ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การประคองอารมณ์กรรมฐาน ใน อานาปานสติ ควรกำหนดลมหายใจแบบไหนครับ  (อ่าน 3922 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การประคองอารมณ์กรรมฐาน ใน อานาปานสติ ควรกำหนดลมหายใจแบบไหนครับ

  คือไม่เข้าใจ ว่า ต้องหายใจเข้าออก ยาว คือ นาน ๆ  ใช่หรือไม่ครับ
    หรือว่า กำหนดลมหายใจเข้าออก สั้น ๆ เป็นห้วง ๆ

    และการระงับ กายสังขาร ( ลมหายใจ ) นี้คือหยุดลมหายใจใช่หรือไม่ครับ

  thk56
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ans1

 เชิญท่านทั้งหลาย ร่วมธรรมะวิจยะ กันก่อนนะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะดูลําบากนะ  เพราะผู้ที่ยังรวมรูปไม่ได้ ธรรมสภาวะ ยังไม่มี ยังไม่ได้นิมิต......และยังไม่ได้ลม ปราณใน
     ถ้าได้นิมิตเห็น วัฏจักธาตุ เข้าถึงธาตุ  ท่านก็จะมี อุปกรณ์ของอานาปานสติ

       ก็คือ ลมเข้า ลมออก นิมิต ลมเข้ารูไหน ลมออก รูไหน เพศหญิงและชาย เข้าออกไม่เหมือนกัน
 นิมิตหมุนคนละฝั่ง คนละด้าน

      อานาปานสติ สติปัฏฐานสี่  ท่านเห็นโลก เห็นธาตุสี่แล้วหรือยัง

             เคยเห็นโลก เห็น ธาตุสี่ และธาตุที่ห้าด้วย เป็นช่อง ที่แทรกอยู่ในโลกนั้น ได้แล้วหรือยัง

            ถ้าใครเคยเห็น คนนั้นเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้เข้าถึง กายพุทธะ

       รูปวัตถุสิบหก ที่มีสิบหกขั้นตอน และรายละเอียด ที่ละเอียดอ่อน  ตามขั้นตอน กาย เวทนา จิต ธรรม ก็คงจะเป็นธรรมสภาวะตามลําดับ

         คงยากจะอธิบายให้ใครรู้ได้

          อานาปานสติ ที่เป็นกรรมฐานห้องสี่ อานาปานสติของกรรมฐานนี้ ปราศจาก ปีติ ยุคล แล้ว เป็นพระโสดาบัน ผู้ที่เข้าถึงกระแสธรรม และฉลาดในธรรมทั้งหลาย ตามธรรม

         แต่อานาปานสติ ที่บางตํารา นั้นสอน ถ้าท่านจะเริ่มแบบนี้เลย เรียก ง่ายๆว่า อยากทําห้องนี้เลย

          ท่านต้องคุมความฟุ้งซ่าน ในรูปและอุปปาทายรูป ก็คือ คุมปีติ และยุคล เอาเอง คือความฟุ้งซ่านทั้งหลาย เพราะสิ่งนี้ ท่านยังมีอยู่ยังไม่ดับ

            ความต่าง

       ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะสัมปยุตธรรมได้ และมาตามขั้นตอนของความดับ ใน (อนุโลม ปฏิโลม เข้าวัด ออกวัด เข้าสะกด) ไม่มีปีติ ยุคคล ไม่ฟุ้งซ่าน
       ส่วนตรงที่วงเล็บไว้ให้ดูนั้น คือการปรับระดับลม...ที่ท่านถามนั้น สภาวะลม เป็นธรรมสภาวะเช่นกัน ยาว สั้น หยุด ที่มาตามสภาวะกรรมฐาน นั้นก็ต้องรู้มาตามขั้นตอน ไม่ถาม
   เหตุที่ไม่ถาม เพราะผู้เข้าสู่กรรมฐานห้องนี้ เป็นผู้ได้ญาณสติ สองร้อยญาณ จึงไม่ถามรู้ตามญาณ
       ธรรมสภาวะ คือ มิได้ไป กําหนด หรือ มีสังขตะ ไปปรุงแต่ง แต่เกิดขึ้นเอง ในกรรมฐาน ตามลําดับ เป็น ปัจจัตตัง




        ส่วนการระงับกายสังขาร หรือ จิตสังขาร ที่ถาม....
      กายสังขาร  คือ การปรุงแต่งทางกาย ปรุงแต่งรูปกาย
      จิตสังขาร คือ การปรุงแต่งทางจิต ปรุงแต่งนามกาย
       ไม่ใช่การปรุงแต่งลม แต่ถ้าลมดับ รูปดับ

          ก็สุดแล้วแต่บุญบารมี ที่เล่าให้ฟังก็เคยได้ยินมาจากครูบาอาจารย์

    ข้าพเจ้าว่า ถ้าอยากเดินทางจริง และไม่งง ไม่สงสัย ควรกลับไปเริ่มที่เมนูหลัก คือห้อง ที่1-2-3 มาจะดีกว่า เล่นตรงนี้เลย อาจจะเออเล่อ คือฟุ้งซ่าน
    มาเปล่า ไปเปล่า ถ้าทําไม่ได้ ฟุ้งซ่าน แล้วก็จะเลิกไปเอง เห็นมีเกลื่อนที่เป็นอย่างนี้ เพราะไม่เข้าใจในธรรมทั้งหลายมาก่อน

       กลับไปเริ่ม สวมเสื้อ กางเกง ใส่รองเท้ามาให้พร้อม จะดีกว่า

          เอาแบบสําเร็จสามห้อง ได้อุปกรณ์มาเลย
           
       คือ ลมเข้า ลมออก นิมิต มีแน่นอน และต้องได้ทุกคน ถ้ามาสายตรง เมื่อมีอุปกรณ์แล้ว

        ก็ใช้อุปกรณ์นั้นๆ ทําให้เป็นดั่ง ญาณ พระพุทธเจ้าตรัสตรงนี้ ไว้เช่นนี้

      ขอชี้ให้ท่านไปเริ่มที่ วัด ราชสิทธาราม คณะห้า

          แบบนี้ มาได้ ไปได้ ไม่งง ไม่สงสัย

          ขอให้ท่านโชคดี 
             
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2013, 10:46:27 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมชาติของใจไม่ชอบการบังคับ การบังคับให้ใจสงบก็เหมือนเอามือไปกวนจะให้น้ำตกตะกอนมันไม่ได้ แค่ปล่อยให้น้ำมันตกตะกอนเอง
     ทีนี้ถ้าเราใจร้อน เร่งรีบทำให้เกิดความสงบก็เป็นความอยากอย่างหนึ่งเมันก็เลยเป็นสมาธิได้ลำบากครับ
     แนะนำว่า อย่าลุ้น, เร่ง, เพ่ง, จ้อง ปล่อยตัวปล่อยใจให้สบายแต่มีสติ ใจเราเหมือนลิงพันหลักดิ้นไปดิ้นมาซุกซนตลอดเวลาแต่หากเราทำเฉยๆได้ซะแล้วเดี็ยวลิงก็หยุดเองเลิกเอง น้ำนิ่งได้เมื่อไหร่เดี็ยวก็ตกตะกอนเอง
     แล้วอีกอย่างตามที่ท่่าน วายุพิทักษ์ บอกไว้คือศีลจะเป็นพื้นฐานของการทำสมาธิเพราะว่าศีลจะชำระใจเราให้สะอาดเวลาเราทำสมาธิจิตจะมีเรื่องให้ฟุ้งซ่านน้อยกว่า ยกตัวอย่างเวลาเราฟังเพลงที่ชอบแล้วไปนั่งสมาธิเสียงเพลงนั้นก็จะไปดังในหัวเราเวลานั่งเป็นต้น
     ยังไงก็อวยพรทุกท่านที่ได้ปฏิบัติธรรม อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ans1 ans1 ans1

วิธีภาวนากับปัจจุบันอารมณ์
ให้ทำภาวนาในอิริยาบถ 3 คือ นั่ง ยืน นอน ท่าใดท่าหนึ่งก็ได้
เริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าจะเอาสติ ปัญญามาตั้งรู้ ตั้งสังเกตอยู่เฉพาะที่ปัจจุบันอารมณ์ แล้วหลับตา ลงมือทำภาวนา
สติ จะทำหน้าที่รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม
ปัญญาสัมมาทิฐิ จะทำหน้าที่ รู้ ตามปัจจุบันอารมณ์
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะทำหน้าที่ สังเกต ปัจจุบันอารมณ์

ความรู้ทัน รู้ และสังเกตปัจจุบันอารมณ์นี้ จะต้องไม่มีความคิดนึกมาเกี่ยวข้องด้วย เฝ้ารู้ และสังเกตสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแต่ละอารมณ์ไปจนอารมณ์นั้นดับไปต่อหน้าต่อตา รักษาการภาวนาตามหลักนี้ไปให้ได้นานๆ ในการภาวนาแต่ละรอบ
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตัดมาบางส่วน  จากอรรถกถาของมหาสติปัฏฐานสูตร...
  ลองอ่านแล้วตีความดูเอง...
-----------------------------------------------------------
คำว่า ในกาย คือ ในรูปกาย. จริงแล้ว รูปกายในที่นั้นท่านประสงค์
เอาว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ และธรรมทั้งหลายมี
ผม เป็นต้น เหมือนตัวของช้างตัวของรถเป็นต้น. ที่ชื่อว่ากายเพราะอรรถว่า
เป็นที่รวมฉันใด ที่ชื่อว่ากาย เพราะอรรถว่าเป็นแหล่งที่มาของสิ่งที่น่ารังเกียจ
ฉันนั้น. จริงแล้ว กายนั้น เป็นแหล่งที่มาของสิ่งน่ารังเกียจ คือน่าเกียจอย่างยิ่ง
แม้เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่ากาย. คำว่าเป็นแหล่งที่มา คือเป็นถิ่นเกิด ใจความของคำ
ในคำว่า เป็นแหล่งที่มานั้น มีดังนี้ ธรรมชาติทั้งหลายมาแต่กายนั้น เหตุนั้น
กายนั้นจึงชื่อว่า เป็นแหล่งที่มา. อะไรมา. สิ่งอันน่าเกลียดทั้งหลายมีผมเป็นต้น
ย่อมมา. ชื่อว่า อายะ เพราะเป็นแหล่งมาแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลาย ด้วย
ประการฉะนี้. คำว่า พิจารณาเห็นกาย หมายความว่า มีปกติพิจารณา
เห็นในกาย หรือพิจารณาเห็นกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสว่า ในกาย
แล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าทรงกระทำศัพท์ว่ากาย ครั้งที่สองว่า พิจารณาเห็น
กายอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงแสดงการกำหนด และการแยกออกจากก้อนเป็นต้น
โดยไม่ปนกัน. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในกาย หรือพิจารณาเห็นจิตในกาย
หรือพิจารณาเห็นธรรมในกายหามิได้ ที่แท้พิจารณาเห็นกายในกายต่างหาก
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงการกำหนดไม่ปนกัน ด้วยทรงแสดงอาการ
คือพิจารณาเห็นกายในวัตถุที่นับว่ากาย. มิใช่ พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่
พ้นจากอวัยวะน้อยใหญ่ในกายทั้งมิใช่พิจารณาเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย ที่พ้น
จากผมขนเป็นต้น. จริงอยู่ในข้อนั้น กายแม้อันใด ที่นับว่าเป็นที่รวมของ
ภูตรูป และอุปาทายรูป มีผมขนเป็นต้น มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งที่
พ้นจากภูตรูป และอุปาทายรูป ที่แท้พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมอวัยวะน้อยใหญ่
ในกายแม้อันนั้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนประกอบของรถฉะนั้น พิจารณา
เห็นกายเป็นที่รวมของ ผม ขน เป็นต้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนน้อยใหญ่
ของพระนคร พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของภูตรูป และ อุปาทายรูป เหมือน
แยกใบและก้านของต้นกล้วย และเหมือน แบกำมือที่ว่างเปล่าฉะนั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงการแยกออกจากก้อน ด้วยทรงแสดงวัตถุที่นับ
ได้ว่ากาย โดยเป็นที่รวมโดยประการต่าง ๆ นั่นแล้ว. ความจริง กายหรือ
ชายหญิง หรือธรรมไร ๆ อื่นที่พ้นจากกายอันเป็นที่รวมดังกล่าวแล้ว หาปรากฏ
ในกายนั้นไม่ แต่สัตว์ทั้งหลาย ก็ยึดมันผิด ๆ โดยประการนั้น ๆ ในกายที่สักว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมดังกล่าวแล้ว อยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ยํ ปสฺสติ น ตํ ทิฏฺฐํ ยํ ทิฏฺฐํ ตํ น ปสฺสติ
อปสฺสํ พชฺฌเต มูฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ
บุคคลเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่ได้เห็น
สิ่งใดเห็นแล้วก็ไม่เห็นสิ่งนั้น เมื่อไม่เห็น
ก็หลงติด เมื่อติดก็ไม่หลุดพ้น ดังนี้.
ท่านกล่าวคำนี้ ก็เพื่อแสดงการแยกออกจากก้อนเป็นต้น. ด้วยศัพท์ว่า
อาทิเป็นต้น ในคำนี้บัณฑิตพึงทราบความดังนี้. ก็ภิกษุนี้ พิจารณาเห็นกาย
ในกายนี้เท่านั้น ท่านอธิบายว่า มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น. คนทั้งหลาย
แลเห็นน้ำในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงามว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได้ ที่แท้ พิจารณาเห็นกาย ท่าน
อธิบายว่า พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของอาการ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มิใช่ตัวตน และไม่สวยงามต่างหาก.
อีกอย่างหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้าว่า มีลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ เป็นต้น มีกระดูกที่ป่นเป็นที่สุด ตามนัย พระบาลีเป็นต้น ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปป่าก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจ
เข้า ดังนี้ และกายอันใดที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) ว่า
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ
กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนึ่ง กายคือเนื้อ
กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แม้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย ที่นับว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมมีผมเป็นต้นในกาย โดยไม่พิจารณาเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
ที่พึงถือว่าเป็นเรา เป็นของเราในกาย แต่พิจารณาเห็นกายนั้น ๆ เท่านั้นเป็น
ที่รวมแห่งธรรมต่าง ๆ มีผม ขนเป็นต้น.
อนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกายในกาย แม้โดยพิจารณา
เห็นกายที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งอาการ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นต้น ทั้งหมดทีเดียว
ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรค ตามลำดับบาลี เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นใน
กายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่โดยเป็นของเที่ยงดังนี้. จริงอย่างนั้น
ภิกษุผู้ปฏิบัติ ปฏิปทา คือพิจารณาเห็นกายในกายรูปนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย
อันนี้โดยเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เห็นโดยเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่เห็นโดยเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยมิใช่ตัวตน ไม่ใช่เห็นเป็นตัวตน
ด้วยอำนาจ อนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) ๗ ประการ มีพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมเบื่อหน่าย มิใช่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด มิใช่กำหนัด ย่อม
ดับทุกข์ มิใช่ก่อทุกข์ ย่อมสละ มิใช่ยึดถือ. ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาเห็นกายอันนี้
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาความสำคัญว่าเที่ยงเสียได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละทุกขสัญญาความสำคัญว่าเป็นสุขเสียได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ย่อมละอัตตสัญญาความสำคัญว่า
เป็นตัวตนเสียได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีเสียได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละความกำหนัดเสียได้ เมื่อดับทุกข์ ย่อมละเหตุเกิดทุกข์เสียได้ เมื่อสละ
ย่อมละความยึดถือเสียได้ ดังนี้ พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้.
คำว่า อยู่ คือเป็นไปอยู่. คำว่า มีเพียร มีอรรถว่า สภาพใด ย่อม
แผดเผากิเลสทั้งหลายในภพทั้ง ๓ เหตุนั้น สภาพนั้น ชื่อว่าอาตาปะแผดเผา
กิเลส คำนี้เป็นชื่อของความเพียร. ความเพียรของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า อาตาปีมีความเพียร. คำว่า มีสัมปชัญญะ คือ ผู้ประกอบด้วยความรู้
ที่นับว่า สัมปชัญญะ. คำว่า มีสติ คือประกอบด้วยสติกำกับกาย. ก็ภิกษุรูปนี้
กำหนดอารมณ์ ด้วยสติพิจารณาเห็นด้วยปัญญา ธรรมดาว่าปัญญาพิจารณา
เห็นของผู้เว้นจากสติ ย่อมมีไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
(สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติแล
จำปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงตรัสว่า ย่อมพิจารณา เห็น
กายในกาย อยู่ ดังนี้. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอันทรงอธิบาย ด้วย
ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความท้อแท้ภายใน ย่อมทำอันตรายแก่ผู้ไม่มี
ความเพียร ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงลืมในการกำหนด อุบายในการงดเว้น
สิ่งที่มิใช่อุบาย ผู้มีสติหลงลืมแล้ว ย่อมไม่สามารถในการกำหนดอุบาย และ
ในการสละสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย ด้วยเหตุนั้น กัมมัฏฐานนั้น ของภิกษุนั้น ย่อม
ไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้น กัมมัฏฐานนั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งธรรม
เหล่าใด เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ. ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และองค์
แห่งสัมปโยคะ บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า นำออกเสีย
ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า นำออกเสีย หมายความว่า นำออกเสีย
ด้วยการนำออกชั่วขณะหรือด้วยการนำออกด้วยการข่มไว้. คำว่า ในโลกก็คือ
ในกายอันนั้นแหละ. จริงอยู่ กายในที่นี้ ทรงหมายถึงโลก เพราะอรรถ
ว่าชำรุดชุดโทรม. อภิชฌา และโทมนัส มิใช่พระโยคาวจรนั้นละได้ในอารมณ์
เพียงกายเท่านั้น แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ (สติปัฏฐานวิภังค์) ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก.
คำนั้นท่านกล่าวตามนัยแห่งการขยายความ เพราะธรรมเหล่านั้น นับ
ได้ว่าเป็นโลก. แต่ท่านกล่าวคำอันใดไว้ว่า โลกเป็นอย่างไร โลกก็คือกาย
อันนั้นแหละ ความในคำนั้นมีดังนี้แล. พึงเห็นการเชื่อมความดังนี้ว่า นำออก
เสียซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลกนั้น . ก็เพราะในที่นี้ กามฉันท์รวมเข้ากับ
ศัพท์ว่า อภิชฌา พยาบาทรวมเข้ากับศัพท์ว่าโทมนัส ฉะนั้น จึงควรทราบว่า
ทรงอธิบาย การละนิวรณ์ด้วยการทรงแสดงธรรมอันเป็นคู่ที่มีกำลังนับเนื่องใน
นิวรณ์. แต่โดยพิเศษ ในที่นี้ ตรัสการละความยินดีที่มีกายสมบัติเป็น
มูลด้วยการกำจัดอภิชฌา ตรัสการละความยินร้ายที่มีกายวิบัติเป็นมูล ด้วยการ
กำจัดโทมนัส ตรัสการละความยินดียิ่งในกาย ด้วยการกำจัดอภิชฌา ตรัส
การละความไม่ยินดียิ่งในการเจริญกายานุปัสสนา ด้วยการกำจัดโทมนัส ตรัส
การละกายของผู้ใส่ซึ่งภาวะว่างามเป็นสุข เป็นต้น ที่ไม่มีจริงในกาย ด้วยการ
กำจัดอภิชฌาและตรัสการละการเอาออกไปซึ่งภาวะที่ไม่งาม เป็นทุกข์เป็นต้น
ที่มีอยู่จริงในกาย ด้วยการกำจัดโทมนัส. ด้วยพระดำรัสนั้น เป็นอันทรงแสดง
อานุภาพของความเพียร และความเป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรของ
พระโยคาวจร. แท้จริงอานุภาพของความเพียรนั้นก็คือ เป็นผู้หลุดพ้นจากความ
ยินดี ยินร้าย ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี และเว้นจากใส่สิ่งที่ไม่
มีจริง และนำออกซึ่งสิ่งที่มีจริงก็พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้หลุดพ้นจากความยินดี
ยินร้าย เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี ไม่ใส่สิ่งที่ไม่มีจริง ไม่
นำออกซึ่งสิ่งที่มีจริง จึงชื่อว่า เป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรด้วย
ประการฉะนั้น.
อีกนัยหนึ่ง. ตรัสกัมมัฏฐานด้วย อนุปัสสนา ในคำที่ว่า กาเย กายา
นุปสฺสี พิจารณาเห็นกายในกาย. ตรัสการบริหารกายของพระโยคาวจรบำเพ็ญ
กัมมัฏฐาน ด้วยวิหารธรรมที่กล่าวไว้แล้ว ในคำนี้ว่า วิหรติอยู่. ก็ในคำเป็น
ต้นว่า อาตาปีมีความเพียร พึงทราบว่า ตรัสความเพียรชอบ ด้วยอาตาปะ
ความเพียรเครี่องเผากิเลส ตรัสกัมมัฏฐานที่ให้สำเร็จประโยชน์ทั่ว ๆ ไป หรือ
อุบาย เครื่องบริหารกัมมัฏฐาน ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือตรัส สมถะ ที่ได้
มาด้วยอำนาจกายานุปัสสนา ตรัสวิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ ตรัสผลแห่งภาวนา
ด้วยการกำจัดซึ่งอภิชฌา และโทมนัสฉะนี้.
บาลีวิภังค์
ส่วนในบาลีวิภังค์ กล่าวความของบทเหล่านั้น ไว้อย่างนี้ว่า บทว่า
อนุปสฺสี ความว่า อนุปัสสนาในคำนั้น เป็นอย่างไร ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว
ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกอนุปัสสนา บุคคลได้ประกอบแล้ว ประกอบพร้อม
แล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว มาตามพร้อม
แล้ว ด้วยอนุปัสสนานี้ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงเรียนว่า อนุปสฺสี. บทว่า วิหรติ
แปลว่า เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ ดำเนินไปอยู่ ให้อัตตภาพดำเนินไปอยู่
เที่ยวไปอยู่ เหตุนั้น จึงเรียกว่า วิหรติ. บทว่า อาตาปี ผู้มีเพียร ความว่า
อาตาปะ ความเพียรในคำนั้นเป็นอย่างไร การปรารภความเพียรเป็นไปทางใจ
ฯลฯ สัมมาวายามะใด นี้เรียกว่า อาตปะ บุคคลผู้ประกอบด้วยอาตาปะนี้ เหตุนั้น
บุคคลนั้น จึงเรียกว่าอาตาปี. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า สัมปชัญญะ ในคำ
นั้นเป็นอย่างไร ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าสัมปชัญญะ
บุคคลใดประกอบแล้ว ฯลฯ มาตามพร้อมแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ เหตุนั้น
บุคคลนั้น จึงเรียกว่า สมฺปชาโน. บทว่า สติมา ความว่า สติในคำนั้น
เป็นอย่างไร ความระลึกได้ ความระลึกถึง ฯลฯ ความระลึกชอบ นี้เรียกว่า
สติ บุคคลใดประกอบแล้ว ฯลฯ มาตามพร้อมแล้วด้วยสตินี้ เหตุนั้น บุคคล
นั้น จึงเรียกว่าสติมา. ข้อว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ความว่า
โลกในคำนั้น เป็นอย่างไร กายนั้นแล ชื่อว่าโลก อุปาทานขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็ชื่อ
ว่าโลก นี้เรียกว่าโลก. อภิชฌาในคำนั้นเป็นอย่างไร ความกำหนัด ความ
กำหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด ด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่าอภิชฌา โทมนัสในคำนั้น
เป็นอย่างไร ความไม่สำราญทางใจ ทุกข์ทางใจ ฯลฯ เวทนาที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแก่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌา และโทมนัสนี้
เป็นอันพระโยคาวจรกำจัด เสียแล้ว นำออกไปแล้ว สงบแล้ว ให้สงบแล้ว ให้
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว ให้ถึงความสาบศูนย์แล้ว ให้ถึงความ
ไม่มีแล้ว ให้ถึงความย่อยยับแล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ให้แห้งผากแล้ว
ทำให้ถึงที่สุดแล้ว เหตุนั้น จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ
ดังนี้. นัยที่มาในอรรถกถานี้ กับบาลีวิภังค์นั้น บัณฑิตพึงทราบได้โดยการ
เทียบกัน.
พรรณนาความแห่ง อุทเทสที่ว่าด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีเพียง
เท่านี้ก่อน.
บันทึกการเข้า