ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - komol
หน้า: 1 [2]
41  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 09:02:13 am


พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ     ชื่อว่า    พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก    กู้ชาติ     พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน     ให้เป็น    พุทธบูชา
แด่พระศาสนา  สมณะ  พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง   คงถ้วน   ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี   ปฏิบัติ   ให้พอสม
เจริญสมถะ   วิปัสสนา   พ่อชื่นชม
ถวายบังคม   รอยบาท   พระศาสดา

คิดถึงพ่อ   พ่ออยู่   คู่กับเจ้า
ชาติของเรา   คงอยู่   คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา   อยู่ยง   คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา   ฝากไว้   ให้คู่กัน ฯ

(จากจารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม)



อาณาเขตของสยามรัฐประเทศแคว้นเขตต์ขันธพัทธะสีมา แต่ครั้งกรุงศรีอโยธเรศมไหสวรรค์บุรีรัตน์ สมัยพระเจ้าตาก

ที่มา fwd mail

และเว็บ

http://tevisho.com/index.php?option=com_content&view=article&id=109&Itemid=362
42  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระ มงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 08:53:34 am



    ในกระบวนเทศน์มหาชาติซึ่งมีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุง
ศรีอยุธยาเป็นต้นมา  และตกทอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นั้น

    พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม)  อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม 
บางกอกใหญ่  ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์  พระครูพจนโกศล (เอี่ยม) นั้น
ถือว่า  ท่านเป็นสุดยอดนักเทศน์มหาชาติฝีปากเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     ก่อนอื่น ควรมาทำความรู้จักกับประวัติการเทศน์มหาชาติ และ
ประวัติและผลงานของท่าน  พอสังเขป ดังนี้ 


ประวัติการเทศน์มหาชาติ

    ในเรื่องพระมาลัยคำหลวงซึ่งเป็นพระ นิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
ได้กล่าวถึงพระมาลัย ซึ่งเป็นพระเถระองค์หนึ่งแห่งโรหนคาม ลังกาทวีป เป็น
พระอรหันต์ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก มักจะไปโปรดสัตว์ในเมืองนรกเนือง ๆ  ครั้งหนึ่ง
พระมาลัยเถระได้รับดอกบัวจากชายผู้หนึ่ง จะนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ระหว่างที่พระมาลัยนั่งคอยเพื่อจะเฝ้าพระศรีอาริยเมตไตรยนั้น ก็มี
เทพยดาทยอยกัน มานมัสการพระเจดีย์จุฬามณี  ทรงทราบว่าพระมาลัย มาจาก
ชมพูทวีป จึงตรัสถามว่าชาวชมพูทวีปทำกุศลอย่างไรบ้าง  พระมาลัยทูลตอบ
ว่า

       “บางคนครองศีลไซร้ บางคนให้ทำทาน ทำอุโบสถสถานสถูป บ้าง
ทำพระวิหารพระชินราช บ้างทำอาวาสในเมือง” และยังทูลต่อไปว่า “ชาวชมพู
ทวีปทำบุญกุศลก็เพื่อหวังพบพระศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยทั้งสิ้น”

      พระศรีอาริยเมตไตรยได้ทรงฟังดังนั้นจึงให้ พระมาลัยมาบอกแก่
ชาวโลกว่า “ให้ทำมหาชาติเนืองนันต์ เครื่องสิ่งละพันจงบูชาให้จบ
ทิวาวันนั้น  ตั้งประทีปพันบูชา ดอกปทุมาถ้วนพัน.........”

               อาจเป็นด้วยคำพูดของพระศรีอาริย์ตอนนี้เอง จึงเกิดความเชื่อ
กันมาตลอดว่า “การฟังเทศน์มหาชาติ ให้จบในวันเดียวกันจะได้บุญมาก และ
จะได้พบกับพระศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยในที่สุด”     พระศรี
อาริย-เมตไตรยตรัสว่า พระองค์จะเสด็จมาอุบัติเมื่อสิ้นพุทธกาล คือ พ.ศ
๕๐๐๐

                มหาเวสสันดรชาดกฉบับภาษาบาลีประกอบด้วยพระคาถา
(ฉันท์ชนิดหนึ่งชื่อปัฐยาวัตตฉันท์)  จำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา   จึงเรียกเป็น
สำนวนชาวบ้านว่า “เทศน์คาถาพัน”

         ประเพณีการเทศน์มหาชาติของราษฎรนั้นปรกติมีระหว่างเดือน
๑๒ กับเดือนอ้าย (ตามปฏิทินจันทรคติ)  อุบาสกอุบาสิกามักรับเป็นเจ้าของ
กัณฑ์เทศน์คนละ ๑ กัณฑ์ ผู้ใดรับเป็นเจ้าของกัณฑ์ใด ก็จัดเครื่องบูชาและ
เมื่อถึงเวลาเทศน์กัณฑ์นั้นก็ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ เจ้าของกัณฑ์มักจะประกวด
กันในการจัดเครื่องบูชาดอกไม้ธูปเทียนสำหรับถวายพระนั้น จัดเป็นชุดตาม
จำนวนพระคาถาในกัณฑ์ที่เป็นเจ้าของ เทศน์มหาชาติเป็นการบำเพ็ญกุศลที่
ครึกครื้นในรอบปี

ที่มา : http://poobpab.com/content/vessandon/wess3.htm-

ขอขอบคุณ
43  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / คาถาหัวใจไก่เถื่อน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 03:28:08 am

คาถาหัวใจไก่เถื่อน
     
 เวทาสากุ         กุสาทาเว
 ทายะสาตะ         ตะสายะทา
 สาสาทิกุ         กุทิสาสา
 กุตะกุภู         ภูกุตะกุ

-----------------------------------------------------------------------------------------------

                    ผมได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่อยู่ในแวดวงเดียวกันท่านหนึ่ง ขอให้ช่วยลง Comment ต่อท้ายบันทึกนี้ แต่ผมอ่านบันทึกต่อท้ายแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์มากในการรู้ที่มาที่ไปของพระ คาถานี้ ผมก็เลยขออนุญาต นำความเห็นนั้นมาเขียนต่อบันทึกให้สมบูรณ์ และถ้าท่านเจ้าของความคิดเห็นมาเยี่ยมและบันทึกความคิดเห็นใหม่แล้วผมก็จะลบ ข้อความนี้ออกไปครับ


-----------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อความส่วนนี้มีผู้ให้ความคิดเห็นไว้ครับ

พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน (สมเด้จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน)

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

               
        พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็น พระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง

         พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับ ไก่ป่ามากมาย และทรงกล่าวกับ พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ว่าไก่ป่านี้ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว

                เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก

                เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป

               ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ

               พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุก อีกว่า

 "พระคาถาไก่เถื่อน ๔วรรค แต่ละวรรค กลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร"

              พระอาจารย์สุกตอบว่า

            "แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด

             วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ

             วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ

             วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา

             วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด"


              ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกองค์คุณแห่ง ไก่ปา ในมิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะได้บรรลุมรรด ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ

๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน

๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน

๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน

๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด

๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน


             นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ

๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล

๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน

๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น

๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น

๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน


              พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง จึงกล่าวกับพระอาจารย์สุกฯ ว่า

             "ดีนัก ดีนักแล และพระอริยเถราจารย์ ได้กล่าวอีกว่า ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาไก่เถื่อน ไว้ว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ผู้ใดภาวนาได้สามเดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ดังพระพุทธโฆษาฯ"

            และไก่ป่านี้ ขันขานเพราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก

            ถ้าแม้สวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น

            ถ้าสวดครบหนึ่งปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย

            แม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย

             ให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก

            เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา


             พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง

               พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ

                ต่อมาพระอาจารย์สุกฯ มาถึงวัดท่าหอยแล้ว พระองค์ท่าน ก็ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่าพระยันต์ มหาปราสาท ไก่เถื่อน ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี

              ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครูสิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล

      สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

      พระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้

      พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย
      พระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน
      แม้พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน


      และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการสามสิบสอง ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของพระอาจารย์สุก ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้



คัดความจาก
หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
44  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระเครื่อง สมเด็จอรหัง พระสังฆราช( สุกไก่เถื่อน) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 03:07:06 am
เป็นอีกเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ พระองค์ท่านครับ หากเราจะมองแต่เนื้อหากรรมฐาน แล้ว
สิ่งสำคัญ วัตถุที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ส่วนหนึ่งก็คือ รูป สัญญลักษณ์ ของพระพุทโธ พระอรหัง ครัุบ



สมเด็จอรหัง วัดชนะสงคราม พระสังฆราช( สุกไก่เถื่อน)

รายละเอียด :    
พระสมเด็จอรหัง วัดชนะสงคราม พระสังฆราช( สุกไก่เถื่อน)




ขอบคุณที่มาภาพ http://www.siamamulet.net

สมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี และสำหรับวงการพระเครื่องแล้ว ถือกันว่า พระสมเด็จอรหัง เป็นต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆัง


ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่ง ในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ จนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้


ตามประวัติของ สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) นี้ เดิมท่านอยู่วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ตามประวัติกล่าววว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑)มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระ สังฆราช(สุก ไก้เถื่อน)มาก โดยเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑) ยกทัพไปเวียงจันทร์ท่านได้แวะกราบหลวงปู่สุก ที่วัดท่าหอย โดยหลวงปู่ท่านกล่าวว่าไปศึกครั้งนี้จะได้ของศักดิ์ศิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลง มาด้วย ซึ่งซึ่งหลังจากเศร็จศึกก็ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกต และ พระบางเข้ามากรุงธนบุรี


ต่อมาหลังจากรัชกาลที่๑ ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงนิมนต์ท่าน ให้มาสอนวิปัสสนาธุระในกรุงเทพมหานคร


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาสถิตที่วัดมหาธาตุ จะแตกฉานทางด้านคันถธุระหรือทางด้านปริยัติ ส่วนฝ่ายซ้ายจะสถิต ณ วัดป่าแก้ว ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิทยาคม มีเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมัยนั้น มีเกจิอาจารย์สำคัญที่มีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ อาทิ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระวันรัต (วัดป่าแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น



ซึ่งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของ พระภิกษุสงฆ์ไทยนั้น ได้สืบทอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดส่งเสริมการศึกษาทางด้านนี้มาก (สายวิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ) ได้เจริญรุ่งเรื่องที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จโตฯ ผู้สร้างพระเครื่องพระสมเด็จอันเลื่องลือยิ่งนักนั้น ท่านก็ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเก่งทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เรียนพระปริยัติจนไม่มีอาจารย์สอนได้ และเก่งวิปัสสนา ซึ่งหาได้ยากยิ่งในพระภิกษุรูปเดียวกัน เพราะปกติทั่วไป มักจะเก่งคนละอย่าง ไม่มีพระภิกษุรูปใดที่เก่งทั้ง ๒ ด้านเฉกท่าน




พระอาจารย์ที่สอนวิทยาคมให้แก่ สมเด็จโตฯ องค์แรก ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ก็คือ พระอริญญิก (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอาจารย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่ท่านได้สมญานามนี้ เพราะท่านสามารถแผ่เมตตาจนกระทั่งไก่ป่าที่เปรียวและตื่นง่าย เชื่องเป็นไก่บ้านเข้ามาจิกข้าวที่ท่านเสกให้กินได้ สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก ท่านทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ของได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุ รสิงหนาท และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยทรงผนวช




ในการทะนุบำรุงพระนครในช่วงเวลานั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ได้ทรงเป็นแม่งานในการก่อสร้างทะนุบำรุงสถานที่สำคัญ อาทิ พระบรมมาหราชวัง ป้อมประตู คูเมืองต่างๆ ในด้านศาสนสถาน สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ได้บุรณะ วัดมหาธาตุ และ วัดชนะสงคราม ด้วย


ในด้านศิลปและความเก่าของพระวงการให้การยอมรับว่าสมเด็จอรหังวัดชนะสงครามเป็นพระที่เก่าจริงไม่ใช่พระฝีมือยัดกกรุแต่ประการใด


ประวัติสถานที่ขุดพบคือใต้ฐานชุกชีพระหลวงพ่อปู่พระประธานฯในพระอุโบสุวัด ชนะสงครามที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ทรงเลื่อมใสเมื่อครั้งเสร็จสงครามเก้าทัพทรงได้หยุดพัก ณ วัดแห่งนี้ ทรงถอดฉลองพระองค์ลงยันต์ (เสื้อยันต์) คลุมองค์พระถวายเป็นพุทธบูชา ช่างได้โบกปูนทับทำให้องค์พระใหญ่ขึ้นดังปัจจุบัน สมเด็จอรหังที่พบในกรุวัดชนะสงครามเป็นศิลปและเชิงช่างเดียวกันกับสมเด็จ อรหังที่พบที่วัดมหาธาตุ ...ตามประวัติบุคคลและสถานที่ ...จึงนับเป็นพระสมเด็จที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
45  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:57:30 am
เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)




"วัดราชสิทธาราม" เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนอิสรภาพ ด้านเหนือสะพานเจริญพาศน์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ด้านทิศตะวันตกของวัดที่มีอยู่ก่อนแล้ว คือ "วัดพลับ"

ต่อ มาได้โปรดให้รวมทั้ง 2 วัดเข้าเป็นวัดเดียว มูลเหตุที่ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ใกล้กับวัดพลับเดิมนั้น เนื่องมาแต่สมเด็จพระสังฆราช(สุก) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อยู่จำพรรษา ณ วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม จ.พระนครศรีอยุธยา

ครั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯนิมนต์ให้ลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านได้ถวายพระพรขออยู่วัดฝ่ายอรัญวาสี เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระอย่างเชี่ยวชาญ

โดยที่ได้ ทรงพิจารณาเห็นว่า วัดพลับ เป็นวัดที่สำคัญฝ่ายอรัญวาสีของจังหวัดธนบุรี คู่กับ "วัดรัชฎาธิษฐาน" เป็นวัดใกล้พระนคร จึงได้ทรงโปรดให้อยู่วัดพลับและเพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ จึงได้ทรงสร้างวัดพระราชทานให้ใหม่ดังกล่าวมา ทั้งทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ "พระญาณสังวรเถร" เมื่อพ.ศ.2325 พร้อมกันกับที่ได้ทรงตั้งพระราชาคณะรูปอื่น เป็นต้น

ต่อมา พระอาจารย์สุก ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 วัดราชสิทธาราม จึงเป็นวัดที่สำคัญอีกที่หนึ่ง และอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตน โกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ

ย้อนไปในสมัยก่อน บริเวณวัดราชสิทธาราม มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ มีสิงสาราสัตว์เข้ามาอาศัยภายในบริเวณวัดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ "ไก่ป่า" กล่าวกันว่าไก่ป่าเป็นไก่ที่ดุ ไม่เข้าหาคน แต่ด้วยความเมตตาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สามารถแผ่พรหมวิหารธรรม ทำให้ไก่ป่าเชื่องดุจเป็นไก่บ้านได้ทีเดียว

ทำให้ท่านได้รับฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า "พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน"

ด้วย ความที่วัดราชสิทธาราม เคยเป็นศูนย์กลางสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสายวิชชาที่สืบสานมาแต่โบราณ นับแต่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำรัตนโกสินทร์

พระครูสิทธิสังวร (วีระ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ในฐานะผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2540 วัดราชสิทธาราม ได้จัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)" เพื่อให้เป็นสำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จัดสร้างตรงบริเวณคณะ 5 วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร (วัดพลับ)

เพื่อให้เป็นสำนักการเรียนรู้ฝึกจิตตภาวนา ดำรงชีวิตที่ดีงามแห่งสุขภาวะทางปัญญา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

นอก จากนี้ พิพิธ ภัณฑ์กรรมฐาน ยังได้จัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งจำลองสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เพื่อให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธ ภัณฑ์ได้กราบนมัส การ อีกทั้ง ภายในพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ยังได้รวบรวมสิ่งของสำคัญมากมาย อาทิ ธารพระกรของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ภาพปู่พระฤๅษีปัญจะโภคทรัพย์ ภาพยันต์พระฤๅษีโภคทรัพย์ 5 พระองค์ ภาพพระฤๅษีตาไฟ และตำราใบลานวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจในพระเครื่องวัตถุมงคล ที่วัดราชสิทธาราม สามารถมาชมและเช่าบูชาพระเครื่อง อาทิ ตุ๊กตาใหญ่เนื้อชินพระสังวรา (ชุ่ม) ปิดตาเนื้อชินพระสังวรา (ชุ่ม) เหรียญที่ระลึกงานปลงพระศพ พระสังวรานุวงศ์เถระ พระสังวราเนื้อทองสำริดห้าเหลี่ยม พระปิดตาเนื้อชินพระสังวรา พระปิดตาเนื้อดินเผาพระสังวรา เป็นต้น

นอก จากนั้น พิพิธภัณฑ์กรรมฐานสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ยังจัดกิจกรรมการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นประจำ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) คณะ 5 ซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร.0-2465-2552

ส่วนผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)" เปิดตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน

หน้า 29
ที่มา

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakE1TURVMU13PT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHdOUzB3T1E9PQ==
46  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่ จากเอกสาร นำโพสต์ไว้บ้างบางท่านไม่ได้อ่าน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:52:59 am
ทุกอย่างขอบารมีพระพุทธเจ้า
วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่


๑. วิชาบังคับธาตุขันธ์
ให้บังคับจากรูปกายทิพย์ ให้เปลี่ยนอริยาบทต่างๆ เช่น ยืนเป็นนั่ง เป็นนอน เป็นเดิน ทำให้กายทิพย์เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นแก่
ประโยชน์ ยกสมาธิจิตให้สูงขึ้น จิตมีอานุภาพมากขึ้น

๒. วิชาแยกธาตุขันธ์
แยกธาตุน้ำก่อนแยกธาตุดินแยกธาตุไฟแยกธาตุลมไม่มีกายมีแต่ธาตุเท่านั้น>
ีีประโยชน์ ใช้ทางมรรค ผล จิตขาดจากการยึดมั่นถือมั่น ในรูปกาย

๓. วิชาคุมจิตคุมธาตุ
ใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิต คุมจิตตัวเอง คุมธาตุทั้ง ๔ ของตัวเอง
ประโยชน์ ทำให้มีสติมีสมาธิเข็มแข็ง



 วิชาธาตุปีติ ยุคล สุข

๑. ธาตุปีติ ยุคล สุข รวมกัน เรียกว่าธาตุธรรมกาย
ใช้ทำเป็นพื้นฐานแห่งอภิญญา จิตแก่กล้าใช้ตติยฌาน(สุข)ได้เลย
ถ้ายังไม่แก่กล้าใช้ถึงจตุถะอรูปฌาน ถอยมา ตติยฌาน(สุข)

๒. ธาตุปีติอย่างเดียว เรียกว่า ธาตุปีติวิมุติธรรม
ทำให้กิเลสทั้งปวงหลุด พิจารณาโดยวิธี บริกัมว่า นิพพาน

๓.ธาตุธาตุยุคลหก เรียกว่า ธาตุกายอมตะ
ประโยชน์ใช้ทำจิตให้สงบจากกิเลส พิจารณาว่า สงบ

๔. ธาตุสุขสมาธิเรียกว่าธาตุ สุขนิโรธธัม
ประโยชน์ ทางสุขอยู่ในความว่าง เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์

ธาตุปีติทั้งห้า (ธาตุเทวดา) ใช้ได้ทุกอย่างแล้วแต่จิต
ธาตุยุคล(ธาตุพรหม) ใช้ทางเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ธาตุสุข(ธาตุพระพุทธเจ้า) ธาตุกายสุข จิตสุข มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

ทำจิตเป็นสุข สยบกิเลส ธาตุ อุปจารพุทธานุสติ ใช้สยบมารทั้งภายนอก ภายใน
ใช้สยบภายในภายนอก



 วิชาทำฤทธิ์

อธิ ฐานตั้งธาตุ ห้าดวง ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณธาตุ ให้ทำลายธาตุ น้ำ ทำลายธาตุ ไฟ ทำลายธาตุดิน ทำลายธาตุลม เหลือวิญญาณธาตุ ก่อนทำให้อธิฐานเอาฤทธิ์ก่อน
47  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / ประวัติวัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:49:50 am
วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)



วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมที่เดียวชื่อ
วัดพลับ มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัววัดพลับเดิมนั้น
อยู่ต่อ วัดราชสิทธารามเดียวนี้ไปทางทิศตะวันตก ครั้นเมื่อสร้างวัดราช-
สิทธารามขึ้นในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขต
วัดราชสิทธารามด้วย ราษฎรจึงยังคงเรียกชื่อ วัดราชสิทธาราม ตาม
นามเดิมว่า วัดพลับกันทั่วไป ในบัดนี้ ประวัติราชสิทธาราม เริ่มปรากฎมี
เรื่องราวเป็นสำคัญขึ้นเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เหตุเนื่องมาจาก
พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนาพระอาจารย์สุก
วัดท่าหอย ริมคลองคูจามในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงมา
จำพรรษาในเขตพระนคร พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่
พระญาณลังวรเถรเรื่องทั้งนี้เป็นด้วยพระญาณสังวรเถร ทรงวิทยาคุณ
ในทางวิปัสสนาธุระ อย่างเชี่ยวชาญสามารถเลืองชื่อลือชาเป็นที่นับถือของคนทั้งหลายในยุคนั้นเป็น
อย่างยิ่งกล่าวกันว่าท่านทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอย่างแก่กล้า ถึงสามารถให้ไก่เถือนเชืองได้เหมือนไก่บ้าน
มีลักษณะทำนองเดียวกับคำโบราณที่ยกย่องสรรเสริญพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในเรื่องสุวรรณสามชาดก

ต้องการอ่านต่อ
โปรดคลิ๊กอ่านต่อที่นี่ นะครับ

http://www.109wat.com/bk01.php?id=423
48  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:45:55 am
พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)

สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ไทย
ถึง 4 พระองค์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือรัชกาลที่1-4 รวมถึงเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จฯโต
พระองค์ท่านได้สืบทอดแนวการปฏิบัติกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อเนื่องมาจากสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
โดยไม่ขาดสาย

ขณะนี้มีเพียงที่วัดราชสิทธาราม ซ.อิสรภาพ 23 ธนบุรี เพียงแห่งเดียว
 ที่คงรักษาแนวทางเดิมไว้จนถึงทุกวันนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับการเรียนรู้
ตรงตามพระไตรปิฎก ขจัดอุปาทานและความหลงของจิตได้

เหตุที่เรียก พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง
และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง
เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ
(คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง

พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศในทาง
เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถระเจ้า

พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สืบสายพระกัมมัฏฐานของพระพุทธองค์ที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล
โดยพระราหุลเถระ เป็นองค์ต้นสาย
สืบมายังพระโสณะและพระอุตระจากลังกาวงศ์ธรรมทูตแห่งศรีธรรมาโศกราช สู่สุวรรณภูมิ

พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกัมมัฏฐานที่
พระเถระอย่างสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
เจ้าประคุณสมเด็จโตพรหมรังสี และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฯ
ได้เคยปฏิบัติจนบรรลุภูมิธรรมมาแล้วทั้งสิ้น
การสืบธรรมสายนี้เสมือนหนึ่งร่วมรักษาพระพุทธศาสนามรดกธรรมของมนุษยชาติให้คงอยู่
จนสิ้นอายุพระศาสนา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สงบจิตเกิดบุญมหาศาลยิ่งกว่าประกอบมหากุศลใดใด
ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยติดต่อ ขอรายละเอียดที่
พระครูสังฆรักษ์ (วีระ) ฐานวีโร ๐๒ – ๔๖๕-๒๕๕๒ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)กรุงเทพฯ

กรณีต่างจังหวัด หากมีผู้สนใจเกินกว่ายี่สิบท่าน
และมีสถานที่ที่พระภิกษุผู้เป็นครูกัมมัฏฐานพักได้ โดยไม่ขัดพระธรรมวินัย
เชิญติดต่อมาได้ โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดใด
นอกจากจัดยานพาหนะรับ-ส่งเท่านั้น

เชิญร่วมสักการะบูชา รูปปั้นจำลองเหมือนจริง สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
และ พิพิธภัณฑ์ไม้เท้าเบิกไพร
ณ พระอุโบสถ และ คณะ๕ วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) กรุงเทพฯ ติดต่อโดยตรงได้ทุกวัน

เชิญเยี่ยมชมเว็บสมเด็จฯสุก (พระประวัติ และ วิธีการฝึกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ)


คลิกที่ www.somdechsuk.com
49  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:41:40 am
คำปริยายขึ้นธรรม
ใช้เทศสอนเมื่อขึ้นพระกรรมฐาน เพื่อปูพื้นฐาน และ ทำความเข้าใจ
ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ)
สืบทอดมาจาก วัดป่า แก้ว ยุคอยุธยา
(พ.ศ. ๒๓๒๖)
(ถอดจากอักขระขอมเป็นอักษรไทยจากคัมภีร์ใบลาน)

--------------------------------


นะโม ๓ จบ ฯ
อุกาสะ วนฺทิตวา สิระสา พุทธํ ธัมมํ สํฆญฺ จะ อุตตฺมํ เทยยะ ภาสายะ ปวกฺขามิ กมฺมฏฺฐานํ ทุวิธกํ, อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา เมว อภิวาทฺเรน


ข้าฯ จะขอไหว้นบคำรพด้วยคารวะในกาลบัดนี้ พุทธํ สพฺพญฺญูพุทธํ ยังพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พระองค์ ผู้ตรัสรู้เญยธรรมทั้งมวล และพระสัพพัญญูเจ้านั้นโสต อุตตมํ อันอุดม อนุตตรํ อันหาบุคคลเทพดาทั้งหลาย อันจะยิ่งบ่มิได้ และข้าฯก็จะไหว้พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าองค์นั้นโสต สิรสา ด้วยหัวแห่งข้าฯในกาลบัดนี้ จ ปน เกวลเมว พุทธํ อภิวนฺทิยะ ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรนะ ข้าก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ เป็นอันดีแลยิ่งนัก ธมฺมํ นวโลกุตตฺรธมฺมํ ทสวิธงฺปริยัติยา สห ยังนวโลกุตตระธัมเจ้า ๙ ประการ เป็นสิบกับทั้งพระไตรปิฏกเจ้าทั้งสาม อัน เกิดแต่อกพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า และ พระธัมมเจ้านั้นโสต สวากขาตํ แลพระพุทธเจ้าหากเสด็จเทศนาอันไพเราะ เพราะแลดียิ่งนัก แล ข้าฯ ก็ไหว้พระธัมเจ้านั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้าฯในกาลบัดนี้แล จ ปน เกวลเมวะ พุทธํ ธมฺมํ อภิวนฺทิย ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าแล พระธัมมเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วยิ่งสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรน วนฺทิตวา ข้าฯก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ สงฺฆญฺ จ ในกาลบัดนี้ สงฺฆงฺ อฏฺฐํ อริยปุคคฺลานํ สุมูหํ ยังชุมพระอริยเจ้าทั้งหลาย ๘ จำพวก ฝูงนั้นเถิด อุตตฺมัง อันอุดม อันเผาเสียซึ่งมืดมนอนธการ อันกล่าวคือ อวิชา ตัณหา เสียแล้ว และบุคคลทั้งหลาย ๘ จำพวกฝูงนั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้า ในกาลบัดนี้แล ตทนฺตรํ ถัดนั้นไป ข้าฯกระทำประนมอันอ่อนน้อม นมัสการแก่เจ้ากูแก้วทั้งสามประการนี้แล้ว อหํ อันว่าข้า วกฺขามิ ปริเยสามิ ข้าจะเรียนเอาซึ่งพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต ทุวิธกํ สมถวิปสฺสนาสํขาตํ ทุวิธกํ อันมีสองประการอันกล่าวคือ พระสมถกรรมฐาน และพระวิปัสสนากรรมฐาน และ พระกรรมฐานเจ้านั้นโสต พุทธํ ปจฺเจกสมฺพุทธํ ยังเป็นของแห่งพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า แลพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต จตุตฺถอริยสมฺพุทธํ ยังเป็นของอันพึงพอใจแห่งพระอริยสาวกเจ้าทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าได้เสด็จเทศนาประกาศไว้ว่า ภาวนาทิโว ภาวนารตฺโต พระท่านว่าไว้ให้ภาวนาทั้งกลางวัน และ กลางคืน และเป็นคำไทยเพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายดาย กุลบุตรทั้งหลายผู้จะเจริญภาวนา สมถกรรมฐาน และ พระวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหัก เสียซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เสียแล้ว จะเอาขึ้นสู่พระนิพพาน ตามบุราณขีณาสพเจ้า ทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นแล


อุกาสะ ข้าฯ แต่กูแก้วทั้งมวล อันมีองค์พระสัพพัญญูเจ้านั้นเป็นโตแก่ตูข้าฯ ทั้งหลายอันมีมาก็ดี อันมีบาปอกุศลก็ดี อันมีกุศลเจตนาก็ดี ฉะนั้น อันพร้อมพรั่งกันภายใน แลมีขันธ์ทั้งห้าอีกทั้งปฏิบัติภายนอก ตูข้าฯทั้งหลายมีข้าวตอกดอกไม้ แลธูปเทียน ตูข้าฯทั้งหลายได้เฝ้าเณยธัมแล นำสู่สาธรที่นี้แล้ว ตูข้าฯ ทั้งหลาย จะเอามาตบแต่งไว้ในใจ จะทำให้เป็นสองโกฏฐาส อันปฐมโกฏฐาสหัวทีนั้น ตูข้าทั้งหลายขอบูชาสมาเถิง (ถึง) สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิริยะคุณ และคุณเจ้ากูแก้วทั้งมวลอันหาที่สุดมิได้ ตูข้าทั้งหลายจะขอบูชาและขอสมา อย่าให้เสีย…..ชำรุด……อันเพื่อจะให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยค้ำชู ตูข้าทั้งหลายนี้จะขอบูชา ได้นิพพานในอาตมภาพชาตินี้จงอย่าได้บุคคลตนใด จะประจานพระโพธิญาณนั้นก็ดี จงเป็นเหตุเป็นปัจจัยค้ำชูบุคคลนั้นให้ถึงยังปัญญา อันชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณอันจะนำสัตว์ทั้งหลายตามกรรม (ลอย)พระพุทธเจ้าทุกวันเถิดฯ อันทุติยะโกฏฐาส อันธุระคำรบสองนั้น ตูข้าทั้งหลายจะขอตั้งเอาไว้ยังห้องหน้าแห่งตูข้าทั้งหลาย จะขอสมาเถิง(ถึง) นามบัญญัติแห่งเจ้ากูแก้วทั้งมวล ตูข้าทั้งหลายอันบ่มิรู้และหากยังได้ประมาทเสียซึ่งนามบัญญัติ และข้ามิได้คารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวลด้วยทวารทั้งสามแล อิริยาบถทั้งสี่ อันใดอันหนึ่งก็ดี แรกแต่ชาตินี้ค่อยคืนไปหนหลัง แม้นว่าได้อนันตะชาติสงสาร อันหาตอหามูลบ่มิได้ ตูข้าทั้งหลายก็รู้ว่าเป็นโทษแห่งตูข้าทั้งหลายนี้เป็นอันมาก นักหนาที่จะแก้โทษทั้งหลายทั้งมวลอยู่นั้น คือ


โมโห คือหลง
อหิริกํ มิละอายแก่บาป
อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป
อุจธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
โลโภ โลภ
ทฏฺฐิ ถือมั่น
มาโน มีมานะ
โทโส โกรธ
อิสสา ริษยา
มจฺฉริยะ ตระหนี่
กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ
ถีนํ กระด้าง หดหู่
มิทิธํ หลับ ง่วง
วิจิกิจฉา สงสัย

เพราะบาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ หากให้ตูข้าทั้งหลายมืดมน อนธการ ด้วย อวิชชา ตัณหา หากมาให้ตูข้าทั้งหลายนี้มิได้รู้จักพระธรรมเจ้าทั้งสี่ ประการ คือทุกข์สัจจะ สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ เพราะ บาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ หากมาครอบมางำมากำบังใจตูข้า ให้ตูข้าทั้งหลายเป็นไป เป็นบาปแก่ตูข้าทั้งหลาย ซึ่งบ่มิได้รู้ฉลาด แลบ่มิได้รู้อาย มิทำตามคำสั่งสอนแห่งเจ้ากูแก้วทั้งมวล จงมีใจเอ็นดูแก่ตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว มารับเอาเครื่องอามิสบูชาแห่งตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงค่อยพิจารณาดูโทษ อันมีอยู่ในจิต ในใจ ในตนแห่งตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงค่อยประมวลเอาโทษนั้นมาตั้งไว้ยังห้องหน้า และกระทำเป็นอโหสิกรรมเสีย ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงมากำจัดเสีย ล้างเสีย เผาเสีย ยังโทษอันมีในจิต ในใจ แห่งตูข้าทั้งหลายด้วย ตะทังคะปหาน และ นิสสรณปหาน ขอให้ตูข้าทั้งหลายบริสุทธิ์จากโทษอันนั้น ประดุจเงิน ทองเหลือง อันใสสดหมดจดจากตะกั่ว และ ทองชิน ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายบริสุทธิ์จากโทษนั้น ดุจพระจันทร์ พระอาทิตย์เสด็จขึ้นอยู่เหนือเขายุคนธร อันปราศจากเมฆ และ หมอก มีรัศมี ออกเลื่อมพรายฉายงามแท้ดีหลี อย่าได้เป็นนิวรณธรรมอันจะห้ามภูมิทั้งสี่ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ โลกุตตรภูมิ ตูข้าทั้งหลายจะภาวนาสมถะกรรมฐานเจ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี ตั้งแรกแต่ พระขุททกาปีติ เจ้าเป็นโต และมี อสุภกรรมฐานเจ้าเป็นปริโยสาน ขอ ให้ตูข้าทั้งหลายได้อนิมิต สนิมิต ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้อุคคหนิมิต และ พระปฏิภาคนิมิตเจ้า จงมาตั้งอยู่ในห้องหน้าแห่งตูข้าทั้งหลายทุกทิวาราตรี อย่าได้ขาด ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้อุปจารสมาธิธรรมเจ้า และ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้าทุกประการ อักขระ และ พยัญชนะ อย่าให้เสียสักผลสักอัน ใช่แต่เท่านั้น ตูข้าทั้งหลายปรารถนาภาวนาวิปัสสนาปัญญาพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี อันแรกแต่วิสุทธิศีลเจ้าเป็นโต และ มีอนุโลมญาณเจ้าเป็นปริโยสาน ขอให้ตูข้าทั้งหลายมีสติ ศีล สมาธิ ปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า อันกล้าอันคมอันเล็งแลดู พระไตรลักษณ์อันหมายรู้จักยังรูปธรรม นามธรรม อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อันจะหมายหนีวัฏฏะสงสาร อันหาตอหามูลบ่มิได้ ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้มรรคธรรม ผลธรรม นิพพานธรรม ตามความปรารถนาแห่งตูข้าทั้งหลายนี้จงทุกประการเถิดฯลฯ

ประการหนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลาย อันได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วดังนี้ก็ดีสัตว์ทั้งหลายก็ตามได้จมอยู่ในที่ ร้าย ว่ายอยู่ในอเวจี ทนทุกขเวทนาใน นรก เปรต ดิรัจฉาน อสุรกาย ในอบายนั้นก็ดี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายนี้ จงไปค้ำชูสัตว์นั้นให้ขึ้นพ้นจากทุกข์ ให้ได้มาเสวยสุขในมนุษสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า ก็มีด้วยประการฉะนี้ทุกตัวทุกตนเถิดฯลฯ ประการหนึ่งเล่ามหาอุรสุราช ผู้ใดอันหากได้เสวยสุขนั้นเล่า เป็นต้นว่า พระเจ้าแผ่นดิน และ เสนาแลมหาอำมาตย์แล อาณาประชาราษฏรทั้งหลายจงได้เสวยสุขนั้นเล่า ให้ยิ่งกว่าได้ร้อยเท่าพันทวี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวล ก็มีด้วยประการฉะนี้ทุกตัวทุกตนเถิด ประการหนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลายอันได้มาสัมมาคารวะแก่เจ้ากู แก้วทั้งมวลดังนี้ก็ดี สัตว์ทั้งหลายฝูงใดอันหากยังได้รักษาชีวิตแห่งตนๆ ก็มีด้วยประการฉันใด ฝูงสัตว์ทั้งหลายจงรักษาชีวิตแห่งตูข้าทั้งหลาย ก็มีด้วยประการฉันนั้น ทกตัวทุกตนเถิด ตูข้าทั้งหลายหากยังได้รักษาชีวิตแห่งตนๆ และมีด้วยประการฉันใด ตูข้าทั้งหลายนี้จงรักษาชีวิตแห่งฝูงสัตว์ทั้งหลาย ก็มีด้วยประการฉันนั้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายจงมีใจเอ็นดูกรุณาซึ่งกันและกัน ไป มา แล ชักชวนกันมาภาวนาสมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหักเสียยังขันธ์ทั้งห้า และจะเอาตนเข้าสู่นิพพานตามบุราณขีณาสพเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นฯ ประการหนึ่งเล่า ด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลาย อันได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวลดังนี้ก็ดี พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ห้ากับทั้งปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า หกกับทั้งพระนิพพาน อนึ่งจงจำเริญสิริสวัสดี มีแก่ตูข้าทั้งหลายทุกตัวทุกตนเถิด จนตราบเท่าเข้าสู่นิพพานธรรมเจ้านี้ ทุกวันเถิดฯ ประการ หนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลายอันได้รีบร้อนห้อมยับมานับนานแต่ อนันตชาติสงสาร เป็นต้นว่า ได้ให้ทาน รักษาศีลขึ้นไป เมตตาภาวนาตราบเท่ากาลบัดนี้ก็ดี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายจงไปค้ำชูท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ อันอยู่รักษาพระศาสนาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดาทั้งหลาย ทุกตัวทุกตน ตราบเท่าห้าพันพระวสา จงมีสวัสดีจำเริญทุกวันเถิดฯ


อุกาสะ อจฺจโย โน ภนฺเต อชฺชคมา ยถาพาเล ยถามูฬเห ยถาอกุสเล เย มยํ อกริมหา เอวมฺภนฺเต อจฺจโย โน ปฏิคฺคณฺหถ อายติง สงฺวเรยฺยามิ ฯ
อุกาสะ ข้าแต่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า อันพระองค์อาจนำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ให้เท่ากับพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระองค์อันจะนำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ยังไปมิได้เท่าพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระองค์อันประกอบด้วยพระมหากรุณาซึ่งจะมาตั้งยังไว้พระศาสนา ห้าพันพระวะสา จึงจะมีพระอริยโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี แลพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย จึงจะมานำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานเท่าพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระสัพพัญญูเจ้าเล่า พระองค์ประกอบด้วยมหากรุณา จึงจะมานำเอาตัวข้าทั้งหลายเข้าสู่นิพพานในกาลบัดเดี่ยวนี้แน่แท้ดีหลี


อุกาสะ ข้าจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้าเล่า พระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหากรุณาตั้งแรกแต่วันนี้ไปเบื้องหน้า ข้า จะขอตั้งอยู่ในพระไตรสรณะคมทั้งสามประการ กับทั้งศีลห้าข้อคือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวร อาชีวปาริสุทธิ์ศีล ปัจจยปัจจเวกขณะ และศีลนี้ให้เป็นนิจตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้เถิดฯ ข้า แต่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์อันประกอบด้วยมหากรุณา พระองค์จงรู้ว่าข้าพเจ้านี้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณะคมทั้งสามประการ กับทั้งศีลห้าข้อให้จงเป็นนิจตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้เถิดฯ ถ้าจะภาวนาอันใดอันเชื่อถือเข้าเถิดฯ ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้าเพื่อจะขอเอา พระปีติธรรมเจ้าทั้งห้านี้จงได้ ขอ พระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งหลายตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าองค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาพระปีติธรรมเจ้าทั้งห้าแล พระยุคลธรรมทั้งหก พระสุขพระอุปจารสมาธิธรรมเจ้าในห้องพระพุทธคุณเจ้านี้จง มาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจรณะ สมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ อรหํ อรหํ อรหํฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ ขุทฺทกาปีติ เบื้องท่อนต้นในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขณิกาปีติ เบื้องอันท่อนสองในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระโอกกนฺติกาปีติ เบื้องอันท่อนสามในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระอุพเพงคาปีติ เบื้องอันท่อนสี่ในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระผรณาปีติ เบื้องอันท่อนห้า ในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ครั้นข้าได้ยังพระลักษณะทั้งห้านี้แล้ว ข้าฯจะขอเข้าลำดับเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าสับเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าคืบเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าวัดเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าสะกดเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติ ท่อนต้น ในห้องพระพุทธคุณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร และ กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนานี้ แดนใดแล ข้าฯยังไปบ่มิได้ในพระลักษณะพระขุทฺทกาปีติ เจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตข้านี้ยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติเจ้า นี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แลข้าฯ จะค่อยบริกรรมไปว่า พุทโธ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แลข้าจะทอดสติไว้ในห้องหทัยวัตถุ แล้วข้าฯจะค่อยพิจารณาดูธรรมานุธรรมปฏิบัติ อันเกิดในขันธ์ทั้งห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ แล้วข้าจะค่อยพิจารณาดูยังพระลักษณะรสปะทัฏฐานะธรรม อันพลัดพรากจากขันธ์ทั้งห้า ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะพระขุทฺทกาปีติเจ้า จงมาบังเกิดแก่ข้าฯในขันธ์ทั้งห้าแก่ข้าดังเก่า ข้าฯจะขอเข้าอยู่ให้รู้จักรสปีติแห่ง พระขุทฺทกาเจ้านี้ จงมาสัญญาแก่ข้าก่อนเถิดฯนิพพานปัจจะโยโหนตุ ชื่อว่า อจฺจโย โน ภนฺเต แล้ว พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระอริยสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระอริยสงฆ์ผู้สอนพระกรรมฐานเจ้าองค์ต้นจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้าเพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติธรรมเจ้า จงมาสัญญาแก่พระอริยะเจ้าแต่ก่อนโน้นฉันใด จงมาสัญญาแก่ข้านี้เถิด ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ


ข้าฯจะขอภาวนาอานาปานสติธรรมเจ้า เพื่อขอเอายัง อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอา อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนา แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอกฯลฯ เท่าดังนั้นก็ดี อันว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรเพื่อขอเอายังอุคคหนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แล้วข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้า ขอฯจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจะโย โหนตุ ฯ ข้าฯจะขอภาวนากายคตาสติเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯลฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้า นี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แล้วค่อยภาวนาไปว่า เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯ นี้แน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า เกสา เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที ข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ ในอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ ในขณะที่ข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ปฐวี ปฐวี ปฐวี ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุ ฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้อง อุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้า ฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แลข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง สันหลังข้าฯปอก ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี และข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


อุกาสะ ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิในห้องอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนาจงมาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาปฐมฌานอันประกอบด้วยองค์ห้าประการคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และขอเอาทุติยฌานอันประกอบด้วยองค์สี่ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และข้าจะขอเอายังตติยฌานอัน ประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข เอกัคคตาอุเบกขา บัดนี้พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายยังว่าหยาบนัก เป็นโลกียธรรม รู้ฉิบ รู้หาย รู้เกิด รู้ตาย บัดนี้ข้า
ฯจะหน่ายเสีย ข้าฯจะขอภาวนาเอาจตุตถฌาน อันประกอบด้วยองค์สองคือ สุข เอกัคตา อุเบกขา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขอเข้าอยู่นานประมาณหมากเคี่ยวคำหนึ่งจืด ข้าฯจึงจะออกจากฌาน ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด แลข้าฯจะขอเอาปัญจมฌานอัน ประกอบด้วยองค์สอง คือ อุเบกขา เอกัคคตา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขออยู่นานหมากคำเดียวหนึ่งจืด ข้าฯจะออกขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


อุกาสะ ข้าฯจะขอภาวนาเอายังอนุสสติกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ จงมาเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควาฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯ จะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาบังเกิดปรากฏอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ข้าจะค่อยภาวนาไปว่า ธัมโม ธัมโม ธัมโม ได้ละร้อยที ได้ละพันทีขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


ข้าฯจะขอภาวนาพรหมวิหารเจ้า สี่ประการ มีเมตตาพรหมวิหารเจ้าเป็นต้น กรุณาเจ้าท่อนสอง มุทิตาเจ้าท่อนสาม อุเบกขาเจ้า ท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอเชิญปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาในห้องเมตตาพรหมวิหาร ด้วยคำข้าฯว่า
อหํ สุขิโต โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ถึงความสุข
อหํ อเวโร โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร
อหํ อพฺยาปชฺโฌ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน
อหํ อนีโฆ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความคับแค้น
สุขี อัตฺตานํ ปริหฺรามิ ขอเราเป็นผู้มีความสุขรักษาตน
อตฺต สุขฺขี ขอตัวเราจงมีความสุข
สุขี ขอเราจงเป็นผู้มีสุข


ข้าฯจะขอเอายังบุญกุศล คืออันให้ข้ามีสุข ตามสัตว์ทั้งหลายทั้งมวล ตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล อกนิฏฐพรหมโพ้น มาเพิ่ม มาแถม ผล ยังกุศลผลบุญแห่งข้าฯ คือให้ข้าฯมีสุขนี้กับหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้นทุกตัวทุกตนเถิดฯ ข้าฯจะได้มีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า แลมีด้วยประการฉันใด ข้าฯก็ย่อมจักให้สัตว์ทั้งหลายทั้งมวลมีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ๗ บทนี้ แลข้าขอแผ่เมตตาให้ตั้งแรกแต่สัตว์อันมีในตัวแห่งข้าฯนี้ เป็นต้นว่า หนอนก็ดี ขอให้มีความสุข กับหมู่สัพพสัตว์ทั้งหลายทั้งมวลตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้น ทุกตัวทุกตนเถิดฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุปจารสมาธิ แล อัปปนาสมาธิ ในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ใน อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เมตตาพรหมวิหารเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน สันหลังข้าฯปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อะหัง สุขิโต โหมิ เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที และข้าฯจะทอดสติไว้ในหทัยวัตถุ และข้าจะค่อยบริกรรมเอายังธัมมานุธัมมปฏิบัติ อันเกิดในขณะทั้งห้าแห่งข้าฯ อันว่าอุปจารสมาธิเจ้า อัปปนาสมาธิเจ้าในห้องเมตตาเจ้านี้หนา บัดนี้ข้าฯจะขอภาวนาขอเอายังธรรมานุธรรมปฏิบัติอันแขวนสุขุมาลเจ้านี้จงได้ ขอเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯนิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ

ข้าฯจะภาวนาอรูปฌานสมาบัติเจ้าสี่ประการ คือ อากาสานัญจายตนเป็นต้น วิญญาณัญจายตนท่อนสอง อากิญจัญญายตนท่อนสาม เนวสัญญานาสัญญายตนท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิจงมาเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตน ปฐมอรูปฌานสมาบัติ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า
อากาโส อนนฺโต ได้ละร้อยที ได้ละพันที
วิญญาณํ อนนฺตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
นิตฺถิ กิญจิ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
50  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:40:27 am


วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)

คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

พระครูสิทธิสังวร ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนมีนาคม ๒๕๓๙ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๓ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม

หน้าปก พระรูปหล่อ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า
(สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐาน ณ กุฏิวิปัสสนา หน้าพระอุโบสถ
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
พิมพ์ที่โรงพิมพ์...................................

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำนำ

พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒) ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่ง ลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา
แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึงยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง
ต่อมาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ จึง ได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อ จากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


พระครูสิทธิสังวร ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-โทรสาร ๐-๔๖๕-–๒๕๕๒, ๐๘๙- ๓๑๖-๒๕๕๒

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ตอนสมถะภาวนา

รูปกรรมฐาน ตอน ๑
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

รูปกรรมฐาน ตอน ๒
๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
๘.ห้องปัญจมฌาน

ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
๙. ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
๑๓.ห้อง อรูปฌาน

ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

(จบสมถะ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

(จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

บททำวัตรพระ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
(ให้ว่า ๓ หน)

พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
พุทโธ ภควาติ ฯ
เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
(กราบ)

ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญู***ติฯ
เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
(กราบ)

สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

(หมอบกราบ แล้วว่า)
ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
(กราบ)

อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔



ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
http://www.somdechsuk.com/index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=38
และ
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
51  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้าเราต้องการหยุด ความฝัน คือไม่อยากฝัน ต้องฝึกกรรมฐานอะไรครับ เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 09:04:00 am
ผมเป็นคนนอนหลับ แล้วก็ฝันเป็นปกติ แ้ล้วแต่สภาวะจิต วันไหนพะวงเรื่องงาน ก็ฝันเรื่องงาน

วันไหนพะวงเรื่องภาวนา ก็ฝันในเรื่องภาวนา จนบางครั้งผมก็รำคาญความฝันเหล่านี้ คืออยากหลับ

โดยที่ไม่มีความฝันมา กวนจิตใจบ้าง อยากทราบในกรรมฐาน มีการฝึกระงับความฝันหรือป่าวครับ

 :25:
52  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เกีี่ยวกับเวลาการนั่งกรรมฐาน นาน ๆ เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 09:00:59 am
ผมเอง เป็นผู้ฝึกภาวนา กรรมฐานเป็นประจำทุกวัน นั่งกรรมฐานอย่างน้อยวันละ 1 - 3 ชม.

อยากทราบว่ามีวิธีในการนั่งกรรมฐาน ได้นาน ๆ กว่านี้หรือป่าวครับ

ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

 :25:
53  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เกี่ยวกับการฝึกเมตตา เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:59:04 am
ได้ยินว่า ออกบัวบานพรหมวิหารสี่ เป็นคุณธรรมสูงสุดในกรรมฐาน มัชฌิมา ใช่หรือไม่ครับ

ถ้าผมจะฝึก ออกบัวบานพรหมวิหารสี่ นั้นควรจะเริ่มอย่างไร ครับ

 :25:
54  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:57:53 am
สำหรับ ปุถุชน อย่างผม นั้นมีหลักการในการหยุด วงจรของปฏิจจสมุปบาทอย่างไรครับ
ที่จะเป็นวิธีการปฏิบัติ จริง ๆ

 :25:

55  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / มีหลักการในการพิจาณา อนิจจัง ในกรรมฐาน หรือป่าวครับ เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:55:33 am
ผมมักจะได้ยินว่า พระ พูดสอนให้พิจารณา ความไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

อยากทราบมีหลักการในการพิจารณาความไม่เที่ยง อย่างไรครับ

ที่จะทำการพิจารณาให้เข้าใจ ให้ง่าย ๆ และถูกต้องตามหลักในพระพุทธศาสนา

โดยที่เราไม่ต้องไปนั่ง คิดเอง

 :25:
56  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การ์ตูนสั้น ของฟรี มีในโลก เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 08:47:42 am

57  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชุมชนนิมนต์ยิ้ม คลายเรื่อง ซีเรียสบ้างนครับ ( สงสารเด็ก ๆ ) เมื่อ: ตุลาคม 04, 2010, 09:13:58 pm


วันนี้ลุงมาแนะนำการ์ตูน ดี ๆ ที่ หนู ๆ ดูได้ ผู้ใหญ่ ดูดี พระ สามเณร ดูฟรี ดูดี ทั้งน้าน

ใครอยากดูต่อ ก็ตามไปดูเองใน youtube นะครับ

 :85: :25:
58  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ความกำหนดธรรม มีวิธีกำหนดอย่างไรครับ เมื่อ: ตุลาคม 04, 2010, 08:13:15 pm
เพื่อแก้อารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่ผมมักมีบ่อย

  ความกำหนดธรรม มีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไรครับ ในอานาปานสติ

  ผมมีความสนใจในการปฏิบัติ อานาปานสติมากครับ

  แต่ทุกครั้งที่ฝึกมา ก็ยังจับต้นชนปลาย ไม่ได้ เนื่องด้วยอารมณ์ที่ภาวนาจะฟุ้งซ่าน บ้าง หลับบ้างครับ

  :25: :25:
59  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อาโลกสัญญา มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ครับ เมื่อ: ตุลาคม 04, 2010, 08:10:27 pm
ผมอ่าน เรื่องอานาปานสติ แล้วถึง อาโลกสัญญา นั้นเป็น ธรรมฝ่ายตรงข้าม กับ ถีนมิทธะ

ผมจึงอยากเรียนถามว่า อาโลกสัญญา มีวิธีแนวปฏิบัติอย่างไรก่อน อานาปานสติครับ


 :25: :25:
60  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศิลปะวัฒนธรรม พระพุทธรูป ภาค 2 ต่อ เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 05:48:58 am
เนื่องด้วย ภาพที่โหลด มีมาก สงสารคนที่ใช้ modem มือถือ เดี๋ยวโหลดนาน

ขอตัดตอน มาเป็นตอน 2 ให้นะครับ คุณ หมวยนีย์





ตัดตอนก่อน ที่คุณนพดล เจ้าถิ่นจะแนะนำนะครับ ( อยากมีส่วนร่วมด้วยครับ )

หาดพระใหญ่ และ หาดเชิงมน ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะ เป็นชายหาดแคบๆมีแนวโขดหินตามแนวหาด มีลักษณะเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ เหมาะแก่การเล่นน้ำเนื่องจากมีแหลมยื่นลงไปในทะเล บางแห่งจะมีแนวปะการังน้ำตื้นให้นักท่องเที่ยวได้ชมในเวลาที่น้ำลงสามารถ เดินเท้าไปยังเกาะสม บริเวณหาดแห่งนี้สามารถหาที่พักในราคาที่ไม่สูงจนเกินไปได้ถัดจากหาดเชิงมน จะถึงหาดพระใหญ่ซึ่งมีถนนเชื่อมต่อไปยังเกาะฟานเกาะเล็กๆที่ประดิษฐานพระ พุทธโคดม หรือ พระใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง 5 วา 9 นิ้ว และเป็นที่ตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมพักอาศัย อยู่ห่างจากหน้าทอนประมาณ 17 กม.เมื่อวันที่24 เมษายน 2505พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมนาถได้เสด็จมาทรง นมัสการ ชาวเกาะสมุยจึงถือเป็นประเพณีมีงานนมัสการพระใหญ่สืบมา
61  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คำที่คนไทย มักจะเขียนผิด เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 05:42:55 am
เขียนผิด เพราะไม่รู้ ดีกว่า ตั้งใจเีขียนให้ผิด เพราะรู้

 คำที่คนไทยมักเขียนผิด และวิบัติที่นิยมใช้กัน
พอดีผมไปเจอมา เลยเอามาแบ่งปันความรู้กันนะครับ *ซ้ำขออภัย

Click the image to open in full size.

1. สำอาง
แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สำอางค์" ...ควายการันต์(ค์) มาจากไหน?

2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "พากษ์" ที่เขียนกันผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)

3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เท่ห์" ...ติดมาจากคำว่า "สนเท่ห์" รึไงนะ?

4.โล่
แปลว่า เครื่องปิดป้องศัตราวุธ ชื่อแพรเส้นไหมโปร่ง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โล่ห์" สงสัยอยู่ในกรณีเดียวกับคำว่า "เท่"

5. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ผูกพันธ์" ไม่ใช่คำว่า "สัมพันธ์" นะเว้ย

6. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ลายเซ็นต์" ติดมาจาก "เปอร์เซ็นต์" รึเปล่า?

7. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ''อีเมล์" คำนี้ผมก็เขียนผิดบ่อยๆ -*- มันติดอ่ะ

8. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "แก๊งค์" หรือไม่ก็ "แกงค์"
เอ่อ...มันมาจากภาษาอังกฤษคำว่า gang นะ ควายการันต์มาจากไหน?

9. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อนุญาต" ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า "ญาติ" รึไง?รู้สึกเหมือนเราเคยอธิบายเกี่ยวกับคำนี้มาก่อนน ะในกระทู้นี้

10. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สังเกตุ" นี่ก็ผิดเยอะพอๆกับคำว่า "อนุญาต"
คงติดมาจากคำว่า "สาเหตุ" ล่ะมั้ง?

11. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ออฟฟิส" ไม่ก็ "ออฟฟิต" คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "office" แต่พอมาเป็นภาษาไทยอุตส่าห์ใช้ตัวอักษร "ศ" ให้เท่ๆแล้วเชียว
แต่ทำไมกลับสู่สามัญเป็น "ส" ล่ะ หรือไม่ก็เอาคำว่า "ฟิตเนส" มาปนมั่วไปหมด

12. อุตส่าห์
แปลว่า บากบั่น ขยัน อดทน
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อุดส่า" คำนี้พบไม่บ่อยมากนัก
แต่บางคนสะกดด้วย ต เต่า ถูกแล้วแต่ลืมใส่ บการันต์(ห์)

13. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โครต" คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า "เปรต" หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมมันเซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่ร ู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดตามาเป็น "โครต" ในปัจจุบัน

14. ค่ะ

แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "คะ" คำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ถ้าจะพูดให้เสียงยาวก็เป็น "คะ" ใช้ต่อท้ายประโยคคำถาม แต่บางทีก็ใช้ "ค่ะ" ยัดลงไปเลย

15. เว็บไซต์
แปลว่า (ไม่รู้อ่ะ แต่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "web" แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ "site" แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เวปไซด์" คำว่า "เวป" อาจติดมาจาก "WAP" ซึ่งแปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้ -*-
แต่คำว่า "ไซด์" ที่เขียนผิดอาจมาจากคำว่า "side" ที่แปลว่า ด้านข้าง เห็นด้วย (เกี่ยวอะไรกัน?)

16.โอกาส
แปลว่า ช่อง จังหวะ เวลาที่เหมาะ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โอกาศ" สงสัยติดมาจากคำว่า "อากาศ"

17.เกม
แปลว่า การแข่งขันการละเล่นเพื่อนความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เกมส์"อันนี้เราไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าจะให้มีความหมาย
ในภาษาไทยต้องใช้ "เกม" เพราะมันมาจากคำว่า "game" ในภาษาอังกฤษ

18.ไหม
แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า เป็นคำถาม
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "มั้ย" ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะเพื่อให้เสียงสูงขึ้น
เพราะถ้าใช้คำว่า ไม้ มันจะกลายเป็นอีกคำถ้าใช้ ไม๊ นี่อ่านไม่ออกเลย -*-

Click the image to open in full size.

คำวิบัติที่นิยมใช้กัน
เรื่องของภาษาวิบัตินั้นถูกนำมาถกเถียงในหมู่นักภาษา ศาสตร์มากมาย
ทั้งการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้กันโดยไม่ผ่านราชบัณฑิต ยสถาน
รวมถึงการให้กำเนิดภาษาสื่อสารแนวใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ภาษาวิบัตินั้น จะเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการของภาษาจริงหรือ?
นับเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในการสำรวจโดยรวมแล้วนั้น
ภาษาวิบัติที่ผิดเพี้ยนจากหลักภาษาไทยที่ถูกต้อง ถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้น
และเฉลี่ยอายุของผู้ใช้ภาษาวิบัติก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ
พูดง่ายๆก็คือ คนที่มีดีกรีปริญญาตรี หรือเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น
ใช้ภาษาไทยคำง่ายๆแบบผิดๆกันมากขึ้น ไม่ได้จำกัด อยู่ในวงของเด็กอีกต่อไป
จากการสำรวจขององค์กรนาซ่าและกูเก้ง ทางเราได้พบว่าคำที่ใช้ผิดอยู่บ่อยๆ

อาทิเช่น
"อารัย" = อะไร ไม่ใช่ อาลัย
"ที่นั้น" = ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
"นะค่ะ" = นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
"คับผม" = ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
"หรอ" = เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก "ร่อยหรอ"
"แร้ว" = แล้ว ไม่ใช่ "แร้ว" ที่แปลว่ากับดักนก
"งัย" = ไง
"ครัย" = ใคร
"เกมส์" = เกม ไม่ต้องเติม ส์
"เดล" = เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า "Deal" อ่านว่า "ดีล"
"สาด" = สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
"กวย" = เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
"ไฟใหม้" = ไฟไหม้
"หวัดดี" = สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
"สำคัน" = สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ "สังคัง" ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
"หน้ารัก" = น่ารัก ไม่ใช่ รักเพราะหน้า
"ฆ้อน" = ค้อน ผู้ใช้อาจสับสนกับ "ฆ้อง" ที่เป็นเครื่องดนตรี
"สัสดี" = ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า "สวัสดี"
"555" = เสียงหัวเราะ มาจาก"ฮ่าๆๆ" ดัดแปลงมาเป็น"ห้าห้าห้า"

เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามห ลักภาษาไทย ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ...
ผมเคยเห็นคนเขียนคำเหล่านี้ลงในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า
คำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง

Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ?
เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกร รมไทย กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอน

ตัวอย่างเช่น
: ) = ยิ้ม
XD = ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) = ยิ้มขยิบตา
-_- = ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; = ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, = ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL = ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้
orz = เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/gg = giggle หรือหัวเราะขำขัน
olo = อวัยวะเพศชาย
[๐ ๐] = C = เมก้าซาวะ

เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด
เกมออนไลน์ แมสเสจมือถือ หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียง
และยอมรับภาษา Emotical กันอยู่ ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่ว ไปอ่าน
ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลก
หากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใ หม่เลยทีเดียว

แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมข องประเทศ
ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศน ั้นๆ หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้น
ทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววัน

ดั่งหลักการ "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป" การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป
เป็นเรื่องที่น่ากลัว ภาษาไทย ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้ เสมอ
หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร
การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ ต้องกระทำตั้งแต่ตอน นี้

สุดท้ายนี้
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบั ติๆ นะครับ
เพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก
โดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูก เดี๋ยวก็หายครับ


ขอบคุณแหล่งที่มา
fwd mail

:http://th.uncyclopedia.info/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B 8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
62  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / จะช่วยอย่างไรดี ที่เห็น บุตร ทำร้าย บุพการี เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 07:48:20 am
ที่ด้านข้างบ้านผมนั้น เป็นเขตสลัม ครับ

ที่ด้านข้างไม่ไกลจากบ้านผม เท่าใด ก็จะมีบ้านที่กัน อยู่ สองแม่ ลูก

ลูก จะทำงานรับจ้างที่ท่าเรือ

ส่วนแม่ก็อายุ 60 กว่า ๆ อยู่บ้าน

ทุกอาทิตย์ ผมจะได้เห็นภาพที่น่าอนาถ คือ

เจ้าลูกชาย เมามา แล้วทำร้าย แม่ ซึ่งผมเริ่มเห็นเมื่อเดือนที่แล้ว

ตอนนี้ตัดสินใจว่า จะช่วยเข้าไปห้ามปรามอย่างไร กับคนที่ถือมีด และ เมา

 :41:
63  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / พร ที่พระสงฆ์ให้นั้น จะมีผลเมื่อไรครับ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 07:43:33 am
ผมเอง ก็เป็นคนใฝ่ในบุญ ในทาน เสมอ และรับพร จากพระสงฆ์ บ่อย ๆ

ในบางครั้่งที่ผมประสพปัญหา นั้นผมก็อยากให้พร สัมฤทธิผล ในทันที

ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่า

พร ที่พระสงฆ์ให้ผมนั้น จะส่งผลให้ผมได้รับเมื่อไร หรือ ว่า พร ที่ให้เป็นเครื่องปลอบประโลมใจ ให้อยู่ไปอีกวัน

ผล แห่งทาน และ บุญ ทำไมจึงส่งผลช้า

บรรดา เพื่อน ๆ ผม ที่ก่อกรรมทำเข็ญ ทั้งกับผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งกับชนชั้นเดียวกัน

กับเจริญ มั่งมี ด้วย ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ

ในขณะที่คนทำดี กับพบกับ ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา
64  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / จะแนะนำคนที่ไม่สนใจธรรมะ มีวิธีการอย่างไร ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 07:39:32 am
ผมมี ญาติ และ เพื่อน ที่อยู่รอบข้าง ที่ยังเพลิดเพลินอยู่กับการแก่งแย่ง ชิงดี กันเพื่อโลกธรรม

ผมเองก็มีความพยายาม ที่จะชักนำ คนรอบข้่าง ให้มาสนใจธรรมะ กันมากขึ้น

แต่วิธีีที่ผมใช้ ปัจจุบันแล้วไม่เิวิรก เลยครับ แจกหนังสือ ซีดี ก็ไม่สำเร็จ

นิมนต์พระมาบรรยายธรรมในที่ทำงาน ก็ไม่สำเร็จ

่ชักชวนทำุบุญ แล้วก็ไม่สำเร็จ

เพื่อนสมาชิก พอจะแนะนำวิธี ดี ๆ ให้ผมได้บ้างหรือป่าวครับ

 :25:
65  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / กรรมฐาน จะช่วยชีวิตได้อย่างไรครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2010, 06:03:43 am
 ??? กรรมฐาน จะช่วยในการดำเนินชีวิตอย่างไรครับ

ผมเองก็ไม่ค่อยได้เป็นคนวัด เท่าไร ครับ
 
ต้องการหาหนทาง ใช้ชีิวิต ประกอบ กับ ธรรม
66  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / มีญาติ ป่วยเป็นโรคแบบไม่ทราบสาเหตุ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2010, 05:59:55 am
ผมมีญาติ คนหนึ่ง เ้ป็นข้าราชการ อยู่ ๆ ญาติผมคนนี้ ก็ป่วยขึ้นมาด้วยโรค ที่ไม่ทราบสาเหตุ คือจะไม่มีแรง
ยกแขน ยกขาไม่ได้ แต่ไม่ได้เป็นอัมพาต ยังพอเดินได้

อยากทราบว่า อันนี้เกิดจากกรรมอะไรครับ
มีวิธีรักษาหรือป่าว ครับ
หน้า: 1 [2]