ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 638 639 [640] 641 642 ... 706
25561  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: หน้าที่ของพระสงฆ์ คืออะไร ครับ ใครรู้บ้างครับ ? เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 07:44:45 pm


หน้าที่ของพระสงฆ์

   หน้าที่ของพระสงฆ์ในการศึกษาปฏิบัติ
      พระสงฆ์ทุกรูปในพระพุทธศาสนา จะต้องปฏิบัติตามพระวินัยในพระพุทธศาสนาเพราะถือเป็นกฏระเบียบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ร่วมกันอย่างสงบไม่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นการสร้างศรัทธาให้แก่ผู้พบเห็นด้วย วินัยของสงฆ์มีมากมาย ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์จะต้องมีกิจวัตร ( กิจ = สิ่งที่ต้องทำ วัตร = สิ่งที่ควรทำ ) 2 อย่าง


      1. นิสัย 4 หมายถึง ต้องอาศัยปัจจัย 4 อย่างในการดำเนินชีวิต คือ
         1.1 บิณฑบาตเป็นกิจวัตร คือ ไม่ประกอบอาชีพใด ๆ นอกจากบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
         1.2 ถือผ้าบังสกุลเป็นกิจวัตร คือ นำผ้าที่ทิ้งแล้วมาเย็บเป็นจีวร ต่อมาพระองค์อนุญาตให้รับผ้าที่มีผู้นำมาถวายได้
         1.3 อยู่โคนต้นไม้เป็นกิจวัตร คือ อาศัยอยู่ตามถ้ำ ป่า โคนต้นไม้ จะอยู่ประจำเฉพาะฤดูฝน 3 เดือนเท่านั้น
         1.4 ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ ฉันยาสมุนไพรรักษาโรคตามที่หาได้


      2. อกรณียกิจ 4 หมายถึง สิ่งที่พระสงฆ์ไม่ทำ 4 อย่าง คือ
         2.1 ไม่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์
         2.2 ไม่ลักทรัพย์
         2.3 ไม่ฆ่าสัตว์
         2.4 ไม่อวดคุณวิเศษที่ตนไม่มี


   หน้าที่ของพระสงฆ์ในการศึกษาอบรม
   พระสงฆ์จะต้องฝึกอบรม กาย วาจา ใจ ให้ครบสมบรูณ์ 3 ด้าน คือ


      1. ด้านศีล ต้องควบคุม กาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย งดเว้นจากข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ศีลของพระสงฆ์มี 2 อย่าง คือ
         1.1 ศีลในปาติโมกข์ คือ ศีล 227 ข้อ ของพระภิกษุและศีล 311 ข้อ ของภิกษุณี
         1.2 ศีลนอกปาติโมกข์ คือ ศีลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ข้อบัญญัติที่เกี่ยวกับมารยาทต่าง ๆ เพื่อความดีงามของสถาบันสงฆ์


      2. ด้านสมาธิ พระสงฆ์ต้องฝึกฝนจิตใจด้วยการฝึกเจริญภาวนา เพื่อทำจิตใจให้สงบ ข่มกิเลสได้ทีละน้อย ๆ จนมากขึ้นถึงขั้นวิปัสนา ภาวนา คือ เกิดปัญญารู้แจ้ง แล้วสละกิเลสได้เด็ดขาด

      3. ด้านปัญญา พระสงฆ์จะต้องศึกษาอบรมตนเองให้เป็นผู้มีปัญญา 2 ด้าน คือ มีปัญญาในสรรพวิทยาการทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เช่น พระสงฆ์มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยอธิบายหลักธรรมได้กว้างยิ่งขึ้น นอกจากนี้พระสงฆ์จะต้องมีปัญญาในทางธรรมโดยเข้าใจโลกและชีวิตการปล่อยวางความติดยึดตามลำดับ แล้วพยายามลดละความโลภ โกรธ หลง ให้ลดลงจนกระทั่งหมดไปโดยสิ้นเชิง


อ้างอิง
วิถีธรรมวิถีไทย โดย อ.อมร สังข์นาค
หน่วยที่ 6 เรื่อง พระสงฆ์ หน้าที่ของพระสงฆ์และการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์
http://www.nayoktech.ac.th/~amon/in6_3.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/
25562  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 'พ่อคูณ' ปลอบผู้ประสบภัย 'น้ำท่วมเดี๋ยวก็ลด ไม่เป็นไรลูกหลานเอ๊ย' เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 12:42:08 pm


'พ่อคูณ' ปลอบผู้ประสบภัย 'น้ำท่วมเดี๋ยวก็ลด ไม่เป็นไรลูกหลานเอ๊ย'

อาการอาพาธ "หลวงพ่อคูณ" ทรงตัวอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แต่แพทย์ต้องดูแลใกล้ชิดควบคู่กับการกายภาพบำบัดฟื้นฟูสภาพร่างกาย ก่อนพิจารณากลับวัด พร้อมทั้งปลอบโยนผู้ที่กำลังเผชิญภัยน้ำท่วมว่า "น้ำท่วม เดี๋ยวน้ำก็ลด เดี๋ยวมันก็แห้ง ไม่เป็นไรแล้วลูกหลานเอ๊ย"...

    เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ห้อง 9821 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 8 รพ.มหาราชนครราชสีมา ความคืบหน้าอาการอาพาธของพระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ คณะแพทย์โดยการนำของนายแพทย์พินิศจัย นาคพันธ์ แพทย์ประตำตัวหลวงพ่อคูณ เข้าตรวจอาการใช้เวลา 10 นาที อาการโดยรวมยังคงทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ไม่มีอาการติดเชื้อหรืออาการอื่นๆ แทรกซ้อน สภาพจิตใจเป็นปกติ พูดคุยตอบโต้ได้ดี ตอบสนองได้

อย่างไรก็ตามทางคณะแพทย์ยังคงต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และยังคงห้ามให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมอย่างเด็ดขาด เนื่องจากร่างกายของหลวงพ่อคูณยังคงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

นายแพทย์พินิศจัย เผยว่า อาการของหลวงพ่อคูณยังคงทรงตัวเหมือนตอนที่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ไม่มีอาการอื่นๆ แทรกซ้อน น้ำหนักอยู่ที่ 40.3 กิโลกรัม สภาพจิตใจเป็นปกติ ไม่มีอาการวิตกกังวล สามารถสนทนาสื่อสารได้ดี ความจำเป็นปกติดีทุกอย่าง ส่วนผลหลังจากการผ่าตัดเจาะช่องท้อง เพื่อให้อาหารเหลวนั้น ประสบความสำเร็จด้วยดี ร่างกายของหลวงพ่อคูณสามารถตอบสนองในการรับอาหารเหลวได้ดี
 
แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องของเสมหะภายในลำคอ ซึ่งเป็นผลพวงของโรคถุงลมโป่งพอง และอาการวัณโรคปอด โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่อากาศเย็น ทางคณะแพทย์จึงจำเป็นที่จะต้องทำการดูดเสมหะภายในลำคอของหลวงพ่อออกเป็นระยะๆ

ทั้งนี้ ในภาพรวม โรควัณโรคปอดของหลวงพ่อคูณดีขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แต่ยังจำเป็นที่จะต้องให้ยารักษาต่อไปอีกตามระยะเวลาของการให้ยา ซึ่งต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปีครึ่ง นอกจากนี้ ทางคณะแพทย์ยังต้องเฝ้าติดตามอาการของหลวงพ่อคูณอย่างละเอียด

เนื่องจากหลวงพ่อคูณมีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 1 สัปดาห์ และจะมาวิเคราะห์ดูว่าจะสามารถอนุญาตให้หลวงพ่อคูณกลับไปพักรักษาตัวที่วัดบ้านไร่ได้หรือไม่

ขณะที่นายสมบูรณ์ โสตถิอนันต์ หรือไก่โต้ง ลูกศิษย์ใกล้ชิด กล่าวว่า ลูกศิษย์ได้พยุงพาเดินกายภาพบำบัดได้ไกลถึงหน้าลิฟท์กว่า 20 ก้าว และก็พูดคุยอารมณ์ดี แจ่มใส ไม่มีอาการของการเจ็บป่วยเลย ไม่มีไข้ ทั้งนี้
ยังมีการพูดคุยกันถึงเรื่องสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งหลวงพ่อคูณยังบอกกับตน และลูกศิษย์คนอื่นๆ ว่า "น้ำท่วม เดี๋ยวน้ำก็ลด เดี๋ยวมันก็แห้ง ไม่เป็นไรแล้วลูกหลานเอ๊ย"

ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการวัดบ้านไร่ และลูกศิษย์เริ่มนำข้าวของส่วนตัวของหลวงพ่อคูณเข้าไปจัดไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยในห้องกุฏิ ที่มีการปรับปรุงใหม่เสร็จเรียบร้อย แต่ยังคงเหลือการเก็บของให้เป็นที่เป็นทาง ก่อนที่หลวงพ่อคูณจะได้กลับวัดบ้านไร่ ซึ่งอาจจะได้เดินทางกลับหลังจาก 1 สัปดาห์ไปแล้ว ซึ่งก็ต้องอยู่ที่ทางคณะแพทย์อีกครั้งว่าจะเป็นวันไหนแน่นอน.


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/content/region/214730
25563  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไทยคือลาว ลาวคือไทย เป็นชาติเดียวกัน แต่ครั้งอยู่ราชคฤห์ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 11:48:25 am

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ไทยคือลาว ลาวคือไทย เป็นชาติเดียวกัน แต่ครั้งอยู่ราชคฤห์
แต่หนีตายมาคนละสาย มาบรรจบกันที่แม่น้ำใหญ่ๆ 4 สาย คือ แม่น้ำโขง เจ้าพระยา สาละวิน และแม่น้ำตาปี

ต่อมาเหตุการณ์บ้านเมืองในลาวเปลี่ยนแปลง เกิดกลียุค ราชวงศ์และราชบุตรเป็นศัตรูกัน ราชบุตรมักถูกรังแกใส่ความ ทนไม่ไหว จึงอพยพครอบครัวข้ามโขงมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ จังหวัดหนองบัวลำภู) ราษฎรก็ทยอยติดตามมา โดยมีพระตาน้องชายราชบุตรเป็นหัวหน้า ราชวงศ์ยังยกกองทัพมารังแกห่มเหงอีก

ฝ่ายพระตาและพระวอก็ได้ถอยร่นลงมาสู่ดอนมดแดง คืออุบลราชธานีในปัจจุบันอย่างทุลักทุเล บังเอิญกองทัพทางเวียงจันทน์เสบียงขาดแคลนลง จึงต้องยกทัพกลับ หลังจากนั้นก็ได้ยกทัพมาตีอีกครั้งที่สอง ชาวดอนมดแดงได้ต่อสู้ถวายหัวเต็มกำลังความสามารถ


พระตาสวรรคตในสนามรบอย่างสมพระเกียรติ พระวอเห็นท่าไม่ได้การ ได้ให้ม้าเร็วนำสาส์นขอกองกำลังจากบางกอกไปช่วย สมัยนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ จึงส่งกองทัพม้าเป็นทัพหน้าเดินทางไปก่อน กองทัพหลวงนำโดย สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกตามไป ชาวดอนมดแดงก็มีกำลังใจสู้ถวายหัว พอกองทัพหลวงยกมาถึง กองทัพทางเวียงจันทน์จึงแตกพ่ายกลับไป

ทั้งทัพม้าศึกและทัพหลวงแห่งบางกอก พร้อมกองอาสาสมัครแห่งดอนมดแดง ก็ติดตามไล่ตีไม่ลดละ จนถึงฝั่งโขง และข้ามโขงเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้ทั้งหมด

หลังจากชนะศึกแล้ว ชาวลาวได้ยินยอมพร้อมใจ มอบพระแก้วมรกต และพระบาง ให้มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ นี่คือสาเหตุที่พระแก้วมรกตมาประดิษฐานในประเทศไทย



อ้างอิง
คำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เรื่องประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5499.0
ขอบคุณภาพจาก http://www.oceansmile.com/,http://webboard.thai-tour.com/
25564  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัมมาสติ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 11:30:55 am


๒๖.  สติวรรค  คือ  หมวดสติ   
     
 
๔๓๒. สติ  โลกสฺมิ  ชาคโร.
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.
สํ.  ส.  ๑๕/๖๑.
 
๔๓๓. สติ  สพฺพตฺถ  ปตฺถิยา.
สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
ว.  ว.
 
๔๓๔. สติมโต  สทา  ภทฺทํ.
คนผู้มีสติ  มีความเจริญทุกเมื่อ.
สํ.  ส.  ๑๕/๓๐๖.
 
๔๓๕. สติมา  สุขเมธติ.
คนมีสติ  ย่อมได้รับความสุข.
สํ.  ส.  ๑๕/๓๐๖.
 
๔๓๖. สติมโต  สุเว  เสยฺโย.
คนมีสติ  เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน.
สํ.  ส.  ๑๕/๓๐๖.
 
๔๓๗. รกฺขมาโน  สโต  รกฺเข.
ผู้รักษา  ควรมีสติรักษา.
ส.  ส.


ที่มา http://dhammasound.multiply.com/journal/item/16
ขอบคุณภาพจาก http://www.rulife.net/,http://www.matichon.co.th/


    เพื่อนๆสนใจ พุทธภาษิตบทไหน บอกมาได้ จะเสนอพระสูตรให้อ่าน :49:
25565  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สามัคคี คือ อะไรคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 11:18:09 am


พุทธศาสนสุภาษิต : หมวดสามัคคี

  - สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข
  - จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
  -  ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข
  -  สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว
  -  ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ


  -  พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
  -  ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี


  -  ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
  -  ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด ผู้ใดย่อมรับรู้โทษ ที่เขามาสารภาพ คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น มิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย


  -  ถ้าแม้สัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย
  -  ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข
  -  ถ้าสัตบุรุษวิวาทกัน ก็เชื่อมกันได้โดยเร็ว ส่วนคนพาลแตกกันเหมือนหม้อดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย


  -  ต้นไม้งามใหญ่โตที่ขึ้นโดดเดี่ยว ลมก็ย่อมพัดให้หักโค่นลงได้
  -  การอนุเคราะห์หมู่ผู้พร้อมเพรียงกัน ก่อให้เกิดความสุข
  -  ผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบายนรกตลอดกัป
  -  สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว


  -  ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกัน ก่อให้เกิดความสุข
  -  ผู้ใด เมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทาง เชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระเป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
  -  ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป



ที่มา http://thaiproverb.kapook.com/?p=37
ขอบคุณภาพจาก http://thaiproverb.kapook.com/,http://gotoknow.org/


๓๐.  สามัคคีวรรค  คือ  หมวดสามัคคี

๔๕๖. สุขา  สงฺฆสฺส  สามคฺคี.
ความพร้อมเพรียงของหมู่  ให้เกิดสุข.
ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๑.  ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๓๘.  องฺ.  ทสก.  ๒๔/๘๐.

๔๕๗. สมคฺคานํ  ตโป  สุโข.
ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน  ให้เกิดสุข.
ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๑.

๔๕๘. สพฺเพสํ  สงฺฆภูตานํ    สามคฺคี  วุฑฺฒิสาธิกา.
ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่  ยังความเจริญให้สำเร็จ.
ส.  ส.


พุทธภาษิต ๓ บทข้างต้น หากมีใครสนใจบทไหนเป็นพิเศษ ผมจะนำเสนอให้เป็นพิเศษ

ที่มา http://dhammasound.multiply.com/journal/item/17
25566  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / รวมเพลง "สามัคคี" เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 08:33:52 pm






25567  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สามัคคี คือ อะไรคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 08:22:10 pm

รวมพุทธศาสนสุภาษิตเกี่ยวกับความสามัคคี

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี     สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข
สมคฺคา สขิลา โหถ     จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
สมคฺคานํ ตโป สุโข     ความเพียรของหมู่ชน ผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข

สูกเรหิ สมคฺเคหิ พฺยคฺโฆ เอกายเน หโต    
สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสื้อโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว

สามคฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสตํ     
พึงศึกษาความสามัคคี , ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว ,
ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจาธรรมอันเกษมจาโยคะ

วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี    
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และ ความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี

เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ    
ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้
ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม

สเจปิ สนฺโต วิวทนฺติ ขิปฺปํ สนฺธียเร ปุน พาลา ปตฺตาว ภิชฺชนฺติ น เต สมถมชฺฌคู    
ถ้าแม้นสัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว
ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย

สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา     ความสามัคคี มีแต่ความเจริญ
สามคฺคิยาติ ทุชฺชโย     สามัคคีกันไว้ ก็ยากที่ใครจะชนะได้


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.thaigoodview.com/node/8581
ขอบคุณภาพจาก http://region4.prd.go.th/,http://www.bloggang.com/
25568  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีบุคคลเรียนกรรมฐาน จากผู้ที่ไม่มีตัวตน เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 08:05:45 pm


หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม แห่งวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เคยได้พบท่านโดยที่ไม่ทราบว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร พบที่โคนต้นไทรใหญ่ โดยได้รับการบอกเล่าจากเจ้าของที่ดินว่า ถึงปีหลวงปู่พระเทพโลกอุดรจะมาปักกลดอยู่ชั่วระยะหนึ่ง

เจ้าของที่ดินเล่าว่า ตั้งแต่จำความได้จนถึงอายุได้ 80 ปีเศษ หลวงปู่ก็ยังคงทรงลักษณะเดิมไม่แปรเปลี่ยน หลวงพ่อจรัญ เรียกท่านว่า “หลวงพ่อดำ” ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากท่านพอสมควร บางทีคนมีวาสนาได้พบท่านแล้วไม่รู้จักว่าท่านเป็นใครมีอยู่มาก


หลวงปู่พระเทพโลกอุดร

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14333
25569  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัมมาสติ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 07:47:00 pm
เห็นควร ว่า ต้องทำความเข้าใจ กับการฝึกสมาธิ นะคะ

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นการฝึกสมาธิ นะคะ ไม่ใช่การฝึก สติ

ต้องเน้นย้ำว่า ฝึก สมาธิ....

 :s_hi:

  หนูกบครับ มีหลายอย่างที่ต้องอัพเดต ตัวผมก็ยังลังเลไม่แน่ใจว่า จะบอกหนูดีหรือไม่
  สิ่งที่ผมเพิ่งได้รับรู้ ก็ยังอยู่ระหว่างการทบทวน คำว่าธรรมทานนั้นก็คิดอยู่

  แต่ก็ต้องระมัดระวังการปรามาส ธรรมบารมีของแต่ละคนสั่งสมมาไม่เท่ากัน อาจทำให้
  ทิฏฐิและศรัทธาต่างกัน ขอเวลาสักระยะ ขอใช้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ดูก่อน

  ประเด็นของหนูกบที่ตั้งมาดีมากครับ ขออ่านความเห็นของคุณธวัชชัยไปก่อนนะค่ะ
:49:
25570  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พศ.ยันน้ำท่วมไม่กระทบ โครงสร้างพระประธานฯพุทธมณฑล เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 12:57:30 pm


พศ.ยันน้ำท่วมไม่กระทบ โครงสร้างพระประธานฯพุทธมณฑล

ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยันพระประธานพุทธมณฑลไม่ได้รับผลกระทบหลังถูกน้ำท่วม ส่วนที่ทำการต้องย้าย เผยขโมยเริ่มก่อกวน...

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณพื้นที่พุทธมณฑล ยังคงมีน้ำไหลเข้ามาอยู่เรื่อยๆ โดยเฉลี่ยความลึกทั่วบริเวณอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร ทำให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ต้องย้ายที่ทำการทั้งหมดไปอยู่ที่วัดราชาธิวาส โดยมีเพียงเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพุทธมณฑลบางส่วนที่ต้องคอยตรวตราดูภายใน บริเวณพุทธมณฑล

เนื่องจากพบว่าเริ่มมีโจรเข้าไปขโมยสิ่งของภายในพุทธมณฑลแล้ว อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์น้ำท่วมวิกฤติหนักถึงขนาดเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ตนได้เตรียมแผนที่จะย้ายที่ทำการสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ไปยังวัดชัยมงคล จ.ชลบุรี แล้ว

ขณะที่หลายฝ่ายเกรงว่าปริมาณน้ำที่ท่วมสูงจะเกิดผลกระทบต่อฐานขององค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์นั้น ยืนยันว่าฐานขององค์พระสร้างจากคอนกรีตที่มีความแน่นหนามากจึงไม่น่าจะเกิดผลกระทบแน่นอน



ด้านนายกนก แสนประเสริฐ ผอ.สำนักงานพุทธมณฑล กล่าวว่า ฐานขององค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ที่เกิดมีรอยร้าวบางจุด รวมทั้งมีแผ่นกระเบื้องหลุดออกมาคือ บริเวณลานประทักษิณซึ่งเป็นจุดที่ให้ประชาชนขึ้นไปเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความชื้นของน้ำที่ท่วมอยู่ด้านล่าง ซึ่งไม่เกิดผลกระทบต่อฐานขององค์พระที่มีความสูงต่อจากลานประทักษิณขึ้นไปอีกเกือบ 2 เมตรแน่นอน.

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
พศ.ยันน้ำท่วมไม่กระทบโครงสร้างพระประธานฯพุทธมณฑล - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/edu/214523
ขอบคุณภาพจาก http://board.palungjit.com/
25571  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 12:46:15 pm


กถม.ภูตส.ส เม รต.ติน.ทิวา
( กะถัมภูตัสสะ เม รัตตินทิวา )
วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

อนิพ.พิน.ทิยการิส.ส สม.มทต.โถ วิปจ.จติ
( อะนิพพินทิยะการิสสะ สัมมะทัตโถ วิปัจจะติ )
ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อป.เปน พหุเกน วา

( อะโมฆัง ทิวะสัง กะยิรา อัปเปนะ พะหุเกนะ วา )
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง

อโหรต.ตมตน.ทิตํ ตํ เว ภท.เทกรต.โตติ
( อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ )
ขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา นั้นแลเรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค

ขโณ โว มา อุปจ.จคา
( ขะโณ โว มา อุปัจจะคา )
อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~fagisvtc/buddhism/lords/supasit1.htm
ขอบคุณภาพจาก http://multiply.com/


"เวลาและกระแสน้ำไม่เคยคอยใคร"
"อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง"
25572  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 12:38:35 pm


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร


ตรัสแสดงธรรมะ ๑๐ อย่างที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ คือ
     ๑. เรามีเพศ ต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
     ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
     ๓. ยังมีกิริยาอาการที่ดีงามอย่างอื่นอีกที่ต้องทำ
     ๔. เราติตนเองโดยศีลได้หรือไม่
     ๕. ผู้รู้ พิจารณาแล้วติเราโดยศีลได้หรือไม่


     ๖. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบทั้งสิ้น
     ๗. เรามีกรรมเป็นของตัว จักเป็นผู้รับผลของกรรมดีชั่ว ที่ทำไว้
     ๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
     ๙. เรายินดีในเรือนว่างหรือไม่
     ๑๐. เราได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์หรือไม่.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/16.html
อ่านรายลเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๒๑๑๐ - ๒๑๒๘.  หน้าที่  ๙๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2110&Z=2128&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=48
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
25573  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัมมาสติ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 12:01:08 pm


การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่านนำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ของจิตแพทย์ (psychiatrist)

สมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่าสติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย 

   อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะไม่วิจารณ์ความเห็นนั้น แต่จะขอสรุปสาระสำคัญของการเจริญสติปัฏฐานใหม่อีกแนวหนึ่ง ดังนี้

ก. กระบวนการปฏิบัติ

   ๑. องค์ประกอบหรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวทำการ ที่คอยกำหนดหรือคอยสังเกตตามดูรู้ทัน) กับฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกกำหนด หรือถูกสังเกตตามดูรู้ทัน)

   ๒. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ หรือถูกกำหนดตามดูรู้ทัน ก็คือ สิ่งธรรมดาสามัญที่มีอยู่กับตัวของทุกคนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เฉพาะที่เป็นปัจจุบัน คือกำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

   ๓. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ  คือ คอยกำหนด  คอยตามดูรู้ทัน  เป็นองค์ธรรมหลักของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ

   สติ เป็นตัวเกาะจับสิ่งที่จะพิจารณาเอาไว้ สัมปชัญญะ คือตัวปัญญา ที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการที่ถูกพิจารณานั้นโดยตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น เมื่อกำหนดพิจารณาการเคลื่อนไหวของร่างกาย ขณะที่เดิน ก็รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดิน ไปไหน เป็นต้น และเข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจเป็นต้นของตนเข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง

   ๔. อาการที่กำหนดและตามดูรู้ทันนั้น เป็นอย่างที่ว่า ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู-เห็น-เข้าใจ ว่าอะไร กำลังเป็นอย่างไร ปรากฏผลอย่างไรเท่านั้น ไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ในใจ ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า ดีชั่ว ถูกผิด เป็นต้น ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงในใจ ความยึดมั่นต่างๆ ลงไปว่า ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เพียงเห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ของสิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้นๆ เองโดยเฉพาะ ไม่สร้างความคิดผนวกว่า ของเรา ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย. ข. เป็นต้น


   ยกตัวอย่างเช่น  ตามดูเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น มีทุกข์เกิดขึ้น มีความกังวลใจเกิดขึ้น ก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไร กลายเป็นเหมือนกับสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณาเลย เพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เองล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์ ฯลฯ

   แม้แต่ความดีความชั่วใดๆ ก็ตามที่มีอยู่ หรือปรากฏขึ้นในจิตใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้ามัน ไม่เลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเองตามเหตุปัจจัย แล้วก็ตามดูสิ่งอื่นต่อไป

   ทั้งนี้ เป็นท่าทีที่เปรียบได้กับแพทย์ที่กำลังชำแหละตรวจดูศพ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังสังเกตดูวัตถุที่ตนกำลังศึกษา ไม่ใช่ท่าทีแบบผู้พิพากษาที่กำลังพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นการดูเห็นแบบสภาววิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)


ข.  ผลของการปฏิบัติ

   ๑. ในแง่ความบริสุทธิ์ เมื่อสติจับอยู่กับสิ่งที่กำหนดอย่างเดียว และสัมปชัญญะรู้เข้าใจสิ่งนั้นตามที่มันเป็น ย่อมเป็นการควบคุมกระแสการรับรู้และความคิดไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่มีช่องที่กิเลสต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ และในเมื่อมองเห็นสิ่งเหล่านั้นเพียงแค่ตามที่มันเป็น ไม่ใส่ความรู้สึก ไม่สร้างความคิดคำนึงตามความโน้มเอียงและความใฝ่ใจต่างๆ ที่เป็นสกวิสัย (subjective) ลงไป ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ไม่มีช่องที่กิเลสทั้งหลายเช่นความโกรธจะเกิดขึ้นได้ เป็นการกำจัดอาสวะเก่า และป้องกันอาสวะใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น

   ๒. ในแง่ความเป็นอิสระ เมื่อมีสภาพจิตที่บริสุทธิ์อย่างในข้อ ๑. แล้ว ก็ย่อมมีความเป็นอิสระด้วย โดยจะไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เพราะอารมณ์เหล่านั้นถูกใช้เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิจารณาแบบสภาววิสัย (objective) ไปหมด เมื่อไม่ถูกแปลความหมายตามอำนาจอาสวะที่เป็นสกวิสัย (subjective) สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีอิทธิพลตามสกวิสัยแก่บุคคลนั้น และพฤติกรรมต่างๆ ของเขา จะหลุดพ้นจากการถูกบังคับด้วยกิเลสที่เป็นแรงขับหรือแรงจูงใจไร้สำนึกต่างๆ (unconscious drives หรือ unconscious motivations) เขาจะเป็นอยู่อย่างที่เรียกว่า ไม่อิงอาศัย ไม่ยึดมั่นสิ่งใดในโลก

   ๓. ในแง่ปัญญา เมื่ออยู่ในกระบวนการทำงานของจิตเช่นนี้ ปัญญาย่อมทำหน้าที่ได้ผลดีที่สุด เพราะจะไม่ถูกเคลือบหรือหันเหไปด้วยความรู้สึก ความเอนเอียง และอคติต่างๆ ทำให้รู้เห็นตามที่มันเป็น คือ รู้ตามความจริง

   ๔. ในแง่ความพ้นทุกข์ เมื่อจิตอยู่ในภาวะตื่นตัว เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น และคอยรักษาท่าทีของจิตอยู่ได้เช่นนี้ ความรู้สึกเอนเอียงในทางบวกหรือลบต่อสิ่งนั้นๆ ที่มิใช่เป็นไปโดยเหตุผลบริสุทธิ์ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จึงไม่มีความรู้สึกทั้งในด้านติดใคร่อยากได้ (อภิชฌา) และด้านขุ่นหมองขัดข้องใจ (โทมนัส) ปราศจากอาการกระวนกระวาย (anxiety) ต่างๆ เป็นภาวะจิตที่เรียกว่าพ้นทุกข์ มีความปลอดโปร่ง โล่งเบา ผ่องใส ผ่อนคลาย



   ผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ความจริงก็สัมพันธ์เป็นอันเดียวกัน เป็นแต่แยกกล่าวในแง่ต่างๆ
   เมื่อสรุปตามแนวปฏิจจสมุปบาทและไตรลักษณ์ ก็ได้ความว่า เดิมมนุษย์ไม่รู้ว่าตัวตนที่ยึดถือไว้ ไม่มีจริง เป็นเพียงกระแสของรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อยจำนวนมากมายที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน กำลังเกิดขึ้นและเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

 
   เมื่อไม่รู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ทัศนคติ ความเชื่อ ความเห็น การรับรู้ เป็นต้น ในขณะนั้นๆ ว่าเป็นตัวตนของตน แล้วตัวตนนั้นก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป รู้สึกว่าฉันเป็นนั่น ฉันเป็นนี่ ฉันรู้สึกอย่างนั้น ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฯลฯ

   การรู้สึกว่าตัวฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็คือการถูกความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ที่เป็นนามธรรมส่วนย่อยในขณะนั้นๆ หลอกเอา หรือเอาสิ่งเหล่านั้นมาสร้างภาพหลอกขึ้นนั่นเอง เมื่ออยู่ในภาวะถูกหลอกเช่นนั้น ก็คือการตั้งต้นความคิดที่ผิดพลาด จึงถูกชักจูงบังคับให้คิดเห็นรู้สึกและทำการต่างๆ ไปตามอำนาจของสิ่งที่ตนยึดว่าเป็นตัวตนในขณะนั้นๆ

   ครั้นมาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ก็มองเห็นรูปธรรมนามธรรมแต่ละอย่างที่เป็นส่วนประกอบของกระแสนั้น กำลังเกิดดับอยู่ตามสภาวะของมัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ในกระแส แยกแยะออกมองเห็นกระจายออกไปเป็นส่วนๆ เป็นขณะๆ มองเห็นอาการที่ดำเนินสืบต่อกันเป็นกระแสไปเรื่อยๆ แล้ว ย่อมไม่ถูกหลอกให้ยึดถือเอาสิ่งนั้นๆ เป็นตัวตนของตน และสิ่งเหล่านั้นก็หมดอำนาจบังคับให้บุคคลอยู่ใต้การชักจูงของมัน
 
   ถ้าการมองเห็นนี้เป็นไปอย่างลึกซึ้ง สว่างแจ่มชัดเต็มที่ ก็เป็นภาวะที่เรียกว่าความหลุดพ้น ทำให้จิตตั้งต้นดำเนินในรูปใหม่ เป็นกระแสที่บริสุทธิ์โปร่งเบา เป็นอิสระ ไม่มีความเอนเอียงยึดติดเงื่อนปมต่างๆ ภายใน เกิดเป็นบุคลิกภาพใหม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นภาวะของจิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ดุจร่างกายที่เรียกว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ เพราะองค์อวัยวะทุกส่วนปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องเต็มที่ตามปรกติของมัน ในเมื่อไม่มีโรคเป็นข้อบกพร่องอยู่เลย

   โดยนัยนี้ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานจึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการเป็นโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปมเป็นอุปสรรคถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป ทำให้ใจปลอดโปร่ง พร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่ เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกด้วยความเข้มแข็งและสดชื่นต่อไป


สุขภาพกาย-สุขภาพใจ

   เรื่องที่ได้อธิบายมา อาจสรุปด้วยพุทธพจน์ดังต่อไปนี้
   ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่ ๒ ชนิดดังนี้ คือ โรคทางกาย ๑ โรคทางใจ ๑ สัตว์ทั้งหลายที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลย ตลอดเวลาทั้งปี ก็มีปรากฏอยู่ ผู้ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่มีโรคทางกายเลย ตลอดเวลา ๒ ปี ... ๓ ปี ... ๔ ปี ... ๑๐ ปี ... ๒๐ ปี ... ๓๐ ปี ... ๔๐ ปี ... ๕๐ ปี ... ๑๐๐  ปี ... ก็มีปรากฏอยู่ แต่สัตว์ที่ยืนยันได้ว่า ตนไม่เป็นโรคทางใจเลย แม้ชั่วเวลาเพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะแล้ว) ทั้งหลาย


   พระสารีบุตร   :  แน่ะท่านคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้า ของท่านก็สดใสเปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือ?
   คฤหบดีนกุลบิดา   :  พระคุณเจ้าผู้เจริญ ไฉนจะไม่เป็นเช่นนี้เล่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งน้ำอมฤตรดข้าพเจ้าแล้ว ด้วยธรรมีกถา

   พระสารีบุตร   :  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตรดท่าน ด้วยธรรมี-กถาอย่างไร?
   คฤหบดี      :  พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลว่า :-
   พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ชราแล้ว เป็นคนแก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมานาน ร่างกายก็มีโรคเร้ารุม เจ็บป่วยอยู่เนืองๆ อนึ่งเล่า  ข้าพระองค์มิได้(มีโอกาส)เห็นพระผู้มีพระภาค และพระภิกษุทั้งหลาย ผู้ช่วยให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดประทานโอวาทสั่งสอนข้าพระองค์ ในข้อธรรมที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ ตลอดกาลนาน
พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า    : ถูกแล้ว


           ท่านคฤหบดี เป็นเช่นนั้น อันร่างกายนี้ ย่อมมีโรครุมเร้า ดุจดังว่าฟองไข่ ซึ่งผิวเปลือกห่อหุ้มไว้ ก็ผู้ใดที่บริหารร่างกายนี้อยู่ จะยืนยันว่าตนไม่มีโรคเลย แม้ชั่วครู่หนึ่ง จะมีอะไรเล่านอกจากความเขลา
เพราะเหตุฉะนั้นแล ท่านคฤหบดี ท่านพึงฝึกใจว่า
“ถึงกายของเราจะป่วยออดแอดไป แต่ใจของเราจะไม่ป่วยด้วยเลย”
   พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตรดข้าพเจ้า ด้วยธรรมีกถา ดั่งนี้แล



อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammathai.org/,http://www2.cgd.go.th/,http://www.bloggang.com/
25574  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัมมาสติ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 11:50:53 am


บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา และกำจัดอาสวกิเลส

   อัปปมาท คือความไม่ประมาทนั้น หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ การใช้สติอยู่เสมอในการครองชีวิต
 
   อัปปมาท เป็นตัวการทำให้ระมัดระวังตัว ป้องกันไม่ให้พลาดตกไปในทางชั่วหรือเสื่อม คอยยับยั้ง เตือนไม่ให้เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลงสยบอยู่ คอยกระตุ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่ และคอยเร่งเร้าให้ขะมักเขม้นที่จะก้าวเดินรุดหน้าอยู่เรื่อยไป ทำให้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ โดยตระหนักถึงสิ่งควรทำ-ไม่ควรทำ ทำแล้วและยังมิได้ทำ และช่วยให้ทำการต่างๆ ด้วยความละเอียดรอบคอบ จึงเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในระบบจริยธรรมดังได้กล่าวแล้ว

   อย่างไรก็ดี ความสำคัญของอัปปมาทนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องจริย-ธรรมในวงกว้าง เกี่ยวกับความเป็นอยู่ประพฤติปฏิบัติทั่วๆ ไปของชีวิต กำหนดคร่าวๆ ตั้งแต่ระดับศีลถึงสมาธิ

   ในระดับนี้ สติทำหน้าที่กำกับตามดูแลพ่วงไปกับองค์ธรรมอื่นๆ ทั่วไปหมด โดยเฉพาะจะมีวายามะหรือความเพียรควบอยู่ด้วยเสมอ การทำงานของสติจึงปรากฏออกมาในภาพรวมของอัปปมาท คือความไม่ประมาท ที่เหมือนกับคอยวิ่งเต้นเร่งเร้าอยู่ในวงนอก

   ครั้นจำกัดขอบเขตการทำงานแคบเข้ามา และลึกละเอียดลงไปในขั้นการดำเนินของจิตในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการใช้ปัญญาชำระล้างภายในดวงจิต ซึ่งเป็นเรื่องจำเพาะเข้ามาข้างในกระบวนการทำงานในจิตใจ และแยกแยะรายละเอียดซอยถี่ออกวิเคราะห์เป็นขณะๆ ในระดับนี้เอง ที่สติทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ และเด่นชัด กลายเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญ ที่เรียกโดยชื่อของมันเอง

   ความหมายที่แท้จำเพาะตัวของ “สติ” อาจเข้าใจได้จากการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของสติ ในกรณีที่มีบทบาทของมันเองแยกจากองค์ธรรมอื่นๆ อย่างเด่นชัด เช่น ในข้อปฏิบัติที่เรียกว่าสติปัฏฐาน
   ในกรณีเช่นนี้ พอจะสรุปการปฏิบัติหน้าที่ของ “สติ” ได้ดังนี้

   ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของ สติ นั้น คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือ ไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้นๆ เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใด ก็เข้าจับดูติดๆ ไป ไม่ยอมให้คลาดหาย คือนึกถึงหรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม

   มีคำเปรียบเทียบว่า สติ เป็นเหมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆ ที่เป็นทางรับอารมณ์ ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา
   ปทัฏฐาน หรือเหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา (การกำหนดหมาย) ที่ถนัดมั่น หรือสติปัฏฐานต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไป

   พิจารณาในแง่จริยธรรม จะมองเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของสติได้ ทั้งในแง่นิเสธ (negative) และในแง่นำหนุน (positive)
   ในแง่นิเสธ สติเป็นตัวป้องกัน ยับยั้งจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ก้าวพลาด ไม่ให้ถลำลงในธรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ยอมให้ความชั่วได้โอกาสเกิดขึ้นในจิต และไม่ยอมให้ใช้ความคิดผิดทาง


   ในด้านนำหนุน สติเป็นตัวควบคุมตรวจตรากระแสการรับรู้ ความนึกคิด และพฤติกรรมทุกอย่าง ให้อยู่ในแนวทางที่ต้องการ คอยกำกับจิตไว้กับอารมณ์ที่ต้องการ และจึงเป็นเครื่องมือสำหรับยึดหรือเกาะกุมอารมณ์ใดๆ ก็ตาม ดุจเอาวางไว้ข้างหน้าจิต เพื่อพิจารณาจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป

   ในทางปฏิบัติของพุทธธรรม เน้นความสำคัญของสติมาก อย่างที่กล่าวว่า สติจำปรารถนา (คือต้องนำมาใช้) ในกรณีทั้งปวง หรือ สติมีประโยชน์ในทุกกรณี และเปรียบสติเหมือนเกลือที่ต้องใช้ในกับข้าวทุกอย่าง และเหมือนนายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องในราชการทุกอย่าง เป็นทั้งตัวการเหนี่ยวรั้งปรามจิต และหนุนประคองจิต ตามควรแก่กรณี

   เมื่อนำลักษณะการทำหน้าที่ของสติที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ จะมองเห็นประโยชน์ที่มุ่งหมายของการปฏิบัติฝึกฝนในเรื่องสติ ดังนี้ :-

   ๑.ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และกระแสความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ ตรึงกระแสความคิดให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

   ๒.ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าเป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี

   ๓.ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไปโดยมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆ ได้

   ๔.โดยการยึดหรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่ากับเป็นฐานในการสร้างเสริมปัญญาให้เจริญบริบูรณ์

   ๕.ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ ไม่เกลือกกลั้วหรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน และร่วมกับสัมปชัญญะ ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือเหตุผลบริสุทธิ์ ล้วนๆ


   ประโยชน์ข้อที่ ๔ และ ๕ นั้น นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ ซึ่งตามคำจำกัดความในข้อสัมมาสตินี้ ก็ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔



สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ
   สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีถึงที่สุด อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า


   ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔

   การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่องสัมมาสมาธิ อันเป็นองค์มรรคข้อที่ ๘ ก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญแต่วิปัสสนาฝ่ายเดียวตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

   วิปัสสนา เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น ทั้งในแง่สาระสำคัญ ขอบเขตความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ไม่ได้มุ่งอธิบายเรื่องวิปัสสนาโดยตรง คงมุ่งเพียงให้เข้าใจวิปัสสนาเท่าที่มองเห็นได้จาก
สาระสำคัญของสติปัฏฐานเท่านั้น

ก) สติปัฏฐาน ๔ โดยสังเขป สติปัฏฐาน มีใจความโดยสังเขป คือ:-
   ๑.กายานุปัสสนา การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย
   ๑.๑อานาปานสติ คือ ไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ
   ๑.๒กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไรๆ ก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้นๆ
   ๑.๓สัมปชัญญะ คือ มีสัมปชัญญะในการกระทำและความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่น การก้าวเดิน การเหลียวมอง
การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การตื่น การหลับ การพูด การนั่ง เป็นต้น
   ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาดต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน
   ๑.๕ ธาตุมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ ๔ แต่ละอย่างๆ
   ๑.๖ นวสีวถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา ๙ ระยะ ตั้งแต่ตายใหม่ๆ ไปจนถึงกระดูกผุ
แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตน ว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน


  ๒.เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดความรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นชนิดสามิส
และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

  ๓.จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือจิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ        มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

  ๔.ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ
   ๔.๑นิวรณ์  คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ ๕ แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
   ๔.๒ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ ๕ แต่ละอย่าง คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
   ๔.๓ อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายในภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่าสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร
   ๔.๔โพชฌงค์  คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ ๗ แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
   ๔.๕ อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร


   ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า
   ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายใน (=ของตนเอง) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอก (=ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกอยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง ก็แล มีสติปรากฏชัดว่า “กายมีอยู่” เพียงพอเป็นความรู้ และพอสำหรับระลึกเท่านั้น แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย และไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆ ในโลก

ข) สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

   จากใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาตอนใดตอนหนึ่ง โดยเหตุนี้ท่านผู้รู้จึงสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

   จากข้อความในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือสมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ พอใช้สำหรับการนี้  ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

   ๑.อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่องค์มรรคข้อ ๖ คือสัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวังป้องกันและละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)
   ๒.สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือตัวปัญญา ได้แก่สัมมาทิฏฐิ)
   ๓.สติมา = มีสติ (หมายถึงสติที่กำลังพูดถึงนี้ คือสัมมาสติ)


   ข้อน่าสังเกตคือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่ามีสัมปชัญญะ สัมปชัญญะนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ สัมปชัญญะก็คือปัญญา ดังนั้น การฝึกฝนในเรื่องสตินี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง

   สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ความเข้าใจตระหนักชัดต่อสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลงหรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

   ข้อความต่อไปที่ว่า “กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้” แสดงถึงท่าทีที่เป็นผลจากการมีสติสัมปชัญญะว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจในกรณีนั้นๆ

   ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า “มองเห็นความเกิดความเสื่อมสิ้นไป” นั้น แสดงถึงการพิจารณาเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์ จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือการมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นที่ว่า “กายมีอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น

   ท่าทีอย่างนี้ก็คือท่าทีแห่งความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน



อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจากhttp://www.dhammathai.org/,http://www.vcharkarn.com/,http://www.bloggang.com/
25575  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สัมมาสติ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 11:34:21 am


สัมมาสติ โดยพิสดาร

คำจำกัดความ
   สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ ๒ ในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา มี คำจำกัดความแบบพระสูตร ดังนี้
   ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

   ๑)พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
   ๒)พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
   ๓)พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
   ๔)พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้


   คำจำกัดความอีกแบบหนึ่ง ที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรม ว่าดังนี้
   
สัมมาสติ เป็นไฉน?
     สติ คือ การคอยระลึกถึงอยู่เนืองๆ การหวนระลึก (ก็ดี)
     สติ คือ ภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืม (ก็ดี)
     สติ คือ สติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ


   สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตรนั้น ก็คือหลักธรรมที่  เรียกว่า สติปัฏฐาน นั่นเอง หัวข้อทั้ง ๔ ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
   ๑)กายานุปัสสนา    (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)
   ๒)เวทนานุปัสสนา   (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
   ๓)จิตตานุปัสสนา   (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
   ๔)ธัมมานุปัสสนา   (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม
)
   ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นี้ เห็นว่าควรทำความเข้าใจทั่วๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องสติไว้เป็นพื้นฐานก่อน

สติในฐานะอัปปมาทธรรม
   “สติ” แปลกันง่ายๆ ว่า ความระลึกได้ เมื่อแปลอย่างนี้ ทำให้นึกเพ่งความหมายไปในแง่ของความจำ ซึ่งก็เป็นการถูกต้องในด้านหนึ่ง แต่อาจไม่เต็มตามความหมายหลัก ที่เป็นจุดมุ่งสำคัญก็ได้ เพราะถ้าพูดในแง่ปฏิเสธ สตินอกจากหมายถึงความไม่ลืม ซึ่งตรงกับความหมายข้างต้น ที่ว่าความระลึกได้แล้ว ยังหมายถึง ความไม่เผลอ ไม่เลินเล่อ ไม่ฟั่นเฟือนเลื่อนลอยด้วย


   ความหมายในแง่ปฏิเสธเหล่านี้ เล็งไปถึงความหมายในทางสำทับว่า ความระมัดระวัง ความตื่นตัวต่อหน้าที่ ภาวะที่พร้อมอยู่เสมอในอาการคอยรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และตระหนักว่าควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไร

   โดยเฉพาะในแง่จริยธรรม การทำหน้าที่ของสติมักถูกเปรียบเทียบเหมือนกับนายประตู ที่คอยระวังเฝ้าดูคนเข้าออกอยู่เสมอ และคอยกำกับการ โดยปล่อยคนที่ควรเข้าออกให้เข้าออกได้ และคอยกันห้ามคนที่ไม่ควรเข้า ไม่ให้เข้าไป  คนที่ไม่ควรออก ไม่ให้ออกไป
 
   สติจึงเป็นธรรมสำคัญในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นตัวควบคุมเร้าเตือนการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นตัวคอยป้องกันยับยั้งตนเอง ทั้งที่จะไม่ให้หลงเพลินไปตามความชั่ว และที่จะไม่ให้ความชั่วเล็ดลอดเข้ามาในจิตใจได้ พูดง่ายๆ ว่า ที่จะเตือนตนเองในการทำความดี และไม่เปิดโอกาสแก่ความชั่ว

   พุทธธรรมเน้นความสำคัญของสติเป็นอย่างมาก ในการปฏิบัติจริย-ธรรมทุกขั้น การดำเนินชีวิต หรือการประพฤติปฏิบัติโดยมีสติกำกับอยู่เสมอนั้น มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “อัปปมาท” คือ ความไม่ประมาท

   อัปปมาท นี้ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง สำหรับความก้าวหน้าในระบบ จริยธรรม มักให้ความหมายว่า การเป็นอยู่โดยไม่ขาดสติ ซึ่งขยายความได้ว่าการระมัดระวังอยู่เสมอ ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความเจริญก้าวหน้า ตระหนักดีถึงสิ่งที่จะต้องทำ และต้องไม่ทำ ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำการด้วยความจริงจัง และพยายามก้าวรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา
 
   กล่าวได้ว่า อัปปมาทธรรมนี้ เป็นหลักความสำนึกรับผิดชอบ
   ในแง่ความสำคัญ อัปปมาท จัดเป็นองค์ประกอบภายใน เช่นเดียวกับโยนิโสมนสิการ คู่กับหลักกัลยาณมิตร ที่เป็นองค์ประกอบภายนอก พุทธพจน์แสดงความสำคัญของอัปปมาทนี้ บางทีซ้ำกับโยนิโสมนสิการ เหตุผลก็คือธรรมทั้งสองอย่างนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ต่างแง่กัน


   โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบฝ่ายปัญญา เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ทำการ (เพื่อสร้างปัญญา) ส่วนอัปปมาทเป็นองค์ประกอบฝ่ายสมาธิ เป็นตัวควบคุมและเร่งเร้าให้มีการใช้อุปกรณ์นั้น และก้าวหน้าต่อไปไม่หยุด

   ความสำคัญและขอบเขตการใช้อัปปมาทธรรม ในการปฏิบัติจริย-ธรรมขั้นต่างๆ จะเห็นได้จากพุทธพจน์ตัวอย่างต่อไปนี้

   ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น

   เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาทเลย เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

        เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่  ...ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาทเลย



        โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความไม่ประมาทเลย

        เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น ...ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค ก็คือ ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

           ...เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นเหตุให้อริยอัษฎางคิกมรรค ซึ่งยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น หรืออริยอัษฎางคิกมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เธอจักเจริญ จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค

   แม้ปัจฉิมวาจา คือพระดำรัสครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เป็นพระดำรัสในเรื่องอัปปมาทธรรม ดังนี้

   สิ่งทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท

   พุทธพจน์เกี่ยวกับอัปปมาทธรรม มีตัวอย่างอีกมากมาย พึงดูต่อไป
   ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ควรสร้างอัปปมาทโดยฐานะ ๔ คือ
   ๑.จงละกายทุจริต   จงเจริญกายสุจริต   และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น
   ๒.จงละวจีทุจริต   จงเจริญวจีสุจริต   และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น
   ๓.จงละมโนทุจริต   จงเจริญมโนสุจริต   และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น
   ๔.จงละมิจฉาทิฏฐิ   จงเจริญสัมมาทิฏฐิ   และจงอย่าประมาทในการ (ทั้งสอง) นั้น

   ในเมื่อภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ฯลฯ ละมิจฉาทิฏฐิ เจริญสัมมาทิฏฐิแล้ว เธอย่อมไม่หวาดกลัวต่อความตายที่จะมีข้างหน้า

   ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรสร้างอัปปมาท คือ การรักษาใจด้วยสติ โดยตนเอง ในฐานะ ๔ คือ
   ๑. ...จิตของเรา   อย่าติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ
   ๒. ...จิตของเรา    อย่าขัดเคืองในธรรมที่ชวนให้เกิดความขัดเคือง
   ๓. ...จิตของเรา   อย่าหลงในธรรมที่ชวนให้เกิดความหลง
   ๔. ...จิตของเรา    อย่ามัวเมาในธรรมที่ชวนให้เกิดความมัวเมา


เมื่อจิตของภิกษุ ไม่ติดใจในธรรมที่ชวนให้เกิดความติดใจ เพราะปราศจากราคะแล้ว ไม่ขัดเคือง...ไม่หลง...ไม่มัวเมาแล้ว เธอย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง และไม่(ต้อง)เชื่อถือ แม้แต่เพราะถ้อยคำของสมณะ

ถาม   :  มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียว ที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์เฉพาะหน้า) และ สัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า หรือประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป)?
ตอบ   :  มี
ถาม   :  ธรรมนั้น คืออะไร ?
ตอบ   :  ธรรมนั้น คือ ความไม่ประมาท


   ดูกรมหาบพิตร ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วนั้น สำหรับผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา หาใช่สำหรับผู้มีบาปมิตร ผู้มีบาปสหาย ผู้มีบาปชนเป็นที่คบหาไม่...ความมีกัลยาณมิตรนั้น เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว

   เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มีกัลยาณสหาย มีกัลยาณชนเป็นที่คบหา พระองค์ผู้ทรงมีกัลยาณมิตรนั้น จะต้องทรงดำเนินพระจริยาอาศัยธรรมข้อนี้อยู่ ประการหนึ่ง คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย

   เมื่อพระองค์ไม่ประมาท ดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่ พวกฝ่ายใน...เหล่าขัตติยบริวาร...ปวงเสนาข้าทหาร...ตลอดจนชาวนิคมชนบท ก็จะพากันคิดว่า “พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาท ถึงพวกเราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาท จะเป็นอยู่โดยอาศัยความไม่ประมาทด้วย”

   ดูกรมหาบพิตร เมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ทรงดำเนินพระจริยาอาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้ตัวพระองค์เอง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา แม้พวกฝ่ายในก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา (ตลอดจน) แม้เรือนคลัง ยุ้งฉาง ก็เป็นอันได้รับการคุ้มครองรักษา มีสติรักษาตัว เท่ากับช่วยรักษาสังคม

   พุทธพจน์แสดงคุณค่าของสติ ในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติที่ใกล้ชิดกันของ อัปปมาท กับ สติ ช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมทั้งสองข้อนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น

   ในเวลาเดียวกัน พุทธพจน์นั้นก็แสดงให้เห็นด้วยว่า พุทธธรรมมองชีวิตด้านในของบุคคล โดยสัมพันธ์กับคุณค่าด้านนอกคือทางสังคม และถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้เชื่อมโยงถึงกัน ไม่แยกจากกัน และสอดคล้องไปด้วยกัน

   ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นักกายกรรม ยกลำไม้ไผ่ขึ้นตั้งแล้ว เรียกศิษย์มาบอกว่า “มานี่แน่ะเธอ เจ้าไต่ไม้ไผ่ขึ้นไปแล้ว จง (เลี้ยงตัว) อยู่เหนือต้นคอของเรา” ศิษย์รับคำแล้วก็ไต่ลำไม้ไผ่ขึ้นไป ยืน(เลี้ยงตัว)อยู่บนต้นคอของอาจารย์

   คราวนั้น นักกายกรรมได้พูดกับศิษย์ว่า “นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ เราทั้งสองระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”

   ครั้นอาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวกับอาจารย์บ้างว่า    “ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้นไม่ได้ ท่านอาจารย์ (นั่นแหละ) จงรักษาตัวเองไว้ ผมก็จักรักษาตัวผมเอง เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของตัวไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย”

   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า: นั่นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจเดียวกับที่ศิษย์พูดกับอาจารย์ (นั่นเอง) เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตัวเอง” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (มีสติไว้) เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (เหมือนกัน)

   ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย) เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย
        เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น นั้นอย่างไร?
        ด้วยการหมั่นปฏิบัติ ด้วยการเจริญอบรม ด้วยการทำให้มาก อย่างนี้แล เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น (ด้วย)

   เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน นั้นอย่างไร?
        ด้วยขันติ ด้วย อวิหิงสา ด้วยความมีเมตตาจิต ด้วยความเอ็นดูกรุณา อย่างนี้แล


        เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน (ด้วย)
   ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาตน” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อคิดว่า “เราจะรักษาผู้อื่น” ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น (ด้วย) เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเอง (ด้วย)



อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://buddha.dmc.tv/
25576  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระพรหมมี 2 ระดับ พรหมที่ไม่เที่ยง และพรหมที่เที่ยง เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 06:04:33 am


โลกุตตระพรหม  ชั้นนิพพานเป็นแดนอมตะ ที่เที่ยง ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย



 เจ้าของกระทู้ไม่ได้อ้างแหล่งที่มาให้ชัดเจน  ผมเห็นว่า ข้อความนี้คลุมเครือ รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น อรูปพรหมมี ๔ ชั้น  แล้วโลกุตรพรหมอยู่ชั้นไหนครับ หรือมีเจตนาเป็นอื่น ช่วยชี้แจงสักนิด




พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ดินแดนที่มีสุขยิ่งกว่านี้มีอยู่ นั่นคือ พระนิพพาน"   ถ้าเธอยังไม่รู้จักและแยกไม่ออกระหว่างโลกียะ กับ โลกุตตระ  เธอก็จะเข้าใจผิด ไม่รู้ว่าพรหมวิหารธรรมมีทั้งในระดับโลกียะ และโลกุตตระ

        นิพพานัง ปรมัง สุขัง หมายถึง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ควรหลีกเลี่ยงคำว่า "ดินแดน"
         :25:
25577  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เนื้อหาในพระไตรปิฎกปฐมสังคายนา ที่พระไตรปิฎกอื่นไม่มี เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 05:39:10 am

  พระอรหันต์ ๔ คือ
           ๑. พระสุกขวิปัสสก
           ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
           ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
           ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔);


ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน,
       ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
           ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
           ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
           ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
           ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


  พระอรหันต์ที่จะชำระพระธรรมวินัยได้นั้น ควรจะเป็นอรหันต์ประเภทพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
   เพราะมีปัญญาแตกฉานในทุกด้าน พระอรหันต์ประเภทพระฉฬภิญญะ ความแตกฉานทางธรรมยังไม่พอครับ

    :25:
25578  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เที่ยวคลายทุกข์ 'กลุ่มจังหวัดสนุก'นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 05:57:03 pm


ผ่านต่อไปยัง จ.สกลนคร เมืองที่จรุงด้วยกลิ่นอายของธรรมะไม่ต่างไปจาก จ.นครพนม ด้วยมีพระธาตุเชิงชุม เป็นเสาหลักด้านศาสนสถานคู่บ้านคู่เมืองมายาวนาน และนับเป็นพุทธลักษณะโบราณที่งดงามสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะตรงยอดฉัตรเหนือองค์พระธาตุขึ้นไปนั้น ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนักมากถึง 247 บาท
   
นอกเหนือจากนี้ ดินแดนแห่งนี้ ยังได้ชื่ออีกว่า เป็นแหล่งมากมีวัดป่าสำหรับการแสวงหาความวิเวกเพื่อจรรโลงและชำระล้างจิตใจให้เป็นสุขที่สงบ สถานที่ที่ประชาชนนิยมเดินทางเข้าไปกันมากสุดตรงใจกลางเมือง ได้แก่ วัดป่าสุทธาวาส อันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์บริขารอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระผู้ยึดมั่นอยู่ในปฏิมาธุดงด์กรรมฐาน เป็นวัตร
   
อีกแห่งที่ควรกล่าวถึง ก็คือ วัดป่าอุดมสมพร ที่ อ.พรรณานิคม ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น  อาจาโร พระนักปฏิบัติด้านสมาธิกรรมฐานอีกรูปหนึ่ง ที่ถือเป็นทายาทธรรมโดยแท้ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

   

มาดูธรรมชาติอันชวนสนุกของเมืองนี้ ซึ่งน่าจะอยู่ที่หนองหาร หรือ ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่กลางใจเมือง ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะน้อย กระจายกันอยู่ทั่วพื้นที่กว่า 123 ตารางกิโลเมตร เหมาะสำหรับการล่องเรือออกไปชื่นชมกับท้องน้ำที่สงบนิ่ง และรายรอบด้วยภาพของแนวเทือกเขาภูพานตระหง่านรับอยู่ด้านทิศตะวันตก
   
เทือกเขาที่ว่านี้ นอกจากจะเป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์แล้ว แปลงป่าผืนใหญ่บนนั้นยังได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เพื่อปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าบนนั้นเอาไว้

   

ความน่าสนุกของการเลือกท่องเที่ยวยังถิ่นนี้อีกรูปแบบหนึ่ง และกำลังเป็นสิ่งแปลกใหม่ให้ทดลองเที่ยวกัน นั่นก็คือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ตรงบ้านนาดอกไม้ ต.ฮางโฮง อ.เมืองสกลนคร อยู่ห่างตัวเมืองออกไปทางด้านหลังสนามบินประมาณ 8 กิโลเมตร
   
ที่นี่เป็นสวนเพาะพันธุ์อินทผลัมบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ ของคุณจเร ชีวะธรรม อดีตนายช่างระดับ 10 แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่เมื่อเกษียณอายุจากราชการออกมาแล้ว  ก็ไปนำเอาพันธุ์ต้นกล้าอินทผลัมจากสวนโกหลัก แห่ง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ มาทดลองปลูกจำนวน 52 ต้น เมื่อปี 2551 และปัจจุบันสามารถได้ผลแล้ว 26 ต้น

   

อินทผลัมดังกล่าวเป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศอิสราเอล ผลของมันมีความกรอบและหวานโดยธรรมชาติ แต่ไม่ส่งผลกับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพราะคุณสมบัติอินทผลัมพันธุ์นี้เป็นพืชน้ำตาลเชิงเดี่ยว ที่ไม่มีผลกับน้ำตาลในเส้นเลือดของผู้ป่วยเบาหวานแต่อย่างใด
   
มาถึงยัง จ.มุกดาหาร จังหวัดที่อาจจะไม่น่าสนุกด้านธรรมะ เหมือน 2 จังหวัดที่ผ่านมา แต่เมืองนี้ก็มีเสน่ห์ในด้านวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อย่างเช่น หมู่บ้านพัฒนาบ้านภู อ.หนองสูง ซึ่งเพิ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านระดับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยอดเยี่ยมจาก ททท. เมื่อปีที่ผ่านมา ตรงที่เป็นชุมชนเข้มแข็ง และมีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

   

และใน อ.หนองสูง อีกเช่นกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าพื้นเมืองอันลือชื่อมานาน นั่นก็คือ ผ้าฝ้ายหมักโคลน ที่ยังคงรูปแบบการย้อมสีโดยใช้เปลือกไม้ธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีในการหมักโคลนเพื่อให้เนื้อฝ้ายที่ถูกหมักลงไปนั้นมีความคงทนใช้งานได้นาน
   

เหนือสิ่งอื่นใดในมุกดาหาร ต้องยกความสนุกให้กับการได้เดินทางข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ซึ่งเชื่อมต่อไปยังสะหวันนะเขต เมืองทางภาคกลางที่เชื่อมต่อไปยังภาคใต้ของ สปป.ลาว ที่ผู้คนโดยส่วนใหญ่ยังคงดำเนินชีวิตอย่างปกติ เหมือนเช่นชนชาติลาวในอดีตที่ผ่าน ๆ มา
   
อย่างไรก็ตามแม้มุกดาหารจะมีสะพานสายสำคัญ เชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านด้านอินโดจีนอยู่ก่อนแล้ว แต่การสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ขึ้นมาในรัศมีที่ห่างกันประมาณ 104 กิโลเมตรนั้น ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นการแข่งขันกันในเชิงการค้า หรือการท่องเที่ยว
   
ในทางกลับกันสะพานทั้งสองน่าจะสร้างความสนุก ทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายถึงการเอื้อซึ่งกันและกันในการเดินทางแบบวงรอบ โดยหากเริ่มต้นจากมุกดาหาร ข้ามฝั่งต่อไปยังสะหวันนะเขต จากนั้น มุ่งขึ้นเหนือไปตามทางหลวงหมายเลข 13 ฝั่งลาว สู่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ก็สามารถที่จะเดินทางกลับไทยได้ด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 ด้าน จ.นครพนม

 

ทำนองเดียวกันหากจะข้ามฝั่งจากนครพนม สู่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ก็สามารถเดินทางต่อไปยังแขวงสะหวันนะเขต แล้วเดินทางกลับ จ.มุกดาหาร เพื่อสนุกเป็นด่านสุดท้ายกับการชอปปิงสินค้าหลากหลายที่ตลาดอินโดจีน ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งโขง ตรงกันข้ามกับตัวเมืองสะหวันนะเขต
   
หมดทุกข์หมดโศก หมดโรคหมดภัย ถ้าไม่รู้จะไปไหน ก็ให้เลือกจังหวัดสนุกนี่แหละ เป็นเมืองท่องเที่ยวหลังวิกฤติอุทกภัยในบ้านเมือง.

รู้ไว้ก่อนไปเที่ยว

จ.มุกดาหาร อยู่ห่างกรุงเทพฯ 642 กิโลเมตร
   
จ.สกลนคร อยู่ห่างกรุงเทพฯ 647 กิโลเมตร
   
จ.นครพนม อยู่ห่างกรุงเทพฯ 740 กิโลเมตร (ไกลที่สุดในภูมิภาคอีสาน)
   
การเดินทางเชื่อมสู่กันในกลุ่มจังหวัดสนุก
   
นครพนม-สกลนคร เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 22 ประมาณ 93 กิโลเมตร
   
นครพนม-มุกดาหาร เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 212 ประมาณ 104 กิโลเมตร
   
สกลนคร-มุกดาหาร เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 223 ประมาณ 72 กิโลเมตร ถึง อ.ธาตุพนม จากนั้นให้เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 212 อีกประมาณ 44 กิโลเมตร
   
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม โทร. 0-4251-3491


“มาถึงยัง จ.มุกดาหาร จังหวัดที่อาจจะไม่น่าสนุกด้านธรรมะ เหมือน 2 จังหวัดที่ผ่านมา แต่เมืองนี้ก็มีเสน่ห์ในด้านวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อย่างเช่น หมู่บ้านพัฒนาบ้านภู อ.หนองสูง ซึ่งเพิ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านระดับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยอดเยี่ยมจาก ททท. เมื่อปีที่ผ่านมา”

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=173972
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/
25579  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เที่ยวคลายทุกข์ 'กลุ่มจังหวัดสนุก'นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 05:40:46 pm


เที่ยวคลายทุกข์ 'กลุ่มจังหวัดสนุก'นครพนม สกลนคร มุกดาหาร

เดือดร้อนกันไปถ้วนทั่วกับภัยธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนแทบจะประมาณการไม่ได้ ว่าจะสงบจบสิ้นลงวันใด เสียงระงมร่ำไห้กับความสูญเสียอย่างน่าเวทนา ดูจะสะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บปวดรวดร้าวของผู้คน ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนบนแผ่นดินไทยผืนนี้
   
ธรรมชาติมิได้เป็นผู้บงการให้สายน้ำบ้าคลั่ง แต่คนที่เข้าไปคุกคามทรัพยากรธรรมชาติ หรือแปลงป่าผืนใหญ่นั่นแหละ คือผู้ที่ควรได้รับการสาปแช่งว่าเป็นฆาตกรใจบาปผู้ทำลายชาติบ้านเมืองอย่างป่นปี้ไม่มีชิ้นดี!
   
วันนี้...ข่าวสารที่แพร่สะพัดผ่านสื่อ ซึ่งดูถี่ยิบแทบจะทุกนาทีต่อนาที มันช่างเหมือนหอกแหลมทิ่มแทงหัวใจใครต่อใครให้ตกอยู่ในอาการหดหู่ ห่อเหี่ยว และแทบจะสิ้นหวังกับการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้าของปัจเจกบุคคลที่มาจากคราบนักการเมือง หรือผู้กำชัยชนะบนเวทีการเมืองแล้วก้าวผงาดขึ้นมารับผิดชอบประเทศ
   
อย่างไรก็ตามเมื่อทุกคนยังมีลมหายใจเพื่อจะยืนหยัดอยู่กับวิกฤติที่อุบัติขึ้น หนทางเดียวที่จะนำพาชีวิตไปสู่หนทางของความอยู่รอดได้ ก็คือการก้มหน้ารับและเผชิญกับมันอย่างทระนงองอาจ โดยมั่นคงในสมาธิแล้วก็ปล่อยจิตให้ว่างสร่างสิ้นซึ่งความทุกข์โศก พร้อมกับเบิกตามองโลกด้วยความสดใส
   
และหนึ่งในนั้น ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐเลิศไปกว่าการได้เดินทางจากที่หนึ่งออกไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสมือนให้ลมหายใจเฮือกใหม่กับตนเอง

   

วันนี้อีกเช่นกัน ที่เมืองไทยกำลังจะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ พาดผ่านลำน้ำเชื่อมสู่กันระหว่างแผ่นดินอีสานด้านจังหวัดนครพนม กับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สะพานมิตรภาพไทย-ลาว  แห่งที่ 3”
   
กำหนดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการกันในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 หรือสอดรับกันกับวัน เดือน ปี ตรงที่ 11 เดือน 11 ค.ศ. 2011  ซึ่งพิธีเปิดดังกล่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์
   
สะพานที่ว่านี้มีความยาว 1.4 กิโลเมตร กับมีพื้นผิวจราจรขนาด 4 ช่องทาง และจะเป็นสะพานอีกแห่งหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทยกับกลุ่มประเทศอินโดจีน ไปถึงแผ่นดินจีนตอนใต้
   
ในแง่ของการท่องเที่ยว สะพานแห่งนี้นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยหนุนนำด้านท่องเที่ยว ใน กลุ่มจังหวัดสนุก ซึ่งประกอบด้วยนครพนม สกลนคร และมุกดาหาร ด้วยพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด ต่างมีความสนุกสุขหรรษาทางการท่องเที่ยวที่สอดรับกันหลายแห่ง  ขณะที่บางแห่งก็แตกต่างกันในหลาย ๆ รูปแบบ
   
เริ่มกันจาก จ.นครพนม ที่น่าสนุกกับการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิ่มเอม “ธรรมะ” ด้วยที่นี่น่าจะเป็นจังหวัดเดียวในประเทศ ที่อำเภอทั้ง 8 แห่ง ต่างมีพระธาตุประจำอำเภอประดิษฐานอยู่ อาทิ พระธาตุนคร แห่งวัดมหาธาตุ ประจำอำเภอเมือง, พระธาตุพนม ประจำอำเภอธาตุพนม, พระธาตุเรณู ประจำอำเภอเรณูนคร, พระธาตุท่าอุเทน ประจำอำเภอท่าอุเทน เป็นต้น

   

ส่วนในแง่ของวัฒนธรรมที่ชวนให้น่าสนุกกว่าถิ่นใด ๆ ก็ตรงได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทยแห่ง อ.เรณูนคร โดยเฉพาะสาวชาวผู้ไทยซึ่งถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีความสวยงามตามแบบอย่างของสาวชาวลุ่มน้ำโขง ตรงที่ผิวพรรณเนียนนุ่ม ใบหน้า ดูเรียวละไม ที่สำคัญคือยังคงรักษาเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมไว้ได้อย่างดีเยี่ยม ตั้งแต่การฟ้อนผู้ไทยในงานประเพณี การสืบทอดวัฒนธรรม “ขี่ช้างคู่” หรือการดูดอุเพื่อให้การต้อนรับอาคันตุกะผู้ไปเยือน

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=173972
25580  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เบิ่งนครพนม เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 11:32:28 am




บั๊ดสะหลบ หรือ บัดสลบ หรือ บาสะโล๊ฟ คือการเต้นรำหมู่ของประเทศลาว วิธีเต้นเต้นเป็นแถวหลายๆคนทั้งชายทั้งหญิง ส่วนมากจะเต้นกันในงานมงคล หรืองานรื่นเริง


ขอบคุณข้อมูลจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=25db5a25850676cd




เพลง "ความฮู้สึกบอก" เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง 2 (ไม่มีคำตอบจากปากเซ)
เพลงนี้เ็ป็นเพลงลาวที่หลายคนชอบ มีภาพการเต้นบั๊ดสะหลบให้ชมด้วยครับ

25581  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ๑๑/๑๑/๑๑ เวลา ๑๑.๑๑ น. พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๓ นครพนม-คำม่วน เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 11:26:56 am

๑๑/๑๑/๑๑ เวลา ๑๑.๑๑ น. พิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ ๓ นครพนม-คำม่วน


   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดสะพานอย่า​งเป็นทางการร่วมกับประธานประเทศ​สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว​ ในวันที่ 11 เดือน 11 ปีค.ศ. 2011 (11-11-11) เวลา 11.11 น.    

อีกหนึ่งสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ที่จะทำให้ผู้คนในแถบอินโดจีน ได้ถ่ายทอดกัน ทั้งทางวัฒนธรรม และการค้า ที่จะเกิดขึ้น ณ บ้านห้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๓


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำิเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ ๓ (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ น.
ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม





ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.nakhonphanom.co/news/104.html
http://board.palungjit.com/f76/๑๑-๑๑-๑๑-ฉลองสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่-๓-นครพนม-คำม่วน-312630.html
25582  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมะจากกฐิน เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2011, 10:46:37 am


ธรรมะจากกฐิน
อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ
ธรรมจักษุ ฉบับ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวด ชีวิตกับธรรมะ กระทู้ 17921 โดยคุณ :mayrin  : 16 ธ.ค. 48

เรื่องกฐินนั้นอันที่จริง เป็นเรื่องทางพระวินัย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ แต่เรามีวิธีพิจารณาเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องทางธรรมะ

หมายความว่า การที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตว่า เมื่อภิกษุจำพรรษาครบสามเดือนแล้ว เหลือเวลาอีก ๑ เดือนในท้ายฤดูฝนนั้น ให้เป็นฤดูกฐิน


แล้วก็ได้มีข้อบัญญัติไว้ว่า ผ้ากฐินนั้นต้องเป็นผ้าที่ชาวบ้านเขาคิดเอามาถวายเอง ไม่ใช่เป็นผ้าที่พระไปพูดจาให้เขานำมาถวาย ตลอดจนเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าต้องการจะดูความพร้อมเพียงของพระ

และอีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือต้องการจะดูว่า ทำอย่างไรพระจึงจะสามารถช่วยตัวเองได้ นั้นก็คือว่า

ในครั้งโบราณ การถวายผ้ากฐิน ชาวบ้านไม่ได้เข้ามาช่วยในการเย็บในการตัด ทำเป็นจีวรเหมือนสมัยนี้ พระต้องทำเอง แม้พระพุทธเจ้าเองเมื่อสมัยยังทรงพระชนม์อยู่ ก็ได้ทรงเป็นประธานในการที่พระจะประชุมกันช่วยกันตัดผ้า แล้วเย็บให้เป็นจีวร

เหตุที่กฐินจะกลายมาเป็นเรื่องทางธรรมะ ก็แล้วแต่ข้อพิจารณาหาประโยชน์ของเรา โปรดทราบไว้ก่อนว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าแม้จะมีมากมายสักเท่าไร ก็แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ เป็นพระธรรมอย่างหนึ่ง พระวินัยอย่างหนึ่ง


พระวินัยนั้นได้แก่ข้อบัญญัติที่ได้ทรงตั้งขึ้นไว้เป็นหลักในการปกครองคณะสงฆ์ ห้ามไม่ให้ทำบางสิ่งบางอย่างหรืออนุญาตให้ทำบางสิ่งบางอย่าง

โดยเฉพาะเรื่องกฐินนี้ก็มีกฎเกณฑ์มากหลายและกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นต้องทำให้ถูกต้อง ถ้าเราจะนำเรื่องกฐินมาพิจารณาในทางธรรมะ เราจะได้คติอย่างสูง

กล่าวคือ ในทางพระวินัยที่พระพุทธเจ้าสอนให้พระรู้จักช่วยตัวเอง ในการทำจีวรให้ได้ และต้องทำให้เสร็จในวันนั้น เป็นการหัดความสามารถของส่วนรวมว่า

ในปีหนึ่งๆ ก็มีระยะเวลาเพียงเดือนเดียวที่จะพรักพร้อมช่วยกันทำงาน และถ้าผู้ใดได้ละเลยไม่ช่วยกันโดยเพิกเฉยเสีย เพราะเหตุที่ถือตัวว่าอย่างนั้นอย่างนี้ก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติ นี่จึงเรียกว่าเป็นวินัย คือบังคับให้ต้องรู้หน้าที่ของตน


ได้กล่าวมาแล้วว่ามีข้อบังคับสำหรับเรื่องกฐินให้พระต้องใช้ผ้าเอามาตัด แล้วเย็บย้อมให้เสร็จเป็นจีวร คำว่าจีวรก็คือผ้านุ่งผ้าห่มจะเป็นสังฆาฎิคือ ผ้าซ้อนอุตราสงค์ผ้าห่มหรืออันตรวาสก ผ้านุ่งก็เป็นจีวรทั้งสิ้น

เรื่องนี้จะเป็นธรรมะได้อย่างไร เพราะเราเห็นกันแต่ในด้านพระวินัย ในการที่เรื่องกฐินจะเป็นธรรมะขึ้นมานั้น เราก็เพ่งเล็งไปในตอนสาระสำคัญที่ว่า เนื้อหาของคำว่ากฐินนั้นอยู่ที่ตรงไหน

คำว่า กฐินนั้นแปลว่าแบบสำเร็จ คือเป็นชื่อของไม้สะดึง เป็นแบบไม้ที่ทำเอาไว้ เอาผ้าทาบลงไป ตัดตามแบบสำเร็จนั้น เมื่อได้ทราบคำแปลเรื่องของกฐิน จึงควรทราบสาระสำคัญๆ ต่อไป

ผมเคยกล่าวอยู่เสมอว่าสาระสำคัญของกฐินอยู่ที่ผ้าผืนเดียวคือผ้าขาว ผ้าขาวนั้น เมื่อเขาถวายพระแล้ว พระจะต้องตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น


สาระสำคัญในฝ่ายผู้ถวายนั้นอยู่ที่ผ้าขาวผืนเดียว และสาระสำคัญในฝ่ายพระก็คือเป็นการหัดพระให้ทำอะไรได้รวดเร็ว และเป็นที่พึ่งของตัวเองได้ในทางวัตถุ

ในปัจจุบันนี้พระตัดจีวรไม่ค่อยเป็น เย็บเองก็ไม่ต้องเย็บ เพราะฉะนั้นถ้าไปอยู่ในที่กันดารหน่อยไม่มีใครทำให้ก็คงลำบากยิ่งขึ้น

ตามพระวินัยบังคับให้พระต้องมีด้ายมีเข็มติดตั้งไว้ เพื่อจะได้ช่วยตัวเองได้ เมื่อสาระสำคัญในฝ่ายพระคือการช่วยตัวเองในการทำจีวรให้สำเร็จในวันเดียวเช่นนี้ เรื่องกฐินก็ไม่ใช่เป็นเรื่องมีประโยชน์เฉพาะพระ

เพราะเราอาจจะคิดมาเป็นทางธรรมะว่า ยังมีอะไรอีกบ้าง หรือไม่ที่เราจะต้องช่วยตัวเอง ไม่ว่าเราคนนั้นจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย จะเป็นนักบวชหรือไม่ใช่นักบวช เพราะว่าถ้าช่วยตัวเองไม่ได้ ก็คงจะต้องมีความลำบากเดือดร้อนด้วยกันทั้งสิ้น


ในการปฏิบัติเรื่องช่วยตัวเองนี้ ส่วนใหญ่เรามักจะหาวิธีลัดว่าทำอย่างไรเราจึงไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ให้ได้ผลมากๆ ความจริง พระพุทธเจ้าทรงทราบดีว่ามนุษย์ทั้งหลายขอบทางลัด คือว่าไม่ต้องลงทุนลงแรงมาก ทำง่ายๆ ลงแรงน้อยๆ แต่ให้ได้ผลมากๆ



พระองค์ก็เคยตรัสกับพระองค์หนึ่งบอกว่า เธอไม่ต้องยุ่งอะไรมาก ถ้าจะต้องการวิธีที่ง่ายละก็คุมจิตของเธออย่างเดียวเท่านั้น อย่างอื่นเป็นอันคุมได้หมด

ผมอยากจะย้ำว่า ถ้าจะตีความเรื่องกฐินนี้ให้มาเป็นธรรมะให้ได้แล้ว เราจะต้องตีความว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยตัวเองได้เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น

เราต้องทำให้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น และด้วยความสามารถของเรา คราวนี้เมื่อมาตีความในทางปฏิบัติ เราก็จะต้องพิจารณาดูว่าเราอาศัยตัวเองไม่ได้เลยในข้อไหนบ้าง แปลว่าเราช่วยตัวเองไม่ได้จริงๆ ในข้อไหนบ้าง


ซึ่งเพื่อลัดเวลาผมว่าควรไปในทางจิตใจตามที่พระพุทธเจ้าทรงแนะไว้ คือถ้ายุ่งนักไม่รู้จะจับตรงไหน ก็ให้คุมที่จิตใจอย่างเดียว

  เราลองพิจารณาดูว่า จิตใจของเรานี่ เป็นที่พึ่งของเราเองได้ไหม โดยวิธีคุมการปฎิบัติที่จิตใจของเราเองนั้น เราสามารถจะเป็นที่พึ่งของตัวเราเองได้แล้วหรือยัง

ทำอย่างไรเราจึงจะหัดทอดกฐินในจิตใจของเราเองบ้าง ท่านทั้งหลายอาจจะยังไม่เคยมีใครคิด มีแต่คิดว่าจะไปทอดที่วัดโน้นวัดนี้

ถ้าเราคิดให้เป็นธรรมะแล้ว หัดทอดกฐินในจิตใจของเรา ก็คือนำปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่งให้แก่จิตใจแล้วขบปัญหานั้นให้แตก ให้ได้ผลออกมาสำเร็จรูปเหมือนอย่างผ้าจีวรที่ทำให้เสร็จในวันนั้น


เป็นต้นว่า การปฏิบัติเพื่อให้จิตใจของเราปลอดโปร่งจากความกลัดกลุ้ม มันเท่ากับเป็นการถางป่าในจิตใจของเราเอง ความกลัดกลุ้มที่เกิดขึ้นนั้น จะต้องจัดการให้สำเร็จ คือถ้าพกเอาแต่ความกลัดกลุ้มไว้ ก็เป็นกฐินตกค้าง

หมายความว่ามีผ้ามาแล้ว มีวัตถุดิบเกิดขึ้นแล้ว เราไม่สามารถจะทำให้สำเร็จได้ เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันก็ค้างวันค้างคืน เลยเป็นเครื่องทรมานจิตใจของเราไป

แต่ความกลัดกลุ้มหรือความยุ่งยากใจต่างๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เรามาจัดทำให้เสร็จในวันนั้น หรือถ้าจะให้เร็วยิ่งกว่าวันนั้นได้ยิ่งดี จัดการสะสางให้หมด โดยมากเราไม่ชอบทำให้มันสะอาดให้มันปลอดโปร่ง เราพยายามที่จะไปสร้างความยุ่งยากให้มากขึ้น

เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องกฐินตกค้าง คือปัญหาเรื่องขิตใจเราหมักหมมหรือเต็มไปด้วยหญ้ารก คือความกลัดกลุ้มจึงเกิดขึ้น ถ้าเราพยายามช่วยตัวเองได้ด้วยการแก้ปัญหา


ทีแรกเราอย่าเพิ่งไปแก้ปัญหาใหญ่ ๆ หัดแก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่นเรื่องความโกรธนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มปัญหาให้มากขึ้นจนถึงปัญหายุ่งยากต่างๆ อันเป็นปัญหาที่คนธรรมดาไม่สามารถจะแก้ได้

แล้วเราพยายามจะขบปัญหาชนิดนั้นเป็นวิธีสะสางให้สงบระงับไปได้ ไม่ทำให้จิตใจของเราพลอยต้องยุ่งยาก ไม่ทำให้จิตใจของเราต้องขุ่นมัวไปตามอารมณ์นั้นๆ

นี่ก็เป็นวิธีใช้ความสามารถของตัวเราเอง ช่วยตัวเราเองให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาอันสั้น เราจะไม่แบกเอาภาระความกลัดกลุ้มต่างๆ มาไว้เกินหนึ่งวัน

เรื่องกฐินนั้น ถ้าทำผ้านั้นยังไม่สำเร็จล่วงราตรีไปก็เลิกกัน ใช้ไม่ได้แล้ว เช่นมัวแต่เย็บอย่างโอ้เอ้ๆ กันอยู่ สว่างเสียก่อนก็ใช้ไม่ได้แล้ว


เรื่องของเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราแบกเอาเรื่องที่ไม่น่าจะแบกมาไว้ เป็นต้นว่าเอาความเจ็บใจมาไว้ในใจของเราเกินคืนหนึ่ง ก็นับว่าใช้ไม่ได้ตามแง่ของกฐิน

เพราะฉะนั้นขอให้พยายามสะสางเรื่องที่จะชวนให้กลุ้มใจต่างๆ นั้นให้หมดไปในวันหนึ่งๆ ถ้าทำได้อย่างนี้แปลว่า เรามีเวลาพัก เรามีเวลาสะสาง เรามีเวลาที่จะทำความสะอาดจิตใจของเราทุกๆ วัน

โดยยึดเอาตัวอย่างการทอดกฐินซึ่งเป็นวินัยนั้น มาตีความเป็นธรรมะสอนใจเราแล้วพยายามทำจิตใจของเราให้สะอาดอยู่ทุกวัน เมื่อครบวันกันครั้งหนึ่งก็ให้เรื่องนั้นหมดไป อย่าได้ผูกเอาความไม่สบายใจไว้ข้างใน

โดยวิธีนี้เราได้ข่าวกฐินที่ไหน หรือเราจะไปทอดกฐินที่ไนห เราจะไม่ไปแบบตามเขา เพียงเห็นเขาไปเราก็ไปแต่อย่างเดียว เราจะได้กฐินอีกชั้นหนึ่ง คือเอามาสอนใจตัวเราเอง


เป็นเรื่องที่ให้เราได้สะสางตัวเราเอง คือวางแบบสำเร็จเอาไว้ เมื่อเรารู้ว่ากฐินนั้นเป็นชื่อของไม้สะดึง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งเป็นแบบสำเร็จของไม้สำหรับเอาผ้าวางลงไปแล้วก็ตัดทำจีวร



  เราจึงวางแบบสำเร็จไว้ในจิตใจของเราบ้าง เป็นต้นว่าในเรื่องการแก้ปัญหาความทุกข์ระทม ความเศร้าหมอง เมื่อเราวางแบบสำเร็จว่า ความกลัดกลุ้มต่างๆ จะต้องให้เข้าไปในช่องนั้น

ด้วยการคิดว่านี่มันไม่จริงจังอะไร มันเป็นเรื่องที่เราปล่อยใจของเราให้ต่ำไปเอง เรามีแบบสำเร็จไว้ทุกอย่างสำหรับต้อนรับอารมณ์ ต้อนรับคำสรรเสริญ ต้อนรับการนินทา ต้อนรับการกระทบกระเทียบเปรียบเปรย ต้อนรับความไม่พอใจทุกชนิด

มีแบบสำเร็จเตรียมไว้ในใจเสมอ พร้อมที่จะต้อนรับอารมณ์ชนิดนั้น พอเอามาเข้าแบบสำเร็จแล้ว เรามีวิธีแจกจ่ายไปตามช่องต่างๆ เป็นต้นว่า ให้รู้จักวางบ้าง ให้รู้จักอดทนบ้าง ให้รู้เท่าทันบ้าง ให้รู้จักพิจารณาแก่นสารอะไรบ้าง


โดยวิธีนี้ เราจึงมีโอกาสที่จะจัดการให้เรื่องยุ่งยากต่างๆ ในชีวิตของเรา ไม่กลายเป็นโรคเรื้อรัง ไม่ข้ามคืน พอสิ้นวันไปแล้วจิตใจของเราสะอาดครั้งหนึ่ง

ขึ้นวันใหม่ถ้ามีอะไรมา เราก็จัดการเข้าแบบสำเร็จหรือหลอมเสียเลย โดยตั้งเบ้าหลอมเสียให้หมดให้เป็นรูปความสงบระงับ เรื่องที่ร้ายเท่าร้ายพอมาถึงเราหลอมให้สงบระงับไปได้

นั่นจะเป็นทางให้เราได้ประโยชน์ ในการคิดธรรมะ กล่าวคือ เราไปพบเรื่องอะไร เราจะทำบุญกุศลเรื่องอะไร เราไม่ใช่ทำแต่เพียงให้มันครึกครื้นสนุกสนาน

ถ้ามุ่งเพียงครึกครื้นสนุกสนานแล้ว เราก็จะห่างจากสาระสำคัญของพระพุทธศาสนาออกไป เป็นต้นว่า ถ้าในการทอดกฐินนั้น เราประกาศใหญ่โตว่า เราจะต้องมีเครื่องบินเท่านั้นเครื่อง เราจะต้องมีดนตรีเท่านั้นวง เราจะต้องเตรียมลิเกละครอะไรไปเท่านั้น กะคนไปสักกี่พัน


แท้จริงเรื่องของกฐินมีนิดเดียว แต่เป็นเรื่องกินเหล้ากันบ้าง เป็นเรื่องสนุกสนานเฮฮาบ้าง ท่วมเรื่องของกฐิน เลยในที่สุดเราก็หาสาระของกฐินไม่พบ

แต่ถ้าเราได้พยายามศึกษาพระพุทธศาสนาในรูปหาประโยชน์จากเรื่องนั้นๆ ได้เต็มที่แล้ว แม้เรื่องกฐินนี้เอง ก็กลายเป็นเรื่องทำความสบายใจให้แก่เราทุกวัน เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระต้องทำผ้าให้เสร็จในวันนั้น

เราก็มาตั้งข้อกติกาสำหรับตัวเราเอง ว่าถ้ามีเรื่องยุ่งอะไรต้องแก้ให้เสร็จในวันนั้น อย่าให้กลุ้มข้ามคืน ถ้าทำอย่างนั้นได้ ผมว่าเราจะได้ประโยชน์จากเรื่องกฐินนี้

ไม่ใช่ เฉพาะในฤดูกาลหลังพรรษาหนึ่งเดือน แต่ว่าเราจะได้ประโยชน์ตลอดปี ผมจึงใคร่ที่จะขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ตลอดปี จึงได้เสนอมาเป็นแนวพิจารณา


------------------------

คัดลอกจาก: ธรรมจักษุ
พฤศจิกายน ๒๕๔๘

ที่มา http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-preach-sucheep-index-page.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://www.dhammaforever.com/,http://www.watpa.com/
25583  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ใช้ ธรรม คือ ความอดทน เป็นเครื่องดำรงชีวิต คร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 06:46:02 pm

หมวยนีย์ครับ บ้านผมก็อยู่อยุธยา อยู่ติดแม่น้ำน้อย น้ำก็ท่วมทุกปี แต่เค้าไม่เรียกว่า "น้ำท่วม"
 ชาวบ้านที่มีชีวิตอยู่กับน้ำ เีรียกว่า ฤดูน้ำหลาก เมื่อมีน้ำหลากมา เป็นสัญญานว่า ได้เวลาสนุกแล้ว
 ในวัยเด็ก ผมสนุกกับน้ำมาก เมื่อน้ำมามากจะรู้ทันทีว่า ใกล้ลอยกระทงแล้ว

 ช่วงเวลานั้น ไม่รู้สึกว่ามีความทุกข์ มีแต่ความสนุก บ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำทั้งหมดจะสูงมาก(ใต้ถุนสูง)
 จึงไม่มีใครกังวลว่า จะไม่มีที่อยู่ บางบ้านก็เป็นเรือนแพ

 ตอนน้ำหลากเวลาอาบน้ำสนุกมากครับ ผมกระโจนพุ่งหลาวจากชั้นสอง เล่นน้ำอย่างสบายใจ
 ผมว่ายน้ำเป็น ก็เพราะฤดูน้ำหลากนี่แหละ พี่ชายจับผมโยนลงน้ำ ตามคำสั่งพ่อ ผมร้องไห้ แต่ก็ไม่จม
 กระเสือกกระสนจนว่ายน้ำเป็น ดูเหมือนว่าพี่ชายผมทั้งสองคนก็เคยถูกพ่อจับโยนน้ำมาแล้ว
 เรื่องนี้ห้ามทำตามนะครับ ขอสงวนเอาไว้เฉพาะครอบครัวผมเท่านั้น

 เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆนั้น สมัยนั้นไม่มีส้วมหรอกครับ เวลาจะถ่ายหนักเบาก็ถ่ายลงน้ำไป สะดวกมากๆ
 จริงๆแล้วแม้ฤดูแล้ง ก็ยังไม่มีส้วมอยู่ดี คนจะเข้าป่าไปถ่ายกัน

 
เรื่องน้ำดื่ม สมัยนั้นจะใช้สารส้มกวนในน้ำ น้ำที่ได้จากการกวนสารส้มจะใช้ดื่มและหุงข้าว
 ส่วนอาหารการกิน คนอยุธยาเป็นชาวนาอยู่แล้ว ในน้ำก็มีปลา ก็ตกปลาจากบนบ้านนั่นแหละครับ
 เรื่องไฟฟ้าก็จากตะเกียงไง ไม่เห็นต้องง้อ การไฟฟ้าการประปาให้ยุ่งยาก

 ส่วนสิ่งบันเทิง นอกจากเทศกาลลอยกระทง ก็จะมีหนังกลางแปลง เชื่อไหม ตั้งจอกันในน้ำเลย
 คนดูก็พายเรือไปดู เหมือนปัจจุบันที่ขับรถไปจอดหน้าจอหนังนั่นแหละ


การคุยของผมคงเป็นเพื่อนคลายทุกข์ได้บ้างนะครับ
 หมวยนีย์ครับ พี่สาวผมอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี(สนง.ใหญ่) ที่นั่นเป็นศูนย์อพยพ
 พี่ผมเป็นข้าราชการกระทรวงนี้ ดูแลผู้อพยพอยู่ หมวยนีย์ขาดเหลืออะไร ก็แจ้งมาได้ไม่ต้องเกรงใจ
 คนอยุธยาด้วยกัน อย่าได้เกรงใจ อยากช่วยจริงๆ เคยได้ยินสำนวนคำนี้ไหมครับ


    "กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี"

 :welcome: :49: :25: ;)


25584  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 04:16:45 pm



ภูเขาสิเนรุ  เป็นศูนย์กลางของ มงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะอุบัติขึ้นเฉพาะ ในมงคลจักรวาลนี้เท่านั้น เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา ยอดเขาสิเนรุ เป็น ผืนแผ่นดินแห่งแรก ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ ถูกทำลายลงด้วยน้ำ ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก คือ ถึง ชั้น สุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓) แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ
 
  ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น

  ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จมอยู่ใน มหาสมุทรสีทันดร ครึ่งหนึ่ง วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน
    ด้านตะวันออกเป็น เงิน
    ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก
    ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
    ด้านเหนือเป็น ทอง

    น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง ตาม สีของไหล่เขานั้นด้วย 

  กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ
    ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก
    ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้
    ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก
    และ ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ประจำอยู่ทิศเหนือ

    มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแลเทวดาในชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย 
         
  ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
     ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพญานาค
     ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
     ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
     ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
     ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์

           
  รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ เรียกว่า สัตตบรรพ์ 
     รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
     รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสธร 
     รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิกะ 
     รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ 
     รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร 
     รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินตกะ
     รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกัณณะ
 

ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06B_02.htm
25585  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 04:04:54 pm

ครุฑในทางพุทธศาสนา

ครุฑในทางพุทธศาสนาจัดเป็นเทวดาชั้นล่างประเภทหนึ่งภายใต้การปกครองของท้าววิรุฬหก ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศใต้ เหตุที่มาเกิดเป็นครุฑเพราะทำบุญเจือด้วยโมหะ

ครุฑมีกำเนิดทั้ง 4 แบบ คือ โอปปาติกะ (เกิดแบบผุดขึ้น) ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์) อัณฑชะ (เกิดในไข่) และสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล) มีที่อยู่ตั้งแต่พื้นมนุษย์ ป่าหิมพานต์ ป่าไม้งิ้วรอบเขาพระสุเมรุ จนถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

ครุฑชั้นสูงจะมีกำเนิดแบบโอปปาติกะ มีขนสีทอง มีเครื่องประดับแบบเทพบุตรเทพธิดา มีชีวิตอยู่เหมือนเทวดา แปลงกายได้ และบริโภคอาหารทิพย์เช่นเดียวกันเทวดา แต่ครุฑบางประเภทก็กินผลไม้หรือเนื้อสัตว์ บางประเภทถ้าผูกเวรกับนาค ก็จะกินนาคเป็นอาหาร หรือถ้าผูกเวรกับสัตว์นรกในยมโลก ก็จะสมัครใจไปเป็นนายนิรยบาลลงทัณฑ์สัตว์นรก




การใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์

ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑ จึงได้มีการสร้างรูป ครุฑพ่าห์ (หรือ พระครุฑพ่าห์) หมายถึง ครุฑซึ่งเป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์

ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น

ซึ่งจากการที่เราใช้ตราครุฑเป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย

เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น

สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ 3 ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

นอกเหนือจากการที่ตราครุฑปรากฏในส่วนราชการต่างๆแล้ว ในภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า โดยได้รับพระบรมราชานุญาต

ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้ แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน

ปัจจุบันการขอพระราชทานตราตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯตาย หรือเลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ

ประเทศอินโดนีเซียเป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ใช้ครุฑ (Garuda) เป็นตราประจำแผ่นดิน โดยครุฑของอินโดนีเซียนั้นเป็นนกอินทรีทั้งตัว สายการบินประจำชาติอินโดนีเซียก็ใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์ คือสายการบิน Garuda Airlines


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91
25586  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถามเรื่อง พญาครุฑ ในพระพุทธศาสนา เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 03:56:38 pm
 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยกำเนิดครุฑ ๔ จำพวก

            [๕๓๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ

    ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑
    ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑
    ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑
    ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้แล.

     จบ สูตรที่ ๑.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๒๘๒ - ๖๒๘๗. หน้าที่ ๒๗๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6282&Z=6287&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=530


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ว่าด้วยความยิ่งหย่อนของกำเนิดครุฑ ๔ จำพวก

             [๕๓๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ
     ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑
     ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑
     ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๑.
     ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑.


ในครุฑทั้ง ๔ จำพวกนั้น
ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้.
ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะไปได้ นำนาคที่เป็นสังเสทชะ อุปปาติกะไปไม่ได้. ครุฑที่เป็นสังเสทชะย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะไปได้  นำนาคที่เป็นอุปปาติกะไปไม่ได้ ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ  ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และอุปปาติกะไปได้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑมี ๔ จำพวกนี้แล.

    จบ สูตรที่ ๒.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๒๘๙ - ๖๒๙๘. หน้าที่ ๒๗๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6289&Z=6298&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=531
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/


25587  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าคนเสียสติ ฆ่า พ่อ แม่ ตัวเอง จะเป็นบาป หรือ ตกนรกหรือไม่คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 03:27:00 pm
ถึงจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่การได้รู้ ถ้าเป็นไปได้ ที่จะรู้ ก็น่าจะดี นะคะ

แล้วกรรมอะไร ที่ทำให้คนต้อง เสียสติ แล้ว เป็น บ้า คะ

มีใครพอมีตัวอย่างยกให้ฟังบ้างคะ

  :c017:

  ความหายนะของการปรามาสพระรัตนตรัย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=421.msg1575#msg1575

ผู้ใดกล่าวตู่ใส่ร้ายพระรัตนตรัยมีโทษ ๑๐  ประการ
 http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=245

25588  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ฝึก สติ อย่างเีดียว จะไปสู่แก่น ธรรม ชื่อว่า นิพพานได้หรือไม่ คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 11:31:54 am

        เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์

       ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา
       หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ


      เพื่อนๆครับ ผมยกพระสูตรนี้ขึ้นมา เพื่อชี้ให้เห็นว่า สติปัฏฐานเป็นข้อธรรมที่ลึกซึ้งมาก พระพุทธเจ้าเห็นว่า ชาวแคว้นกุรุมีความพร้อมทั้งกายและใจ มีปัญญามาก จึงยกสติปัฏฐานขึ้นมาแสดง เพื่อให้เหมาะแก่จริตของชาวแคว้นกุรุ

      และที่สำคัญอยากให้เข้าใจว่า ที่ตรัสว่า "หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก" หรือ "หนทางนี้เป็นทางเดียว" ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้".


       :welcome: :49: :25: ;)
25589  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ฝึก สติ อย่างเีดียว จะไปสู่แก่น ธรรม ชื่อว่า นิพพานได้หรือไม่ คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2011, 11:05:27 am


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)

             [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
             เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
             เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
             เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

             หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

             ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑     
- พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
- พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


  จบอุทเทสวารกถา


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=6257&w=%C1%CB%D2%CA%B5%D4%BB%D1%AF%B0%D2%B9%CA%D9%B5%C3



อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรคมหาสติปัฏฐานสูตร
               
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
             
               มหาสติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น มีพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้.

               มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร

               
               เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้.

               เล่ากันว่า ชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัย คือ ฤดูเป็นที่สบาย เพราะแคว้นนั้นสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะ เป็นต้น.

               ชาวกุรุนั้นมีกำลังปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งนี้ได้.
               เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัต ตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น.

               เปรียบเสมือนบุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงในผอบทองนั้น หรือว่าบุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง.

              ด้วยเหตุนั้นแล ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่นๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ ก็คือ มหานิทานสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ก็คือ สติปัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร.

               อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่โดยปกติ โดยที่สุด คนรับใช้และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วย สติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้ายเป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย.

               ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า คุณแม่จ๊ะ คุณแม่ใสใจสติปัฏฐานข้อไหน นางจะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่าน่าตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว ต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง.

              แต่สตรีผู้ใดพูดว่า ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า สาธุ สาธุ แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคำต่างๆ เป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสมกับที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าแท้ๆ.

               ในข้อนี้ มิใช่ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจสติปัฏฐาน แต่พวกเดียวเท่านั้น แม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน ที่อาศัยชาวกุรุอยู่ก็ใส่ใจ เจริญสติปัฏฐานด้วยเหมือนกัน.
               ในข้อนั้น มีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้.



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1#%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3


คำบรรยายภาพทั้งสามภาพ

บริเวณที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็น กุรุรัฐ สถานที่แสดงสติปัฎฐานสูตร ครั้งแรกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ที่เห็นเป็นหลังคา บนก้อนหินนั้น สร้างครอบรอยจารึกอักษรโบราณไว้ ปัจจุบันอยู่บริเวณชานกรุงเดลลี

คณะเดินทางจัดโดยมูลนิธิ ได้เดินทางไปสักการะและสนทนาธรรม เมื่อเดือนตุลาคม 2548


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=3653&PHPSESSID=0c7b9b89f8726a995a4c734ea1ada207
25590  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าคนเสียสติ ฆ่า พ่อ แม่ ตัวเอง จะเป็นบาป หรือ ตกนรกหรือไม่คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 08:03:55 pm
ทุกขเวทนากับอดีตกรรม

  ดิฉันได้มาปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อในวันพระ และอยู่ปฏิบัติกรรมฐานที่วัดในช่วงเข้าพรรษา เมื่อก่อนมีอาชีพขายสัตว์พวกปลา กบ แต่ปัจจุบันมีอาชีพตีเหล็ก สมัยที่ขายสัตว์นั้น ฉันต้องทำกรรมมาก ปลาก็ต้องทำให้เขา กบก็จับมัดเอวเป็นพวง ปลาไหลก็ร้อยเป็นพวง ทุบหัว เอาแกลบถู แล้วหั่น มันยังไม่ตายก็เต้นกระดุ๊กกระดิ๊ก เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ได้ตำข้าวในครก มีไก่มาจิกข้าวที่ฉันกำลังตำอยู่ ฉันก็ไม่เห็นเลยตำถูกคอไก่ มันร้องด้วยความเจ็บปวด แล้วไปตายตอนหลัง

    พอมาปฏิบัติมีเวทนาแรงกล้ามาก ปวดเหลือเกิน ปวดตรงหัวเข่า กำหนดไม่ไหวจนต้องร้องครางออกมา แม่สุ่มก็บอกว่า เป็นอะไรแม่เฮียง กำหนดปวดให้ได้ ไม่เป็นไรหรอก ฉันก็กัดฟันกำหนดปวดไป ปวดมากขึ้น ๆ เกือบจะทนไม่ไหว ก็ปรากฎเป็นภาพเหมือนจอทีวี เห็นไก่ตัวที่เคยเอาสากตำคอเขาตายเมื่อตอนอายุ ๑๐ ขวบ มายืนคอห้อย น้ำตาไหล เขาบอกว่า

"เขาตายแล้วนะ เขาห่วงลูกเขาจังเลย เขากำลังมีลูกอ่อน"
และเห็นกบมานั่งที่หัวเข่าฉัน แล้วพูดว่า "คุณเจ็บนะไม่เท่าฉันปวดหรอกนี่" แล้วกบก็หันก้นให้ดูและบอกว่า "ดูนี่ คุณมัดฉัน เห็นไหมนี่"


แล้วก็เห็นปลาไหล ปรากฎเห็นเป็นพวงร้อยอย่างที่เคยทำ เห็นภาพตอนถูปลาไหล เฉือนคอแล้วก็หั่นมันก็กระดุ๊กกระดิ๊ก ตอนนั้นฉันปวดหัวเข่ามาก น้ำตาคลอเบ้าจะไหลเสียให้ได้ แม่สุ่มก็บอกให้แผ่เมตตาให้เขาซิแม่เฮียง ฉันก็แผ่ให้ ไก่ยังคงยืนน้ำตาไหล กว่าจะไปได้ก็เป็นเวลานาน ฉันร้องไห้ใหญ่ สงสารเขาจังเลย ไก่นี่ฉันสะเทือนใจมาก ขณะที่ปฏิบัตินั้น ปวดจนทนไม่ไหว เมื่อกรรมปรากฎแล้ว ปวดค่อยทุเลาลง แต่ก็ไม่หาย
   
ฉันมีเวรมีกรรมมาก พอฉันเกิดมาแม่ก็ตาย เดี๋ยวนี้ฉันเป็นโรคเข่าและโรคเวียนศีรษะ ฉันว่าคนขายสัตว์นี่มีกรรม อย่างฉันทำกรรมไว้เยอะ มันก็มาผุดให้เห็น กรรมนี่มีจริง ๆ ตอนนี้ฉันไม่ขายปลาแล้ว ฉันต้องผ่าท้อง เพราะปวดมดลูก ต้องผ่าตัดมดลูกทิ้งไปแล้ว ทีนี้ฉันจะไม่ทำกรรมอะไรนะ สัตว์อะไรฉันไม่ทำทั้งนั้นแหละ ฉันปฏิญาณไว้ตั้งแต่ตอนผ่าท้อง

จากที่กรรมมาปรากฎ ฉันก็ปล่อยกบไปเลย จำได้ว่ามีอยู่ ๖๒ ตัว ปลาไหลก็ปล่อย แล้วก็ไม่ทานอีกเลย เรื่องไก่ฉันก็ห่างไปแล้ว เพราะเป็นโรคปวดหัวเข่า เขาไม่ให้ทานไก่ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยทานแล้วเดี๋ยวนี้ฉันตีเหล็ก ขายมีดอยู่ในตลาดทุกวัน ยกเว้นวันพระ และในระหว่างเข้าพรรษาจะมาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน

เฮียง สุวิมล
๑๘๕/๒๘ ต.บางมัน อ.เมือง จ.สิงห์บุรี


ที่มา http://www.jarun.org/v6/th/lrule06r0201.html


  เรื่องวิบากกรรม เป็นเรื่องอจินไตย ไม่อาจวินิจฉัยได้
   ถ้าจะคุยกัน ก็ต้องบอกว่า หากจะอ้างว่า กรณีนี้ไม่ผิด เพราะขาดสติ เสียสติ หรือไม่มีเจตนานั้น
   ผมขอให้ดูกรณีของ"คุณเฮียง สุวิมล" เป็นกรณีตัวอย่าง คุณเฮียงก็ไม่มีเจตนา ถึงแม้คุณเฮียงจะไม่ใช่คนเสียสติ(วิกลจริต) แต่การกระทำดังกล่าว ทำด้วยความประมาท ความประมาทในทางพุทธ ก็คือ ไม่มีสตินั่นเอง

   ส่วนคำถามที่ว่า ตายแล้วจะลงอบายหรือไม่ คงตอบได้กว้างๆว่า หากสภาวะจิตก่อนตาย มีราคา โทสะ โมหะ ไม่ประกอบดัวยกุศล ต้องลงอบายแน่นอน
   คงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ครับ

    :49:
25591  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ฝึก สติ อย่างเีดียว จะไปสู่แก่น ธรรม ชื่อว่า นิพพานได้หรือไม่ คะ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 07:11:56 pm
มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ )  มีดังนี้

    ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
     ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป) 
     ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔)
     ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)
     ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
     ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
     ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
     ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)


มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา
ดู สิกขา ๓




สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


    การเดินตามมรรคต้องครบด้วยองค์ ๘ เพียงแต่ว่าในทางปฏิบัติเราอาจแยกไม่ออก
    การเจริญสติปัฏฐานนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นทางเดียวที่เข้าสู่นิพพานได้ อันนี้จริงครับ
    แต่อย่าลืมว่า สติปัฏฐานเป็นส่วนหนึ่งของมรรคมีองค์ ๘ เราจะละเลยมรรคองค์อื่นๆไม่ได้

    การปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน แบ่งเป็นสองแนวใหญ่ๆ คือ
       - สมาธินำปัญญา เป็นการทำสมาธิแล้วตามด้วยวิปัสสนา ตัวอย่างเช่น สายหลวงปู่มั่น
       - ปัญญานำสมาธิ เป็นการทำวิปัสสนาก่อนเพื่อที่จะได้มาซึ่งสมาธิ ตัวอย่างเช่น การดูจิตของสายหลวงปู่ดูลย์หรือหลวงพ่อปราโมทย์


    กาเจริญสติปัฏฐานอย่างเดียวตามที่คุณสุนีย์เข้าใจ น่าจะเป็นแนวปัญญานำสมาธิ

    อยากให้คุณสุนีย์เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    มรรค คือ หนทางสู่นิพพาน ครับ อย่าเข้าใจว่า สติ เพียงอย่างเดียวจะนำสู่นิพพานได้

     :49:
25592  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พยาบาท วิหิงสา อรติ ปฏิฆะ ราคะ อัสมิมานะ ละไ้ด้อย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 09:57:35 am


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๑๒ . มหาราหุโลวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรใหญ่

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสสอนพระราหุลในระหว่างที่ท่านตามเสด็จไปบิณฑบาตในเวลาเช้าว่า พึงพิจารณาเห็นรูปทุกชนิด ทั้งอดีต  อนาคต   ปัจจุบัน,   ภายใน   ภายนอก,   หยาบละเอียด,   เลว  ดี,   ไกล   ใกล้   ว่ารูปทั้งหมดนั้น มิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

    พระราหุลกลับจากที่นั้น นั่งคู้บัลลงก์ ( ขัดสมาธิ ) ณ โคนไม้ตันหนึ่ง ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า พระสารีบุตรเห็นเข้าจึงสอนให้เจริญอานาปาปานสติ ( สติกำหนดลมมหายใจเข้าออก). ในเวลาเย็นพระราหุลออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้ากราบทูลถามถึงวิธีเจริญอานาปานสติที่จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.


   ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสสอนเรื่องรูปภายใน ( ร่างกาย ) ที่แข้นแข็ง   มีผม  ขน เป็นต้น ที่เรียกว่าธาติดินภายใน ตลอดจนธาตุน้ำ, ไฟ, ลม , อากาศ ทั้งภายนอกภายใน ให้เห็นเป็นแต่สักว่าธาตุ ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นตามเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายธาตุเหล่านั้น ทำจิตให้คลายกำหนด ( หรือความติดใจ ) ในธาตุเหล่านั้น


  ๓. ครั้นแล้วตรัสสอนให้เจริญภาวนา ( อบรมจิต ) เสมอด้วยธาตุแต่ละอย่าง ซึ่งผัสสะที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจเกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ โดยชี้ให้เห็นว่า ธาตุเหล่านั้นย่อมไม่แสดงอาการผิดปกติ เช่น เบื่อหน่าย เกลียดชังสิ่งสะอาดหรือสกปรกที่ทิ้งลงไปใส่หรือที่ธาตุเหล่านั้นฝ่านไป.


  ๔. ตรัสสอนให้เจริญ
    เมตตาภาวนา ( ไมตรีจิต คิดจะให้เป็นสุข ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ( ความคิดปองร้าย ) ได้ ,
   กรุณาภาวนา ( เอ็นดู คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละวิหิงสา ( การคิดเบียดเบียน ) ได้ ,
   มุทิตาภาวนา ( พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละอรติ ( ความไม่ยินดีหรือริษยา ) ได้,
   อุเบกขาภาวนา ( วางใจเป็นกลาง ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละปฎิฆะ ( ความขัดใจ ) ได้, ๘ . 
   อสุภภาวนา เห็นความไม่งาม ) ซึ่งจะเป็นเหตุให้ละราคะ ( ความกำหนัดยินดี ) ได้,
   อนิจจสัญญาภาวนา ( กำหนดหมายสิ่งที่ไม่เที่ยง ) ซึ่งเป็นเหตุให้ละอัสมิมานะ ( ความถือตัวถือตนได้).



   ๕. ครั้นแล้วตรัสสอนวิธีเจริญสติกำหนดลมหายใจเข้าออกที่มีเหตุผลมาก มีอานิสงส์มาก ( แบบเดียวกับที่ตรัสไว้ในอานาปานบรรพ คือหมวดว่าด้วยลมหายใจเข้าออกในมหาสติปัฎฐาน ที่ย่อมาแล้วในพระสุตตันตะเล่ม ๒ หน้า ๔



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/,http://www.chanakarnthaiclassical.com/



อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๒๕๔๑ - ๒๖๘๑. หน้าที่ ๑๑๑ - ๑๑๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2541&Z=2681&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
25593  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ขับธิดามาร ตัณหา ราคา อรดี เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 09:32:10 am

ขับธิดามาร ตัณหา ราคา อรดี



 สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประทับนั่งสมาธิ ณ ใต้ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร) เป็นเวลาอีก ๗ วัน

           ในลำดับนั้นธิดาของพญาวสวัตดีมารทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี อาสาที่จะทำให้พระพุทธองค์ตกอยู่ในอำนาจให้จงได้  จึงได้ทำการประเล้าประโลมด้วยวิธีการต่างๆ   แต่ไม่สามารถจะทำให้น้ำพระทัยของพระองค์หวั่นไหวสั่นคลอนได้ ธิดาพญามารทั้ง ๓ จึงปรารภว่า

           “พญามารผู้เป็นบิดา กล่าวเตือนไว้ถูกต้องแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีบุคคลผู้ใดในโลกจะชักนำไปสู่อำนาจแห่งตนได้โดยแท้  เพราะเป็นผู้ปราศจากกิเลสตัณหาโดยสิ้นแล้ว” แล้วพากันกลับไปสำนักแห่งพญามาร


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/html_1-40/SC_17.html


25594  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / จะไม่พูดปด แม้เพื่อจะหัวเราะเล่น เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 09:03:23 am

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๑๑ . จูฬราหูโลวาทสูตร
สูตรว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์. ในเวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังสวนมะม่วงหนุ่ม ซึ่งพระราหุลอาศัยอยู่. พระราหุลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ก็ปูอาสนะตั้งน้ำล้างพระบาทไว้. พระผู้มีพระภาคประทับบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ล้างพระบาท เหลือน้ำไว้หน่อยหนึ่งในภาชนะน้ำ.

    ครั้นแล้วตรัสเปรียบว่า ผู้ใดไม่มีความละอายในการพูดปดทั้งปดทั้ง ๆ รู้ ความเป็นสมณะของผู้นั้น ย่อมเป็นของน้อยเหมือนน้ำที่มีอยู่ในภาชนะน้ำ.

    ทรงเทน้ำที่เหลืออยู่ทิ้งแล้วตรัสเปรียบว่า ผู้ใดไม่มีความละอายในการพูดปดทั้ง ๆ รู้ความเป็นสมณะของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นสมณะของผู้นั้น ชื่อว่าเป็นอันคว่ำเสียแล้ว.


    ๒ . ตรัสว่า ผู้ใดไม่มีความละอายในการพูดปดทั้ง ๆ รู้ พระองค์ย่อมไม่ตรัสว่า จะมีบาปกรรมอะไรที่ผู้นั้นจะพึงทำไม่ได้ ( คือทำความชั่วได้ทุกชนิด ) เปรียบเหมือนช้างสงความของพระราชาที่ใช้อวัยวะทุกส่วนในการรบ เว้นแต่งวง ก็ยังไม่ชื่อสละชีวิตเพื่อพระราชา แต่ถ้าใช้งวงด้วย ก็ชื่อว่าสละชีวิตเพื่อพระราชาจึงไม่มีอะไรที่ช้างจะทำเพื่อพระราชาไม่ได้ ครั้นแล้วได้ตรัสสอนให้สำหนียกว่า จะไม่พูดปดแม้เพื่อจะหัวเราะเล่น.


    ๓ . ตรัสถามว่า แว่นมีไว้ทำอะไร พระราหุลกราบทูลว่า มีไว้ส่องดู. จึงตรัสสอนว่า การกระทำทางกาย, วาจา, ใจ ก็พึงพิจารณาแล้วด้วยดี จึงค่อยทำฉันนั้น. ครั้นแล้วตรัสอธิบายถึง การพิจารณาการกระทำทางกาย, วาจา, ใจ ในทางที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น.

    แล้วตรัสว่า สมณพราหมณ์ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ที่ชำระการกระทำทางกาย, วาจา , ใจให้บริสุทธิ์ ก็พิจารณาแล้วด้วยดี จึงชำระให้บริสุทธิ์, แล้วตรัสสอนให้สำเหนียกว่า จักพิจารณาด้วยดี ชำระการกระทำทางกาย, วาจา, ใจให้บริสุทธิ์.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.watstockton.com/


อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๒๓๘๕ - ๒๕๔๐.  หน้าที่  ๑๐๔ - ๑๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=2385&Z=2540&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=125
25595  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สัมมาวายามะ โดยพิสดาร เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 07:41:54 am


สัมมาวายามะ

ความหมาย และประเภท
   องค์มรรคข้อนี้ เป็นข้อแรกในหมวดสมาธิ หรือ อธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความแบบพระสูตรดังนี้
   ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

   ๑)สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่นเพื่อ (ป้องกัน) อกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

   ๒)สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว

   ๓)สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่นเพื่อ (สร้าง) กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

   ๔)สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย เพื่อภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เจริญเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว



   ส่วนในอภิธรรม มีคำจำกัดความเพิ่มอีกแบบหนึ่ง ดังนี้
   สัมมาวายามะ เป็นไฉน ? การระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) ทางใจ ความก้าวหน้า ความบากบั่น ความขะมักเขม้น ความพยายาม ความอุตสาหะ ความอึดสู้ ความเข้มแข็ง ความมั่นคง ความก้าวหน้าไม่ลดละ ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ การแบกทูนเอาธุระไป วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

   สัมมาวายามะ อย่างที่แยกเป็น ๔ ข้อ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร นั้น เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน  หรือ ปธาน ๔  และมีชื่อเรียกเฉพาะสำหรับความเพียรแต่ละข้อนั้นว่า
   ๑. สังวรปธาน เพียรป้องกัน หรือเพียรระวัง (อกุศลที่ยังไม่เกิด)
   ๒. ปหานปธาน เพียรละ หรือเพียรกำจัด (อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว)
   ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ หรือเพียรสร้าง (กุศลที่ยังไม่เกิด)
   ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรอนุรักษ์ หรือเพียรรักษาและส่งเสริม (กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว)


   บางแห่งมีคำอธิบายแบบยกตัวอย่างความเพียร ๔ ข้อนี้ เช่น
   ๑. สังวรปธาน ได้แก่ ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต (ไม่คิดเคลิ้มหลงติดในรูปลักษณะทั่วไป) ไม่ถืออนุพยัญชนะ (ไม่คิดเคลิ้มหลงติดในลักษณะปลีกย่อย) ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัส ครอบงำเอาได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ (ก็เช่นเดียวกัน)

   ๒. ปหานปธาน ได้แก่ ภิกษุไม่ยอมให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และบาปอกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วตั้งตัวอยู่ได้ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย กระทำให้หมดสิ้นไปเสีย ทำให้ไม่มีเหลืออยู่เลย

   ๓. ภาวนาปธาน ได้แก่ ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ซึ่งอิงวิเวก อิงวิราคะ อิงนิโรธ โน้มไปเพื่อการสลัดพ้น

   ๔. อนุรักขนาปธาน ได้แก่ ภิกษุคอยถนอมสมาธินิมิตอันดี คือ สัญญา ๖ ประการที่เกิดขึ้นแล้ว


ความสำคัญพิเศษของความเพียร
   ความเพียรเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากการที่สัมมาวายามะ เป็นองค์มรรคประจำ ๑ ใน ๓ ข้อ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ซึ่งต้องคอยช่วยหนุนองค์มรรคข้ออื่นๆ ทุกข้อเสมอไป ดังกล่าวแล้วข้างต้น  และในหมวดธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติแทบทุกหมวด จะพบความเพียรแทรกอยู่ด้วย ในชื่อใดชื่อหนึ่ง การเน้นความสำคัญของธรรมข้อนี้ อาจพิจารณาได้จากพุทธพจน์ เช่นธรรมนี้ เป็นของสำหรับผู้ปรารภความเพียร มิใช่สำหรับคนเกียจคร้าน


   ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ชัดถึงคุณของธรรม ๒ ประการ คือ
   ๑)ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย(อสนฺตุฏฺตฐา กุสเลสุ ธมฺเมสุ)
   ๒)ความเป็นผู้ไม่ยอมถอยหลังในการบำเพ็ญเพียร(อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ)


   ...เพราะฉะนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาดังนี้ว่า –
              เราจักตั้งความเพียรอันไม่ถอยหลัง ถึงจะเหลือแต่หนัง เอ็นและกระดูก เนื้อและเลือดในสรีระจะแห้งเหือดไปก็ตามที ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงลุถึงได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว ที่จะหยุดยั้งความเพียรเสีย เป็นอันไม่มี ?

เธอทั้งหลายพึงศึกษาฉะนี้แล การที่ต้องเน้นความสำคัญของความเพียรนั้น นอกจากเหตุผลอย่างอื่นแล้ว ย่อมสืบเนื่องมาจากหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนาที่ว่า สัจธรรมเป็นกฎธรรมชาติ หรือหลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา พระพุทธเจ้าหรือศาสดามีฐานะเป็นผู้ค้นพบหลักความจริงนั้น แล้วนำมาเปิดเผยแก่ผู้อื่น การได้รับผลจากการปฏิบัติ เป็นเรื่องของความเป็นไปอันเที่ยงธรรมตามเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ศาสดามิใช่ผู้บันดาล

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกคนจึงจำเป็นต้องเพียรพยายามสร้างผลสำเร็จด้วยเรี่ยวแรงของตน ไม่ควรคิดหวังและอ้อนวอนขอผลที่ต้องการโดยไม่กระทำ หลักพุทธศาสนาในเรื่องนี้ จึงมีว่า ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา

   ความเพียร ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตทั้งหลาย เป็นแต่ผู้บอก(ทาง) ให้ ความเพียรที่พอดี ด้วยความสมดุลแห่งอินทรีย์อย่างไรก็ตาม การทำความเพียร ก็เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมข้ออื่นๆ จะต้องเริ่มก่อตัวขึ้นในใจให้พร้อมและถูกต้องก่อน แล้วจึงขยายออกไปเป็นการกระทำภายนอก ให้ประสานกลมกลืนกัน มิใช่คิดอยากทำความเพียร ก็สักแต่ว่าระดมใช้กำลังกายเอาแรงเข้าทุ่ม ซึ่งอาจกลายเป็นการทรมานตนเอง ทำให้เกิดผลเสียได้มาก

   โดยนัยนี้ การทำความเพียรจึงต้องสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับธรรมข้ออื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะสติสัมปชัญญะ มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ปัญญาดำเนินความเพียรให้พอเหมาะ อย่างที่เรียกว่าไม่ตึง และไม่หย่อนเกินไป ดังเรื่องต่อไปนี้

   ครั้งนั้น ท่านพระโสณะพำนักอยู่ในป่าสีตวัน ใกล้เมืองราชคฤห์ ท่านได้ทำความเพียรอย่างแรงกล้า เดินจงกรมจนเท้าแตกทั้งสองข้าง แต่ไม่สำเร็จผล คราวหนึ่ง ขณะอยู่ในที่สงัด จึงเกิดความคิดขึ้นว่า

   “บรรดาสาวกของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เราก็เป็นผู้หนึ่ง ถึงกระนั้นจิตของเราก็หาหลุดพ้นจากอาสวะหมดอุปาทานไม่ ก็แหละ ตระกูลของเราก็มีโภคะ เราจะใช้จ่ายโภคสมบัติ และทำความดีต่างๆ ไปด้วยก็ได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะลาสิกขา ไปใช้จ่ายโภคสมบัติ และบำเพ็ญความดีต่างๆ”

   พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของท่านพระโสณะ และได้เสด็จมาสนทนาด้วย
พระพุทธเจ้า    :   โสณะ เธอเกิดความคิด (ดังกล่าวแล้ว) มิใช่หรือ ?
โสณะ      :   ถูกแล้ว พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า   :   เธอคิดเห็นอย่างไร? ครั้งก่อน เมื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอเป็นผู้ชำนาญในการดีดพิณมิใช่หรือ?
โสณะ      :   ถูกแล้ว พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า   :   เธอคิดเห็นอย่างไร?  คราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงเพราะ   หรือเหมาะที่จะใช้การ กระนั้นหรือ?
โสณะ      :   หามิได้ พระเจ้าข้า


พระพุทธเจ้า   :   เธอคิดเห็นอย่างไร? คราวใด สายพิณของเธอหย่อนเกินไป คราวนั้นพิณของเธอ มีเสียงเพราะ หรือเหมาะที่จะใช้การ กระนั้นหรือ?
โสณะ      :    หามิได้ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า   :   แต่คราวใด สายพิณของเธอ ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ตั้งอยู่ในระดับพอดี คราวนั้นพิณของเธอ จึงจะมีเสียงไพเราะ หรือเหมาะที่จะใช้การ ใช่ไหม?
พระโสณะ   :   ถูกแล้ว พระเจ้าข้า

พระพุทธเจ้า   :   ฉันนั้นเหมือนกัน โสณะ ความเพียรที่ระดมมากเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้นแล เธอจงตั้งใจกำหนดความเพียรให้เสมอพอเหมาะ จงเข้าใจความเสมอพอดีกัน แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย  และจงถือนิมิตในความเสมอพอดีกันนั้น”



อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/
25596  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: กุมภัณฑ์กับพวกยักษ์เหมือนกันไหม! เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 07:35:24 am
กุมภัณฑ์ที่ไม่น่ากลัวเหมือนยักษ์ ผมหยิก ผิวดำ ท้องโต พุงโร


ราชาแห่งงู คือพญานาคมีที่อยู่ตั้งแต่แม่น้ำ ลำคลอง บึงต่างๆ ไปจนถึงสวรรค์ชั้น 1


ยักษ์ในสวรรค์ชั้น 1 มีทั้งชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นล่าง


พวกผีสาง นางไม้ จะมีเทวดาคอยดูแลอีกชั้นหนึ่งเพื่อไม่ให้มาเบียดเบียนมนุษย์


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dmc.tv/page_print.php?p=ตายแล้วไปไหน/ความรัก-ความเป็นอยู่ของเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา.html
25597  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: กุมภัณฑ์กับพวกยักษ์เหมือนกันไหม! เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 07:21:00 am

เทวดาใจร้าย ๔ จำพวก

 เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกก็ขาดเมตตาธรรม จัดเป็นพวกเทวดาใจร้าย มี ๔ จำพวก คือ
           
เทพประจำทั้งสี่ทิศ องค์ซ้ายทิศตะวันออกหันหน้าไปทางแม่น้ำแม่กลองพอดี ท้าวธตรัฎฐะเป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด องค์ขวาท้าววิรุฬหกะเป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้


          ๑. คันธัพพี คันธัพโพ
          ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรา เรียกกันว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ให้ เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือนำมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน หรือเครื่องใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น


           ๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี
          ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ที่เราเรียกว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษา สมบัติต่าง ๆ มี แก้วมณี เป็นต้น และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีผู้ล่วงล้ำ ก้ำเกินก็ให้โทษต่าง ๆ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรุฬหก


เทพประจำทั้งสี่ทิศ ภาพซ้าย ท้าววิรูปักษ์ เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันตก ภาพขวา ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณ เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวโลกบาล ๔ พระเจ้าพิมพิสาร เองแม้จะเป็น พระโสดาบัน แต่ก็พอใจสวรรค์ชั้นนี้ได้เกิดเป็นบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช


           ๓. นาโค นาคี
          ได้แก่ พวก เทวดานาค จะมีวิชาเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องเที่ยวไปในมนุษยโลก บางทีก็เนรมิตเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เช่น เสือ ราชสีห์ เป็นต้น โดยเฉพาะชอบลงโทษพวกสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ 


          ๔. ยักโข ยักขี
          ได้แก่ พวก เทวดายักษ์ จะพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา จำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เทวดาทั้ง ๔ จำพวกนี้ จะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เพราะอยู่ใกล้ชิดกับมนุษยภูมิ



ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06B_04.htm
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://touronthai.com/gallery/placeview.php?place_id=33000012
25598  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อสุรกาย และพวกอสูรเหมือนกันหรือเปล่า? เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 07:03:15 am


๓.ท่องแดนอสูรกาย

  อสุรกายภูมิ เป็นภูมิของโอปปาติกกำเนิด อีกมติหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่ของผู้ที่ทำบาปไว้และต้องไปเสวยผลของบาป มีชีวิตเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นฝืดเคือง ขาดเครื่องอุปโภคบริโภค ทุกข์ยากลำบาก กาย จิตใจหดหู่เหี่ยวแห้งไม่สนุกสนานรื่นเริง เข้าในลักษณะที่ว่าหน้าเศร้าอกตรม 
           
อสุรกายภูมิ แบ่งออกเป็น ๓ พวกใหญ่ ๆ คือ 
๑. เทวอสุรา ได้แก่  อสุรกายที่เป็น เทวดา
๒. เปติอสุรา ได้แก่  อสุรกายที่เป็นพวก เปรต
๓. นิรยอสุรา ได้แก่  อสุรกายที่เป็นสัตว์ นรก



๑. เทวอสุรา
       
          เทวอสุรกาย คือ อสุรกายจำพวกเทวดา บางพวกก็พอจะมีความสุขอยู่บ้างเป็นครั้งคราว แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีความสุข 

เทวอสุรกาย มีอยู่ ๖ พวกด้วยกัน คือ 
    ๑. เวปจิตติอสุรกาย
    ๒. ราหุอสุรกาย
    ๓. สุพลิอสุรกาย
    ๔. ปหารอสุรกาย
    ๕. สัมพรตีอสุรกาย


    อสุรกาย ๕ พวกนี้ อยู่ใต้ภูเขาสิเนรุ เป็นศัตรูกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีเรื่องเล่าว่า เดิมเคยอยู่บนชั้นดาวดึงส์ สมัยเมื่อมาฆะมานพ และบริวาร ๓๒ คน ขึ้นไปเกิดเป็นพระอินทร์พร้อมกับบริวาร ๓๒ คน(รวมกันเป็น ๓๓ ดาวดึงส์ แปลว่า ๓๓) ได้มีการฉลองกันเป็นการใหญ่

    เมื่ออสุรกาย ๕ พวกนี้เมาสุราได้ที่ จึงถูกพวกพระอินทร์และบริวาร โยนลงจากยอดเขาสิเนรุ มาอยู่ใต้เขาสิเนรุจนกระทั่งทุกวันนี้ ทำให้อสุรกาย ๕ พวกนี้ แค้นเทวดาชั้นดาวดึงส์มาก และได้เคยยกพวกขึ้นเขาสิเนรุ ไปตีกับเทวดาชั้นดาวดึงส์หลายครั้ง บางครั้งก็ชนะบางครั้งก็แพ้ ซึ่งมีเรื่องเล่ายาวพอสมควร

๖. วินิปาติกอสุรกาย
เป็นพวกที่มีรูปร่างเล็ก มีอำนาจน้อยกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ อาศัยอยู่ในมนุษยโลกนี้ จะอยู่ตามป่า ตามเขา ตามต้นไม้ และตามศาลที่เขาปลูกไว้ เป็นบริวารของภุมมัฏฐเทวดา จัดสงเคราะห์เข้าในพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
 

       
๒. เปติอสุรา
           
          เปรตอสุรกาย คือ อสุรกายชนิดที่เป็นเปรต ซึ่งมีความเป็นอยู่ยากลำบากกว่าพวกอสุรกาย ทีเป็นเทวดา มีรูปร่างที่น่าเกลียดน่ากลัว
 
เปรตอสุรกาย แบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ 

๑. กาลกัญจิกเปรตอสุรกาย
เป็นพวกที่มีรูปร่างกายใหญ่โต แต่ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง มีเลือดฝาดน้อย มีสีสันคล้ายใบไม้แห้ง ตาโปนออกมาเหมือนตาปู มีปากเล็กเท่ารูเข็มอยู่บนกลางศีรษะ หิวน้ำอยู่ตลอดเวลา เดินหาน้ำอยู่ตามลำธารน้ำไหลกลางป่า ทั้ง ๆ ที่เดินท่องอยู่บนลำธารน้ำไหล แต่กลับมองเห็นน้ำที่ไหลมา ขาวเหมือนหินอ่อน ได้ยินเสียงน้ำไหลแต่มองไม่เห็นน้ำ เพราะกรรมบันดาลให้มองไม่เห็นน้ำ กินน้ำก็ไม่รู้จักอิ่ม เพราะปากเล็กเท่ารูเข็ม พระธุดงค์พบเข้าแม้จะช่วยกันกรอกน้ำใส่ปาก น้ำก็ไหลออกหมด เพราะเล็กเท่ารูเข็มเท่านั้น จึงต้องหิวโหยอยู่ตลอดเวลา 

 
๒. เวมานิกเปรตอสุรกาย
เป็นเปรตชนิดที่เสวยทุกข์ในเวลากลางวัน แต่เสวยสุข ในเวลากลางคืนเหมือนกับความสุขของเทวดาในชั้นดาวดึงส์ เพราะทำบุญกับบาปพร้อมกันไป เหมือนกับการฆ่าไก่ เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระธุดงค์ หรือการได้ทรัพย์มาโดยทางทุจริต แต่ก็นำเอาทรัพย์นั้น มาทำบุญใส่บาตรอีกต่อหนึ่ง

 
๓. อาวุธกเปรตอสุรกาย
เป็นเปรตชนิดที่ต้องประหัตประหารกันด้วยอาวุธ มีแต่ความไม่พอใจซึ่งกันและกันตลอดเวลา ซึ่งตรงกันข้ามกับ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ที่มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน พวกนักเลงหัวไม้ หรืออันธพาลที่ชอบว่าจ้าง ให้ทำร้ายร่างกายหรือประหัตประหารผู้อื่น เมื่อสิ้นชีวิตลงจะต้องไปเสวยทุกข์ในนรก เมื่อพ้นจากนรกแล้วก็ต้องมาเสวย ทุกข์ทรมานด้วยการเป็นเปรตประเภทนี้อีก

 

๓. นิรยอสุรา
         
        นิรยอสุรกาย เป็นสัตว์จำพวกเดียวกัน ที่เกาะอยู่ตามขอบจักรวาลที่มืดมิด มีลักษณะเหมือนค้างคาว มีความหิวกระหายเป็นกำลัง เกาะไปพลาง ไต่ไปพลาง พอไปพบพวกเดียวกัน จะโผเข้าหากันเพื่อกินเป็นอาหาร ก็จะพลัดตกไปในน้ำกรดข้างล่าง ละลายหายไปทันที แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ ตกตายไปอีกวนเวียนเช่นนี้ จนกว่าจะหมดกรรม
           
           โดยสรุปแล้ว ในอสุรกายภูมินี้ ถ้าจะสงเคราะห์แล้วก็ จัดสงเคราะห์เข้าในเปรตภูมิ แต่พวกที่มีความเป็นอยู่เป็นพิเศษ ที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นศัตรูกับเทวดาชั้นดาวดึงส์เท่านั้น เรียกว่า อสุรกาย 



ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section06A_09.htm
25599  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เรื่องประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 06:02:17 am

คำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เรื่องประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต


เรื่องนี้ อัตถุปัตติเหตุ เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระอาจารย์มั่น พักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ ขณะที่พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร) ได้ไปนมัสการฟังเทศน์และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ


หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่าเอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านฯ หันมาเห็นเข้า พูดว่า “อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้” ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง

เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต ท่านว่า "พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม"

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า พระแก้วมรกตหล่อที่ลังกาทวีป ผู้เป็นประธานหล่อคือ พระจุลนาคเถระ เป็นชาวลังกา หล่อเมื่อศาสนาล่วงมาได้ 300 ปี ส่วนแก้วนั้น ท่านเล่าเชิงปาฏิหาริย์ พอเริ่มจะหล่อไม่ได้ตั้งใจจะเอาแก้วมรกต เพราะเป็นของหายาก บอกบุญตามแต่ศรัทธา จะเป็นแก้วอะไรก็ได้

ร้อนถึงพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ มาอาสาเป็นช่างหล่อ และพระองค์มีแก้วอยู่ดวงหนึ่ง ขออนุโมทนาเป็นกุศลด้วย พระอินทร์ไม่ได้เป็นช่าง แต่ช่างคือ เทพบุตร ชื่อ วิษณุกรรม ส่วนแก้วก็ไม่ใช่ของพระอินทร์ แต่เป็นแก้วอยู่ในถ้ำจิตรกูฏ หรืออินทสารนี้ละผู้เล่าไม่มั่นใจ

ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่า เป็นแก้วหน่อเนื้อพุทธางกูร ประจำภัทรกัปป์ เหลืออยู่ 2 ลูก มียักษ์รักษา พระอินทร์ไปขอแก้วดวงใหญ่ ซึ่งสุกใสกว่าจากยักษ์ตนนั้น แต่ยักษ์ไม่ให้ บอกว่าไม่ใช่ของเจ้า จึงให้แก้วดวงเล็กมา พระอินทร์นำมาหล่อเป็นผลสำเร็จ แต่ยังมีแก้วเหลือค้างอยู่ที่เรียกว่าแก้วก้นเตา เผาอย่างไรก็ไม่ละลาย พระจุลนาคเถระจึงอธิษฐานบรรจุไว้ใต้ฐาน ปรากฏว่าเป็นกระปุกระปะ ไม่เรียบ

หล่อเสร็จมีการสมโภช ท่านจุลนาคเถระ ได้อธิษฐานอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน 5 แห่ง คือระหว่างพระขนง 1 แห่ง พระอังสาทั้งสอง 2 แห่ง พระเมาลี 1 แห่ง และพระนาภี 1 แห่ง ท่านฯ ว่าอย่างนี้

การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก

ท่านพระอาจารย์เล่าต่อว่า ได้มีการอัญเชิญจากกรุงลังกาสู่นครศรีธรรมราช โดยทางเรือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่า (คำว่า เถรเจ้าป่า หมายความถึง พระกัมมัฏฐานที่ชอบออกปฏิบัติภาวนาอยู่ตามป่าเขา) อยู่นครศรีธรรมราชก็ไม่ได้กำหนดว่านานเท่าไร ต่อจากนั้นจึงอัญเชิญไปสู่นครวัด นครธม ประเทศเขมร เพื่อเผยแผ่พระศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่าอีกนั่นแหละ

จากนครวัด นครธม สู่กรุงจันทบุรีศรีสัตตนาคนหุต (ประเทศลาว) ปัจจุบันคือเวียงจันทน์สาเหตุเกิดกลียุคแย่งราชสมบัติเถรเจ้าป่าท่านเห็นว่าพระแก้วจะไม่ปลอดภัย จึงได้เอาผ้าห่อแล้วบรรจุลงในบาตร (คงจะเป็นบาตรขนาดใหญ่) เพื่ออำพรางผู้ทุศีลไม่ให้แย่งชิงไป เถรเจ้าป่าองค์นั้น ไปอยู่ที่เวียงจันทน์ก็ไม่มีกำหนดปีเหมือนกัน

จากนครเวียงจันทน์ก็ได้เสด็จสู่นครลำปาง และนครเชียงใหม่ ด้วยสาเหตุแห่งความรัก เนื่องจากเจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ ได้บุตรเขยเป็นชาวเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะนำบุตรีสู่เชียงใหม่ บิดาให้พรบุตรีว่าอยากได้อะไรก็จะให้ บุตรีจึงขอพระแก้วมรกตไปด้วย ด้วยความรักของบิดาก็จำยอมยกให้

พอไปถึงลำปาง ช้างที่นั่งไปไม่ยอมไปเอาดื้อๆ จะขับไสอย่างไรช้างก็ไม่ไป ตกลงกันว่าองค์พระแก้วมีพระประสงค์ จะประทับที่ลำปางแน่ พระแก้วก็เลยประดิษฐานที่ลำปางก่อน นานพอสมควรจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านก็ไม่ได้บอกว่ากี่ปี ต่อมาบุตรเขยก็เสียชีวิตลง บุตรีเจ้าผู้ครองนครก็กลับสู่เวียงจันทน์ และนำพระแก้วมรกตกลับมาด้วย จึงประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์อีก เป็นครั้งที่สอง



ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ไทยคือลาว ลาวคือไทย เป็นชาติเดียวกัน แต่แต่ครั้งอยู่ราชคฤห์ แต่หนีตายมาคนละสาย มาบรรจบกันที่แม่น้ำใหญ่ๆ 4 สาย คือ แม่น้ำโขง เจ้าพระยา สาละวิน และแม่น้ำตาปี

ต่อมาเหตุการณ์บ้านเมืองในลาวเปลี่ยนแปลง เกิดกลียุค ราชวงศ์และราชบุตรเป็นศัตรูกัน ราชบุตรมักถูกรังแกใส่ความ ทนไม่ไหว จึงอพยพครอบครัวข้ามโขงมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ จังหวัดหนองบัวลำภู) ราษฎรก็ทยอยติดตามมา โดยมีพระตาน้องชายราชบุตรเป็นหัวหน้า ราชวงศ์ยังยกกองทัพมารังแกห่มเหงอีก

ฝ่ายพระตาและพระวอก็ได้ถอยร่นลงมาสู่ดอนมดแดง คืออุบลราชธานีในปัจจุบันอย่างทุลักทุเล บังเอิญกองทัพทางเวียงจันทน์เสบียงขาดแคลนลง จึงต้องยกทัพกลับ หลังจากนั้นก็ได้ยกทัพมาตีอีกครั้งที่สอง ชาวดอนมดแดงได้ต่อสู้ถวายหัวเต็มกำลังความสามารถ

พระตาสวรรคตในสนามรบอย่างสมพระเกียรติ พระวอเห็นท่าไม่ได้การ ได้ให้ม้าเร็วนำสาส์นขอกองกำลังจากบางกอกไปช่วย สมัยนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ จึงส่งกองทัพม้าเป็นทัพหน้าเดินทางไปก่อน กองทัพหลวงนำโดย สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกตามไป ชาวดอนมดแดงก็มีกำลังใจสู้ถวายหัว พอกองทัพหลวงยกมาถึง กองทัพทางเวียงจันทน์จึงแตกพ่ายกลับไป

ทั้งทัพม้าศึกและทัพหลวงแห่งบางกอก พร้อมกองอาสาสมัครแห่งดอนมดแดง ก็ติดตามไล่ตีไม่ลดละ จนถึงฝั่งโขง และข้ามโขงเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้ทั้งหมด

หลังจากชนะศึกแล้ว ชาวลาวได้ยินยอมพร้อมใจ มอบพระแก้วมรกต และพระบาง ให้มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ นี่คือสาเหตุที่พระแก้วมรกตมาประดิษฐานในประเทศไทย

ปีนั้นบางกอกเกิดฝนแล้ง โหรหลวงทำนายว่า เพราะพระแก้วและพระบางมาอยู่รวมกันเป็นเหตุ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงส่งสาส์นแจ้งไปยังเจ้ามหาชีวิตลาว พระองค์ทรงยินดีรับคืน แต่ให้ส่งไปนครหลวงคือ กรุงศรีสัตตนาคนหุต ไทยได้ทำการสักการะจัดส่งอย่างสมพระเกียรติ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าอย่างนี้ ตั้งแต่วันพระบางไปถึงกรุงศรีสัตตนคนหุต ก็เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบางมาจนบัดนี้

ท่านฯ ยังเล่าต่อไปว่า เดิมไม่ได้เรียกเมืองหลวงพระบาง เรียก “หลวงพระบ้าง” เพราะว่าทองที่หล่อนั้น เป็นทองหลายชนิด ผู้มีศรัทธาไปร่วมพิธีเททองหล่อนั้น มีทั้งสร้อยทองคำ ตุ้มหูทองคำ กำไลทองคำ เงิน ทองแดง นาถ ทองสัมฤทธิ์ เอาออกมาใส่ลงในเบ้าหล่อ โดยทุกคนก็กล่าวว่า ฉันบ้าง ข้าบ้าง กูบ้าง ข้าน้อยบ้าง เมื่อเป็นพระออกมาก็คงจะมีชื่ออย่างอื่น ชื่ออะไรท่านมิได้กล่าวๆ แต่คนนั้นก็ว่าพระบ้าง คนนี้ก็พระบ้าง ลักษณะชายจีวรบาง แผ่ออกทั้งสองข้าง เป็นแผ่นบางๆ คนภายหลังมาเห็น เลยกลายจากบ้าง มาเป็นบาง จากพระบ้างมาเป็นพระบางไป

หลังจากสมเด็จเจ้าพระมหากษัตริย์ศึก ได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 แล้ว ได้ยกฐานะบ้านดอนมดแดงขึ้นเป็นเมืองให้ชื่อว่า เมืองอุบลราชธานี ตั้งพระวอเป็นพระวรวงศาธิราชครองเมืองอุบลฯ พระวรวงศาธิราชสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พ้นภัยพิบัติมาได้ จึงได้ประกาศเป็นทางการว่า แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งหมดขอขึ้นตรงต่อบางกอก ไม่ขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์ ตั้งวันนั้นมาถึงปัจจุบัน ปรากฏอยู่ในแผนที่ประเทศไทยโดยสมบูรณ์

จากปกิณกะธรรม ในหนังสือรำลึกวันวาน เขียนโดยหลวงตาทองคำ (ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น) หน้า 141-145



อ้างอิง
http://www.sisaket.ru.ac.th/pra-sisa.../prakaew01.htm
http://board.palungjit.com/f63/คำบอกเล่าของหลวงปู่มั่นเรื่องประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต-311231.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.siristore.com/,http://journeystars.com/,https://sites.google.com/
25600  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระอานนท์ปรารภความเพียรมากเกินไป เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 06:16:31 pm


อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พรหมชาลสูตร

พระอานนท์บรรลุพระอรหัต 
             
               ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทำสังคายนา การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย แล้วให้เวลาล่วงไปด้วยกายคตาสติกรรมฐาน ตลอดราตรีเป็นส่วนมากทีเดียว ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีก็ลงจากที่จงกรมเข้าวิหาร เอนกายลงหมายจะนอน เท้าทั้งสองพ้นจากพื้นแล้ว แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

               พระอานนทเถระนี้ให้เวลาล่วงไปในภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่อาจให้คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ ก็คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้มิใช่หรือว่า(๑-)
               ดูก่อนอานนท์ เธอได้สร้างบุญไว้แล้ว จงหมั่นบำเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าก็จะเป็นพระอรหันต์ดังนี้ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสผิดพลาด แต่เราปรารภความเพียรมากเกินไป

               ฉะนั้น จิตของเราจึงฟุ้งซ่าน ทีนี้เราจะประกอบความเพียรพอดีๆ คิดดังนี้แล้วลงจากที่จงกรม ยืนในที่ล้างเท้า ล้างเท้าเข้าวิหาร นั่งบนเตียงคิดว่าจักพักผ่อนสักหน่อย แล้วเอนกายบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

____________________________
(๑- )ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๕

              ความเป็นพระอรหันต์ของพระอานนทเถระ เว้นจากอิริยาบถ ๔ ฉะนั้น เมื่อมีการกล่าวถามกันขึ้นว่า ในศาสนานี้ ภิกษุที่ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรม แต่ได้บรรลุพระอรหัต คือภิกษุรูปไหน. ควรตอบว่า คือพระอานนทเถระ.

               ครั้งนั้น ในวันที่ ๒ จากวันที่พระอานนท์บรรลุพระอรหัต คือวันแรม ๕ ค่ำ พวกภิกษุชั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว เก็บบาตรและจีวรแล้วประชุมกันในธรรมสภา. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม.

               ท่านไปอย่างไร.
               ท่านพระอานนท์มีความยินดีว่า บัดนี้ เราเป็นผู้สมควรเข้าท่ามกลางที่ประชุมแล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้ว มีลักษณะเหมือนทับทิมที่วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นในท้องนภากาศอันปราศจากเมฆ และมีลักษณะเหมือนดอกปทุมมีเกสรและกลีบแดงเรื่อกำลังแย้มด้วยต้องแสงอาทิตย์อ่อนๆ คล้ายจะบอกเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัตด้วยปากอันประเสริฐบริสุทธิ์ผุดผ่องมีรัศมีและมีสิริ ได้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์.


               ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะพอเห็นพระอานนท์ ดังนั้นได้มีความรู้สึกว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหัตแล้ว งามจริงๆ ถ้าพระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ บัดนี้ เราจะให้สาธุการซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์ดังนี้แล้ว ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง.

               ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า พระอานนทเถระประสงค์จะให้สงฆ์ทราบเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงมิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลำดับอาวุโส ก็นั่งเว้นอาสนะของพระอานนทเถระไว้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกถามว่า นั่นอาสนะของใคร? ได้รับตอบว่า ของพระอานนท์. ภิกษุเหล่านั้นถามอีกว่า พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า?

               สมัยนั้น พระอานนทเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะไป ต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ท่านจึงดำดินแล้วแสดงตนบนอาสนะของตนทีเดียว. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระอานนท์ไปทางอากาศแล้ว นั่งบนอาสนะของตน ดังนี้ก็มี. อย่างไรก็ตาม การที่ท่านพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์แล้ว ให้สาธุการ เป็นการเหมาะสมโดยประการทั้งปวงทีเดียว.



อ้างอิง
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=1&Z=1071
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
ขอบคุณภาพจาก http://uc.exteenblog.com/
หน้า: 1 ... 638 639 [640] 641 642 ... 706