ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ส้ม
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ข้าวยาคู กั้บ มธุปายาส แตกต่างกันอย่างไรใครรู้อธิบายให้ด้วย คะ เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 12:05:51 pm
 ask1
ข้าวยาคู กั้บ มธุปายาส แตกต่างกันอย่างไรใครรู้อธิบายให้ด้วย คะ

   อยากทราบว่า ถ้าข้าวยาคู เป็น ข้าวต้ม สมัยครั้งพุทธกาล ใส่บาตรกันอย่างไร พระใช้ช้อน หรือ ใช้มือจ้วง คะ สมัยนั้น มีใครพอทราบ แจกความรู้เป็นวิทยาทาน ด้วยคะ

 :c017: :c017: :c017:
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สูกรมัททวะ คือ อาหารแบบไหน คะ เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 12:03:52 pm
 ask1
สูกรมัททวะ คือ อาหารแบบไหน คะ
  และคนที่ถวาย สูกรมัททวะ ได้บุญหรือได้บาป คะ

  thk56
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มรรคสมังคี คือ อะไร คะ ? เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 11:32:48 am
มรรคสมังคี คือ อะไร คะ ?ไม่ทราบ ว่าพิมพ์ถูกหรือ ไม่ ขอท่านผู้รู้ ศิษย์ พี่ทุกท่านช่วยแนะนำด้วยคะ

  :58: :c017: :25:
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนเลี้ยงควาย (การรักษาจิตคล้ายคนดูแลควาย) เมื่อ: สิงหาคม 27, 2012, 05:09:07 pm


คนเลี้ยงควาย (การรักษาจิตคล้ายคนดูแลควาย)
เวลาเลี้ยงควาย เราปล่อยควายให้เดินไปตามถนน เจ้าของก็เดินตามหลังควาย สบายๆ...สองข้างทางเป็นไร่นา บางครั้งควายเดินออกนอกถนน ไปกินข้าวในนาของเพื่อนบ้าน เจ้าของก็ต้องดีบ้าง กระตุกเชือกบ้างให้ควายกลับขึ้นมาบนถนนใหม่ เมื่อควายเรียบร้อย เดินบนถนนก็เดินตามหลังควายสบายๆ เมื่อควายเข้าไปในนาข้าวกินต้นข้าว รีบดึงควายให้กลับมาบนถนน ทำอยู่อย่างนั้นเรื่
อยๆ ไป
เจ้าของควาย คือ สติ


ส่วนตัวนะครับ

วันหลังไม่รู้อะไร ไม่เข้าใจให้ถามพระอาจารย์เลยครับ บ้างทีความสงสัยของเรา ทำให้เราและคนอื่นได้ประโยชน์มากมายนะครับ
ควาย คือ จิต
ถนน คือ ลมหายใจ
ถนนยาวๆ คือ ลมหายใจยาวๆ
ต้นข้าว คือ นิวรณ์ 5
เอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ พยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ติดต่อกันสม่ำเสมอ เหมือนเอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น เมื่อสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า จิตก็อยู่ที่นั่น ขาดสติเมื่อไร จิตก็คิดไปต่างๆ นานา ตามกิเลส ตัณหา ตามนิวรณ์...ก็รีบต่อสติ กำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
อานาปานสติ ขั้นที่ ๑ - ๒
เมื่อจิตคิดออกไป รีบเรียกมาอยู่ที่ลมหายใจออกยาว ลมหายใจเข้ายาว หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ การเจริญอานาปานสติเหมือนกับคนเลี้ยงควายคอยควบคุมควายให้เดินบนถนน หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ ให้ติดต่อกันตลอดสาย" คัดจากหนังสือธรรมเทศนาเรื่อง "ความสุขสูงสุด" ฉบับปีมะเส็ง โดยพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นามรูป คือ ร่างกายและจิตใจ และ นามรูป จะปรากฏในสมาธิ หรือ ในสติกำหนดรู้ เมื่อ: สิงหาคม 27, 2012, 05:02:42 pm
นามรูป คือ ร่างกายและจิตใจ และ นามรูป จะปรากฏในสมาธิ หรือ ในสติกำหนดรู้

  ถ้าจำไม่ผิด จะกล่าวว่า รูป คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว อากาศ จัดเป็น รูป หรือไม่
                        นาม คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอากาศ อยู่ส่วนไหน ของ นามและรูป คะ

               พยายามทำความเข้าใจ กับเรื่อง ขันธ์ 5 ที่ต้องเจริญ เป็น อนิจจสัญญา คะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่มากเลยคะ

  :c017: :25: :58:

6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปฏิบัติภาวนา จำเป็นต้องนุ่งชุดขาว ห่มขาวหรือไม่คะ เมื่อ: สิงหาคม 07, 2012, 06:40:32 pm
ปฏิบัติภาวนา จำเป็นต้องนุ่งชุดขาว ห่มขาวหรือไม่คะ 

   เป็นเรื่องที่ถกเถึยงกันในวันนี้คะเกี่ยวกับเรื่องการแต่งกาย เวลาปฏิบัติกรรมฐาน คือมีผู้บอกว่า เวลาปฏิบัติกรรมฐานเพื่อเป็นการเคารพพระรัตนตรัย ทุกคนควรแต่งกายด้วยชุดขาว อย่างชุดนักเรียน หรือชุดพละไม่เหมาะถ้าต้องการให้มี ชม. ปฏิบัติภาวนาในโรงเรียน ต้องให้นักเรียนเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดขาวกันก่อนแล้วค่อยมาปฏิบัติภาวนาทำกิจกรรม ด้านธรรมะ

   มีความเห็นออกเป็นสองกลุ่มคะ

    1.ชุดอะไรก็ได้ที่นั่งสบาย ยืนสบาย เดินสบาย ชุดพละ ก็ดี

    2.ไม่ได้ต้องเป็นชุดขาว

   สรุป ติดปัญหาเรื่องชุดสรุปไม่ได้ กิจกรรมเลื่อนคะ เลยไม่รู้ว่า เรื่องชุดกับการภาวนานี้เกี่ยวข้องกันหรือไม่คะผู้ที่เสนอเรื่องชุดขาวกับเป็นพระสงฆ์คะ ท่านกล่าวว่าคนที่มาที่วัดควรแต่งชุดขาวมาวัด ถ้าจะให้ทำได้ต้องเริ่มที่ครูนักเรียนข้างวัดก่อนจะได้เป็นระเบียบ อันนี้ก็เลยงง ๆ คะ

   อยากทราบความเห็นเพื่อน ๆ คิดว่าอย่างไรกับการแต่งกายเพื่อการภาวนา


   :s_hi: :c017:
7  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / อยากเรียนถาม เสียงบรรยายธรรม เรื่องเดินจงกรม 10 นาที เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2012, 01:12:22 pm
อยากเรียนถาม เสียงบรรยายธรรม เรื่องเดินจงกรม 10 นาที

  ฟังแล้ว เข้าใจง่ายมากคะ สำหรับ ตัวโยมส้มเอง ฟังแล้วรู้สึกไม่เครียดเพราะไม่มีเนื้อหา ต้องจำมากคะ ฟังเป็นตอน 10 นาที อย่างนี้ชอบมากคะ ไม่ทราบที่ออกอากาศไปแล้วมีกี่ตอนคะ เพราะเห็นเปิดซ้า 4 ตอนแล้วนะคะ อยากได้ไฟล์เสียงบรรยายทั้งหมด คะ จะจัดทำส่งเป็น ซีดี ยิ่งดีมากคะ เพราะว่าใช้เน็ตมือถือ โหลดได้ช้าคะ

  ขอบคุณมากนะคะ ขอให้ทีมงาน มีสุขภาพแข็งแรง และทำงานเผยแผ่กันต่อไปอย่าได้เหนื่อย ได้ท้อนะคะ

  :25: :c017: :25: :c017:
8  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / บทเพลงแผ่เมตตา 9 นาที เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2012, 02:48:19 pm


แปล และ ร้องโดยเด็ก

Uploaded by Dhammanumtrend on Jul 20, 2011

ใครที่ใจไม่ค่อยสงบ ก็ฟังกันบ่อย ๆ นะคะ
 :25: :25: :25:
9  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เป็นชาวพุทธ ควรเชื่อเรื่อง เทวดา ผี วิญญาณ แบบไหนถึง จะถูกคะ เมื่อ: มีนาคม 18, 2012, 05:04:50 pm
เป็นชาวพุทธ ควรเชื่อเรื่อง เทวดา ผี วิญญาณ แบบไหนถึง จะถูกคะ

 เพราะเวลาคุยกับผู้ปฏิบัติธรรมด้วย กัน มักจะบอกว่า อย่าไปสนใจเรื่อง เทวดา ผี วิญญาณ กันเลยให้สนใจในปัจจุบัน ให้มาก บางท่านก็ปฏิเสธบอกว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มีจริงเลยนะคะ

 เพื่อน ๆ คิดว่าเราควรจะเชื่อเรื่อง ของเทวดา นี้อย่างไรดีคะ

  :25: :c017:
10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / นำเงินที่ได้ระหว่างบวชเป็นพระ ไปใช้หลังลาสิกขาบถได้ หรือไม่ ครับ เมื่อ: มกราคม 18, 2012, 04:02:26 pm
นำเงินที่ได้ระหว่างบวชเป็นพระ ไปใช้หลังลาสิกขาบถได้ หรือไม่ ครับ

  เป็นคำถามจากพระหลาน ที่บวชตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.54 จะลาสิกขาบถวันที่ 30 ม.ค.55 ( 1 เดือน คะ )
 
  ท่านถามดิฉันซึ่งมีศักดิ์เป็น อา คะ บอกว่าตอนบวชนั้นได้ลงร่วมกิจกรรมสงฆ์ ไปฉันเพลบ้าง มีเงินอยู่ประมาณ 2000 กว่าบาท คะและเงินใส่ถุงย่าม วันที่ท่านออกจากโบสถ์ 30000 กว่าบาทคะ เพื่อน ๆ พี่น้องได้ใส่ถุงย่ามท่านกันตอนที่ออกจากโบสถ์วัแรก

   ดิฉันไม่รู้จะตอบยังไงดีคะ จึงนำคำถามมา มาอาศัย เพื่อนผู้รู้ ที่นี่ช่วยตอบ ขอให้ช่วยตอบด่วน เลยนะคะ ใกล้จะลาสิกขาบถแล้ว  พระท่านไม่สบายใจ คะ

  กรุณา ตอบแบบฟันธง เลยนะคะ

   ขอบคุณมากคะ
 
    เป็นเงิน ที่บรรดาพี่น้อง เพื่อน ใส่ย่ามท่านหลังออกจากโบสถ์  30000 กว่าบาทคะ
    เป็นเงิน ที่บิณฑบาตร และ ไปฉันเพล อีก( ตามบ้านพี่น้อง  )   2000 กว่าบาทคะ

    สรุปแล้วเป็นเงินที่ ญาติ พี่น้องทำบุญกับท่าน ระหว่างที่เป็นพระ คะ
 
11  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / เพื่อนฟุ้งซ่าน หมิ่นครูอาจารย์ ควรทำอย่างไรดีคะ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 04:43:52 pm
ปฏิบัติธรรม ก็มีหมู่ มีเพื่อนไปทุกครั้ง แต่ พอวันก่อนได้พบเืพื่อนท่านหนึ่ง มานั่งตำหนิครูอาจารย์ และพยายามชวนให้เราเปลี่ยนสำนัก วิธีปฏิบัติ ตามเขา จากกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็น ธร....  คะ นั่งฟังเพื่อนพูด ตำหนิคนนั้น ตำหนิคนนี้ พอทนอยู่ได้คะ แต่พอมาตำหนิในครูอาจารย์กรรมฐานแล้ว รู้สึกขัดใจคะ

   ทำให้ระลึกถึงธรรม คำสอบของครูอาจารย์ว่า ให้เว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่าน คะ

   แต่เพื่อนคนนี้ก็พยายาม ที่จะให้ ส้ม ไปกับเขาด้วยคะ ใจอ่อนไปรอบหนึ่งแล้ว ก็ยังชอบกรรมฐานมัชฌิมา อยู่คะไม่อยากเปลี่ยนคะ แต่การปฏิบัติก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเรา นะคะ ใครชอบอย่างไรจริต อย่างไร ก็น่าจะไม่ต้องบังคับกะเกณฑ์ กันนะคะ เรื่องนี้พอยอมรับได้ แต่การตำหนิ ( ปรามาส ) ต่อครูอาจารย์ นี่คิดไม่ตกคะ

    ยิ่งได้อ่านพระสูตร http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5925

   รู้สึกเป็นทุกข์ ขึ้นมาเลยคะว่า ถ้าเราไปกับเพื่อน เท่ากับเราร่วมปรามาสครูอาจารย์ด้วยหรือไม่คะ

  ขอคำปรึกษา ทีมมัชฌิมา ด้วยนะคะ

   :c017: :c017: :c017:
12  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / สวดมนต์อยู่ ทำให้เราได้บุญ หรือ ได้บาป คะ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2011, 12:32:31 pm
ตั้งแต่เริ่มศึกษาธรรมะ ก็เริ่มชอบสวดมนต์ ทุกคืนก่อนนอนก็จะสวดมนต์ นานคะ บททำวัตรพระของวัดราชสิทธารามคะ แต่สวดมาหลายเดือนแล้วคะ พึ่งมาทราบเมื่อวานนี้เองว่า เพื่อนที่อยู่หอด้วยกันรำคาญคะถึงกับตะโกนบอกว่า เลิกสวดได้แล้ว คือ หอพักที่อยู่นั้นมีห้องติดกัน แต่ดิฉันก็สวดเสียงเบา ๆ คะ ส่วนตัวเขาเองนั้น เปิดเพลงโวกเวก เล่นเกมส์เสียงดัง กว่าหลายเท่ามากคะ

  ก็เลยสงสัยว่า เราสวดมนต์นี้ได้บุญหรือได้บาป และเพื่อนของเรานี้จะได้บาป หรือได้บุญ คะ


   :s_hi: :c017:
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ธรรม 3 อย่างนี้ ควร มุ่งอะไร ? เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 10:29:17 am
คือระหว่าง ปริยัติ  ปฏิบัติ ปฏิเวธ ควรจะสนใจอะไร มากที่สุด

หรือควรตั้ง ฐาน ในธรรม นั้นอย่างไร ?


  ปริยัติ เท่าไหนจึงจะพอ

  ปฏิบัติ ทำอย่างไร

  ปฏิเวธ ควรมีอย่างไร ?


  :smiley_confused1: :c017: :25:
14  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมปฏิบัติธรรมที่วัดหนองเต่า 29 พ.ย - 4 ธ.ค.54 สันป่าตอง เีชียงใหม่ เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2011, 02:46:09 pm
เจริญพรญาติโยมอุปถัมภ์ วัดหนองเต่าคำ จ.เชียงใหม่ และผู้มีบุญทุกท่าน เนื่องจากทางวัดหนองเต่าคำ อ. สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ จะได้จัดงานเข้าวัดปฏิบัติธรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และอุทิศแก่บรรพชนญาติพี่น้องที่ล่วงลับดับขันธ์ไป อุทิศให้ เจ้ากรรมนายเวร พ่อเกิดแม่เกิด สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง โดยได้กราบอาราธนา พระสงฆ์มาร่วมเข้าวัดปฏิบัติธรรมถวายและอุทิศบุญกุศลในครั้งนี้จำนวน ๒๐ รูป มีทำบุญตักบาตรทุกเช้า และมีเทศน์ทุกคืน

กำหนดการ ใน อังคาร ที่ ๒๙ พฤศจิกายน เวลา ๑๗.๐๐ น. ถึง วันอาทิตย์ ที่ ๔ ธันวาคม ๕๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. เป็นเวลาทั้งหมด ๕ คืน ๖ วัน จึงขอเจริญพรบอกบุญเชิญชวนร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพตามรายละเอียดดังต่อไปนี้


๑ . มหาสังฆทานถวายพระสงฆ์ที่นิมนต์ปฏิบัติธรรมแผ่กุศล จำนวน ๒๐ รูป ชุดละ ๑,๐๐๐ บาท (จำนวน ๒๐ ชุด)

๒. เป็นเจ้าภาพถวายน้ำปานะ จำนวน ๕ คืน ๆ ละ ๑,๕๐๐ บาท

๓.เจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้า - ภัตตาหารเพล วันละ ๑,๐๐๐ บาท

๔. เจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ คืนละ ๙๐๐ บาท

๕. เจ้าภาพถวายสร้างที่ซุ้มปฏิบัติธรรม(กระโจม) มุ่งด้วยฟางข้าว จำนวน ๒๐ กระโจม ๆ ละ ๒๐๐ บาท


หรือจะร่วมบริจาคตามจิตศรัทธา
มาร่วมบุญคนละเล็กละน้อยเพื่อสั่งสมบารมีให้เพิ่มขึ้นนะครับ จะรับเป็นเจ้าภาพใหญ่ก็ได้ครับ
สาธุในกุศลเจตนาอันบริสุทธิ์


โอนเงินร่วมบริจาคที่ ชื่อบัญชี พระธวัชชัย ธมฺมวโร (วรรณตระกูล)
ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาทุ่งเสี้ยว (สันป่าตอง)
บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 661-2 22946-0


การร่วมบุญติดต่อสอบถามหลวงพี่โดยตรง


ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ พระธวัชชัย ธมฺมวโร วัดหนองเต่าคำ
053 - 834502 , 084 - 1759890
หรือสอบถามทาง อีเมล์ thawatchai108@hotmail.com



เจริญพรมาด้วยความนับถือ
พระธวัชชัย ธมฺมวโร
วัดหนองเต่าคำ จ.เชียงใหม่

15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภาวนากรรมฐาน ต้อง ปฏิบัติ ก่อน หรือ เรียน ก่อน เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 04:05:00 pm
เรียน คุณ nongyao นะคะ คือ สงสัยว่า การปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น
ควรจะเรียนทั้งหมดก่อน หรือ ควรจะเรียนเป็นจุด แล้ว ภาวนาคะ

 ขอบคุณกับคำแนะนำหลังไมค์ นะคะ

  :25: :25: :25: :c017:
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ได้ขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม แล้ว ถ้าไปพบพระอาจารย์ต้องขึ้นกรรมฐาน อีก... เมื่อ: ตุลาคม 01, 2011, 05:14:43 pm
ได้ขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม แล้ว ถ้าไปพบพระอาจารย์ต้องขึ้นกรรมฐาน อีกหรือไม่
คือตั้งใจไว้ว่า ช่วงปีใหม่ จะได้ไปร่วมปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ สักสองสามวัน คะ

 ต้องขึ้นกรรมฐาน ใหม่อีกหรือไม่ ?

 โปรดแนะนำด้วยคะ

  :25: :25: :c017:
17  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 10:27:15 am
      พระสุตตัตนตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  เอกกนิบาต  ๓.  อกัมมนิยวรรค
 
               ๓. อกัมมนิยวรรค
            หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน

            [๒๑]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    ภิกษุทั้งหลาย    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่
ควรแก่การใช้งาน    (๑)

            [๒๒]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน
จิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน    (๒)

            [๒๓]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๓)

            [๒๔]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๔)

            [๒๕]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๕)

            [๒๖]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มากเหมือนจินี้    จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๖)

            [๒๗]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑    ย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๗)

            [๒๘]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก    (๘)

            [๒๙]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ
ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้    (๙)
            [๓๐]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา
ให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้    (๑๐)

               อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ

18  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กล่าวถึง กายไว้อย่างไร :? เมื่อ: สิงหาคม 28, 2011, 05:16:16 pm
ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ กล่าวถึง กายไว้อย่างไร :?

คือในแนวทางกรรมฐาน เห็นด้วยกับ ธรรมกาย พรหมกาย เป็นต้นอย่างไร

แล้วครูผู้สอนเน้น กาย ใดมากที่สุด ถ้ามีการกล่าวถึง กาย

 และ กายใด ควรได้มี ได้เป็น ก่อน คะ

  :s_hi: :smiley_confused1:
19  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การปฏิบัิติภาวนา กรรมฐาน นั้นทำให้สอดคล้องชีวิตในสังคม ได้หรือไม่คะ เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 10:56:37 am
การปฏิบัิติภาวนา กรรมฐาน นั้นทำให้สอดคล้องชีวิตในสังคม ได้หรือไม่คะ

เพราะเหตุใด เมื่อเราเลือกภาวนากรรมฐาน เพื่อน ๆ และ คนรอบข้าง จะเริ่มเดินหนี จากเราไปทุกคน

พร้อมจะบอกว่า สิ้นชีวิต สิ้นหนทาง หมดทางเดินแล้ว หรือ จะบวชเข้าวัด ประมาณนี้

 :91:
20  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมปฏิบัติธรรม สิงหา ราชินี วันที่ 12 - 13- 14 ส.ค. 54 วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 03:51:07 pm
เชิญร่วมปฏิบัติธรรม สิงหา ราชินี วันที่ 12 - 13- 14 ส.ค. 54


เขียนโดย weera2548 เมื่อ จ, 13/06/2011 - 07:28

กำหนดการ 12-13-14 สิงหาคม 54

 ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ซอยอิสรภาพ 23 เขตบางกอกใหญ่

กรุงเทพ

 

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9

เวลา  09.00-10.00           ลงทะเบียน รับศีล ขึ้นกรรมฐาน

 เวลา 10.000-11.00         รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00-14.00           ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

เวลา 14.00-16.30            เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ  ทำธุระส่วนตัว

เวลา 16.30-17.00            ทำวัตรเย็น   ปฏิบัติธรรม

 วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2554 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9

เวลา  06.30-07.00           ทำวัตรเช้า  รับประทานอาหารเช้า

เวลา 07.000-11.00          นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00-14.00           ฟังบรรยายธรรม

เวลา 16.30-17.00            ญาติโยมทำวัตรเย็น   ลาศีล กลับบ้าน  หรือค้างวัด

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2554 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9

เวลา  06.30 -07.00           ทำวัตรเช้า  รับประทานอาหารเช้า

เวลา 07.00 -10.00            เจริญภาวนา เดินจงกรม

เวลา  10.30 -11.00           เจริญภาวนา  รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 -15.30            ฟังบรรยายธรรม

เวลา 16.30 -17.00            พระสงฆ์ และผู้ถือศีล ทำวัตรเย็น สวดธรรมจักร   


http://www.somdechsuk.org/node/165

21  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปฏิบัติผิด ปฏิบัติุถูก ลองเทียบดูคะ เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2011, 09:27:40 am
ถ้า
ยิ่งทำยิ่งอยาก
ยิ่งทำยิ่งทุกข์
ยิ่งทำยิ่งเบียดเบียน
ยิ่งทำยิ่งมักโกรธ
ยิ่งทำยิ่งเป็นโทษ
ยิ่งทำยิ่งงมงาย
ยิ่งทำยิ่งเลื่อนลอยขาดสติ
แล้ว ย่อมแสดงว่า ปฏิบัติผิด

ถ้าปฏิบัติถูกแล้ว
ยิ่งทำยิ่งเบาใจ
ยิ่งทำยิ่งไร้กังวล
ยิ่งทำยิ่งมักอภัย
ยิ่งทำยิ่งใจเย็น
ยิ่งทำยิ่งมีสติ
ยิ่งทำยิ่งมีปัญญา
อย่างนี้แล้วย่อมปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ


fwd mail

22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า สตรี เป็นสาเหตุและอันตรายต่อพรหมจรรย์ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 07:27:42 am
คือ ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ จำกัดความของคำว่า พรหมจรรย์ แท้ที่จริง พรหมจรรย์ น่าจะเป็นของผู้หญิง
ทำไมจึงกล่าว ว่า สตรี เพศหญิง เป็นข้าศึกของพรหมจรรย์ ไปได้ ทั้ง ๆ ที่ความผิดน่าจะเป็นของผู้ชาย
ที่ไม่ยับยั้งห้ามใจ ของตนเอง มายุ่งกับสตรี

 มุมมองอีกอย่าง คือ ถ้าพระสงฆ์ รู้จักสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ดีตามศีลสังวรแล้ว
ไม่ว่า สตรี จะแต่งตัวแปบไหน ก็ไม่น่าที่จะทำให้ พระสงฆ์ ต้องเดือดร้อนไปได้

คือไม่เข้าใจว่า จำกัดสิทธิสตรี ในวัดมากไปหรือไม่

เวลาพระสงฆ์ไม่สำรวม ก็ไปว่า อิตถีเพศ

 เรื่องอย่างนี้ ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง นะจ๊ะ

 สนทนาธรรม ยามเช้ากัน นะจ๊ะ วิเคราะห์ให้เกิดบุญด้วยละ เหล่า บุรุษทั้งหลาย ที่ชอบโทษสตรี อย่างเดียว

รู้ไหมในจำนวนของผู้ปฏิบัติภาวนาทั้งหมด ทั่วประเทศไทย คุณว่าเพศไหน ปฏิบัติภาวนามากที่สุด


 :13: :67: :c017: :hee20hee20hee:
23  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขอคำแนะนำเรื่องกำหนดยุบ พอง ด้วยคะ เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 02:42:49 pm
คือเพิ่งจะเริ่มนั่งสมาธิมาได้ไม่กี่วัน ในตอนแรกก็ใช้วิธีสังเกตท้องพองยุบและบริกรรมยุบหนอ-พองหนอ
แต่รู้สึกอึดอัดเหมือนท้องเราพองยุบแบบไม่เป็นธรรมชาติ จึงลองเปลี่ยนมาตามรู้ลมหายใจแทนโดยไม่บริกรรม ก็รู้สึกสบายกว่าเยอะ และเหมือนจิตใจสงบกว่า

ไม่้ทราบว่าปฏิบัติผิดวิธีการกำหนดหรือไม่คะ
 :67:
24  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สลด!สาวมุสลิมยูเครนถูก"รุมปาหินสังหาร"จากกลุ่มชายวัยรุ่นฐานเข้าร่วมประกวดนางงาม เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 11:14:33 am


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ว่า น.ส.แคทย่า โคเร็น สาวมุสลิมชาวยูเครน วัย 19 ปี ได้ถูกกลุ่มคนร้ายรุมปาหินทำร้ายจนเสียชีวิต โดยศพของเธอถูกพบที่หมู่บ้านในเมืองไครเมีย ใกล้บ้านของเธอ โดยเพื่อนของเธอบอกว่า เหตุน่าสลดอนาถเกิดขึ้นกับเธอ เนื่องจากเธอเป็นคนชอบใส่เสื้อผ้าตามสไตล์แฟชั่น และเข้าร่วมการแข่งขันนางงาม และได้อันดับที่ 7
 
รายงาน ระบุว่า ร่างในสภาพยับเยินของเธอถูกพบในป่า และหลังจากเธอหายตัวไปหนึ่งสัปดาห์ โดยตำรวจท้องถิ่นยูเครน ได้เปิดคดีสอบสวนการเสียชีวิตของเธอแล้ว และกำลังมุ่งประเด็นวัยรุ่นชายมุสลิม 3 รายเป็นผู้ลงมือสังหารเธอ อ้างว่า การเสียชีวิตของเธอสมควรต่อการละเมิดกฎปฎิบัติ"ชาเรีย"ของศาสนาอิสลาม และหนึ่งในกลุ่มซึ่งถูกจับกุมบอกตำรวจว่า น.ส.แคทย่า ได้ละเมิดหลักปฎิบัติดังกล่าว และเขาไม่รู้สึกเสียใจใด ๆ กับการตายของเธอ
 
ทั้ง นี้ การปาหินประหารถือเป็นประเด็นที่สร้างความแตกแยกในหมู่ชาวมุสลิม ส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอิสลาม แต่อีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ขณะที่รายงานประจำปีขององค์กรนิรโทษกรรมสากลเกี่ยวกับการประหารด้วยการปาหิน ทั่วโลกระบุว่า ไม่มีรายงานดังกล่าวผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการในช่วงปี 2010 อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศที่ได้ใช้การปาหินเป็นการลงโทษขั้นประหารชีวิตในหลายประเทศ เช่น อิหร่าน รัฐเบาชีของไนจีเรีย และปากีสถาน
 
นอก จากนี้ เชื่อว่ามีผู้หญิง 10 ราย และผู้ชาย 4 ราย ถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิตก่อนสิ้นปีนี้ในอิหร่าน ซึ่งบังคับใช้การลงโทษนี้กับกรณีการมีชู้หรือนอกใจคู่สมรส


Credit :  Matichon.co.th
25  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จะนั่งกรรมฐาน แบบไหนดี หรือ จะตัดสินใจเลือกแบบไหนดี เมื่อ: มิถุนายน 01, 2011, 02:13:11 pm
ตอนนี้มีเพื่อน มาชักชวน ในการปฏิบัติในสถานที่ต่าง ๆ มีทั้งหนังสือ ซีดี มีครูอาจารย์ มีชื่อเสียงหลายท่าน
ซึ่งตอนเพื่อนชวน ก็บอกว่า ดี ๆ  ๆ  ทั้งนั้นจนทำให้เห็นวิธีการปฏิบัตินั้น เป็นหลากหลาย หลากวิธี ซึ่งในส่วนตัว
ไม่ชอบฝึก การภาวนาหลาย ๆ แบบ เพราะมีความเห็นว่า ฝึกหลายอย่างจะทำให้เกิดความสับสน

 อยากถาม เพื่อน ๆ ชาวกรรมฐานที่นี่ มีเกณฑ์ การตัดสินใจเลือกการฝึกภาวนา อย่างไรกันคะ

 :c017:
26  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่) เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 12:46:34 pm
เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)


เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน
อะนาถะปิณฑิกัสสะ อารา เมฯ ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ?
(1) สุขัง สุปะติ
(2) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ
(3) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ
(4) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
(5) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ
(6) เทวะตา รักขันติ
(7) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ
(8) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
(9) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ
(10) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ
(11) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ

เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ
ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ
อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ

อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
กะตีหาการเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุติฯ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

(1) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ?

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขะณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10)สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตารายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

(1) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(2) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(3) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(4) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(5) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(6) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(7) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(8) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(9) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
(10) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา
อะปีฬานะยะ อุปะฆาตัง วัชเชตวา
อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา
อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา
อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ

เมตตา พรหมมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.

 

ความหมายเมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่แปล)


ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีฯ ณ โอกาสนั้นและพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายฯ พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฯ พระผู้มีพระภาคได้ประทานพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย (คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะรับ) อานิสงส์ 11 ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนต้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้ว ทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม (ด้วยวสี 5 ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ อานิสงส์ 11 ประการ (ของเมตตาเจโตวิมุติ) คืออะไรบ้าง? (อานิสงส์ 11 ประการ ของเมตตาเจโตวิมุติ คือ)
(1) นอนหลับเป็นสุข
(2) ตื่นเป็นสุข
(3) ไม่ฝันร้าย
(4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
(5) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
(6) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
(7) ไฟ ยาพิษ หรือ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย (ในตัว) ของเขา
(8) จิตเป็นสมาธิเร็ว
(9) ผิวหน้าผ่องใส
(10) ไม่หลงตาย
(11) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ หวังได้แน่นอนที่จะได้รับ อานิสงส์ 11 ประการของเมตตาเจโตวิมุติ ที่ตนส้องเสพ ทำให้ชำนาญ แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว สั่งสม ด้วยวสี 5 ประการดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้วฯ
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มีอยู่
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปเจาะจง บุคคล มีอยู่
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศที่มีอยู่ฯ
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มีกี่อย่าง?
เมตตาเจโตวิมุติ ที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง?

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) มี 5 อย่าง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) มี 7 อย่าง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศมี 10 อย่างฯ

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) 5 อย่างมีอะไรบ้าง?
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปไม่เจาะจง (บุคคล) 5 อย่าง คือ
(1) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(2) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(4) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ
(5) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัยเถิดฯ

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) 7 อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปโดยเจาะจง (บุคคล) 7 อย่าง คือ)
(1) ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ 10 อย่าง มีอะไรบ้าง? (เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปในทิศ 10 อย่าง คือ)
(1) ประเภทที่ 1
(1) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(2) ประเภทที่ 2
(1) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(3) ประเภทที่ 3
(1) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(4) ประเภทที่ 4
(1) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(3) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอุดร (เหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(4) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศทักษิณ (ใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(5) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(6) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(7) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(8) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(9) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(10) ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ

(5) ประเภทที่ 5
(1) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศบูรพา (ตะวันออก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข ประคับประคองตนให้รอดพ้นภัย เถิดฯ
(2) ขอผู้มีอัตตภาพทั้งหลายทั้งปวง ในทิศปัจจิม (ตะวันตก) จงอย่ามีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเ
หน้า: [1]