ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องมีการอธิษฐาน กรรมฐาน ครับ  (อ่าน 5988 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทำไมต้องมีการอธิษฐาน กรรมฐาน ครับ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 01:50:42 pm »
0
เห็นทุกครั้งเวลา ฝึกกรรมฐาน ต้องมีการอธิษฐาน

เราจะสามารถปฏิบัติฝึก กรรมฐาน โดยไม่ต้องอธิษฐาน ได้หรือป่าวครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำไมต้องมีการอธิษฐาน กรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 05:15:25 am »
0
การอธิฐานสมาธินิมิต
   พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้
      เวลาเช้าไม่จัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเที่ยงไม่จัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเย็นไม่จัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟ้อ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น ฉันใด
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ไม่ควรบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
      เวลาเช้า   ไม่อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเที่ยง   ไม่อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเย็น   ไม่อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้
      เวลาเช้าจัดแจงการงาน      โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเที่ยงจัดแจงการงาน   โดยเอื้อเฟื้อ
      เวลาเย็นจัดแจงการงาน   โดยเอื้อเฟื้อ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ฉันใด
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมควรที่จะได้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุให้ทวีขึ้นไป ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
      เวลาเช้า   อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเทียง   อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
      เวลาเย็น   อธิฐานสมาธินิมิต      โดยเคารพ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบไปด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล สมควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น
การกำหนดไว้ในใจในการประกอบอธิจิต
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ประการ ตลอดกาล ตามกาล คือ
      พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง      สมาธินิมิต
      พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง      ปัคคาหนิมิต
      พึงกำหนดไว้ในใจซึ่ง      อุเบกขานิมิต
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่  สมาธินิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น  พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไป เพื่อความเกียจคร้าน
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ ปัคคาหนิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไป เพื่อความฟุ้งซ่าน
   ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต   พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่ อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียวเท่านั้น  พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะโดยชอบ
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต ตลอดกาล ตามกาล
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล
   เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง ตระเตรียมเบ้าแล้วติดไฟ แล้วเอาคีมคีบทองไส่ลงในเบ้า แล้วสูบเสมอ ๆ เอาน้ำพรมเสมอ ๆ เพ่งดูเสมอ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงสูบทองนั้นอย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นไหม้ ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง พึงเอาน้ำพรมแต่อย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นเย็น ถ้าช่างทองหรือลูกมือช่างทอง เพ่งดูทองนั้นอย่างเดียว พึงเป็นเหตุให้ทองนั้นสุกไม่ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อใด ช่างทองหรือลูกมือช่างทอง สูบทองนั้นเสมอ ๆ เอาน้ำพรมเสมอ ๆ เพ่งดูทองเสมอ ๆ เมื่อนั้น ทองนั้นย่อมเป็นของอ่อน ควรแก่การงาน ผุดผ่อง และไม่แตกง่าย เข้าถึงเพื่อการทำโดยชอบ และช่างทองหรือลูกมือช่างทอง มุ่งประสงค์สำหรับเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง เครื่องประดับหู เครื่องประดับทอง หรือดอกไม้ทองก็ดี ย่อมสำเร็จสมความประสงค์ของเขาทั้งนั้น แม้ฉันใดฉันนั้นก็เหมือนกันแล
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ ประการ ตลอดกาล ตามกาล คือ
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง      สมาธินิมิต
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง      ปัคคาหนิมิต
   กำหนดไว้ในใจซึ่ง      อุเบกขานิมิต
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิต พึงกำหนดไว้ในใจแต่เฉพาะแต่ปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเพื่อให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตเฉพาะแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว พึงเป็นเหตุเครื่องให้จิต ไม่ตั้งมั่นโดยชอบสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุผู้ประกอบอธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่งสมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่งปัคคาหนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องไม่เสียหาย ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นอาสวะ ดังนี้แล
อธิบายความหมายของคำ
นิมิต       เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญธรรมกรรมฐาน
 ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน ภาพที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน
สมาธิ    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง จิต ภาวะที่จิตไม่ซ่านไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ปัคคาหะ   การยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต ความปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันท์ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริย วิริยินทรีย์ วิริยะพละ สัมมาวายามะ    วิริยสัมโพชฌงค์
อุเบกขา   ความไม่ซ่านไปในอารมณ์ ในอดีต ในอนาคต ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางกายก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส

ที่มา จากหนังสือ สมถะ วิปัสสนาจากพระไตรปิฏก โดย พระครูสิทธิสังวร
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำไมต้องมีการอธิษฐาน กรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2011, 01:13:21 pm »
0
อยากให้ทุกท่าน ทบทวน เรื่องการ อธิษฐานกรรมฐาน กันด้วย
ท่านใดมีความบกพร่อง และไม่ได้ อธิษฐาน ไม่ได้สมาทาน กัน
โปรดทบทวน ว่าเราบกพร่องอะไรกัน

 เจริญธรรม


  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไมต้องมีการอธิษฐาน กรรมฐาน ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2011, 12:58:01 am »
0
กำลังหาอ่าน สาเหตุเรื่องนี้พอดีเลยคะ เหมือนอธิษฐาน ให้พระอาจารย์มาช่วยตอบก็ได้ อ่านจริง ๆ คะ

สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า