาปิติ ปิติโลดโผน
5. ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน

ขุททกาปิติ ปิติเล็กน้อย

เช่น เกิดขนลุกชูชันขึ้น เกิดน้ำตาไหล บางครั้งก็เกิดขนลุกซู่ทั่วร่างกาย บางทีก็เกิดผมตั้งชูชันขึ้น แต่เกิดนิดหน่อย แล้วก็ดับไป นี้คือลักษณะของขุททกาปิติ ซึ่งเกิดแก่นักปฏิบัติบ่อย แต่ไม่ใช่ทุกท่าน

ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ

เช่น รู้สึกเสียวแปลบขึ้นตามร่างกายเหมือนสายฟ้าแลบ แต่พักหนึ่งก็ดับไป หรือบางครั้งเกิดคันตามใบหน้าเหมือนมีมดหรือมีไรมาไต่ หรือเหมือนกับมีใยแมงมุมมาพาดบนใบหน้า บางทีเนื้อตัวกระตุก หรือบางทีกระดูกสันหลังกระตุก บางทีเส้นกระตุก ปิติชนิดนี้มักจะบังเกิดแก่นักปฏิบัติทุกท่าน แต่อาการเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง

โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ

ปิติเช่นนี้จะรู้สึกซู่ซ่าแรงกว่าขณิกาปิติ คือแรงกว่าสายฟ้าแลบ มีอาการเหมือนกับคลื่นกระทบฝั่ง บางทีเหมือนกับคนนั่งเรือไปในมหาสมุทรถูกคลื่น ทำให้รู้สึกโคลงเคลงเหมือนจะล้ม ลักษณะเช่นนี้ ถ้าใครเกิดปิติเช่นนี้ขึ้น บางทีจะรู้สึกรำคาญ เพราะว่าขณะที่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่นั้น ตึกทั้งหลังหรือแม้แผ่นดินที่ตนเดินหรือนั่งบางครั้งอยู่จะรู้สึกตะแคง บางท่านเข้าใจว่าปิตินั้นต้องรู้สึกอิ่มใจ แต่นี้ไม่เสมอไป เช่น โอกกันติกาปิตินี้ มักจะรู้เฉยๆมากกว่า แต่ปิติข้อสุดท้าย คือ ผรณาปิติมีความอิ่มใจอย่างเห็นได้ชัด

อุพเพงคาปิติ ปิติโลดโผน

ปิตินี้มีลักษณะทำให้ใจฟู บางทีทำให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นเว้นจากเจตนาก็มี เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือบางท่านมีตัวลอยขึ้นเหนือพื้น ซึ่งยังปรากฎว่ามีอยู่ในหมู่นักปฏิบัติในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่าง ประเทศ

ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน

คือ ทำให้รู้สึกซาบซ่านเอิบอิ่มไปทั่วร่างกาย ถ้าใครเคยประสบมาแล้วจะรู้สึกพอใจมาก เพราะรู้สึกซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ปิติประเภทนี้ เป็นปิติโดยองค์ฌานโดยตรง แต่ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึงขั้นฌานบางท่าน ก็เกิดปิติชนิดนี้ได้เหมือนกัน

นี้คือลักษณะของปิติ 5 ประการที่เกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญสมาธิหรือวิปัสสนา แต่ปิติในองค์ฌานเป็นผรณาปิติ คือ ปิติซาบซ่าน ส่วนอีก 4 ชนิด ย่อมเกิดได้แก่ผู้บำเพ็ญสมาธิและวิปัสสนาทั่วไป แม้จะไม่ได้ฌานก็ได้ และไม่ใช่ปิติในองค์ฌาน  เป็นผลที่เกิดขึ้นจากความสงบของจิต ปีตินี้จะเกิดแก่คนทุกคนที่ได้ทำสมาธิ แม้เมื่อจิตเริ่มสงบ ยังไม่ได้สมาธิ ปีติบางอย่างก็เกิดขึ้นแล้ว เช่น มีอาการเหมือนกับมดหรือไรมาไต่บนใบหน้า หรือตัวเบา เป็นต้น ลักษณะของอาการปีติมีมาก เกิดแก่นักปฏิบัติเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ทั้งนี้เพราะบุญบารมีที่สั่งสมมาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน และเพราะวิธีปฏิบัติของแต่ละท่านไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป แล้วปีติมี 5 อย่าง คือ

1. ขุททกาปิติ ปิติเล็กน้อย
2. ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ
3. โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ
4. อุพเพงคาปิติ ปิติโลดโผน
5. ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน

ขุททกาปิติ ปิติเล็กน้อย

เช่น เกิดขนลุกชูชันขึ้น เกิดน้ำตาไหล บางครั้งก็เกิดขนลุกซู่ทั่วร่างกาย บางทีก็เกิดผมตั้งชูชันขึ้น แต่เกิดนิดหน่อย แล้วก็ดับไป นี้คือลักษณะของขุททกาปิติ ซึ่งเกิดแก่นักปฏิบัติบ่อย แต่ไม่ใช่ทุกท่าน

ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ

เช่น รู้สึกเสียวแปลบขึ้นตามร่างกายเหมือนสายฟ้าแลบ แต่พักหนึ่งก็ดับไป หรือบางครั้งเกิดคันตามใบหน้าเหมือนมีมดหรือมีไรมาไต่ หรือเหมือนกับมีใยแมงมุมมาพาดบนใบหน้า บางทีเนื้อตัวกระตุก หรือบางทีกระดูกสันหลังกระตุก บางทีเส้นกระตุก ปิติชนิดนี้มักจะบังเกิดแก่นักปฏิบัติทุกท่าน แต่อาการเหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง

โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ

ปิติเช่นนี้จะรู้สึกซู่ซ่าแรงกว่าขณิกาปิติ คือแรงกว่าสายฟ้าแลบ มีอาการเหมือนกับคลื่นกระทบฝั่ง บางทีเหมือนกับคนนั่งเรือไปในมหาสมุทรถูกคลื่น ทำให้รู้สึกโคลงเคลงเหมือนจะล้ม ลักษณะเช่นนี้ ถ้าใครเกิดปิติเช่นนี้ขึ้น บางทีจะรู้สึกรำคาญ เพราะว่าขณะที่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่นั้น ตึกทั้งหลังหรือแม้แผ่นดินที่ตนเดินหรือนั่งบางครั้งอยู่จะรู้สึกตะแคง บางท่านเข้าใจว่าปิตินั้นต้องรู้สึกอิ่มใจ แต่นี้ไม่เสมอไป เช่น โอกกันติกาปิตินี้ มักจะรู้เฉยๆมากกว่า แต่ปิติข้อสุดท้าย คือ ผรณาปิติมีความอิ่มใจอย่างเห็นได้ชัด

อุพเพงคาปิติ ปิติโลดโผน

ปิตินี้มีลักษณะทำให้ใจฟู บางทีทำให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นเว้นจากเจตนาก็มี เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือบางท่านมีตัวลอยขึ้นเหนือพื้น ซึ่งยังปรากฎว่ามีอยู่ในหมู่นักปฏิบัติในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่าง ประเทศ

ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน

คือ ทำให้รู้สึกซาบซ่านเอิบอิ่มไปทั่วร่างกาย ถ้าใครเคยประสบมาแล้วจะรู้สึกพอใจมาก เพราะรู้สึกซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ปิติประเภทนี้ เป็นปิติโดยองค์ฌานโดยตรง แต่ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ถึงขั้นฌานบางท่าน ก็เกิดปิติชนิดนี้ได้เหมือนกัน

นี้คือลักษณะของปิติ 5 ประการที่เกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญสมาธิหรือวิปัสสนา แต่ปิติในองค์ฌานเป็นผรณาปิติ คือ ปิติซาบซ่าน ส่วนอีก 4 ชนิด ย่อมเกิดได้แก่ผู้บำเพ็ญสมาธิและวิปัสสนาทั่วไป แม้จะไม่ได้ฌานก็ได้ และไม่ใช่ปิติในองค์ฌาน



บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา