ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่สุก มีพระอาจารย์ ทั้งภายนอก และ กายใน ( ไม่เข้าใจก็ต้องอ่าน ครับ )  (อ่าน 4861 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
    • ดูรายละเอียด
พระอริยเถราจารย์ สอนวิชาบังคับธาตุขันธ์
(พรรษาแรก สถิตวัดโรงช้าง ยุคอยุธยา)
    พรรษาแรกปีนั้น ขณะที่พระอาจารย์สุก เจริญสมณะธรรมในคืนนั้น พระองค์
ท่าน ก็ทรงแลเห็น รูปทิพย์ องค์พระอริยเถราจารย์รูปหนึ่ง เข้ามาหาพระองค์ท่านใน
สมาธินิมิตแล้ว บอกว่า ท่านได้สมาธิสองส่วนแล้ว ต่อไปข้างหน้า ก็จะมีพระอริยเถรา
จารย์ในอดีตอีกหลายพระองค์ จะมาสอนทางแห่งการปฏิบัติในรูปแบบต่างๆให้แก่ท่าน
แล้วพระอริยเถราจารย์พระองค์นั้น ก็ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ข้าฯชื่อดร อดีตเคยเป็นพระ
อุตราทิศาจารย์ (ฐานานุกรม) ของพระพุทธโฆษาจารย์ อยู่วัดพุทไธศวรรย์


    ข้าฯจะมาสอนเรื่องธาตุขันธ์ โดยวิธีการต่างๆ ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า ขอให้ท่าน
ฝึกบังคับ ธาตุขันธ์ จิตของท่าน จะยกสูงขึ้น ประณีตขึ้น และจะมีอานุภาพมากขึ้น จิตจะ
ไม่ตกไปข้างฝ่ายอกุศลกรรม เมื่อท่านสามารถบังคับธาตุขันธ์ได้แล้ว ให้ฝึกแยกธาตุ
ขันธ์ ที่ประกอบไปด้วยมหาภูตทั้งสี่คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จิตของท่านก็จะ
ได้ดำเนินไปทางปรมัตถธรรม ไปสู่มรรคธรรม ผลธรรม ได้ง่าย ต่อจากนั้นให้ท่านฝึก
คุมธาตุทั้งสี่ จะทำให้ท่าน มีสติ สมาธิ ที่สมบูรณ์ เข้มแข็งยิ่งขึ้น ต่อจากนั้นพระอริยเถรา
จารย์ ก็บอกวิธีบังคับธาตุขันธ์ให้แก่พระอาจารย์สุก

    ต่อมา พระอริยเถราจารย์ ก็บอกวิธีการแยกธาตุขันธ์ ให้กับพระองค์ท่าน โดยให้
แยกธาตุน้ำก่อน เป็นลำดับแรก ต่อมาให้แยกธาตุไฟ เป็นลำดับต่อมา ต่อไปก็แยกธาตุ
ดิน ต่อไปก็แยกอากาศธาตุ แยกแล้วให้พิจารณาว่า
กายนี้ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เรา เป็นเพียง
ธาตุเท่านั้น จิตของเราก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกาย อันประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ และก็จะ
ไม่มีอะไรอาศัยอยู่ได้ เพียงสักแต่ว่ารู้ไว้เท่านั้น


    ทุกวันในพรรษาแรกนั้น พระอาจารย์สุก ทรงบำเพ็ญสมณะธรรมเสร็จแล้ว ก็
ทรงมาฝึก การบังคับธาตุขันธ์ การแยกธาตุ และการคุมธาตุขันธ์ คือนำธาตุที่แยกไปแล้ว
กลับมาที่เดิม ด้วยเอกัคคตาจิต พระองค์ท่านปฎิบัติตามที่พระอริยเถราจารย์ เมตตามา
กล่าวสอนในสมาธินิมิตทุกวัน จนท่านสามารถ ฝึกฝนตามที่พระอาจารย์มากล่าวสอนได้
จนจิตสมาธิของพระองค์ท่านมีอานุภาพมากขึ้นไปอีก

    พระอาจารย์สุก ทรงมีพระอาจารย์ทั้งข้างนอก ข้างใน พระอาจารย์ข้างนอกคือ
ท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) พระอาจารย์ข้างในคือ พระอุตราทิศาจารย์ (ดร) พระรอง
เรื่อง หรือพระฐานานุกรม ของพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์ ในอดีตกาล ครั้งต้น
กรุงศรีอยุธยา


ขอบคุณเนื้อหาจาก หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร มหาเถรเจ้า(หลวงปู่ ไก่เถื่อน)
หน้า 58 เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม คณะ5


ในรูปพระครูสิทธิสังวร ( หลวงพ่อจิ๊ว )


มาร่วมโครงการ อ่านประวัติหลวงปู่ ตามที่พระอาจารย์ชวนปี 2555 ครับ
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
    • ดูรายละเอียด
มีเรื่องน่าติดตามเป็นประโยชน์มากครับ ผมเองก็พึ่งได้อ่าน ครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
หลวงปู่สุก  มีอาจารย์ทั้งนอกทั้งใน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ปฏิปปทาครูอาจารย์ผูกมัดพันหลักใจ

ปลดเปลื้องชอบใจไม่ชอบใจไปง่าย
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ