ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุไร.? "พระพุทธพจน์" จึงต้องใช้ "ภาษาบาลี" รักษาดำรงไว้.?  (อ่าน 674 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เหตุไร.? "พระพุทธพจน์" จึงต้องใช้ "ภาษาบาลี" รักษาดำรงไว้.?

1. เป็นสภาวภาษา เพราะเกิดจากรากศัพท์(ธาตุ) และปัจจัย(ส่วนเติมแต่ง) ทำให้กำหนดสภาวธรรมได้ชัดเจน รัดกุม ตรงเป้าหมาย เช่น คำว่า ”ขันธ์“ ก็เกิดจาก ข(ขปุพโพ)=ว่างเปล่า + ธา(ธาตุ)=ทรงไว้+อ​ ปัจจัย สำเร็จเป็น ขนฺธ โดยสภาวธรรม(ปรมัตถ์) ก็คือ ธรรมที่ทรงความว่างเปล่าจากอัตตาตัวตนไว้ โดยศัพท์(บัญญัติ) ก็คือ สิ่งมีลักษณะ เป็น หมวด, หมู่, พวก, กอง, คณะ, ส่วน, ตอน เป็นต้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ภาษาศัพท์บอกข้อกำหนดนิยาม” (ภาษาศัพท์เท็คนิค ที่คนไทยเรียกว่าศัพท์วิชาการนั่นแหละ)

2. เป็นภาษาที่มีระเบียบแบบแผน(ตันติภาษา) พอเห็นองค์ประกอบของคำศัพท์(ราก+ปัจจัย) ก็จะรู้ประเภทของคำ มี คำนาม, คำกิริยา, คำวิเสสนะ เป็นต้น และเข้าใจสถานภาพของคำที่บ่งบอก กาล, บท(หน้าที่), วจนะ, บุรุษ, การกะ, อายตนนิบาต และแม้อรรถพื้นผิว(อรรถทั่วไป), อรรถเชิงลึก(อรรถที่ซ่อนอยู่) ความเป็นระเบียบแบบแผนก็บ่งบอกได้ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ”ภาษาศัพท์อมความ“

3. เป็นภาษามูล ที่ใช้กันตั้งแต่ยุกต้นกัป (พึงศึกษารายละเอียดเรื่องกัป 4 ประเภท มี อายุกัป 1 ,อันตรกัป 1 ,อสงไขยกัป 1 ,มหากัป 1 ในอรรถกถาฎีกา) จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ”ภาษายุกต้นก้ป“

4. เป็นภาษาที่มีคุณสมบัติดังได้กล่าวมาแล้ว ทำให้กระชับ รัดกุม ตรงเป้าหมาย เหมาะกับการรักษาพระพุทธพจน์ จึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า ”ภาษาบาลี” แปลว่า ภาษาที่รักษา คือ ทรงพระพุทธพจน์ไว้ แม้ภาษาสันสกฤต​ซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียง​กัน​ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต​ ปรับอาบัติเอาเสียด้วยซ้ำ​ แล้วไฉนเลยเหตุผลอื่น จะเหนือไปกว่าพุทธบัญญัติ​ผู้เป็นพระสัพพัญญู​เล่า.?

@@@@@@@

ถาม : ในไวยากรณ์​ ท่านจะเห็นเหตุอันเป็นที่มาของการได้ชื่อทั้ง​ 4​ ประการ จากส่วนไหนในไวยากรณ์.?

ตอบ : จากสาธนะทั้ง​ 7​ ประเภท​ ดังนิยาม(วจนัตถะ) ​ที่มีรูปวิเคราะห์​ว่า​ ”สาธียติ​ นิปฺผาทียติ​ กฺริยา เตนาติ​ สาขธนํ​” (สาธ+เณ+ยุ)​ แปลว่า​ ” กิริยานุเคราะห์​อันเป็นอรรถ​ภายนอก​(พาหิยัตถะ=อรรถของปัจจัย)​นั้่นแหละ​ ที่ช่วยให้​กิริยาอาการของธาตุ​อันเป็นอรรถภายใน(อันตัตถะ=อรรถของธาตุ)​ สำเร็จ​เป็นสาธนะ(ศัพท์รูปแบบปรกติที่ยังไม่ได้จำแนกวิภยัติที่เรียกว่าลิงค์=เพศ, นาม=ชื่อเรียก, ปาฏิีปทลิกะ=คำเจาะจงถึง, นั่นเอง)

ถามว่า​ : ศัพท์​สำเร็จรูปที่มีอาการทั้ง​ 4​ ประเภท(สาธนะ)​ย่อมมีอรรถสุขุมลุ่มลึก​ เช่น​ กัตตุสาธนะ​ มีคำว่า​ ”พุทธ​ะ” ที่แปลว่า​ ”ผู้ตรัสรู้อริยสัจ​ 4​” มี​ 3​ ประเภท​ คือ​
    สัมมาสัมพุทธะ​ 1
    ปัจเจกพุทธะ​ 1
    สาวกพุท​ธะ 1
ไม่ใช่ในความหมายว่า​ พระพุทธเจ้าเฉยๆ​ หรือพระศาสดาเฉยๆ​ โปราณาจารย์​ทั้งหลายเหล่านั้น​ มีพระอรรถกถาจารย์, พระฏีกาจารย์​ และ​ พระนิสสยาจารย์​ พวกท่านรักษาอรรถที่สุขุมลุ่มลึกดังกล่าว ไว้ได้อย่างไร.?

ตอบว่า​ : ด้วยการตั้งรูปวิเคราะห์​ศัพท์​ ที่เรียกว่า​ สัททัตถะ และ​ ด้วยการอธิบาย​ ที่เรียกว่า​ อธิปปายัตถะ นั่นเอง ดังนั้นเพื่อการจรรโลง​พระศาสนา​ไว้มิให้เลอะเลือน​เสื่อมหายไป​ ชาวพุทธ​บริษัท​พึงให้ความสำคัญรูปวิเคราะห์​ศัพท์​ และอธิปปายัตถะ จากคัมภีร์​ สังวัณณ​านิยาม(คัมภีร์​กฏเกณฑ์​พิจารณา​รูปวิเคราะห์​ศัพท์เพื่อการอรรถาธิบาย​ที่ถูกต้อง)​ และ​ คัมภีร์​ สังวัณณาวิจาร(คัมภีร์​ตรวจสอบ​รูปวิเคราะห์​ศัพท์​เพื่อการอรรถ​าธิบายที่ถูกต้อง)​เถิด.





ขอขอบคุณ :-
คอลัมน์ : ถามตอบปัญหา และ สนทนาธรรมตามกาล โดย สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
web : dhamma.serichon.us/2021/11/20/เหตุไรพระพุทธพจน์จึงต้/
Posted date : 20 พฤศจิกายน 2021 ,By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ