ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยแนะนำเรียน วิธีปฏิบัติ ใน หน้า เดียวหน่อยครับ เอาแบบที่ได้ผล ครับ  (อ่าน 4741 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ช่วยแนะนำเรียน วิธีปฏิบัติ ใน หน้า เดียวหน่อยครับ เอาแบบที่ได้ผล ครับ

   คิดว่า ถ้าต้องอ่านกันหลายหน้า ในชีวิตจริง ที่ทำงาน ในออฟฟิส นี้ มันช่างทำได้ยากครับ อยากรู้ว่าเราควรภาวนาปฏิบัติอย่างไร เอาแบบที่ใช้งานได้จริง ๆ นะครับ ช่วยแนะนำให้หน่อยครับ

  st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

tasawang

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าสนใจมากครับ การปฏิบัติ แบบย่อ นี้ ผมเองก็ตามสนใจ แต่อย่างไร ผมจะลองย่อแบบที่ผมทำให้ก่อนนะครับ

   คือ หายใจเข้า เป็น พุทโธ  หายใจออก เป็น พุทโธ  เท่านี้ครับ

  ในระหว่างที่ต้องการภาวนา พยายามตั้งมั่นในศีล ถ้าเป็นไปได้ ควรนุ่งชุดขาวประจำ ๆ ครับ

   :49:
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า หน้า เดียว เอาแค่การเจริญ  สติ ดีกว่าครับ

   หมั่นดู อิริยาบถ กำหนดรู้ เดิน นั่ง นอน กำหนด ว่า รู้หนอ เดินหนอ ยืนหนอ นั่งหนอ นอนหนอ เจ็บหนอ ปวดหนอ โกรธหนอ สุขหนอ ทุกข์หนอ

    :49:
บันทึกการเข้า

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่า หน้าเดียว คือ ด้านเดียว ใช่หรือไม่ครับ จะเอาด้านสมถะ หรือ ด้านวิปัสสนา ครับ

   :s_good:
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ช่วยแนะนำเรียน วิธีปฏิบัติ ใน หน้า เดียว หน่อยครับ เอาแบบที่ได้ผล ครับ

คือ หายใจเข้า เป็น พุทโธ  หายใจออก เป็น พุทโธ  เท่านี้ครับ

ผมว่า หน้า เดียว เอาแค่การเจริญ  สติ ดีกว่าครับ

คำว่า หน้าเดียว คือ ด้านเดียว ใช่หรือไม่ครับ จะเอาด้านสมถะ หรือ ด้านวิปัสสนา ครับ

     เห็นทุกข์เห็นธรรม        ผ่อนกรรม “พุทโธ”
นิวรณ์เขลาโง่                 อักโขขมา (เข้าหาครู)
     ยืนเดินนอนนั่ง          อย่าพลั้งเว-ทาฯ (สา-กุ)
ไก่เถื่อนสรรหา            ชะตาเด่นมี.


                                                                              ธรรมธวัช.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 21, 2013, 12:34:15 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขอบคุณภาพจาก http://www.gotoknow.org/

การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
ท่านพระครูเกษมธรรมทัต(สุรศักด์ เขมรํสี) 

    ในชีวิตประจำวันของเราจะต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการงาน มีภาระกิจส่วนตัวและส่วนรวม เรียกว่า มีการกระทำออกไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ ชีวิตเราไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ตลอดเวลา หรือไม่มีใครที่จะอยู่กับที่ได้ตลอดเวลา ต้องมีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ เพราะร่างกายที่นั่งไปนานๆก็เป็นทุกข์ปวดเมื่อย ก็ต้องเปลี่ยนเป็นยืนบ้าง นอนบ้าง เดินบ้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถไหนก็ตกอยู่ในสภาพทุกข์ทั้งนั้น แม้แต่ในอิริยาบถนอนซึ่งส่วนใหญ่เราจะชอบอิริยาบถนี้ แต่เราก็ไม่สามารถนอนได้ตลอดเวลาได้ หรืออยู่ในท่าเดียวได้โดยไม่ต้องพลิกตัว การที่ร่างกายนี้เป็นทุกข์ต้องเปลี่ยนแปลงอิริบถกันอยู่เรื่อย ก็เพื่อผ่อนคลายความทุกข์

    นอกจากนี้ ชีวิตของคนเราก็ต้องมีการกิน มีการทำงาน มีการขับถ่าย มีการทำอย่างอื่น เรียกว่า เป็นการงาน ชีวิตประจำวันของเราดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารกินเข้าไปแล้วก็ต้องขับถ่ายออกมา หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ เป็นกิจการงานส่วน ตัว และนอกเหนือจากนี้ ยังมีงานเกี่ยวข้องกับสังคม เป็นหน้าที่รับผิดชอบให้กว้างขวางออกไป เช่น เราต้องทำงานเพื่อหาเงิน มาจุนเจือชีวิตครอบครัว จึงต้องมีการเดินทาง มีการพบปะ มีการใช้สมองคิดอ่าน เคลื่อนไหวร่างกาย สรุปแล้ว ชีวิตจะต้องหมุนไปในการ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว ทำ พูด คิด กิน ดื่ม ขับถ่าย เป็นอยู่อย่างนี้ คือ ชีวิตประจำวัน

     ตามหลักคำสั่งสอนของพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงว่า
     การปฏิบัติธรรมนี้สามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
     ฉะนั้น ก็ต้องปฏิบัติได้ เจริญภาวนา เจริญสติ เจริญกรรมฐาน หรือปฏิบัติธรรม

     เมื่อเราเข้าใจแล้ว เราก็จะไม่บอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ เพราะหากเรายังมีการหายใจอยู่ ถือว่าเรายังมีเวลาปฏิบัติ เพราะผู้ที่ไม่มีเวลาปฏิบัติ คือ คนที่ตายไปแล้ว หมดลมหายใจไปแล้ว ไม่มีจิตใจทึ่จะทำการงาน หาความรู้สึกอะไรไม่ได้แล้ว ถ้ายังมีจิตใจอยู่ ยังเป็นๆอยู่ หรือไม่ได้สลบตลอดเวลา ยังตื่นอยู่ ย่อมต้องมีเวลาปฏิบัติธรรม เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจ และตั้งใจ


      ความตั้งใจ และความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมนั้น สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เพราะ ถ้าไม่ทำ ความเข้าใจนี้ จะปิดกั้นการปฏิบัติ คือ เราจะไม่ยอมฝึกฝน ที่จะเจริญสติสัมปชัญญะไว้ คอยแต่ว่า ถึงเวลาก็จะมานั่งสมาธิ นั่งพับเพียบ มานั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธรูป จึงจะปฏิบัติได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางคนต้องเข้าวัด ถึงจะปฏบัติ อยู่บ้านปฏิบัติไม่ได้ ซึ่งจะกลายเป็นการเสียโอกาสไป

_______________________
จากหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=3297


ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรื่องการเจริญสติในชีวิตประจำวัน เรื่องนี้เป็นเรื่องหัวใจของการปฏิบัติธรรมทีเดียว พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติธรรมนะ เราจะวาดภาพว่า ต้องไปนั่งสมาธิ ต้องไปเดินจงกรม จะทำอะไรก็ต้องไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา ต้องช้าๆ ต้องนุ่มนวล ต้องช้าๆ ค่อยๆขยับ ยกตัวอย่างจะเดินก็ต้องช้าๆนะ จะทำอะไรทุกอย่างต้องช้าๆ แล้วจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่งก็ต้องหลับตา ถึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม นั่งลืมตาก็ไม่ได้ ต้องนั่งในท่านี้ด้วย ต้องเดินในท่านี้ด้วย ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ

    ในความเป็นจริงการปฏิบัติธรรมไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก การปฏิบัติธรรมจริงๆ คือ การมีสติ
    เมื่อไรมีสติเมื่อนั้นมีการปฏิบัตินะ มีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดการปฏิบัติ ขาดความเพียร
    เพราะฉะนั้นหลวงปู่มั่นท่านสอนไว้ดีมากเลย ท่านบอกว่า ถ้าเราทำสมาธิมาก จะเนิ่นช้า
    ถ้าเราค้นคว้าพิจารณาธรรมะมาก พิจารณากาย พิจารณาอะไรมากเนี่ย จิตจะฟุ้งซ่าน
    หัวใจสำคัญของการปฏิบัติเนี่ย คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน


การเจริญสติในชีวิตประจำวันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไม่นั่งสมาธิ ไม่เดินจงกรม ไม่ทำในรูปแบบ ไม่ใช่ อาศัยการทำในรูปแบบในเบื้องต้นนี้เอง เป็นการฝึกให้เกิดสติ เมื่อมีสติแล้ว เราเอาสติมาใช้ในชีวิตประจำวัน จะแตกหักกันก็ตรงที่ว่า ใครจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ คนไหนเจริญสติในชีวิตประจำวันไม่ได้เนี่ย โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้นะ ยังห่างไกลเหลือเกิน

มันยากมากเลยที่คนๆหนึ่งจะมีสติขึ้นมา สติที่แท้จริง แต่ไม่ยากเลยที่คนที่มีสติที่แท้จริงแล้ว จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ มรรค ผล นิพพาน มีจริงๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

________________________________________
http://www.dhammada.net/2011/05/12/9157/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

หลวงปู่ทา จารุธัมโม แห่งวัดถ้ำซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
(มรณภาพ ในวันวิสาขบูชา 30 พฤษภาคม 2550 สิริอายุ 97 พรรษา)

ธรรมะจากพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สุปฏิปันโน สาวกสังโฆอีกองค์ครับ

    "สติตั้งที่ใจ ดูอยู่ที่ใจ มองอยู่ที่ใจ เห็นอยู่ที่ใจ เพ่งอยู่ที่ใจ กำหนดอยู่ที่ใจ พิจารณาอยู่ที่ใจ..อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน สติอันเดียว..ก็ไม่หลาย"

“ มันต้องฝึก ฝึกให้เป็นสมาธิ หนักแน่น ... หนักแน่นอย่างดี แล้วก็เพ่งเข้า ๆ มันก็เกิดแสงสว่าง เกิดความแจ้ง ความสว่าง ความสงบ ขึ้นที่ใจ สุขก็มีมาพร้อม ก็เสวยสุขนี่ละบัดนี้ เสวยสุขจนเบื่อสุข มันล้นแล้ว วิปัสสนามันก็วิ่งเข้ามาเลยถามเลย... อันไหนเที่ยง อันไหนไม่เที่ยง อันไหนเที่ยง อันไหนไม่เที่ยง หมดเลย... สกนธ์กายนี่ ไม่เที่ยงสักสิ่งสักอย่าง โยนทิ้ง โยนทิ้งหมดเลย อยู่กับพระธรรมเท่านั้นแหละ ไปไหนก็ไปด้วยกันนั่นแหละ สบายแล้ว มันก็ยากแท้ละ... พูดนี่ไม่ยากหรอก มันยากผู้ทำ “

บัดนี้ หลวงปู่ทาได้มรณภาพไปแล้ว โดยท่านหลวงตามหาบัวเป็นประธานในพิธี กระดูกท่านก็เป็นพระธาตุตั้งแต่วันแรกที่เผา คำสอนท่านเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่มากโวหาร น่าเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป

ไปฟังธรรมท่านหลายครั้ง แต่ละครั้งหลวงปู่ทาท่านสอนคล้าย ๆ เดิม (เหมือนหลวงปู่ดู่ที่ตอกย้ำในเรื่องให้หมั่นดูจิต รักษาจิต) โดยท่านมักใช้คำว่า "เพ่ง ๆ" แต่ทำไมการปฏิบัติธรรมสมัยใหม่จึงรังเกียจอาการ "เพ่ง" ถึงขนาดจัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิเชียว แต่ก็ยังกล่าวอ้างว่าท่านสอนตรงตามอย่างสำนักตน (ซึ่งรังเกียจการเพ่ง)

จึงเป็นข้อเตือนใจให้บรรดาลูกศิษย์ครูบาอาจารย์ ควรที่จะเผยแผ่คำสอนครูบาอาจารย์อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนคำสอนเดิมของท่าน การขยายความหรือให้ความเห็นเพิ่มเพื่อความเข้าใจของผู้อ่านหรือผู้ฟัง ย่อมทำได้ แต่ควรแยกส่วนออกมา มิใช่ไปดัดแปลงคำพูดท่านจนกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปไป รวมทั้งไม่พยายามตีความหรือให้นิยามใหม่เพื่อสนับสนุนแนวคิดของตน จนคนเก่าคนใหม่พากันสับสน และไม่เป็นการซื่อตรงต่อครูอาจารย์ .

...จงมีความเคารพเอื้อเฟื้อในธรรมของพระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ (ให้ยิ่งกว่าทิฏฐิความเห็นของตน)

_________________________________________________
ภาพจาก http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=6129&page=3&keyword=
ข้อมูล http://luangpordu.com/?cid=453342&f_action=forum_viewtopic&forum_id=41264&topic_id=41101

ภาพจาก http://www.santidham.com/

เคล็ดวิชาดูจิต "ให้รู้สิ่งที่ปรากฎด้วยจิตที่เป็นกลาง"
คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
   
    จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
    (เห็นว่าจิตที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ทำให้หลงไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้าย)
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    (เห็นว่าจิตที่ไปจมแช่กับอารมณ์ด้วยความยินดียินร้ายเป็นทุกข์)
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
    (เห็นจิตที่เป็นทุกข์ เห็นสมุทัยอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมีความเพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นสภาพที่พ้นจากทุกข์ได้)
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ
    (เมื่อ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางได้ ก็ย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เราไปพยายามแยกผู้รู้ให้ออกจากอารมณ์ เราเพียงแต่เพียรที่จะ รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง จนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง)


อย่าส่งจิตออกนอก

    จิตคิด จิตถูกทำลาย
    ((เมื่อ)จิตคิด จิต(รู้ก็)ถูกทำลาย บรรดานักคิดทั้งหลาย ถ้าเข้าใจตนเองได้ว่า ตนกำลังฝันทั้งที่ลืมตาตื่น ตนกำลังหลงอยู่ในโลกของความคิด เพียงรู้ทันเท่านี้ ก็รู้แล้ว และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงไปคิดต่อไปอีก ว่า "รู้เป็นอย่างไร ที่รู้นี้ถูกหรือไม่ถูก" เพราะจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดในทันที คือหลงเข้าไปในโลกของความคิดอีกรอบหนึ่ง)
    (ความคิดนั้น มันเกิดอยู่เสมอ เหมือนลมหายใจนั่นเอง ห้ามไม่ได้ การปฏิบัติก็ไม่ได้มุ่งให้ดับความคิด เอาแค่ว่า พอรู้อารมณ์แล้วจิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ก็ให้รู้ทัน อย่าให้ฝันทั้งที่ตื่น คือหลงคิดไปโดยไม่รู้ตัว เท่านี้ก็พอครับ อย่าไปพยายามดับความคิดเข้าเชียวครับ จิตจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักกว่าเก่าอีก และอันที่จริง เราก็ต้องอาศัยความคิดเหมือนกัน ในการอบรมสั่งสอนจิต เป็นบางครั้งบางคราว เวลามันดื้อมากๆ)


    "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนี้คือ พุทธะ นั่นเอง"

    "จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือกพุทธะ"

    "การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่พุทธะ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้น หาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และลืมตา ต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นั่นแหละคือ พุทธะ ที่แท้จริง"

    "จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่องดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง"

    "เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิต นี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของพวกเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง"

______________________________________
http://www.dhammada.net/niranam/dule.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ช่วยแนะนำเรียน วิธีปฏิบัติ ใน หน้า เดียวหน่อยครับ เอาแบบที่ได้ผล ครับ

   คิดว่า ถ้าต้องอ่านกันหลายหน้า ในชีวิตจริง ที่ทำงาน ในออฟฟิส นี้ มันช่างทำได้ยากครับ อยากรู้ว่าเราควรภาวนาปฏิบัติอย่างไร เอาแบบที่ใช้งานได้จริง ๆ นะครับ ช่วยแนะนำให้หน่อยครับ

  st12 st12 st12


    ans1 ans1 ans1

    การปฏิบัติธรรมในขณะทำงานในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ครูอาจารย์ท่านแนะให้เจริญสติ คือ ให้รู้สึกตัวตลอด
    ปัจจุบันพนักงานออฟฟิสส่วนหนึ่งนิยมดูจิต ตามแนวของหลวงปู่ดูลย์หรือหลวงพ่อปราโมทย์
    คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ที่บอกว่า "อย่าส่งจิตออกนอก" หมายถึง ให้ตามดูตามรู้สภาวะของจิต โดยไม่ให้ปรุงแต่ง
    คำว่า "ออกนอก"  หมายถึง นอกจากการรู้(มีสติ)
    ในส่วนของหลวงปู่ทา ประโยคที่จดจำกันได้ขึ้นใจก็คือ "มีสติรักษาจิต" อันนี้คงเข้าใจนะครับ


    การทำงานแล้วภาวนาไปด้วยเป็นเรื่องลำบาก เพราะคนจ่ายค่าจ้างให้เรา เค้าคงไม่ได้จ้างเรามาภาวนา
    ขอให้ตระหนักข้อนี้ไว้ด้วย การทำงานไม่ใช่การปฏิบัติธรรม ขณะทำงานต้องมีสมาธิกับงาน มิฉะนั้นงานจะเสียหายได้


    แต่ผู้มีปัญญาสอนว่า ให้แบ่งเวลาออกเป็นส่วนย่อยๆ เช่น การเดินจากโต๊ะหนึ่งไปอีกโตีะหนึ่ง
    หรือการเดินไปเข้าห้องน้ำ การทำธุระในห้องน้ำ การพักกลางวัน หรือช่วงคอฟฟี่เบรค
    เวลาเล็กน้อยอาจแค่ครึ่งนาที สองสามนาที สิบห้านาที จนเป็นชั่วโมง
    ช่วงเวลาย่อยๆเหล่านี้ เราสามารถนำมาเจริญสติได้ อาจจะดูกาย(อิริยาบถ) หรือดูจิตก็ได้
    หรือจะภาวนาพุทโธ ท่องคาถาพญาไก่เถื่อน ก็ตามถนัด
    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ