ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การวางอารมณ์ ใจให้เป็นกลาง คือการท่อง กรรมฐาน บทใด บทหนึ่ง  (อ่าน 2619 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
การวางอารมณ์ ใจให้เป็นกลาง คือการท่อง กรรมฐาน บทใด บทหนึ่ง ใช่หรือไม่ครับ เพราะถ้าหากเราไม่พอใจ หรือ พอใจ ในขณะนั้น เราจะหลุดจากอำนาจความพอใจ หรือ ไม่พอใจในส่วนนั้นได้อย่างไร กันครับ

  thk56
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28419
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1
การวางอารมณ์ ใจให้เป็นกลาง คือการท่อง กรรมฐาน บทใด บทหนึ่ง ใช่หรือไม่ครับ เพราะถ้าหากเราไม่พอใจ หรือ พอใจ ในขณะนั้น เราจะหลุดจากอำนาจความพอใจ หรือ ไม่พอใจในส่วนนั้นได้อย่างไร กันครับ

  thk56



 ans1 ans1 ans1

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ


ที่มา มหาสติปัฏฐานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
ขอบคุณภาพจาก http://hilight.kapook.com2,http://www.oknation.net/


   
    "การวางใจเป็นกลาง" เป็นความหมายของคำว่า "อุเบกขา"
    อีกความหมายหนึ่งของอุเบกขา คือ "ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา"


    ดังนั้นคำถามของคุณวิชัย คือ อุเบกขาเกิดตอนไหน ทำให้เกิดได้อย่างไร
    ตอบว่า อุเบกขาที่สมบูรณ์ ต้องอยู่ในฌานสี่(จตุตถฌาน)เท่านั้น
    ดังพุทธพจน์ที่ว่า
    "เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"


    ลักษณะของฌานสี่จะไม่มีอะไรเคลื่อนไหว ทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้กระทั่งลมหายใจก็ไม่มี
    (แต่ไม่ได้หมายความว่า คนนั้นต้องตาย) นี่เป็นคำกล่าวของพระอาจารย์ครับ


    ดังนั้นการท่องกรรมฐานตามที่คุณวิชัยถาม จึงไม่ใช่อารมณ์เป็นกลาง
    ขอคุยเท่านี้ครับ

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า