ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบที่มา ว่า สิ่งก่อสร้างรอบอุโบสถ นี้ใช้ทำอะไร คะ  (อ่าน 7054 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
    • ดูรายละเอียด


ขอบคุณภาพจาก facebook หลวงพ่อพระครูคะ

   คือไปที่อุโบสถ วัดราชสิทธาราม แล้ว เห็นมีอยู่หลายหลัง รอบอุโบสถ ไม่ทราบว่าใช้ทำอะไรคะ ศิษย์พี่ ศิษย์ป้า ศิษย์ลุง สายกรรมฐาน มัชฌฺมา  ใครรู้บ้างคะมาช่วยเล่าให้ศิษย์น้อง ฟังกันด้วย นะจ๊ะ


 
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
    • ดูรายละเอียด


  อันนี้ใ่ช้ยรรจุอะไร คะ หรือ ว่า...

 
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
    • ดูรายละเอียด


 ที่มาของสัตว์ที่อยู่ตามนิมิต เสมา คือ อะไร คะ
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด

พระอุโบสถ

พระอุโบสถสงบจิตใจ ร่วมทำบุญวันพระใหญ่ที่ “วัดราชสิทธาราม”
โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

       พอใกล้ๆ วันสำคัญทางศาสนา ฉันก็เริ่มมองหาวัดที่จะเข้าไปทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากวันธรรมดาที่จะตักบาตร ทำบุญ ทำทานอยู่แล้ว ยิ่งเป็นวันพระใหญ่ วันอาสาฬหบูชา ต่อด้วยวันเข้าพรรษา การได้ไปสงบจิตสงบใจให้เป็นกุศลกับตัวเองก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี
       
       แต่ถ้าจะให้ไปไกลจากเมืองกรุงก็คงจะไม่สะดวกนัก ฉันเลยขอเลือกที่จะไปทำบุญที่ “วัดราชสิทธาราม” หรือ “วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี สาเหตุที่เลือกมาที่นี่ก็เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน ที่สอนตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้


ทางเข้าวัดราชสิทธาราม

      ก่อนจะเข้าไปที่วัด ฉันก็ขอศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดนี้เสียหน่อย เวลาเดินดูภายในวัดจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งขึ้น วัดราชสิทธารามแห่งนี้ แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดพลับ” สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ก็ไม่ได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไหร่ แต่ตัววัดเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดในปัจจุบัน
       
       มาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่บริเวณที่ติดกัน และให้รวมวัดพลับเดิมเข้าไปอยู่กับเขตวัดที่สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากได้ทรงอาราธนา “พระอาจารย์สุก” (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น พระญาณสังวรเถร และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) มาจำพรรษา ณ วัดในกรุงเทพฯ


หน้าบันลวดลายไม้แกะสลัก

      พระอาจารย์สุก หรือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวักราชสิทธาราม ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงเชี่ยวชาญในกัมมัฏฐาน มีเมตตาภาวนาแก่กล้า จนสามารถเลี้ยงไก่ป่าให้เชื่องได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน”
       
       เมื่อเดินเข้ามาถึงตัววัดแล้ว สิ่งแรกที่ฉันเห็นเด่นชัดและสะดุดตาเป็นอย่างมากก็คือ พระอุโบสถ ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี หากมองขึ้นไปบริเวณหน้าบันแล้วสังเกตดีๆ จะเห็นลวดลายไม้แกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายก้านขดประดับกระจกสีลงรักปิดทอง ที่ยังคงดูสวยสดงดงามแม้จะผ่านกาลเวลามายาวนานแล้ว


กุฏิวิปัสสนา

      สำหรับพระประทานในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย นามว่า “พระพุทธจุฬารักษ์” ฉันก็ได้ไปกราบสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะเดินดูความงดงามของจิตรกรรมฝาผนังภายใน ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ มหาเวสสันดรชาดก ภาพไตรภูมิ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของศิลปะแบบไทยๆ ที่น่าชื่นชม และควรอนุรักษ์ให้ลูกหลานเราได้เห็นสืบไป
       
       เมื่อเดินออกมาด้านนอก จะเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายๆ ศาลาหลังเล็กๆ ตั้งเรียงรายกันอยู่รอบโบสถ์ ฉันลองสอบถามคุณลุงที่นั่งอยู่แถวนั้น ท่านก็ตอบว่า สิ่งที่เห็นนี้คือกุฏิวิปัสสนา มีทั้งหมด 24 หลัง สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน และบริเวณหน้าบันก็ยังปั้นปูนเป็นลวดลายสวยงามด้วย นอกจากนี้ ที่ด้านหน้าโบสถ์ยังมีเจดีย์สำคัญอีก 2 องค์ คือ พระสิราศนเจดีย์ และ พระสิรจุมภฏเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบทรงเครื่อง ตั้งอยู่ทางทิศใต้และทิศเหนือของตัวพระอุโบสถ


พระสิราศนเจดีย์

       เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานแล้ว จึงทำให้ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างและจุดสำคัญๆ อีกหลายจุด อาทิ พระวิหารแดง ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และที่สำคัญ คือ พระตำหนักจันทน์ ที่ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักจำพรรษาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่ทรงผนวช ส่วน พระตำหนักเก๋งจีน ที่สร้างอยู่คู่กับพระตำหนักจันทน์นั้น แต่เดิมก็ใช้เป็นที่รับรองผู้มาเข้าเฝ้าฯ และในบริเวณเดียวกันนี้ก็ยังมี ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกไว้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
       
       อย่างที่บอกมากตั้งแต่ต้นว่า ฉันเลือกมาที่นี่เนื่องจากวัดนี้มีชื่อเสียงทางด้านกรรมฐาน จึงขอแนะนำเสียหน่อยว่า กรรมฐานของวัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือการเรียนปฏิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆ ไป และถือว่าเป็นกรรมฐานของเก่าที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยพุทธกาล


ต้นพระศรีมหาโพธิ์

      จนมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐาน โดยได้มีการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เพื่อรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย หรือแตกกระจายไป
       
       แต่ในปัจจุบันนั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับได้เสื่อมลงเรื่อยๆ โดยใช้แบบแผนอื่นเข้ามาแทน ซึ่งยังคงเหลือเฉพาะที่วัดราชสิทธารามเพียงแห่งเดียว ที่ยังคงรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเป็นหลักไว้อย่างยาวนานมาจนถึงขณะนี้


รูปปั้นจำลองสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก)

      ใครที่เพิ่งเริ่มต้นนั่งกรรมฐาน อาจจะมาเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้ก็ได้ โดยจะมีการสอนนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้ในทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น. ซึ่งเมื่อเรียนรู้แล้วก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อเองที่บ้านได้
       
      สิ่งที่ไม่ควรพลาดอีกแห่งหนึ่งเมื่อมาถึงที่วัดนี้ก็คือ การขึ้นไปศึกษายัง พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ที่รวบรวมโบราณวัตถุ และของเก่าหายากต่างๆ มาให้ได้ศึกษากัน ทั้งของใช้ และของที่ได้รับพระราชทานของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) อาทิ ไม้เท้าเบิกไพรไผ่ยอดตาล พระคัมภีร์มูลกัจจายน์ อุณากัณฑ์ ที่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) ทรงคัดลอกด้วยลายพระหัตถ์ บาตรดินเผา ธรรมมาสน์แสดงธรรม เป็นต้น


หุ่นขี้ผึ้งพระสายวิปัสสนา

      และยังมีหุ่นขี้ผึ้งของพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) รวมถึงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์วิปัสสนาสายเดียวกันนี้อีกหลายองค์ ที่รวบรวมไว้อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปได้เข้าไปกราบไหว้
       
      นอกจากจะไปสงบจิตสงบใจด้วยการเข้าวัดทำบุญ หรือไปนั่งสมาธิที่วัดแล้ว ฉันว่า การที่ทำจิตใจให้สงบ มีสติ รู้จักอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถสงบจิตสงบใจของเราได้เช่นกัน และนอกจากจะได้ทำบุญในช่วงวันพระใหญ่แล้ว ฉันว่าจะชวนแม่และคนในครอบครัวมาทำบุญด้วยกัน จะได้มีความสุขกันไปทั้งบ้าน


หนึ่งในวิธีการปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
       
    “วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร” ตั้งอยู่ภายในซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กทม.
   โทร. 0-2465-2552 สำหรับพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น.


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000094218
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด



อัปโหลดเมื่อ 9 ธ.ค. 2011 โดย 2548weera


ans1 ans1 ans1
สิ่งที่เห็นนี้คือ กุฏิวิปัสสนา(ใช้นั่งกรรมฐาน) มีทั้งหมด 24 หลัง สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน
และบริเวณหน้าบันก็ยังปั้นปูนเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหลังของกุฏิติดกำแพงแก้ว


ans1 ans1 ans1
รูปปั้นสัตว์หน้าซุ้มเสมานั้น ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มีที่มาอย่างไร
หากมีโอกาส จะขอความกระจ่างจากพระครูสิทธิสังวรให้ครับ

ans1 ans1 ans1
ที่เห็นเรียกว่า เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๖ มีอยู่ทั้งสี่มุมของพระอุโบสถ
แต่ก็ไม่ทราบว่าใช้ประดิษฐานอะไร หากมีโอกาส จะขอความกระจ่างจากพระครูสิทธิสังวรให้ครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด

     
ans1 ans1 ans1
     ได้คำตอบมาจากพระครูสิทธิสังวรแล้วครับ ได้ถามท่านเมื่อครั้งงานหล่อพระราหุล ๑๖ มีนาคมที่ผ่านมา ท่านบอกว่า รูปปั้นสัตว์ที่หน้าโบสถ์ เรียกว่า ตัวอับเฉา มาจากเมืองจีน ในสมัยรัชกาลที่ ๓  เพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น ขอให้อ่านบทความนี้ครับ




เรื่องจริงน่ารู้: รูปสลักหินสวยงาม ทำไมจึงเรียก ตัวอับเฉา

สำหรับใครที่เคยไปเยือนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ แล้วละก็ ย่อมต้องเคยพบเห็นรูปสลักหินจีนทั้งหลายที่ตั้งประดับตามซุ้มประตูและที่ต่างๆ มีทั้งสลักจากหินและปูนปั้น โดยหลายคนอาจจะไม่รู้ว่ารูปสลักหินจีนเหล่านี้ มีชื่อเรียกว่า ตัวอับเฉา หรือ เครื่องอับเฉา (Chinese Ship Ballast)

ตัวอับเฉานั้น มีต้นกำเนิดจากการค้าสำเภา (การค้าขายสินค้าด้วยเรือสำเภาเดินทะเล) ในสมัยรัชกาลที่ 3
โดยเมื่อประเทศไทยจะส่งสินค้าไปขายยังเมืองจีนหรือยังต่างประเทศนั้น สินค้าจะเป็นพวก ไม้สัก ข้าวสาร งาช้าง ดีบุก พลวง ไม้ เครื่องเทศ ซึ่งเป็นของมีน้ำหนัก
     หากไปค้าขายที่เมืองจีน เมื่อขายสินค้าแล้ว ขากลับก็จะซื้อสินค้าจากเมืองจีน (หรือจากประเทศคู่ค้า)
     กลับมา เป็นพวกผ้าแพร ผ้าไหม แร่ทอง แร่เงิน ไขมุก ซึ่งมีราคสูงและมีน้ำหนักเบา
     ซึ่งเรือสำเภาที่จะแล่นฝ่าคลื่นลมในทะเลได้นั้นต้องมีน้ำหนักพอสมควร
     มิฉะนั้นเรือจะโคลงแล่นฝ่าคลื่นลมมาไม่ได้
     จึงต้องมีการถ่วงน้ำหนักใต้ท้องเรือ โดยมีการใส่อับเฉามาใต้ท้องเรือ

 


     อับเฉา ในยุคแรกๆ จะมีลักษณะเป็นแท่งหิน ยังไม่มีการทำเป็นตุ๊กตาหิน
     โดยนำไปใช้เป็นแท่งหินปูพื้นทำถนนทางเดิน ณ พระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน
     ต่อมามีการนำตุ๊กตาหินมาใส่เป็นตัวอับเฉา ซึ่งตอนแรกๆ นั้น ทางจีนทำมาอย่างไร เราก็ซื้อมาตามนั้น
     แต่ภายหลังมีการออกแบบจากไทยไปให้ช่างจีนทำตุ๊กตาหินตามสั่ง
     ซึ่งตุ๊กตาหินเหล่านั้นได้นำมาตั้งตกแต่งพระอาราม พระราชวัง วัง หรือบ้านผู้มียศศักดิ์
     โดยสลักเป็นรูปต่างๆ ทั้งรูปคน ฝรั่ง จีน เทพเทวดา และรูปสัตว์



Ref. www.everykid.com/wat/suthat2.html
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
www.singhasquare.com/academy/news/10597/เรื่องจริงน่ารู้-รูปสลักหินสวยงาม-ทำไมจึงเรียก-ตัวอับเฉา.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด


ans1 ans1 ans1
    เจดีย์ที่เห็นเรียกว่า เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ๑๖ มีอยู่ทั้งสี่มุมของพระอุโบสถ จากการสอบท่านพระครูสิทธิสังวร ท่านบอกว่า ใช้ประดิษฐานรูปของบูรพาจารย์วัดพลับ แต่ด้วยเวลาจำกัดผมไม่ได้ถามว่า เป็นรูปถ่ายหรือรูปวาด รูปปั้นหรือรูปหล่อ ใครมีโอกาส ลองเข้าไปดู มาเล่าสู่กันอ่านบ้าง
       :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
สิ่งที่บรรจุในเจดีย์นั้นมีอะไรบ้าง ลองอ่านเฉลย
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา