ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: Re: แนะนำ เที่ยวลำปาง กันครับ ฤดูหนาวปี 2553  (อ่าน 5043 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



ผังพื้นพระธาตุลำปางหลวง
[ที่มา : พรรณนิภา ปิณฑวณิช, การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง วิทยานิพนธ์ สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 ]



รูปด้านพระธาตุลำปางหลวง
[ที่มา : พรรณนิภา ปิณฑวณิช, การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง วิทยานิพนธ์ สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 ]



"พระธาตุลำปางหลวง ตัวแทนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล" [ภาพโดย วโรดม ศุขสวัสดิ์, หม่อมหลวง, 16 ธันวา 46]





"บริเวณเสาเหล็ก ที่เชื่อกันว่าเป็นรอยกระสุน ของหนานทิพย์ช้าง"
[ภาพโดย ขวัญสรวง อติโพธิ, 26 มกรา 47]

รายละเอียด
พระ ธาตุลำปางหลวง ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นเจดีย์กลมทรงระฆังคว่ำ(แต่ในหนังสือพระเจดีย์ในล้านนา โดย สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่ กลับเรียกว่า เจดีย์แบบพุกามล้านนา เนื่องจากมีการปิดทองจังโกคล้ายแบบพุกามนั่นเอง) ปิดทองจังโกทั่วทั้งองค์เจดีย์ รูปทรงหนักแน่น ไม่ชลูดเหมือนเจดีย์แห่งอื่นๆ รอบๆพระธาตุมีการล้อมรอบด้วยรั้วเหล็ก โคมรั้ว มีการสร้างซุ้มประตูโขงอยู่ทางทิศใต้ของพระธาตุ บริเวณรั้วเหล็กมีเรื่องเล่าถึง รอยกระสุนปืน ที่หนานทิพย์ช้างยิงปืนสังหาร ท้าวมหายศ เมื่อช่วงพุทธศตวรรษที่ 23

ปรากฏในตำนานพระธาตุลำปางหลวงที่กล่าวถึง การเสด็จมาถึงของพระพุทธเจ้า ที่บ้านลัมภะการีวัน(บ้านลำปางหลวง) เมื่อเสด็จอยู่ดอยม่อนน้อย ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่ง นาม"ลัวะอ้ายกอน" เห็นพระพุทธเจ้า เกิดมีความเลื่อมใสได้นำเอาน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง(ไม้ช้าวหลามไม้เปราะ) มะพร้าวและมะตูมอย่างละ 4 ลูกน้อมถวายพระองค์ และพระองค์ก็มอบพระเกษาและได้มีพุทธพยากรณ์ต่อไปว่า ในอนาคต จะมีพระอรหันต์นำเอาอัฐิพระนลาต(หน้าผาก)ข้างขวา และอัฐิลำคอข้างหน้าหลังมาบรรจุไว้ในนี้



ที่มาข้อมูล :


ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานเจ้าเจ็ดตน, ลำปาง : โรงพิมพ์ศิลป์ประดิษฐ์, 2513


พรรณเพ็ญ เครือไทย. พระเจดีย์ในล้านนา , สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2546


สรัสวดี อ๋องสกุล. ประชุมตำนานลำปาง, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548

ที่มา

http://oplart.blogspot.com/2006/12/0001.html
บันทึกการเข้า

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ เที่ยวลำปาง กันครับ ฤดูหนาวปี 2553
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 12:15:58 pm »
0
วัดพระธาตุจอมปิง

ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านจอมปิง ตำบลนาแก้ว การเดินทางนั้นใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระธาตุลำปางหลวง แต่แยกซ้ายตรงที่ว่าการอำเภอไปอีก 17 กิโลเมตร วัดพระธาตุจอมปิงเป็นวัดโบราณ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย วัดนี้มีความมหัศจรรย์ของการเกิดเงาสะท้อนเป็นภาพสีธรรมชาติขององค์พระธาตุ ผ่านรูเล็กบนหน้าต่างมาปรากฏบนพื้นภายในพระอุโบสถตลอดเวลาที่มีแสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน และทางวัดยังจัดที่สำหรับแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบในบริเวณนี้ด้วย



แผ่นกระดาษที่ดูพระธาตุกลับหัว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2010, 12:18:09 pm โดย มะเดื่อ »
บันทึกการเข้า

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ เที่ยวลำปาง กันครับ ฤดูหนาวปี 2553
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 12:19:48 pm »
0


008 พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุจอมปิง
พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุจอมปิง
วัดพระธาตุจอมปิง หมู่ 5 ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
เปิดทุกวัน 08.30-18.00 น.
0-5436-2893
ไม่เก็บค่าเข้าชม
บริหารจัดการโดย วัด
ก่อตั้งปี 2544
เนื้อหาการจัดแสดง: ประวัติศาสตร์/โบราณคดี,วัด
พิกัดเส้นรุ้ง(latitude): ประมาณ 18.097000พิกัดเส้นแวง(longitude): ประมาณ 99.339996

วัดพระธาตุจอมปิงเป็น วัดเก่าแก่ของลำปาง มีตำนานว่าสร้างขึ้นโดยพระนางเจ้าจามเทวี วัดเคยร้างไปช่วงหนึ่ง ต่อมาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ท่านนันทปัญญา พี่เลี้ยงของพระเจ้าติโลกราช ได้มาบูรณะวัดแห่งนี้ ในพ.ศ. 2000 เกิดศึกพระยาใต้ยกทัพมาประชิดเมืองลำปาง เจ้าหมื่นด้งนครและพระเจ้าติโลกราชยกทัพมาช่วย สถานที่รบเรียกว่า "มหาสนุก" และได้ฉลองชัยชนะที่วัดนี้ มีการตั้งชื่อวัดว่า "วัดจอมพิงค์ชัยมงคล" ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นวัดจอมปิงในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2518 เจ้าหน้าที่ ร.พ.ช. เข้ามาขุดดินบริเวณหลังวัดเจอโครงกระดูก และโบราณวัตถุหลายชนิด อาทิ กำไล ปลอกแขน ตะขอสำริด(ชิ้นส่วนประกอบเสลี่ยงหรือคานหาม) ตลอดจนลูกปัดหินและแก้ว นอกจากนั้นยังมีการพบโบราณวัตถุอีกบ้างในระหว่างการขุดสร้างบ้านเรือนบริเวณ รอบวัด ในปี 2531 ระหว่างการวางท่อประปาในหมู่บ้านก็ขุดพบโบราณวัตถุอีก

ทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจึงเข้ามาตรวจดู พบว่าโบราณวัตถุจำพวก กำไลแก้ว ลูกปัดแก้ว และหินที่พบคล้ายกับแหล่งโบราณคดีที่ตาก กำแพงเพชร ลำพูน และนครสวรรค์ แสดงถึงความสัมพันธ์กันของแหล่งโบราณคดีเหล่านี้ นอกจากนี้โบราณวัตถุหลายชนิดทำจากสำริด ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง ของที่ขุดพบส่วนหนึ่งถูกเก็บไว้ที่วิหารของวัด ต่อมาเจ้าอาวาสพระธาตุจอมปิง พระอธิการอดุล ทนตจิตโจ ร่วมกับชาวบ้านได้ก่อสร้างอาคารเพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบดังกล่าว เปิดให้ประชาชนเข้าขมอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ พ.ศ.2544

อาคาร พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารชั้นเดียว ภายในห้องโถง กลางห้องตั้งตู้จัดแสดงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 6x2 เมตร ปิดกระจกโดยรอบ 1 ตู้ ภายในตู้จัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบบริเวณวัด อาทิ เศษภาชนะดินเผา กำไลหิน กำไลสำริด ใบหอก ลูกปัด ต่างหู นอกจากนี้จัดมีของสะสมของวัด ได้แก่ พระพุทธรูป กล้องสูบยาดินเผา ที่ใส่ดินปืนทำจากเขาสัตว์ ผ้ายันต์ ตะกรุด เชี่ยนหมาก โดยจัดวางเรียงเป็นกลุ่มพร้อมป้ายคำบรรยายวัตถุภาษาไทยบางรายการ ด้านบนของตู้ติดตั้งหลอดไฟลูออเรสเซนส์สีต่างๆ เพื่อให้แสงสว่างแก่โบราณวัตถุศิลปวัตถุที่จัดแสดง ด้านข้างตู้จัดแสดงใหญ่ ยังมีตู้เก็บคัมภีร์ใบลานอีกหนึ่งตู้ และมีแท่นประดิษฐานรูปปั้นของหลวงพ่อแก้ว จิรธมโม(ไชยราช) อดีตเจ้าอาวาส พร้อมป้ายประวัติชีวิตของหลวงพ่อแก้วที่เขียนด้วยลายมือบนฝาผนังด้านหลัง

ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 17 พฤศจิกายน 2548
2. กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 94.

ที่มา : http://www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=34-011&word=%
บันทึกการเข้า

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ เที่ยวลำปาง กันครับ ฤดูหนาวปี 2553
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 12:23:07 pm »
0
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของลำปาง
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ตั้งอยู่ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำปางด้านตะวันตกเฉียงใต้ หลักเมืองทำด้วยไม้สัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยหลักที่หนึ่งสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 หลักที่สองสร้างประมาณปี พ.ศ.2416 และหลักที่สาม สร้างประมาณปี พ.ศ.2429 ต่อมาในปี พ.ศ.2440 เมื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น ได้นำหลักเมืองมาไว้ที่บริเวณหน้าศาลากลาง และได้มีการสร้างมณฑปครอบหลักเมืองทั้งสามในปี พ.ศ.2511
พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ
ประดิษฐานอยู่ในมณฑปทรงไทยแบบจตุรมุข ซึ่งตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะผสมรมดำทั้งองค์ ปางสมาธิ ชาวบ้านเรียก "หลวงพ่อดำ" จัดสร้างโดยกรมการรักษาดินแดน เมื่อปี พ.ศ.2511 มี 4 องค์ เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ 4 ทิศของประเทศ โดยทางทิศเหนือได้นำมาประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดลำปาง นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ปิดทองเกือบทั้งองค์ โดยสาธุชนที่มานมัสการ
วัดพระแก้วดอนเต้า
ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตนานถึง 32 ปี ปูชนียสถานที่สำคัญ คือ องค์พระธาตุมณฑปศิลปะพม่า พระนอนองค์ใหญ่ พระวิหารหลวง และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งล้านนา การเดินทางไปยังวัดนั้น ไปได้โดยการข้ามสะพานรัชฎาภิเษก แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนพระแก้ว ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นองค์พระธาตุตั้งเด่นอยู่บนเนิน
วัดศรีชุม
เป็นวัดพม่าที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 31 วัด สร้างในปี พ.ศ.1893 โดยคหบดีชาวพม่า ชื่ออูโย ซึ่งติดตามชาวอังกฤษเข้ามาทำงานป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อตนเองมีฐานะดีขึ้น จึงต้องการทำบุญ โดยสร้างวัดศรีชุมขึ้นในตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง การเดินทางไปวัดศรีชุมนั้น เมื่อถึงโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยแล้ว เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกไปเล็กน้อย จะพบทางเข้าวัดอยู่ด้านขวามือ จุดเด่นของวัดนี้อยู่ที่พระวิหาร ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมแกะสลักเป็นลวดลายสวยงามมาก
วัดศรีรองเมือง
ตั้งอยู่ที่บ้านท่าคราวน้อย ตำบลสบตุ๋ย ในเขตเทศบาลเมืองด้านทิศตะวันตก เป็นวัดพม่าที่สร้างขึ้นในสมัยที่ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าขาย การทำป่าไม้เช่นกัน สถาปัตยกรรมที่สำคัญได้แก่ วิหารไม้หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นน้อยสวยงามตามแบบศิลปพม่า นอกจากนี้ยังนับว่าเป็นวัดที่มีการประดับตกแต่งภายในด้วยลายไม้แกะสลัก และลายปูนปั้นปิดทองที่มีความวิจิตรสวยงาม
สถานปฏิบัติธรรม-มณฑป หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์
ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางสายลำปาง-แจ้ห่ม ภายในบริเวณมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม เขมโก เกจิอาจารย์ซึ่งมีผู้เคารพนักถือเป็นจำนวนมาก นั่งในท่าสมาธิขนาดเท่ารูปจริง เพื่อให้ประชาชนเคารพสักการะ และบริเวณมณฑปก็มีที่จอดรถและสถานที่เช่าพระเครื่อง ส่วนกุฏิของหลวงพ่อเกษมอยู่ด้านข้างมณฑป
บ้านเสานัก
เลขที่ 86 ถนนราษฎร์วัฒนา อ.เมืองลำปาง เป็นบ้านทรงไทย สถาปัตยกรรมล้านนาผสมพม่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2438 เดิมสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ที่เรียกว่า บ้านเสานัก เพราะว่ามีเสาทั้งหมด 116 ต้น เป็นสถานที่ตอนรับแขกบ้านแขกเมืองอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ตั้งแสดงเครื่องใช้โบราณทั้งของไทยและของพม่า บริเวณบ้านตกแต่งเป็นสวนหย่อม เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 10.00 - 17.00 น. ท่านละ 30 บาท และมีบริการรับจัดอาหารกลางวัน/อาหารเย็นสำหรับหมู่คณะ ติดต่อได้ที่บ้านเสานัก โทร.(054) 227653
วัดเจดีย์ซาวหลัง
"ซาว" แปรว่ายี่สิบ "หลัง" แปลว่าองค์ วัดเจดีย์ซาวหลัง แปลว่าวัดทีมีเจดีย์ 20 องค์ ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย อ.เมืองลำปาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นวัดใหญ่อยู่กลางทุ่งนา บริเวณวัดร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ วัดนี้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำปาง สร้างแต่โบราณทรงคุณค่าทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุ จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัยหริภุญชัยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัดนี้สร้างมานานกว่าพันปี ทางด้านซ้ายของพระอุโบสถเป็นศิลปะสมัยใหม่ ประดับลวดลายติดกระจกสีทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ.2526 ได้มีชาวบ้านขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ หนัก 100 บาท สองสลึง มามอบให้แก่ทางวัด ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า "พระแสนแซ่ทองคำ" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ขึ้นเป็นทะเบียนโบราณวัตถุแห่งชาติแล้ว
วัดพระธาตุม่อนพญาแช่
ตั้งอยู่บนภูเขา ตำบลพิชัย อ.เมืองลำปาง บนเส้นทางสายลำปาง-งาว ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร จากตัวเมือง โดยเลี้ยวขวาเข้าไปตรงหลักกิโลเมตรที่ 605 ประมาณ 1 กิโลเมตร ความสวยงามของวัดอยู่ที่บันไดนาคที่ทอดยาวขึ้นไปหาพระธาตุ คล้ายกับวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ทุกปีจะมีงานนมัสการองค์พระธาตุในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7
วัดพระธาตุเสด็จ
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางลำปาง-งาว ประมาณ 19 กิโลเมตร แยกซ้ายตรงกิโลเมตรที่ 17 ประมาณ 2 กิโลเมตร วัดพระธาตุเสด็จเป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง มีตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ประมาณ 500 ปีมาแล้ว อุโบสถและวิหารต่างๆ ในวัดนี้ ล้วนแต่เป็นของโบราณที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ แต่ยังคงสภาพศิลปโบราณให้ได้เห็นอยู่จนปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว
เขื่อนกิ่วลม
อยู่ห่างจากตัวเมืองไป 38 กิโลเมตร เส้นทางลำปาง-งาว โดยแยกซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 623-624 เข้าไปอีก 14 กิโลเมตร เปิดให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจได้ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. เขื่อนกิ่วลมอยู่ภายใต้การดูแลของกรมชลประทาน สำหรับบ้านพักรับรอง ทางกรมชลประทานอนุญาตให้เข้าพักเฉพาะข้าราชการหรือหน่วยงานราชการเท่านั้น โดยมีหนังสือติดต่อล่วงหน้าไปที่กรมชลประทาน ถนนสามเสน หรือ โทร.(02)2414806 บริเวณเหนือเขื่อนเป็นอ่างเก็บน้ำ เหมาะแก่การล่องเรือหรือแพ เพราะมีทัศนียภาพสวยงาม การล่องแพใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ติดต่อได้ที่สำนักงานท่องเที่ยวบริเวณเขื่อน และหากต้องการพักค้างคืนสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ

1. ล่องแพไปพักที่เขื่อนกิวลมรีสอร์ท ซึ่งมีที่พักเป็นบ้าน และบังกะโลหลายแบบ ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลสาป โทร.(054) 334393

2. ล่องแพและค้างคืนบนแพ ซึ่งเป็นแพติดเครื่องยนต์ หรือค้างคืนที่วังแก้วรีสอร์ท ติดต่อได้ที่ โทร.(054)223733


ที่มา

http://lampang.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=46&Itemid=61
บันทึกการเข้า