ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตปัสสัทธิ กับ จิตสมาธิ เป็นอันเดียวกันหรือไม่ ช่วยอธิบายด้วยคะ  (อ่าน 3766 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จิตปัสสัทธิ กับ จิตสมาธิ เป็นอันเดียวกันหรือไม่  ช่วยอธิบายด้วยคะ

 thk56
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ans1 ans1 ans1

จิตปัสสัทธิ  เป็น จิตที่สงบระงับแล้วส่วนหนึ่ง จัดว่าเป็น อุปจาระสมาธิขั้นกลาง
  ในห้องกรรมฐาน ที่ 2 เรียกว่า พระยุคลธรรม เป็น โสภณเจตสิก ที่ระงับนิวรณ์ได้บ้างแล้ว

จิตสมาธิ เป็น จิตที่แน่วแน่ไปในอารมณ์เดียว ตามวิตก ที่กำหนด ขณิกะสมาธิ ก็เรียกว่า จิตสมาธิ ดังนั้น จิตสมาธิ หมายถึง ตั้งแต่เริ่มมี สติ สัปชัญญะ เต็มที่แล้ว ก็เรียกว่า จิตสมาธิ เริ่มตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ ขึ้นไป

  ผิดถูกอย่างไร ก็ต้องรับฟัง ครูอาจารย์แนะนำ นะครับ

 
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ans1

   มีคำอธิบาย ที่ ดี สำหรับ คุณ painting

  สำหรับ คำถาม นั้น ถ้าตอบ ก็ต้องตอบ แยกประเด็น คือ

       จิต   เรื่องหนึ่ง   เรื่อง ปัสสัทธิ  และ สมาธิ อีกเรื่องหนึ่ง

  ดังนั้น คำว่า จิต ก็คือตัวแทน ผู้ภาวนานั่นเอง จิต ก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ

  ส่วนคำว่า ปัสสัทธิ และ สมาธิ เป็น โสภณเจตสิก ( คือ จิต ที่ประกอบด้วยผลแห่ง กุศล )

     ดังนั้นคำว่า  ปัสสัทธิ และ สมาธิ เป็น ผลของ จิต ที่ผ่านการภาวนา

    รวมคำว่า  จิตปัสสัทธิ  คือ จิตที่สงบรำงับ ลง  ( รำงับ จากนิวรณ์ เบื้องต้น ) จิตปัสสัทธิ เป็นสภาวะ จิตที่เป็นกึ่งของสมาธิ เพราะประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ  ก่อน จะเป็นสุข ดังนั้นท่านที่มี จิตปัสสัทธิ ก็จะชอบเข้าไปนิ่ง หยุดนิ่ง เงียบ ๆ สงบ ราบเรียบ ไม่ปรุงแต่ง เป็นสภาวะ ที่อยู่ กิึ่งปีติ และ สุข เมื่อ ปีิต ระงับ ปัสสัทธิ แต่ยังไม่ได้เป็น สุข เพราะต้องเสวยอารมณ์  คือ จิตปัสสัทธิ ให้สมบูรณ์ก่อน จึงจะเป็นสุข ได้ ในที่นี้หมายถึงกำหนดภาวนา เจริญจิต ให้เข้าใจ ในยุคลธรรม อย่างชัดเจน ก็จะสามารถแยกแยะ สุขได้ เพราะความจริงของผู้ภาวนา คือกำหนด รู้อารมณ์ ว่าอันนี้เป็นจิต อันนี้เป็น สภาวะธรรม

    การกำหนดจิต รู้ ในจิต จัดเป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน 

    การรู้อารมณ์ ละ ปล่อย วาง เป็น ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

   อันนี้เป็น จิตตะปัสสัทธิ  ซึ่ง จิตตะปัสสัทธิ มิได้เกิดขึ้นตามลำพัง ต้องเกิดพร้อมกับกาย ปัสสัทธิ เพราะ จิต อาศัย กาย ถ้ากายไม่ระงับ จิตก็ไม่ระงับ กายไม่สงบ จิตก็ สงบไม่ได้ เพราะกาย และ จิต อาศัยกันอย่างนี้


    จิตสมาธิ หมายถึง จิตที่เป็น สมาธิ ในที่นี้มิได้หมายถึง จิตที่เป็นสมาธิระดับ ขณิกะสมาธิ แต่หมายถึงจิต ที่เป็น อัปปนาสมาธิ เท่านั้น จิตเป็นขณิกะสมาธิ  และ จิตเป็นอุปจาระสมาธิ  ไม่ได้หมายถึงจิตที่เป็นสมาธิ ตามความการภาวนา เพราะในอริยะมรรค นั้น กล่าวสมาธิ ที่เป็น ปฐมฌาน ขึ้นไป ดังนั้นความมุ่งหมายของการภาวนา จริง ๆ อยู่ที่ ปฐมฌาน เพราะเมื่อจิตเป็นสมาธิ ในอริยะมรรคนั้นเป็นจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ละปล่อย ว่าง ดุจสังข์ที่ขาวสะอาด ควรค่าแก่การงาน คือ วิปัสสนา

    แต่เนื่องดวย บารมีของบางท่านยังอ่อน อยุ่ จึงต้องมีระยะ อุปจาระสมาธิ นั่นก็คือ จิตที่เกือบจะเป็นอัปปนา ที่สามารถ และควรแก่ วิปัสสนา เข่นกัน แต่จิตระดับนี้ เหมาะกับผู้เจริญ สติ เป็นหลัก เพราะ สติ สนับสนุนสมาธิ ดังนั้นจึง ควรทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ ไว้บ้าง ในด้านการภาวนา ก็เป็นเช่นนี้


   เจริญพร / เจริญธรรม

 




 
 








บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา  st11  พระอาจารย์ มาตอบ ก็รู้สึกว่า คำตอบจะหนักแน่น ขึ้นนะครับ

  st12
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา