ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส  (อ่าน 128180 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 10 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


"อายุเป็นเพียงตัวเลข อย่าได้ประมาท ต่ออายุ ผู้มีปัญญาไม่พึงประมาทแม้เพียงวันหนึ่ง ราตรีหนึ่งที่ผ่านไป จงให้ความสำคัญ กับเวลาเฉพาะหน้า ในการสร้างกุศล ก่อนที่จะไม่มีโอกาส บัณฑิต สงฆ์ คนพาล เด็ก ราชา คฤหบดี จัณฑาล คนทราม ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแล้ว ไม่มีอายุที่แน่นอน ที่แน่นอน คือความตาย มีอย่างแน่นอน หากไม่มีชัดรู้ชัดด้วยใจว่า จะละสังขารเมื่อไหร่ ยิ่งไม่ควรประมาท ความประมาทเห็นหนทางแห่งความเกิดตาม ผู้ไม่ประมาทชื่อว่า ไม่ตาย ผู้เจริญธรรม แม้เพียงส่วนหนึ่ง ในอุบายสงบใจในศาสนานี้แล้ว ก็ชื่อว่าไม่ประมาท ไม่ทำราตรีที่มีอยู่ให้เสียไป ยิ่งถ้าเป็นสาวกสงฆ์ด้วยแล้ว ควรตระหนักในธรรม ว่า วันคืนล่วง ๆ ไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เราได้คุณวิเศษที่สมควร ตามปฏิญญาแล้วหรือยัง อย่ามัวแต่แสวง ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ กันจนเกินไป อย่ามัวแต่เพลินกิจด้านนอกมากเกินควร ควรใช้เวลา สำรวจใจตนเอง ขจัดความเศร้าหมองที่เกิดขึ้น อย่างที่สุด ให้สมกับเป็นเผ่าพงษ์ แห่ง พระอริยะ เถิด"
ข้อความส่วนหนึ่ง จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส



ขอบใจที่ช่วยนำมาลงให้แต่กระทู้นี้ พระอาจารย์อยากสงวนไว้เป็นส่วนตัว แต่ก็ล็อกไม่ได้ สำหรับบุคคลสีน้ำเงิน  อย่างไรถ้าช่วยแล้ว ก็ควรปรับขนาดอักษรให้ด้วย แล้วอ้างอิงที่มาให้ด้วยก็ดี นะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2016, 08:35:48 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ดวงตาเห็นธรรม ประจักษ์ มันเป็นธรรมดา
« ตอบกลับ #81 เมื่อ: เมษายน 03, 2016, 01:14:45 pm »
0
"การเรียนธรรมแบบภาวนา ก็คือการมองสภาวะธรรม ที่อยู่เบื้องหน้าให้ชัดเจนอย่างสองส่วน คือ เมื่อมีสุข ก็ต้องมีสติ รู้ว่า สุขต้องดับ ไม่ตั้งอยู่ถาวร เมื่อสุขดับ ทุกข์ก็ต้องเกิด เมื่อทุกข์เกิด ทุกข์ก็ต้องดับ ไม่ตั้งอยู่อย่างนั้น เมื่อทุกข์ดับ สุขก็เกิด ญาณรู้ชัดที่สลับไปมานี้ ที่เรียกว่าการบรรลุ ได้ดวงตาเห็นธรรม มันไม่ได้อยู่ที่ทุกข์ หรือ สุข แต่มันอยู่ระหว่างที่ ที่ทุกข์ดับไป และสุขเกิดขึ้น และ สุขดับไป ทุกข์เกิดขึ้น ยถาภูตาญาณทัศศนะ อยู่ตรงนั้น หลายท่านมัวสาระวน พิจารณา แต่ทุกข์ หรือ สุขเท่านั้น จึงไม่ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า มันเป็นธรรมดา มันมีความเกิดเป็นธรรมดา มันมีความแก่เป็นธรรมดา มันมีความเจ็บเป็นธรรมดา มันมีความตายเป็นธรรมดา มันมีความพลัดพรากเป็นธรรมดา มันมีความไม่สมหวังเป็นธรรมดา มันมีโสกะปริเทวะ เป็นธรรมดา การเห็นด้วย ภูตญาณทัศศนะ นี้ ชื่อว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม ผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ต้องสอนให้ละ เขาก็รู้จักละ ไม่ต้องสอนให้วาง เขาก็รู้จักวาง ไม่ต้องชี้ชักนำไปสู่ประตูอมตะ เขาจะเดินสู่ประตูอมตะ ด้วยตนเอง ผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ทำร้าย หรือ ติเติียน พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า ด้วยประการทั้งปวง...."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 03, 2016, 02:38:43 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ยามอยู่สบาย กันเรา ก็มักจะเพลิดเพลิน กับอายุ และ สุข ที่อยู่เบื้องหน้า อันนี้ก็สมควรอยู่ เพราะว่า สุขที่อยู่เบื้องหน้านั้น มันเป็นเวลาพักทั้งกาย และ ใจ ของทุกคน บางคนก็มีความสุข กับการทำงาน กับการเที่ยว กับการกิน กับครอบครัวพี่น้อง ลูกหลานญาติมิตร สุขนี้มันเป็นเวลาพัก และเป็นรางวัลชีวิตส่วนหนึ่ง ซึ่งอันใคร ๆ ก็ล้วนทีจะปรารถนา และพยายามยึดไว้ แต่ในทางกลับกัน พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้รู้จัก ทุกข์ แต่การจะรู้จักทุกข์ มันก็ต้องมีสุขก่อนนั่นเอง แต่ถ้าจะเรียนรู้ ทุกข์จริง ๆ นั้นบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะว่า โดยปกติเรามักแสวงหาความสุข อยู่สม่ำเสมอ คือ ทุกเวลา โอกาสที่จะรู้จัก ทุกข์ จึงเป็นโอกาสที่มันหนักหนาสาหัส นั่นเองที่จะรู้จักทุกข์ แต่เพราะความหนักหนาสาหัสนั้น มันก็กดดันจิตใจ ให้ละคลายไม่ได้ เพราะไม่ได้สั่งสมธรรมมาก่อน พอความทุกข์เข้ามา ครอบงำหลายคน ก็หมดอาลัยตายอยาก บ้างก็ตัดสินปัญหา ด้วยการฆ่าตัวตายบ้าง เป็นส่วนใหญ่ หรือตัดสินใจเดินทางผิด ซึ่งก็ผิดเพิ่มขึ้นทุกข์เพิ่มขึ้น แทนที่จะหมดทุกข์ การเป็นทุกข์เท่าขั้น เพิ่มขึ้นไม่จบสิ้น ดังนั้นขณะที่มีความสุข นั่แแหละควรจะศึกษาธรรม ที่ชื่อว่า มรรคไว้กอ่น เพราะถ้าจิตใจมีพื้นฐาน ทางธรรมะแล้ว มันจะพร้อมเผชิญกับความทุกข์ ไม่ใช่ให้ทุกข์ก่อนแล้วจะเรียนมรรค อาจจะสายเกินแก้ และกระทำไม่ได้.... "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"โรคประจำตัวฉัน สมัยก่อนที่จะได้ปฏิบัติกรรมฐาน นั้นมีอยู่หนัก ๆ 2 โรค คือ 1.ปวดหัวข้างเดียว (ไมเกรน ) 2. หอบหืด พอเริ่มปฏิบัติกรรมฐานแล้ว วันที่ก่อนจะได้ สมาธิ ( ไม่บอกนะว่าได้ระดับไหน ) ก็ล้มป่วยด้วยอาการไข้สูง ไม่มีเรี่ยวแรง นอนอยู่กับที่ ขยับตัวไม่ได้ แต่มีสติรู้ว่ามีอะไรเกิด ร่างกายร้อนขึ้นทั้งตัวเหมือนถูกย่าง น้ำดื่มก็ไม่มีแรงยกดื่ม ได้แต่นอนตากลม อยู่อย่างนั้น เหงือ่ออกชุ่มกาย ตอนนั้นนึกว่าจะต้องตายแล้ว อาการแย่ยิ่งกว่าโดนไข้หวัดใหญ่ ที่สวนโมกข์ ตอนนั้นก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน นอนอยู่แต่ในมุ้ง 3 วัน 4 คืน ไม่มีคนดูแล ( น่าอนาถ เหมือนกัน ) ครั้งนี้ก็เช่นกัน เป็นคล้ายกันแต่แตกต่างกันตรงที่ว่า รู้สภาพจิต ไม่ได้หลับ ยังสามารถภาวนาที่ หทัยวัตถุได้ ผ่านไป 4 วัน 5 คืน อาการไข้ก็หาย สามารถลุกขึ้นนั่งได้ ตามปกิต เดินดื่มน้ำ ออกกำลังได้เป็นปกติ ตั้งแต่วันนั้นมา ไมเกรนหายไป หอบหืด ก็หายไป ไม่เคยต้องกินยากันอีก นี่แหละคือผลจากการปภาวนากรรมฐาน ก็ช่วยเยียวยากายให้ส่วนหนึ่ง ถึงไม่ทั้งหมด ก็ช่วยได้หลายส่วน ..... "


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ
( ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๑ )
ความเข้าไปรู้ชัดในสภาวะธรรม ที่ชื่อว่าเกิดขึ้น ที่ชื่อว่าตั้งอยู่ และแม้นที่สุดที่ชื่อว่าดับไป การเห็นแจ้งในสภาวะ หมายถึงเห็นรู้ชัดว่า รูป ไม่เที่ยงประการหนึ่ง รูปเป็นทุกขประการหนึ่ง รูปเป็นอนัตตาประการหนึ่ง เมื่อรู้ชัดทั้งสามประการจิตไม่เกาะเกี่ยวด้วยความเบื่อหน่าย ด้วยความจางคลาย ด้วยความเป็นผู้พ้นจากการครอบงำ ของ โสกะปริเทวะทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริง ผล จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ละความยินดี และความไม่ยินดี ในโลกนี้เสียได้ นั่นเอง..."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ุถ้าทำให้ตัณหา รำคาญ เรา บ้าง เราก็จะไม่ทุกข์ นะ
« ตอบกลับ #85 เมื่อ: เมษายน 10, 2016, 02:03:52 pm »
0
"วันนี้จะลองพูดวิธีละตัณหา แบบชาวบ้าน นะ เพื่อลดทุกข์ที่เกิดขึ้นภายใน อันอาศัยเหตุปัจจัยทั้งภายนอก และภายในเป็นเครื่องทำให้เกิด โดยมีตัณหาเป็นเครื่องผูกเหนี่ยวนำ ผู้ผูกตัณหาย่อมได้รับผลคือ โสกะปริเทวะทุกขะอุปายาส ( ความโศรกเศรา ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความลำบากอึดอัดใจอันเกิดความไม่ได้ดั่งใจ ไม่สมหวัง ผิดหวัง เป็นต้นทั้งหมดนี้ อาศัยตัณหา ( ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ) เป็นเครื่องผูกเหนี่ยวนำ บัณฑิตผู้ฉลาดจึงอุทิศตนให้กับพระธรรม เพื่อขจัดตัณหา ( ความอยาก ) ลองเริ่มง่าย ๆ ดูสิถ้ามันอยากได้อะไรสักอย่าง ให้ภาวนา พุทโธ ให้มากขึ้น แล้วพิจารณาความเป็นจริงมันมีความจำเป็นหรือไม่ ที่อยากได้ ๆ เพราะอะไร เชือ่เลยว่าถ้าท่านทั้งหลาย หมั่นกระทำอย่างนี้ ตัณหาก็จะเริ่มจากท่านไป ที่ละหน่อย เพราะตัณหา เขาจะรำคาญคนที่มีเหตุมีผล ที่ต้องคอยถามอยู่เรื่อยว่า อยากได้ทำไม อยากได้ไปทำอะไร อยากได้เพราะอะไร ..... ดังนั้นทุกข์ที่เกิดภายใน ต้อง ทำให้ตัณหารำคาญเสียบ้าง นะ...."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"
สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2528
ฤดูร้อนปีนี้ มาเดินเดียวดาย อยู่ที่ น้ำปาดเป็นส่วนใหญ่ อากาศมันก็ร้อนตอนเดินก็หวลระลึกถึงสมัยไปเป็นพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ปี พ.ศ.2528 ตอนนั้นเดินทางเข้าร่วม ธรรมโฆษณ์สัญจร สายเหนือ เป็น สามเณรวิทยากร สื่อการสอน ครานั้น หน.ทีม คือ พระอาจารย์วิรัตน์ วิรตโน ( ท่านเป็นหลานหลวงพ่อพุทธทาส ผู้เปิด โรงเรียนพุทธบุตร ไชยา ) พระอาจารย์เบิ้ม พระอาจารย์สงวน พระอาจารย์สมพงษ์ และ อีก 10 กว่าพระอาจารย์ ทำหน้าที่เข้าเผยแผ่ พุทธธรรมธรมโฆษณ์ ฉลองอายุหลวงพ่อพุทธทาส 60 ปี ( จำผิดหรือปล่าว ขออภัย ) มุ่งเข้าสอนตาม วิทยาลัยครูทั่วประเทศ อันนี้เป็นสายเหนือ สิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย สมัยนั้นยังไม่เป็นราชภัฏ ตอนนั้นได้นายก คุณชวน หลีกภัย เป็นผู้อุปถัมภ์การเผยแพร่ธรรมครั้งนั้น ส่วนตัวเคยสนทนากันอยู่บ้าง ที่สวนโมกข์ โยมเป็นคนเรียบง่าย ขรึม ๆ แต่ก็
พอคุยสนทนากันได้ ก็ได้รู้จักกันที่นั่น

ตอนนั้นชอบใจ พระอาจารย์สงวน จันทะวังโส ท่านเป็นพระที่พูดธรรมะสนุกสนาน ท่านเป็นคนเชียงใหม่ แต่มาอยู่ภาคใต้ กับพระอาจารย์มหาประทีป ที่ธรรมสถานหาดทรายแก้ว สงขลา ส่วนตัวตอนทอยู่ที่ วค.ลำปาง ก็ฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ถวิล สุญญธาตุ และพระอาจารย์วิรัช รวิวังโส อยู่แล้ว แต่เพราะว่าชอบการเดินทางและอยากรู้ประเพณีภาคใต้บ้าง จึงติดตามอาจารย์สงวนไปที่สงขลา

ปีนี้ พ.ศ.2559 ก็หลายปีที่ผ่านแล้วนี่ วันนี้เดินตากแดด ชมทุ่งนาแห้งแล้ง ต้นไม้ยืนตาย เห็นแล้วเศร้าใจ ผลพวงจาก อุตุ ( อากาศ ฤดู )มันผิดเพี้ยนไปหมดจากเมื่อก่อน เยอะมาก น้ำขาดแคลนคนไหนไกลคลองก็ทำกสิกรรมไม่ได้ ชีวิตก็ยากเพิ่มขึ้นไปอีก เห็นใจ แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ นอกจากให้ธรรมะเยียวยาใจให้มีความอดทนเพิ่มขึ้น
คนเราจะมีความอดทนได้ ก็ต้องมีการสะสมฝัึกฝนตน ตัวฉันวันนี้ที่ยังอดทนอยู่ได้ ก็ต้องขอบคุณในสายธรรมเก่า ที่หล่อหลอม คุณธรรมมาให้ มีความอดทน อดกลั้นรู้จักคิด อย่างมีเหตุ มีผล นับว่าไม่ได้เสียหายอะไร ที่ได้สายธรรมสายนี้เป็นสายแรก ต้องบอกว่า สายธรรมสายนี้ เรียงความคิด อย่างมีเหตุมีผลให้กับฉัน มีกินก็กิน ไม่มีกินก็ทำใจให้เฉย แสวงไปอย่างสงบ ไม่ต้องทุรนทุราย
เดินกลางแดด อดอาหาร อดน้ำ บ้าง นอนหลับไม่สะดวก เดินไปรู้สึกเหม็นตัวเองมากขึ้น น่าขยะแขยง ชุ่มด้วยเหงื่อ เปื้อนด้วยไคล ส่งกลิ่นเปรี้ยวคละคลุ้ง แม้ยามเป็นก็น่ารังเกียจ แม้ยามตายก็น่าหน่ายหนี ร่างกายเป็นที่ประชุม ของธาตุทั้ง 4 ทั้งสด แห้ง หยาบ กลาง ประณีต มองอย่างไร ก็ไม่น่าพิศมัย เป็นแต่เพียงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มาประชุมกัน มีความรู้สึก นึกคิด จำได้ ทีบอกว่าเป็นเจ้าของ แบบไม่ใช่เจ้าของ สั่งการไม่ได้ อย่าเหม็นนะ อย่าหิวนะ อย่าร้อนนะ อย่าเหนื่อยนะ สั่งไม่ได้สักอย่างเลย เออ แล้วเราเป็นเจ้าของมันตรงไหนนี่ นึกไปเมื่อก่อนนั่งส่องกระจก ก็นึกว่าตนเองงาม แท้ที่จริงแล้วมันน่าหัวร่อจริง ๆ หลงไปได้ ยังไง
แดดร้อนก็ต้องนั่งพัก นั่งพักก็เลยได้นั่งพิมพ์ พอให้ได้คุยกัน
เจริญพร



ข้อความบางส่วนจาก .......
บันทึกข้อความใหม่ จากการเดินทางและการภาวนา ของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2016, 09:45:36 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เคร่งระเบียบ เพื่อความผาสุกของการอยู่ร่วมกัน
« ตอบกลับ #87 เมื่อ: เมษายน 13, 2016, 09:40:03 am »
0
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"
สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2528


"เคร่งระเบียบ หมายถึง ความถึงความมั่นคงในกิจวัตร 10 อย่าง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก อาทิ
๑. ลงอุโบสถ ( สำหรับสามเณรคือการทำวัตรเช้า เย็น)
๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ ( สำหรับสามเณรเป็นส่วนตัว )
๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕. รักษาผ้าครอง (สำหรับสามเณรนุ่งห่มเป็นปริมณฑล)
๖. อยู่ปริวาสกรรม ( สำหรับสามเณร ต้องทำความดีต่อศีลแล้วแต่พระอาจารย์จะสั่ง )
๗. โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์ ( อุปัฏฐาก อุปถัมภ์ )
๙. เทศนาบัติ ( สำหรับสามเณร ทบทวนศีล ทุกวัน )
๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ใช้สอยปัจจัยอย่างมีสติ)
ดังนั้นคำว่า เคร่งระเบียบ ก็หมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกด้วยระเบียบ เพราะระเบียบย่อมนำมาซึ่งความพร้อมเพรียง ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความกระชับ รวดเร็ว สะดวก ดูแลง่าย นั่นเอง
"

ข้อความบางส่วน ยังไม่ได้ลงไว้หนังสือ
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 13, 2016, 11:36:54 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เฉียบระบบ หมายถึง ความซื่อตรง และมั่นคง
« ตอบกลับ #88 เมื่อ: เมษายน 14, 2016, 07:29:44 am »
0
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"
สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525

 เฉียบระบบ หมายถึง ความซื่อตรง และ ความมั่นคงในธรรม หากระเบียบได้ทราบกันแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ระเบียบมีอยู่ต่อไปได้ ในก็คือ ความศรัทธา ที่นำไปสู่ความซื่อตรง และความมั่นคงในธรรม เพราะความศรัทธา ย่อมเป็นตัวผลักดันให้ บุคคลยังคงตั่งมั่นให้อยู่ระเบียบ 10 ประการนั้นได้


ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เคารพพระธรรม หมายถึง การใส่ใจต่อพระธรรม
« ตอบกลับ #89 เมื่อ: เมษายน 14, 2016, 07:37:53 am »
0

"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525


  เคารพพระธรรม หมายถึง ความเอาใจใส่ต่อพระธรรม การเคารพก็คือการทำความรู้ในสภาวะธรรม ทั้งที่เป็น สมมุติ และ บัญญัติ อันเป็นส่วนโลกิยธรรม และ โลกุตตรธรรม ด้วยความใส่ใจ และทำไว้ในใจโดยแยบคาย การเคารพพระธรรม ทำได้ด้วยการ สวนะ ( ฟัง ) และ เทศนา (แสดง ) ตลอดถึง ภาวนา (ปฏิบัติ) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้พระพุทธเจ้า ก็ทรงให้ความเคารพพระธรรม ขนาดพระภิกษุแสดงธรรมอยู่ พระองค์ก็นั่งฟังอยู่ด้านนอกไม่ได้เข้าไปขัดจังหวะการแสดงธรรม

   การเคารพพระธรรม ก็เหมือนการเคารพตัวเอง


  ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.artbangkok.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2016, 11:35:20 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525


เร่งรัดปฏิบัติ ปฏิบัติ เป็นผู้กระทำความเพียร มีสติ และไม่ประมาท การอบรมสามเณรมาถึงตรงนี้ได้ ทีเ่ห็นจากประสบการณ์ ก็มีที่ หาดทรายแก้วนี่แหละ ที่ ได้พระอย่าง พระอาจารย์สงวน จันทะวังโส และ ทีมงานพี่เลี้ยง ซึ่งรวมทั้งฉันด้วย ได้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เด็กเวลามาอยู่ด้วย 7 วันแรกก่อนบวช ก็จะหงอยเหงา แต่ที่นี่มีทะเล อยู่ติดทะเล พาเด็กเดินเล่นชายฝั่งให้เล่นน้ำพอได้คลายเครียดคลายเหงา ไปบ้าง การอบรมเป็นไปอย่างเข้มข้น สามเณรเมื่อบวชแล้ว จะได้ฉันจริง ๆ จัง ก็เวลา 09.00 - 10.30 น. ให้เวลาฉันนาน ตอนเช้าทางแม่ชี จะทำข้าวบดผสมเกลือ เหมือนโจ๊กมาให้ดื่มรองท้องไปก่อน เวลาสาย ๆ ก็จะมีญาติโยมมาทำบุญกัน อาหารถูกนำรวมกัน และ เมื่อถึงเวลา 08.30 น. ก็จะพาสามเณรมารอรับทาน ให้นังอย่างสงบบนผืนทราย ที่ลานหินโค้ง ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์มหาประทีป ท่านก็จะแสดงธรรม ไปจนได้เวลาพระอาจารย์ตักอาหาร และลูกเณร ตักอาหาร กว่าจะได้แยกไปฉันตามกลุ่มของตนเอง ก็แล้วแต่พระพี่เลี้ยงจะพาฉันตรงไหน ส่วนมากฉันพาไปฉันริมหาด คือ นั่งฉันใต้้นสนร่มรื่่น ใบสนนั่งได้โดยไม่ต้องปูผ้าลื่นสะอาด ทรายไม่ติดตัว ที่เล่าตรงหนึ่งส่วนหนึ่ง เพราะว่า เมื่อมาถึงคำว่า เร่งรัดปฏิบัติ นั้นหมายความว่า ทีมอาจารย์ พระพี่เลี้ยง ต้องให้ความรู้แก่ลูกเณรของกลุ่มตน ตามความสามารถเพื่อที่จะให้ลูกเณร เมื่อลาสิกขาบถไปแล้ว ใช้ชีวิตได้เยี่ยงชาวพุทธ มีคุณธรรมเป็นคนดีของบ้านเมือง ของครอบครัว ไม่หลงเดินทางผิด นี่คือความหมายของคำว่า เร่งรัดปฏิบัติ

    เร่งรัดปฏิบัติ ด้วยการมอบเวลาในการภาวนาแบบง่าย จนถึงระดับยาก ในวิถีชีวิตของสงฆ์ เช่นการเดินจงกรม การยืนภาวนา การนั่งภาวนา การนอนภาวนา การใช้อิริยาบถย่อยในการภาวนา ทั้งหมดนี้ ถูกกระบวนการใจ ต่อ ใจ พี่เลี้ยงต้องทำหน้าที่ นอนที่หลัง ระวังภัย ตื่นก่อน ดูความเรียบร้อย มีหลายครั้งที่อัตภาพไปไม่ไหว เพราะเวลานอนของที่นี่ คือ 21.30  น. ตื่น 03.45 น. ทำวัตรเช้า 04.00 น. จนกระทั่ง ลูกเณรได้ดื่ม โจ๊ก แล้วนั่นแหละ ถึงจะได้คลายอิริยาบถ กันก่อนที่จะรับอาหาร 10.30 - 13.30 น.เป็นเวลาที่พี่เลี้ยง จะดูแลลูกเณรตามอัตภาพ 13.30 น - 16.00 ลูกเณรจะต้องฟังธรรม พร้อมเพรียงกัน 16.00 - 17.00 สรงน้ำ ล้างตัว ตามอัธยาศัย  17.30 - 21.00 น.ทำวัตรเย็น ฟังธรรม ภาวนา 21.00 - 21.30 กลับฐานกลุ่มเตรียมจำวัตร การนอนจำวัตร ที่นี่นอนตามผืนทรายไม่มีกุฏิให้พัก ถ้าฝนตก จึงจะอนุญาตใช้โรงมหาสพชั่วคราว แต่ฝนฤดูร้อน ไม่ค่อยตก เจอฝนตกแค่วันเดียวเท่านั้นเอง   

     ดังนั้น เร่งรัดปฏิบัติ จึงเป็นเหมือนหัวใจในการถ่ายทอดธรรม

   ตั้งแต่ไปเป็นพี่เลี้ยงสามเณร หลายที่ในประเทศไทย มี 2 ปี นี่แหละที่เห็นว่าการอบรมสามเณร ระบบนักรบธรรม จริง ๆ ระเบียบปฏิบัติแบบไม่กระดิก อย่างกับทหารเลย แต่ทุกรูป ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรค จนเป็นเสามเณรเสร็จสิ้นโครงการกันทุกรูป การอบรมสามเณรเยี่ยงนี้ ยังไม่เคยเห็นที่ไหนทำได้แบบนี้เลย เพราะหัวใจหลัก อยู่ที่ทีมพระพี่เลี้ยง ที่ต้องรับนโยบาย และทำเหมือนกัน นั่นเอง


   
  ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2016, 09:55:32 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เคร่งครัดวินัย คือ การสร้างหิริ โอตตัปปะ ให้สูง
« ตอบกลับ #91 เมื่อ: เมษายน 14, 2016, 09:34:16 am »
0
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525


เคร่งครัดวินัย หมายถึง การสร้างหิริ โอตตัปปะ ให้สูงขึ้น ในสามเณรที่อยู่ในโครงกาย การมีศีล รับศีล เป็นเรื่องง่าย แต่การที่จะรักษาศีล สำหรับบุคคลผู้เริ่มต้นนั้น กลับเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ก็ย่อมต้องมีบุคคลที่จะย่อหย่อนต่อศีล ดังนั้นการสร้างอุปนิสัยให้รักษ์ ศีล ของสามเณรจึงอยู่ในคำว่า เคร่งครัดวินัย คำว่า เคร่งครัดหมายถึง ความรักศีล เว้นจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน โดยชี้ความหมายของศีล และ ประโยชน์ของศีล เฉพาะหน้า ในหลักการของสวนโมกข์ เมื่อจะสอนธรรม ไม่พูดถึงผลในอนาคต แต่จะพูดและแสดง ถึงผลที่จะได้รับในปัจจุบัน ในก็คือ ความสุขในเบื้องต้น เราจะไม่สอนว่า ถ้ารักษาศีล แล้วเธอจะรวย ไปเป็นเทวดา บนสวรรค์ แบบนี้ไม่ใช่วิธีการสอน ในแนวทางสวนโมกข์ แต่เราจะสอนว่า การเที่เว้นจากการเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน นั่นยอ่มทำให้ ใจเรามีความสุข บ้านมีความสุข พ่อแม่ พี่น้องมีความสุข ประเทศชาติมีความสุข อย่างนี้เป็นต้น คนมีศีลเป็นคนที่สูงด้วยใจ คนที่สูงด้วยใจย่อมมีจิต เหนือกว่าเดรัจฉาน เพราะเดรัจฉาน มันชอบการเบียดเบียน เป็นต้น

    เคร่งครัดวินัย คือการสอนให้สามเณร รักษ์ศีล โดยเฉพาะ ศีล 10 ประการ มารยาท 75 ข้อ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันงามเป็นพุทธบุตร เป็นเทือกเถาเหล่ากอของสมณะ การรักษ์ศีล ไม่ใช่เป็นการทำเพื่อผู้อื่น แต่เป็นการทำเพื่อตนเองให้มีความสุข คนมีศีล อาจจะถูกเบียดเบียนได้ ดังนั้นคนมีศีล ก็ต้องรู้จกคบหาคนมีศีล และปกป้องคนมีศีล เพื่อใหัสังคมคนมีศีล มีความสงบ นั่นเอง


     ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 14, 2016, 09:55:13 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525


มีใจอดทน หมายถึง การรู้จักข่มกลั้น ด้วยกาย วาจา และ ใจ เวลาถูกเสียดแทง กายใจ มันเป็นเรื่องที่ต้องเติมต่อให้กับคนที่ทำความดี เช่นการมีศีล การบำเพ็ญทาน การสร้างศรัทธา นั้น ต้องรู้จักอดทน อดกลั้น เมื่อผลแห่งความดียังไม่มาตอบสนอง หลายคนเวลาทำความดี ก็นึกถึงผลของความดี แบบติดจรวด คือ ได้ผลทันที ในแนวทางสวนโมกข์นั้น จะพูดถึงผลปัจจุบัน นั่นหมายถึง ว่าเมื่อเรากระทำความดี ผลก็คือความสุข ความสุขใจที่เกิดตรงนั้นนั่นแหละเรียกว่า สวรรค์ แต่ทำทำความชั่ว ขึ้นมา ผลก็คือความทุกข์ใจ หวาดกลัว หวาดระแวง ขณะที่จิตเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ลงนรก ดังนั้นคำว่า สวรรค์ในอก นรกในใจ จึงแสดงกันง่าย ๆ ให้เห็นอย่างนี้

   เมื่อสามเณร ต้องรักษ์ศีล ก็ต้องดำรงตนด้วยศีล การถูกเบียดเบียน จากคนไร้ศีล มันย่อมต้องมี เพื่อส่งเสริมกำลังใจ สิ่งที่ต้องสอนให้ สามเณรมีความรู้ก็คือ ความอดกลั้น อดทน ไม่ต้องถามว่า เรารักษ์ ทำไมถูกเขาเบียดเบียน แต่จะให้ถามกลับไปว่า ถ้าเราถูกเขาเบียดเบียน เพราะเขาไม่มีศีล แล้วเราจะทำตัวไร้ศีลเบียดเบียนให้เป็นทุกข์ เหมือนเขาทำไม ในเมื่อตัวเราก็ยังความสุข ไม่อยากให้ใครเบียดเบียน เราก็ต้องรักษ์ศีล แม้จะถูกเขาเบียดเบียน ก็อย่าทำลายศีลของตนเอง ด้วยความอดกลั้น อดทน

      ไม่ยอมเสียศีล เพือแลกกับทรัพย์
      ไม่ยอมเสียศีล เพื่อแลกกับคำชมชื่อเสียงหรือยศ
      ไม่ยอมเสียศีล เพราะสุขอันอิงอามิส
      ไม่ยอมเสียศีล เพราะทุรยศ ต่อเผ่าพันธ์ แห่งพุทธะ

     นี่คือความอดกลั้น อดทน ที่เราทีมงานพระอาจารย์พี่เลี้ยงมอบให้ แก่ ลูกเณร ด้วยความรัก ไม่ได้เกิดจากท้องพ่อ ท้องแม่เดียวกัน ไม่ได้มีสายใยด้วยตระกูล แต่เราผูกพันกันด้วย สายธรรม แห่งความเป็น พุทธะ นั่นเอง


     ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่ีอมไปเป็นธรรมดา
« ตอบกลับ #93 เมื่อ: เมษายน 15, 2016, 07:30:00 am »
0
"ชีวิตคนที่ตายไปแล้ว มันต่อกลับมาไม่ได้ แต่ถ้าใครมีโอกาสฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ควรรักษาเวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่า ตายแล้วฟื้นไม่ได้เกิดได้กับทุกคน เมื่อมีโอกาสฟื้นขึ้นมาแล้ว ก็จงใช้เวลาในทางกุศลให้มากขึ้น วันนี้เห็นคนตาย หลายท่าน เห็นพ่อแม่ญาติพี่น้องโศรกเศร้า ความประมาทในขณะที่มีชีิวิตอยู่หากไม่ได้ประกอบบุญกุศล ไว้ก่อน จิตย่อมตกไปอบาย อย่างแน่นอน ยิงตายตอนดื่มสุรายาเมา ด้วยแล้ว แก่นสารหลังจากตายแล้วจะอยู่ตรงไหน ที่เห็นคือโลงและเชิงตะกอนเป็นเบื้องหน้า ...... "
บันทึกล่าสุด.....
บันทึกการเดินทาง และ ภาวนา ของธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2016, 11:37:05 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ข้าวเหนียว 10 หมูทอด 15 บาท สำหับฉันวันนี้ ที่อยู่ต่างถิ่น เดินทางไม่มีบาตร จะเทศกาล หรือ ไม่เทศกาล ก็ต้องใช้ปัจจัย ซื้ออาหาร อันนี้ถือว่า ดี นะ เพราะบางบ้านเขาไม่ขายให้ บอกว่าไม่รับเงินจากพระ แต่ ไม่ขายก็ไม่ได้ ถวาย นะ พระแปลกหน้าเดินสะพายย่าม ไม่ม่บาตร ไม่มีกลด ดังนั้นที่ขายให้ฉัน ๆ ก็ดีใจ แล้ว อย่างน้อยได้อิ่มสักมื้อ อันที่จริงถ้าไม่ขายก็ 711 นะ ซ์้อนมเปรี้ยวสักขวด ก็ 25 บาทเหมือนกัน ก็อยู่ได้ ชีวิตพระเอาอะไรมาก มีก็ฉัน ไม่มีก็อย่าให้จิตทุกข์ แต่แปลกอยู่อย่าง เดินทางเขตนี้ ไม่มีใครทำบุญกับฉัน เขาว่าคนลาว เป็นคนบุญ แต่ ลาวที่นี่ไม่เหมือนอิสาณ ดูมันแข็ง ลาว อุตรดิตถ์ มันแข็ง เดินมา 7 วัน แล้ว ยังไม่เห็นโยมคนไหนไหว้ฉันสักคน มีแต่มองด้วยสายตา แปลก ๆ กัน ก็เล่าไว้ให้ท่านทั้งหลาย ที่เป็นศิษย์อย่าคิด ว่าอาจารย์จะสบาย นะ เวลาเดินทาง ไม่ได้สบาย สู้ อยู่ สนง.ไม่ได้ ถึงอดบ้าง แต่ก็ยังได้ฉัน อันนี้มันอดมากกว่า เหนื่อยมากกว่า คำถามแล้วทำไม อาจารย์ทำไมไม่กลับ ก็เพราะว่ามันมี ภาระกิจเหลืออยู่อีกอย่าง ( แต่บอกท่านกันไม่ได้ ) ก็ต้องอดทน สิ่งสำคัญการภาวนาลงเพียงเพราะว่า ความลำบากที่เกิดึ้น อย่าขาดการตั้งมั่นในธรรม ต้อง รักษ์ศีล หมั่น พิจารณาธรรม หมั่นระลึกนึกถึง พุทโธ มีการดูลมหายใจเข้าออกสม่ำเสมอ ระลึกถึงพระนิพพาน ระลึกถึงความตาย ปลงสังเวศ พิจาณาธรรม เนื่อง ๆ อย่าได้ประมาท อายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น แต่การเข้าไปรู้ชัดสภาวะธรรม เป็นสิ่งที่ พุทธสาวก ควรจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
ท่านที่ดื่มกิน อิ่มหนำสำราญ ถ้ามุ่งตรงต่อพระนิพพาน ก็อย่าประมาท วันนี้ระลึกถึง พุทโธ หรือยัง ดูลมหายใจเข้าออกหรือยัง หรือยังนังนอนยืนเดิน รื่นเริงอยู่ไม่ขาดสาย ที่จริงสงกรานต์ นี่ เมื่อระลึกถึงผู้ตายทำบุญให้ผู้ตาย ก็อย่าลืมนึกถึงตัวเองกันบ้าง ว่าเราก็ต้องตายเหมือนกัน อย่าประมาท
เมื่อวานเห็นคนตายเป็นคัน ๆ เห็นญาตร้องห่ม ร้องไห้ มันมีเท่านั้นแหละชีวิตคนอยู่ก็อาลัย เศร้าโศรกเสียใจร่ำไรรำพัน คนจากไป ถ้าสร้างบุญกุศลไว้ ก็มีสุคติเป็นที่หวังได้ แต่ถ้าไม่ได้สร้างไว้ ก็ ทุคติ เป็นที่หวัง แน่นอน
ดังนั้นท่านกินอยู่อิ่มหนำสำราญ กันแล้ว ก็อย่าลืมการภาวนา อย่างน้อยทำอะไร ไม่ได้ ก็หายใจเข้าเป็น พุท เป็น โธ หรือ เป็น พุทโธ ไปเลยก็ดี


เจริญพร วันสงกรานต์ 15/4/59
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2016, 11:37:28 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ใจที่เห็นความทุกข์ และสามารถกำหนดทุกข์อันมีกับเราได้แล้ว ย่อมมองเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปสลับกับความสุข เมื่อจิตดำเนินอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าบรรลุธรรมของพระโยคาวจรขั้นที่ 1 ต่อไปก็กำหนด ทุกข์ และ สุข ที่มันเกิดสลับกันไปนั้นด้วยการพิจารณาว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี สุขเป็นสิ่งที่น่ายินดี ที่ยินดี ก็เพราะว่า อยากให้มีสุข และไม่อยากมีทุกข์ เพราะสุข และ ทุกข์ เกิดสลับกันไปมากำหนดไม่ทัน จึงทำให้จิตเหมือนมีสภาวะเป็นกลาง มันรับมันว่าทุกข์ มันรับว่ามันสุข จึงกำหนดรู้แต่ว่า กลาง ๆ อย่างนั้น จิตก็เลยเกาะเกี่ยวความเป็นกลางนั้น ๆ ว่า สบาย คือ สุขแทน เมือจิตกำหนดได้แล้วว่า ทุกข์ สุข ความเป็นกลางเป็นอย่างนี้ มีสาเหตุมาจากความอยากต้องการที่จะให้กายสบายบ้าง ความรูัสึกสบายบ้าง ความสำคัญว่าสบายบ้าง ความรับรู้ว่ามันสบาย จิตก็จะเบื่อหน่าย คลายความพอใจ และไม่ความพอใจ วางจิตเป็นอุเบกขาดำรงสติความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น การพิจารณานั้นย่อมเกิดความตั้งพร้อมโดยรวมว่า เรามีกำเนิดอย่างนี้ เรามีความดับจากกำเนิดอย่างนี้ จึงมีสุข มีทุกข์ มีความเป็นกลางอย่างนี้ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในกำเนิดนั้น ย่อมนำมาซึ่งความสุข ทุกข์ กลาง ๆสลับกันไปมา แม้ที่สุดจิตก็เบื่อหน่ายในกำเนิดนั้นไปตามลำดับทั้งหมด เจ็ดครั้ง ความเบื่อหน่ายย่อมนำมาซึ่งความคลายจากการยึดถือว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัวเป็นตนของเรา จิตย่อมถึงซึ่งความสังเวชสลดใจอย่างที่สุดว่า เรามีความเกิดเป้นธรรมดา เรามีความแก่เป็นธรรมดา เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา เรามีความตายเป็นธรรมดา ความรู้ชัดอย่างยิ่งได้เกิดขึ้นเต็มในขณะนัั้นว่า มันเป็นธรรมดาอย่างนี้ มันเป็นอย่างนั้นเอง มันไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นอย่างนั้น มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมชาติอย่างนั้น มันเป้นของมันอย่างนั้นนั่นเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ จิตย่อมน้อมไปสู่ ความสงบระงับ 3 ครั้งอย่างที่สุด จิตก็พ้นจากความเกิด จากความแก่ จากความเจ็บ จากความตาย ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ไม่มีการตายอีกต่อไป มันถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งมวลว่า สภาวะธรรมทั้งปวงล้วนแล้วเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารแก่การเป็น การมี การอยู่ การดับ มีแต่เพียง ธาตุที่เกิด ธาตุที่ดับ ธาตุที่ตั้งอยู่ ไม่มีความเป็นเจ้าของในธาตุนั้น จิตละจากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาุตไป ไม่เป็นเจ้าของอีกต่อไป ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะ ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนาไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน ไม่มีภพ ไม่มีชาติจิตคงอยู่ในสภาวะอิ่ม ด้วย ความว่าง ความว่างเป็นดั่งกายแห่งจิต ที่สุดนั่นเอง......"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2016, 01:21:05 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องบังเอิญในโลกนี้ไม่มี ที่มีคือวิบากกรรม ของผลดี และ ผลชั่ว อันไหน นั่นแหละที่จะมาส่งผลก่อน ผู้ประมาทย่อมทำแต่กรรมชั่ว ด้วยการคิดชั่ว พูดชั่ว และ ทำชั่ว ส่วนคนดีมีศีลธรรม มีธรรม ก็จะคิดดี พูดดี และทำดี ผลของกรรมดี และ กรรมชั่ว อะไรจะให้ผลก่อนนั้นเป็นเรื่องกำหนดยาก แต่ถ้าคราใดที่เรา คิดดี พูดดี ทำดี ผลขณะนั้นย่อมมีความสุข สุขที่ไหน ? สุขที่ใจ ไงละ เป็นผลที่ได้ก่อน การทำความดีเพื่อผลที่สุขใจ อิ่มใจ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในทานูปฏินิสสัคคา 8 ประการ ว่า เป็นกุศลอันเลิศ เป็นทานอันยิ่งยวด เป็นบุญมหาศาล ดังนั้นท่านทั้งหลายเวลาสร้างกุศลผลบุญ แล้ว ให้ทำด้วยความสุขใจ เพื่อความสุขใจ อิ่มใจ และพอใจ นั่นคือรับวิบากแห่งกุศลเบื้องต้น
เรื่องนี้ส่วนตัว ทราบดีอยู่ เวลาเดินทาง ก็ได้บารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูอาจารย์ ท่านช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลงไปบ้าง แต่อย่างไร เราก็ต้องอดทนไม่ใช่ รอแต่คนอื่นมาช่วย มันจะเสียนิสัย เพราะตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าหากเรื่องบังเอิญ ทั้งหมดนั้นไม่มี พระอาจารย์ก็คงจะต้องเดินไปอีก 40 กม. และคงยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ท่านทั้งหลายที่บำเพ็ญบารมี ภาวนา ก็ต้องรู้จักอดทน และเราจะต้องทำลงไปโดยที่ไม่ต้องหวังว่าใคร จะช่วยหรือไม่ช่วย ถ้าเทวดาเห็นใจ มนุษย์เห็นใจ พระอริยะเห็นใจ ท่านเมตตาช่วยเรา ก็ถือว่าน่ายินดี แต่อย่างไร เราก็ต้องช่วยตัวเองด้วยเช่นกัน
การฝึกฝน การภาวนา การดำเนินวิถีธรรม ก็เป็นการพึ่งพาตนเอง สิ่งที่เทวดา มนุษย์ พระอริยะ ช่วยเราไม่ได้ก็คือการ ช่วยจิตให้รอดพ้นจากวัฏฏะนั้นทำไม่ได้ คนที่จะทำก็คือตัวเรา ดังนั้น มรรค ผล นิพพาน เทวดา มนุษย์ พระอริยะ ช่วยไม่ได้ช่วยได้แค่ชี้แนะ เท่านั้น
เจริญพร ยามเช้า


บันทึกล่าสุด
การเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
คิดให้เป็น ก่อนที่สร้างกรรมหนัก
« ตอบกลับ #97 เมื่อ: เมษายน 17, 2016, 08:27:20 pm »
0
"การปลิดปลงทำร้ายและทำลายชีวิตสัตว์ ก็เป็นบาป แต่การปลิดปลงทำร้ายและทำลายชีวิตคนชั่ว เป็นบาปมากกว่า และการปลิดปลงทำร้ายและทำลายชีวิตคนดี ยิงเป็นบาปยิ่งขึ้น แม้นการปลิดปลง ทำร้ายและทำลายชีวิตของสมณะยิ่งเป้นมหันต์ และยิ่งกว่านั้นการปลิดปลงทำร้ายและทำลาย ชีวิตของพระอริยะเป็นกรรมอันหนาสาหัสยิ่งกว่า แม้นการปลิดปลงทำร้ายและทำลาย ชีวิตพระอรหันต์ เป็นอนันตริยะกรรม เป็นกรรมที่หนักที่สุดแล้ว
ท่านทั้งหลายหากท่านใช้วาจา ก็ดี ร่างกาย ตลอดถึงอาวุธ ปลิดปลงทำร้ายและทำลาย จงอย่าลืมกรรมที่ท่านกระทำนั้นก็จะได้รับผลตามนั้นเช่นกัน ไม่ว่าท่านจะมีเหตุผลแบบไหนก็ตามบัญญัติของกรรมอย่างนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง ......"


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส



 สังคมเสื่อมลงตอนนี้ เพราะทิ้งพระธรรม เด็กถูกทำร้ายจนเสียชีวิต นักเรียนหญิงตบตีกัน เพราะแย่งผู้ชายกันถึงตาย เรื่องนี้เริ่มเกิดขึ้นมากขึ้น แฟชั่นแขวนคอตาย เพราะพิษรักไม่สมหวัง คนทำรายสัตว์ คนรักสัตว์ก็ทำร้ายคน สื่อสังคมทุกวันนี้ ทางเลวไวมาก ทางธรรมฉันพยายามอยู่ทั้งวันทั้งคืนก็ยังไม่ทัน หากท่านทั้งหลายไม่ใส่ใจในพระธรรมเมินเฉย กัน สังคมต่อไปภายหน้าก็จะแย่กว่านี้
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ทิวา เกิดขึ้น ราตรี ก็ดับไป ราตรีเกิดขึ้น ทิวา ก็ดับไป ความสว่าง เกิดขึ้น ความมืดก้ดับไป ความมืดเกิดขึ้น ความสว่างก็ดับไป กุศลเกิดขึ้น อกุศลก็ดับไป อกุศลเกิดขึ้น กุศลก็ดับไป ผู้มีสติย่อมกำหนดรู้ในความเกิดขึ้น และ ความดับไปได้ ส่วนผุ้ไม่มีสติ ไม่สามารถกำหนดรู้ สิ่งที่เป็นคู่ จิตของเขาก็เลยตกอยู่ในความเป็นกลาง ชื่อว่า อัพยากตา เมืออัพยากตาเกิดขึ้น ก็มีแต่อวิชชาเกิดขึ้น พอกพูนอวิชชามากขึ้น เพราะความเป้นกลาง ไม่ได้เป็น อุเบกขา แต่ความเป็นกลางเป็นความเพลิดเพลิน เรียกว่ายินดีใน อัพยากตา ดังนั้น อัพยากตา ครอบงำจึงเรียกว่า ปุถุชน คนที่หยาบ คนไม่มีสติ คนที่หลับ คนที่ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อยเป้นไปตามบุญตามกรรม คนเช่นนี้มีมาก เป็นคนโลเล สงสัย และพอกพูดกุศลธรรม เพราะไม่มีสติ ความเป็น อัพยากตา นั้นจึงเบี่ยงเบนเป็นได้ กุศล และ อกุศล ขึ้นอยู่กับสภาวะ ของการเจริญ สติ คนเหล่านี้ พอเริ่มปฏิบัติ จะเห็นความสำคัญของสติ และ การตั้งสติ ก็ดีอยู่ถ้าเจริญได้ ก็สามารถพอกพูน กุศลธรรม ให้มากขึ้นได้ ดังนั้นถ้าผู้เป็น อัพยากตา พึงต้องหากัลยณมิตร ( มิตรที่งามด้วยกุศลธรรม ) มาเป็นเพื่อน ที่ปรึกษา ครูอาจารย์ ก็คือ กัลยาณมิตร ที่จะคอยชักนำท่านไม่ให้ขาดสติ เพราะ สติ เป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก ผู้มี สติ ย่อมไม่ประมาท ผู้ขาดสติ ย่อมถึงความวิบัติ นั่นเอง ......"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตามหาตัวตนให้พบ ถ้าจะละตัวตน ( Find all identity )
« ตอบกลับ #99 เมื่อ: เมษายน 20, 2016, 11:45:39 am »
0
Find all identity

"ตามหาตัวตน ให้พบถ้าคุณจะละตัวละตน เพราะนั่นมันคือการหาต้นตอ ของปัญหาที่แท้จริงว่าเราทำไมต้องทุกข์ หรือต้องมายึดมี่นถือมีั่น การพบสัจจะคือความจริง   ความจริงก็ คือการตามรู้เห็นความจริง  และการเห็นชัดแจ้งด้วยการตามหาตัวตน  การค้นพบตัวตน ก็คือ การค้นพบ สมุทัยสัจจะ จัดเป็นการดำเนินตามมรรค 2 อย่าง และเป็นการ เรียกว่า เริ่มต้นภาวนา อย่างวิถีพุทธ เป็นการภาวนา

แม้ที่สุด การภาวนาแบบชั้นเชิงนี้ ในปัจจุบันนั้น มีอยู่มากแบบ แต่ก็ไม่พ้น  3  แนวทาง อย่างนี้

    1. ภาวนา แบบไม่รู้จุดหมาย ปลายทาง เห็นเขาภาวนา ก็ภาวนา รู้อย่างเดียว มันจะดี ทั้ง ๆ ที่ผลลัพธ์ อาจจะไม่ดีตอนภาวนา เช่น ตกงาน เจ็บป่วย เป็นต้น อันนี้เรียกว่า ตาบอดคลำทาง ดีนะ ที่ยังหาทาง ดีกว่านั่งหมดอาลัยตายอยาก สำหรับบุคคลประเภทนี้ เรียกว่า ปถุชน

    2.ภาวนา แบบค้นหาเป้าหมายไปในตัว นั่นก็คือ การภาวนา แบบหาตัวตน คือ ต้องสะสม สุตามยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา ไปคู่กัน เรียกว่า ยังไม่เข้าใจทั้งหมด  แต่ก็ยังพอมีความเข้าใจอยู่ ว่า อะไรจะเป็น สาระ อะไร ไม่ใช่ สาระ คนระดับนี้เรียกว่า คนใฝ่ในกุศล อยู่บ้าง จะถึงหรือไม่ถึง จะพบหรือไม่พบ ก็อยู่กับเรียวแรงที่ภาวนาไป มีการสั่งสมมากน้อยขนาดไหน สำหรับบุคคลประเภทนี้ เรียกว่า กัลายณชน

   3. ภาวนา แบบกำหนดเป้าหมายปลายทาง สำหรับระดับนี้ เป็นระดับ ของบุคคลที่ผ่าน มรสุมมาแล้ว ถ้าไม่มีมรสุมมาก่อนก็ไม่มีทางที่จะทำให้เหนือกว่า กัลยาณชน ดังนั้นกัลยาณชนผู้พบและเผชิญกับ มรสุมต่าง ๆ นั้น ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จนไปสู่ความคิดความปรารถนาว่า ไม่อยากที่จะเกิดอีกต่อไป จึงยินยอมดำเนินวิถีธรรมตามพระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ แม้จะต้องลำบากลำบน สิ้นชีพตักษัยก็ยินดี ยอมพลีเพื่อพระธรรม  สำหรับบุคคลนี้เรียกว่า พระโยคาวจร
   
    ดังนั้นการเข้ามาหาธรรม จึงนับที่ระดับ ของ กัลยาณชน เพราะกัลยาณชน ยังชื่อว่า ผู้รักดี ๆ ย่อมสอนง่าย ไม่ใช่สอนยาก เปรียบเหมือนบัวกำลังพ้นน้ำ จัดอยู่ในประเภท เวไนยยะ คือ ยังพอโปรดได้ มีเหตุ มีผล มีโอกาสในการเข้าถึงธรรม ได้เช่นกัน

   ส่วนปุุถุชน นั้นต้องมีการเข็นกันอีกมาก เสมือนหนึ่งบุคคลผู้เสพยา เมากัญชา แล้วเราไปสอนเรือ่ง โลกุตตระ ก็ยิ่งไปกันใหญ่ กลายเป็นว่าจะพ้น ก็กลับกลายเป็นว่ามัวเมา มากขึ้น เคยเจอมาแล้ว คนเมากัญชานำพระธรรม ที่เรียกว่า โลกุตตระ ไปใช้ในทางที่ผิด

 ดังนั้นการหาตัวตน และ การเข้าใจตัวตน ก่อนที่จะละตัวตน มีความสำคัญ จัดเป็น สมุทัยยสัจจะ และ มรรคะสัจจะ ทั้งสองประการ

 ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2016, 04:58:20 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ผู้หลงทางในโลก ( สังสารวัฏฏ์ ) lost in the world
« ตอบกลับ #100 เมื่อ: เมษายน 20, 2016, 02:57:00 pm »
0
ผู้หลงทางในโลก ( สังสารวัฏฏ์ ) lost in the world

"อยากได้เป็นใหญ่ อยากมีเงินทอง อยากสร้างชื่อเสียง อยากมีความสุข อย่างยิ่งยวด และอีกสาระพัดอยาก ที่หลายคนตั้งแท่น เป้าหมายไว้ในใจ เราเสียเวลา ทั้งชีวิต กับการสร้าง ความสุข ชื่อเสียง เกรียติยส เงินทอง หลายท่านทั้งชีวิตก็วนเวียนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า อยู่อย่างนั้น มีทั้งสมหวัง ที่ทำได้ มีทั้งผิด ที่ทำไม่ได้ มีทั้งบุคคลผู้กำลังกระทำอยู่ แต่อุปสรรคที่เกิดกับคนทั้งหลายเหล่านั้น ในขณะที่เคลื่อนตัวไป พลิกผันไปตามกระแสของโลก ก็คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความไม่พร้อมในฐานะ

สิ่งที่คนทั้งหลายเหล่านั้น ได้รับผลตอบแทน ขณะที่แสวงหาเงินทอง ชื่อเสียง เกรียติยศ และสุข สิ่งที่เขาได้รับในขณะนั้น มันมีทั้งความพลัดพราก ความร่ำไรรำพัน ความโศรก ความเศร้า ความผิดหวังไม่สมหวัง ความอาดูร ที่แฝงอยู่ ในคำว่า ได้ และ เสีย

บางท่านได้อย่างหนึ่ง เสียหลายอย่าง บางท่าน ได้หลายอย่าง ก็เสียอย่างหนึ่ง บางท่านก็สูญเสียทั้งหมด ไม่มีใครไม่สูญเสีย เพราะโลก ( สังสารวัฏฏ์ )นี้ มีการลงทุน และ ให้ผลตอบแทน ที่แตกต่างไปตามการกระทำ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ผู้มีปัญญาชำแรกโอฆะ ได้กล่าวว่า สิ่งที่ได้ จากสังสารวัฏฏ์ นั้น คือ ความทุกข์ นั่นเอง

ผู้สูญเสีย ย่อมเศร้าโศรก ในคราพุทธกาลนั้น ผู้สูญเสีย ที่เสียอย่างที่สุด เห็นจะไม่มีใครเกิน พระอริยะสาวิกาปฏาจารา แล้ว เพราะท่านเป็นผู้สูญเสีย อย่างที่สุด

     1. สูญเสีย ความสบาย เมื่อต้องรัก เมื่อนาง รักผู้ชายคนหนึ่ง นางยอมสูญเสีย ตระกูลสมบัติ ความสบายทั้งปวงไปอยู่กับคนรัก ในบ้านป่า ชนบทใช้ชีวิต เยี่ยงสาวจัณฑาล จากคุณหนู แสนสุขสบาย กลายเป็น คุณภรรยา เยี่ยงทาส แต่ นั่นแหละ คือ สังสารวัฏฏ์ ให้การแลกเปลี่ยน อย่างนั้น

     2. สูญเสียความเป็นผู้มีความสุข เพราะ มีลูก เพราะกลัวลำบาก คราคลอดลูกคนแรก นางคิดถึง ตระกูลครอบครัวเพราะว่า เห็นลำบาก ขณะตั้งครรภ์ เห็นความเหน็ดเหนื่อยเจ็บป่วย จากการตั้งครรภ์ นางได้อ้อนวอน สามีคือคนรักบอกว่า อยากกลับไปคลอดที่บ้านเรือน ของตนเอง สามีก็กลัวตาย เพราะชิงลูกสาวเขามา ด้วยตระกูลวรรณะต่างกัน เกิดปากเสียง แต่ด้วยรัก ก็พานางเดินทางฟันฝ่า ทั้งป่า ทั้งเขา ที่อยู่ไกลไปได้ครึ่งทาง นางก็คลอด กลางทางนั่นเอง สิ่งที่เรียกว่า สุข สร้างทุกข์ สิ่งที่เรียกว่า ทุกข์ กับทำให้เกิดมานะ ทั้งสามคนแม่ลูก จึงเดินทางกลับที่อยู่เดิม และใช้ชีวิตเยี่ยงเดิม

    3. ผ่านไปอีกปีกว่า นางก็ตั้งครรภ์ อีก สูญเสียความรัก เพราะความหน่าย จากทุกข์ที่มีอยู่นางยืนยันว่าจะเดินทางไปให้ถึงตระกูล ของตนเองให้ได้ สามีจึงพาไปเช่นเดิม ท่ามกลางความคิดสาระตะ และความเกรงกลัว ต่อภัยจากตระกูลของนาง แต่ด้วยความรัก จึงไปด้วยไม่ปล่อยให้นางไปเอง เนื่องจากการไม่คิดจะไปอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้ความเตรียมพร้อมต่าง ๆ ไม่มี ขณะที่เดินถึงกลางป่า นางก็คลอดบุตรเป็นคนที่สอง นั่นเอง ท่ามกลางสายฝน สตรีนางเดียว ที่ต้องคลอดบุตรสองคนด้วยตนเอง สองครา ความทุกข์ที่บีบคั้นทางกายและจิต อยู่แล้วทำให้นางทุกข์ ซ้ำซ้อนเพิ่มเติม

      4. สูญเสียสามี เพราะการคลอดบุตร การแลกเปลี่ยนยังไม่สิ้นสุด เนื่องด้วยนางคลอดบุตรกลางทาง สามีจึงต้องออกหาฟืน และยาสมุนไพรในป่า สามีของนางถูกงูฉกตายในป่า นางรอแล้ว รอเล่า สามีก็ไม่กลับมา รุ่งเช้าจึงหอบอุ้มลูกน้อย ด้วยกายที่อ่อนเพลีย บอบช้ำ มือหนึ่งจูงลูกคนโต ปากร้องตะโกนเรียกคนรักของนาง จนกระทั่วเจอ ศพสามี ที่ถูกงูกัดตาย นางสญเสีย คนที่นางรัก คนที่นางยอมทิ้งความเป็นคุณหนูสุขสบาย เพื่อมาอยู่กับคนที่รัก คนที่เป็นพ่อของลูกทืั้งสอง คนที่เคยร่วมเรียงเคียงหมอน เพียงข้ามคืน เท่านั้น ทุกข์ใดจะเศร้าโศรก กว่านี้ไม่มีอีกแล้ว นางจัดการศพตามสมควร แล้ว ก็ครุ่นคิด นางจะพึ่งใคร ตอนนี้ คิดแล้ว ก็มีแต่ พ่อแม่ พี่น้อง ตระกูลของนาง เท่านั้น นางจึงมุ่งเดินทางไปหา พ่อแม่ พี่น้อง ตระกูลตามที่นางคิด

     5. สูญเสียลูกชายคนเล็ก เพราะห่วงลูกชายคนโต ครั้นนางเดินทางมาถึง แม่น้ำ เดิมทีแม่น้ำพอจะเดินข้ามไปได้ แต่เนื่องจากฝนตกเมื่อคืนจึงทำให้กระแสน้ำสูงพอเดินไปได้ด้วยคนเดียว ไม่สามารถที่จะประคองลูกสองคนไปได้ นางจึงสั่งให้ลูกชายคนโตรออยู่ที่ฝั่งด้านนี้ และ นางก็นำลูกคนเล็กที่เกิดใหม่ไปวางอีกฝั่ง ขณะที่นางเดินย้อนกลับมาจะรับลูกชายคนโต นกเหยี่ยวตัวใหญ่ มองเห็นทารกน้อย ที่ฝั่งแม่น้ำจึงบินโฉบเอาลูกชายคนเล็กไป ด้วยสำคัญว่าก้อนเนื้อ ผู้เป็นแม่เห็นแล้วใจหาย ส่งเสียงด้วยความรัก ทั้งตะโกน ทั้งส่งเสียงโบกมือ แต่นกเหยี่ยวก็คาบลูกบินไปไม่หวลกลับมา ใจแม่แหลกสลาย ทันที เพราะความรัก

     6.สูญเสียลูกชาย คนโต เพราะ ต้องการช่วยลูกคนเล็ก ไม่มีอะไร พรั่งพร้อมด้วยความสำเร็จ คิดว่าเสียหนึ่ง แต่กลับเสียยิ่งขึ้น ขณะที่นาง ทั้งวิ่งลุยน้ำ ตะโกน ไล่นกเยี่ยว นั้งลูกชายคนโตเห็นแม่โบกมือ ตะโกนอยู่ไกลในแม่น้ำเข้าใจว่า แม่เรียกให้ไปหา ก็เลยวิ่งลงน้ำไปหาแม่ หัวใจที่แตกสลาย ที่เห็นลูกน้อย ถูกเหยี่ยวคาบไปต่อหน้า หมดแรง แต่ครั้นพอเห็นลูกชายคนโต วิ่งลงน้ำมา และน้ำกำลังจะพรัดพาลูกชายคนโตจากไป ความรักของแม่ ทั้งกระโดดท้งแหวกว่าย เพื่อจะเช่วยลูกน้อย ให้พ้นภัย แต่กระแสน้ำก็แรงเหลือหลาย ไม่อาจจะทัดทาน ด้วยแรงหญิงที่เพิ่งคลอด และ ใจสลายไปหลายเรื่อง ถูกแล้ว น้ำได้พรัดพาทั้งลูกชายคนโต และเธอลอยไปกลับน้ำ สติเธอก็ขาดจนแน่นิ่งลอยไปติดอีกฝั่งของแม่น้ำ เธอเที่ยวตามหาร่องรอยของลูกชายคนโตแต่ก็ไม่พบ ใจตอนนั้น มันแหลกไปหลายห้องแล้ว ความรันทด และความหวัง เหลืออยู่แต่ พ่อแม่ พี่น้อง ตระกูล เท่านั้น  นางคิดว่า สิ่งที่นางลงทุนมาลำบากกับสามี ตอนนี้หลายปี มานี้ กลายเป็นความสูญเปล่า มีแต่ความเจ็บปวด ปวดร้าว สุขมันหายไปจากนาง เสียแล้ว

     7.สูญเส่ียพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ตระกูล ความรู้สึกของนางตอนนั้น มีแต่ พ่อแม่ พี่น้อง และตระกูล จะปลอบประโลมจิตใจของนาง ยามที่เราสิ้นหวัง หมดหนทาง ทุกข์เจียนตา ส่ิงที่ทุกคนมักจะนึกถึง นั้นก็คือบ้านที่กำเนิด พ่อแม่ ที่เคยเลี้ยงดูให้ความรัก แก่ตนเอง นางเดินทางมุ่งตรง ไปสู่บ้าน ของตนเอง ที่หวังจะได้ความรักคืน จากพ่อและแม่ แต่ตอนที่นางไปถึง กลับไม่ใช่อย่างที่นางคิดไว้ สิ่งที่นางเห็นคือการประชุมเพลิง ให้กับผู้เสียชีวิตมากมาย เนื่องด้วยมีโจร บุกเข้าปล้นทำร้าย คนในบ้านของนาง เสียชีวิตทั้งหมด ทรัพย์สินเงินทอง บ้านปราสาท กลายเป็นซาก ไหม้เกรียมด้วยเพลิง เผาไหม้ นางมาถึงทราบเรื่องดังนั้น  ความหวังท้งหมดที่มีอยู่ พลันสูญสิ้นกำลังใจ ที่มีมันไม่มีอะไรสะกัดตอกตึงไว้ได้อีกต่อไป

     8. ถึงความเป็นวิกลจริต นางล้มลงกลิ้งเกลือกอยู่กับพื้น จนผ้านุ่งห่ม หลุดหมดสิ้น นางไม่สนใจใยดี ต่อสภาพรอบนอกอีกต่อไป ความทุกข์ ความโศรก ความผิดหวัง สาระพัดเรื่อง พรึ่งพรูทำลายสติของนาง จน สติตั้งไม่ได้ กลายเป็นหญิงวกลจริต เที่ยวเดินแก้ผ้าไปในเมือง เป็นที่ น่าสมเพทแก่ชาวเมือง ในนามว่า หญิงบ้าแก้ผ้า เดินไปที่ไหน ก็ถูกเด็กบ้าง ขว้างก้อนหนิหยอกเย้าว่าหญิงบ้า บางทีก็ไล่ยิ่งกว่าหมูกับ หมา เพราะคนบ้าแก้ผ้าไม่น่าไว้ใจ นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงประวัติตอนที่นางเริ่มบ้า ที่มหน้าตาสะสวย ว่าถูกกระทำชำเรา ระหว่างที่บ้าหรือไม่ ก็คิดดูเอาโชคชะตา มากจากคำว่า กรรม ซึ่งเป็นรางวัลให้แก่ คนที่ ยังอยากแล่นอยู่ใน โลก ( สังสารวัฏฏ์ )

      ใครจะทุกข์ เท่ากับนาง ปฏาจารา นี้อีกแล้วไม่มี

     ผู้หลงทางในโลก ( สังสารวัฏฏ์ ) lost in the world เป็นเช่นนี้ ความสูญเสีย ทุกอย่างย่อมมีแก่ทุกคน นี่คือรางวัลของผู้ที่ยังแล่นไปในสังสารวัฏฏ์ นั่นเอง
   
     โชคดี ของนาง ที่นางได้เกิดในสมัยที่พระพุทธเจ้า มีพระชนม์อยู่ การเดินบ้าบอของนางเข้าไปถึงที่แสดงธรรม ชาวบ้านพากกันไล่นาง ออกไป แน่ะ หญิงบ้า จงอย่าเข้ามา จงหลีกไป คนทั้งหลาย ก็พยายามกันไล่นางออกไปจนเป็นเสียงอึกทึก พระพุทธเจ้า พระองค์ได้สดับเสียงนั้น ตรัสถามชาวเมือง ว่าเกิดเรื่องใด ชาวเมือง ก็ทูลว่า มีหญิงบ้าเปลือยกาย เดินเข้ามาในอาราม ตอนนี้กำลังไล่ออกไป พระพุทธเจ้าทรงหยั่งญาณรู้ว่า นางปฏาจารา จะได้บรรลุอรหัตผล ในไม่ช้า จึงตรัสห้ามว่า ขอท่านทั้งหลายเปิดทางให้แก่นาง นางจึงเดินเข้าไปในที่แสดงธรรมด้วยสภาพเปลือยเปล่า ขมุกขมอม มอมแมม พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับนาง ด้วย เทศนาปาฏิหาริย์ ( ฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า )

      ดูกร น้องหญิง เธอจงเป็นผู้มีสติ มาเถิด  ด้วยพระสุรเสียงอันประกอบด้วยฤทธิ์ นั่นเองจึงทำให้หญิงผู้ขาดสติ ได้ยินถึง หทัยวัตถุ ชำแรกผ่านเข้าไปยัง มโนธาตุ และ มนายตนะธาตุ นางจึงมีสติ เกิดความขวนอาย ชาวบ้านผู้หนึ่งเห็นอาการดังนั้น จึงโยนผ้าสไบ ให้นางปิดกายอันล่อนจ้อน เมื่อนางได้สติ จึงก้มกราบ พระพุทธเจ้า

     พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงธรรมแก่นาง แล้วมอบให้ เหล่าภิกษุณี ดูแลนางต่อไป

     ครั้นต่อมาไม่นาน นางก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สาวิกา และ ได้รับการแต่งเป็น อัครสาวิกา อีกด้วย


    Lost in ther world แด่ท่านผู้ที่กำลังหลงทางในโลก

   บันทึกตอนนี้อาจจะยาวสักหน่อย แต่ขณะที่บันทึกนั้น น้ำตา และ ความสงสาร ปีติธรรมอันเข้าไปหยั่งถึงความรู้สึกของผู้สูญเสีย มันเป็นทุกข์ ขนาดไหน ใช้ปีติธรรมเป็นเครื่องสะกัดกั้น พวกเรายังถือว่า โขคดี ยังอยู่ในช่วง ปรากฏของ คำสอนของพระพุทธเจ้า ยังสามารถหาหนทางออกจากโลกนี้ ได้ อย่าได้หลงทาง วนเวียน ซ้ำไปซ้ำมา ในกองทุกข์ ซึ่งวัฏฏะสงสารนี้ มอบให้เลย 
 

"
ข้อความเต็ม จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


การเรียนกรรมฐาน ขึ้นกรรมฐาน ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน หญิงชาย ตอนนี้ ทัดเทียมกัน ด้วยคุณธรรม ในปัจจุบัน หญิงและชาย สามารถขึ้น
กรรมฐาน เรียนกรรมฐาน ภาวนากรรมฐาน และสำเร็จมรรคผล ได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังนั้นความเป็นหญิง อิตถีวิญญัติ ปุริสวิญญัติ ไม่ได้เป็นอุปสรรค รวมถึง ความแก่ ความเจ็บ และ ความชราด้วยก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค ในการขึ้นเรียนกรรมฐาน เพราะการเรียนกรรมฐาน เป็นประโยชน์ตน หาใช่ประโยชน์ท่าน แต่ประโยชน์ท่านได้ทางอ้อมเท่านั้น

มัชฌิมา ปลายทางสู่ อมตะ
แบบลำดับ เป็นลำดับ สร้างนิสัย
จิตรวมมรรค แจ้งในผล ชอบอย่างชัย
จิตห่างไกล สมชื่อท่าน อริยะ เอย
ธัมมะวังโส
20 เม.ย.59
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
พร้อมแล้ว หรือ ยัง Are you Ready ?
« ตอบกลับ #102 เมื่อ: เมษายน 23, 2016, 09:52:43 am »
0
"ความห่วง ทางโลก เป็นเครื่องสกัดกั้น การไปสู่ประตูอมตะ หลายคนพอได้เรียนกรรมฐาน มาถึงจุดที่จะได้ละแล้ว ก็ต้องหยุดสอน เพราะว่าถ้าไม่พร้อมที่จะไป เพราะห่วงที่มีอยู่นั้น มันจะทำให้ชีวิตของเขา ทุลักทุเล และแย่ลง คนที่ไปในเส้นทางของ มรรค ผล นิพพาน จะสวนกระแสโลก อันที่จริง ก็ไม่ต่างกับชีวิตของฉันเท่าไหร่ คือ จิตจะต้องพ้นจาก คำว่า ได้ และ เสีย ผู้ที่ไปสู่ประตูนิพพาน ต้องละคำว่า ได้ และ เสีย การจะละ ก็คือต้องหยุด ห่วง หลายท่าน ห่วง พ่อ ห่วง แม่ ห่วง ลูก ห่วง เมีย ห่วง ผัว ห่วง ทรัพย์สมบัติ ห่วง ชื่อเสียง เกรียติยศ ห่วง เพื่อน ห่วง ญาต ห่วง สอน ห่วง สัตว์ร่วมโลก และอีกหลาย ๆ ห่วง นั่นคือสิ่งที่ฉัน พิจารณา กับลูกศิษย์ จึงมีหลายคน ที่ยังไม่ได้รับ ธรรม ขั้นที่สมควร เพราะว่าห่วงเหล่านั้น มันสามารถไปได้ กับ มรรค ผล นิพพาน คนที่ไปสู่ มรรค ผล นิพพาน โดยเฉพาะ พระอนาคามี แล้ว มันอยู่ร่วมกับโลกได้ยาก คนที่ละความพอใจ แล้ว ละความไม่พอใจ แล้ว มันเหมือนมีอารมณ์ เป็น ศูนย์ ดี ก็ไม่พอใจ ชั่ว ก็ไม่พอใจ มันเป็นอย่างนี้ นี่แหละจึงต้องถามว่า เธอพร้อมหรือยัง ที่จะสละ ต้องถามย้ำๆ เธอพร้อมที่จะไม่มีอะไร แล้วหรือยัง ....."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"โดย อุปนิสัย เป็นคนรักษ์ความสะอาด ถูกฝึกมาตั้งแต่เล็ก โดนทั้งหลวงตา หลวงพี่ หลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงอา หลวงลุง หลวงน้า พ่อหลวง พี่หลวง ตู้พ่อ ตู้ปู่ ครูบา เวลาเดินทางไป เหนือ ใต้ ออก ตก นั้น ท่านก็จะสอนให้เรา รักษ์สะอาด มีระเบียบ ทั้งพูดดี ขู่บังคับ เคื่ยวเข็น ทั้งเบา และหนัก นิสัยส่วนตัว เลยรักษ์ความสะอาด คือ รักษาความสะอาด ความมีระเบียบ ซึ่งจริตนิสัย ส่วนตัวเป็น บุคคลราคะจริตสูงอยู่แล้ว

แต่พอเมื่อมาปฏิบัติ เนสัชชิกธุดงค์ ครูท่านสั่งว่า ให้บำเพ็ญตบะ คำว่า ตบะ ไม่ค่อยคุ้น แต่ก็ไม่ต่างอะไร กับคำว่า สันโดษเท่าไหร่เพียงแต่ว่า ทำหนักขึ้นกว่าเดิม โดยเน้นเรื่อง การดูแลรักษาตัว ท่านสั่งว่า ไม่ให้อาบน้ำ 7 วัน ไม่ให้ปลงหนวด ทุกวัน ไม่ให้ตัดเล็บสองเดิอน โดยไม่เกินจากหลักวินัยพระ

คราแรก ๆ ก็รู้สึกว่ามันง่าย แต่พอทำจริง ๆ แล้วมันยากมาก ไม่อาบน้ำ คนอ้วน ขี้ร้อน เหงื่อก็ออกมาก

 วันแรกเนื้อตัวเหนียวเหนอะหนะ รู้สึกไม่สบายตัว พาลให้ไม่สบายอารมณ์ ก็คือไม่สบายใจ ไปด้วยแต่พอทำไป
    สิ่งที่ได้เรียนวันนี้ ก็คือ ความอึดอัด ขัดใจ แคลงใจ สิ่งที่ต้องทำ การคือการวางอารมณ์ ให้เป็นกลาง

 ในวันที่สองรู้สึก ขยะแขยงกลิ่นตัว กลิ่นไคล กลิ่นเหงื่อ รู้สึกหงุดหงิด
    สิ่งที่ได้เรียนวันนี้ ก็คือ ความจริงแห่งกาย ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม  เป็นทั้งปฏิกูล และ ไม่ปฏกูล เป็นธาตุที่บริสุทธิ์ กับธาตุที่ถูกปรุงแต่ง สิ่งที่ต้องทำ ก็คือการรู้เห็นตามเป็นจริงในภายนอก

  พอวันที่สาม รู้สึกว่า ตัวเองสกปรก กายสกปรก มือ หัว เท้าสกปรก ไปหมด
     สิ่งที่ได้เรียน คือการตามเป็นปฏิกูลในภายใน ทั้งที่ชอบ และ ไม่ชอบ ล้วนแล้วเกิดในกาย อันเป็นภายใน ชอบก็ควบคุมไม่ได้ ไม่ชอบก็ควบคุมอะไรไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำคือ การมองเห็นปฏิกูลในภายในตน

  วันที่สี่ รู้สึกร่างกาย ที่มีอยู่นี้ มีแต่ปฏฺกูลเต็มตัว ไม่มีส่วนไหน เป็นที่สะอาดจริง ๆ
      สิ่งที่ได้คือ ธาตุนิมิต และ ปฏิกูลนิมิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ธรรมสองอย่างทั้งที่เป็นภายนอก ทั้งที่เป็นภายใน เป็น ธาตุปฏิกูล เกิดจากชีวะ ( มีชีวิต ) ดับไปเพราะ ไม่มีชีวะ การคืนสู่ธาตุที่บริสุทธิ์ ที่ไม่มีเข้าของ

  วันที่ห้า เริ่มพิจารณา กลิ่น จาก เหงื่อ จาก มัน มันกระทบจิตกลับมาว่า ตรงไหนที่ว่าหล่อ ตรงไหน ที่ว่า งาม มันมองเห็นว่าไม่งาม ไม่หล่อ แถมเป็นปฏิกูล เต็มไปด้วยกลิ่นที่ไม่สะอาด เป็นที่รังเกียวจแม้แต่ตัวเราเอง ใจเราเองก็ยังรังเกียจ คนอื่นใครเล่า จะมาหลงรัก หลงชอบกายอันเน่าเปื่อยที่ส่งกลิ่นคละคลุ้ง ด้วยความเป็นปฏิกูล ในรูปแบใด แบบหนึ่ง
       สิ่งที่ได้คือการทบทวน ธาตุกรรมฐาน ทั้งอนุโลม และ ปฏิโลม จนเข้า สัจจานุโลมิกญาณ เห็นชัดตามสภาวะ อันมีตํณหา และ อุปาทาน เป็นที่ยึดถือ และ การไปสู่ วิราคะ ด้วยการรู้เห็นตามความเป็นจริง
       
    วันที่ หก จับอารมณ์บริกรรม  เสโท เมโท  เหงื่อไคล มันข้น ภาวนาหลังจาก ได้พุทโธ แล้ว ยกขึ้นตั้งในฐาน ธาตุดิน จนกระทั่ง เสโท เมโท มันยุบยิบทั้งกาย จากนั้น จิตก็รู้แต่เพียงว่า ตะโจ หนังหุ้มกาย
      ไม่มีกาย มีเพียงส่วนประกอบของกาย มี ธาตุน้ำ เป็นต้น กำหนด ส่วนธาตุ เป็นห้อง ทั้งอนุโลม และปฏิโลม
 
  วันที่ 7 จิตมองเห็นตามความเป็นจริงว่า ที่รักเพราะหนังหุ้มกาย ที่ชังเพราะหนังหุ้มกาย ที่หลงก็เพราะหนังหุ้มกาย ที่อยากเพราะหนังหุ้มกาย พอแกะหนังหุ้มกายออก ก็เหลือ แต่ เนื้อแดง ๆ ปนเลือด ปนหนอง มีทั้งมันข้น เหงื่อไคลไหลเวียน ไปทั่ว
      เข้ารอบปฏิจจสมุปบาท ธรรม เองโดยธรรมชาติ การเห็นตามสภาวะ เริ่มต้นจากตรงนี้ ผลที่ ได้ ก็คือ อ้อ อย่างนี้เองหรือ ?

  อะยัง ตะโจ แม้หนังที่หุ้มกาย นี้ อะจิรัง มิได้หยั่งยืน (มีความชรา เป็นเครื่องหมาย มีความควบคุมไม่ได้เป็นที่สุด )
  อนิจจตา ไม่เที่ยงเลย
  ทุกขตา ประกอบด้วยความทุกข์แล้ว
  มรณตา มีความตายเป็นที่สุด 
  เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสมิ นะเมโส อัตตาติ อันบุคคลไม่พึงเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
   สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
   สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
   สัพเพ ธัมมา อะนัตตา สภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
   สัพเพ ธัมมา อะภินิเวสายะ สภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง ( ทั้งดีและชั่ว ทั้งหยาบ กลาง และ ประณึต ) ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ( ด้วยความเป็นเจ้าของ )
   วะ สา ธาตุ เป็นเพียงดั่ง ธาตุ
  ( ยังมีอีก )
   แต่พอสรุปให้เห็นว่า การบำเพ็ญ ตบะ ต้องทำให้ถูกส่วน ถูกสภาวะ ด้วยถึงจะได้ผล และเป็นการส่งเสริม ธาตุกรรมฐาน แต่ถ้าทำไม่ถูก ไม่ควร มันก็จะเป็น การทรมานตน อย่างไร้สาระ.....
 
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 25, 2016, 10:18:11 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
   เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ       จิตฺตํ ราชรถูปมํ
      ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ       นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ.
ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.

                       อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

"
๑ อบายโลก  คือโลกที่ปราศจากความเจริญ  ได้แก่  (๑)  นิรย  นรก  (๒)  ติรัจฉานโยนิ  กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน (๓)  ปิตติวิสัย  แดนเปรต  (๔)  อสุรกาย  พวกหวาดหวั่นไร้ความเจริญ  (ขุ.อิติ.  ๒๕/๙๓/๓๑๒)

๒ เทวโลก  คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง  ๖  เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ  โลกที่มีแต่ความสุข  แต่ยัง เกี่ยวข้องกับกามอยู่  ได้แก่  (๑)  จาตุมหาราชิกา  สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง  ๔  ปกครองอยู่  (ท้าวธตรฐ  จอม- คนธรรพ์ครองทิศตะวันออก,  ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้,  ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศตะวันตก, ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ)  (๒)  ดาวดึงส์  แดนที่อยู่แห่งเทพ  ๓๓  มีท้าวสักกะ  เป็นจอมเทพ  (๓)  ยามา  แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์  มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ  (๔)  ดุสิต  แดนที่อยู่ แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน  มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ  (๕)  นิมมานรดี  แดนแห่งเทพผู้มีความยินดีในการเนรมิต  มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ  (๖)  ปรนิมมิตวสวัตดี  แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยังอำนาจ ให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต  คือเสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นนิรมิตให้  มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ  (สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๙)

๓ ธาตุโลก  หมายถึงธาตุ  ๑๘  คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่  ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไปตาม ธรรมนิยาม  คือ  กำหนดแห่งธรรมดา  ไม่มีผู้สร้าง  ผู้บันดาล  และมีรูปลักษณะ  กิจ  อาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ๆ  ได้แก่  (๑)  จักขุธาตุ  ธาตุคือจักขุปสาท  (๒)  รูปธาตุ  ธาตุคือ รูปารมณ์  (๓)  จักขุวิญญาณธาตุ  ธาตุคือจักขุวิญญาณ  (๔)  โสตธาตุ  ธาตุคือโสตปสาท  (๕)  สัททธาตุ  ธาตุคือสัททารมณ์  (๖)  โสตวิญญาณธาตุ  ธาตุคือโสตวิญญาณ  (๗)  ฆานธาตุ  ธาตุคือฆานปสาท  (๘)  คันธธาตุ  ธาตุคือคันธารมณ์  (๙)  ฆานวิญญาณธาตุ  ธาตุคือฆานวิญญาณ  (๑๐)  ชิวหาธาตุ  ธาตุคือชิวหาปสาท (๑๑)  รสธาตุ  ธาตุคือรสารมณ์  (๑๒)  ชิวหาวิญญาณธาตุ  ธาตุคือชิวหาวิญญาณ  (๑๓)  กายธาตุ  ธาตุคือ  กายปสาท  (๑๔)  โผฏฐัพพธาตุ  ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์  (๑๕)  กายวิญญาณธาตุ  ธาตุคือกายวิญญาณ   (๑๖)  มโนธาตุ  ธาตุคือมโน  (๑๗)  ธรรมธาตุ  ธาตุคือธรรมารมณ์  (๑๘)  มโนวิญญาณธาตุ  ธาตุคือ   มโนวิญญาณ  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๑๘๓-๑๘๔/๑๔๒-๑๔๖)

๔ อายตนโลก  หมายถึงอายตนะ  ๑๒  คือ  (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้  แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้)   อายตนะภายใน  ๖  ได้แก่  (๑)  ตา  (๒)  หู  (๓)  จมูก  (๔)  ลิ้น  (๕)  กาย  (๖)  ใจ  อายตนะภายนอก  ๖  ได้แก่   (๑)  รูป  (๒)  เสียง  (๓)  กลิ่น  (๔)  รส  (๕)  โผฏฐัพพะ  (๖)  ธรรมารมณ์  ทั้ง  ๖  นี้  เรียกทั่วไปว่า  อารมณ์  ๖  คือ  เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘)


โลกสี่ประการนี้ เป็นโลกแห่งสังสารวัฏฏ์ อันคนเขลา ย่อมหาเหตุผลเพื่อจะวนเวียนไปมา แม้โลกสี่ประการนี้มีความทุกข์ เป็นรางวัลใหญ่ แต่คนทั้งหลายก็ยังเลือกโลกเหล่านี้ เป็นที่หมาย เพื่อผู้มีปัญญา ย่อมแทงตลอดรู้ชัดในสภาวะ ว่า ควรสลัดคืน เสีย ไม่ควรเกาะเกี่ยว นั่นเอง

"
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส




บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
« ตอบกลับ #105 เมื่อ: เมษายน 27, 2016, 02:33:12 pm »
0
"สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ สิ่งนี้มีเหตุอย่างนี้ มีปัจจัยอย่างนี้ สิ่งนี้จึงเกิดอย่างนี้ จึงดับไปอย่างนี้ อะไรเป็นเหตุ ตัณหาเป็นเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ปัจจัย 24 อย่างนี้เป็น ปัจจัยให้เหตุเกิด และ ปัจจัย 24 นี้เป็นปัจจัยให้ดับ
ปัจจัย 24 อย่างมีอะไร บ้าง
เมื่อผู้เจริญตั้ง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อการสละคืน ในอานาปานสติ พึงตั้งนิมิต ที่ได้สัมฤทธิ์ จากลมหายใจเข้า จากลมหายใจออก มาตั้งที่ หทัยวัตถุ แลกระทำ อากาศให้รวม ในนิมิต นั้นว่า เราจักทำการสลัดคืน ขณะที่ นิมิตตั้งอยู่ นิมิต คือ องค์แห่งสมาธิ ของลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
( อนิจจานุปสฺสี อสฮสสิสฺสามีติ สิกขติ
อนิจจานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกขติ )
เมื่อผู้เจริญอานาปานสติ เข้าถึงรอบแห่งปฏิจจสมุปบาท รอบที่ 1 พึ่งตั้งจิตระลึกถึงความไม่เที่ยง ที่ประกอบด้วยนิมิตนั้น จิตย่อมรู้เห็นความเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง 50 ประการ และเห็นทุกข์ 50 ประการ เพราะความเห็นแล้วซึ่งความไม่เที่ยง 50 ประการและ ทุกข์ 50 ประการ จิตย่อมถึงทัสนะว่า นิมิต (ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ) ไม่เที่ยงด้วยประการทั้งปวง เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยงนั้น จิตก็จะพิจารณา ปัจจัย อันเกิดขึ้นในระหว่าง การดับ รูป ที่ยึดมั่น เวทนา ที่ยึดมั่น สัญญา ที่ยึดมั่น สังขาร ที่ยึดมั่น วิญญาณ ที่ยึดมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
(วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสามีติ สิกูขติ
วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกูขติ )
ปัจจัย 24 มี ดังนี้
1 เหตุปัจจัย 2 อารัมมณปัจจัย 3 อธิปติปัจจัย 4.อนันตรปัจจัย 5 สมันตรปัจจัย 6 สหชาตปัจจัย 7.อัญญมัญญปัจจัย 8. นิสสยปัจจัย 9.อุปนิสสยปัจจัย 10. ปุเรชาตปัจจัย 11.ปัจฉาชาตปัจจัย 12. อาเสวนปัจจัย 13.กัมมปัจจัย 14 วิปากปัจจัย 16.อาหารปัจจัย 16. อินทริยปัจจัย 17.ฌานปัจจัย 18.มัคคปัจจัย 19.สัปยุตตปัจจัย 20. วิปปยุตตปัจจัย 21. อัตถิปัจจัย 22. นัตถิปัจจัย 23.วิคตปัจัจัย 24 อวิคตปัจจัย
เมื่อ ปัจจัยทั้ง 24 รู้เห็นชัดอย่างนั้น ในองค์แห่งสมาธิมีอานาปานสติ ที่ตามเห็นความไม่เที่ยง 1,200 ครั้ง ความเป็นทุกข์ 1,200 ครั้ง และมองเห็นเหตุ 14,400 ครั้ง และมองเห็นปัจจัย 14.400 ครั้ง จิตของผู้ภาวนาย่อมถึง ซึ่งความจางคลายจากกิเลส ทีนิมิต เปลี่ยนเป็น อรหัตมรรคนิมิต ย่อมทรงการจางคลาย และ ดับกิเลส 14 ทิวา 15 ราตรี
( นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสามีติ สิกูขติ
นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกูขติ )
เมื่อครบ 14 ทิวา และ 15 ราตรี ผู้ภาวนาย่อมอาศัย อรหัตตมรรค ( นิมิต ) นั้นเข้า ผลสมาบัติ 1 ทิวา 1 ราตรี และ ทำอนุโลมญาณ ตรวจกิเลสที่ดับได้ กิเลสที่เหลืออยู่ กิเลสทีประหารได้สิ้นเชิง ด้วยการตั้ง อรหัตตมรรค (นิมิต) นั้น หายใจเข้า และหายใจออก และตั้งอัปปนาจิต ที่จตุตถฌาน เข้า นิโรธสมาบัติ 7 ทิวา 7 ราตรี ( ตรงนี้เป็น นิโรธสมาบัติ ของ พระอนาคามี )
( ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสามีติ สิกูขติ
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกูขติ )

ยังมีต่อ .... ขั้นสุดท้าย ขั้นที่ 16 อรหัตตผล
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://sv6.postjung.com

มีผู้แชทถามมาว่า ขั้นที่ 15 เป็นนิโรธสมาบัติ หรือ ก็ขอตอบว่าใช่ เป็นนิโรธสมาบัติ ของระดับพระอนาคามี ไม่ใช่ ของพระอรหันต์ เพราะว่า พระอนาคามี ได้คุณธรรม อรหัตตมรรค และ พระอนาคามี ก็สามารถเข้า นิโรธสมาบัติได้ แต่ไม่เกิน 7 ทิวา 7 ราตรี ส่วนพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน ถึง พระอรหันต์ สามารถเข้าผลสมาบัติได้ 1 ทิวา 1 ราตรี

ทำไมขัั้น ที่ 15 ไม่เป็น อรหัตตผล ก็ต้องขอตอบว่า เพราะว่ายังไม่สลัดคืน อวิชชา 8 ประการ การสละคืน อวิชชา 8 ประการ เกิดขึ้นใน ขั้นที่ 16 เรียกว่าการสลัดคืน มีการเข้าอนุโลม และ ปฏิโลม ที่เป็น นิมิต และ ไม่มี นิมิต และ ที่เป็น อาเนญชา ด้วยตามบุญบารมี ของผู้ภาวนา การสลัดคืน คือ การเข้า ปฏิจจสมุปบาท แบบสัจจานุโลมิกญาณ ไม่ต้องทวนเหตุ และ ปัจจัย มีแต่ทวน รู้แจ้งชัดสลัดคืน ในนิมิต หายใจเข้า และ หายใจออก

เป็นเรื่องที่น่าขบขัน เป็นอย่างมาก ที่มีคนเรียนจบ อานาปานสติ แต่ไม่สิ้นกิเลส เมื่อทบทวนคำตอบ และ พุทธดำรัส ตลอดวิชากรรมฐานแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะต้องพิจารณา ว่า คนที่บอกว่าเรียนจบ และไม่ละกิเลส เป็นไปได้หรือ ตั้งแต่ ขั้นที่ 13 - 16 นั้นเป็นเรื่องการจัดการกิเลส โดยตรงเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2016, 02:45:05 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การเห็นความไ่เที่ยง ในอานาปานสติ ได้อานิสงค์ 8
« ตอบกลับ #106 เมื่อ: เมษายน 27, 2016, 02:34:48 pm »
0
"การเห็นความไม่เที่ยง ในองค์แห่ง สมาธิ มีการเห็น 50 ครั้ง ตามสภาวะธรรม แตการเห็น ก็เห็นประกอบด้วย สภาวะการกำหนดเห็นในนิมิต 4 อย่าง คือ
1.โดยลำดับ ความเป็นกลุ่ม ( กลาปโต )
2.โดยลำดับ ความเป็นคู่ ( ยมกโต )
3.โดยลำดับ ความเป็นไปโดยขณะ ( ขณิกโต )
4.โดยลำดับ ความเป็นลำดับแห่งสภาวะธรรม ( ปฏิปาฏิโต )
เมื่อผู้ภาวนาสามารถกำหนด ความไม่เที่ยงได้ จักได้ อารมณ์ 8 ประการก่อนเข้าอานาปานสติ ขั้นที่ 14 อารมณ์ 8 หรือเรียกอีกอย่างว่า อานิสงค์ การตามเห็นความไม่เที่ยง 8 ประการ
1. ละภวทิฏฐิ ( ภวทิฏฐิปฺปหานํ )
2.สละความอาลัยรักใคร่ในชีวิต ( ชีวิตนิกนฺติปริคฺจาโค )
3. ประกอบความเพียรมั่นคงในความเพียรที่ควรประกอบอยู่ทุกเมื่อ ( สทายุตฺตปยุตฺตา )
4.มีความเป็นอยู่บริสุทธิ์ ( วิสุทฺธาชีวิตา )
5.ละความทะเยอทะยานได้ (อุสฺสุกฺกปปหานํ )
6.ปราคจากความกลว ( วิสุทฺธาชีวิตา )
7.กลับได้ขันติและโสรัจจะ ( ขนฺติโสรจฺฺจปฏิลาโภ )
8.อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจและความกำหนัดยินดี (อรติริตสหนตา )
ดังนั้นผู้ภาวนา อานาปานสติ มาถึงขั้นที่ 14 เรียกได้ว่า แทบจะเป็นพระอนาคามีโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่แต่เป็นเพียงพระโสดาบัน
( ยังมีต่อ )
."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2016, 10:09:45 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์
« ตอบกลับ #107 เมื่อ: เมษายน 28, 2016, 01:32:48 pm »
0


( อนิจจานุปสฺสี อสฮสสิสฺสามีติ สิกขติ
อนิจจานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกขติ )
เมื่อผู้เจริญอานาปานสติ เข้าถึงรอบแห่งปฏิจจสมุปบาท รอบที่ 1 พึ่งตั้งจิตระลึกถึงความไม่เที่ยง ที่ประกอบด้วยนิมิตนั้น จิตย่อมรู้เห็นความเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง 50 ประการ และเห็นทุกข์ 50 ประการ เพราะความเห็นแล้วซึ่งความไม่เที่ยง 50 ประการและ ทุกข์ 50 ประการ จิตย่อมถึงทัสนะว่า นิมิต (ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ) ไม่เที่ยงด้วยประการทั้งปวง เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยงนั้น จิตก็จะพิจารณา ปัจจัย อันเกิดขึ้นในระหว่าง การดับ รูป ที่ยึดมั่น เวทนา ที่ยึดมั่น สัญญา ที่ยึดมั่น สังขาร ที่ยึดมั่น วิญญาณ ที่ยึดมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
บทขยาย ขณิกโต
ความไม่เที่ยง 1 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 1 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 2 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 1 ดับไป ความเป็นทุกข์ 1 ก็ดับไป
ความไม่เที่ยง 2 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 2 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 3 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 2 ดับไป ความเป็นทุกข์ 2 ก็ดับไป
ความไม่เที่ยง 3 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 3 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 4 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 3 ดับไป ความเป็นทุกข์ 3 ก็ดับไป
ฯ ล ฯ
ความไม่เที่ยง 49 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 49 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 50 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 49 ดับไป ความเป็นทุกข์ 49 ก็ดับไป
ความไม่เที่ยง 50 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ประมวลใหญ่ พร้อมความสังเวช ที่ทรมานอย่างสุดแสนสาหัส ความทุกข์ ทีทุกข์ที่สุด ก็ ตั้งอยู่ อย่างนั้น จนกว่า กำหนด ทุกข์ จะเกิดขึ้น ทุกขอริยสัจจ์ เมื่อถูกกำหนดแล้ว จึงจะเข้ารอบ ของ สมุทัยสัจจ์ แบบ อนุโลม การกำหนดทุกข์นี้ได้ ด้วย อนิจจลักษณะ ชื่อว่า การบรรลุทุกขอริยสัจจะ เห็นความทุกข์ตามความเป็นจริง เมื่อจิตพร้อมแล้ว จะตั้ง สมุทัยอรยสัจจะ ตามความเป็นจริง เข้ารอบปฏิจจสมุปบาท โดยตั้ง ทุกข์ เป็นตัวใหญ่ หลายท่าน เข้าใจผิดว่า ไปตั้งตรงนั้น ตรงนี้ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตั้งไว้ให้แล้ว นั้น คือ ทุกข์ นั่นเอง และโดยธรรมชาต ของผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง ก็จะอาศัยทุกข์ นั่นเแหละ เป็นต้นทางการประหารกิเลส

เมื่อจิตผู้ฝึก กำหนดทุกข์ ตรงนี้ อันประกอบด้วยนิมิต ลมหายใจเข้า และ ออก ได้ พึงอธิษฐาน กำหนด ความจางคลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว เข้าสู่ ปฏิจจสมุปบาท ธรรม แบบอนุโลม

( วินิจฉัน ขณะที่ การพิจารณาศึกษา ใน อนิจจานุปัสสนี นั้น นิพพิทา กับ วิราคะ ย่อมพอกพูนตาม ความเหนื่อยหน่าย ความต้องการออกพ้น จะเริ่มได้ตั้งแต่ ลำดับที่ 1 แรงขึ้นไปเรื่อย จนถึงลำดับสุดท้าย นั้นก็คือ ผ่านเส้นทาง ที่ทรมาน ของ อนิจจานุปัสสี อย่างขาวสะอาด มีจิตที่ขาว บริสุทธิ์ เพราะความเห็นจริงด้วย ญาณ นั้น สังขารุเปกขาญาณ เป็นญาณที่หยุดการปรุงแต่ง แล้ววางเฉย ย่อมพอกพูนวิราคะ นั่นเอง )


ยังมีต่อ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สังขารวิเสสสมาบัติ ( สมาบัติ 8 )
« ตอบกลับ #108 เมื่อ: เมษายน 30, 2016, 01:22:14 pm »
0
( แสดงสมาบัติ 8 ให้ถูกต้อง ก็จะสามารถเข้าสมาบัติ 8 ได้ )

สมาบัติ 8 ที่หลายท่านเข้าใจผิด หลายท่านพอเริ่มภาวนา ก็พูดถึงสมาบัติ 4 บ้าง 5 บ้าง 8 บ้าง กันไปเรื่อยเปื่อย ปัจจุบัน พอพูดถึง สมาบัติ 8 ทุกคนก็เข้าใจว่า ก็ รูปฌาน 4 ( ถึงจตุตถฌาน ) อรูปฌาน 4 ( คือปฏิบัติต่อจาก ฌาน 4 ถึง เนวนาสัญญายตนะ ) ว่าคือ สมาบัติ 8 ถ้าพูดอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ เขาจึงไม่ถึงวมุตติ ในอานาปานสติ ได้เพราะ อานาปานสติ เป็น รูปฌาน 4 ตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง จตุตตถฌาน และก็เป็น สมาบัติ 8 ด้วย ส่วนการใช้ ญาณทั้ง 9 เข้าสมาบัติ 5
ข้อความในมูลกรรมฐาน ระบุว่า

แม่บท
ยา จายํ ภิกฺขุ อาภาธาตุ ยา จ สุภาธาตุ ยา จ อากาสานญฺจายตนธาตุ ยา จ วิญญาณญฺจายตนธาตุ ยา จ อากิญฺจญฺายตนธาตุ อิมา ธาตุโย สญฺญาสมาปตฺติ ปตฺตพฺพา ฯ ยายํ ภิกฺขุ เนวสญฺญานาสญฺญายตนธาตุ อยํ ธาตุ สงฺขาราวเสสสมาปตฺติปตฺตพฺพา
( บทตั้ง สญญาสมาบัติ แล สังขารวิเสสาสมาบัติ )


สังขาราวิเสสสมาบัติ ( หรือ สมาบัติ 8 ) มีดังนี้ เริ่มเข้าดังนี้
1. อาภาธาตุ
2. สุภาธาตุ
3. อากาสานัญจายตนะธาตุ
4. วิญญานัญจายตนะธาตุ
5. อากิญจัญญายตนะธาตุ
6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ
( 7. นิโรธอายตนะธาตุ ) ในพระสูตร ตัดส่วนนี้ออก ใน มูลกรรมฐาน ทรงไว้
8. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ
ลำดับการเข้า อรูปสมาบัติ 8 ต้องเริ่มจาก อาภาธาตุ ไม่ใช่เริ่มจาก จตุตถฌาน ซึ่งเป็นรูป กรรมฐาน เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ อรูป

อุทกดาบส สอนรูปฌาน 4 เป็น โลกียะสมาบัติ
อาฬารดาบสสอน อรูปฌาน 4 เป็น โลกิียะสมาบัติ
พระพุทธเจ้า สอน สมาบัติ 8 เป็น โลกุตตระสมาบัติ
ในพระไตรปิฏก เรียกว่า สัตตธาตุ คือ เอา นิโรธอายตนะธาตุ ออก เพราะ นิโรธะอายตนะ สัญญาเวทยิตนิโรธ เริ่มต้น
เหมือน พระยุคลธรรม ถูกนำออก จาก องค์แห่ง ฌาน เพราะว่า เป็นอารมณ์ เริ่มต้น ของสุข


ดังนั้นเวลาเจริญ อานาปานสติ เป็น รูปฌาน 4 เป็น สมาบัต 6 และ เป็น สมาบัติ 8 จึงมีวิธีการเข้าสมาธิ ต่างกัน

เทียบ ใน ปฐมฌาน มี
วิตก วิจาร ปีติ ( ยุคลธรรม ) สุข เอกคัคตา จะเห็นว่าในมุูลกรรมฐาน ไม่ได้ตัดออก ให้ความสำคัญ กับ ยุคลธรรม ไว้

ส่วน นิโรธอายตนะธาตุ นั้น ในมูลกรรมฐาน ก็ทรงไว้ อธิบายเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับพระสูตร ที่ปรากฏอยู่
ดังนั้นการเข้า สมาบัติ 8 จึงมีวิธีการปรากฏ ในมุลกรรมฐาน กัจจายนะ อย่างนี้

ไว้ค่อยอธิบาย ส่วนท่านใดยังไม่แน่ใจ ให้ไปอ่านพระสูตรนี้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร
ซึ่งจะเห็นว่า การอธิบาย ชื่อ สมาบัติเหมือนกัน และ จำนวนธาตุ เหมือนกัน นั่นเอง ตอนทีฉันได้เรียน มูลกรรมฐาน จากครูไม่รู้สึกถึงความขัดแย้ง ในกองกรรมฐาน เพราะดำเนินตามลำดับ ไปตามลำดับ อธิบายตรงไป ตรงมา นั่นเอง
เจริญพร


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส




     ธาตุ 8 ประการ
     
      1. อาภาธาตุ คู่กับ  อนฺธการธาตุ หรือ กาฬธาตู   ( ธาตุที่บัง รัศมี )
      2. สุภะธาตุ  คู่กับ  อสุภะธาตุ จึงปรากฏ
      3. อรูปธาตุ อาศัย รูปธาตุ ( สุภาธาตุ )
   
อธิบายลำดับ การเข้าสมาบัติ 8 ไม่ได้อาศัย จตุตฌาน เพราะ จตุตถาน มี เอกัคคตา และ อเบกขา เป็น ฌานุเบกขาแล้ว ไม่สามารถ ทำกิจ ในการพิจาณา ไตรลักษณาการได้

วิธีการเข้า สมาบัติ 8 อรูปกรรมฐาน แบบพุทธะ
  1. ตั้งบริกรรม ในอานาปานสติ อาศัยรูปนิมิติ ที่เป็น อุคคหนมิต ๆ อาศัยแสงสว่าง จึงจะเห็น นิมิต ได้
  2.เมื่อแสว่างปรากฏ พร้อม อุคคหนิมิต ใอ้ทการอฺธิษฐาน อุคคหนิมิต เป็น ปฏิภาคนิมิต การเข้า ปฏิภาคนิมิต นั้น เป็นการ สุภาธาตุ เมื่อ สุภาธาตุ สงบแล้ว ( ความพอใจ ในสุกาธาตุ อิ่มตัว )
  3.อธิษฐาน เข้าอากาสนัญญาจัญญายตนะธาตุ มีรูปธาตุ คือ สุภาธาตุ ( คือ มนธาตู วิญญาณธาตุ ) ในธาตุที่ เป้นอากาศต้องไม่ปราศจาก มนธาตุ เพราะถ้าปราศจาก มนธาตุ ก็ไม่มีการเห็น รับทราบ ไม่มีอะไรเลย
  ( ยังมีต่อ )

อุทกดาบส สอน รูปฌาน คือ ฌาน 1 - 5 แก่ เจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์เห็นว่า ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

จึงไปเรียนกับ อาฬารดาบส ผู้สอน อรูปธาตุ อาฬารดาบส ไมได้เป็นศิษย์ อุทกดาบส ไม่มีฌาน 1 - 5 แต่ สำเร็จ อรูปฌาน 6

  อรูปฌาน 6 มีอะไร บ้าง
  1. อาภาธาตุ 2.สุภาธาตุ 3.อากาสานัญจาตนะธาตุ 4. อากิญจัญญายตนะธาตุ 5. วิญญานัญจายตนะธาตุ 6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ 

  ที่เจ้าชายสิทธัตถะต้องไปปฏิบัติต่อสองอย่าง คือ การรวม รูปฌาน และ อรูปธาตุ
   
  สิ่งที่ปรากฏในพระไตรปิฏก นั้น อรูปธาตุ ไม่เรียกว่า ฌาน มีแต่คำว่า ธาตุ เท่านั้น กับ อรูปธาตุ

  ดังนั้น ถ้าใครปฏิบัติ ในห้องพระพุทธคุณ มาด้วยการเดินธาตุ ก็จะสามารถไปสู่ อรูปธาตุได้

 1. อาภาธาตุ คือ อะไร ?
     อาภาธาตุ คือ แสงสว่าง ที่ปรากฏในสมาธิ
 2. สุภาธาตุ คือ อะไร ?
     สุภาธาตุ คือ นิมิตอันงาม อันเกิดจากรูปกรรมฐาน ตั้งแต่ พระลักษณะ และ พระรัศมี จนปรากฏนิมิต อันงามผ่องใส
3. อากาสานัญจายนตะ คือ อะไร ?
    คือ การกำหนด อายตนะทั้งปวง เป็นดั่งเช่นอากาศ การทำอย่างนี้ต้องอาศัย หทัยวัตถุ และ อากาสธาตุ  คือต้องเข้าถึง รูปนิมิต อันเกิดจาก มหาภูตรูป 4 และ อุปาทายรูป 23 โดยตั้ง มโนธาตุ และ มนายตนะธาตุ ไว้ใน อากาสไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ถ้าไม่ปรากฏ ตัวรูปธาตุนิมิต ก็ไม่สามารถกำหนด อรูปธาตุ ไม่ได้ เพราะไม่มีผัสสะ มองไม่เห็น
   ( ยังมีต่อ )


 


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2016, 04:07:06 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ข้อแตกต่าง ของ ผู้เจริญ อานาปานสติ สองแบบ จากอุปกรณ์ อานาปานสติ 3 อย่าง คือ ลมหายใจ ลมหายออก และ ก็ นิมิต
1. แบบปัญญาวิมุตติ เจริญด้วยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แบบอัตภาพ คือ มีลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก เมื่อเจริญ ก็เจริญไปตามแบบ มหาสติปัฏฐาน เจริญเป็น สติ และเกิดเป็น มหาสติ การเจริญอาาปานสติ มีลมหายใจเข้า และ ออก ตลอดทั้ง 16 ขั้นตอน จะได้ผลสมาบัติ ในขั้นที่ 16
2. แบบเจโตวิมูตติ เจริญด้วยลมหายใจเข้า และออก ถึงขั้น ที่ 11 จากขั้นที่ 11 ไม่ใช้ลมหายใจเข้าออก แต่ใช้ นิมิตอันเกิดจาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แทน นิมิตมีอยู่ เพราะลมหายใจเข้า และ ออก ดังนั้น จากขั้นที่ 11 ใช้ นิมิต เพราะว่า พอเข้า จตุตถฌาน ลมหายใจละเอียด และไม่มีลมหายใจเข้าออก ด้วยอำนาจสมาธิ แม้การเข้า นิโรธสมาบัติอายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธฌาตุ นั้น ก็ไม่มีลมหายใจเข้าและออก เช่นกัน ดังนั้น ให้ใช้นิมิต แทนลมหายใจเข้า และออก เพราะถ้านิมิตยังปรากฏ นิมิต ก็คือ ลมหายใจเข้า และ ออก นั่นเอง
ดังนั้นการเข้าสมาบัติ 4 สมาบัติ 5 สมาบัติ 8 มีปรากฏในขั้นที่ 11 ของอานาปานสติ เป็นไปโดยธรรมชาติของผู้ฝึกได้ สมาธินิมิต การเข้าไปดับกิเลส อาศัย สมาบัติ 4 และ สมาบัติ 8 คุณธรรมผลที่ได้เหมือนกัน แตกต่างกันที่ ความสามารถ ทาง ญาณ
บางท่าน ได้สำเร็จ วิชชา3 บางท่านก็สำเร็จ อภิญญ 6 บางท่าน ก็สำเร็จ มหาอภิญญา และ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นไปตามวาสนา และ บารมี ที่สั่งสมมาจากอดีต ถึง ปัจจุบันนั่นเอง
แต่จะแบบไหน ก็ควรแก่การอนุโมทนา ที่ อรหัตผล ทั้งหมด
เจริญพร



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 30, 2016, 02:25:24 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เป้าหมายการฝึกภาวนา สมาธิ ( แบบพุทธ )
« ตอบกลับ #110 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2016, 12:45:25 pm »
0
แม่บท
จตสฺโส อิมา ภิกฺขเว สมาธิภาวนา กตมา จตสฺโส อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ทิฏฐธมฺมสุขวิหาราย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ญาณทสฺสนปฏิลาภาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตาอาสวานํ ขยาย สํวตฺตติ


เหตุผลสำหรับการฝึกสมาธิภาวนา นั้นมี ๔ ประการนี้
๔ ประการ ดังนี้
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑ ( ทิฏฐิธรรมสุขวิหาร )
( ผู้ใดปรารถนาความสุข ที่เป็นโลกียะ อย่างสุด ๆ ก็ควรฝึก สมาธิภาวนา )

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ ( ญาณทัศนะปฏิลาภา )
( ผู้ใดปรารถนา ญาณทัศนะเพื่อสั่งสมบารมี ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ ( สติสัมปชัญญะ )
( ผู้ใดต้องประคองสติสัมปชัญญะให้มั่นคง ไม่สับสน ก็สมควร ฝึกสมาธิภาวนา )

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑ ( อาสวะขยะญาณ )
( ผู้ใดต้องการพ้นจากสังสารวัฏ ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )
ดังนั้นการฝึกสมาธิภาวนา ตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ตามมูลกรรมฐาน มีเหตุสี่อย่างนี้ เท่านั้น
เจริญพร
"



ข้อความบางส่วน จาก บทตั้ง ของมูลกรรมฐาน กัจจายนะ
รวบรวมเรียบเรียง โดย ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2016, 12:47:55 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
พึงรักษามิตรแท้ไว้ และ อยู่กับมิตรเทียมให้เป็น
« ตอบกลับ #111 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2016, 02:28:35 pm »
0
ผ่อนคลาย พูดแบบโลก ๆ หน่อย ( สลับกับพระธรรมกรรมฐาน )
วันนี้อยู่ รพ. ก็คุยกับคนไข้ ( คนป่วยด้วยกัน )
คป ( คนป่วย -) ท่าน ผมเสียใจมาก ครับ

อจ ( อาจารย์ -) เสียใจ เรื่องอะไร โยม

คป ผมทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนลูกพี่ ได้เป็นใหญ่ เป็นตัว ลูกพี่ผมสั่งให้ให้ผมไปทำงาน เล็ก ใหญ่ ผมไม่เคยเกี่ยง เพราะนับถือกัน วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ถ้าเรียกใช้งาน ก็ทำให้อย่างไม่บ่น จนลูกเมียผม บอกว่า ให้ย้ายบ้านไปอยู่กับลูกพี่ ได้แล้ว ตอนนั้นผมก็คิดว่าจะทำอย่างนั้น แต่วันนี้ผมเสียใจ มาก

อจ ไม่เข้าใจ เล่าเพิ่มอีก ว่าเสียใจอย่างไร

คป ผมเคยคิดว่า ลูกเมีย จะมีดีเท่าลูกพี่ได้อย่างไร เขาเป็นคนให้ยศ ให้เงินเดือน เสนอชื่อ ผมคิดอย่างนั้น แต่ลูกเมีย คอยแต่เอา

อจ. ??????

คป วันนี้ผมป่วย ด้วยโรค มะ...... เรี่ยวแรงไม่มีแบบเก่า ผมมาอยู่ รพ. เป็นเวลา 15 วันแล้ว ยังไม่เห็นลูกพี่โผล่หน้ามาเยี่ยม ผมเลย ที่ผมเห็นตั้งแต่ ก่อนมา รพ. ก็คือ หน้า ลูก หน้า เมีย ที่ร้องห่ม ร้อมไห้ นั่งเผ้าผม กันตลอด 2 อาทิตย์ นี้ ที่ผมเสียใจ ก็เพราะว่า ผมเคยคิดผิด

อจ อืมได้เห็น ได้รู้กับตน

คป ใช่ครับ คนเราถ้าใช้กัน แล้วไม่เคยช่วย ไม่ดูแล มีแต่ใช้อย่างเดียว เอาอย่างเดียว ไม่รู้จักดูล กันและ กัน ผมว่า มันเป็นคนที่คบไม่ได้ครับ แย่ยิ่งกว่าเพื่อนนั่งกินเหล้า ด้วยกันอีก มันยังโผล่มาถาม และ เยี่ยมกัน ช่วยเหลือบ้าง

อจ เราก็อย่าไปคิดมาก ตอนนีี้เฉพาะหน้า ก็ดูแลครอบครัวเราก่อน นะรักษาตัวให้หาย เรื่องงาน ปลงลงเสียบ้าง เราสวมหัวโขนไปไม่ได้ตลอด เห็นมาเยอะแล้ว พวกเจ้า พวกนาย พวกใหญ่ พวกโต พอเกษียณแล้ว ก็เหมือน คนหัวเน่า ( คนเดินหนี )

คป สาธุ ขอรับ อาจารย์ ผมคิดผิดมานาน แล้ว

อจ ยังไม่สาย ยังรู้สึกตัว ก็ยังมีสติ อย่าประมาท รักษาตัว อย่าคิดมาก

คป ขอบคุณครับ..

บทสนทนา มันยังมีอยู่ยาว แต่เอาใจความง่าย ๆ นะ คนเราเนี่ย จะรู้ว่าใครดี ใครรัก ใครช่วยเราก็ตอน เราป่วย ไม่มีแรง นี่แหละเราถึงจะรู้ว่า คนที่รักเรา มีมากหรือน้อย บางทีชีวิตของเรา ไปทุ่มเทให้กับคนที่ไม่ควรก็มี คนพวกนี้ ไม่เรียกว่า กัลยาณมิตร แต่ เรียกว่า มิตรเทียม
ถ้าเขาใช้เราทำงาน ให้เขา ไม่ว่าจะเล็ก หรือ ใหญ่ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แม้แต่ถามข่าวคราว หรือเยี่ยมแยียน อันนี้พึงสังวรไว้ ว่าเป็นมิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ คบได้แต่ อย่าหวังว่า เขาจะช่วยอะไรเรา
สำหรับอาจารย์ผ่านคนเช่นนี้เยอะมาก เพราะเราเป็นฝ่ายช่วยเหลือเป็นส่วนใหญ่ จึงพบคนพวกนี้มาก และก็รู้ว่า ใครเป็นมิตร หรือ ไม่เป็นมิตร แต่บางครั้งเราก็ต้องอธิษฐานว่า ไม่ได้ทำงานเพื่อเขา แต่ทำงานเพื่อปณิธาน รักษากุศล สร้างกุศล มันก็เลยอยู่ให้เขาใช้ได้ ถึงแม้เขาจะไม่ใส่ใจ ว่าเราจะเดือดร้อน หรือ ค่นแค้นลำบาก ลำบน เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ดูแล เราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้าเราวางใจเป็น ชีวิตก็มีความสุข แท้ที่จริง คนเรามีอะไร ติดตัวตอนมา และตอนไป ติดตัวมาก็คือวาสนาบารมีเก่า ติดตัวไปก็คือ บุญกุศลใหม่ ในขณะเดียวกัน ถ้าทำไม่ดี ทำเลว ติดตัวมาก็คือวิบากอกุศลกรรม ติดตัวไปก็คือ อบายภูมิ 4 ดังนั้น เกิดเป็นคนต้องใช้ชีวิตเป็น ต้องเลือกกัลยาณมิตร มีมิตรแท้ให้มาก ดังนั้น ถ้าท่านเจอมิตรแท้ พึงรักษา มิตรแท้ เช่นนั้นไว้อย่าให้หายไป ส่วนมิตรเทียม ก็ให้อยู่กับเขาให้เป็น
เจริญพ


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ถ้าภาวนาแล้ว กิเลสไม่ลดลง มีอยู่สองประการ หนึ่งกรรมฐานนั้นใช้ไม่ได้ ไม่เหมาะกับบุคคลนั้น หรือ บุคคลนั้นใช้ไม่ได้ ไม่เอาจริงเอาจัง ในกรรมฐาน นั้น

ท่านใด สั่งสมอบรมตน ด้วยพระกรรมฐาน จะนานวัน หรือน้อยวัน ก็ตามหาก ท่านรู้สึกด้วยตนเองได้ว่า ความโกรธก็น้อยลง ความโลภก็น้อยลง ความหลงก็น้อยลง ไม่ใช่แต่น้อยลงเท่านั้น มันถึงขั้นจะไม่มีเลย จะให้โกรธใครก็ไม่โกรธง่าย ๆ จะให้โลภอย่างไร มันก็ไม่โลภง่าย ๆ จะให้หลงอย่างไร มันก็ไม่ง่าย ๆ เลย ท่านจงรู้สึกเสียเถิดการภาวนาของท่านไม่ได้สูญเปล่า เพราะการเจริญกรรมฐาน ย่อนนำออกซึ่งกิเลส ทั้งหยาบ กลาง และ ละเอียด ผู้ที่ข่มนิวรณ์ ได้บ่อย ๆ ก็ย่อมให้ทำให้กิเลสสงบลง เวลาที่กิเลสสงบลง นั้น ใจที่ผอ่งใสย่อมเห็นธรรมอย่างเนืองจนกระทั่ง ใจมันก็ละของมันเอง ไม่ต้องบอกให้ละ มันก็ละของมันเอง คนที่ยิ่งภาวนา ก็ยิ่งเจริญธรรม จะให้ดูหนัง ดูละคร ดูข่าว ดูการบ้าน การเมือง คนเหล่านี้ เขาไม่สนใจ เพราะว่า ใจเริ่มวางจากกิเลส แล้ว นั่นเอง ดังนั้นท่านทั้งหลาย วันหนึ่งคืนหนึ่ง พยายาม สงบ นิวรณ์ธรรม กิเลสเล็ก ๆ ให้ได้บ่อย ๆ เดี๋ยวธรรมของท่านก็จะงอกงามไพบูลย์ ขึ้นเอง ส่วนท่านใดที่ ยิ่งภาวนา ยิ่งพอกพูนกิเลส แสดงกรรมฐาน นั้นใช้ไม่ได้ ให้เปลี่ยนเสีย เพราะกรรมฐานมีไว้เพื่อข่ม เพื่อระงับ เพื่อตัดทำลาย กิเลสนั่นเอง....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 04, 2016, 06:53:38 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"สภาวะ ที่ขาดอากาศ หรือ มีอากาศเบาบางนั้น มีสิ่งที่เกิดขึ้นได้หลายอย่าง ประสบการณ์ตอนลงถ้ำ บางถ้ำมีอากาศไม่พอหายใจและสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างท่เราขาดอากาศหายใจ โดยที่เราไม่ค่อยรู้สึกนั้น มันก็มีเหตุปรากฏการณ์หลายอย่าง เช่น
1. เห็นภาพลวงตา 2. คิดอะไรไม่ออกตื้อไปหมด 3.เห็นภาพสีเป็นภาพขาวดำ ( แต่โดยปกติลงถ้ำก็จะเห็นแต่ขาวดำอยู่แล้ว ) 4.มีความรู้สึกว่าร่างกายควบคุมไม่ได้ และอีกหลาย ๆ ประการ
คนที่ไม่เคยลงถ้ำ มักจะไม่รู้ และจะไม่ค่อยเห็นอันตรายเหล่านี้ แต่ตัวฉันผ่านประสบการณ์ เหล่านี้มา จึงพยายามฝึกฝน ความเตรียมพร้อม นั่งสมาธิในสภาวะห้องที่ไม่ค่อยมีอากาศ เป็นเวลานาน ๆ จนกระทั่งรู้สึกว่าหายใจได้ ในที่มีอากาศน้อย แต่ใช่วาการฝึกแบบนี้ จะมีผลดีกับร่างกาย มันมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพปอดด้วย เมื่อปอดเราเล็กลง ก็สามารถหายใจได้ในที่มีอากาศน้อย แต่กลั้นหายใจได้ต่ำปกติเคยกลั้นหายใจได้ ถึง 5 นาที ปัจจุบันพยายามทำก็ได้เพียง 25 วินาที เท่านั้น แต่ว่าสามารถหายใจได้ในที่มีอากาศน้อยได้นาน
ได้อย่างก็เสียอย่าง ดังนั้นการลงถ้ำ ช่วง ที่ผ่านมานั้น แม้ถ้ำจะมีอากาศนิดหน่อย แต่เราก็สามารถอยู่ได้ในที่มีอากาศนิดหน่อย โดยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน แบบที่เคยเป็นในช่วงลงไป โดยไม่มีประสบการณ์ ที่เล่าให้ฟังนี่ เผื่อท่านใดอยากติดตามลงถ้ำด้วย สิ่งที่ท่านต้องมีต้องมีความเตรียมพร้อม เพราะการลงถ้ำที่ลึกลงไปเป็น กิโล นั้นมีความเสี่ยงต่อชีวิต ไม่ใช่เป็นเรื่องสนุก มันหมายถึงการที่เราลงไปแล้ว อาจจะไม่ได้กลับขึ้นมาอีก
นั่นคือสิ่งที่ตัวฉันทำใจไว้เสมอ ๆ ว่าเวลาทำภารกิจในถ้ำ ที่มึความลึกอยจ่างมากนั้น และลี้ลับด้วย หมายถึงการสละชีวิตทุกครั้งที่ลงไปหากท่านมี ปณิธานได้อย่างฉัน การติดตามฉันลงไปก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะรู้ความเสี่ยง นั่นเอง
"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ก่อนตะเกียง จะดับ ก็รีบมาจุดตะเกียงใหม่ซะ
« ตอบกลับ #114 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2016, 09:29:13 pm »
0
"มีคนถามฉันว่า ทำไมต้องทำเรื่องการเผยแผ่ธรรมะ มีคนถามเยอะนะคำถามนี้ แต่หลายครั้งก็เฉยๆ ไม่ได้ยากตอบ ก็หลายปีมานี้ก็ไม่ได้ตอบแม้กระทั่งเว็บเข้าปีที่ 9 แล้ว ก็ยังไม่ได้ตอบใคร ?
แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ ไม่มีวันไหนที่ฉันไม่ได้ตอบคำถาม ให้กับท่านที่ยังมีความทุกข์ทางใจ นอกจากฉันป่วย และอยู่ในภารกิจ แม้การตอบคำถามของฉัน จะไม่เคลียร์ใจให้กับหลายท่าน แต่ก็ไม่เคยไม่ให้กำลังใจกับท่านที่เป็นทุกข์ แม้คนที่ด่าฉัน ฉันก็ยังไม่เคยส่งจดหมายโต้ตอบจากฉันในทางลบเลย
15 ปีมานี้ ฉันก็ยังทำหน้าที่ ๆ ไม่มีใครอยากทำเพราะทำแบบฉัน ไม่ได้อะไร เลย นอกจากกุศลบารมี ที่ได้ทำเพราะเราทำงานปิดทองหลังพระ ไม่เคยเรียกร้อง วัตถุสิ่งใดจากผู้ที่เราช่วยเหลือ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทุกวันนี้ที่อยู่ได้ก็เพราะลูกศิษย์ที่ปวารณา จริง ๆ มีคนที่ฉันตอบคำถาม ทุกวันบางคนตอบกันเป็น 3 - 5 กระดาษ ต้องแชทสนทนา จนกว่าเขาจะพอใจ และ เริ่มมีความสุขใจ และมีกำลังใจที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้แม้ด้วยศีลธรรม หรือ ปรมัตถธรรม ฉันไม่เคยผูกมัดคำตอบของฉันเป็นบุญเป็นคุณกับ ใคร ๆ ที่ฉันตอบ จะเคารพหรือไม่เคารพ ฉันก็ไม่ได้สนใจตรงนั้น มันเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะส่งข้อความที่สำคัญแก่คนที่ร่วมบารมีกับฉันมาก่อน ๆ ที่เราจะไม่ได้พบกัน ตลอดไป
แต่ ส่วนธรรมขั้นสูงๆ นั้น ไม่ใคร่มีใครสนทนากับฉัน ที่นี่แจกธรรม เสมอเป็นเสี้ยวส่วนละอองของพระธรรมที่ฉันพอจะหยิบมาแจกท่านได้บ้างถึงแม้ไม่มากแต่ ก็เพียงพอที่จะประเล้าประโลมใจ ให้ท่านทั้งหลาย มีกำลังใจดำรงชีวิต อยู่ได้ในท่ามกลางกระแสพายุ อันเกิดจาการล่องเรือในโอฆะที่เชี่ยวกราก ที่เต็มไปด้วยกระแสโลกธรรม ดังนั้น ฉันก็ยังคงทำหน้าที่ ๆ ที่ไม่ได้มีความหมายอะไร ๆ ทั้งนั้น เพียงแต่ทำหน้าที่ จุดตะเกียง น้อย ๆ เท่านั้นซึ่งอาจจะมีประโยชน์ แก่ใครบางคนบางท่าน และ อาจจะไม่มีประโยชน์เลย ก็เป็นได้ แต่อย่างไร ตะเกียงนี้ก็จะจุดุไว้ไป จนกว่าวันนั้นจะไม่มีฉัน.หรือฉันหมดความสามารถที่จะกระทำได้ ซึ่งก็คงต้องต่อตะเกียงนี้ให้แก่ทายาท ซึ่งวันนี้พูดตรง ๆ ว่า รอ ทายาทผู้นั้นจะมา.."


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2016, 09:43:34 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"'16 ชม. ในงานพิมพ์เอกสาร ตรวจทานการท่อง พิสูจน์อักษร ในโพสต์เดียวนั้น ได้แค่นี้ ทั้ง ที่จริง ยังมีข้อมูลและข้อความอีกจำนวนมากเลย ยังไม่ได้อธิบาย เพียงนำบทตั้งที่ท่องจำไว้ ออกมาเขียนเฉพาะเรื่องของปีติ ก่อน เป็นไปตามลำดับ แต่ 16 ชม. ทำได้เท่านี้ "
ปีติธรรม ใน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21216

งานที่สำคัญคือการ ถอดสิ่งที่ท่องออกมาเป็นประโยค แต่สิ่งสำคัญบางครั้งก็ท่องผิด ตกหล่นไปบ้าง ตรวจสำนวนการท่องกับการแปล จากประสบการณ์ทีเรียนมา แล้ว ก็เสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ ในประโยคที่ขาดไป แต่เพื่อความแน่ใจ จึงต้องเสียเวลาเทียบเคียงกับพระไตรปิฏก เพื่อไม่ให้ข้อความผิดพลาด เพราะความสะเพร่าของเรา สิ่งสำคัญที่สุด ในการเป็นพุทธสาวก ต้องไม่ให้อักขระวิบัติ ดังนั้นถ้าศัพท์ใด ท่านผู้รู้เห็นว่าผิดก็แจ้งกลับมาด้วย เพราะว่าตัวข้าพเจ้าก็ไม่ได้ชำนาญใน ภาษามคธมากนัก มีความรู้แค่หางอึ่ง

นี่จึงเป็นเหตุให้ พิมพ์ได้ล่าช้ามาก ถึงแม้จะมีความตั้งใจพิมพ์ออกมาให้สมบูรณ์ ในเรื่องเดียวเลย ทั้งอรรถ ทั้งวิธีปฏิบัติ ทั้งข้อจำกัด ที่สำคัญในเนื้อหาตามบท ที่ปรากฏท่องจำที่ได้จดจำไว้จากครูอาจารย์ เรื่อง ของปีติ เรื่องเดียว ก็เป็นวิมุตติได้เลย ดังนั้นผู้ปฏิบัติถ้าปฏิบัติถูกต้อง และรู้จริงแค่ห้องแรก ก็มีมรรค ผล นิพพาน พร้อมแล้ว แต่อย่างไร ด้วยหลักกรรมฐาน ก็อธิบายไปตามลำดับ ตามวาสนาของผู้ฝึกภาวนาด้วย บอกว่าไม่เกี่ยวกับบารมี ก็เป็นคำพูดไม่ถูกต้อง เพราะผู้ที่จะสำเร็จมรรค ผล นั้นล้วนแต่สร้างบารมีมาก่อนทั้งนั้น เหมือนพระพุทธเจ้าพระองค์ก็บำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ ถึง ห้าแสนอสงไขยชาติ เป็นผู้ตายเกิดตายเกิด เก้าแสนอสงไขยชาติ บำเพ็ญบารมีมาตั้งแต่ พระพุทธเจ้าองค์ที่ สี่ คือ พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ดังนั้นการภาวนากรรมฐาน ส่วนหนึ่งก็ต้องเกิดจากบารมีด้วย คนที่สร้างบารมีมาทางนี้ก็ไม่ได้มีมาก แต่คนใดที่ยังไม่เข้าใจ ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีบารมี แต่อาจจะถูกปิดผนึกไว้อยู่ เหมือน พระอริยะพระจูฬปันถก ท่านก็ถูกปิดให้สมองทึบจดจำได้สั้นได้หน้าลืมหลัง แต่ได้ผู้เปิดผนึก อย่างพระพุทธเจ้า ท่านจึงได้บรรลุคุณธรรมอันวิเศษ เป็น เอตทัคคะ ดังนั้นท่านทั้งหลายที่มีความคิดตรงต่อพระกรรมฐาน ว่า พระกรรมฐานนี้ จะสามารถทำให้เราสิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ อันนี้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นทีมากด้วยบารมียิ่งแล้ว เพราะในโลกนี้คนที่ยังไม่เบื่อ และยังไม่คิดออก มีกลาดเกลื่อนทั่วโลกา แต่คนที่คิดลาจากสังสารวัฏ นั้นมีจำนวนน้อย เทียบเท่าเม็ดทรายในฝ่ามือ เท่านั้นเอง "


ข้อความบางส่วน จาก บันทึกล่าสุด
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ทุกสิ่งเป็นดั่งหมอกควัน
« ตอบกลับ #116 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 01:07:22 pm »
0


"สิ่งที่ฉันกระทำ ในเรื่องการเผยแผ่พระธรรมกรรมฐาน นั้น สำหรับหลายคนอาจจะคิดว่า มันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฉัน ๆ จึงต้องทำ แต่ความเป็นจริง ตอนนี้ไม่มีอะไรสำคัญเลย คนอื่นเสียดายวัน และ เวลา แต่สำหรับฉัน วัน และ เวลา ที่วิ่งไป ก็แค่ไปสุ่ความเสื่อม และ สิ้นสุดการอยู่ร่วมกันในโลกต่อไป เท่านั้น จะวิ่งถึงเย็นนี้ บ่ายนี้ เช้านี้ พรุ่งนี้ ต่อไป มันก็เหมือนกัน วันไหนก็เหมือนกัน เพราะปลายทาง ก็คือ คำตอบเดียวกัน ความจริงเดียวกัน ไม่เปลี่ยนแปลง

    ในโลกนี้มีหลากหลายเรื่องราว ที่มีความสำคัญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ใจคนแต่ละคน ให้มีความหวัง และอยู่ได้ ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นวัตถุ อุดมการณ์ อุดมคติ ปรัชญา ชีวิต จะดราม่า หรือ ไซน์ ล้วนแล้ว สำหรับฉันเป็นเพียง แค่ควันที่ฟุ้ง ที่กระจายอยู่ในอากาศ คนอื่นอาจจะมองเห็นเป็นแก่นสาร แต่สำหรับฉัน มองสิ่งเหล่านั้น เป็นเพียงแค่ควัน ลอยบนอากาศ ทีไม่สามารถจับต้องได้ นี่คือการดำรงค์รู้ประจักษ์เห็นในปัจจุบัน

     หลายคนจะไปรู้ ก็เมื่อการสิ้นสุดแห่งอัตภาพมาถึง สิ่งที่ปรากฏก็คือ ความที่หาสาระแก่นสารไม่ได้ กับสิ่งที่เราคิดฝัน และพยายาม กระทำ อย่างทุ่มเท สุดท้าย มันก็เป็นเพียงหมอกควัน ที่จางหายไปในอากาศ อากาศคือช่องว่าง ที่ ธาตุทั้งหลายอาศัยอยู่เท่านั้น

   โลกนี้ จะมีฉันก็ได้ ไมมีฉันก็ได้ มันก็หมายถึง ทุกสถานที่ ทุกสถานะ มีฉันก็ได้ ไม่มีฉันก็ได้ เพราะสภาวะของฉันเป็นสูญ ไม่มีอันตรายกับโลก เป็นผู้ที่ถูกถอดเขี้ยวเล็บออกแล้ว ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีอันตรายใด ๆ กับโลกอีกต่อไป นั่นเอง.....   "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2016, 01:24:47 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



"เวลาเราไปหาครูอาจารย์ที่อยู่ไกลๆ เดินทางเป็นร้อยกิโล ไปถึงแล้วก็ไม่ได้พูด ได้เพียงแค่กราบ แล้วก็กลับ การเดินทางของเรานั้นแม้นจะยากลำบาก แต่ด้วยศรัทธาและความเคารพ นั้นจึงยอมเดินทางไป ถึงแม้ท่านที่เราเคารพศรัทธา จะไม่ได้กล่าวคำทักทายใด ๆ กับเราเลย เราก็ยินยอมพร้อมใจ เพราะเชื่อมั่นในมงคลที่ว่า

สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง)
คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ)
คุณสมบัติของ สมณะ เป็นผู้งดงามเบื้องต้น ด้วยมรรค เป็นผู้งดงามท่ามกลาง ด้วย ผล เป็นผู้งดงามที่สุด ด้วย นิพพาน

ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง)
บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยำเกรง กราบไหว้ ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทำให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด และทำให้เราได้แบบอย่างที่ดีจากคนที่เราเคารพ
สำหรับข้าพเจ้า การเข้าไปบูชาสักการะ นั้นมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นแบบอย่าง ในความเป็น สมณะ และ บรรพชิต เบื้องต้น
เป็นแบบอย่าง ในการสืบทอด และ ถ่ายทอด วิถีธรรม ท่ามกลาง
เป็นแบบอย่าง ใน อริยะมรรค และ อริยะผล ในที่สุด

สองมงคลนี้ นั่นแหละจึงจะทำให้ข้าพเจ้าเดินทางไปกราบไหว้ ทำสักการะ แก่ ครูอาจารย์นั้น ตามสมควรแก่ฐานะ แม้บางครั้งไปถึง ไม่ได้รับการต้อนรับ หรือ ทักทายปราศัย กับครูอาจารย์เหล่านั้น ก็ไม่เคยคิดว่าการไป เป็นการเสียเวลาเลยสักครั้ง


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หลงเพลินในมายา ธรรมดาของผู้ แหวกว่าย ในสังสารวัฏ
« ตอบกลับ #118 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2016, 08:24:05 pm »
0


อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
เมื่อเรายังไม่พบญาณ, ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารอันเป็นอเนกชาติ

คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน,
คือตัณหาผู้สร้างภพ, การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน, เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป

สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว

วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือ ถึงนิพพาน)

   "การแล่นท่องเที่ยวในภพชาตินั้น อาศัยอะไร เป็นปัจจัย อะไรเป็นเหตุ อาศัย ตัณหาเป็นปัจจัย อาศัย ความปรารถนาในสุข แห่งตัณหาเป็นเหตุ สรรพสัตว์ล้วนถูกแผดเผา ด้วย รัก โลภ โกรธ หลง ความไม่รู้ ความเพลิดเพลิน ความชอบ ความชัง ความแค้น และอีกหลากหลายอารมณื ที่เป็นอารณ์ที่ปรุงแต่ง ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้่ง 5 ที่เรียกว่า ทุกข์นั่นแหละเป็นเครื่องหลอกให้ สรรพสัตว์เวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รู้เป้าหมาย มีเพียง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พุทธสาวก ที่มีจำนวนไม่มาก ที่จะหลุดรอดจากวังวน ที่เรียกว่า มายา โอฆะ สังสารวัฏ นี้ได้ เมื่อสัตว์มัวเมา และหลงอยู่ ย่อมเพียรสร้างเรือนปลูกเรือน เริ่มต้นอย่างนี้ทุกครั้้ง ตามวัย ...

สังสารวัฏ ไม่เคยขาด ผู้ประสบภัย เพราะความเชี่ยวกราก และ พระเอก นางเอก ในสังสารวัฏ ไม่มีเลย มีแต่ผู้ถึงฝั่ง กับผู้อยู่ในน้ำ และผู้ยืนอยู่อีกฝั่ง อันเต็มไปด้วยอันตราย ความปลอดภัยก็คือ ต้องข้ามฝั่งมาให้ได้ นั่นเอง

 ฝั่งจะข้ามได้ ก็ต้องอาศัย มรรค และ ความเพียร ของแต่ละบุคคล ที่จะมาถึงฝั่ง อันเว้นจากการเวียนว่ายตายเกิด นี้อีกต่อไป
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ถึงทุกข์ เจียนตาย ก็ อย่าละสติ และ ทิ้งธรรม
« ตอบกลับ #119 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 02:49:02 pm »
0


ข้อความใบลาน ลงท้าย
จารนี้กู ใคร่บอกผู้อ่านที่มีบุญ หากสูได้อ่าน ธรรมวาทีนี้ โปรดจำคำกูไว้ เมื่อขณะภาวนา พูนศีลสมาธิ จงรั้งจิตไว้ว่า
"ถึงทุกข์ เจียนตาย ก็ อย่าละสติ และ ทิ้งธรรม" พึงท่องบ่นไป วันละหลายหน จนกว่า ทุกข์จะเบาเบา



   "ใช้ทุกข์ให้เป็น ในเบื้องต้น ทำ สมังคี คือ การล่วงพ้น ด้วยการเห็นตาม ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ ทุกข์เกิดขึ้นอย่างนี้ ทุกข์ดับไปได้อย่างนี้ การกำหนดทุกข์เป็นอย่างนี้ เลือก ธรรมวิจยะ ให้เหมาะสม แก่ฐานะ ในภาวนา ถึงแม้จะทุกข์เจียนตาย แม้ลมหายใจกำลังจะดับ ก็ต้องตั้งสติให้ได้ว่า ทุกข์ เป็น วิบาก ในวัฏฏ์สงสาร เมื่อเกิดอีก ก็ต้อง ทุกข์อีก ไม่มีทางที่เราจะหนี และ ละจากทุกข์ ถ้าหากต้องเกิดอีกต่อไป อริยะสาวก ย่อมกำหนดความจริงเยี่ยงนี้ และ กระทำทุกข์นั้นให้สิ้นไป จาก มโนธาตุ ในใจ  ทุกข์ ที่เป็น ทุกขธาตุ ย่อมดับไป ตามความรู้จริง อย่างนั้น ด้วยมรรค สมังคี นั่นเอง "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะงวังโส

 
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา