ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)  (อ่าน 16339 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2010, 01:44:44 pm »
0

ถ้ำอชันตา Unseen in India


ถ้ำอชันตา นับว่าเป็นหนึ่งใน Unseen in India ที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จัก ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์ทั่วโลกคุ้นเคยกับพุทธสถานแห่งนี้เป็นอย่างดี ในฐานะเป็นที่รวมความงามทางพุทธศิลป์ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โบราณ ซึ่งสร้างจากแรงศรัทธาและความมุ่งมั่นพยายามของผู้ปฏิบัติธรรมในละแวกนั้น

อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ถ้ำนั้น ห่างจากเมืองออรังคบาดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 104 กม. เป็นถ้ำที่มีการขุดเจาะภูเขาเข้าไป เรียงกันถึง 30 ถ้ำ เพื่อใช้เป็นห้องโถงสำหรับสวดมนต์ และประกอบศาสนกิจ รวมถึงเป็นที่พำนักพระสงฆ์ จะเรียกว่า เป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งหนึ่งก็ว่าได้

ถ้ำนี้มีกำเนิดก่อนคริสตศักราชราว 200 ปี (พ.ศ.350) เดิมทีเป็นผลงานที่สร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างแกะสลักชาวฮินดูในวรรณะล่างที่เปลี่ยนมานับถือศาสนา พุทธ ต่อมานิกายมหายานจึงเริ่มเข้าไปผสมผสานภายหลัง มีผู้สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เลือกถ้ำแห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่สงบเงียบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางส่งสินค้าของชาวอาหรับโบราณมากนัก จนกระทั่งกองทัพมุสลิมเข้ามายึดอินเดีย ถ้ำอชันตาก็หายไปจากความทรงจำของผู้คน ต่อมาใน ค.ศ.1819 นายทหารอังกฤษชื่อ นายจอห์น สมิธ ได้ออกล่าสัตว์ในเขตนั้น และพบถ้ำดังกล่าว เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะไม่นึกไม่ฝันว่าคนสมัยนั้นจะมีความพยายามสูงส่ง ขนาดเจาะหินภูเขาเป็นที่อยู่อันใหญ่โตมโหฬารด้วยมือได้เช่นนี้

ถ้ำที่มีความสวยงามและเลื่องชื่อในด้านจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้น ก็คือ ถ้ำที่ 1 ซึ่งภายในมีภาพวาดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระปัทมปาณีถือดอกบัว เอียงพระเศียรแสดงสีหน้าอ่อนโยนและเมตตา ในขณะที่ถ้ำที่ 2 มีความงดงามไม่แพ้กัน ต่างกันเพียงจิตรกรรมฝาผนังของถ้ำนี้เป็นเรื่องการประสูติของพระพุทธองค์และ พระสุบินของพระนางสิริมหามายา

ส่วนวิหารในถ้ำที่ 19 เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมหินแกะสลักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความโดดเด่นที่เพดานด้านบนเป็นทรงเกือกม้า และมีรูปปั้นเทพารักษ์ยืนตรงขอบหน้าต่าง โดยทั้งหมดเป็นฝีมือของพระสงฆ์นิกายมหายานที่สื่อให้เห็นถึงชีวิตความเป็น อยู่และพระ ราชวังอันหรูหราของพระพุทธเจ้าก่อนออกผนวชเพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต

ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างของไฮไลต์เด่นๆ ในถ้ำอชันตาเท่านั้น เพราะถ้ำอื่นๆ ยังมีศิลปะและจิตรกรรมฝาผนังที่อธิบายถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาและพุทธประวัติ มากมาย

และในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติงบประมาณเพื่อติดตั้งระบบไฟใยแก้วออฟติกที่ทันสมัย ในทุกถ้ำ และจัดซื้อรถประจำทางปลอดสารพิษจำนวน 10 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักประวัติศาสตร์ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าหาความหมาย และปรัชญาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมแห่ง นี้ ทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับความวิจิตรอลังการของถ้ำ อชันตาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


คัดลอกมาจาก
เรื่องจากต่างแดน : ถ้ำอชันตา Unseen in India
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2547 14:01 น. 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9098
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2012, 08:10:30 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2010, 01:54:21 pm »
0


ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)

      ถ้ำหิน ที่เจาะเข้าไปในภูเขา เพื่อใช้เป็นวัด โบสถ์ วิหาร หอ สวดมนต์ และสังฆาราม ของพระพุทธศาสนา สมัยหลังพุทธกาล.


วัดถ้ำหินที่อชันตา
   วัดถ้ำ หิน ที่เจาะเข้าไปในภูเขา ที่อชันตา มีจำนวน 29 ถ้ำ, เรียงกัน อยู่ตามหน้าผา เป็นแนวโค้ง รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ต่อเนื่องกันไป โดยตลอด.

ถ้ำเหล่านี้ ได้ครอบคลุมพื้นที่ สามในสี่ไมล์ จากทางด้านตะวันออก ไปยังด้านตะวันตก.
   วัดถ้ำเหล่า นี้ เจาะโดยฝีมือ ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นเวลานาน นับพันปี มาแล้ว เพื่อใช้เป็น วัด โบสถ์ วิหาร หอสวดมนต์ และสังฆาราม ในพระพุทธศาสนา.



การสร้างอชันตา
ถ้ำเหล่านี้ ได้เริ่มสร้างเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 7 และระยะที่สอง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10-11 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 13. การก่อสร้างในระยะแรกๆ อยู่ภายใต้ พระบรมราชูปถัมภ์ ของกษัตริย์ ราชวงศ์ สัตวาหนะหลายพระองค์.

ถ้ำที่เก่าแก่ที่สุด จะอยู่ตรงกลาง ส่วนถ้ำที่ใหม่กว่า จะเจาะเพิ่มออกไป ทางด้านข้าง ทั้งสองด้าน.
กองโบราณคดี แห่งชาติอินเดีย ได้สำรวจ และให้หมายเลขที่ถ้ำไว้ โดยเริ่มต้นจาก ทางด้านตะวันตกสุด เป็นถ้ำที่ 1 นับเรียงเรื่อยไป จนหมดลง ที่ถ้ำสุดท้าย อันเป็นถ้ำที่ 29 ทางด้านตะวันออกสุด.
   
ในระยะแรกๆ จากพุทธศตวรรษที่ 3-7 อชันตามีถ้ำเพียง 5 ถ้ำ เป็นถ้ำเจดีย์ 2 ถ้ำ คือถ้ำที่ 9 และ 11. ส่วนถ้ำที่ 8, 12, และ 13 เป็นถ้ำวิหาร ถ้ำเหล่านี้ จึงเป็นถ้ำที่เก่าแก่ กว่าถ้ำอื่นๆ และเป็นถ้ำ ที่ชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ได้เคยมาพำนัก.

จนถึง พุทธศตวรรษที่ 7 ถ้ำอชันตา ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง และถูกทอดทิ้ง ให้รกร้างว่างเปล่า อยู่เป็นเวลานานถึง 4 ศตวรรษ. จนประมาณ พุทธศตวรรษที่ 10 ในราว พ.ศ. 993-1193 เมื่อชาวพุทธ ฝ่ายมหายาน มีอำนาจมากขึ้น จึงมีการเจาะถ้ำ ที่อชันตาเพิ่มเติมขึ้นอีก 24 ถ้ำ, โดยทำเป็น ถ้ำเจดีย์ 2 ถ้ำ คือ ถ้ำที่ 19 และ 26 ส่วนถ้ำที่เหลือ เป็นถ้ำวิหาร.

ชาวพุทธในนิกายมหายาน ได้มาฟื้นฟู ถ้ำอชันตาขึ้นใหม่ ทำให้ อชันตานี้ เป็นศูนย์กลางของ พระพุทธศาสนา อันยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ในดินแดน อินเดียตะวันตก.

ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา กล่าวว่า กษัตริย์ ในราชวงศ์วากาฏกะ หลายพระองค์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ ที่สำคัญ ของพระพุทธศาสนา และภายใต้การ ปกครอง ของกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ ถ้ำอชันตา ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก.

ศิลาจารึกในถ้ำที่ 16 ได้จารึกไว้ว่า ถ้ำนี้ได้ขุดเจาะ ตามคำสั่งของ วีรเทวะ ซึ่งเป็นเสนาบดีของ พระเจ้าหริเษน แห่งราชวงศ์วากาฏกะ.

ศิลาจารึกในถ้ำที่ 17 ก็จารึกไว้ว่า อจิตยะ เสนาบดีของ พระเจ้า รวิสัมพะ ผู้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ ของพระเจ้าหริเษน ได้สั่งให้ขุดเจาะ ห้องโถง ซึ่งมีเสาหินที่งดงามมาก ดุจดังประดับด้วย เพชรพลอย. และมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง มีบ่อน้ำเย็น จืดสนิทอยู่บ่อหนึ่ง และมีกุฏิพระภิกษุด้วย.

ศิลาจารึก ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง จากถ้ำที่ 26 ได้จารึกว่า ถ้ำนี้ทำการขุดเจาะ ด้วยความกรุณา ของพระพุทธภัทร โดยมีศิษย์ของท่าน 2 คน คือ พระภัทรพันธุ และพระธรรมทัตตะ เป็นผู้ควบคุม งานการขุดเจาะ.

ซึ่งจากศิลาจารึกนี้เอง ได้หลักฐานยืนยันว่า พระพุทธภัทร เป็นพระ ที่มีคนนับถือยกย่องมาก องค์หนึ่ง และอาจจะเป็นเจ้าอาวาส ของสถาบันสงฆ์ อันยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง.


นอกจากนี้ยังได้ทราบว่า พระสถวีระ อจละ เป็นผู้สร้าง พระวิหารคนแรก. มีแผ่นศิลา จารึกอื่นๆอีก 2-3 แผ่น ได้กล่าวถึง สิ่งของที่อุทิศให้ โดยบรรดา เสนาบดี ขุนนาง อุบาสก และพระภิกษุสงฆ์.
   
จากหลักฐานต่างๆ ได้แสดงว่า ในสมัยหลัง ถ้ำอชันตา มีการพัฒนาขึ้น จนเป็นศูนย์กลาง อันสำคัญ ของพระพุทธศาสนา ในนิกายมหายาน.  ซึ่งในถ้ำเหล่านี้ บางถ้ำได้แกะสลัก เป็นพระพุทธรูป องค์ใหญ่ โดยมีสัญญลักษณ์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานต่างๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่นพระโพธิสัตว์ ในปางต่างๆ  เป็นต้น
.


การเจาะถ้ำอชันตา
เนื่องจากแนวหน้าผา ของหมู่ถ้ำอชันตานั้น เป็นหน้าผาตัดตรง โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น การเจาะภูเขาให้เป็นถ้ำ จึงใช้วิธีเจาะเข้าไป  ในภูเขาหิน ทางด้านหน้าโดยตรง ได้เลย,

โดย ถ้ำที่เจาะเข้าไปมีลักษณะ เป็นคูหาสี่เหลี่ยม มีพื้นห้อง และเพดานเรียบ, ส่วนฝาผนังห้อง มักมีการแกะสลัก หรือมี การฉาบปูนเรียบ เพื่อการวาดเป็นภาพ ที่เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา.
ทางด้านหน้าถ้ำ มักมีประตูทางเข้า ทางเดียว หรือสองทาง และบางคูหา ก็มีหน้าต่างด้วย
.

   

แบบแปลนภายในถ้ำ โดยทั่วไป
ภายในคูหาถ้ำ ส่วนมากมีการแกะสลัก  เช่น เสาหินที่ค้ำยันไว้กับคาน บางคูหา มีซุ้มประตู  มีพระพุทธรูป  ที่เป็นแบบ พระประธาน  มีสถูปเจดีย์ และบางคูหา ก็แกะสลักหลังคา เป็นโดมโค้ง แบบสาญจี เป็นต้น.

อย่างไรก็ดี  ถ้ำหรือวัดเหล่านี้ ส่วนมาก  มักใช้เป็นที่จำพรรษา ของพระภิกษุสงฆ์ด้วย  จึงมีการสลักหิน เป็นเตียงนอนไว้ด้วย.



การเจาะถ้ำอชันตาในหลายยุคหลายสมัย
การเจาะถ้ำอชันตา มีหลายยุคหลายสมัย ซึ่งแต่ละยุคสมัย คงจะมีเหตุผลต่างๆกัน, บางยุคต้องการ ความสงบวิเวก ในการเจริญจิตตภาวนา,   บาง ยุคต้องการหลบหนีภัย จากการถูกรุกราน ของชนต่างศาสนา, บางยุคมีความเชื่อ ของผู้ที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้า เพื่อหวังในพุทธภูมิ การกลับไปเกิดเป็น พระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไป.

   

อชันตา สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
มีผู้กล่าวว่า อชันตา น่าจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ของโลก ยิ่งเสียกว่า ทัชมาฮัลเสียอีก เพราะผู้ที่ได้มาเห็นแล้ว มักเกิดความมหัศจรรย์ใจว่า

นี่เป็นผลงาน ที่คนใช้มือเจาะ เข้าไปในภูเขาหิน แล้วแกะสลักเป็นถ้ำ ได้อย่างสวยงาม ปานฉะนี้ได้หรือ?
 
เขาทำได้อย่างไรกัน? และอะไรหนอ เป็นแรงผลักดัน? ให้มนุษย์เรา สามารถทำอะไรๆ ที่ต้องใช้ความพยายาม อันมากมายเช่นนี้. 

นอกจากการถูกกดขี่ข่มเหง ถูกบังคับเฆี่ยนตีให้ทำ ดังเช่นการสร้าง ทัชมาฮัลนั้นแบบหนึ่ง หรืออีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีการถูกบังคับเลย มันก็ต้องเป็น ศรัทธาอย่างแรงกล้า ของมนุษย์ ติดต่อกันหลายๆ ชั่วอายุคนทีเดียว.


ทั้งโบสถ์ วัด วิหาร เจดีย์ ล้วนมีความวิจิตรพิศดาร จนยากที่จะบรรยาย เป็นตัวอักษรได้.   



ภายในถ้ำ มีทั้งรูป และภาพหิน แกะสลัก ของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ต่างๆ พระภิกษุสงฆ์สาวก พระสถูป เสา ประตู หน้าต่าง หลังคา อย่างงดงาม.
    
นอกจากนี้ยังมี ภาพวาดฝาผนัง เพดาน ขื่อ คาน เสา ที่แสดงถึง พุทธประวัติ อย่างสมบูรณ์ 
ในลักษณะของ นิทานชาดก ที่บรรยายถึง พระชาติปางก่อนบ้าง ในสมัยเป็นฆราวาสบ้าง มีพระราชวัง อันตระการตา ชีวิตอันหรูหรา ขบวนแห่ ตลอดจน งานในราชพิธีต่างๆ
.



ส่วนพระโพธิสัตว์ ที่นิยมวาด เป็นภาพของ ปัทมปราณี วัชรปราณี และอวโลกิเตศวร ซึ่งได้ลงสีไว้อย่างงดงาม อ่อนช้อย ราวกับมีชีวิตชีวา. สิ่งเหล่านี้ได้แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนา ในภูมิภาคแห่งนี้ เป็นเวลาติดต่อกัน มานานหลายศตวรรษ.

ความสามารถ ทางสถาปัตยกรรม และปฏิมากรรม ของนายช่าง แห่งถ้ำอชันตา ได้ชี้ให้เห็น ถึงสมัยที่ พระพุทธศาสนา ได้รุ่งโรจน์ เป็นอย่างยิ่ง ในอินเดีย.

การที่ถ้ำอชันตา มีชื่อเสียงขจรไปไกล ก็เพราะ ภาพเขียน เฟรสโก้ ซึ่ง เป็นภาพเขียนสี บนฝาผนัง และเพดาน ซึ่งเขียนเมื่อปูน ยังหมาดๆ. ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ เป็นภาพเขียน ฝืมือชั้นครู ที่หาไม่ได้ง่ายๆ และแม้ภาพเขียนเหล่านี้ ได้เสียหายไปแล้วบ้าง ในที่บางแห่ง แต่ก็ยังมีพอ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง ของจิตรกรผู้ชำนาญได้.ภาพเขียนเหล่านี้ ก่อให้เกิดความประทับใจ และความรักอย่างดีที่สุด ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วโลก พากันยกย่องสรรเสริญ.

ภาพหินแกะสลัก และภาพวาดฝาผนัง และเพดาน นอกจาก ได้สะท้อนออกมาเป็น ผลงานทางด้านศิลปกรรม ที่มีความงดงาม เป็นเลิศแล้ว ในทางด้าน พระพุทธศาสนา แสดงถึงประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา และสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ทำมีความตั้งใจมั่น เพียงไร มีความสงบนิ่ง มีความละเอียดละออ มีความมั่นคงอย่างยิ่ง มี ศรัทธา วิริยะ อุตสาหะ ขันติ ปัญญา ฯลฯ มากเพียงใด.

คนในยุคนั้นสมัยนั้น แม้แต่เรื่องทางวัตถุ ซึ่งเป็นเรื่อง ทางรูปธรรมหยาบๆ ที่จับต้องได้ ก็ยังทำได้วิจิตร พิศดารถึงเพียงนี้แล้ว ยิ่งถ้าเป็นเรื่องจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องทางนามธรรม ที่ละเอียดอ่อน และประณีตยิ่งกว่า คงจะสามารถบรรลุธรรม ได้อย่างมหัศจรรย์ยิ่งกว่า เป็นแน่นอน.



ความล่มสลายของอชันตา
เมื่อพระพุทธศาสนา ในอินเดียเสื่อมลง อชันตาก็ถูกปล่อยทิ้งไว้ จนรกร้างนานนับพันปี. ถ้ำอชันตานี้ ถูกค้นพบอีกครั้ง โดยนักล่าสัตว์ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2362 ซึ่งเขาตามสัตว์ที่ได้ล่าไว้ แล้วได้พบอชันตานี้ โดยบังเอิญ. เรื่องราวของอชันตา จึงได้ถูกค้นคว้า และเปิดเผย ให้พวกเราได้รู้จัก ถึงความมหัศจรรย์ ของโลก อีกชิ้นหนึ่ง.



ที่มา  http://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_2/
ท่านสามารถอ่านเรื่อง “ถ้ำอชันต้า” ได้อีกเว็บไซต์หนึ่ง
http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm
จากหนังสือเรื่อง “เล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๒”  เขียนโดย Venfaa



บทความเรื่อง “ถ้ำอชันต้า” นี้ ข้าพเจ้านาย ณฐพลสรรค์ เผือกผาสุข
ขอถวายแด่ พระอาจารย์ สนธยา ธัมมะวังโส

 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2012, 08:52:25 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ยอดชาย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 96
  • ยอดชายแท้ ก็คือยอดมนุษย์
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2010, 01:38:55 pm »
0
มหัสจรรย์ มากครับ

น่าเสียดาย จังไม่ได้ไปอยู่ตั้ง อินเดีย
บันทึกการเข้า
ลูกผู้ชายนักสู้

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 10:44:09 pm »
0
แนะนำให้อ่านครับ
 :13:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
VDO นำชม "ถ้ำอชันตา" (Ajanta Caves)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 16, 2012, 09:07:52 am »
0










    บทความเรื่องถ้ำอชันต้านี้ ผมโพสต์มาตั้งแต่ พฤษภาคม 29, 2010 ถึงวันนี้ก็ประมาณ 1 ปี 7 เดือน 19 วัน
 ผมขออัพเดต โดยเพิ่ม VDO เข้ามา หวังใจว่าสิ่งนี้จะสร้างศรัทธาในพุทธศาสนาของทุกท่านให้มากยิ่งขึ้น

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ