ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:28:57 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ช้าก่อนโยม! วัดสุดทน ติดป้ายบอก นักบุญสายหิ้ว ให้เลี้ยงอาหารคนในโรงทานก่อน

ช้าก่อนโยม! วัดสุดทน ติดป้ายบอก นักบุญสายหิ้ว ให้เลี้ยงอาหารคนในโรงทานก่อน เหตุสายหิ้วแห่ขนกลับบ้าน จนอาหารคนที่มาโรงทานไม่เพียงพอ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีวัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ถึงกับต้องทำป้ายประกาศขอความร่วมมือจากบรรดานักบุญสายหิ้วของโรงทาน ขอให้เลี้ยงแขกที่มาเยือนให้อิ่มก่อน ค่อยหิ้วกลับบ้าน ทำเอาบรรดาเจ้าภาพโรงทานพากันอมยิ้มกับป้ายประกาศครั้งนี้กันทุกราย

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ วัดห้วยขานาง หมู่ 1 ต.หนองยาง อ.หนองฉาง หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม วัดหลวงปู่พลอย หนึ่งในอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัด

โดยวันนี้ที่วัดมีการจัดงานประจำปีด้วยกัน 5 วัน บรรดาผู้มีจิตศรัทธาพากันมาร่วมกันทำบุญที่วัด และมีการตั้งโรงทานเพื่อไว้เลี้ยงต้อนรับคนที่มาร่วมบุญที่วัดในครั้งนี้

@@@@@@@

ซึ่งพบว่า ที่บริเวณจุดตั้งเลี้ยงโรงทานของวัดนั้น มีการแขวนป้ายสีแดงแผ่นใหญ่ มีการเขียนข้อความไว้ว่า “โรงทานวัดห้วยขานาง หยุดก่อนอย่าเพิ่งใส่ถุง เลี้ยงแขกผู้มาเยือนให้อิ่มก่อน ขอความร่วมมืออย่างเคร่งครัด” เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขนอาหารกลับบ้านจนไม่เพียงพอสำหรับผู้มาร่วมงาน

นายวรภัทธ์ วะชูสิทธิ์รัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 15 กล่าวว่า แม่ครัวที่วัดทำอาหารอร่อยมาก จึงเป็นที่หมายปองของผู้ที่ชื่นชอบการนำอาหารกลับบ้าน งานวัดที่เคยจัดครั้งก่อนหน้านี้มักจะมีการขนอาหารกลับไปบ้านกันเยอะมาก เกรงว่าอาหารและขนมจะไม่เพียงพอ จึงได้ปรึกษากับทางกรรมการวัดและทางพระ จึงได้ทำป้ายเตือนสติในการเข้ามาในโรงทาน เนื่องจากงานวัดจัดติดต่อกันหลายวัน จึงจำเป็นต้องติดป้ายดังกล่าวไว้ให้เห็นเด่นชัด ซึ่งตั้งแต่มีป้ายนี้ ผู้ที่มาวัดก็ไม่กล้าขนอาหาร หรือขนมกลับไปกันอีกเลย





ขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8199823
23 เม.ย. 2567 - 22:53 น.

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:05:13 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



พระโอวาทของท่านอรหันต์จี้กง

อ่านแล้วเก็บรักษา บุญรักษาเนืองนอง รู้แล้วบอกทั่วกัน บุญกุศลเรืองรอง

        1. ชีวิตย่อมเป็นไปตามลิขิต (ละชั่วทำดี)    ...วอนขออะไร
        2. วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้    ...กลุ้มเรื่องอะไร
        3. ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์    ...เคารพทำไม
        4. พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา   ...ทะเลาะกันทำไม
        5. ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต    ...ห่วงใยทำไม
        6. ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ   ...ร้อนใจทำไม
        7. ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย    ...ทุกข์ใจทำไม
        8. ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้    ...อวดโก้ทำไม
        9. อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร   ...อร่อยไปใย
      10. ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้   ...ขี้เหนียวทำไม

      11. ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง    ...โกงกันทำไม
      12. โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย    ...โลภมากทำไม
      13. สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียง 3 ฟุต    ...ข่มเหงกันทำไม
      14. ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน    ...หยิ่งผยองทำไม
      15. ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต   ...อิจฉากันทำไม
      16. ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ    ...แค้นใจทำไม (บำเพ็ญไวไว)
      17. นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ   ...เล่นการพนันทำไม
      18. ครองเรือนด้วยความประหยัดดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น   ...สุรุ่ยสุร่ายทำไม
      19. จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น   ...อาฆาตทำไม
      20. ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก    ...คิดลึกทำไม

      21. ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้    ...รู้มากทำไม
      22. พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด    ...โกหกทำไม
      23. ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วไปในที่สุด    ...โต้เถียงกันทำไม
      24. ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด    ...หัวเราะเยาะกันทำไม
      25. ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิตไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา    ...แสวงหาทำไม
      26. ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ    ...ถามโหรเรื่องอะไร
      27. ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย    ...วุ่นวายทำไม




ขอขอบคุณ :-
ข้อธรรม : https://84000.org/pray/orrahan_jeekong.shtml
ภาพ : https://www.silpa-mag.com

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:48:29 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



เจดีย์ถล่มพังครืน.! วัดดังระดับโลก ญาติโยมเศร้าเศษซากกองกับพื้น ชาวบ้านไม่พลาดตีเลขหวย

ชาวพุทธเศร้า เจดีย์วัดล้านขวดพังถล่มครืนลงมากองกับพื้น รักษาการเจ้าอาวาส เผยต้องรื้อเศษวัสดุออกให้หมดแล้วเริ่มสร้างใหม่ เพื่อบรรจุอัฐิหลวงพ่อลอด พระผู้สร้างวัดจนโด่งดังไปทั่วโลก

วันที่ 23 เม.ย.2567 ที่วัดล้านขวด ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ญาติโยมพากันเศร้าใจ หลังเกิดเหตุเจดีย์พังถล่มลงมากองราบอยู่กับพื้นเมื่อเวลา 03.00 น. คืนวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา โชคดีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งวัดล้านขวดแห่งหนี้เป็นวัดชื่อดังและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.ศรีสะเกษ

เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างด้วยขวด ฝาขวดน้ำอัดลม และฝาเครื่องดื่มบำรุงกำลังทุกชนิด จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากพากันมาเที่ยวชมและกราบไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา




พระไวพจน์ ธรรมะปาโร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดล้านขวด เล่าว่า เจดีย์แห่งนี้เริ่มก่อสร้างช่วงเดือน พ.ย.2566 อาตมาก่อสร้างด้วยตนเอง ต่อมาด้วยสุขภาพที่แก่ชราแล้วจึงจ้างช่างมาช่วยก่อสร้าง ใช้เงินไปแล้ว 1 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวอ.ขุนหาญ และชาวพุทธทั่วประเทศ ร่วมสมทบทุนก่อสร้าง เป็นเจดีย์กว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สูง 15 เมตรก่อสร้างไปแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์ เหลือแค่เพียงประดับตกแต่งภายในเจดีย์ และปรับตกแต่งภูมิทัศน์โดยรอบเท่านั้น



“สาเหตุที่เจดีย์พังลงมานั้น เนื่องจากเสารับน้ำหนักของมุขมีเพียง 2 ด้าน อีก 1 ด้านไม่มีเสารับน้ำหนัก อีกทั้งเป็นเสาขนาดเล็ก เหล็กที่นำเอามาใช้ก่อสร้างก็เป็นเหล็กขนาดเล็ก เพราะว่า อาตมาสร้างเจดีย์ขึ้นมาตามกำลังปัจจัยที่ได้รับบริจาคมาค่อนข้างจำกัดมาก ทำให้ต้องใช้เหล็กเส้นขนาดเล็ก จากนี้ไปต้องรื้อซากเศษวัสดุที่พังออกไปให้หมดแล้วก่อสร้างเจดีย์ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บอัฐิของหลวงพ่อลอด พ่อของอาตมาเองที่เป็นพระผู้สร้างวัดแห่งนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และจะยังคงใช้ขวดก่อสร้างเจดีย์เช่นเดิม เพราะว่าหลวงพ่อลอดชอบใช้ขวดก่อสร้างวัด”

ด้านคุณยายบรรจงจิตร อายุ 77 ปีชาว อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี บอกว่า มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่หลวงพ่อลอดสร้างวัดนี้ขึ้นมาใหม่ๆ ยายนอนอยู่ที่ศาลาติดกับเจดีย์ห่างกันแค่ 3 เมตรเท่านั้น ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 03.05 น.ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ ปรากฏว่า




” ได้ยินเสียงดังสนั่นหวั่นไหวฝุ่นกระจายคลุ้ง ตกใจมากเมื่อออกมาดูก็เห็นเจดีย์ที่กำลังก่อสร้างพังลงมากองอยู่กับพื้นดินแล้ว ยายและผู้ที่มาปฏิบัติธรรมทุกคนรู้สึกเศร้าเสียใจมาก เพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของหลวงพ่อลอด พระผู้สร้างวัดล้านขวด ”

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ชาวบ้านที่ทราบข่าวพากันเศร้าใจ แต่ก็ไม่พลาดแห่ตีเลขหวยนำไปหาซื้อลอตเตอรี่ลุ้นรางวัลงวดนี้




... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8199586
23 เม.ย. 2567 - 18:32 น.

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:43:28 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



มส.ปรับปรุงลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี

ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) เห็นชอบปรับปรุงการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. เว็บไซต์มหาเถรสมาคม ได้เผยแพร่มติมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 09/2567 มติที่ 302/2567 เรื่อง ขอความเห็นชอบปรับปรุงการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี ระบุว่า ในการประชุม มส. ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 เลขาธิการมหาเถรสมาคม เสนอว่า ในการประชุม มส. ครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2541 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี และคณะสงฆ์ได้ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน

ตามที่ได้มีการประกาศใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ประกอบกับ มส. ได้มีมติเห็นชอบ ในการประชุม ครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2541 เรื่อง ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี การแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และการขอพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานสมณศักดิ์เพิ่มอีก

เช่น พระครูที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ พระครูเทียบเจ้าคณะอำเภอ และพระครูสัญญาบัตรสายวิปัสสนาธุระ (เพิ่มบางตำแหน่ง) ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี ที่ มส. ได้มีมติให้ความเห็นชอบไปแล้ว นั้น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เห็นควรนำเสนอ มส. เพื่อโปรดพิจารณา รายละเอียดดังนี้

ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี ตามมติ มส. มติที่ 302/2567 ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567

@@@@@@@

สมเด็จพระราชาคณะ

1.สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
2.สมเด็จพระสังฆราช
3.สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ

พระราชาคณะ

4.รองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ
5.รองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสัญญาบัตร
6.พระราชาคณะชั้นธรรม
7.พระราชาคณะชั้นเทพ
8.พระราชาคณะชั้นราช
9.พระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะ ปลัดขวา-ปลัดกลาง-ปลัดซ้าย พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ. 9-8-7-6-5-4-3 พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชาคณะชั้นสามัญเทียบเปรียญพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระราชาคณะชั้นสามัญยก (เฉพาะพิธีรับผ้าพระกฐินพระราชทาน เจ้าอาวาสนั่งหน้าพระภิกษรูปอื่นซึ่งแม้จะมีสมณศักดิ์สูงกว่า)

พระครูสัญญาบัตร

10.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)
11.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)
12.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)
13.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทป.จอ.พ.วิ.)
14.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จอ.ชพ.วิ.)
15.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทจอ.ชพ.วิ.)

16.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทป.จอ.ชพ.)
17.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
18.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)
19.พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
20. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค

21.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.) 22.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทป.จอ.ชอ.วิ.) 23.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จอ.ชอ.วิ.) 24.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ทจอ.ชอ.วิ.) 25.พระครูสัญญาบัตร ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทป.จอ.ชอ.)

26.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.) 27.พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.) 28.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.) 29.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.) 30.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)

31.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.) 32.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต) 33.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. วิ. หรือ ทผจล.ชพ. วิ.) 34.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือ ทผจล.ชพ.) 35.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. วิ. หรือ ทผจล.ชอ. วิ.)

36.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือ ทผจล.ชอ.) 37.พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ 38.พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร 39.พระครูฐานานุกรม ชั้นเอก ของสมเด็จพระสังฆราช 40.พระเปรียญธรรม 8 ประโยค

41.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือ ทผจล.ชท.) 42.พระเปรียญธรรม 7 ประโยค 43.พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม 44.พระครูฐานานุกรม ชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริตร) 45.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)

46.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.) 47.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ. วิ.) 48.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.) 49.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชท. วิ.) 50.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)

51.พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.) 52.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชอ. วิ.) 53.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.) 54.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท. วิ.) 55.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)

56.พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัคราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.) 57.พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.) 58.พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.) 59.พระเปรียญธรรม 6 ประโยค 60.พระเปรียญธรรม 5 ประโยค

61.พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นเทพ 62.พระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นราช 63.พระครูวินัยธร 64.พระครูธรรมธร 65.พระครูคู่สวด

66.พระเปรียญธรรม 4 ประโยค 67.พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ 68.พระเปรียญธรรม 3 ประโยค 69.พระครูรองคู่สวด 70.พระครูสังฆรักษ์

71.พระครูสมุห์ 72.พระครูใบฎีกา 73.พระสมุห์ 74.พระใบฎีกา 75.พระพิธีธรรม

ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงการจัดลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธี และรัฐพิธี ตามที่เสนอ และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3367910/
23 เมษายน 2567 , 13:37 น. | การศึกษา-ศาสนา

 5 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 01:54:58 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 6 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 10:11:38 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 7 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 06:05:23 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย

"นี่ เราสวดมนต์กันอย่างไร สวดกันมา ๕๐ ปี ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร"

การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

ที่ว่าสาธยาย ก็คือมีสติจำได้ระลึกถึงจับยกนำเอาข้อมูล ความรู้(ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรงตามลำดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทำงานของการสาธยาย




 :25:

บอกกล่าว

"สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ ครั้งที่ ๓. ,ตุลาคม ๒๕๖๓ ๕๐๐ เล่ม ,งานพระราชทานเพลิงศพ นาวาอากาศเอก บํารุง กันสิทธิ์

พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์
ท่านผู้ใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่...
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
http://www.watnyanaves.net
ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

ผู้โพสต์จะขอนำบทความบางตอนที่น่าสนใจ ในหนังสือเล่มนี้ มานำเสนอตามลำดับ ท่านใดประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด pdf file ได้ ผู้โพสต์ได้แนบไว้ ในตอนท้ายของโพสต์นี้

หรือดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่ https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682


 8 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:33:05 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



รถยนต์สีขาว ฮิตจริงฮิตจัง เปิดที่มาของรถสีขาว ทำไมถึงมีแต่คนชอบ

ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เราจะเห็นได้ถึงรถยนต์บนถนนนั้น ที่ค่อนข้างคั่บคั่งหนาแน่นมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหลาย ๆ บ้านก็เดินทางออกจากต่างจังหวัด มีวันหยุดยาวได้ออกไปทำธุระปะปังกัน ทำให้รถยนต์เยอะมากบนถนนต่าง ๆ

ลองมาสังเกตดูจากการที่รถติด ๆ นั่งมองเพลิน ๆ จะเห็นได้ว่ารถยนต์สีขาวนั้นมากกว่าสีอื่นบนถนน นั่งนับ ๆ ดู เอ๊ะ! ทำไมเยอะจัง ที่มาที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันนะ

เรารวม ๆ คำตอบจากหลายๆ หลายแหล่งที่มา บอกว่ารถยนต์สีขาวในยุคก่อน ๆ มีราคาถูกที่สุด ผู้คนจึงมักซื้อสีนี้ พอจำนวนผู้ใช้มากขึ้น ก็เป็นเหมือนเทรนด์การใช้ ทำให้ผู้ใช้รายอื่นเห็นและซื้อตาม ๆ กันมา มองไปมองมาก็สวยดี  จนดันให้สีขาวของรถยนต์ ถูกพัฒนาสี จากสีขาวธรรมดา เป็นขาวแบบพิเศษ มีเมทัลลิก มีประกายเงางามมากกว่าเดิม เพิ่มความนิยมมากขึ้นไปกว่าเดิม จากรุ่นล่างสุดกลายมาเป็นตัว TOP ที่สุดในรุ่น และต้องเพิ่มเงินค่าสีกันด้วยซ้ำ

    - ข้อดีของรถยนต์สีขาวถึงจะเลอะจากคราบสกปรกต่าง ๆ ได้ง่ายมาก แต่ก็สามารถมองเห็นและทำความสะอาดได้ง่ายเช่นเดียวกัน

    - รถยนต์สีขาวสามารถเห็นตัวรถได้ง่าย ในเวลาที่ขับใช้งานในช่วงกลางคืน และดูหรูหรา ไม่แก่จนเกินไป ดูไม่ตกยุคสมัย และสามารถจับมาแต่งองค์ทรงเครื่องได้ง่ายกว่าสีอื่น จับสีไหนมาคู่ก็ดูเข้ากัน

    - รวมไปถึงอาจจะเป็นสีที่ถูกโฉลกกับวันเกิดของผู้ใช้รถบางคนอีกด้วย





Thank to : https://www.amarintv.com/article/detail/63929
Powered by อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์ | 21 เม.ย. 67

 9 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:26:48 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



มท.-วัดระฆังโฆสิตาราม พร้อมเครือข่าย เอ็มโอยู โครงการพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร

มท. วัดระฆังโฆสิตาราม จ.นครนายก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เอ็มโอยู โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอารยเกษตร

เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย(มท.) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจังหวัดนครนายก โดยได้รับเมตตาจากพระมหาปรีชา ปสนฺโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เลขานุการวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร เป็นผู้แทนพระเทพประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ร่วมลงนาม

โดยมี รศ.สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และนายสุภกิณห์ แวงชิน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ร่วมลงนาม โอกาสนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส เจ้าอาวาสวัดป่ามหาธีราจารย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต พระครูพิพิธวรกิจจาทร พระครูสังฆรักษ์อำพล จตฺตมโล พระครูวินัยธรสมชาย ปุปฺผโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระเถรานุเถระ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ นายประสพโชค อยู่สำราญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายเปลี่ยน แก้วฤทธิ์ รกน.ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ กรมที่ดิน นายสุรพล เจริญภูมิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางสาวชัชดาพร บุญพีระณัช รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง นายบูรณิศ ยุกตะนันทน์ ผู้อำนวยการองค์การตลาด ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และภาคีเครือข่าย ร่วมในพิธี




นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างกระทรวงมหาดไทย วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจังหวัดนครนายก เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะออกแบบ พัฒนา วางแผนและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ ในที่ดินของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร โฉนดที่ดินที่ 2623 จำนวน 100 ไร่ และโฉนดที่ดินที่ 2624 จำนวน 50 ไร่ รวมจำนวน 150 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองใหญ่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยจัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” อันจะเป็นพื้นที่ตัวอย่างแห่งความยั่งยืนให้กับกระทรวง กรม และจังหวัดต่าง ๆ ในการน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่อารยเกษตร หรือโคก หนอง นา โดยได้รับเมตตาจากพระเทพประสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร มอบหมายให้พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต (พระครูต้น) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ได้บริหารจัดการที่ดินแปลงนี้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์ตามความร่วมมือในครั้งนี้




“พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงคิดค้นทฤษฎีใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อยังคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพสกนิกรของพระองค์ ทั้งนี้ เกษตรทฤษฎีใหม่เป็น 1 ใน 40 ทฤษฎี ธรรมชาติมีแหล่งน้ำ มีนา ปลูกข้าวกินเอง เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร มีไม้ยืนต้น พืชผักสวนครัว โดยทรงใช้วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่ทดลอง เพราะพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินปูน โดยทรงใช้องค์ความรู้มาคิดค้นคว้า แบ่งพื้นที่ว่าชีวิตจะอยู่ได้ “น้ำคือชีวิต” จึงทรงหาวิธีการที่ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทำให้พื้นที่ทำมาหากินต้องมีน้ำ เกษตรทฤษฎีใหม่ 30% ของพื้นที่ทำแหล่งน้ำ 30% เป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน 30% เป็นพื้นที่สร้างความร่มเย็น ไม้เป็นอาหาร ไม้ใช้สอย ด้วยไม้ยืนต้น และแหล่งมรดกสร้างที่อยู่อาศัย และอีก 10% ทำที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และต่อมา ทรงคิดทฤษฎีใหม่อื่น ๆ อาทิ เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช ป่าเปียก หลุมขนมครก อธรรมปราบอธรรม

โดยต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอด จึงพระราชทานโครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังให้แก่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำไปขับเคลื่อน “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา” โดยทรงนิยามคำว่า “อารยเกษตร” เพราะพื้นที้ที้เราพัฒนาแล้วจะเกิดความสวยงาม ทั้งภาพลักษณ์ และอรรถประโยชน์ มองทางไหนก็เหมือนอยู่ในรีสอร์ท มีคลองไส้ไก่คดเคี้ยวเลี้ยวลด มีผืนแผ่นดินทำมาหากิน อยู่อาศัย ที่มีต้นไม้สูง กลาง ต่ำ เตี้ย เรี่ยดิน อันจะทำให้คนมีกิน มีใช้ และดูแลให้คนในครอบครัวมีความสุข โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มอบหมายให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล เป็นผู้นำภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ในการออกแบบขยายผลจนเกิดมรรคผลทั่วประเทศในขณะนี้” นายสุทธิพงษ์ กล่าว




นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในครั้งนี้ จะทำให้พวกเราทุกคนได้มีโอกาสร่วมสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังพระปฐมบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ตามพระราชดำรัส “อารยเกษตร” เป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า คน ภูมินิเวศและภูมิวัฒนธรรม อันเป็นความสำเร็จที่ทำให้พสกนิกรชาวไทยได้มีความสุขในชีวิตอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรูปแบบการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความเป็นอารยะ พร้อมน้อมนำหลัก บวร (บ้าน วัด ราชการ) ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ให้มีรูปแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

โดยมุ่งมั่นบูรณาการความร่วมมือพร้อมด้วยสรรพกำลังตามความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ในการพัฒนาที่ดิน การสำรวจพื้นที่เพื่อนำมาพัฒนาและออกแบบ ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” ที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต้นแบบการบริหารจัดการน้ำ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแหล่งรวมปัจจัย 4 ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และยารักษาโรค ตลอดจนการพัฒนาดินเพื่อช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสัตว์ สร้างสภาพแวดล้อมให้ร่มเย็นเพื่อช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศและลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น

นอกจากนี้เราจะได้ส่งเสริมให้เกิดการน้อมนำหลักธรรมตามพระพุทธศาสนา ให้เกิดการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติธรรม และเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอารยเกษตรอีกด้วย ซึ่งจะทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นใบบุญในการทำให้คณะสงฆ์ ตลอดจนประชาชนคนไทยได้มีโอกาสที่ดีของชีวิตในการน้อมนำพระราชดำริสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน




“พื้นที่แห่งนี้จะเป็นต้นแบบทำให้ผู้คน ประเทศชาติ และโลกใบเดียวนี้อยู่รอด จะทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ว่า “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ได้ทำให้คนแค่พอมี พอกิน แต่จะทำให้คนเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อ มีจิตอาสา ดูแลสังคม และสามารถทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยได้ ตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ขั้นแรกทำให้พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ขั้นต่อไปเมื่อมีเหลือใช้ก็แบ่งทำบุญ กับพระสงฆ์ ทำทานกับผู้ยากไร้ และขั้นต่อมา คือ การแปรรูป ถนอมอาหาร และรวมผลผลิต และรวมตัวกันทำการตลาด อันจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่อย่างยั่งยืน โดยการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ขับเคลื่อนพื้นที่แห่งบุญกุศลไปสู่ต้นแบบแห่งการอยู่ดีมีสุขตามพระราชดำริต่อไป”นายสุทธิพงษ์ กล่าว

พระมหาปรีชา ปสนฺโน กล่าวว่า วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหารในฐานะเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นที่ดินที่วัดได้ซื้อไว้ตั้งแต่ก่อนปี 2500 แปลงหนึ่ง และเป็นแปลงที่ทายาทอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ถวายให้กับวัดแปลงหนึ่ง โดยเมื่อวัดได้รับทราบว่ากระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นร่วมพัฒนาที่ดินตามหลักพุทธอารยเกษตร ซึ่งเป็นความตั้งใจที่ดีงาม โดยเฉพาะชื่อโครงการที่ถือเป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ อันเป็นสิ่งที่จะเกิดประโยชน์อย่างไพบูลย์กับประเทศชาติ พระศาสนา และประชาชน จึงขออนุโมทนากับการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในวันนี้ และขออำนวยพรให้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งมั่นตั้งใจทุกประการ

รศ.สุพจน์ กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับเกียรติในการสนับสนุนให้ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ตามหลักอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริมาต่อเนื่องกว่า 10 ปีในลักษณะ “นักวิชาการจิตอาสา” ซึ่งสถาบันฯ มีความภูมิใจและชื่นชมยินดีกับอาจารย์ทั้ง 2 ท่านที่มีส่วนในการพัฒนาความยั่งยืนให้กับประเทศชาติและประชาชน โดยพิธีการในวันนี้ พวกเราผู้มีจิตใจที่ดีงาม จะได้ร่วมกันทำให้ประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสถาบันฯ จะมุ่งมั่นถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างมากที่สุดและดีที่สุดเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณตลอดไป




นายสุภกิณห์ กล่าวว่า จังหวัดนครนายก ในฐานะพื้นที่มีความมุ่งมั่นในการร่วมกับภาคีเครือข่ายน้อมนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย เจตนารมณ์ของวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตลอดจนถึงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และความมุ่งมั่นตั้งใจของภาคีเครือข่ายอย่างเต็มกำลังความสามารถ

การพัฒนาที่ดินของวัดระฆังโฆสิตาราม ขนาด 150 ไร่ ที่คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ จะนำไปสู่การจัดทำแบบแนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน” ซึ่งถือเป็น 1 ใน 6 พื้นที่ทั่วประเทศที่กระทรวงมหาดไทยได้คัดเลือกดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ทำให้ประชาชนคนไทยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน





ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/politics/news_4537767
วันที่ 22 เมษายน 2567 - 17:15 น.   

 10 
 เมื่อ: เมษายน 23, 2024, 05:19:41 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



คณะสงฆ์กทม.ติวเข้มทักษะไอทีพระภิกษุสามเณร เผยแผ่พุทธศาสนาออนไลน์

คณะสงฆ์กรุงเทพฯ จัดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนทักษะทางไอที หนึ่งวัดหนึ่งเว็บไซต์ รุ่นที่ 2

พระธรรมวชิรมุนี วิ. กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการอบรมพัฒนาบุคลากรเพิ่มพูนทักษะทางไอที หนึ่งวัดหนึ่งเว็บไซต์ ของคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร (รุ่นที่ 2) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า โครงการดังกล่าว เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้านไอทีที่จำเป็นให้กับพระภิกษุสามเณรของวัดในเขตกรุงเทพฯ ต่อจากรุ่นแรกที่ได้ดำเนินการไปเมื่อปี 2566 ทั้งยังเป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567

“มีผู้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีก้าวไกล พระสงฆ์ไทยควรก้าวให้ทัน ใจความสำคัญคือ พระภิกษุสามเณร จะดึงศักยภาพด้านเทคโนโลยีมาใช้ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์อย่างไร เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เป็นของใหม่ และทันสมัย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นอุปกรณ์ในการประชาสัมพันธ์ผลงาน ศาสนกิจ ของแต่ละวัดได้ และช่วยให้ผู้สนใจ พุทธศาสนิกชน ได้เข้าถึงข้อมูลที่สำคัญของวัดได้ตลอดเวลา ด้วยแต่ละวัดมีงานต้องดำเนินการตามนโยบายคณะสงฆ์ การอบรมครั้งนี้ เพื่อให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาศักยภาพของพระภิกษุสามเณร อีกทางหนึ่ง ซึ่งละเลยไม่ได้ เพราะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางเว็บไซต์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถทำให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้” เจ้าคณะกรุงเทพฯ กล่าว






ด้านพระครูภาวนาวิธาน วิ. หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานเจ้าคณะกรุงเทพฯ ประธานโครงการฯ กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการประกอบธุรกรรมทางสังคม และการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีแนวโน้มว่าจะก้าวหน้า รวดเร็ว และก้าวไกลมากยิ่งขึ้น องค์กรที่พึ่งพาเทคโนโลยี จำเป็นต้องทำการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ประโยชน์ให้ตรงกับภาระงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนเจ้าคณะกรุงเทพฯ และคณะสงฆ์กรุงเทพฯ จึงเห็นควรให้มีการอบรมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 20-24 เม.ย. ที่ตึกมหาธาตุวิทยาลัย ชั้น 1 วัดมหาธาตุฯ

โดยกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการอบรมเกี่ยวเนื่องกับการเผยแพร่ศาสนาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ด้วยการจัดทำเว็บไซต์ประจำวัดในเขตปกครอง เพิ่มความรู้เบื้องต้นงานสิ่งพิมพ์ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมวัด การถ่ายภาพเพื่อการทำรายงานศาสนกิจ รวมทั้งเพื่อขับเคลื่อนกิจการและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์กรุงเทพฯ ให้ก้าวหน้า รวดเร็วและทันสมัย อีกทั้งเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3364547/
22 เมษายน 2567 ,13:03 น. ,การศึกษา-ศาสนา

หน้า: [1] 2 3 ... 10