ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทบทวนกรรมฐาน คืออะไร ครับ เป็นการเรียนกรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ  (อ่าน 6315 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การทบทวน กรรมฐาน คือ อะไร ครับ

  ถ้าเราเรียนกรรมฐาน แล้วจำขั้นตอนไม่ได้ ควรจด ไว้ดีหรือไม่ครับ ?

   :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็แล้วแต่มีได้หลายนัย.....   แต่ผู้เรียนกรรมฐาน จดไว้ก็ไม่แปลกหรือผิดอะไร จดก็ต้องจด
     จนกว่าจะทําได้แบบเป็น วสี  คือชํานาญแล้ว  เรียกว่า....จดจํา

           ส่วนการทบทวนกรรมฐาน  อย่างอื่น ของพระอริยะเจ้า ทบทวนอริยะสัจจะ4 อนุโลม-ปฏิโลมไปกลับ หรืออนุโลมญาณ ใช่หรือเปล่าก็ไม่รู้ ...เพราะข้าพเจ้ายังไม่รู้.....


       คงต้องพึ่งท่าน natthaponson หาพระสูตรมาให้อ่าน

        จนกว่าครูบาอาจารย์จะมา ขยายต่อ เป็นคําตอบสุดท้าย
       
          นั่นแหละ จึงถือว่าคือ ที่สุด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


    เมื่อเอ่ยคำว่า ทบทวน ผมนึกถึงคำว่า "ปัจจเวก" ลองเสริชดูในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ผลออกมาดังนี้

ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน,
       ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่);
       ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ;

       ดู ญาณ ๑๖

ปัจจัยปัจจเวกขณะ การพิจารณาปัจจัย,
       พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช
       ไม่บริโภคด้วยตัณหา

       (ข้อ ๔ ในปาริสุทธิศีล ๔)

อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ,
       เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
           ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
           ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
           ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว;

       อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง
       (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
          ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
           ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
           ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
           ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
           ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง

       (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)

      หากเราให้คำจำกัดความของคำว่า "ปัจจเวก" ให้หมายถึง ทบทวน หรือ พิจารณาเนืองๆ แล้ว
      เราก็พอจะหาข้อธรรมในพระสูตรมาคุยกันได้ ขอยกพระสูตรบางส่วนมาแสดง ดังนี้





เรื่อง "ปัจจเวกขณญาณ" มีอยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=1&Z=94

เนิ้อความในบาลี คือ ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุม ในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ

๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส               
ว่าด้วยปัจจเวกขณญาณ

               
     คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญฺญา แปลว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น.
     ความว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ในธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรมคือสัจจะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ คือมาพร้อมแล้ว ถึงพร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะและด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.


     คำว่า ปจฺจเวกฺขเณ ญาณํ - ปัจจเวกขณญาณ ความว่า ญาณเป็นเครื่องหมุนกลับมาเห็นรู้แจ่มแจ้ง.
     ก็ปัจจเวกขณญาณ ท่านกล่าวไว้ด้วยญาณทั้ง ๒ นี้.
     ก็ในที่สุดแห่งโสดาปัตติผลในมรรควิถี จิตของพระโสดาบันก็ลงภวังค์,
     ต่อแต่นั้นก็ตัดภวังค์ขาด มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณามรรค,
     ครั้นมโนทวาราวัชชนะนั้นดับลงแล้ว ชวนจิตพิจารณามรรคก็เกิดขึ้น ๗ ขณะโดยลำดับฉะนี้แล.

     ครั้นแล้วก็ลงสู่ภวังค์อีก อาวัชชนจิต เป็นต้น ก็เกิดขึ้น
     เพื่อพิจารณาธรรมทั้งหลาย มีผล เป็นต้น โดยนัยนั้นเอง.
     เพราะความเกิดแห่งธรรมเหล่าใด มีผล เป็นต้น
     พระโสดาบันนั้นก็พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ยังเหลือ และพระนิพพาน.

     ก็พระโสดาบันนั้นพิจารณามรรคว่าเรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ,
     ต่อแต่นั้นก็พิจารณาผลว่าอานิสงส์นี้เราได้แล้ว,
     ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่ละแล้วว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ เราละได้แล้ว,
     ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่มรรคเบื้องบนจะพึงประหาณว่า กิเลสเหล่านี้ เรายังเหลืออยู่,
     ในที่สุดก็พิจารณาอมตนิพพานว่า ธรรมนี้เราได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์.


     พระอริยสาวกชั้นโสดาบันมีปัจจเวกขณะ ๕ อย่างด้วยประการนี้. ปัจจเวกขณะของพระสทาคามีและพระอนาคามีก็มีเหมือนพระโสดาบัน. แต่ของพระอรหันต์มีปัจจเวกขณะ ๔ อย่างคือ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่.

      รวมปัจจเวกขณญาณทั้งหมดมี ๑๙ ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์.
      ถามว่า การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่ ยังมีแก่พระเสกขะทั้งหลายหรือไม่?
      ตอบว่า เพราะความที่การพิจารณาการละกิเลสนั้นไม่มี. ท้าวมหานามสากยราชจึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมชื่ออะไรเล่าที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลกธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ดังนี้เป็นต้น



ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=0&p=4#๑๔._อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส
http://hilight.kapook.com/,http://202.129.59.73/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2012, 06:56:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. ฐานสูตร(เรื่อง อภิณหปัจจเวกขณ์)


       [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
       เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
       เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
       เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
       เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
       เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๑๖๔๙ - ๑๗๔๑.  หน้าที่  ๗๑ - ๗๕.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1649&Z=1741&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=57





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร (เรื่อง ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์)


       [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิต พึงพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า การเลี้ยงชีพ ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ ๑
       บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆว่า ญาณทัสนะวิเศษอันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คือ อุตริมนุสธรรม อันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง ๑


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ฯ
       จบสูตรที่ ๘


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๑๑๐ - ๒๑๒๘. หน้าที่ ๙๑.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2110&Z=2128&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=48
ขอบคุณภาพจาก http://202.129.59.73/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การทบทวน กรรมฐาน คือ อะไร ครับ

  ถ้าเราเรียนกรรมฐาน แล้วจำขั้นตอนไม่ได้ ควรจด ไว้ดีหรือไม่ครับ ?

   :25:

     
   การทบทวนกรรมฐาน ในความเข้าใจของผม
   น่าจะเป็นเรื่องของ วิปัสสนาญาณ ทั้งหมด
   ขึ้นอยู่กับว่า จะพิจารณาข้อธรรมอะไร และในญาณไหน

    :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2012, 03:39:15 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปัจเวกขณญาณ กับ สัจจานุโลมิกญาณ เป็นอันเดียวกัน หรือต่างกันอย่างไร
      ช่วย ธัมมะวิจยะ มาให้ศึกษากันด้วยครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การทบทวน กรรมฐาน ก็คือการฝึกตามลำดับ พระกรรมฐาน

    เช่น ฝึก อนุโลม ปฏิโลม เป็นต้น

การทบทวน กรรมฐาน ก็คือการตรวจสอบ หาข้อบกพร่อง หรือ กิเลสที่ยังมีเหลืออยู่

    เช่น ปัจจเวกขณญาณ สัจจนุโลมิกญาณ เป็นต้น


  การทบทวนกรรมฐาน เป็น สิ่งที่ควรทำเพราะจะทำให้เรารู้ว่า เราเสื่อมจากคุณธรรม หรือ เราบรรลุคุณธรรมแล้ว หรือยัง นั่นเอง ดังนั้นการทบทวนกรรมฐาน จึงมีความสำคัญต่อผู้ภาวนาอย่างยิ่ง

  การทบทวน ฌาน ก็คือ การทบทวน องค์แห่ง ฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา
  การทบทวน ฌาน ด้วยการอนุโลม และ ปฏิโลม ก็คือ เข้า ฌาน ที่ 1 - 2 -  3 - 4  - 3 - 2  -1 ออก
                      ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน อากาสนัญจายตนะธาตุ อากิญจัญญายตนะธาตุ วิญญานัญจายตนะธาตุ เนวนาสัญญายตนะธาตุ
  การทบทวน ปัจจเวกขณญาณ
               เข้า ฌาน ที่ 1 - 2 -  3 - 4 - วิปัสสนาญาณ 1 - 9
                      ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน อากาสนัญจายตนะธาตุ อากิญจัญญายตนะธาตุ วิญญานัญจายตนะธาตุ เนวนาสัญญายตนะธาตุ วิปัสสนาญาณ 1 - 16
                     
 




 เจริญธรรม / เจริญพร


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2012, 03:10:44 pm โดย vichai »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อนุโลมญาณ กับ ปัจจเวกขณญาณ ต่างกันอย่างไร.?

ตาม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ได้อ้างถึง ขุ.ปฏิ. 31/มาติกา/1-2 และ และ วิสุทธิ. 3/206-328 ได้ให้ความหมายของญาณทั้งสองไว้ว่า

สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ คือ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

ปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่

     ลองมาดู บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ชุดที่ ๑๐ วิปัสสนากรรมฐาน ของมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม
เรียบเรียงโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง  แบบเรียนนี้อ้างถึงหนังสือ ๔ เล่ม คือ
      ๑) ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท : พระสัทธัมมโชติกะ : อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์ ; พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๙
      ๒) วิมุตติมรรค พระอุปติสสเถระ รจนา พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ
      ๓) วิสุทธิมรรค ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
      ๔) พระสูตร และ อรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๑- ๒
 
     ผมขอนำคำอธิบายของญาณทั้งสองในบทเรียนดังกล่าว มาเปรียบเทียบให้ดูดังนี้



ญาณที่ ๑๒. อนุโลมญาณ
    อนุโลมญาณ คือ ญาณที่อนุโลมไปตามลำดับ เพื่อสำเร็จกิจแห่งวิปัสสนาญาณ ๘  โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ หรืออนุโลมไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการในเบื้องสูง ผลของอนุโลมญาณนั้น ย่อมสามารถกำจัดความมืด คือ กิเลสที่ปกปิดอริยสัจ ๔  อนุโลมไปตามลำดับมี ๒ ประการ คือ

    ๑. อนุโลมตามญาณต่ำไปสู่ญาณสูง โดยเริ่มตั้งแต่
        ๑.๑ อุทยัพพยญาณ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
        ๑.๒ ภังคญาณ พิจารณาเห็นความดับไปของรูปนามอย่างเดียว
        ๑.๓ ภยญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่าเป็นของน่ากลัว
        ๑.๔ อาทีนวญาณ พิจารณาเห็นรูปนามว่ามีโทษมาก
        ๑.๕ นิพพิทาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนามแล้วเบื่อหน่าย
        ๑.๖ มุญจิตุกัมยตาญาณ พิจารณาเห็นทุกข์โทษเบื่อหน่ายแล้วอยากหลุดพ้น
        ๑.๗ ปฏิสังขาญาณ พิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติอย่าง เข้มแข็ง
        ๑.๘ สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์แล้วมีใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
        ทั้ง ๘ อย่างข้างต้น เรียกว่า อนุโลมตามญาณต้น เพราะมีกิจพิจารณาพระไตรลักษณ์ เป็นอารมณ์เหมือนกัน


     ๒. อนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
         ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
         เมื่ออนุโลมตามญาณต่ำได้กำลัง พอแล้ว คือได้อินทรีย์ ๕ แก่กล้าแล้ว ก็เข้าเขตอนุโลมตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

         จบอนุโลมญาณ



ญาณที่ ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
    - พระอริยบุคคลสำรวจทบทวนดูมรรคว่า “ข้าพเจ้าสำเร็จมาด้วยอำนาจแห่งมรรคนี้แน่แล้ว”
    - สำรวจทบทวนดูผลว่า “อานิสงส์ดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าได้รับแล้ว”
    - สำรวจทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วว่า “กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ข้าพเจ้าละได้แล้ว”
    - สำรวจดูกิเลสที่ยังเหลืออยู่ว่า “กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆ ของข้าพเจ้ายังเหลืออยู่”
    - สุดท้ายก็สำรวจทบทวนดูพระนิพพานว่า “พระธรรมนี้ข้าพเจ้าแทงตลอดแล้ว”

    ปัจจเวกขณญาณของพระโสดาบัน พระสกาทาคามี พระอนาคามี ต้องพิจารณา ๕ อย่างทั้งหมดข้างต้น แต่สำหรับพระอรหันต์ไม่ต้องพิจารณากิเลสที่เหลืออยู่แล้ว เพราะท่านประหาณกิเลสได้ ทั้งหมดแล้ว 

         จบปัจจเวกขณญาณ

     หากจะสรุปความแตกต่างของทั้งสองญาณ อาจกล่าวได้ว่า
     อนุโลมญาณ เป็นการลำดับญาณของปุถุชน และอริยบุคคล
     ปัจจเวกขณญาณ เป็นญาณที่ใช้สำรวจกิเลสที่เหลือ ของอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป เท่านั้น

      :25:

ขอบคุณภาพจาก
http://www.rmutphysics.com/,http://gallery.palungjit.com/,http://www.khaosod.co.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2012, 12:04:25 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ รับทราบ ในถ้อยแถลง เนื้อหา จากท่านพระอาจารย์ และ คุณnatthaponson

 รวมความว่า ได้ คําตอบ ครบทุก ขณะวาระ...ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 

       นับเป็น คุณประโยชน์ เพื่อเป็นบัญญัติ สมมุติฐาน(รหัส-ทาง) ของเราชาวธรรม

               พระตถาคตเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ....ว่า...เราตถาคตเป็นได้แต่เพียงผู้บอก...
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา