ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และชมกู่เจ้าเมืองเหนือที่ วัดสวนดอก  (อ่าน 976 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และชมกู่เจ้าเมืองเหนือที่ วัดสวนดอก

หากจะเอ่ยถึงวัดสําคัญในเมืองเชียงใหม่ วัดสวนดอก ก็เป็นอีกวัดที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ เพราะถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมาและความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

วัดสวนดอกนามนี้มีที่มา
ก่อนหน้าที่จะมาเป็นวัดสถานที่แห่งนี้เคยเป็นสวนดอกไม้ในอุทยานป่าไม้พยอม ที่ตกทอดมาตั้งแต่ยุคพญามังรายอยู่ทางทิศตะวันตกของกําแพงเมืองด้านประตูสวนดอก พระเจ้ากือนา กษัตริย์ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ยกถวายเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา ทรงโปรดให้สร้างเป็นวัดขึ้นในปี พ.ศ. 1914 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่อยู่จําพรรษาของพระสุมนเถระผู้เผยแผ่พุทธศาสนา นิกายลังกาวงศ์แบบสุโขทัย เนื่องจากพระสุมนเถระบวชเรียนมาจากพระสวามีอุทุมพรที่เมืองเมาะตะมะในรามัญ นับเป็นครั้งแรกที่นิกายลังกาวงศ์เข้ามาเฟื่องฟูในเมืองเชียงใหม่ โดยตั้งชื่อว่า “วัดบุปผาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดสวนดอก” จนติดปากมาถึงทุกวันนี้ และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 7 ของจังหวัดเชียงใหม่



ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ
ในปี พ.ศ. 1916 ขณะที่พระเจ้ากือนาให้คนงานขุดฐานองค์พระเจดีย์ที่จะสร้างใหม่ในวัดบุปผารามนั้น พระมหาสุมนเถระได้นําพระบรมธาตุที่ท่านนําติดตัวมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย ออกมาวางในถาดทองคําเพื่อสรงน้ําและให้พระเจ้ากือนาถวายสักการะ เมื่อสักการะเรียบร้อยแล้ว พระมหาสุมนเถระ และพระเจ้ากือนาก็ต้องประหลาดใจ เมื่อพระบรมธาตุแยกออกเป็น 2 องค์ มีขนาดใกล้เคียงกัน จึงอัญเชิญพระบรมธาตุองค์หนึ่งบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ส่วนอีกองค์หนึ่งบรรจุไว้ในโกศทองคํา แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนหลังช้างเผือกมงคลเพื่อเสี่ยงทายหาที่บรรจุอีกแห่งหนึ่ง ช้างเผือกได้นําพระบรมธาตุขึ้นสู่ยอดเขาสุเทวบรรพต พระเจ้ากือนาจึงให้คนงานขุดยอดเขาแห่งนั้นเพื่อก่อเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันคือพระธาตุดอยสุเทพนั่นเอง วัดสวนดอกกับวัดพระธาตุดอยสุเทพจึงเปรียบเสมือนวัดพี่วัดน้อง



อวสานแห่งความรุ่งเรือง
พุทธศาสนาในล้านนาได้ถึงยุคเสื่อมเมื่อเกิดแตกสามัคคี มีการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า ตั้งแต่สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 12 บ้านเมืองไม่สงบสุขเพราะมัวแต่แย่งชิง อํานาจกันระหว่างสถาบันขุนนางและกษัตริย์ กินเวลาประมาณ 20 ปี จนถึงรัชสมัยท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิ) กษัตริย์องค์ที่ 17 ล้านนาถูกกองทัพพม่าบุกยึดและปกครองร่วม 200 กว่าปี วัดในเชียงใหม่ทั้งหมดถูกทอดทิ้ง ไม่มีการดูแลบํารุงรักษาจนทรุดโทรม ต่อมาพ.ศ. 2474 เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายร่วมกับเจ้าดารารัศมีพระราชชายาในรัชกาล ที่ 5 ได้ไปนิมนต์ครูบาศรีวิชัยมาช่วยฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งหนึ่ง เจ้าดารารัศมีทรงให้ย้ายกู่หรือสถูปเจ้าฝ่ายเหนือจากตรอกข่วงเมรุ (ปัจจุบันคือตลาดวโรรส) มาไว้ที่วัดแห่งนี้ เพราะเป็นอารามที่กษัตริย์ล้านนาสร้างขึ้นและยังเป็นที่ตั้งกู่บรรจุอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือตระกูล ณ เชียงใหม่ กล่าวกันว่า พระอัฐิของเจ้าดารารัศมีส่วนหนึ่งก็นํามาประดิษฐานไว้ ณ สุสานแห่งนี้ด้วย



พลาดไม่ได้เมื่อไปเยือน

เจดีย์วัดสวนดอก เจดีย์องค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นเจดีย์แบบฉปัฏ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา คือนอกจากองค์ระฆังขนาดใหญ่ มีบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมแล้ว ยังมีส่วนล่างที่รองรับองค์ระฆังเป็นฐานซ้อนลดหลั่นสองหรือสามฐาน แต่ละฐานมีรูปสี่เหลี่ยมเรียงประดับ ตามแนวนอนที่แกนกลาง ถือเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นต้นแบบในช่วงพัฒนาการของศิลปะล้านนา มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานบนฐานทักษิณสูงมีซุ้มประตูสี่ทิศและมีบริวารโดยรอบ ปัจจุบันได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม



วิหารหลวง
เป็นวิหารขนาดใหญ่เปิดโล่งทั้งสี่ด้านหลังคาลาดต่ำ เดิมเป็นเรือนหลวงของพระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์มังราย มีการบูรณะขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัย มี “ปีเปิ้ง” หรือสัตว์ประจําปีเกิดของครูบาเป็นรูปเสือประดับอยู่ที่หน้าบันของวิหาร ซึ่งเป็นหน้าจั่วขนาดใหญ่มีลายลูกไม้แกะสลักเป็นส่วนประกอบ ด้านในมีพระพุทธปฏิมาค่าคิงและพระยืนอยู่ด้านหลังหันหลังชนกัน ด้านหน้าของพระยืนมีแบบจําลองเจดีย์ มีพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ด้วย



พระอุโบสถพระเจ้าเก้าตื้อ
สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2047 พร้อมกับหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เศียรเป็นแบบศิลปะสุโขทัย แต่รูปทรงขององค์พระอวบอ้วนตามแบบศิลปะล้านนา ชื่อว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ”

เชียงใหม่แล้วอย่าลืมแวะไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุและชมความงามที่ช่างล้านนาโบราณได้ฝากฝีมือเอาไว้ โดยเฉพาะหน้าบันที่เป็นไม้แกะสลักและกู่เจ้าเมืองเหนือรูปทรงต่าง ๆ อย่าเพียงเมียงมองแล้วเลยผ่าน หากมีเวลาลองเพ่งพินิจให้ดีจะเห็นความงามและความตั้งใจในทุกอณู นี่คือศิลปะอันทรงคุณค่าที่ครั้งหนึ่งในชีวิตควรได้เห็นอย่างใกล้ชิด


ข้อมูลจาก นิตยสาร Secret ปีที่ 4 ฉบับที่ 76 (26 ส.ค. 54) หน้า 20-22 (ปี 2554)
ภาพจาก วรวุฒิ วิชาธร
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/92472.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า