ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบความหมายจริง ๆ ของคำว่า วิญญาณ ในการภาวนาของชาวพุทธครับ  (อ่าน 7176 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบความหมายจริง ๆ ของคำว่า วิญญาณ ในการภาวนาของชาวพุทธครับ

 เพราะบางท่าน ก็บอกว่า วิญญาณ หมายถึง ผี

  บางท่านก็บอกว่า ความรู้สึก

  บางท่านก็บอกว่า ญาณ

 แท้ที่จริงคำว่า วิญญาณ ในภาษา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือ ในการภาวนาแบบพุทธนี้ คืออะไร ? ครับ

  :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิญญาณ น่า  ความรับรู้คะ

ส่วนผี นั้นน่าจะเรียกว่า โอปปาติกะ คะ สัมภะเวสี มากกว่า คะ

  :s_hi:

ดวงจิต จุติ นั้นเป็น วิญญาณ หรือ ไม่ ?
ต้องอ่านเรื่องนี้ดูพอจะเข้าใจคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7443.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2012, 12:34:20 pm โดย วิชชุดา »
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

sanrak

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิญญาณตามหรือแฝง

               วิญญาณ ( ผี )   ดวงวิญญาณ   ดวงจิต   คืออะไร? 

เป็นมาอย่างไร?   มีจริงหรือ?   ตามหลักของพระพุทธศาสนา

แล้ว   เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง   เรื่องของภพภูมิ

นั้นก็มีจริง   เริ่มจากภูมิของมนุษย์   ภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไป

มี ......

๑.   ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน 

๒.   ภูมิของเปรต

๓.   ภูมิของอสูรกาย

๔.   ภูมิของสัตว์นรก     

ส่วนภพภูมิที่สูงกว่ามนุษย์ขึ้นไปตามลำดับนั้นก็มี......

๑.   ภูมิของเทพเทวดา

๒.   ภูมิของรูปพรหมและอรูปพรหม

๓.   ภูมิของพระโสดาบัน

๔.   ภูมิของพระสกทาคามี

๕.   ภูมิของพระอนาคามี

๖.   ภูมิของพระอรหันต์

๗.   ภูมิของพระนิพาน

               ร่างกายของมนุษย์มาจากไหน?   มาจากไข่ของแม่ที่

สุกสมบูรณ์   ถูกเชื้ออสุจิของพ่อที่แข็งแรงเข้าผสม   หลังจากนั้น

มี ดวงจิต หรือ ดวงวิญาณ ของสัตว์จากภูมิต่างๆที่ดับ ( ตาย 

หมดบุญ   หมดกรรม ) แล้วเข้ามาผสมด้วย   จึงถือว่าการเกิดได้

เกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์   เรียกว่า " การปฏิสนธิวิญญาณ "   หลัง

จากนั้นก็พัฒนาการทางด้านรูปร่างอยุ่ในท้องแม่ ๙ เดือน   แล้ว

คลอดออกมาเป็นทารก   จากทารกเป็นเด็ก   จากเด็กเป็นวัยรุ่น 

จากวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่   จากผู้ก็เข้าสู่วัยชรา   เมื่อแก่แล้วก็เจ็บ

ป่วย   หลังจากนั้นก็ตาย   เมื่อตายร่างกายก็นำไปฝังหรือเผา 

ส่วนดวงจิตหรือดวงวิญญาณนั้นก็ไปเกิดภพภูมิใหม่ต่อไป   จิตจะ

ไปเกิดที่ภพภูมิไหนทุกข์หรือสุข   ก็ขึ้นอยู่กับผลการกระทำความ

ดีหรือความชั่วว่าอันไหนมีมากกว่ากัน   ถ้ามีส่วนของความดีมากก็

จะส่งให้ดวงจิตหรือดวงวิญญาณดวงนั้นไปเกิดในภพภูมิที่มีแต่

ความสุขและดวงจิตหรือดวงวิญญาณนี้ก็จะไปอยู่ในร่างใหม่ต่อไป

คือ เทพเทวดา   พรหมเป็นต้น   ถ้าส่วนของความไม่ดีมีมาก   ก็

จะส่งให้ดวงจิตหรือดวงวิญญาณดวงนั้นไปเกิดที่ๆมีแต่ทุกข์

เวทนา เช่น   เกิดในร่างของสัตว์นรก   ร่างของอสูรกาย   ร่างของ

เปรตและในร่างของสัตว์ดิรัจฉาน เช่น หมู   เป็ด   ไก่   กุ้ง 

หอย   ปู   ปลา   ช้าง   ม้า  วัว   ควาย   มด   แมลง   หนอนใน

น้ำสกปรกมูตรคูตต่างๆ   ไม่ว่าดวงจิตหรือดวงวิญญาณจะไปเกิดที่

ไหน   ในร่างของอะไร   เมื่อหมดวาระก็ต้องไปเกิด   โอนย้าย

ถ่ายเทไปอยู่ภพภูมิใหม่ในร่างใหม่ต่อไปไม่รู้จบสิ้น   ถ้าหากดวง

จิตหรือดวงวิญญาณดวงนั้น   ไม่สามารถเข้าสู่ภูมิของพระนิพพาน

ได้   ดวงจิตหรือดวงวิญญาณไม่มีวันที่จะแตกดับหรือสูญหาย 

มนุษย์หรือสัตว์โลกเมื่อดับหรือตายแล้วจะเกิดทันที   ไปเกิด

ที่ .........

๑.    ไปเกิดในครรภ์

๒.    ไปเกิดในไข่

๓.    ไปเกิดในเถ้าไคล   น้ำสกปรกมูตรคูต

๕.    ไปเกิดเป็นโอปปาติกะ

               โอปปาติกะ   คือ   พวกที่มีรูปร่างเป็น กายทิพย์ 

กายทิพย์ไม่สามรถมองเห็นด้วยตาของเราได้   จะเห็นได้ด้วย ตา

ทิพย์ เท่านั้น   พวกโอปปาติกะได้แก่   พระภูมิเจ้าที่   เจ้าป่าเจ้า

เขา   รุกขเทวดา   อากาศเทวดา   ภูมิเทวดา   พระอินทร์   พระ

พรหม   สัมภเวสี   วิญญาณแร่ร่อน   ฯลฯ   ยกเว้นมนูษย์กับสัตว์

ดิรัจฉานไม่ใช่โอปปาติกะเพราะ   มีร่างกายจับต้องและเห็นได้ด้วย

ตาธรรมดาของเรา ( ตาเนื้อ )

               ทำไมดวงจิตหรือดวงวิญญาณจึงตามหรือมาแฝงอยู่

กับตัวเรา   มีหลายสาเหตุหลายประการ   แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ 

ต้องการความช่วยเหลือมากกว่า   หลังจากคนหรือมนุษย์ได้ตาย

แล้ว   ไม่ว่าจะหมดอายุขัยหรือไม่ก็ตาม   สังเกตุดูก่อนเผาศพ

หรือเอาศพเข้าโลง   จะถูกสัปปะเหร่อเอาด้ายมัดตราสังศพเอา

ไว้   ทำเพื่อไม่ให้วิญญาณของผู้ตายไปรบกวนเขา   นั่นคือการ

สะกดวิญญาณไว้แล้ว   เพราะบางวิญญาณหวงร่างตัวเอง   คิดว่า

ตัวเองไม่ตายหรือจะฟื้นกลับเข้าร่างอีก   เมื่อถูกสะกดดวงจิตและ

ดวงวิญญาณก็ไปภพภูมิที่ดีๆไม่ได้   ต้องเป็นวิญญาณแร่ร่อนต่อ

ไป 

         ถ้าหากเป็นวิญญาณจากการตายโหงหรือตายท้องกลม 

พวกหมอไสยเวทย์ไสยศาสตร์   ก็ใช้มนต์สะกดเรียกดวงวิญญาณ

เอาไว้ไปใช้งาน   ที่วิญญาณตามหรือแฝงเราเพราะเขาต้องการ

ความช่วยเหลือจากเราในเรื่องของบุญกุศล   วิญญาณตามหรือ

แฝงเราเพราะถูกเขาทำคุณไสยมนต์ดำใส่เรา   วิญญาณตามหรือ

แฝงเพราะฝ่ายตรงข้ามต้องการสอดแนมหาข้อมูลจากเรา ( พราย

กระซิบ )   วิญญาณตามหรือแฝงเพราะแรงอาฆาตแรงพยาบาต

เช่น   วิญญาณจากการตกเลือดหรือทำแท้ง   การยิงกันฆ่ากัน 

การทำให้ตรอมใจตาย   ตายเพราะพิษรักแรงหึง   อย่าว่าแต่

วิญญาณธรรมดาถูกสะกดเลย   แม้แต่เทพ - เทวดา   ยังถูกสะกด

เลย   เมื่อมีวิญญาณแฝงหรือวิญญาณตามย่อมมีผลเสียและ

อิทธิพลกับเราแน่นอน   ดวงจิตที่มีแรงอาฆาตพยาบาตเป็นพลังที่

ไม่ดี   ดวงจิตดวงวิญญาณที่ถูกคูณไสยมนต์ดำก็เป็นพลังงานที่ไม่

ดี   จะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย   สถานภาพของครอบครัว 

การงาน   การเงิน   ผลกระทบกับคนที่อยู่รอบข้างเรา   ที่เราเรียก

ว่า " ผี " นั้นคือ   ดวงจิตดวงวิญญาณของคนที่เขาตายไปแล้ว 

เขามาทำให้เราเห็นหรือมาเข้าฝัน   แสดงว่าเขาต้องการความช่วย

เหลือหรือจะบอกหรือพูดคุยอะไรกับเราสักอย่างหนึ่งเท่านั้น   บาง

ที่เขาตกทุกข์ได้ยากลำบาก   แต่การมาของเขากลัวเราจะจำไม่ได้

ก็เลยมาในรูปของร่างกายครั้งสุดท้ายก่อนตายหรือขณะที่ตาย 

ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอกนะ .........     

http://www.kontatip.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=234073
บันทึกการเข้า

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิญญาณ คือ เหตุแห่งการเกิดขึ้นของสัตว์
อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “นามรูปมี เพราะปัจจัย
คือ วิญญาณ” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
“นามรูปมี เพราะปัจจัย คือ วิญญาณ” :
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณจักไม่ก้าวลง
ในท้องแห่งมารดาแล้วไซร้; นามรูปจักปรุงตัวขึ้นมา
ในท้องแห่งมารดาได้ไหม ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้อง
แห่งมารดาแล้ว จักสลายลงเสียแล้วไซร้; นามรูปจักบังเกิดขึ้น
เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อน ที่เป็นชาย
ก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม จักขาดลงเสียแล้วไซร้; นามรูป
จักถึงซึ่งความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์บ้างหรือ ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
คือเหตุ, นั่นแหละคือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
คือปัจจัย ของนามรูป; นั้นคือ วิญญาณ.
อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ
นามรูป” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
โดยปริยายดังต่อไปนี้ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
“วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป”
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้ง
ที่อาศัยในนามรูป แล้วไซร้; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์
คือ ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
คือเหตุ, นั่นแหละ คือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
คือปัจจัยของวิญญาณ; นั่นคือ นามรูป.
อานนท์ !
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง
จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง :
คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้,
คลองแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้,
คลองแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้,
เรื่องที่จะต้องรู้ด้วยปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้,
ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้:
นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่
เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้
(ของนามรูปกับวิญญาณ นั่นเอง).
มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.
เขียนโดย ภักดีพุทธวัจน์ ที่ วันจันทร์, กรกฎาคม 11, 2011


http://buddhaoat.blogspot.com/2011/07/blog-post_3406.html
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ชีวิต คือ อะไร

     ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้น สิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังหมายถึงพืชอีกด้วย

     แต่ในพระอภิธรรมนั้น ให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือ ความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิด และตามรักษาดำรงชีวิตและกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิต และเจตสิกเป็นผู้กำกับ
           
     ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ในทางธรรมเรียกว่า รูปธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก นึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป
           
     ส่วน จิตและเจตสิก เป็น นามธรรม เรียกสั้น ๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้
           
    ดังนั้น ตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิต และเจตสิก ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เท่านั้น
           
    คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมด ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย
           
     สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้ว มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลย ที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ “เรา” อีกเช่นเคย

     แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิกที่มีการเกิดดับ อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันทั้งสิ้น

     เพราะสัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
           
     การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือ การศึกษาเรื่องของตัวเรา และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก

     สำหรับการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึง ซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรม ที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลาย ก็จะถูกทำลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด



รูปนามกับขันธ์ ๕ สัมพันธ์กันอย่างไร


 คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง, พวก, หมวด, หมู่

    ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงหมายถึงสภาวธรรม ๕ อย่าง ซึ่งประกอบด้วย
    ๑. รูปขันธ์ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูป ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด
    ๒. เวทนาขันธ์  คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉย ๆ 
    ๓. สัญญาขันธ์  คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ หรือเป็นหน่วยความจำของจิตนั่นเอง
    ๔. สังขารขันธ์  คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่าง ๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่าง ๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้ำ เป็นเหตุให้น้ำในแก้ว เปลี่ยนไปตามสีที่หยด
    ๕. วิญญาณขันธ์ หรือ จิต คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาต ิที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ

   
    การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ
           
    สรุปแล้ว ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือ รูปกับนาม นั่นเอง



จิต คือ อะไร

    จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น
           
     จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง
     ที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้
     ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ
     แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม
     ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว
     โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

           
     อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์
           
     จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้
           
     สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ
     ๑. ที่ตา  เพื่อทำหน้าที่เห็นรูป ที่ปรากฏทางตา  จิตนี้มีชื่อว่า  จักขุวิญญาณ  (จักขุ = ตา) 
     ๒. ที่หู  เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียง ที่ปรากฏทางหู  จิตนี้มีชื่อว่า โสตวิญญาณ  (โสต = หู) 
     ๓. ที่จมูก  เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น  ที่ปรากฏทางจมูก  จิตนี้มีชื่อว่า  ฆานวิญญาน  (ฆาน = จมูก) 
     ๔. ที่ลิ้น  เพื่อทำหน้าที่รู้รส  ที่ปรากฏทางลิ้น  จิตนี้มีชื่อว่า ชิวหาวิญญาณ  (ชิวหา = ลิ้น)
     ๕. ที่กาย  เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย  จิตนี้มีชื่อว่า  กายวิญญาณ   
     ๖. ที่ใจ  เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก  นึก คิด ทางใจ  จิตนี้มีชื่อว่า  มโนวิญญาณ  (มโน = ใจ)

         
      ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึง สิ่งเดียวกัน
      นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น
      จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง



อ้างอิง
บทเรียนอภิธรรม ตอนที่ ๒ เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เนต อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http://www.buddhism-online.org/Section02A_01.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://www.gmwebsite.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2012, 04:05:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ

มโน ใจ (ข้อ ๖ ในอายตนะภายใน ๖)

จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ

วิญญาณ ๖ (ความรู้แจ้งอารมณ์)
    ๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา รู้รูปด้วยตา, เห็น)
    ๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู, ได้ยิน)
    ๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก, ได้กลิ่น)
    ๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น, รู้รส)
    ๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้สึกสัมผัส)
    ๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, รู้ความนึกคิด)


อ้างอิง ที.ปา.๑๑/๓๐๖/๒๕๕; อภิ.วิ.๓๕/๑๒๐/๑๐๕
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.numtan.com/




วิญญาณเกิดขึ้นได้อย่างไร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ทวยสูตรที่ ๒


     [๑๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยส่วนสอง
     วิญญาณเกิดขึ้น เพราะ อาศัยส่วนสองเป็นอย่างไร
     จักษุวิญญาณเกิดขึ้น เพราะ อาศัย "จักษุและรูป"


     จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น
     รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น

     ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น
     จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น
     แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่า จักษุสัมผัส ฯ

     (วิญญาณเกิดขึ้นจากปราสาทสัมผัสของเรา ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ)

   
อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๑๖๙๐ - ๑๗๔๔.  หน้าที่  ๗๓ - ๗๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1690&Z=1744&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=124
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/




วิญญาณ เวียน ว่าย ตาย เกิด ได้หรือไม่....ไม่ได้


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔


๓๘ . มหาตัณหาสังขยสูตร
สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่


   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. สมัยนั้นภิกษุชื่อสาติ ผู้เป็นบุตรของชาวประมงเกิดความเห็นผิดว่า 
   "วิญญาณดวงนั้นแหละแล่นไป ท่องเที่ยวไป มิใช่ดวงอื่น"
   (ถือว่าวิญญาณเที่ยงเป็นตัวยืนในการเวียนว่ายตายเกิด)
   ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนว่า พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสเช่นนั้น ก็ไม่เชื่อฟัง.


   ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงตรัสสั่งให้เรียกตัวภิกษุชื่อสาติมาสอบถาม และชี้ให้เห็นว่าเป็นการกล่าวตู่พระองค์ เพราะพระองค์ตรัสอยู่โดยปริยายเป็นเอนกว่า
   "วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย เว้นจากปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี."
   (เมื่อเกิดเพราะอาศัยเหตุปัจจัย จึงดับได้ ไม่ใช่ของยั่งยืน ดังที่เข้าใจผิดไปนั้น).
   ภิกษุชื่อสาติ ก็นั่งก้มหน้าเก้อเขิน ถอนใจ.


  ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสสอบถามความเข้าใจของภิกษุทั้งหลาย ก็กราบทูลตอบตรงตามหลัก คือ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยอื่น เว้นจากปัจจัย ความเกิดแห่งวิญญาณย่อมไม่มี.
   ครั้นแล้ว จึงทรงแสดงที่วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
   อันทำให้มีชื่อเรียก คือ อาศัยตา อาศัยรูป วิญญาณเกิดขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ(ความรู้แจ้งทางตา) เป็นต้น     
  จนถึงอาศัยใจ อาศัยธรรมะ วิญญาณเกิดขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ(ความรู้แจ้งทางใจ)
  เปรียบเหมือนไฟเกิดจากไม้ ก็เรียกว่า ไฟไม้ เป็นต้น.



ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.4.html
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๘๐๔๑ - ๘๕๐๖.  หน้าที่  ๓๓๐ - ๓๔๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8041&Z=8506&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440
ขอบคุณภาพจาก http://nkgen.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



วิญญาณเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้..แล้วใครล่ะ"เวียนว่ายตายเกิด"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก


     [๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า

     สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่
     "เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว"


     ก็ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ
     นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๕๘๘๖ - ๕๙๔๘.  หน้าที่  ๒๔๕ - ๒๔๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5886&Z=5948&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1010
ขอบคุณภาพจาก http://static.tlcdn1.com/




มีใครบ้าง..ที่ได้ชื่อว่า "สัตว์"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์

    [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
     พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้
     ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?


     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ
     เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล
     เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.
     เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
     ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ
     เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้องในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.


     ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่นทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.

     ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวนกระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ ด้วยมือและเท้า ฉันใด

     ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้ เป็นของเล่นไม่ได้
     จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา ให้เป็นของเล่นไม่ได้
     จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้
     จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัดจงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้
     จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้
     จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น นั่นเทียวแล.


    ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
    จบ สูตรที่ ๒.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๔๔๓๔ - ๔๔๕๙. หน้าที่ ๑๙๒ - ๑๙๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=4434&Z=4459&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=367
ขอบคุณภาพจาก http://sl.glitter-graphics.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2012, 05:05:11 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


แม้แต่ "ก้อนเลือดในครรภ์" ก็เรียกว่า "สัตว์"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ 
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑


นับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์ พระกุมารกัสสปเป็นตัวอย่าง

      [๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท.
      ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็เรามีอายุครบ ๒๐ ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท จะเป็นอันอุปสมบทหรือไม่หนอ
.

      ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
      พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว
      อาศัยจิตดวงแรก วิญญาณดวงแรกนั้น นั่นแหละเป็นความเกิดของสัตว์นั้น


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.


ที่มา http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3739&Z=3869
ขอบคุณภาพจาก http://file.siam2web.com/



สัมภเวสี ผู้แสวงสมภพ  ;ดู ภูตะ

ภูต, ภูตะ
       1. สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเกิดเสร็จไปแล้ว,
           นัยหนึ่ง หมายถึงพระอรหันต์ เพราะไม่แสวงหาภพเป็นที่เกิดอีก
           อีกนัยหนึ่งหมายถึง สัตว์ที่เกิดเต็มตัวแล้ว เช่น คนคลอดจากครรภ์แล้ว ไก่ออกจากไข่แล้ว เป็นต้น

           ต่างกับ สัมภเวสี คือ สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด ซึ่งได้แก่ปุถุชนและพระเสขะผู้ยังแสวงหาภพที่เกิดอีก หรือสัตว์ในครรภ์และในไข่ที่ยังอยู่ระหว่างจะเกิด
       2. ผี, อมนุษย์
       3. ภูตรูป คือ ธาตุ ๔ มักเรียก มหาภูต


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://t2.gstatic.com/


    สัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภพภูมินี้ ไม่ว่าจะเป็น
    เทวดา มนุษย์ เดรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และแม้แต่ ผี หรือสัมภเวสี(ตามที่เราเข้าใจ) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น


    จากความหมายของคำว่า "สัมภเวสี" ข้างต้น ขอให้เข้าใจว่า
    สัตว์ทุกตัวตน ที่ยังเวียนว่ายตามเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ ล้วนเป็นสัมภเวสีเหมือนกันทั้งสิ้น

     :49:

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2012, 05:37:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ