ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต  (อ่าน 16615 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:06:57 am »
0
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเข้าสู่อุเบกขาจิต ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


อุเบกขาจิต มี ๒ แบบดังนี้
อุเบกขาจิตที่เป็นกุศล    คือ จะมีสภาพจิตมีใจกลางๆ ไม่ยินดี ยินร้าย เฉยๆ แต่มีความสงบ อบอุ่น ไม่ติดข้องใจใดๆ
อุเบกขาจิตที่เป็นอกุศล  คือ จะมีสภาพจิตที่เลื่อนลอย ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เกิดเพื่อความเป็นกุศลจิตหรือสติ อยู่ด้วยโมหะเป็นใหญ่
ส่วนอุเบกขาใน พรหมวิหาร๔ สภาพจิตจะนิ่ง สงบ อบอุ่น ไม่ติดข้องใจใดๆ มีความวางใจเป็นกลาง ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ มีสภาพจิตที่ไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่ขุ่นมัวใจ มีความผ่องใสของจิต ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี


วงจรการเกิดขึ้นของตัณหาอุปาทาน

(อายตนะภายใน ๖ + อายตนะภายนอก ๖ + วิญญาณ) --> ผัสสะ --> ความรับรู้อารมณ์ --> ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดี --> ความสำคัญมั่นหมายของใจ(สัญญา) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> รัก โลภ โกรธ หลง --> ตัณหา --> อุปาทาน



เราจะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ตัณหาในสิ่งนั้น
เราจะละตัณหาความทะยานอยากในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งนั้น
เราจะละความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความตรึกนึกคำนึงถึงในสิ่งนั้น
เราจะละความตรึกนึกคำถึงในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้น
เราจะละความสำคัญมั่นหมายของในใจสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความพอใจยินดีหรือความไม่พอใจยินดีในสิ่งนั้น
เราจะละความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีในสิ่งใด เราก็ต้องมีอุเบกขาจิต คือ ความมีใจกลางๆ มีความวางเฉย ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเสพย์เสวยอารมณ์ต่อสิ่งนั้น


วิธีเข้าถึงอุเบกขาจิตมี ๔ แบบ ที่ผมได้พบเจอตามจริงดังนี้คือ

๑. การลดหรือไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆ (ใช้ลดความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้นๆเพื่อเข้าสู่ใจกลางๆไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งใดๆ เช่น ความกำหนัดใคร่ได้ ความใคร่ที่จะเสพย์อารมณ์ในกาม ความตั้งหวังปารถนายินดีใคร่ได้ เป็นต้น)
๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม (ใช้วางใจกลางๆเมื่อจิตเราต้องการทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้ ที่เราอยากให้ บุคคล สิ่งของ เป็นไปดั่งที่ใจต้องการ ที่เราตั้งความพอใจยินดีไว้ เป็นต้น)
๓. การเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ (ใช้วางใจกลางๆเมื่อจิตเราต้องการทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้อย่างแรงที่จะเสพย์สุขขากสิ่งนั้นๆ เช่น สุรา บุหรี่ กาม เป็นต้น)
๔. การเข้าถึงในสภาพปรมัตถ์ธรรม (รู้เห็นตามสภาพจริง ไม่มีตัวตน บุคคล สิ่งของ แยกขาด รูป-นาม หมดไปซึ่ง ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี)


ผมจะขออธิบายทั้ง ๔ ข้อดังต่อไปนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2013, 07:18:28 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:09:29 am »
0
๑. การลดหรือไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆ

- เพราะเรามีความสำคัญมั่นหมายของใจจึงทำให้เรา ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง แล้วสืบต่อไปจนเกิดเป็นตัณหาความทะยานอยากทั้งหลาย


วิธีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นวิธีที่ให้จิตเข้าสู่อุเบกขาจิต ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใดๆ ด้วยการละไว้ซึ่งความสำคัญมั่นหมายของใจที่มีต่อสิ่งนั้นๆ

๑. ดั่งที่เราจะพอสังเกตุเห็นและรับรู้ได้ว่า เวลาเราไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งใด เราก็จะตรึกนึกและรู้สึกกับสิ่งนั้นน้อยมาก หรือ ไม่รู้สึกใดๆต่อสิ่งนั้นเลย

๒. ทีนี้เราจะเลิกให้ความสำคัญต่อสิ่งใด เราก็ต้องละความสนใจในสิ่งนั้นๆ เราใส่ใจกับสิ่งใดน้อย ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดีต่อสิ่งนั้นๆก็จะลดลง

๓. เจริญปฏิบัติโดยระลึกนึกคิดดังนี้ว่า


   นัยยะประการที่ ๑. ให้ระลึกนึกคิดอย่างนี้ว่า..สิ่งใดๆที่เรายินดีทะยานอยากต้องการอยู่นั้น เราจะกระทำมันตอนไหน เวลาใดก็ได้ ยังไงมันก็ยังไม่ได้หนีไปไหนไกลเกินเราจะทำได้ ไม่ต้องไปรีบร้อนที่จะกระทำ
               - วิธีนี้จะช่วยยืดเวลาการกระทำตามความปารถนาใคร่ได้ยินดีของเราให้ห่างออกไปอีกซักระยะหนึ่ง เรียกว่าค่อยๆลดมันไปทีละนิด เมื่อเราระลึกนึกคิดกระทำแบบนี้อยู่เนืองๆ ระยะเวลาที่จะกระทำตามความอยากของเรามันก็จะนานขึ้นไปเรื่อยๆ จนความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆลดลงและหมดไป เช่น เกิดความกำหนัดอยากเสพย์กระทำในกามารมณ์ อยากสำเร็จความใคร่นั้นๆ อยากสูบบุหรี่ อยากกินเหล้า เป็นต้น

   นัยยะประการที่ ๒. ไม่ต้องให้ความสำคัญตั้งหวังปารถนากับสิ่งใดๆมาก ให้ระลึกนึกคิดว่าค่อยๆเป็นไป เรื่อยๆ ไม่ใส่ใจกับสิ่งนั้นมากไป ปล่อยๆมันไปไม่ต้องเร่งรัด ได้ก็เอา-ไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร ไม่มีอะไรเสียหายแก่เราไม่ต้องไปให้ความสำคัญใส่ใจกับสิ่งนั้นมาก เพราะมันไม่มีส่วนได้-ส่วนเสียใดๆแก่เรา
               - วิธีนี้จะช่วยลดละความสำคัญมั่นหมายปารถนาใคร่ได้ยินดีของใจเราลง โดยในเวลาเราอยากได้สิ่งใดมากๆ หรือ อยากให้มันเป็นไปตามที่ตั้งหวังปารถนาใคร่ได้ เช่น จีบสาวอยากได้คนที่เราชอบนั้นมาเป็นแฟนเรา เป็นของเรา เมื่อคบหากันได้ก็เร่งอยากเสพย์ความใคร่ใดๆกับเขา เป็นต้น เมื่อเจริญปฏิบัติเช่นนี้อยู่เนืองๆความปารถนาใค่ได้ยินดีของเราก็จะน้อยลงมีใจกลางๆมากขึ้น   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2013, 07:19:15 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:10:16 am »
0
๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม

การยอมรับความจริงได้นั้น เราต้องรู้ตามหลักสัจจะธรรมดังนี้ว่า
- คนเราย่อมเป็นไปตามกรรม เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นผู้ติดตาม เป็นที่พึ่งพาอาศัย (กรรม คือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ) หากเราทำดี คือ คิดดี พูดดี ทำดี เราย่อมมีความสุขกาย สบายใจ ที่เรียกว่า บุญ หากเรากระทำสิ่งไม่ดีย่อมเจ็บเดือดร้อนใจ คับแค้นกายใจ ทุกข์ใจ กลัวคนอื่นเขาจะมาว่ามาฆ่าแกง ด่า ว่า โมโห โทโส ใส่ตน ดังนั้นเราทั้งหลายต้องประสบพบเจอดั่งนี้ว่า
- คนเรามีความไม่สมหวังปารถนา-ยินดีใคร่ได้ดั่งใจไปทุกอย่าง เราย่อมมีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความพรักพรากเป็นที่สุด เราจะต้องพรัดพรากไปไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง เราจะล่วงพ้นความพรัดพรากนี้ไปไม่ได้
- คนเรามีความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจเป็นแท้จริง เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่ปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นชื่อว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่-พอใจทั้งหลาย จนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราจะพ้นสิ่งนี้ไปเป็นไม่ได้

ก็สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แลคือ ทุกข์ ทำให้เกิดความ โศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน ไม่สาบกาย ไม่สบายใจ อึดอัด อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ ทั้งหลาย


ยกตัวอย่าง

1.1 เราทุกคนย่อมมีสิ่งที่ปารถนา อยาก ใคร่ได้ หรือ สิ่งที่อยากทำ-อยากให้เป็นไปตามที่ต้องการ (ความคิดต้องการแบบนี้คนทุกคนเป็นเหมือนกันหมดครับไม่ว่าใคร ไม่มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น) เช่น อยากได้บ้าน รถ ผู้ชายหล่อๆ แฟนสวยๆ รวยๆ นิสัยดี อยากกินอาหารหรูๆ อยากไปเที่ยว 9 วัดบ้าง อยากให้มีแต่คนมาพูดเพราะๆกับตนบ้าง อยากให้มีแต่คนรักตนบ้าง อยากสอบได้ที่ 1 อยากรวยมีเงิน ความอยากมีอยากเป็นอยากได้นี้เราก็ต้องมีทุกคนใช่ไหมครับ
1.2 แต่เราย่อมไม่ได้ตามที่ปารถนายินดี-ใคร่ได้ต้องการทะยานอยากนั้น เราย่อมไม่สมดั่งความปารถนาที่ตั้งความพอใจยินดีสำคัญมั่นไว้ในใจไปทั้งหมดทุกอย่างใช่มั้ยครับ


2.1 เราทุกคนย่อมมีความรักใคร่ยินดี ไม่อยากจะพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลายใช่มั้ยครับ เช่น คนที่เรารัก ลูก เมีย สามี ญาติ เพื่อน  หมา แมว รถ บ้าน ทีวี ตู้เย็น ที่ดิน เป็นต้น เราทุกคนย่อมไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งทั้งหลายนี้ใช่ไหมครับ
2.2 แต่สุดท้ายคนเราย่อมมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่เหตุใดก็เหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะชำรุด ทรุดโทรม เลือนหาย สูญสลาย ตายจาก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่การดูแลรักษาและสภาพแวดล้อมทั้งหลายใช่มั้ยครับ


3.1 เราย่อมมีสิ่งที่ไม่ชอบไม่ต้องการ ไม่อยากได้ ไม่อยากพานพบอยู่ด้วยใช่มั้ยครับ เช่น ไม่อยากให้คนเกลียด ไม่ชอบให้คนมาด่าโวยวาย ไม่ชอบให้คนมาดูแคลน ไม่อยากจน ไม่อยากกินข้าวคลุกน้ำปลา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากพรัดพรากจากสิ่งที่รัก-ที่จำเริญใจทั้งหลาย อยากจะผลักหนีให้ไกลตน สิ่งเหล่านี้เราทุกคนก็ต้องมีใช่ไหมครับ
3.2 แต่อย่างไรเราก็หนีไม่พ้นสิ่งนี้ เราทุกคนต้องประสบพบเจอกับสิ่งที่ไม่อยากได้ต้องการ ไม่อยากจะพบเจอ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากพรักพราก อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราทั้งหลายต้องเจอกับการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจทั้งหลายนี้ใช่มั้ยครับ


- เมื่อเราเข้าใจตามสัจจะธรรมนี้แล้วใจเราย่อมยอมรับตามความเป็นจริง ไม่มีใจติดข้องเกาะเกี่ยวสิ่งใดๆ เพราะจะมองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างติดข้องใจไปก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆกับตนเองหรือคนอื่นๆ แต่กลับจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นจนก่อเกิดแต่ความทุกข์เท่านั้นที่จะตามมา
- ไม่ว่าเราจะพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดีก็มีแต่ก่อให้เกิดทุกข์ เพราะว่าหากติดข้องพอใจยินดี ก็หลง ติดในอารมณ์นั้นๆ ตั้งเป็นความสำคัญมั่นหมายของใจแล้วหวังปารถนาใคร่ได้ ต้องการทะยานอยาก พอไม่เป็นดั่งหวัง หรือ เกิดการพรัดพรากจากของรักของจำเริญใจทั้งหลาย ก็ก่อเกิดเป็นความไม่พอใจยินดีโทมนัสแก่ตน แล้วก็ทุกข์ คับแค้น อัดอั้นใจ แล้วพอมาติดข้องในความไม่พอใจยินดี ก็ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็ร้อนรน คับแค้นกาย-ใจ อัดอั้นกาย-ใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ทุกข์ทรมาณกายใจ
- สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ มันไม่มีสิ่งใดๆที่เป็นของเรา มันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับ จับต้อง ยึดถือ ยื้อดึง ฉุดรั้ง ให้มันเป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ เราไม่อาจบังคับให้มันอยู่กับเรา-คงอยู่กับเราตลอดไปได้ ทุกๆอย่างมีความเสื่อมโทรมเป็นธรรมดาช้าเร็วขึ้นอยู่กับกาลเวลา การดูแลรักษา และ สภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันเราจะบังคับให้เป็นดั่งใจปารถนาต้องการได้ ยิ่งพยายามฉุดรั้ง จับยึด ยื้อดึงให้มันเป็นไปตามที่ใจต้องการมากเท่าไหร่ ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น


               ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเกิดความพรัดพราก คือ เลิกรา ร้างลากับคนที่รักสุดหัวใจ ลองพิจารณาดูนะครับว่าเราสามารถไป บังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง ให้เขาคงอยู่กับเราไม่จากไปไหน ไม่ให้เขาทิ้งเราไปได้ไหมครับ คงไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะความคงอยู่มันไม่เที่ยงย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับให้มันเป็นไปดังใจเราต้องการได้ เพราะเขาไม่ใช่ของเรา ยิ่งเราปารถนาให้เขาคงอยู่กับเรามากเท่าไหร พยายามจะบังคับให้เป็นดั่งใจต้องการมากเท่าไหร่ แต่เมื่อมันไม่เป็นไปตามความหวังปารถนาใคร่ได้นั้น เราก็จะยิ่งทุกข์มากตามความปารถนาที่มากมายนั้นๆของเรา // เพราะเรามีความพอใจยินดีให้เขาคงอยู่กับเรา...แต่พอไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาใคร่ได้ ไม่เเป็นไปตามที่เราพอใจยินดีนั้น มันจึงเป็นทุกข์ใช่ไหมครับ  และ เพราะเรามีความไม่พอใจยินดีที่จะขาดเขา ไม่พอใจยินดีที่จะไม่มีเขา...แต่พอสิ่งที่เราไม่รัก ไม่ต้องการ ไม่พอใจยินดีเกิดขึ้นและเข้ามาหาเรา มันจึงเป็นทุกข์ใช่ไหมครับ // ดังนั้นให้พิจารณาจนเห็นในสัจธรรมว่า คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุด จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้ จะช้าหรือเร็วก็ต้องพรัดพรากอยู่ดี เมื่อจิตเริ่มคลายความคับแค้น-เสียใจลงแล้ว ก็ให้ตั้งจิตระลึกว่า...ปล่อยเขาไปพบเจอสิ่งที่ดีที่เขาชอบเสีย ถือเสียว่าเป็น "ทาน" ให้เขาอยู่กับสิ่งที่ขอบใจพอใจยินดี ดั่งเราจับนกในป่ามาขังไว้ นกมันย่อมคับแค้นกาย-ใจ โศรกเศร้าเสียใจ ร่ำไรรำพัน ตะเกียกตะกายอยากออกไปอยู่ในป่าตามเดิม อยู่ตามวิถีชีวิตของมัน ก็ถือเสียว่าคุณได้ปล่อยนกตัวนั้นไปแม้จะรักและหวงมากแค่ไหน เพื่อให้ทานที่เป็นอิสระสุขเออนุเคราะห์แก่นกตัวนั้น ก็เท่ากับว่าเราได้บำเพ็ญทานบารมีอันประเสริฐแล้ว

ดูอุบายวิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ตาม Link นี้ได้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

วิธีการปฏิบัติและเจริญใน ทาน ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
ในข้อที่ ๓. การระลึกปฏิบัติ ทำไปเพื่อการให้ที่เรียกว่า ทาน

- ดังนั้นเมื่อเรารู้สัจธรรมและพิจารณาตามจริงเช่นนี้เป็นต้น...จิตเราย่อมเข้าถึงอุเบกขาซึ่งมีสภาพเป็นใจกลางๆ ความวางใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความชอบ ไม่ชอบ พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี มีความเป็นอัพยกตา คือ มีความเป็นกลางๆ จึงทำให้ไม่มีความทุกข์-สุขจากสิ่งที่พอใจ ไม่พอใจนี้ มีแค่ความสงบ อบอุ่น จิตผ่องใส เบาสบาย ไม่ติดข้องต้องใต ขุ่นเคืองใจใดๆ เพราะเข้าใจในสภาพความเป็นจริงตามสัจธรรมทั้งหลายนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2014, 03:00:25 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:11:47 am »
0
๓. การเลือกสิ่งที่ควรเสพย์

เป็นการเลือกพิจารณาด้วยปัญญาเห็นชอบ ให้เห็นถึงสิ่งที่พอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี เห็นข้อดี-ข้อเสียของสิ่งที่เราจะทะยานอยากต้องการหรือไม่ต้องการอยากจะผลักหนีให้ไกลตนนั้นๆ แล้วเลือกสิ่งที่ควรเสพย์

- ก่อนอื่นนั้นเราต้องเข้าใจดังนี้ก่อนว่า แนวทางวิธีการปฏิบัติใดๆก็ตามแต่ "ต้องพึ่งอาศัยสติ" เป็นอันมาก เมื่อมีสติเป็นที่ตั้งองค์แรก เพื่อให้เราระลึกรู้สภาพความอยากต้องการอยู่ในขณะนั้นและคิดพิจารณาหาข้อดี-ข้อเสียของสิ่งที่เราต้องการทะยานอยากอยู่ โดยการปฏิบัติในข้อนี้ต้องอาศัย "ฉันทะ" เป็นหลัก ซึ่งเป็นฉันทะฝ่ายกุศลที่มีใน "อิทธิบาท ๔" ซึ่งเป็นความชอบใจ ความรัก ความพอใจในสิ่งที่เราจะกระทำ เป็นการ "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา"

ดูรายละเอียดการใช้ฉันทะ "อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา" ได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8051.msg29883#msg29883

จากนั้นดำเนินปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้
 
1. ทำสมาธิโดย หายใจเข้าลึกๆกลั้นหายใจไว้นับ 1-5 ในใจ แล้วหายใจออกยาวๆจนสุดกลั้นหายใจไว้นับ 1-5 ในใจ ทำแบบนี้ซักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วค่อย หายใจเข้าออกยาวๆแบบปกติเพื่อให้จิตเรามีสมาธิตั้งมั่น เลิกระส่ำระสาย ฟุ้งซ่าน กรีดหวิว  สั่นเครือ อัดอั้น แล้วก่อเกิด สติ คือ ความระลึกรู้ เข้าไปจนถึง สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เกื้อหนุน เอื้อกับสติ
(**การกระทำในข้อนี้จะส่งผลให้จิตเรามีความระลึกรู้และน้อมนำเข้าสู่ความเกื้อหนุนใน ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน**)

2. เมื่อสติเกิดรู้ตนแล้ว ให้พิจารณาว่าเราพอใจยินดีในส่วนใดของสิ่งนั้นๆ จนทำให้ตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ เมื่อรู้สาเหตุแห่งความพอใจแล้วก็ใช้สติระลึกรู้พิจารณาแยกแยะถึง "ผลดี-ผลเสีย" ของสิ่งที่เราพอใจยินดี ต้องการ ทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้นั้น เพื่อมองให้เห็นโทษหรือข้อเสียของสิ่งเหล่านั้นตามจริง ที่จะมากระทบกับเรา หากเราได้เสวยเสพย์มันตามอารมณ์ที่ใจเราอยาก ใคร่ใด้ ต้องการ
(**การพิจารณากระทำในข้อนี้จะควบคู่กับ ศีล(พิจารณาจนมองเห็นในข้อดี-ข้อเสียของการมีศีล เพื่อความไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น) + พรหมวิหาร๔(พิจารณาจนเข้าสู่สภาพจิตที่เป็นกุศล มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน รู้จักทำเพื่อคนอื่นหรือคนรอบข้างตนเอง มากกว่าที่จะทำตามความทะยานอยากใคร่ได้ ปารถนาพอใจยินดีของตน ที่เป็นประโยชน์ส่วนตนเพียงฝ่ายเดียว) + ทาน(พิจารณาจนเห็นประโยชน์สุขของการกระทำที่เป็นการให้ การทำเพื่อคนอื่น แบ่งปันคนอื่น มากกว่าที่จะรอรับจากคนอื่นฝ่ายเดียว) และ สมาธิ(เข้าสู่สภาพจิตที่มีความสงบ อบอุ่น เบาบาง ผ่องใส) ประกอบกับความรู้จักประมาณตน รู้จักหยุดโดยใช้สติไตร่ตรองก่อนที่จะลงมือกระทำการใดๆเป็นหลัก จากนั้นจะส่งผลสืบต่อไปจนเกิดการแยกแยะเห็นชอบด้วยปัญญา**)

วิธีการเจริญปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ทาน พรหมวิหาร๔ และ ขันติ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27477#msg27477
ใน วิธีที่จะทำให้ลดความพอใจยินดีทั้งหลายลงมีดังนี้ ข้อที่ ๑ - ๕

3. เมื่อพิจารณาเห็นโทษ หรือ ข้อเสียของสิ่งที่เราพอใจยินดี-ปารถนา-ใคร่ได้นั้นด้วยปัญญาความเห็นชอบแล้ว ให้เราระลึกรู้พิจารณาแล้วเลือกที่จะกระทำปฏิบัติดังนี้
    3.1 เลือกพิจารณาถึงความโสมนัสที่ควรเสพย์๑ และ โสมนัสที่ไม่ควรเสพย์๑ (ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์๑ และ ความพอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์๑)
    3.2 เลือกพิจารณาถึงความโทมนัสที่ควรเสพย์๑ และ โทมนัสที่ไม่ควรเสพย์๑ (ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์๑ และ ความไม่พอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์๑)
    3.3 เลือกพิจารณาถึงความอุเบกขาที่ควรเสพย์๑ และ อุเบกขาที่ไม่ควรเสพย์๑ (ความมีใจเป็นกลางไม่ยินดีไม่ยินร้าย โดยที่พิจารณาปลงใจลงในกรรม ไปจนถึงผลของกรรมที่ควรเสพย์๑ และ ความมีใจเป็นกลางไม่ยินดีไม่ยินร้าย โดยที่พิจารณาปลงใจลงในกรรม ไปจนถึงผลของกรรมที่ไม่ควรเสพย์๑

(**การพิจารณากระทำในข้อนี้จะควบคู่กับปัญญาเห็นชอบที่เกิดประกอบกับความรู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ พอดี พอเพียง**)

วิธีการเจริญปฏิบัติในข้อ รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27477#msg27477
ในข้อที่ ๖. รู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ

4. เมื่อรู้สิ่งที่ควรคิด-ที่ควรกระทำเพื่อนำพาเราสู้สิ่งที่ดีงาม เป็นกุศลแล้ว เราก็ต้องเข้ามาสู่การปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้ตรึกตรองแล้วนั้น โดยกระทำควบคู่ไปพร้อมกับความมี ขันติ คือ ความ อดทน อดกลั้น ซึ่งจะปราศจากความขุ่นมัวฝืนใจ (**หากยังมีความฝืนใจอยู่แสดงว่าเรามีความพอใจยินดีในสิ่งนั้นมาก แม้จะรู้ว่ามันผิดหรือมีโทษแค่ไหนก็ตาม (สภาพฝืน คือ มีความขัดข้องใจ มีความไม่พอใจยินดี มีความไม่สมดั่งใจหวัง ปารถนา ใคร่ได้ต้องการ สภาพที่ขัดหรือตรงข้ามกับความโลภ ก็คือ โทสะนั่นเอง) ทางแก้ให้พึงควรพิจารณาปฏิบัติตามในข้อ 1-3 อยู่เนืองๆจนจิตเราเห็นโทษของมันจริงด้วยปัญญาชอบ**) ไม่พอใจยินดีของเรา เข้าไปจนถึงความมีอุเบกขาที่แท้จริงซึ่ก็คือการวางใจกลางๆ ไม่ยึดจับเอา ความพอใจยินดี - ไม่พอใจยินดี กับสิ่งเหล่านั้นมาตั้งเป็นอารมณ์ (แต่ไม่ใช่สภาพจิตที่เลื่อนลอย เหม่อลอย ไม่ยินดี-ยินร้าย ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่รู้ตน นี่คือ อกุศลอุเบกขา ไม่ควรจะยังใจให้เสพย์สิ่งนี้ หรือ มีความวางเฉยต่อกุศลจิตที่จะไม่หยิบจับเอาความยินดี-ยินร้าย ที่จะละความทะยานอยากต้องการนั้นๆ)


- โดยการที่จะปฏิบัติในวิธีนี้ให้สำเร็จเป็นผลอย่างสมบูรณ์ได้นั้น ต้องพึงเรียนรู้พิจารณาปฏิบัติเข้าถึงสภาพธรรมและสภาพจิตของ เมตตา กรุณา มุทิตา แห่งพรหมวิหาร ๔ ให้ถ่องแท้ เพราะเมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิตจะคอยเกื้อหนุนและเป็นผลส่งให้เรามี อุเบกขาจิต ที่สมบูรณ์ในวิธีนี้

สภาพจิตและแนวทางปฏิบัติใน พรหมวิหาร๔ โดยย่อ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
ในข้อที่ ๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔


ยกตัวอย่าง

เวลาที่ผมอยากกินเหล้ามากๆ ฟุ้งไปจนแทบไม่ไหว เกิดอาการใจเต้นแรง สั่นสะท้าน กรีดหวิวทะยานอยาก(เหมือนลงแดงเลยแฮะ อิอิ)(สภาพนี้เรียกว่าทุกข์ ทุกข์เพราะอยาก) เมื่อมีสติพิจารณาผมจะกระทำดังนี้

1. หายใจเข้า-ออกลึกๆ เพื่อประครองใจให้สงบลดการฟุ้งซ่านลง

2. พิจารณาหาสาเหตุที่เราพอใจยินดีในเหล้าจนตั้งเป็นความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ให้ก่อเกิดเป็นความทะยานอยากอยู่เนืองๆ(ใช้สติ คิด ตรึก นึก พิจารณาหาเหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ สมุทัย) เช่น ที่เราพอใจมัน ทะยานอยากมัน เพราะเราชอบที่จะได้กิน ได้ดื่ม พูดคุย นั่งเล่น ฟังเพลง นั่งบรรยากาศดีๆไช่ไหม เพราะเราได้รับรู้ พบเห็น กระทบ สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่พอใจยินดี ที่ชอบใจ แล้วคิดปรุงแต่งไปว่าหากนั่งกินเหล้ามันคงมีความสุขใช่ไหม จึงทำให้เรานึกคิดทะยานอยากมัน ต้องการมัน เพราะมีความสำคัญมั่นหมายของใจอย่างนี้ๆทำให้เราตรึกถึง นึกถึงมันอยู่เนืองๆ เพราะให้ความสำคัญของมันมากไป(เหตุจากความพอใจยินดีเช่นนี้นี้ สร้างความโสมนัสที่มีต่อเหล้าให้เกิดแก่จิตผม)

3. เมื่อเห็นเหตุที่ทำให้ผมตรึกนึกถึงมันแล้ว ผมก้อมานั่งตรึกตรองถึงข้อดี ข้อเสีย ของเหล้า และผมกระทบเมื่อผมได้เสพย์มัน เช่น หากกินเหล้าแล้วได้อะไรบ้าง ได้ความสมอยากดังใจ นั่งเล่นสบายกายใจ มีความสุขในวันนี้ทั้งวัน แต่เมื่อหากกินแล้ว กลิ่นก้อเหม็น สติขาด ควบคุมไม่ได้ ทะเลาะเบาะแว้งกับครอบครัว มีอารมณ์ฉุนเฉียว เกิดโทสะง่าย เกิดปัญหารุนแรงง่าย เงินที่ควรจะให้ลูก-เมีย ครอบครัวก็หดหาย เงินไม่พอใช้จ่ายต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อทดแทนส่วนที่เอาไปกินเหล้า ไม่เหลือเงินเก็บเงินใช้ ไปทำงานสาย ทำงานไม่ได้ เกิดปัญหาในที่ทำงาน เป้นที่รังเกียรติของครอบครัว และ คนรอบข้าง หากเราอดทนไว้ไม่กิน ก็มีเงินที่จะซื้อข้าวปลา อาหาร ให้ลูกเมีย ครอบครัว มีเงินใช้จ่ายไปทำงาน มีเงินเก็บ ไม่เหม็นปากเหม็นตัว มีสติครอบคลุม ไปทำงานไม่สาย ทำงานได้เต็มที่ลดปัญหาในครอบครัวและที่ทำงานไปได้ เลิกเป็นหนี้สิน มีเงินเก็บใช้จ่ายมากขึ้น(นี่คือเมื่อมีสติเกิดเป็นกุศลจิต แล้วพึงเจริญใช้สติแยกแยะถึง ส่วนได้-ส่วนเสีย หรือ ผลดี-ผลเสีย จากการเสพย์เหล้า เพื่อให้เราได้วิเคาระห์พิจารณาใน ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์-ไม่ควรเสพย์ / ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์-ไม่ควรเสพย์ / ความวางใจกลางๆที่ควรเสพย์-ไม่ควรเสพย์)

4. เมื่อพิจารณาดังนั้นแล้วผมก้อเลือกที่จะปฏิบัติเพื่อความเป็นกุศลที่ประกอบไปด้วยประโยชน์สุขแก่ตนเองและคนอื่น โดยวาง ขันติ ความอดทนไว้ ประกอบกับความปารถนาที่จะให้ครอบครัวและคนรอบข้างได้รับประโยชน์สุขจากการอดเหล้านั้น  {  เป็นการเลือกกระทำปฏิบัติตั้งใน // ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์(เลือกที่จะเสพย์สุขจากการหยุดกินเหล้า เพราะประกอบด้วยกุศล คุณประโยชน์เป็นอันมาก) ละ ความพอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์(ละการเสพย์สุขจากการกินเหล้า เพราะหาคุณค่าใดๆจากมันไม่ได้) // ตั้งกระทำในความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์(ตั้งกระทำในความไม่พอใจยินดีของการเสพย์เหล้า เพราะหาประโยชน์ใดๆมิได้ มีแต่จะยังความเสื่อมแก่เรา จึงไม่ควรพอใจยินดีที่จะเสพย์มัน) ละ ความไม่พอใจยินดีที่ไม่ควรเสพย์(ละจากความไม่พอใจยินดีที่ต้องหยุดกินเหล้า ละจากความไม่พอใจยินดีที่ต้องขัดใจ ตัดใจ จากเหล้า)  }  เริ่มแรกปฏิบัติหากใจเรายังกุศลไม่พอจะรู้สึกอึดอัด อัดอั้น กดปะทุ ขุ่นข้องใจ เพราะสภาพจิตนั้นถูกขัดจากความพอใจยินดีที่ต้องการทะยานอยาก จนก่อเกิดเป็นความไม่พอใจยินดี(นี่คืออาการฝืนนั้นเองครับ)  จนถึงแก่การวางใจกลางๆแก่เหล้า  {  ตั้งการวางใจกลางๆที่ควรเสพย์(วางใจออก ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ไม่หยิบจับเอาความรู้สึกพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดีใดๆกับเหล้า) นั่นคือการลด ละ เลิก ให้ความสำคัญมั่นหมายในเหล้าของใจเรานั้นเอง เพราะมันตั้งเข้ามาอยู่เป็นความทุกข์ทรมานของกายและใจเรา  }  แล้วอาการที่อยาก ที่ฝืนทน เพื่อจะหยุดกินเหล้าก็หายไป

หากยังพบอาการฝืนอยู่ ก้อย้อนกลับไปพิจารณาปฏิบัติตามข้อ 1-3 แล้วสืบต่อมากระทำในข้อที่ 4 ใหม่จนกว่าอาการฝืนใจของเราจะหายไป มันก้จะหยุดพอใจยินดี อยาก ทะยานไปเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2013, 07:20:35 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:12:56 am »
0
๔. การเข้าถึงในสภาพปรมัตถ์ธรรม

เป็นการเข้าถึงสภาพจริง คือ ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นเพียงสภาพ รูป-นาม ไม่มีตัวตน บุคคล สิ่งใดๆ มีเพียง รูปธาตุ จิต เจตสิก ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตน บุคคล สิ่งของ

การจะพิจารณาเช่นนี้ต้องเข้าถึงหลักของ สติปัฏฐาน คือ

๑. กายานุสติปัฏฐาน
๒. เวทนานุสติปัฏฐาน
๓. จิตตานุสติปัฏฐาน
๔. ธรรมานุสติปัฏฐาน

- เมื่อเราเห็นสภาพจริงแล้ว จะไม่มีตัวตน บุคคลใดๆ ให้ไปยึดจับเอามาตั้งเป็นอารมณ์จนเกิดความทุกข์จากความพอใจ-ไม่พอใจ จะมีเหลือเพียงความมีใจเป็นกลางๆ ไม่มีความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ไม่มีสิ่งใดๆจะไปจับยึดถือ เพราะเป็นเพียงแค่ รูป จิต เจตสิก ไม่มีสมมติบัญญัติ มีเพียงสภาพจริงๆที่มากระทบ ผัสสะ แล้วรู้ด้วยใจ


การเจริญ-ปฏิบัติกัมมัฏฐานใน สมถะ และ วิปัสนา เพื่อเข้าถึง สภาพปรมัตถธรรม เบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2013, 07:02:12 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 09:36:34 am »
0
เมื่อใดที่ปฏิบัติให้เห็นตามความจริงนี้จนเข้าถึงอุเบกขาจิตได้ เราจะมองเห็นว่าทั้ง ๔ ข้อนั้นเกิดความสัมพันธ์เกื้อหนุนแก่กันเป็นที่สุด

โดยปกติคนอย่างเราๆนี้มันติดข้องใจไปทั้งหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดๆ เรื่องใดๆ ไม่มีใครที่อยู่ๆก็ สุข หรือ ทุกข์ หรือ มีอุเบกขาจิตเลย คนทั้งหลายต้องติดข้องใจก่อนด้วยความชอบ ไม่ชอบ (เว้นแต่มีมุทิตาจิต เป็นความโสมนัส พอใจยินดี แบบไม่ติดข้องใจใดๆ)
-  หากมองแบบความรู้สึกเฉยๆกับคนทั่วไป จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ..เรานั้นมีความติดข้องใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ไม่ได้รู้สึกเกิดความชอบ หรือ ไม่ชอบกับมัน เลยเฉยๆ แต่หากมองจริงๆมันก้อจะเกิดสลับกับความพอใจ-ไม่พอใจเสมอ
-  หากมองแบบอุเบกขาจิตที่เป็นกุศลสำหรับคนอย่างเราๆที่พอจะรู้ธรรมบ้างแล้ว จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ..เรานั้นมีความติดข้องใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เมื่อได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสแล้ว มองเห็นตามความสัจจ์จริงดังนี้ว่า..ติดข้องใจไปก็หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ ทั้งแก่ตนเอง และ ผู้อื่น รังแต่จะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นเปล่าๆ ไม่ว่าจะติดข้องใจทั้งในความพอใจ หรือ ไม่พอใจ ผลของมันต่างก็เป็นทุกข์ ดังนั้นเราควรละความติดข้องใจนั้นๆเสีย จากนั้นจิตเราจึงเกิดเพียงความมีใจกลางๆ ที่เสพย์ขึ้นพร้อมกับสมาธิจิตที่ สงบ อบอุ่น ผ่องใส

ผมได้ทำการพิจารณาซ้ำไปซ้ำมากลับไปกลับมาได้ค้นพบตามลำดับดังนี้ว่า

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เกิดความติดข้องใจ --> จึงอยากรู้ --> อยากดู อยากเห็น --> อยากได้ยิน ได้ฟัง --> อยากได้กลิ่น --> อยากลิ้มรส -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> จึงเจตนาที่จะรู้ --> จึงมองดูเพื่อให้เห็น --> จึงเงี่ยหูฟังเพื่อให้ได้ยิน --> จึงใช้จมูกสูดดมเพื่อให้รู้กลิ่น --> จึงดื่ม-กินเพื่อให้รู้รส --> จึงพยายามแตะสัมผัสทางกายเพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกจากการผัสสะกับสิ่งนั้นๆ -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> เมื่อเห็นตามต้องการแล้ว --> เมื่อได้ยินตามต้องการแล้ว --> เมื่อได้กลิ่นตามต้องการแล้ว --> เมื่อรู้รสตามต้องการแล้ว --> เมื่อรู้สัมผัสทางกายตามต้องการแล้ว--> เสพย์เป็นความรู้สึกพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี --> เสวยอารมณ์เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ กาย-ใจ --> เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> ตัณหา -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> พิจารณาตามจริง เห็นตามสัจธรรม รู้สภาพจริง --> เมื่อเราไม่มีความติดข้องใจ -->  แม้เห็นแล้ว --> แม้ได้ยินแล้ว --> แม้ได้กลิ่นแล้ว --> แม้รู้รสแล้ว --> แม้รู้สัมผัสทางกายแล้ว--> ไม่เกิดความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี --> เสวยความรู้สึกมีใจกลางๆ ไม่สุข  ไม่ทุกข์ --> ไม่เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ --> ไม่เกิดตัณหา


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทุกอย่างเกิดที่ใจผมจึงเน้นที่ ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เมื่อมีทั้ง 2 สิ่งนี้จึงดำเนินไปในสิ่งที่เราเสวยอารมณ์ว่า สุข ทุกข์ จนเกิดเป็นตัณหาทั้งหลาย

ตัณหามี 3 ข้อดังนี้
๑ ภวตัณหา  ความอยากมีอยากเป็น อยากพบ อยากเจอ อยากเห็น อยากได้ ต้องการ พอใจ ยินดี ใคร่ได้ รวมไปถึงอยากได้ อยากเป็น อยากมี อย่างคนโน้น-คนนี้(ความอิจฉา) เช่น อยากให้คนรัก อยากรวย เป็นต้น
๒ วิภวะตัณหา ความอยากที่จะไม่ให้ตนเองได้พานพบเจอกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่ใคร่ได้ ไม่ยินดี อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เช่น ไม่อยากพรัดพราก ไมอยากผิดหวัง ไม่อยากให้คนด่าว่ากล่าว เป็นต้น
๓ กามตัณหา ความพอใจยินดีในกาม กำหนัดใคร่ได้ ทะยานอยากในกาม

เวทนา
เวทนา 2 (การเสวยอารมณ์)
1.กายิกเวทนา (เวทนาทางกาย)
2.เจตสิกเวทนา (เวทนาทางใจ)

เวทนา 3 (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์)
1.สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม)
2.ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม)
3.อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา)

เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์)
1.สุข (ความสุข ความสบายทางกาย)
2.ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย)
3.โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ)
4.โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ)
5.อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ)

เวทนา 6 (การเสวยอารมณ์)
1.จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา)
2.โสต-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู)
3.ฆาน-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
4.ชิวหา-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
5.กาย-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
6.มโน-เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)

จากหนังสือ "พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม" พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ปัจจุบันท่านดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ ครับ

ขอขอบคุณที่มาจากคุณวิท http://larndham.org/index.php?/topic/18784-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

อารมณ์ กับ ธัมมารมณ์
ลองดูคำว่า  "อารมณ์" กันก่อนละกันนะคับ
จะได้เข้าใจคำว่า "อารมณ์" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นน่ะคับ

คำว่า "อารมณ์"  หมายถึงสิ่งที่จิตรู้
จิตกำลังรู้สิ่งใด...สิ่งนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น
อันนี้คิดว่าคงเข้าใจแล้วนะคับ  แต่จะแยกออกให้เห็นดังนี้คือ....

ทางตา........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รูปารมณ์  (สี)
ทางหู.........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  สัททารมณ์  (เสียง)
ทางจมูก....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  คันธารมณ์  (กลิ่น)
ทางลิ้น.......รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รสารมณ์  (รส)
ทางกาย.....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น (แต่มี 3 ลักษณะ) คือ  โผฏฐัพพารมณ์
(ได้แก่สัมผัสทางกาย  คือสภาพที่เย็นร้อนอันได้แก่ธาตุไฟ...อ่อนแข็งอันได้แก่ธาตุดิน...เคร่งตึงหรือไหวเคลื่อนอันได้แก่ธาตุลม)


สำหรับทางใจ
จะรับรู้อารมณ์ต่อจากทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย
ก็คือรับรู้  รูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฏฐัพพารมณ์
และนอกเหนือจากอารมณ์ทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว
ทางใจยังรับรู้อารมณ์อื่นๆ อีกทั้งหมด
ซึ่งไม่สามารถรับรู้ทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายเลย

สิ่งที่รับรู้ได้เฉพาะทางใจอย่างเดียวเท่านั้น....นี่แหละคับเรียกว่า  "ธัมมารมณ์"
ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็ได้แก่....ปสาทรูป...สุขุมรูป (รูปที่ละเอียด)...จิตและเจตสิกทั้งหมด...นิพพาน
และบัญญัติธรรม (ชื่อ คำ เรื่องราว ความหมายต่างๆ ฯลฯ)

จะเห็นได้ว่าทางใจนี่รับรู้ได้หมดทุกอารมณ์เลย
สมจริงดังว่า...ทุกอย่างรวมลงที่ใจ

จะสังเกตได้นะคับว่า
รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์ทั้ง 5 นี้แม้เมื่อทางใจรับรู้ต่อจากทางปัญจทวารแล้ว
ก็ยังคงเป็น  รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์  อยู่นั่นเอง
ไม่ได้กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  แต่อย่างใดนะคับ

สิ่งไหนที่เป็นอารมณ์อย่างใด  ก็ต้องเป็นอย่างนั้นเสมอ
ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน่ะคับ
เช่น  สี  เมื่อรับรู้ทางตา  เป็นรูปารมณ์
พอมารับรู้ทางใจ  ก็ยังคงเป็นรูปารมณ์  ไม่ใช่ไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ
เสียง  กลิ่น  รส  ธาตุดิน/ธาตุไฟ/ธาตุลม  ก็เช่นกันคับ
แม้ทางใจจะรับรู้ต่อจาก  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายแล้ว
ก็ยังคงเป็น  สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
ไม่ใช่กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ

แต่ว่า...สิ่งที่นึกคิดต่อเนื่องออกไปอีกนั้นเอง  คือ ธัมมารมณ์
เช่น  ทันทีที่ทางตารับรู้รูปารมณ์ (สี)...แล้วทางใจก็รับรู้รูปารมณ์นั้นต่อ
หลังจากนั้น...ก็นึกคิดเป็นชื่อ  คำ  เรื่องราวความหมายต่างๆ ขึ้นมา
เป็นคน  เป็นสัตว์  เป็นสิ่งของต่างๆ ขึ้นมา...ตรงนี้แหละที่เป็น  ธัมมารมณ์
แล้วก็เกิดความชอบ-ชัง  รัก-เกลียด  ฯลฯ ตามมา...นี่ก็เป็นธัมมารมณ์อีกเช่นกันน่ะคับ


ขอขอบคุณพี่เดฟแห่งวัดเกาะ ที่อธิบายความหมายของ ธรรมารมณ์  ให้เข้าใจอย่างละเอียดตามข้างต้นนี้ครับ

ธัมมารมณ์ แปลว่า สภาพธรรมที่สาธารณแก่ใจเป็นอารมณ์  สิ่งที่รู้ด้วยใจ ความปรุงแต่งจิต ความนึกคิดต่างๆ สิ่งที่ใจผัสสะรับรู้ทางทวารทั้ง๕ คือ รูป เสียง รส กลิ่น โผฏฐัพพะ ได้แก่ สภาว ธรรม ๖ ประการ คือ ปสาทรูป ๕, สุขุมรูป ๑๖, จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, นิพพาน และ บัญญัติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของจิตและเจตสิก ทางใจ (ทางมโน)
รวมอารมณ์ทั้ง ๖ นี้เรียกว่า ฉอารมณ์
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์ อันรวมเรียกว่า ปัญจารมณ์ หรือ อารมณ์ทั้ง ๕
นี้เป็น รูปธรรม
ส่วน ธัมมารมณ์ นั้น จิต เจตสิก และนิพพาน เป็น นามธรรม ปสาทรูป ๕ และสุขุมรูป ๑๖ เป็น รูปธรรม เฉพาะบัญญัติ นั้น ไม่ใช่รูปธรรม และไม่ใช่นาม ธรรมด้วย แต่เป็น บัญญัติธรรม

อารมณ์ทั้ง ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และ ธัมมารมณ์ นี้ จำแนกได้เป็น
๔ นัย คือ
๑. กามอารมณ์ ๒. มหัคคตอารมณ์
๓. บัญญัติอารมณ์ ๔. โลกุตตรอารมณ์

ดูกรอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ
แล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความ
กำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภาย-
ใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความ
กำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง
เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน ฯ

นึกคิดเป็นสังขารขันธ์
ในเจตสิก 52 เว้น เวทนา สัญญา อีก 50 ที่เหลือเป็น สังขารขันธ์ เกิด ดับพร้อมจิต


ขอคุณที่มาจากคุณมโนเกษม
http://larndham.org/index.php?/topic/32071-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2013, 07:24:56 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 05:24:55 pm »
0
เป็นบทความที่ต้องค่อย ๆ อ่านไป อ่านเร็วไม่ได้ เพราะต้องทำความเข้าใจไปด้วย
ขอบคุณครับ คุณ Admax ที่มาแจกธรรม
 :c017:

 
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 08:46:28 pm »
0
ขอบคุณ คุณ kindman เช้นกันครับที่ให้ความกรุณาแวะเยี่ยมชมครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 11:07:35 pm »
0


ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เรียนอุเบกขา 10 ประการนี้ด้วยคะ

1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6

2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร

3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์

4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขา คือ วิริยะ

5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร

6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา

7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา

8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน

9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน

10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก
( หนังสือ วิสุทธิมรรค 1 / 84 - 89 / 473 - 179 )


ธรรมะสาระวันนี้ "พึงพอกพูน อุเบกขา เพื่อการภาวนาที่สมบูรณ์"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7665.0
บันทึกการเข้า

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 11:16:27 pm »
0
8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน

  รู้สึกว่า พระอาจารย์เคยอธิบาย อุเบกขาองค์นี้ไว้ในกระทู้ แต่ค้นไม่พบ จ้าเคยได้อ่านเพราะจะสัมพันธ์กับการภาวนา ด้วยในกรรมฐาน

  และมีบทกัณฑ์เทศน์ลำดับนั้น พระนิพนธ์ ของสมเด็จที่ประพันธ์ถวาย ในหลวงก็จะแสดงเรื่องนี้ แต่แสดงเพียง
6 อุเบกขา

   อุเบกขา จัดเป็น วิปัสสนูกิเลส ถ้าไม่เข้าใจ หรือ บรรลุธรรมอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ ดังนั้นการอ่านเรื่องนี้ต้องค่อย ๆ อ่านอย่างที่คุณ kindman บอกไว้ถูกต้องคะ

    :s_hi:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2012, 02:51:52 pm »
0
ขอบพระคุณที่แนะนำครับเป็นประโยชน์แก่ผมและผู้เยี่ยมชมกระทู้มากครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ