ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "พึงพอกพูน อุเบกขา เพื่อการภาวนาที่สมบูรณ์"  (อ่าน 5226 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

  พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  เวรัญชกัณฑ์

พระไตรปิฏก เล่มที่ 1 หน้าที่ 5
 ( พระพุทธเจ้าทรงตรัสเล่า ก่อนการตรัสรูของพระองค์ )

                  ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
            [๑๑]    “พราหมณ์    ไข่    ๘    ฟอง    ๑๐    ฟอง    หรือ    ๑๒    ฟอง    ที่แม่ไก่กกหรือฟักดีแล้ว    ลูกไก่ตัวที่ใช้เล็บหรือจะงอยปากทำลายกระเปาะ(๑)    ไข่ออกมาได้ก่อน    ควรเรียกมันว่า    เป็นตัวพี่    หรือตัวน้อง”    “ควรเรียกว่า    พี่    เพราะมันแก่กว่าเขา”
            “เช่นเดียวกันนั่นแหละพราหมณ์    ในขณะที่หมู่สัตว์    ถูกกระเปาะไข่คืออวิชชาห่อหุ้มอยู่    เราได้ทำลายกระเปาะไข่คืออวิชชา    ผู้เดียวเท่านั้นสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม    จึงเป็นพี่ใหญ่ผู้ประเสริฐที่สุดของโลก
 
                     ฌาน ๔
            พราหมณ์    เราปรารภความเพียร    ไม่ย่อหย่อน    มีสติตั้งมั่น    ไม่หลงลืม    มีกายสงบ    ไม่กระสับกระส่าย    มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
 
                     ปฐมฌาน
            เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว    บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก    วิจาร ปีติ    และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
 
                     ทุติยฌาน
            เพราะวิตก    วิจารสงบระงับไปแล้ว    เราบรรลุทุติยฌาน    มีความผ่องใสภายใน    มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๒    ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร    มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิเท่านั้นอยู่
 
                     ตติยฌาน
            เพราะปีติจางคลายไปแล้ว    เรามีอุเบกขา    มีสติสัมปชัญญะ    เสวยสุขด้วยนามกาย    ได้บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า    ผู้มีอุเบกขา    มีสติ    อยู่เป็นสุข

                     จตุตถฌาน
            เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว    เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว    เราได้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์    ไม่มีสุข    มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”

 



(๑) กระเปาะ  คือ  เปลือกไข่ส่วนที่มีสัณฐานนูนกลม  คำว่า  “กระเปาะ”  คือ  รูปนูนกลม  สิ่งต่างๆ  ที่มี





    อุเบกขา เป็นคุณธรรมในสมาธิ ตั้งแต่ระดับ ตติยฌาน สำหรับพระโยคาวจร ผู้เจริญสมถะเป็นพื้นฐาน ก็อาศัยการ อุเบกขา เป็นเครื่องสงบกิเลสในเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เจริญสมาธิ ถึงจตุตถุฌานแล้ว ก็จักเจริญ ฌานต่อไป คือ ปัญจมฌาน ซึ่งไม่ม่ส่วนอธิบายไว้ในพระสูตร แต่ปัญจมฌานมีบรรยายไว้ในพระอภิธรรม ดังนั้น อเบกขา เป็นส่วนเต็มของ สมาธิขั้นสมถะ ประกอบด้วยธรรมเพื่อพระนิพพานจึงทำใ้ห้เห็นอุเบกขา ที่เรียกว่า ปริสุทธุเบกขา

    อุเบกขาในกำลัง วิปัสสนาในโพชฌงค์ 7 เป็นองค์สุดท้าย ระคนด้วยญาณ คือการสละคืนและปล่อยวางจัดเป็นอุเบาขา ขั้นสูงสุดเพราะพ้นจากอำนาจกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็น ตัตรมัชฌุตตุเบกขา     

     ดังนั้น อุเบกขา เป็นธรรมที่ผู้ภาวนาพึงพอกพูนให้มากที่สุด เพราะผู้ใดพอกพูน อุเบกขา ไว้มากผู้นั้นก็จะมีจิตที่สงบได้มากขึ้น และเห้นธรรมตามความเป็นจริงได้มากขึ้นกล่าวคือ ผู้ที่วางจิตเป็นอุเบกขาได้ ก็มีภาวนาเป็นธรรมเป็นผล อยู่ในองค์เดียวกัน

   การฝึกจิตให้มี อุเบกขา เป็นการฝึก เวทนากรรมฐาน ด้วย


   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 09:04:51 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

 พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๘.  สักกปัญหสูตร]


พระไตรปิฏก เล่มที่ 10 หน้า 288 - 289
              เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน
            [๓๕๙]    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า    “จอมเทพ    เรากล่าวโสมนัสไว้    ๒    อย่างคือ    โสมนัสที่ควรเสพ และโสมนัสที่ไม่ควรเสพ    กล่าวโทมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือ    โทมนัสที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ    และกล่าวอุเบกขาไว้    ๒    อย่าง    คือ    อุเบกขาที่ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ
            [๓๖๐]    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวโสมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือโสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
 
          บรรดาโสมนัส    ๒    อย่างนั้น    โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แลอกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น    กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’    โสมนัสเช่นนี้เป็นโสมนัสที่ไม่ควรเสพ(๑)
 
           บรรดาโสมนัส    ๒    อย่างนั้น    โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แลอกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง    กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’    โสมนัสเช่นนี้เป็นโสมนัสที่ควรเสพ(๒)
 
           ในโสมนัส(๓)นั้น    โสมนัสใดมีวิตก    มีวิจาร(๔)    และโสมนัสใดไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร(๕)บรรดาโสมนัส    ๒    อย่างนั้น    โสมนัสที่ไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร    ประณีตกว่า’

 
๑ โสมนัสที่ไม่ควรเสพ  หมายถึงโสมนัสที่อาศัยกามคุณ  เป็นไปทางทวาร  ๖  (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๒ โสมนัสที่ควรเสพ  หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเนกขัมมะ  วิปัสสนา  อนุสสติ  และปฐมฌานเป็นต้น
   (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๓ โสมนัส  ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ  (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๔ โสมนัสมีวิตกมีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นอำนาจปฐมฌาน  (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๕ โสมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌาน  (ที.ม.อ.
   ๓๖๐/๓๔๐)



        ข้อที่เรากล่าวว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวโสมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือ    โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’    เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
            [๓๖๑]    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวโทมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือโทมนัสที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
 
           บรรดาโทมนัส    ๒    อย่างนั้น    โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แลอกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น    กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’    โทมนัสเช่นนี้เป็นโทมนัสที่ไม่ควรเสพ

            บรรดาโทมนัส    ๒    อย่างนั้น    โทมนัสใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพโทมนัสนี้แลอกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง    กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’    โทมนัสเช่นนี้เป็นโทมนัสที่ควรเสพ

            ในโทมนัสนั้น    โทมนัสใดมีวิตก มีวิจาร(๑)    และโทมนัสใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร(๒)บรรดาโทมนัส    ๒    อย่างนั้น    โทมนัสที่ไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร    ประณีตกว่า
 
           ข้อที่เรากล่าวว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวโทมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือ    โทมนัสที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ’    เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
 
           [๓๖๒]    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวอุเบกขาไว้    ๒    อย่าง    คืออุเบกขาที่ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
 
           บรรดาอุเบกขา    ๒    อย่างนั้น    อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แลอกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น    กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’    อุเบกขาเช่นนี้เป็นอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ
 


๑ โทมนัสมีวิตกมีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌานและทุติยฌาน  (ที.ม.อ.  ๓๖๑/๓๔๒)
๒ โทมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นโดยตรง  (ที.ม.อ.  ๓๖๑/๓๔๒)



           บรรดาอุเบกขา    ๒    อย่างนั้น    อุเบกขาใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพอุเบกขานี้แลอกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง    กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’    อุเบกขาเช่นนี้เป็นอุเบกขาที่ควรเสพ
 
           ในอุเบกขานั้น    อุเบกขาใดมีวิตก    มีวิจาร(๑)    และอุเบกขาใดไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร(๒)บรรดาอุเบกขา    ๒    อย่างนั้น    อุเบกขาที่ไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร    ประณีตกว่า’


            ข้อที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวอุเบกขาไว้    ๒    อย่าง    คือ    อุเบกขาที่ควรเสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ’    เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
            [๓๖๓]    จอมเทพ    ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้แล    จึงจะชื่อว่าปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควร    และดำเนินไปสู่ความดับแง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา”
 
           เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบปัญหาที่ท้าวสักกะจอมเทพทูลถามอย่างนี้แล้วท้าวสักกะจอมเทพมีพระทัยยินดีชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า
           “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค    เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น    ข้าแต่พระสุคต    เรื่องนี้เป็นอย่างนั้นข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยในเรื่องนี้    หมดความแคลงใจแล้ว    เพราะได้ฟังการตรัสตอบปัญหาของพระผู้มีพระภาค”

 
๑ อุเบกขามีวิตกมีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฐมฌาน  (ที.ม.อ.  ๓๖๒/๓๔๗)
๒ อุเบกขาไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงอุเบกขาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌานเป็นต้น
   (ที.ม.อ.  ๓๖๒/๓๔๗)
๓ ดูเทียบ  ม.อุ.  ๑๔/๑๑๐-๑๑๑/๙๖-๙๘


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 09:30:14 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


สำหรับ อุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสแสดงถึง คุณ และ โทษ ของอุเบกขา ที่เป็นเวทนากรรมฐาน โดยให้พิจารณา ที่ อุเบกขา ใดพอกพูนธรรม คือ กุศล อุเบกขา นั้นควรพอกพูนให้มากขึ้น ยิ่งขึ้น แต่ อุเบกขา พอกพูน อกุศลธรรมให้มากขึ้น อุเบกขาไม่พึงปฏิบัติ

    ดังนั้นเรื่องของอุเบกขา ก็มีคุณ และ โทษ
     อันนี้กล่าวไว้สำหรับ บุคคลผู้ประพฤติ เวทนากรรมฐาน โดยตรงเท่านั้น เพราะสำหรับผู้ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ต้องพะวงเรื่องนี้ เพราะกรรมฐานฟอกอกุศล ให้เป็นกุศล มาในขั้นตอนอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ที่ฝึก ตบะ ความอดทน อดกลั้นเวทนา วางกายจิต ให้เฉย ซึ่งเรียกว่า ปฐมอุเบกขา เป็นการวางเฉยเบื้องต้น ซึ่งก็มีเฉยอยู่ 2 อย่าง

      ยกตัวอย่าง
             หากท่านเห็นผู้อื่นทำความดี ท่านวางอุเบกขาเฉย ( อันนี้ไม่ดี ) ควรจะต้องอนุโมทนา
             หากท่านเห็นผู้อื่นทำความไม่ดี ท่านไม่วางอุเบกขา ( อันนี้ไม่ดี ) เพราะยินดีการทำไม่ดี
         จะเห็นว่าทั้งสอง ประการที่ยกไว้ไม่ดีทั้งสองอย่าง




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 09:45:54 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากที่กระผมได้อ่านมา พอจะแยกตามความเข้าใจได้ว่า

   อุเบกขา เป็นธรรมส่งเสริมการภาวนา
   แต่ อุเบกขา ก็มีทั้ง คุณ และ โทษ ใช้หรือไม่ครับ

   การวางอุเบกขา เป็นความคิดที่จะวาง หรือว่าเป็นความต้องการที่จะวางเพราะความรู้ครับ

 
บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อุเบกขา ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นธรรมเบื้องปลายครับ เพราะเบื้องต้น ถ้าเราวางอุเบกขา เลยน่าจะยังไม่ถูกต้องนะครับ ส่วนของ พรหมวิหาร 4 เป็นข้อสุดท้าย นะครับ

   ส่วนของ โพชฌงค์ 7 ก็เป็นข้อสุดท้าย

  ส่วนของอัปปนาจิต ก็เป็น ข้อสุดท้าย ในฌานที่ 5 นะครับ

  สาธุ ประโยชน์ ของอุเบกขา น่าจะมีอยู่อีกมาถ้านำมาใช้ให้ถูก

   :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ความรู้เรื่อง อุเบกขา เลยคะพึ่งเข้ามาอ่าน ไม่ใช่ อุเบกขาจะมีคุณเสมอไป

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุขอบพระคุณพระอาจารย์อย่างสูงที่ได้ชี้แนะธรรมอันประกอบด้วยประโยชน์ให้ได้รับรู้กันครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ