ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กราบนมัสการ "พระบรมเกศาธาตุ" ณ วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา (๔) "ตามรอยพระพนรัตน์"  (อ่าน 3922 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพนี้ถ่ายจากภายในเจดีย์ชัยมงคล รูปทางขวาสันนิสฐานว่า คือ พระพนรัต(มหาเถระคันฉ่อง)

ตามรอยสมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี
มหาเถระคันฉ่อง พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิปดี ศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎธรจารย์สฤษดิ์ ขัตติยสารสุนทร มหาคณฤศรอุตรวาม คณะสังฆรารามคามวาสี

     ขออนุญาตคัดลอกบทบันทึกเกี่ยวกับที่มาของ ภาพสมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถระคันฉ่อง) พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยพระพีระ จิตตวีโร สำนักสงฆ์วัดป่าแก้ว บ้านป่าโหล – ผาใต้ ต. ท่าตอน อ. แม่อาย เชียงใหม่
     เพื่อคุณๆจะได้รู้จักพระมหาเถระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประชาชนคนไทย นับแต่เวลาที่ได้กอบกู้เอกราชฟื้นฟูประเทศจากการตกเป็นเมืองขึ้น ซึ่งเราชาวไทยต่างทราบกันดีว่าเป็นพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้กระทำการในครั้งนั้น จนกระทั้งเราเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้


     แต่ยังมีอีกหลายท่านที่มิได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งดี อาจมองผ่านประวัติศาสตร์ในส่วนที่มีความสำคัญผูกพันระหว่าง ความเป็นความตายในพระชนม์ชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีพระเถระชาวรามัญรูปหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงให้ความเคารพบูชาอย่างสูงสุด ดังความคัดลอกเหตุการร์อันเกี่ยวเนื่องในบางตอนของประวัติศาสตร์ชาติไทยมา เผยแพร่ดังต่อไปนี้


พระพุทธรูปองค์ขาวนี้ อยู่ด้านหลังของเจดียืชัยมงคล

เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๖ พระเจ้ากรุงอังวะเป็นกบฏ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี่ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหมายเมืองให้เข้มแข็งเมือง ด้วย คราวนั้นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย

เมื่อนั้นสมเด้จพระมหาธรรมราชาทรงโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมือง พิษณุโลก เมื่อวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม พุทธศักราช ๒๑๒๖ แต่ยกทัพไปไม่ทันกำหนด ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงคลางแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าร่วมด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษาเมืองหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติ และพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน


ถ่ายจากด้านบนเจดีย์ชัยมงคล

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก พุทธสักราช ๒๑๒๗ ทรงพักทัพอยู่ใกล้วัดของพระมหาเถรคันฉ่อง จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปเยี่ยมพระอาจารย์ซึ่งคุ้ยเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องจึงได้กราบทูลถึงเรื่องการคิดปองร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม และเหล่าทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน
      แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาประชุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) แลประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า


“ ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครอบสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรมประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป ”



เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ชกชวนพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ พระยาราม พร้อมครอบครัวและบริวารมายังกรุงศรีอยุธยาด้วย พระองค์ทรงขอพระราชทานความดีความชอบต่อพระมหาธรรมราชา พระมหาธรรมราชาทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่อง เป็นสมเด็จพระพนรัตในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

ส่วนชาวมอญที่ติดตามมาทรงโปรดให้อยู่ ณ ตำบลบ้านหลังวัดนก (ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ทาทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดมหาธาตุ) ส่วนพระยาเกียรติ – พระยาราม มีตำแหน่งยศได้พระราชทานพานทอง ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสน ใกล้วังจันทร์ฯ ของสมเด็จพระนเรศวร

ในครั้งแผ่นดินพระนเรศวรก่อนที่จะทรงสถาปนาสมเด็จพระพนรัตนั้น ก็มีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ก่อนแล้ว แต่ด้วยทรงปรารถนาจะถวายความเคารพอย่างสูงสุดในองค์สมเด็จพระพนรัต (พระอาจารย์)
    จึงได้ทรงสถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชอีกพระองค์หนึ่ง
    ให้ทางเป็นผู้ปกครองสงฆ์ทางฝ่ายเหนือทั้งหมด
    ส่วนพระสังฆราชเดิมนั้นทรงให้ปกครองสงฆ์ทางฝ่ายใต้
    ซึ่งตำแหน่งนี้สถาปนาให้อยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุตามพระราชประเพณี
    แต่สมเด็จพระพนรัตประสงค์ที่จะประทับ ณ วัดเจ้าพระยาไท ต่อมาเรียกชื่อว่าวัดวัดป่าแก้ว
    เนื่องจากพระองค์เป็นพระอรัญวาสี (วัดป่า) มีความชอบในการอยู่อย่างสงบนอกเมือง



เมื่อเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี พุทธศักราช ๒๑๓๕
ครั้งถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ รวม ๒๕ รูปเข้าไปเฝ้า ถามข่าวถึงการเสด็จพระราชสงครามตามประเพณี สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงให้ฟังทุกประการ
    สมเด็จพระพนรัตได้ฟังแล้วจึงถวายพระพรว่า
    "พระองค์มีชัยแก่ข้าศึก แต่เหตุไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องรับราชทัณฑ์"


    สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า
    "นายทัพนายกองเหล่านี้กลัวข้าศึกมากกว่ากลัวพระองค์ และให้แต่พระองค์สองคนพี่น้อง ฝ่าเข้าไปท่ามกลางศึก จนได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ต่อเมื่อมีชัยกลับมาจึงได้เห็นหน้าพวกเหล่านี้ นี่หากว่าพระองค์ยังไม่ถึงที่ตาย หาไม่แผ่นดินก็จะเป็นของชาวหงสาวดีไปเสียแล้ว"
    เหตุนี้พระองค์จึงได้ ลงโทษตามอาญาศึก



    สมเด็จพระพนรัตจึงถวายพระพรว่า
    เมื่อพิเคราะห์ดูข้าราชบริพารเหล่านี้ ที่จะไม่กลัวพระองค์ท่านนั้นหามได้ เหตุทั้งนี้เห็นจะเผอิญเป็นเพื่อจะให้พระเกียรติแก่พระองค์เป็นอัศจรรย์ เหมือนสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า


    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเหนืออปราชิต บัลลังก์ใต้ควงไม้มหาโพธิ์ครั้งนั้น เทพเจ้าก็มาเฝ้าพร้อมกันหมื่นจักรวาล พระยาวัสวดีมารยกพลเสนามาผจญ ถ้าพระพุทธเจ้าได้เทพเจ้าเป็นบริวาร มีชัยแก่พระยามารก็หาสู้เป็นอัศจรรย์ไม่ เผอิญให้หมู่เทพเจ้าทั้งปวงปราศนาการหนีไปสิ้น เหลือแต่พระองค์เดียวสามารถผจญให้เหล่ามารปราชัยไปได้ จึงได้พระนามว่า “พระพิชิตมาร โมฬีศรีสรรเพชญตาญาณ” เป็นมหาอัศจรรย์บันดาลไปทั่วอนันตโลกธาตุ ก็เหมือนทั้งสองพระองค์ครั้งนี้

     ถ้าเสด็จพร้อมด้วยโยธาหาญมาก และมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชา
     ก็จะหาสู้เป็นอัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศให้ปรากฎแก่นานาประเทศไม่
     อันเหตุที่เป็นทั้งนี้ เพื่อเทพเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์จักสำแดงพระเกียรติยศเป็นแน่แท้



     สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปิติโสมนัส ตรัสว่า
     "อันพระคุณเจ้ากล่าวมานี้เห็นควรหนักหนา"
     สมเด็จพระพนรัตจึงไดถวายพระพรว่า
     "ข้าราชบริพารซึ่งต้องโทษเหล่านี้ก็ผิดหนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำคุณงามความดีมา แต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชเจ้า และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตลอดมาจนถึงพระองค์ดุจพุทธบริษัทสมเด็จพระบรมครู จึงขอพระราชทานอภัยโทษต่อข้าราชบริพารเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่ง จะได้ทำคุณงามความดีฉลองพระเดชพระคุณท่านสืบไป"

     สมเด็จพระนเรศวรฯ จึงมีรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระพนรัตขอแล้ว พระองค์ก็จะถวายให้
     แต่ทว่าจะต้องไปตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวายแก้ตัวก่อน
     สมเด็จพระพนรัตถวายพระพรว่า การจะใช้ไปตีบ้านตีเมืองนั้น สุดแต่พระองค์จะสงเคราะห์
     มิใช่กิจของสมณะ แล้วก็ถวายพระพรลากลับไป



จากประวัติศาสตร์ที่เผยแพร่ชัดเจนมายาวนานนี้ น่าจะเป็นข้อจดจำในสำนึกของเราชาวไทยทั้งหลาย ในพระคุณของสมเด็จพระพนรัตผู้เป็นที่เคารพเทิดทูน แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรฯ ผู้ทรงพระคุณอันใหญ่หลวงของชาวไทย สมควรที่เราชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้ระลึกเทิดทูนบูชากราบไหว้ในพระคุณของ พระองค์ท่าน ที่ได้ทรงกระทำให้เราเป็นไทยมาตราบเท่าทุกวันนี้

• หากสมเด็จพระพนรัตไม่ทราบยับยั้งแผนการของพระนาเกียรติ – พระยาราม เราชาวไทยคงไม่มีองค์พระนเรศวร ผู้ทรงปรีชาสามารถมากอบกู้ชาติบ้านเมือง ให้เป็นปึกแผ่นตราบเท่าทุกวันนี้

• หากสมเด็จพระพนรัตไม่ทรงบิณฑบาตร ขอชีวิตเหล่าทหารในการทำศึกสงครามยุทธหัตถี ก็จะทำให้ไพร่พลขาดกำลังใจ และขาดคนดีที่จะมาช่วยชาติบ้านเมืองได้อีกมากมาย ซึ่งในกาลนี้ขอให้ทุกคนหันกลับมามองดูว่า แม้อาญาเมืองยิ่งใหญ่เพียงใด
     แต่ด้วยเดชแห่งบุญสังฆบารมี อันสมเด็จพระพนรัตได้แสดงถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรฯ ยังทรงพิจารณา โดยไม่ทรงถือเอาภัยอันพระองค์ได้รับนั้น มาเป็นใหญ่เหนือพระศาสนา และคำเตือนของพระมหาเถระผูประเสริฐ จึงยังทำให้แผ่นดินสงบร่มเย็นสืบมา แสดงให้เห็นถึงพระคุณธรรมอันมิในใจเป็นชาตินักรบอย่างแท้จริงขององค์สมเด็จ พระนเรศวรมหาราชเจ้า


จีงขอให้เราชาวไทยทุกคนในแผ่นดินจงมีสติ อย่าเห็นแก่ลาภยศ อำนาจ วาสนา จนลืมตัวและขาดการยกย่องในผู้ปฏิบัติหนักแน่นในศีลในธรรม ถ้าเรายกเอาองค์พระนเรศวรมหาราชเจ้าที่ได้ทรงกระทำเป็นแบบอย่าง ชาติไทยจักวัฒนาถาวรสืบไป






อ้างอิง
คัดจากหนังสือ ตามรอยสมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถรคันฉ่อง) พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
บันทึกโดย พระพีระ จิตตวีโร สำนักสงฆ์วัดป่าแก้ว บ้านป่าโหล – ผาใต้ ๖.ท่าตอน อ. แม่อาย เชียงใหม่ ๕๐๑๘๐
(ขออนุโมทนาการได้รับอนุญาตการคัดลอกเพื่อการเผยแพร่จาก จากคุณ ปาเมล่า ว่องวานิช )
http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=658
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=8565
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2013, 06:20:49 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

การสถาปนาตำแหน่ง "พระพนรัตน์" ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดป่าแก้ว เมื่อปีพระพุทธศํกราช ๑๙๐๗ เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี
   คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ   
   แต่ภายในวัดป่าแก้วก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป

               
     วัดป่าแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค จึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่งให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว 

     วัดป่าแก้วเป็นวัดพระกรรมฐานหลัก เป็นวัดพระกรรมฐานใหญ่
     เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้ 
     พระกรรมฐานที่ศึกษาในวัดป่าแก้ว คือ "พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"
     สืบต่อมาจาก "วัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว กรุงสุโขทัย" และสืบต่อจาก "วัดไชยปราการ กรุงอโยธยา"



    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓  สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นพระอารามหลวง นามว่าวัดป่าแก้ว  มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้วสามพระองค์ ๓ องค์
    เจ้าอาวาสองค์ที่หนึ่ง ถึงองค์ที่สาม ไม่ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 
    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ คือ ท่านขรัวจวน ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ มากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห สมัยกรุงอโยธยา

    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนา วัดชายทุ่ง ให้เป็นพระอารามหลวง  แล้วทรงขนานพระนามพระอารามที่สถาปนาใหม่ว่า วัดป่าแก้ว ให้เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ หรือสมเด็จพระนพรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย   


ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังของตำหนักพระนเรศวร

พระอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของวัดป่าแก้ว

     สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังสถาปนาแล้วมีดังนี้

๑. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า จวน เจ้าอาวาสพระองค์แรกของ วัดป่าแก้ว ตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งพระพนรัตน ตั้งแต่ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑  พระพนรัตน(จวน) บรรพชา-อุปสมบทกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น ที่วัดสามไห เมืองอโยธยา ศึกษพระกรรมฐานมัชฌิมา และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์กับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห เมืองอโยธยา

๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แดง พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร  พระพนรัตน์(แดง) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบเนื่องมากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห

๓. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า รอด ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ชาวเมืองเรียกขาน พระองค์ท่านว่า หลวงปู่เฒ่า พระองค์ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วด้วย  ท่านเป็นในรัชสมัยสมเด็จพระยารามราชาธิราชๆ
    พระพนรัตน์(รอด)บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสามไห กับขรัวตาเฒ่าชื่น อุปสมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยา(เมื่อทรงครองราชสมบัติครั้งแรก) ที่วัดสามไห ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วได้เล่าเรียนพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมา กับพระอุปัชฌาย์


ภาพนี้ถ่ายจากด้านข้างห้องน้ำ

๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า พระพนรัตน์(สี) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากท่านขรัวตาเฒ่าจิต ขรัวตาเฒ่าจิตเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น

๕. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า รอด(องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด หรือเจ้าไท พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน(รอด องค์ที่ ๒) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากพระพนรัตน์(แดง)

๖. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน์(แสง)ศึกษากรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)

๗. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า คร้าม  พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  พระพนรัตน์(คร้าม) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)

ห้องน้ำทรงไทย

๘. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า จุ่น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระวันรัตน์(จุ่น) ศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(แสง)

๙. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เอื๊ยน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  พระพนรัตน์(เอี๊ยน) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(คร้าม).

๑๐. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า มี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระแก้วฟ้า  พระพนรัตน(มี) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(จุ่น)

๑๑. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เดช พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชาธิราช พระพนรัตน์(เดช) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(มี)

๑๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สอน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระพนรัตน์(สอน) ท่านศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(มี)


ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังห้องน้ำ เห็นตำหนักพระนเรศวรอยู่ไม่ไกล

๑๓. พระพนรัตน์ นามเดิม พระมหาเถรคันฉ่อง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า
     ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากหลวงปู่รอด หรือหลวงปู่เฒ่า หรือพระพนรัตน์(รอด)
     โดยพระพนรัตน์(รอด) มาสอนพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง)ให้เพื่มเติม ทางสมาธินิมิต
     เมื่อมาสถิต ณ วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
     ในครั้งนั้นมี พระพนรัตน์(สอน) เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว
     พระมหาเถรคันฉ่อง ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาในแนวเดียวกันที่รามัญประเทศ


๑๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า อ้น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศ     
     พระพนรัตน์(อ้น) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบต่อมาจากพระพนรัตน์(เดช) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร 
     ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงมาศึกษาต่อกับพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง) จนจบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 



ดัดแปลงจาก
ตำนาน การสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  เรียบเรียง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2013, 06:24:28 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

๑๕. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า ขุน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระพนรัตน์(ขุน) ศึกษาพระกรรมฐานกับพระพนรัตน์(สอน) และพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง)

๑๖. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า มาก พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช  พระพนรัตน์(มาก) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากพระพนรัตน์(อ้น)

๑๗. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า ใหญ่  พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง(เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์) พระพนรัตน์(ใหญ่) ท่านศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(มาก)

๑๘. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า บุญ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายมหาราชเป็นเจ้า พระพนรัตน์(บุญ) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัตน์(มาก)


พระนอน ภายในวัดใหญ่ชัยมงคล

๑๙. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สิงห์ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช(สิงห์)ในรัชกาลเดียวกัน บรรพชา-อุปสมบทที่วัดพญาแมน ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมากับพระพนรัตน์(มาก) วัดป่าแก้ว    

๒๐. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
      เมื่อคราวที่ พระพนรัตน(สิงห์)ได้รับการสถาปนา ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราชนั้น  ตำแหน่งพระพนรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย วัดป่าแก้ว จึงว่างลง  สมเด็จพระเพทราชา จึงทรงสถาปนาพระเทพมุนี(แสง) วัดป่าแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่ง พระพนรัตน์(แสง) พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี แทนตำแหน่งที่ว่าง พระพนรัตน์(แสง)ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อกับพระพนรัตน์(บุญ)

๒๑. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แปร พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ(หลวงสรศักดิ์)  พระพนรัตน์(แปร)ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบมาต่อจากสมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช(สิงห์) วัดป่าแก้ว



๒๒. พระพนรัตน มีพระนามเดิมว่า ดำ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว   ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  พระพนรัตน์(ดำ) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัตน์(แปร)

๒๓. พระพนรัตน์  มีพระนามเดิม แก้ว พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ(เจ้าฟ้าเพชร)
      พระพนรัตน์(แก้ว) ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(เจ้าฟ้าพร)  นับเป็นสมัยสุดท้าย ที่พระพนรัตน์(แก้ว)ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบเต็มรูปแบบ ไม่มีวิชาไสยศาสตร์ หรืออย่างอื่นเข้ามาปะปน 
      พระพนรัตน(แก้ว)ศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(แปร) วัดป่าแก้ว
      พระพนรัตน(แก้ว) พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งพระพนรัตน เจ้าคณะอรัญวาสี  องค์สุดท้ายของวัดป่าแก้ว ในยุคกรุงศรีอยุธยา


๒๔. พระวันรัตน์ มีพระนามเดิม ใย เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) พระวันรัตน์(ใย) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา ไม่เต็มรูปแบบ คือไม่จบพระกรรมฐานมัชฌิมา อย่างสมบูรณ์  พระวันรัตน์(ใย)ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบต่อจาก พระพนรัตน์(ดำ)

หมายเหตุ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลังพระพนรัตน์(แก้ว) มรณะภาพลงแล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเปลี่ยนตำแหน่ง พระพนรัตน จากเจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย มาเป็นตำแหน่ง เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา และทรงเปลี่ยนราชทินนามที่ พระพนรัตน์ มาเป็นราชทินนามที่ พระวันรัตน์ แทนตั้งแต่นั้นมา

 

๒๔. พระวันรัตน์ มีพระนามเดิม ผา เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้าอุทุมพร(เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิต) 
      พระวันรัตน์(ผา) เป็นพระวันรัตน เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา องค์สุดท้าย ของวัดป่าแก้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา(ศึกษาไม่เต็มรูปแบบ) สืบต่อจากพระพนรัตน์(ดำ), พระวันรัตน์(ผา)มรณะภาพก่อนกรุงแตก


๒๕. ท่านพระครูปลัด(เขียน) ท่านสถิตวัดป่าแก้ว ท่านเป็นถานานุกรม ของพระพนรัตน(แปร) วัดป่าแก้ว  ท่านเป็นพระถานานุกรม อยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ(เจ้าฟ้าเพชร)
     พระครูปลัดเขียน ท่านเป็นพระมหาเถรที่รักสันโดด มีความมักน้อย ชอบท่องเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ หาความสงบวิเวก เที่ยวกรรมฐานไปตามสถานที่ต่างๆ เพราะท่านเกิด ความเบื่อหน่าย ภายในวัดป่าแก้ว เวลานั้น วัดป่าแก้วเริ่มเสื่อมจากการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
     พระภิกษุทั้งหลายต่างหันไปศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาไสยศาสตร์กันมาก แล้วไม่กลับมาปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาเพื่มเติมเหมือนอย่างแต่ก่อน พระกรรมฐานมัชฌิมา เริ่มไปเจริญตามวัดอรัญวาสีต่างๆ แต่ไม่เต็มรูปแบบ ท่านพระครูปลัดเขียน ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัตน์(แปร) วัดป่าแก้ว อย่างเต็มรูปแบบ



   ต่อมา ตำแหน่งพระพนรัตน์หรือพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว
    ไม่มีพระมหาเถรที่มีความสามารถมากพอในการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบเต็มรูปแบบ
    ประจวบกับกรุงศรีอยุธยาก็มาเสียให้แก่พม่า ในรัชสมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์)
    พระวันรัตน(ผา) วัดป่าแก้ว จึงเป็นพระองค์สุดท้ายของวัดป่าแก้วและของกรุงศรีอยุธยา
    เพราะการล่มสลายลงของกรุงศรีอยุธยานั่นเอง


     สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผู้คนมักเรียกขานนามพระเถรผู้ใหญ่ ในวัดป่าแก้วว่า เจ้าไท บ้าง
     ซึ่งนามหมายถึง พระพนรัตน,พระวันรัตน หรือพระนพรัตน แห่งวัดป่าแก้ว
     บางที่ก็เรียกขานนามว่า เจ้าพญาไทย บ้าง ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระสังฆราชาฝ่ายขวา ในวัดป่าแก้ว ซึ่งมีพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระญาณมุนี(สิงห์)


      ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  สถาปนาพระเจดีย์ใหญ่ชัยมงคล ที่ระลึกการทำยุทธหัตถี ไว้ใกล้ๆ วัดป่าแก้ว  นานมาผู้คนจึงเรียกขานนามวัดป่าแก้วอีกนามหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคล 
      วัดป่าแก้ว จึงมีนามเรียกขานกันหลายอย่าง เช่น วัดเจ้าไท วัดเจ้าพญาไท วัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งไม่ใช่เป็นนามเดิมของวัดป่าแก้ว
      บางสรรพนามใช้เรียกนามขานพระสงฆ์เถร เช่น เจ้าไทบ้าง เจ้าพญาไทบ้าง


อยากให้รู้ว่า "ยังมีคนที่ชอบปิดทองหลังพระอยู่"


ดัดแปลงจาก
ตำนาน การสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  เรียบเรียง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 19, 2013, 06:27:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ