ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเพื่อนไม่คบกับเรา เพราะกลัวว่า จะเสียผลประโยชน์  (อ่าน 3786 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเพื่อนไม่คบกับเรา เพราะกลัวว่า จะเสียผลประโยชน์
 อย่างนี้ ยังชื่อ ว่าเป็น กัลยาณมิตร หรือ ไม่ ?

   :smiley_confused1: thk56
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

สขสูตรที่ ๒

      [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ
      ควรเสพควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
             ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑
             เป็นที่เคารพ ๑
             เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑
             เป็นผู้ฉลาดพูด ๑
             เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑
             พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑
             ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
      ควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่ ฯ


      ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง
      ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในภิกษุใด ภิกษุนั้นเป็นมิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
      ผู้ประสงค์จะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่ ฯ


      จบสูตรที่ ๖


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๗๙๑ - ๘๐๓. หน้าที่ ๓๕ - ๓๖.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=791&Z=803&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=34
ขอบคุณภาพจาก http://www.madchima.net/





กัลยาณมิตรธรรม 7 (องค์คุณของกัลยาณมิตร, คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ)
   1. ปิโย (น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม)
   2. ครุ (น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย)
   3. ภาวนีโย (น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ)
   4. วตฺตา จ (รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี)
   5. วจนกฺขโม (อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว)
   6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป)
   7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย)


อ้างอิง : องฺ.สตฺตก. 23/34/33.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เพื่อน ผู้ร่วมธุระร่วมกิจร่วมการหรือร่วมอยู่ในสภาพอย่างเดียวกัน, ผู้ชอบพอรักใคร่คบหากัน,
       ในทางธรรม เนื้อแท้ของความเป็นเพื่อน อยู่ที่ความมีใจหวังดีปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือ เมตตา หรือไมตรี เพื่อนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ เรียกว่า มิตร
       การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้

           (ดู มิตตปฏิรูป, มิตรแท้)
        บุคคลที่ช่วยชี้แนะแนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดีและความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน หรือเป็นมารดาบิดาครูอาจารย์ ตลอดทั้งพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี หรือเพื่อนมีธรรม เรียกว่า กัลยาณมิตร แปลว่า มิตรดีงาม

       กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า กัลยาณมิตรธรรม หรือธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ
       ๑. ปิโย น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนให้อยากเข้าไปหา
       ๒. ครุ น่าเคารพ ด้วยความประพฤติหนักแน่น เป็นที่พึงอาศัยได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
       ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
       ๔. วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี
       ๕. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากย์วิจารณ์
       ๖. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
       ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร





มิตรแท้ มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่
       ๑. มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
           ๒. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน
           ๓. เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
           ๔. มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
       ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. บอกความลับแก่เพื่อน
           ๒. ปิดความลับของเพื่อน
           ๓. มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง
           ๔. แม้ชีวิตก็สละให้ได้
       ๓. มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้
           ๒. คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
           ๓. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
           ๔. บอกทางสุขทางสวรรค์ให้
       ๔. มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. เพื่อนมีทุกข์ พลอยทุกข์ด้วย
           ๒. เพื่อนมีสุข พลอยดีใจ
           ๓. เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
           ๔. เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน





มิตตปฏิรูป, มิตตปฏิรูปก์ คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่
       ๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
           ๒. ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก
           ๓. ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
           ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
       ๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
           ๒. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
           ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
           ๔. เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
       ๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. จะทำชั่วก็เออออ
           ๒. จะทำดีก็เออออ
           ๓. ต่อหน้าสรรเสริญ
           ๔. ลับหลังนินทา
       ๔. คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
           ๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
           ๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
           ๔. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.madchima.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



"กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"
ข้างบนคือคำที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ซึ่งคำว่า “พรหมจรรย์” หมายถึง การประพฤติธรรมอันประเสริฐ หรือ การครองชีวิตประเสริฐ ส่วน “กัลยาณมิตร” หมายถึง เพื่อนที่ดีมีคุณธรรม

    เหตุที่ทรงตรัสเช่นนั้นก็เพราะการคบหาคลุกคลีกับผู้ใดย่อมส่งผลต่อเราอย่างมาก อย่างบางคนที่เคยมีความประพฤติดี แต่เมื่อไปคบหากับคนพาล นิสัยใจคอก็ค่อยเปลี่ยนไปในทางไม่ดีโดยไม่รู้ตัว เช่น จากที่ไม่เคยดูถูกคน ก็กลายเป็นคนเย่อหยิ่งถือตัว จากไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ก็เริ่มดื่มเหล้า เล่นการพนัน หรือเที่ยวกลางคืนเป็นต้น

    นอกจากนี้การคบคนพาลยังนำมาซึ่งความฉิบหาย ไม่ว่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เสียทรัพย์เพราะมั่วอบายมุข และที่สำคัญคือ ทำให้เรามีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งล้วนเป็นทางแห่งความเสื่อมทั้งสิ้น

    ด้วยหนทางในสังสารวัฏนั้นยาวไกลนัก การมีเพื่อนที่ดีนอกจากจะคอยช่วยเหลือเกื้อกูลเราได้แล้ว ยังสามารถช่วยตักเตือน ให้กำลังใจ ชักนำหรือแนะนำเราได้เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นอีกด้วย

    ดังนั้นการคบเพื่อนที่ดีมีคุณธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต หน้าที่การงาน และที่สำคัญสุดคือการประพฤติธรรม เพราะจะช่วยทำให้เรามีความเห็นถูก เข้าใจถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง จนกระทั่งสามารถบรรลุมรรคผลได้

    ทุกวันนี้กัลยาณมิตรอาจหาได้ยาก แต่ด้วยกุศลที่ได้ทำแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เราพบมิตรแบบนี้ได้ เมื่อถึงเวลา หากไม่สามารถหากัลยาณมิตรได้ ก็ไม่ควรไปคบคนพาล ไม่มีเพื่อนเสียเลยยังดีกว่า แต่ควรให้พระธรรมเป็นกัลยาณมิตรแทน เพราะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถือเป็นกัลยาณมิตรได้เช่นกัน





กัลยาณมิตรสมัยพุทธกาล
    กัลยาณมิตร มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังเช่นในอดีตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดมาแล้วเป็นผู้มีความเห็นผิด จนเกือบจะไม่ได้พบกับหนทางของพระนิพพาน แต่เนื่องจากพระองค์ได้คบหากับบุคคลอันเป็นกัลยาณมิตร พระองค์จึงได้ก้าวเข้ามาสู่หนทางของการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้

    พระองค์ทรงระลึกชาติในหนหลัง ตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า ในสมัยนั้นเป็นสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ณ ตำบล บ้านเวภฬิคะ มีชายหนุ่ม ๒ คนเป็นเพื่อนรักกัน คนหนึ่ง ชื่อ ฆฏิการะ อีกคนหนึ่ง ชื่อ โชติปาละ ทั้งสองคนนี้แม้จะเป็นเพื่อนที่รักกันมาก แต่กลับมีอุปนิสัยในทางธรรมที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน

    ฆฏิการะนั้นเป็นผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เขาได้ชื่อว่าเป็นอุปัฏฐากที่ดีเลิศของพระพุทธเจ้ากัสสปะ แต่โชติปาละเป็นผู้ที่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเลย เขาไม่เคยไปฟังธรรม ไม่เคยแม้แต่จะไปกราบพระพุทธเจ้า ฆฏิการะก็พยายามชักชวนอยู่เสมอ แม้ว่าความปรารถนาดีของเขาจะถูกปฏิเสธเสียทุกครั้งไป

    จนกระทั่งวันหนึ่ง ฆฏิการะจึงออกอุบายชวนโชติปาละไปอาบน้ำยังท่าน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอารามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พออาบน้ำชำระกายเป็นที่เย็นกายเย็นใจแล้ว ฆฏิการะก็กล่าวชวนโชติปาละว่า
    "โชติปาละไปเถอะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน พระอารามของพระองค์ท่านอยู่ที่ตรงนี้เอง"
    โชติปาละกล่าวตอบว่า "อย่าเลย เราไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการที่จะได้เห็นสมณะโล้น สู้ไปเที่ยวยังจะสนุกเสียกว่า"

     ฆฏิการะก็บอกว่า "มีประโยชน์สิ เพราะการเห็นสมณะนั้นเป็นมงคล ไปกันเถอะ"
     โชติปาละก็ปฏิเสธอีก ฆฏิการะจึงเดินเข้าไปจับมือของโชติปาละ โชติปาละสะบัดมือออก ฆฏิการะเปลี่ยนมาจับชายพกของโชติปาละ โชติปาละก็ดึงมือออกอีก ฆฏิการะไม่ละความพยายามหันมาดึงมวยผม พร้อมกับกล่าวชวนซ้ำอีก คราวนี้โชติปาละรู้สึกขัดใจขึ้นมาทันที

     
     "เอ๊ะ! ทำไมต้องมาดึงมวยผมกันด้วยละ สมณะโล้นน่ะ มีดีอย่างไรหรือ ท่านจึงอยากให้ข้าพเจ้าไปเฝ้านัก"


     และ ด้วยอานุภาพแห่งกัลยาณมิตร โชติปาละก็รำลึกได้ว่า โดยปกติแล้ว ฆฏิการะเป็นเพื่อนที่หวังดีกับเขาเสมอมา ไม่เคยเลยที่จะชักนำไปในทางที่เสียหาย เขาเริ่มคิดได้ว่า การที่ฆฏิการะชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอนี้ ก็คงจะเป็นการชักนำไปในทางที่ดีอีกเช่นเคย ดังนั้นโชติปาละจึงยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้า



    เมื่อไปถึงพระอาราม ทั้งสองกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็นั่งในที่อันควรข้างหนึ่ง
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงปฏิสันถารด้วยพระทัยที่เปี่ยมด้วยความเมตตา
     แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ แสดงธรรมที่ไพเราะทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย หลั่งธรรมธาราให้รินไหลเข้าสู่กระแสใจของโชติปาละ

    โชติปาละได้ฟังธรรมแล้ว ใจของเขาก็ผ่องใส เหมือนคนที่เดินหลงทางอยู่ในทะเลทรายมาเป็นเวลานาน แล้วได้พบกับบ่อน้ำที่ให้ทั้งความเย็นกายเย็นใจ ใจของเขาดื่มด่ำในรสแห่งอมตธรรมยิ่งนัก แล้วด้วยใจที่ศรัทธาตั้งมั่นไม่คลอนแคลน โชติปาละจึงขอออกบวชอุทิศตนเป็นพุทธบูชาตลอดชีวิต

     แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวกับพระอานนท์สืบไปว่า
     ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้พึงคิดเลยว่าเราคือ ฆฏิการะ บุรุษผู้มีความเห็นถูก
     แต่แท้ที่จริงแล้วเราคือ โชติปาละ บุรุษผู้มีความเห็นผิดคนนั้น
     แต่เนื่องจากเราได้คบหากับบุคคลอันเป็นยอดกัลยาณมิตร คือ ฆฏิการะ เราจึงได้กลับมาเป็นผู้มีความเห็นถูก ก้าวเข้ามาสู่หนทางแห่งการสร้างความดี มาสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ในที่สุด


    อานนท์ แม้เราตถาคตก็ยังต้องการกัลยาณมิตร เป็นผู้ชี้หนทางแห่งความดีให้
    ดังนั้น เราจึงได้กล่าวกับเธอว่า "กัลยาณมิตรนั้นเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"


หมายเหตุ
     ฆฏิการะในกาลนั้น ซึ่งเป็นพระอนาคามี ได้ไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นที่ 5 อกนิฏฐภูมิ
     เมื่อครั้นพระมหาโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเปลื้องฉลองพระองค์และผ้าโพกพระเศียร โยนขึ้นไปในอากาศ ท้าวฆฏิการพรหมก็ได้รับไว้ แล้วนำพระอัฏฐบริขาร มีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์ และรับฉลองพระองค์และผ้าโพกพระเศียรไปประดิษฐานไว้ในทุสสะเจดีย์ ที่เนรมิตสร้างไว้ในชั้นอกนิฏฐภพ นี้เอง.


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=thammakittakon&date=02-08-2009&group=1&gblog=6 
http://intrapv.treasury.go.th/ ,http://www.it.kmitl.ac.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเพื่อนไม่คบกับเรา เพราะกลัวว่า จะเสียผลประโยชน์
 อย่างนี้ ยังชื่อ ว่าเป็น กัลยาณมิตร หรือ ไม่ ?

   :smiley_confused1: thk56

     ans1 ans1 ans1
   
    กัลยาณมิตรต้องมี "กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ"
    ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ก็เป็นกัลยาณมิตรของเราด้วย
    ในสังคมปัจจุบันหาเพื่อนแท้ได้ยาก แต่เป็นเพราะหน้าที่การงานบังคับให้เรา "ต้องเอางานเป็นหลัก"
    เราจึงต้องคบกันคนหลายประเภท จะชอบหรือไม่ชอบ จะเต็มใจหรือไม่ อย่างไร เรื่องนี้ต้องคิดเอาเอง


    เพื่อที่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์ของคนหมู่มาก ในทางการเมืองจึงเกิดคำคมขึ้นประโยคหนึ่ง คือ
    "การเมือง..ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร"
    การอยู่กับโลก เราหนีโลกธรรมไม่พ้น สังคมไทยยังถูกครอบงำด้วยระบบอุปถัมภ์อย่างเหนี่ยวแน่น
    การไม่ตอบแทนคุณบางอย่าง อาจถูกมองว่า "อกตัญญู"


    เรื่องนี้หากเราไม่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ จะไม่อาจเข้าใจได้ เรื่องที่จะแนะนำได้ก็คือ
    ต้องหา"กุศโลบาย" และใช้ "โยนิโสมนสิการ" ให้มากๆ
    ขอคุยเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2013, 12:04:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
  นับว่าเป็น มิตรทางธรรม ที่มีสาระธรรม มาฝากทุกเวลา ครับ

  thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อย่าเสียเวลา เพียงเพื่อเอาใจกัน และ กัน
อย่าเพียงทำ เพืื่อให้เขาสบายใจ และ เราสบายใจ
สังสารวัฏ ที่อัตคัต ยังรออยู่เบื้องหน้า...
ผู้เห็นธรรมในที่เฉพาะหน้า ตั้งมั่นศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์
เขาควรพอกพูน ศรัทธาอันเป็นอาการเช่นนั้นไว้

 บัณฑิต กล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่า คนไม่จน
 ชีวิต ของเขาไม่เป็นหมัน

 ผู้ปรารถนาในความดี อันเป็นกุศล คือ นิพพานแล้ว ไม่พึงแขวน ความพึงพอใจของบุคคลผู้เป็น มิจฉาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง

  st11
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ