ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สติทั่วไป กับ สติปัฏฐาน ต่างกันอย่างไร.?  (อ่าน 798 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สติทั่วไป กับ สติปัฏฐาน ต่างกันอย่างไร.?
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2021, 09:41:38 am »
0



สติทั่วไป กับ สติปัฏฐาน ต่างกันอย่างไร.?

สติปัฏฐานมีการป้องกันวิปลาส คือ ความเห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 4 ประการ คือ
     สุภวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนว่างาม 1
     สุขวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนว่าเป็นสุข 1
     นิจจวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนว่าเที่ยง 1
     อัตตวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อนว่าเป็นอัตตา 1

โดยเรียกรวมว่า สติปัฏฐาน 4 คือ
สติที่เข้าไปตั้งไว้ที่กาย เป็นไปกับการพืจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1
สติที่เข้าไปตั้งไว้ที่เวทนา เป็นไปกับการพิจารณาเวทนา เรียกว่า เวทนานุปัวสนาสติปัฏฐาน 1
สติที่เข้าไปตั้งไว้ที่จิต เป็นไปเพื่อพิจารณาจิต เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติป้ฏฐาน 1
สติที่เข้าไปตั้งไว้ที่ธรรม เป็นไปเพื่อพิจารณาธรรม เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1

เมื่อสติดังกล่าวป้องกันวิปลาสไม่ให้อิงอาศัยธรรม 4 อย่าง มี กายเป็นต้น ตัณหาก็ขาดอาหารคือวิปลาส ก็เกิดขึ้นครอบงำการปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นการปฏิบัติจึงกล่าวได้ว่า "มีสติปัฏฐาน 4 เป็นเบื้องต้น มี วิปัสสนาเป็นท่ามกลาง มีพระอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เป็นที่สุด"

พูดง่ายๆว่า การปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ทั้งปวงนี้ ที่จะเว้นไปจากการเจริญสติปัฏฐานนี้หามีไม่ เพราะฉะนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า การเจริญสติปัฏฐานเป็นอุบายดับทุกข์ทั้งปวง ข้อนี้ก็สมจริงตามที่ตรัสสรรเสริญ

อานิสงส์ของสติปัฏฐานไว้ใน มหาสติปัฏฐานสูตร(ที.มหา. 10/321, ม.มู. 12/90)ว่า

”เอกายโน อยํ ภิกขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา.”

แปลว่า ”ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งความเศร้าโศกร่ำให้รำพัน เพื่อความดับเสียได้ ซึ่งความทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม(ธรรมที่ควรรู้ คือ พระอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.) เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง มรรคนี้คืออันใดเล่า คือ สติปัฏฐาน 4 นั่นแล.”


@@@@@@@

คัมภีร์นิสสยะ อักษรปัลลวะ อักษรส่งหล อักษรขอม กล่าวแจงรายละเอียดดังนี้ :-

จริตของวิปัสสนากรรมฐาน มี 2 คือ ตัณหาจริต และทิฏฐิจริต โดยจริตแบ่งย่อยตามสติปัฏฐาน 4 ดังนี้
1. บุคคลตัณหาจริตกล้าปัญญาน้อย เหมาะกับกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีการป้องกันสุภวิปัลลาสเป็นประธาน
2. บุคคลที่ตัณหาจริตอ่อนปัญญากล้า เหมาะกับเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน มีการป้องกันสุขวิปัลลาสเป็นประธาน
3. บุคคลทิฏฐิจริตกล้าปัญญาน้อย เหมาะกับจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีการป้องกันนิจจวิปัลลาสเป็นประธาน
4. บุคคลทิฏฐิจริตอ่อนปัญญากล้า เหมาะกับธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีการป้องกันอัตตวิปัลลาสเป็นประธาน

เหตุที่จริตทั้งสอง และสติปํฏฐาน 4 มีความเหมาะสมกันดังกล่าว ก็เพราะว่า สัตว์บุคคลจะเห็นว่า
     1. งามในกายเป็นประมาณ
     2. เป็นสุขในเวทนาเป็นประมาณ
     3. เที่ยงในจิตเป็นประมาณ
     4. เป็นอัตตาในธรรมเป็นประมาณ

@@@@@@@

เหตุที่สติทั่วไปต่างกับสติปัฏฐาน ก็เพราะสติเป็นโสภณสาธารณะเจตสิก ย่อมเกิดได้กับจิตฝ่ายดีทุกประเภท ทั้งที่เป็นญาณวิปยุต และที่เป็นญาณสัมปยุต ส่วนวิปัสสนาญาณเป็นสัมปยุตแน่นอน ดังนั้นวิเสสลักขณะของสติทั่วไปกับของสติปัฏฐานจึงต่างกันดังนี้

      วิเสสลักขณของสติทั่วไป
      1. มีความไม่เลื่อนลอยเป็นลักษณะ
      2. มีความไม่หลงลืมเป็นกิจ
      3. มีความระมัดระวังเป็นผลปรากฏ
      4. มีความจำได้แม่นเป็นเหตุใกล้

      วิเสสลักขณะของสติปัฏฐาน
     1. มีการกำหนดเป็นลักษณะ
     2. มีการเกื้อต่อสัมปชัญญะเป็นกิจ
     3. มีการรั้งจืตให้ตั้งอยู่ในกรรมฐานเป็นผลปรากฏ
     4. มี กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเหตุใกล้

คัมภีร์นิสสยะ อักษรมอญ อักษรพม่า อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมล้านช้าง และอักษรโรมัน ขยายความเพิ่มเติมว่า อารมณ์ของสติปัฏฐาน มี กาย เวทนา จิต ธรรม ปรากฏแยกเป็นนามรูป กระจายฆนสัญญา(ความสำคัญว่าเป็นกลุ่มก้อน) เหมือนบ้านที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ความสำคัญว่าเป็นบ้านก็เกิดขึันไม่ได้ ในวิปัสสนาญาณแรก คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ด้วยกำลังการกำหนดแยกของสติปัฏฐานนั่นเอง







ขอขอบคุณ :-
บทความของ : สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
web : dhamma.serichon.us/2021/11/21/สติทั่วไปกับสติปัฏฐานต-2/
posted date : 21 พฤศจิกายน 2021 ,By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



สติวิปลาส | คนบ้าอาจจะวิปลาสแค่ชาตินี้ คนไม่บ้าแต่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี..วิปลาสทุกชาติ


สติวิปลาส อ่านว่า สะ-ติ-วิ-ปะ-ลาด ประกอบด้วยคำว่า สติ + วิปลาส

(๑) “สติ”

รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = คิด, ระลึก; เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (สรฺ > ส) : สรฺ + ติ = สรติ > สติ แปลตามศัพท์ว่า
     (1) “กิริยาที่ระลึกได้”
     (2) “ธรรมชาติเป็นเหตุให้ระลึกได้”
     (3) “ผู้เบียดเบียนความประมาท”

“สติ” (อิตถีลิงค์) หมายถึง ความระลึกได้, การจำได้, สติ; ความตั้งใจ, การมีใจตื่นอยู่, ความตระหนัก, ความระมัดระวัง, ความเข้าใจ, การครองสติ, มโนธรรม, ความมีสติถึงตนเอง (memory, recognition, consciousness, intentness of mind, wakefulness of mind, mindfulness, alertness, lucidity of mind, self-possession, conscience, self-consciousness)

@@@@@@@

(๒) “วิปลาส”

บาลีเป็น “วิปลฺลาส” (วิ-ปัน-ลา-สะ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + ปริ (คำอุปสรรค = รอบ) + อสฺ (ธาตุ = ซัด, ขว้างไป) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลง อิ ที่ ปริ เป็น ย (ปริ > ปรฺย), แปลง ร ที่ ปรฺ เป็น ล (ปรฺ > ปลฺ), แปลง ลฺย (คือ ปริ > ปรฺย > ปลฺย) เป็น ล (ปลฺย > ปลฺ), ซ้อน ล, ทีฆะ อะ ที่ อ-(สฺ) เป็น อา (อสฺ > อาส) : วิ + ปริ = วิปริ > วิปรฺย > วิปลฺย > วิปล > วิปลฺล + อสฺ = วิปลฺลส + ณ = วิปลฺลสณ > วิปลฺลส > วิปลฺลาส

“วิปลฺลาส” (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ขว้างไปผิด” หมายถึง ความแปรปรวน, ความพลิกผัน, การกลับกัน, ความเปลี่ยนแปลง (โดยเฉพาะในทางไม่ดี), ความตรงกันข้าม, ความวิปริต, การทำให้ยุ่งเหยิง, ความเสียหาย, ความผิดเพี้ยน (reversal, change (esp. in a bad sense), inversion, perversion, derangement, corruption, distortion)

“วิปลฺลาส” สันสกฤตเป็น “วิปรฺยาส” , สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า (สะกดตามต้นฉบับ)
“วิปรฺยาส : (คำนาม) ‘วิบรรยาส,’ ไวปรีตย์, ความวิปริต, วิปักษตา; วิการ, ปริณาม, หรือความวิบัท; การคิดเห็นสิ่งที่ผิดเปนชอบหรือเห็นเท็จเปนจริง; contrariety, opposition; reverse; imagining what is unreal or false to be real or true.”

“วิปลฺลาส” ภาษาไทยเขียน “วิปลาส” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“วิปลาส : (คำกริยา) คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น สติวิปลาส ตัวอักษรวิปลาส สัญญาวิปลาส. (ป. วิปลฺลาส, วิปริยาส; ส. วิปรฺยาส).”


@@@@@@@

สติ + วิปลาส = สติวิปลาส แปลว่า (1) “สติที่แปรปรวน” (2) “ความแปรปรวนแห่งสติ”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“สติวิปลาส : (คำวิเศษณ์) มีสติฟั่นเฟือนคล้ายคนบ้า, สัญญาวิปลาส ก็ว่า.”

“สติวิปลาส” เป็นคำบาลีที่ผูกขึ้นใช้ในภาษาไทย ในคัมภีร์บาลียังไม่พบคำ “สติวิปลฺลาส” แต่มีคำอื่นที่คล้ายกัน ดังนี้
    – สญฺญาวิปลฺลาส = สัญญาคลาดเคลื่อน คือหมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง
    – จิตฺตวิปลฺลาส = จิตคลาดเคลื่อน คือความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง
    – ทิฏฺฐิวิปลฺลาส = ทิฐิคลาดเคลื่อน คือความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง

ในทางพระศาสนา ท่านว่าวิปลาสที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ –
     1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (to regard what is impermanent as permanent)
     2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (to regard what is painful as pleasant)
     3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (to regard what is non-self as a self)
     4. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม (to regard what is foul as beautiful)

________________________________________________
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต

ดูก่อนภราดา.! คนบ้าอาจจะวิปลาสแค่ชาตินี้ คนไม่บ้าแต่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี วิปลาสทุกชาติไป





ขอขอบคุณ :-
บทความของ : ทองย้อย แสงสินชัย
web : dhamma.serichon.us/2018/05/24/สติวิปลาส-อ่านว่า-สะ-ติ-ว/
posted date : 24 พฤษภาคม 2018 admin   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ