ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คุณกำลังไม่มีสมาธิอยู่ใช่ไหม.? มาลองวิธีง่ายๆ เหล่านี้ดูสิ.!  (อ่าน 309 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



คุณกำลังไม่มีสมาธิอยู่ใช่ไหม.? มาลองวิธีง่ายๆ เหล่านี้ดูสิ.!

อ่านหนังสือกี่รอบก็จำเนื้อหาไม่ได้เสียที ฟังอะไรก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา จดจ่อกับอะไรนานๆ ไม่ได้สักอย่าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นนะ.? เป็นเพราะว่าเราไม่มี ‘สมาธิ’ อย่างไรล่ะ

ถ้าอยากรู้ว่าทำไมจู่ๆ สมาธิของเราถึงหายไป แล้วก็ไม่รู้ว่าจะกู้มันกลับมาอย่างไร มาหาคำตอบกันผ่านหนังสือ “The Power of Output” กัน มันจะให้คำตอบเราเอง!

จากหนังสือ The Power of Output ผู้เขียนบอกไว้ว่ากฎของ Input คือ ห้ามอ่าน ฟังหรือดูไปพร้อมๆ กัน สิ่งนี้เป็นสิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจ หลังจากนั้นเราต้องเข้าใจคำจำกัดความของ Input และ Output ได้ Input คือการฟังและการอ่าน ส่วน Output คือการพูด การเขียนและปฏิบัติ

ผู้เขียนยังบอกอีกว่า Input มีสองรูปแบบด้วยกัน คือ Input ที่ ‘แท้จริง’ กับ Input ‘ปลอม’แบบแรกคืออ่านโดยละเอียด อ่าน ดูหรือฟังแบบตั้งใจ  ส่วนแบบที่สองคืออ่านไปอย่างนั้น อ่าน ดูหรือฟังผ่านๆ ถ้าพูดให้เห็นภาพ Input ปลอมคือการที่เราเข้าห้องเรียนไป 50 นาที แต่เราไม่รู้เรื่องเลย หรือเป็นการที่เราประชุมไปหนึ่งชั่วโมง แต่เราจับประเด็นหัวข้อสนทนาไม่ได้เลย

@@@@@@@

กฎข้อแรก ที่จะทำให้เรามี Input ที่แท้จริง คือ การปรับข้อมูลจากการฟัง ดู แล้วเก็บข้อมูลส่วนนั้นไว้เขียน จดและจำผ่านการเขียนหรือวิธีการเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่เราสามารถมองเห็นและจับต้องได้

กฎข้อที่ 2. จัด Input กับการกำหนดเป้าหมายให้เป็นเส้นคู่กัน สิ่งนี้จะทำให้สมาธิดีขึ้น เพราะว่าถ้าเป้าหมายของ Input ไม่ชัดเจน ความถูกต้องในการรับ Input จะถูกตัด เวลาที่เราทำ Input ด้วยการเรียนรู้อะไรสักอย่าง เช่น เรียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือเข้าคอร์สเรียนพิเศษต่างๆ เราต้องตั้งทิศทางและเป้าหมายไว้เสมอ ใช้เวลาแค่นิดเดียวเท่านั้น มันจะช่วยเพิ่มความถูกต้องในการทำ Input ได้อย่างก้าวกระโดด

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะเรียนภาษาอังกฤษ ให้คิดว่าทำไมจึงเรียน เราอาจจะเรียนเพราะต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศ คีย์เวิร์ดคือ ภาษาอังกฤษ ส่วนเรียนต่อต่างประเทศคือ คีย์เวิร์ดแสดงทิศทาง

หลังจากนั้นก็ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าเรียนแล้วอยากทำอะไรต่อ สมมติว่าเราอยากเรียนเพราะว่าเราอยากร่วมโปรแกรม Working Holiday ที่ออสเตรเลีย ก็ฟังดูเป็นรายละเอียดที่ชัดเจนพอสมควรว่าเราต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษเท่าไรจึงจะไปได้ แล้วเราจะไปได้เมื่อไร เช่น 2022 เป็นต้น เมื่อเรากำหนดทิศทางอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้ได้แล้ว เราจะรู้ว่าต้องซื้อหนังสือเรียนแบบไหน เรียนพิเศษที่ไหนดี

แต่ถ้าเราคิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษ ‘น่าจะ’ มีประโยชน์ แต่ไม่รู้ว่าอยากได้ความรู้มากแค่ไหนอยากสอบได้คะแนนเท่าไร หรือจะเอาภาษาอังกฤษไปใช้ทำอะไร เมื่อไม่รู้เป้าหมายการเรียน เราจะไม่สามารถเลือกวิธีเรียนหรือตำราเรียนได้อย่างหมาะสม ดังนั้น เราจะต้องจับคู่ Input กับการกำหนดเป้าหมายให้เหมาะสม

และกฎข้อสุดท้ายของ Input ซึ่งเป็นกฎการพัฒนาตนเองที่สำคัญที่สุดจากหนังสือ The Power of Output นั่นก็คือการใช้ Input คู่กับ Output ควบคู่ไปด้วยกัน

Input กับ Output เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน การทำสองสิ่งนี้และทำ ‘ฟีดแบ็ก’ วนไปเรื่อยๆ จะทำให้เราพัฒนาตัวเองได้ แต่ปัญหาจริงๆ ที่เราเจอในชีวิตประจำวันคือเราต้องทำ Input และ Output ไปพร้อมๆ กัน เช่น การแข่งขันเทนนิส เราต้องมองบอลและการเคลื่อนไหวของคู่แข่งไปพร้อมกับการคาดเดาของการเคลื่อนไหวต่อไปของอีกฝ่าย พร้อมกับขยับเท้าตัวเองไปด้วย


@@@@@@@

สรุปคือ เราต้องรับข้อมูลซึ่งเป็น Input ไปพร้อมกับการปฏิบัติซึ่งเป็น Output หากเรารอจนกว่าจะจับตำแหน่งของบอลให้ได้ก่อน แล้วค่อยขยับเท้า ย่อมตามลูกบอลไม่ทันแน่นอน

การสนทนากับผู้คนในชีวิตประจำวันก็เช่นกัน การฟังคือ Input การพูดคือ Output แต่เราไม่ได้ทำสองสิ่งนี้สลับกัน ขณะที่เราฟัง เราต้องคิดไปด้วยว่าเราจะตอบอะไร ดังนั้น ในความเป็นจริง เราแทบจะฟังและพูดไปพร้อมๆ กัน

การฟังพร้อมกับจดโน้ตก็เช่นกัน เราไม่ได้จดโน้ตเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งพูด แต่เราฟังที่เป็น Input และเขียนที่เป็น Output ไปพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนี้เอง สองสิ่งนี้ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน และมักจะเป็นการกระทำที่ต้องทำแทบจะพร้อมกันหรือทำในเวลาเดียวกัน

เพราะฉะนั้น สามารถสรุปได้ว่า Input และ Output เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน และหากจะเปรียบเทียบกับเหรียญห้าร้อยเยน Input คือด้านหน้าของเหรียญ Output คือด้านหลังของเหรียญถึงเราจะต้องการจ่ายเงิน 250 เยนก็ไม่สามารถลอกเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของเหรียญออกมาเพื่อจ่ายเงินได้

บอกได้ว่า Input และ Output เป็นของคู่กันที่ไม่อาจตัดขาดกันได้ หากเราใช้ประโยชน์จากลักษณะของทั้งสองสิ่ง คือการทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้น และยังทำให้การเรียนรู้หรือการทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย

@@@@@@@

นอกจากกฎ 3 ข้อของ Input ที่จะทำให้เราจำสิ่งต่างๆ ได้ดี มีระบบการทำงานที่เป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว การทำสมาธิเป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่ช่วยทำให้เรากลับมาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้าได้นานขึ้นซึ่งในปัจจุบันก็มีตัวช่วยหลากหลายที่ทำให้การทำสมาธิมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยวิธีนั้นก็คือ…

‘การใช้แอปพลิเคชันทำสมาธิ’

ในปัจจุบัน มีแอปพลิเคชันการทำสมาธิให้เลือกหลากหลาย เช่น Headspace, Calm หรือ Insight Timer เป็นต้น ต้องบอกว่าเหตุผลที่ในช่วงหลายๆ ปีมานี้ คนสนใจการทำสมาธิกันเยอะขึ้น เป็นเพราะความทุกข์ของคนเราส่วนใหญ่เกิดจากอดีต หรือไม่ก็อนาคต ส่วนการที่เราอยู่กับปัจจุบันคือคอนเซ็ปต์อย่างหนึ่งของการทำสมาธิ ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ณ เวลานั้นเราไม่กังวลถึงอนาคตและไม่โหยหาอดีต การทำสมาธิเป็นช่วงเวลาเล็กๆ ที่ทำให้เรานิ่งและสงบมากขึ้น  และจะทำให้เราอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น

หลักการของการทำสมาธิ คือ ทำอย่างไรให้เรามีความคิดอยู่กับปัจจุบันได้ และฝึกทำสมาธิบ่อยๆ

การทำสมาธิแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เวลานาน เพียง 3 นาทีก็สามารถทำให้เรากลับมามีสมาธิได้แล้ว และไม่จำกัดว่าต้องเป็นช่วงก่อนนอนหรือก่อนพรีเซนต์งาน เราสามารถทำระหว่างวันการทำงานที่ออฟฟิศ ทำที่บ้าน หรือทำสมาธิก่อนที่เราจะทำสิ่งสำคัญ เช่น ไปหาลูกค้า ดีลงาน ประชุมสำคัญเป็นต้น งานสำคัญเช่นนี้เราควรจะทำสมาธิสัก 10 นาที และไม่ต้องยึดติดกับท่านั่งมากนัก  สามารถนั่งอยู่บนเก้าอี้ง่ายๆ และรวบรวมสมาธิก็พอ






อ้างอิง : หนังสือ “The Power of Input ศิลปะของการเลือก-รับ-รู้ โดย ชิออน คาบาซาวะ
ขอบคุณ : https://today.line.me/th/v2/article/XYaNQGk
Mission To The Moon , เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • Pattraporn Hoy
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ