ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ  (อ่าน 10050 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ช่วงนี้รู้สึก จิตใจ มันสั่นระรัว อยู่ที่หน้าอกเลยครับ พอนึกถึงอนาคตที่จะเกิด ( เกิดขึ้นจริง ไม่รู้จะเวลาไหน )
ที่สำคัญเราอาจจะแก้ปัญหาได้ เพียง 10 เปอร์เซ็น แก้ไม่ได้ 90 เปอร์เซ็น พอนึกถึงแล้วรู้สึกเป็นกังวลมากครับ รู้สึกทุกข์ แต่พอนึกถึงธรรมแล้ว ก็คลายได้บ้าง แต่สุดท้ายจิตก็ยังพะวักพะวงอยู่้ตรงนั้น เหมือนรอประทุ และรอว่าเราจะทำอย่างไร

  อาการที่เกิดขึ้นก็คือ รู้สึกตรงกลางหน้าอก โหวง ๆ วังเวง อึดอัด พาลให้บางครั้งถ้าคุมอารมณ์ไม่ได้ก็จะรู้สึกกระสับกระส่าย แต่ยังนอนหลับตามปกติ

   คือกำลัง ทำใจให้ยอมรับ กับสิ่งที่จะเกิดครับ

   อยากแลกประสบการณ์ กับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ญาตธรรม ทุกท่านที่เคยผ่านเหตุอย่างนี้ ผ่านกันมาอย่างไรครับ ด้วยวิธีการปฏิบัติ ดูแลจิตใจอย่างไร ครับ


 สาธ ยามเช้า ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2012, 10:18:54 pm »
0
ผมขอแสดงความคิดเห็นโดยส่วนตัวของผมเท่าที่จับใจความได้ในกระทู้ที่คุณกล่าวมานะครับว่า

1. เหตุของความกระวนกระวายใจไม่เป็นสุขสงบ

- ความกระวนกระวายใจ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อจิตใจคุณคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ผมก็เป็นเช่นกันครับ เมื่อบางครั้งอยู่ๆใจมันคิดมากปรุงเรื่องราวไปทั่วเกิดเป็นความทะยานอยากจะทำนั่นทำนี้ อยากใคร่จะได้เสพย์อารมณ์ทีพอใจ หรือ ทะยานอยากที่จะให้สิ่งที่เราไม่ชอบไม่ต้องการนั้นไม่คืบคลานเข้ามาหา หรือ อยากจะผลักสิ่งนั้นๆให้หนีไกลออกไปจากชีวิตตน

1.1 อาการที่เกิดจากความตรึกนึกกลัว
- หากสิ่งที่กระวนกระวายใจเกิดขึ้นจากความกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น มันมาจากการที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายแก่ใจแล้วตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับ รัก โลภ โกรธ หลง อยู่เนืองๆอย่างนี้ว่า เราชอบพอใจ ใคร่ยินดีต้องการที่จะให้ บุคคล หรือ สิ่งของ ในเรื่องราวต่างๆที่เราตรึกนึกอยู่นั้น ให้มันเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ให้ทุกอย่างดำเนินเป็นไปดั่งที่ใจเรานั้นพอใจยินดี เช่น อยากให้มีคนมารัก มีคนเมตตาเห็นใจ อยากให้ตนเองทำงานดีๆมีเงินเยอะๆ อยากให้ตนเองไม่มีหนี้สิน อยากจะอยู่กับคนที่เรารักโดยคนที่เรารักนั้นยอมและเข้าใจเราเสมอๆ อยากให้คนหรือสิ่งของที่เรารักนั้นอยู่กับเราตลอดไป พร้อมนึกปรุงแต่งเรื่องราวที่พอใจยินดีว่าถ้าได้อยู่หรือเป็นไปแบบที่เราพอใจนี้มันจะมีสุขมาก เป็นต้น
- แต่ครั้นเมื่อความเป็นจริงที่เรานั้นได้ดำเนินชีวิตอยู่ สิ่งที่เราตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีนั้น มันอาจจะเป็นไปได้น้อยในชีวิตคนเราทั่วไป ที่จะได้ดังเช่นหวังนั้นตามต้องการในความเป็นจริง เราก็เกิดความกลัวขึ้นมาว่าหากไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะเป็นเช่นไร จะอยู่ยังไง จนทำให้สภาพความรู้สึกจากการปรุงแต่งนึกคิดนั้นๆเกิดเป็นสภาพจิตที่กรีดหวิว สั่นเครือ กระวนกระวาย เพราะเราไม่ต้องการที่จะให้ สิ่งต่างๆที่เราไม่รัก ไม่พอใจยินดี อยากจะผลักหนีให้ไกลตนนั้นมันเกิดขึ้นกับเรา โดยที่มันไม่เป็นไปตามความปารถนาใคร่ได้ยินดีนั้นๆของเรา สิ่งนี้แหละครับที่เราเรียกกันว่า "ความกลัว"

1.2 อาการที่เกิดจากความเป็นจริงที่กำลังจะเกิดขึ้น
- หากสิ่งที่กระวนกระวายใจเกิดขึ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราไม่ต้องการนั้น เกิดขึ้นจริงและกำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ เหตุของความรู้สึกนี้นั้นมาจากความพอใจยินดีเช่นกันครับ คุณมีความพอใจยินดีที่จะมีอยู่ ที่จะไม่พรัดพราก ที่จะไม่สูญเสียสิ่งที่รักที่พอใจยินดีทั้งหลายไป
- แต่ครั้นเมื่อความเป็นจริงแล้วมันไม่เป็นไปตามสิ่งที่คุณตรึกนึกพอใจยินดีตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ คุณก็เกิดความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี คุณก็เลยเกิดความทุกข์เป็นที่สุด ทุกข์จากการต้องสูญเสียสิ่งที่รักที่พอใจ ทุกข์เพราะชีวิตจริงมันไม่เป็นไปตามความตรึกนึกพอใจของคุณ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นมา
- เมื่อสิ่งข้างต้นนี้เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติและสัญชาติญาณของคน มันก็ต้องตรึกนึกที่จะหาทางออก ทางหนีทีไล่ ทางที่จะทำให้คุณหลุดพ้นจากทุกข์นั้น จนสร้างเป็นความปรุงแต่งไปต่างๆนาๆไปรู้จบ ความคิดฟุ้งซ่านก็เลยเกิดขึ้นแก่จิตใจคุณ เมื่อมีมากขึ้นสะสมมากๆเข้า ใจคุณก็กระวนกระวาย อัดอั้น คับแค้นกาย-ใจ กรีดใจ หวีดใจ ทะยาน ขุ่นข้องขัดเคืองใจ ร่ำไร รำพัน โศรกเศร้า เสียใจ ติดข้องใจไปหมดทุกๆอย่าง


2. ทางดับทุกข์นั้น

2.1 ทางดับทุกข์มีเริ่มต้นที่
- คุณต้องหยุดที่จะคิดฟุ้งซ่านก่อน โดยการจะหยุดคิดได้นั้น คุณต้องรู้จักทำสมาธิ หายใจเข้า "พุทธ" หายใจออก "โธ" ตั้งจิตระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์ อธิษฐานขอให้เปิดทางให้ใจพบความว่างเพื่อเห็นทางออกจากทุกข์นั้น แล้วทำสมาธิไป
- หากเมื่อมันคิดฟุ้งซ่านขึ้นมาอีกก็ให้คุณมีสติระลึกรู้ตนว่า เพราะคิดปรุงแต่งอยู่อย่างนี้ เพราะคุณมีความติดข้องใจจากความคิดปรุงแต่งนี้อยู่ทำให้คุณเกิดความสับสนวุ่นวายใจ ยอมรับความเป็นไปตามสัจธรรมที่ว่า คนเรามันไม่ได้ตามความปารถนาใครได้ยินดีไปทั้งหมดทุกอย่าง ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ คนเราต้องมีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่มีใครจะหลุดพ้นสิ่งนี้ไปได้ จะพรัดพรากช้าเร็ว ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาของเรา ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และ กาลเวลา มันไม่คงอยู่เที่ยงแท้แน่นอนตลอดไป ทุกอย่างมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีความเสื่อมไป มีความดับไปเป็นธรรมดา เราไม่สามารถไป ยึดถือ จับต้อง บังคับ ให้สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นไปดั่งที่เราต้องการได้ เพราะมันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับมันได้ ก็เพราะเรามีความไม่สมปารถนา มีความพรัดพรากนี้ ทำให้ก่อเกิดเป็นความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดีทั้งหลายนี้ในชีวิตประจำวันอยู่ทุกวันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตาม กรรม คือ การกระทำของเราโดยเจตนาที่เป็นปัจจุบันขณะ หรือ ที่ผ่านมาแล้ว
- เมื่อยอมรับกับสัจธรรมนี้ ตามพุทธวจนะข้างต้นนี้แล้ว จิตย่อมลงสู่จิตที่ปลงต่อสภาพแวดล้อมและความนึกคิด ก็ตั้งระลึกว่ามันมาจากความติดข้องใจจากการที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัสทางกาย รู้และปรุงแต่งในทางใจ ละความติดข้องใจจากความคิดฟุ้งซ่านนั้นเสีย เพราะมันไม่เกิดประโยชน์ใดๆแก่เราเลย มีแต่ความทุกข์เท่านั้น มันเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆไม่ได้นอกจากยอมรับมันตามจริง ด้วยความไม่ติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้นๆ

** หากคุณทำสมาธิ แล้วเพียรระลึกอยู่เช่นนี้ทุกครั้งที่เกิดความคิดฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นสติที่ประกอบด้วยวิตกเจตสิกแห่งกุศลพิจารณาสภาพธรรมตามจริง วิธีนี้เรียกว่า "สู้กับตัณหาทั้ง 3 โดยตรง" ไม่ต้องไปย้ายจิตให้ทำสิ่งใดๆเพื่อลบหรือหันเหความคิดฟุ้งซ่านนั้นๆ เพราะธรรมชาติจิตมันคิด เราจึงใช้คิดที่ประกอบด้วยความเป็นกุศลของ สติ และ วิตกเจตสิก ย้อนสยบมัน เมื่อทำไปเรื่อยๆจนจิตเกิดความไม่ติดข้องใจสิ่งใด ความคิดฟุ้งซ่านจะหายไปเข้าสู่อุเบกขาจิตจนถึงความว่างที่เป็นกุศลตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ และ อัปนาสมาธิ ที่เรียกว่าหมดใน รัก โลภ โกรธ หลง หรือ อารมณ์สมถะ
** เมื่อสมองคุณโล่งมี สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ ปัญญาทั้งทางธรรมและทางโลกย่อมเกิดแก่คุณ การหาทางออกที่ดีก็จะมีมากขึ้นเพราะได้ลบ "ขยะในสมอง(ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ)" ไปแล้ว

2.2 เจริญปฏิบัติตามพระธรรมอันประเสริฐที่ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลดังนี้
คุณต้องถือเจริญปฏิบัติตามข้อธรรมและแนวทางที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันทั้งหลายนี้ คือ คงอยู่ในความเป็นกุศล ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน คิดดี พูดดี ทำดี


ลองปฏิบัติดูแนวทางของผมประกอบกับแนวทางของท่านผู้รู้ท่านอื่นควบคู่กันไปครับ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่คุณได้แน่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แนวทางผมอาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดแต่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เอื้ออำนวยต่อแนวทางของผู้รู้อีกหลายๆท่าน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้บุญอันใดที่ผมได้กระทำมาแล้ว ทั้งการปฏิบัติใน สมถ-วิปัสนา ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาแล้ว ได้ช่วยให้คนที่ทุกข์เห็นทางพ้นจากทุกข์ด้วยธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเจ้านี้แล้วดัน ขอจงดลบรรดาลให้คุณได้หลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ทั้งหลายนี้ แล้วมีแต่ความสุขกายสบายใจ ปิติอิ่มเอมสุข สมเร็จสมหวังตามปารถนาในสิ่งที่ดี ในทันทีด้วยเดชแห่งบุญนั้น

แล้วอย่าลืมปฏิบัติธรรมด้วยนะครับชีวิตคุณจะดีขึ้น ในเวบนี้มีครูบาอาจารย์ที่ชี้นำแนวทางที่ถูกต้องและดีงามมากมายลองเก็บเกี่ยวสอบถามกับพระคุณเจ้าและท่านผู้รู้ทั้งหลายนะครับ เป็นประโยชน์แก่คุณแน่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2012, 10:35:03 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2012, 08:33:32 am »
0
ขอบคุณ ท่าน Admax มากครับ ที่มาให้คำแนะนำผมเป็นคนแรก ครับ รู้สึกอุ่นใจขึ้นบ้างครับ

 ที่เหลือ คือวิธีทำใจ สิครับ ที่ผมยังคั่งค้างในใจ เพราะเวลาที่ทำกรรมฐาน เรื่องเหล่านี้จะเกิดขึ้นมารบกวนจิตใจผมเป็นอย่างมาก ทำให้จิตไม่นิ่ง ผมจึงอยากทราบวิธีการที่จะทำให้จิตคลาย ก่อน

  มีคำพูดของพระอาจารย์ ประโยคหนึ่งที่ผมยังจำได้ดี ว่า รู้ตัว ดีกว่าไม่รู้ตัว

  แต่ผมรู้ตัวแล้ว ควรจะทำอย่างไรต่อไปครับ -------

   :s_hi:
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2012, 12:11:29 pm »
0
รู้ตัว ดีกว่า ไม่รู้ตัว คะ

  เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็หาวิธีการมอบงานให้กับจิตคะ ให้จิตไม่มีเวลากังวลกับสิ่งที่ไปกังวล อยู่คะ
 
  สิ่งสำคัญที่สุด ต้องไปถึงคำว่า ยอมรับความจริง อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด คะ และรู้จักปลงใจลงบ้างคะ

   :88: :49: :bedtime2:
 
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2012, 08:42:26 am »
0
ความกังวล ที่เกิดขึ้น ยังไม่สูญหายไปเลยครับ ถึงแม้จะข่มด้วยสมาธิ แล้วก็ตาม ที่จริงจะบอกว่า สมาธิก็ทำไม่ได้ครับในตอนนี้ อึดอัด และ ฟุ้งซ่านครับ โชคยังดีที่ยังนอนหลับได้ กินได้ครับ อยากได้วิธีการทำใจให้เป็นสมาธิ ให้ได้ครับ แนะนำด้วยนะครับ

 ไม่รู้ว่าจะไปอ่าน วิธีการตรงไหน ดีครับ

  :c017: :'(
บันทึกการเข้า

malee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2012, 09:50:11 am »
0
ตนเอง เป็นคนกังวล มากเหมือนกันคะ ช่วงที่ปฏิบัติกรรมฐาน นั้น ก็จะแล่นไปจับจิตไม่ได้ อยู่ประมาณ เกือบเดือนคะ หลังจากผ่ามาเดือน กว่า ๆ จึงเริ่มเป็นสมาธิได้ คิดว่าผลการฝึกคงมีตั้งแต่วันแรกแล้วคะ แต่แบบค่อยได้ เพราะใจเรายังฟุ้งซ่าน อยู่ จนกระทั่ง ความฟุ้งซ่านน้อยลงไปคะ

   ต้องอดทนและทำไปเรื่อย ๆ คะ เพราะทางเลือกของเราไม่มีอีกแล้วที่จะทำให้ใจของเราสงบ ลงได้

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2012, 02:20:48 pm »
0
1. หากเป็นแนวทางของผมนะครับ

ลองค่อยๆอ่านกระทู้แรกที่ผมตอบดูนะครับ ผมจะบอกว่า เมื่อเวลาที่จิตเราฟุ้งซ่าน มันมาจากเราไปหยิบจับเอาธัมมารมณ์ คือ สิ่งที่รู้ด้วยใจ สังขารที่ปรุงแต่งจิต สิ่งที่เป็นเรื่อง สมมติบัญญัติทางใจ แม้คุณจะไม่รับรู้ยินเสียง ไม่รับรู้กลิ่น ไม่รับรู้รส ไม่รับรู้การกระทบสัมผัสทางกาย แต่อย่างไรใจคุณก็จะปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆนาๆ ตามที่คุณเคบได้สัมผัสรับรู้มาก่อนแล้วจดจำไว้ โดยมันจะคิดถึงเรื่องราวต่างๆที่เคยเกิดขึ้นจากนั้นก็ปรุงแต่งเป็นเรื่องราวทั้งตามที่ตนเองพอใจยินดี ไม่ว่าจะเป็นด้วย โลภะ หรือ โทสะ ก็ดี เมื่อคุณจับเอาเรื่องราวความตรึกนึก หรือ มโนภาพต่างๆที่สร้างขึ้นจากความจำได้จำไว้และสมมติไปต่างๆนาๆเหล่านั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คุณก็จะเสพย์เวทนานั้นๆ(ความสุขใจ ความทุกข์ใจ)ตามความจดจำและเรื่องราวสมมติที่คุณยกเอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตขึ้นมาทันที // นี่คือภาวะการเสพย์เวทนาความเป็น สุข และ ทุกข์ จากธัมมารมณ์

2. สภาวะที่ผมใช้แก้ทางแล้วเกิดเห็นผลได้มีดังนี้ครับ

2.1 คิดย้อนความคิด
2.1.1 เมื่อธรรมชาติจิตมันคิด ดั่งคำที่ว่า ธรรมชาติใดคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต เราก็ใช้สติและสมาธินำกุศลวิตก คิดย้อนดูมันว่าที่เรามีความคิดฟุ้งซ่านต่างๆนาๆนั้นมันมาจากความจดจำในเรื่องใด เราสำคัญมั่นหมายในใจไว้อย่างไร จึงทำให้ตรึกนึกถึงประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง อยู่เนืองๆ เช่น ตรึกนึกว่ามีคนมาด่าเรา ขณะที่ตรึกนึกเอามาตั้งเป็นอารมณ์นั้นๆ เราให้ความสำคัญมั่นหมายแก่ใจต่อสิ่งนั้นว่า เรามีความพอใจยินดี หรือ เราไม่มีความพอใจยินดี เพราะเรามีความสำคัญไว้เช่นนี้จึงก่อให้เกิดความตรึกนึกประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง จนเสพย์เวทนาความ ไม่สบายกาย และ ใจ เพราะพอใจยินดีก็ชอบทะยานอยากได้ต้องการ ไม่พอใจยินดีก็โกรธคับแค้นใจทะยานอยากผลักหนีให้ไกลตน เป็นต้น ให้ดับที่ความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีที่เราสำคัญไว้นั้นๆ โดยระลึกอย่างนี้ว่าเราให้ความสำคัญมันไปมากเท่าไหร่ เราก็จะตรึกนึกและทุกข์มากเท่านั้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นแค่สิ่งที่ผ่านมาแล้ว แล้วเราจดจำเอามานึกคิดสร้างเรื่องราวเองจาเกิดเป็นทุกข์ ให้ระลึกรู้ไว้ว่าความเป็นจริงในปัจจุบันขณะนี้แล้ว เรานั้นกำลังทำสมาธิอยู่ เดินอยู่ นั่งอยู่ เป็นต้น // แล้ววางใจไว้กลางๆไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี ด้วยใจที่รู้เจริฐปฏิบัติในการมีความเป็นกุศลแห่ง ศีล หรหมวิหาร๔ ทาน คิดดี พูดดี ทำดี
2.1.2 สร้างความคิดที่ทำให้ใจเราเป็นสุขย้อนความคิดที่ ติดข้อง ขัดข้องมัวหมองใจ โดยขณะนั่งสมาธิอยู่นั้น ให้คุณละความคิดขุ่นมัวใจออก แล้วสร้างมโนภาพหรือความคิดที่ทำให้คุณเป็นสุข โดยในสิ่งนั้นต้องเป็นเรื่องกุศล เช่น ได้ทำบุญทำทานตามความพอใจยินดี ได้สมาธิที่งดงาม ได้อยู่ในที่ๆเป็นสุขกายสบายใจ ได้พบเจอพระพุทธเจ้า เป็นต้น เพื่อให้จิตใจคุณนั้นเกิดความปิติโสมนัส ตามฉันทะเจตสิก โดยเมื่อปรุงแต่งในความเป็นกุศลแล้ว จิตจะปิติยินดีโดยตัดจากความโลภเข้าสู่กุศล

2.2 เลือกสิ่งที่ควรเสพย์
๑. เลือกความพอใจยินดีที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ ๒.เลือกความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ ๓.เลือกความวางเฉยมีใจเป็นกลางๆที่เควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ โดยสิ่งไหนที่ดีเป้นกุศลที่ควรจะเสพย์เป็นอารมณ์ ให้เลือกเจริญปฏิบัติในสิ่งนั้น และ ละไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ควรจะเสพย์ ข้อนี้ต้องอาศัยความมี สติ และ สัมปชัญญะ เป็นอย่างมาก เพราะจะต้องใช้พิจารณาในสิ่งที่ถูก ที่ควร ที่ดีงาม ที่เราควรจะทำ แล้ว เลือกเจริญปฏิบัติในสิ่งนั้น ดังนั้นในข้อนี้ต้องอาศัย ความเห็นชอบ และ พรหมวิหาร๔ เป็นเบื้องต้น

2.3 ยอมรับตามความจริง
คือการเข้าใจความเป้นจริงในสัจธรรม รู้เห็นจริงตามสัจธรรม มี ศีล ความเห็นชอบ และ พรหมวิหาร๔ และ ทาน เป็นเบื้องต้น เพื่อละในความติดข้องใจจากความตรึกนึก และ สมมติ นั้นๆ เพราะมันไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆแก่เรานอกจากทุกข์ (ดูได้ในข้อที่ 2. ทางดับทุกข์นั้น ในกระทู้แรกที่ผมตอบคุณไป)

2.4 ระลึกรู้กึ่งวิปัสนา
2.4.1 เมื่อเกิดความนึกคิดแล้วเสพย์เวทนาต่างๆไม่ว่าจะเป็น สุข ทุกข์ เฉยๆ มีความดำเนินไปของกิเลสที่เป็นอย่างไร เช่น รักใคร่ได้ยินดี โลภ โกรธ หลง
- หากคุณคิดในทางที่เป็นไปเพื่อความ รัก โลภ โกรธ หลง ก็ให้รู้ว่าขณะนั้นเรามีความคิดที่เป็น "อกุศลจิต" อยู่
- หากคุณคิดไปในทางที่ไม่เบียดเบียนทำร้ายคนอื่น คิดดำรงอยู่ในความที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข อนุเคราะห์เอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น รู้จักการอดโทษแก่คนอื่น รู้จักการให้เพื่อให้ผู้รับเป็นสุขโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนกลับคืน ยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข ให้รู้ว่าขณะนั้นคุณมีความคิกที่เป็น "กุศลจิต"
2.4.2 เมื่อรู้ในความคิดแล้ว ให้มารู้ในสภาพความจริงของความรู้สึกที่เกิดขึ้นแก่เราว่ารู้สึกเช่นใดอยู่ 
- หากสติระลึกรู้ความรู้สึกในขณะนั้นว่า มีความอัดอั้นใจ อึดอัดใจ คับแค้นใจ ขุ่นมัวใจ ทะยานใจ กรีดใจ หวีดใจ หวิวใจ ติดข้องใจ เป็นต้น นี่คือ อกุศลจิต
- หากสติระลึกรู้ความรู้สึกในขณะนั้นว่า มีความสงบ อบอุ่น ปิติยินดี อิ่มเอมใจ สุขกาย สบายใจ โดยตัดขาดจากความติดข้องใจ ไม่ติดข้องต้องการ ไม่ขุ่นมัวขัดข้องใจ เป้นต้น นี่คือ กุศลจิต
- ให้ระลึกรู้ในสภาพความคิดกึ่งวิปัสนานี้ไปเรื่อยๆ ใจเราจะจดจ่อรู้สภาพความจริงที่เรียกว่า ปรมัตถธรรมมากขึ้น กว่าที่เราจะไปเสพย์เวทนาจากความคิดปรุงแต่ง บัญญัติ ในธัมมารมณ์

2.5 ระลึกรู้คิดแยกจิตว่างออกจากการความคิดปรุงแต่ง
- ขณะคุณรู้ตนว่ากำลังคิดอกุศลอยู่ ในขณะนั้นสภาพจิตที่เป็นอกุศลของคุณจะเกิดขึ้นสลับกับสติความระลึกรู้และรู้ตัว คุณจะรู้ทันทีว่าในขณะนั้นทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตจะเกิดขึ้นสลับกันไปมาไม่รู้จบ หากคุณเอาจิตไปจับเอาความตรึกนึกใดมาตั้งเป็นอารมณ์ คุณก็จะเสพย์เวทนาจากความรู้สึกนึกคิดนั้นๆทันที เช่น ในขณะที่คุณกำลังคิดเรื่องคนรักเรื่องผิวพรรณรูป การเสพย์กาม(อันนี้ยกตัวอย่างนะครับ)อยู่นั้น จากนั้นเมื่อคุณมีสติระลึกรู้ว่าคุณกำลังคิดติดข้องในกามารมณ์ ตามความกำหนัดใคร่ได้ยินดีของตนอยู่ ซึ่งมันเป็นสิ่งไม่ดีงามไม่ควรจับยึดเกาะ เป็นสิ่งที่ควรละ สภาพจิตในขณะนั้น โลภ+ราคะ จะเกิดดับสลับกับ สติ-กุศลวิตก ความระลึกรู้และนึกคิดที่เป็นกุศลเสมอ
- หากคุณไปหยิบจับเอาเรื่องกามมาตั้งเป็นอารมณ์ตรึกนึก คุณก็จะเสพย์เวทนาจากกิเลสตัณหานั้นๆทันที
- หากคุณไปหยิบจับเอาความคิดที่รู้ตนและรู้ว่าาสิ่งที่คิดอยู่นั้นมันไม่ดี ควรละเสียให้ได้ คุณก็จะเสพย์เวทนาจากกุศลเจตสิกนั้นๆทันที(แต่จะทานกับตัณหาได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับกำลังของสติที่คุณมีอยู่นะครับ)
- เมื่อรู้ความเป็นไปจริงๆของการเกิดดับของจิตและความคิดที่เกิดขึ้นกับคุณเป็นเบื้องต้นในระดับความคิดอย่างนี้แล้ว ให้คุณสร้างมโนภาพคิดเป็นเส้นแบ่งในใจดังเช่นว่า เส้นฝั่งซ้ายคือกองกิเลส เส้นฝั่งขวาเป็นกุศล สติ แล้วระลึกว่ามีอีกเส้นเป็นขีดระนาบแบ่งกลางระหว่าง 2 เส้นนั้น แล้วพึงระลึกในใจว่าหากคุณคิดอกุศลเท่ากับคุณเอนเอียงใจไปฝั่งซ็าย หากคุณคิดกุศลเท่ากับคุณเองเอียงไปด้านขวา ดังนั้นทิ้งความคิดทั้ง 2 ฝ่ายนั้นเสีย แล้ววางใจให้อยู่กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความตรึกนึกใดๆมาตั้งเป็นอารมณ์ เพราะติดข้องใจในตรึกนึกใดๆนั้น ความฟุ้งซ่านและความทุกข์ย่อมเกิดแก่ตน ให้พยายามประครองใจให้อยู่ในเส้นระนาบกลางๆ แรกๆที่ทำนั้น สภาพ อกุศล และ กุศล และ ความมีใจกลางๆ(อุเบกขาจิตก็เป็นกุศลเช่นกันนะครับเพียงแต่จะไม่ยึดจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นอารมณ์แต่จะวางใจอยู่กลางๆ) จะเกิดดับสลับกันไป-มา พอเมื่อเริ่มมีสติ-สัมปชัญญะมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น หรือ เริ่มชัดเจนในใจมากขึ้นสภาพความมีใจกลางๆจะเกิดมากขึ้น จนเข้าได้ถึงสภาพว่างได้

ดูวิธีวางอุเบกขาจิต เพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


3. วิธีที่ดีๆที่พระคุณเจ้าท่านได้แนะแนวทางไว้ รวมไปถึงหลายท่านที่ให้แง่คิดแนะแนวทางที่ดีและเป้นประโยชน์กว่าแนวทางของผมมาก ซึ่งให้ประโยชน์ได้ไม่จำกัดกาล ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6327.0


สุดท้ายบุญใดๆที่ผมได้กระทำมาแล้วในอดีตและปัจจุบันกาล ของบุญนั้นได้ส่งผลให้คุณพบทางที่สว่างงดงาม ตัดจากความฟุ้งซ่านใจได้ และพบความสุขตลอดสิ้นกาลนานเทอญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2012, 02:24:05 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2012, 09:49:08 pm »
0
ผรณาปีติ เบา สั่น กลัว กังวล บางทีเหมือนมีลมหลุดออกตัวทําให้ใจหายใจหาย แว๊บ
      ธาตุเบาก็ต้องแก้ด้วยธาตุที่มีนําหนัก ดึงอุเบกขานิมิตซักหนึ่งครั้ง ก็คือดึงลมหายใจ สูดลมหายใจแรงๆ พุทโธ กลับไปตั้งมั่นฐานจิต แล้วเริ่มบริกรรม กรรมฐานงานสามอย่างต่อ
     เมื่อจิตหลุดไปเกาะความคิดอีก ก็ผนวกอุเบกขานิมิตใหม่ จิตที่ซัดส่ายไป ในสามกาลก็จะกลับมาพร้อมทํางาน มีวิตก วิจารย์ ใหม่ จิตก็หลุดจากการปรุงแต่งนั้นๆที่เป็นอยู่ เป็นคราวๆไป
      ก็ตรวจแบบนี้ตลอดระยะเวลาที่ฝึกกรรมฐาน ขยันตรวจตรา ความตั้งมั่น ก้าวหน้าก็มีไว
        อย่าลืมส่งอารมณ์กรรมฐานกับครูบาอาจารย์บ้าง กรรมฐานจะได้ก้าวหน้า
     
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 01:07:17 pm »
0
คิดว่า เวลาจิตมีความกังวล สิ่งสำคัญเป็นอันดับแรก คือ นำความกังวลออกก่อน

  เช่นกังวลกับการเรียน ก็ ปรับปรุงเรื่องการเรียน
      กังวลกับการเงิน ก็ ต้องไปหาเงิน
       กังวลกับเรื่องไม่มีแฟน  กต้องไปหาแฟน

    ดูจากสมการ ก็ดูเหมือน จะถูกนะคะ อันนี้เขาเรียกว่าคิดอย่างชาวโลกคะ
   แต่ถ้าเปนชาวธรรมแล้ว ถ้าเกิดความกังวล ใจมันสั่นระรัว เพราะทุกข์ใจประการต่าง ๆ นั้น ให้หายใจเข้าเป้น พุทธ เป็น โธ คะ

     ลองดูสิคะ ทำหลาย ๆ หน จะรู้สึกดีขึ้น
     เมื่อรู้สึกดีแล้ว ก็ ไปเดินจงกรม แล้ว กลับมานั่งกรรมฐาน ก็น่าจะทำได้นะคะ

   มือใหม่หัดตอบ ด้วยน้ำใจนะจ๊ะ
    :88: :58: :bedtime2:
 
บันทึกการเข้า

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 02:52:47 pm »
0
เมื่อใจฟุ้งซ่าน ไม่สามารถเป็นสมาธิ ได้ควรทำอย่างไรก่อน

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6514.0

บันทึกการเข้า

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 02:55:01 pm »
0
"เมื่อฝึกกรรมฐาน แล้ว รู้สึก เกิดความรู้สึกขัดแย้ง ในจิต ว่าทำได้ยาก"

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6095.0

บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2012, 03:35:29 pm »
0
สาธุ วิธีที่ท่าน aaaa & ท่าน colo โพสท์แนะแนวทางนั้นเป็นประโยชน์และใช้ได้จริง ผมก้ได้น้อมนำมาใช้ด้วยเช่นกันครับ ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 01:05:55 pm »
0
อนุโมทนา กับคำตอบของทุกท่าน

 ผมเองก็เชื่อว่า ในเว็บนี้มีคำตอบ ที่น่าจะตอบโจทย์ได้เยอะมาก แต่บางครั้งการค้นก็หายาก เพราะบางคำถาม ตอบโจทย์ได้ดีในช่วงกลาง ๆ ไม่ใช่หัวข้อ ดังนั้นจึง ค้นหาไม่เจอ

   สาธุ สาธุ สาธุ
   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตใจ กังวลกับเรื่องอนาคต ครับ ทำอย่างไรดีคะ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 01:57:45 pm »
0


      สังคีติสูตร
          กังขา ๓ อย่าง
             ๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
             ๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆ แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
             ๓. ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้ แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลง


      อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
          ตรัสแสดงธรรมะ ๑๐ อย่างที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ คือ
             ๑. เรามีเพศ ต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
             ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
             ๓. ยังมีกิริยาอาการที่ดีงามอย่างอื่นอีกที่ต้องทำ
             ๔. เราติตนเองโดยศีลได้หรือไม่
             ๕. ผู้รู้ พิจารณาแล้วติเราโดยศีลได้หรือไม่
             ๖. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบทั้งสิ้น
             ๗. เรามีกรรมเป็นของตัว จักเป็นผู้รับผลของกรรมดีชั่ว ที่ทำไว้
             ๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
             ๙. เรายินดีในเรือนว่างหรือไม่
             ๑๐. เราได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์หรือไม่.


      กระทู้แนะนำ
       รู้สึก กังวลกับชีวิตคะ คิดแล้วก็หดหู่ ควรทำอย่างไรดี
      http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6870.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ